วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เคยได้อ่านมาว่า พอสำเร็จได้เป็นโสดาบันแล้ว ภายในเจ็ดชาติก็จะบรรลุนิพพานได้ ทำไมต้องเป็นเจ็ดชาติครับ ไม่รู้ไครพอจะอธิบายกระบวนการที่เกิดขึ้นให้กระจ่างได้มั่งครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่พอรู้มา กิเลสบางอย่างกำจัดได้ด้วยมรรคเดียวผลเดียว
บางอย่างกำจัดได้ด้วยมรรคครั้งที่สองผลครั้งที่สอง
บางอย่างกำจัดได้ต้องถึงมรรคที่สามผลที่สาม
ทุกอย่างกำจัดได้ด้วยมรรคที่สี่ผลที่สี่

:b9: :b9:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นมรรลมีตั้ง 20 แบบ ผลก็มี 20 แบบ ที่ไม่รู้ก็คือว่า ในระหว่างเจ็ดชาติที่ผ่านไป มรรคแต่ละดวงเกิดขึ้นมาได้อย่างไร หรือมันเกิดของมันเอง เพราะถ้าไม่รู้การเกิด ผมว่า ร้อยชาติมันก็ไม่มีทางเป็นนิพพานไปได้

ที่สำคัญ ไอ้ดวงแรกนี่มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไรครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรครวมถึงผล เมื่อผ่านครั้งแรก ก็จะรู้การทำให้ผ่านแล้ว เรียกว่ารู้ว่าสิ่งใดเป็นทางไป
สู่นิพพาน เรียกว่าได้มัคคามัคคญาณทัสนวิสุทธิ์ ไม่ต้องมีคนมาสอน ท่านเหล่านั้นก็จะรู้
ทางไปสู่พระนิพพานเอง

อนึ่ง เมื่อได้มรรคได้ผลครั้งแรกแล้ว ชื่อว่าอกุศลกรรมหรืออกุศลจิตไม่มีเกิดแก่ท่านที่ได้
แล้ว ตรงนี้เองเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นเหตุให้ไม่เกิดยืดยาว และเมื่อท่านผ่านมรรคผลแรกแล้ว
อินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ก็จะนำพาให้ท่านเร่งตัวเองเพื่อหลุดพ้น
ไปโดยอัตโนมัติ คือเมื่อเชื่ออย่างไม่มีอะไรจะมาทำให้สั่นคลอนได้ วิริยะก็จะทำให้ท่าน
มีความเพียรลุกขึ้นปฏิบัติเอง เพราะว่ามรรคแรกผลแรกนั้น ตัดสันดาน(ความเกลียดคร้าน)
ในการปฏิบัติท่านไปได้มาก เรื่องจะไม่ปฏิบัติเป็นไม่มี เท่าที่เห็นมา พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ที่เชื่อว่าผ่านมรรคผลไปบ้างแล้วนั้น ผมยังไม่เห็นมีใครเกลียดคร้านเรื่องการปฏิบัติเลย
มรรคผลที่ ๓ ที่เหลือจะสำเร็จได้ด้วยการเดินไปตามทางที่ท่านเคยผ่านมาครั้งแรกละครับ
ท่านจะทำของท่านเอง

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย กามโภคี เมื่อ 18 ก.ค. 2009, 14:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 14:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
เห็นมรรลมีตั้ง 20 แบบ ผลก็มี 20 แบบ


จะกี่แบบก็ตาม เมื่อถึงมรรคผล ก็ดับเหมือนกันหมด แบบเป็นแค่วิธีที่อธิบายกันไปตามที่ประสบพบหรืออ่านเจอ
ทั้งนี้ทำความเข้าใจว่ามี มรรค ๔ ผล ๔ ดีกว่ามั้งครับ

Supareak Mulpong เขียน:
ที่ไม่รู้ก็คือว่า ในระหว่างเจ็ดชาติที่ผ่านไป มรรคแต่ละดวงเกิดขึ้นมาได้อย่างไร หรือมันเกิดของมันเอง เพราะถ้าไม่รู้การเกิด ผมว่า ร้อยชาติมันก็ไม่มีทางเป็นนิพพานไปได้


ไม่มีมรรคผลที่ไหนเกิดขึ้นเอง ผมมี คห ไปคร่าวๆแล้วครับ อ่าน คห ผมด้านบน


Supareak Mulpong เขียน:
ที่สำคัญ ไอ้ดวงแรกนี่มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไรครับ


ถ้าไม่ต้องเหตุที่เป็นการห้ามมรรคผลแล้ว ก็เจริญสติปัฏฐาน เหตุปัจจัยถึงพร้อมก็คงได้ถึงมรรคผล

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปว่าเมื่อมรรคจิตดวงแรกเกิด ผลจิตก็จะเกิดตามมาเอง และดวงที่เหลือก็จะเกิดได้เองเป็นปฏิกริยาลูกโซ่ เกิดขึ้นเป็นลำดับๆ ไป อย่างนั้นใช่ใหมครับ ขั้นแรกก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดขึ้นที่สอง และขั้นที่สองก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดขั้นที่สาม ต่อๆ ไปเรื่อยๆ จนหมด ก็แสดงว่า ไม่ต้องไปทำอะไร เหมือนกับที่เคยได้ยินมาว่า เปรียบเสมือนการจุดเทียนไข พอไฟติด ไฟก็จะใหม้เชื้อไฟ เมื่อเชื้อไฟหมด กิเลสก็หมด ก็ถึงนิพพานแล้ว แบบนี้ใช่ใหมครับ

ทีนี้ก็มาถึงปัญหาละครับ เพราะถ้าขบวนการอริยมรรคเป็นไปได้โดยอัตโนมัติแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับว่ามันจะเริ่มกระบวนการได้อย่างไร หรือวิธีการจะติดเทียนไขให้ไฟลุกนี่ ทำอย่างไรครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 18 ก.ค. 2009, 15:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
เคยได้อ่านมาว่า พอสำเร็จได้เป็นโสดาบันแล้ว ภายในเจ็ดชาติก็จะบรรลุนิพพานได้ ทำไมต้องเป็นเจ็ดชาติครับ ไม่รู้ไครพอจะอธิบายกระบวนการที่เกิดขึ้นให้กระจ่างได้มั่งครับ



เค้าถามว่าทำไมเจ็ดชาติบรรลุนะงับ ไม่ได้ถามว่า มรรคจิตมีกี่ดวง ผลจิตมีกี่ดวง

อยู่กับปัญญาที่มีนะงับ

หรือคำอธิฐาน

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
สรุปว่าเมื่อมรรคจิตดวงแรกเกิด ผลจิตก็จะเกิดตามมาเอง และดวงที่เหลือก็จะเกิดได้เองเป็นปฏิกริยาลูกโซ่ อย่างนั้นใช่ใหมครับ ก็แสดงว่า ไม่ต้องไปทำอะไร เหมือนกับที่เคยได้ยินมาว่า เปรียบเสมือนการจุดเทียนไข พอไฟติด ไฟก็จะใหม้เชื้อไฟ เมื่อเชื้อไฟหมด กิเลสก็หมด ก็ถึงนิพพานแล้ว แบบนี้ใช่ใหมครับ


อ่านอย่างไรไปสรุปอย่างนั้น อ่านใหม่

กามโภคี เขียน:
และเมื่อท่านผ่านมรรคผลแรกแล้ว
อินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ก็จะนำพาให้ท่านเร่งตัวเองเพื่อหลุดพ้น
ไปโดยอัตโนมัติ คือเมื่อเชื่ออย่างไม่มีอะไรจะมาทำให้สั่นคลอนได้ วิริยะก็จะทำให้ท่าน
มีความเพียรลุกขึ้นปฏิบัติเอง
เพราะว่ามรรคแรกผลแรกนั้น ตัดสันดาน(ความเกลียดคร้าน)
ในการปฏิบัติท่านไปได้มาก เรื่องจะไม่ปฏิบัติเป็นไม่มี เท่าที่เห็นมา พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ที่เชื่อว่าผ่านมรรคผลไปบ้างแล้วนั้น ผมยังไม่เห็นมีใครเกลียดคร้านเรื่องการปฏิบัติเลย
มรรคผลที่ ๓ ที่เหลือจะสำเร็จได้ด้วยการเดินไปตามทางที่ท่านเคยผ่านมาครั้งแรกละครับ
ท่านจะทำของท่านเอง


ตรงตัวแดงๆนั่นไง

Supareak Mulpong เขียน:
ทีนี้ก็มาถึงปัญหาละครับ เพราะถ้าขบวนการอริยมรรคเป็นไปได้โดยอัตโนมัติแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับว่ามันจะเริ่มกระบวนการได้อย่างไร หรือวิธีการจะติดเทียนไขให้ไฟลุกนี่ ทำอย่างไรครับ


สงสัยอัตตโนมัตตาม คห คุณกับผมจะไม่เหมือนกันแล้ว อัตโนมัติของผม ทุกมรรคผล ต้องลุกขึ้นทำ หาไช่
มีแค่ครั้งแรกได้ แล้วอันอื่นจะตามมาหลุยๆ ก็ต้องปฏิบัติ แต่ที่หมายถึงจะมีมรรคต่อไปนั้น อัตโนมัติของผม
หมายถึง อินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ก็จะนำพาให้ท่านเร่งตัวเองเพื่อหลุดพ้น
ไปโดยอัตโนมัติ คือไม่ต้องมีใครมาให้ บอกให้ หรือบังคับทำ ลุกมาเองแบบธรรมชาติ ทำเองแบบธรรมชาติ
การเริ่มกระบวนการทั้งหมดนี้มีอยู่ในสติปัฏฐาน

ผมเริ่มจะสงสัยมรรค ๒๐ แบบของคุณแล้ว วานบอกผมหน่อย ที่ผมรู้มีไม่ถึง.....แย่จัง :b9:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่ศึกษามา ธรรมของพระพุทธองค์เป็นวิทยาการที่มีขั้นตอนมี่มาที่ไปแทบจะเขียนออกมาเป็นสูตรคำนวนหรือเขียนเป็น flow chart ได้ อธิบายได้ชัด ไม่มีวาระแอบแฝง อย่างที่ในพระไตปิฎกกว่าเข้าใจเหมือน เหมือนเปิดของคว่ำให้หงาย แต่ผมว่าไอ้ส่วนนี้มันน่าจะหายไปนะครับ ไม่เห็นมีตอนใหนที่มีการอธิบายรายละเอียด มีแต่กล่าวถึงแล้วก็รีบข้ามๆ ไปเหมือนกับไม่อยากจะให้รู้อย่างนั้น เป็นไปได้อย่างไรที่ฟังธรรมก็สำเร็จโสดาบันเลย หรือบางคนเจ็ดวันก็ได้โสดาบัน แล้วก็ได้กันทั้งหมู่บ้าน ทั้งๆ ที่ปัจจุบัน คนฉลาดขึ้นมาก แต่ไม่ยักกะมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น เป็นข้อสังเกตุนะครับ

กระบวนการอริยมรรคนี่ก็เหมือนกัน ตั้งแต่คนธรรมดาเป็นโสดาบันถึงพระอรหันต์ ไม่ยักกะเห็นไครเอามาอธิบายเป็นขั้นตอน (process หรือ machanism) ตั้งแต่เริ่มจนจบ ก็เลยเปิดประเด็นถามดูนะครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรจิตนะครับ มี 20 ดวง แบ่งเป็น 4 ชุด ชุดละ 5 ดวง คือของพระโสดาบัน 5 ดวง ของพระสกิทาคา 5 ดวง ของพระอนาคา 5 ดวง ของพระอรหันต์ 5 ดวง ส่วนผลจิตก็เหมือนกันมี 20 ดวง อยู่ในส่วนของโลกุตรจิต

แล้วถ้าต้องลุกขึ้นมาทำ มันจะเป็นเจ็ดชาติได้อย่างไรครับ แปลว่าถ้าชาติใหนไม่ปฏิบัติหรือมีเหตุให้เจริญได้ไม่มาก ก็มีโอกาสเกินเจ็ดชาติสิครับ ก็เลยยังไม่ได้คำตอบอยู่ดีว่าไมต้องเป็น เจ็ดชาติ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
เท่าที่ศึกษามา ธรรมของพระพุทธองค์เป็นวิทยาการที่มีขั้นตอนมี่มาที่ไปแทบจะเขียนออกมาเป็นสูตรคำนวนหรือเขียนเป็น flow chart ได้ อธิบายได้ชัด ไม่มีวาระแอบแฝง อย่างที่ในพระไตปิฎกกว่าเข้าใจเหมือน เหมือนเปิดของคว่ำให้หงาย แต่ผมว่าไอ้ส่วนนี้มันน่าจะหายไปนะครับ ไม่เห็นมีตอนใหนที่มีการอธิบายรายละเอียด มีแต่กล่าวถึงแล้วก็รีบข้ามๆ ไปเหมือนกับไม่อยากจะให้รู้อย่างนั้น เป็นไปได้อย่างไรที่ฟังธรรมก็สำเร็จโสดาบันเลย หรือบางคนเจ็ดวันก็ได้โสดาบัน แล้วก็ได้กันทั้งหมู่บ้าน ทั้งๆ ที่ปัจจุบัน คนฉลาดขึ้นมาก แต่ไม่ยักกะมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น เป็นข้อสังเกตุนะครับ
กระบวนการอริยมรรคนี่ก็เหมือนกัน ตั้งแต่คนธรรมดาเป็นโสดาบันถึงพระอรหันต์ ไม่ยักกะเห็นไครเอามาอธิบายเป็นขั้นตอน (process หรือ machanism) ตั้งแต่เริ่มจนจบ ก็เลยเปิดประเด็นถามดูนะครับ


มีมากมายหลายที่ มี ๒ อย่างที่บอกว่าไม่มี คือ หาไม่เจอ กับ เจอแล้วไม่รู้
ส่วนนี้ไม่ได้หายไปไหน ยังอยู่ไม่ขาดไม่เกิน พอดีๆ

สมัยนี้คนที่ว่ากันว่าฉลาดกว่าคนแต่ก่อน ฉลาดเรื่องอื่น ไม่ไช่เรื่องหลุดพ้นจากทุกข์ คนละเรื่องกัน
และเมื่อมีศรัทธาเขาก็ลงมือทำกันเลย ไม่มัวมานั่วสงสัย

กระบวนการอริยมรรคตามที่บอกว่าไม่มีคนเอามาเขียน เอ...ผมมี สองชุดร่วมๆ ๑๐๐๐ หน้ามั้งเนี่ย
แต่บอกได้เลย อ่านให้ตายก็ไม่บรรลุถ้ามัวสงสัยแล้วไม่ลงมือทำ อ่านไปติดไป เพราะยังปฏิบัติไม่ถึงตรงที่เขา
อธิบาย อ่านจนหงอกถ้าไม่ทำ ไม่มีทางหามรรคผลเจอแน่ๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
มรรจิตนะครับ มี 20 ดวง แบ่งเป็น 4 ชุด ชุดละ 5 ดวง คือของพระโสดาบัน 5 ดวง ของพระสกิทาคา 5 ดวง ของพระอนาคา 5 ดวง ของพระอรหันต์ 5 ดวง ส่วนผลจิตก็เหมือนกันมี 20 ดวง อยู่ในส่วนของโลกุตรจิต


อ๋อ เข้าใจแล้วๆๆ ที่ว่าเป็นเท่านี้ดวงนั้น ตาม คห ผม ไม่มีจิตในมรรคผล เขาเทียบให้เข้าใจว่าในระหว่าง
มรรคญาณผลญาณนั้น ระยะเท่าไร เพราะในมรรคญาณผลญาณไม่มีจิต ตอนนั้นดับลง ถ้ามีจิตคงไม่ดับได้แน่
ผมสันนิฐานตามคัมภีร์ล้วนๆเลยนะเนี่ย :b12: เพราะนิพพานปราศจากขันธ์ เมื่อมรรคญาณผลญาณเป็นสภาวะ
นิพพาน จิตคงไม่มีในนั้นหรือเกิดในขณะนั้นแน่

Supareak Mulpong เขียน:
แล้วถ้าต้องลุกขึ้นมาทำ มันจะเป็นเจ็ดชาติได้อย่างไรครับ แปลว่าถ้าชาติใหนไม่ปฏิบัติหรือมีเหตุให้เจริญได้ไม่มาก ก็มีโอกาสเกินเจ็ดชาติสิครับ ก็เลยยังไม่ได้คำตอบอยู่ดีว่าไมต้องเป็น เจ็ดชาติ


หลังจากผ่านมรรคแรกผลแรกไปแล้ว เป็นธรรมชาติ เน้นตรงนี้ เป็นธรรมชาติที่ท่านอริยะบุคคลท่านจะดำเนินของท่านต่อไป และไม่มีเหตุให้ท่านละการปฏิบัติเลยภายใน ๗ ชาติ เพราะธรรมชาติของท่านไม่เว้นจากการปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น เพราะท่านเห็น
สัจจะแล้ว รู้เห็นธรรมดาของทั้งปวงแล้ว ตรงนี้เองทำให้ธรรมชาติไม่เหมือนอย่างที่เราคิด

ความจริงไม่อยากคุยลึกๆเลย มันเกินภาวะตัวเอง
ภพชาติของสัตว์ทั้งหลายที่ไม่สิ้นสุดเนี่ย เพราะมีอนุสัยกิเลสอยู่ ๑๐ อย่าง ถ้าตัดบางส่วนออกไปก็จะทำให้
ภพชาติสั้นลง พระโสดาบันตัดได้บางส่วนแล้ว ก็เลยสั้นลง ก็เท่านี้ และส่วนที่ตัดออก มันทำให้ส่วนที่เหลือ
ทำงานไม่เต็มที่ ก็เลยสั้นลงทันตาเห็น จากไม่มีสิ้นสุด ก็เลยเหลือแค่ไม่เกิน ๗ นี่ขนาดไม่เกิน ๗ นะเนี่ย
ยังล่อเป้าปานนี้ อ่านถึง ไม่เกิน ๑ ชาติหรือยัง เอกพีชีอ่ะ นั่นอะไม่เกินหนึ่ง แล้วจำพวก ภวาภิรตา อีก
โสดาบันจำพวกยังยินดีในภพอ่ะ จำพวกนี้อยู่มากกว่า ๗ อีก พวกนี้พอมีที่มาที่ไปเหมือนกัน แต่ผมยังไม่ชัดเจน
เท่าไร

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย กามโภคี เมื่อ 18 ก.ค. 2009, 16:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 16:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


คงต้องรบกวนช่วยส่ง link หรือหาตัวอย่างให้ด้วยละครับ เพราะเนื้อเรื่องในพระไตรปิฏกมีมาก บางทีอ่านๆ ไป ก็จำไม่ค่อยจะได้ว่าเรื่องอะไรอยู่ตรงใหน

ส่วนเรื่องกระบวนการอริยมรรคนี่ ส่วนมากที่เห็นเป็นการอธิบายทั่วๆ ไป ไม่ได้แสดงออกมาเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และที่สำคัญที่สุด อยู่ๆ โสดาปฏิมรรคก็เกิดขึ้นมาเป็นลำดับแรกดื้อๆ ไม่ยักกะบอกว่าจะทำให้เกิดโสดาปฏิมรรคได้อย่างไร เหมือนกับจิ๊กซอตัวแรกมันหายไป

ส่วนการที่จะเริ่มปฏิบัตินั้น ถ้าเข้าใจตั้งแต่เริ่มแรกผิด ก็หมายถึงการปิดประตูสู่มรรคผลนิพพานเลยนะครับ เลยต้องศึกษาให้เจ้าใจหรือพบทางที่ถูกต้องแน่นอนก่อน และที่สำคัญ สติปฐานสี่นี่ ผมอ่านในพระไตรปิฎกแล้ว มันเป็นการเร่งกระบวนการอริยมรรคมากกว่าจะเป็นการเริ่มต้นนะครับ คือ ถ้าตอนใหนในพระไตรปิฏกที่เริ่มว่า ดูกรภิกษุ นี่หมายถึงพระพุทธเจ้าสอนพระโสดาบันขึ้นไป หรือพระพุทธเจ้ากำลังสอนพระอริยะที่ได้โสดาปฏิมรรคแล้ว ส่วนตอนใหนที่ขึ้นว่า ดูกรมานพ นี่แปลว่าพระพุทธเจ้ากำลังสอนบุคคลธรรมดา ส่วนคำว่า ดูกรมหาบพิตร หมายถึงพวกฌานลาภีบุคคล

หรือถ้าผมเข้าใจผิดอย่างไรก็ช่วยอธิบายให้กระจ่างด้วยครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่า เป็นธรรมชาติ หรือเกิดตัวเร่งตัวผลักให้ทำ ก็ไม่ต่างกับการเกิดแบบลูกโซ่หรอกครับ ถ้าไม่ติดตรงความหมายของศัพท์ มันก็จะได้ความว่า พอมันเริ่ม มันก็จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ โดยมีกระบวนการ มีระบบระเบียบ มีตัวเร่ง มีตัวคอยฉุด จนสิ้นสุดกระบวนการ เหมือนๆ นะครับ ว่ามั้ย :b12:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
คงต้องรบกวนช่วยส่ง link หรือหาตัวอย่างให้ด้วยละครับ เพราะเนื้อเรื่องในพระไตรปิฏกมีมาก บางทีอ่านๆ ไป ก็จำไม่ค่อยจะได้ว่าเรื่องอะไรอยู่ตรงใหน


หาเอาเองเถอะครับ เดี๋ยวก็เจอ ถ้าไม่เจอ จะได้อันอื่นที่เราไม่เคยรู้เองละครับ

Supareak Mulpong เขียน:
ส่วนเรื่องกระบวนการอริยมรรคนี่ ส่วนมากที่เห็นเป็นการอธิบายทั่วๆ ไป ไม่ได้แสดงออกมาเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และที่สำคัญที่สุด อยู่ๆ โสดาปฏิมรรคก็เกิดขึ้นมาเป็นลำดับแรกดื้อๆ ไม่ยักกะบอกว่าจะทำให้เกิดโสดาปฏิมรรคได้อย่างไร เหมือนกับจิ๊กซอตัวแรกมันหายไป


เป็นวิทยาศาสตร์ล้วนๆ แต่เป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตที่พระพุทธองค์ค้นพบ ท่านอธิบายด้วยภาษาของท่าน การจะพิสูจน์ทฤษฎีท่าน ไม่ไช่มากางตำราพิสูจน์ ต้องเริ่มปฏิบัติไป โสดาปฏิมรรคมีที่มาที่ไปชัดเจน กระบวนการชัด
เจนมาก และเป็นลำดับไปไม่ไช่เกิดดื้อๆตามที่คุณเข้าใจ ลองถามตัวเองว่ามีสรัทธาต่อเรื่องนี้หรือยัง ถ้ายังไม่มี
เพราะยังหาเหตุผลไม่พอใจ ตรงนี้ละครับ กระบวนการเป็นโสดาบันก็ยังไม่เกิด ถ้ายังไม่หมดสงสัยในพระพุทธเจ้า
หรือคำสอน ตรงนี้กระบวนการก็ยังไม่เกิด คนที่ถึงพระอริยะบุคคลแล้ว กระบวนการเขาเริ่มกันตั้งแต่ต้น คุณอย่าไปจับปลายมาดูซิ เริ่มตั้งแต่ต้นเลย ดูตอนหาถ่าน หาเตา หาน้ำ หากา หาไฟ มาต้มน้ำซิ อย่าไปดูตอนน้ำจะเดือดหรือเดือดแล้ว มันจะไม่เข้าใจว่า ต้องมีถ่าน มีเตา ฯลฯ

Supareak Mulpong เขียน:
ส่วนการที่จะเริ่มปฏิบัตินั้น ถ้าเข้าใจตั้งแต่เริ่มแรกผิด ก็หมายถึงการปิดประตูสู่มรรคผลนิพพานเลยนะครับ เลยต้องศึกษาให้เจ้าใจหรือพบทางที่ถูกต้องแน่นอนก่อน


แสดงว่าเข้าใจว่าการศึกษาคือการหาตำรามาอ่าน วิชาวิทยาศาสตร์หรือฟิสิกซ์ยังต้องมีการทดลองเลย บังเอิญเหลือเกิน วิชาวิทยาศาสตร์ทางจิตของพระพุทธเจ้า อ่านอย่างเดียวไม่กระจ่าง ต้องทำด้วย ลองดูคำนี้ครับ
ปฏิ แปลว่า เฉพาะ , ปัตติ แปลว่า ถึง แปลรวมว่า ถึงเฉพาะ ถึงโดยปัจจักข์(ไม่อนุมานเอา)
ฉนั้น จะเข้าใจวิชานี้ ต้องปฏิบัติครับ ไม่งั้นอ่านไปเหอะ อ่านข้ามก็ว่าไม่มีอีก เป็นงั้นไป

Supareak Mulpong เขียน:
และที่สำคัญ สติปฐานสี่นี่ ผมอ่านในพระไตรปิฎกแล้ว มันเป็นการเร่งกระบวนการอริยมรรคมากกว่าจะเป็นการเริ่มต้นนะครับ


อริยมรรคที่คุณกล่าวถึงคืออะไร ถ้าหมายถึงการบรรลุอริยบุคคลก็อาจจะเป็นตามความหมายคุณ แต่ถ้าหมายถึงมรรค ๘ แล้วละก็ สติปัฏฐาน ก็คือการดำเนินมรรคทั้ง ๘ เลย

Supareak Mulpong เขียน:
คือ ถ้าตอนใหนในพระไตรปิฏกที่เริ่มว่า ดูกรภิกษุ นี่หมายถึงพระพุทธเจ้าสอนพระโสดาบันขึ้นไป หรือพระพุทธเจ้ากำลังสอนพระอริยะที่ได้โสดาปฏิมรรคแล้ว ส่วนตอนใหนที่ขึ้น่า ดูกรมานพ นี่แปลว่าพระพุทธเจ้ากำลังสอนบุคคลธรรมดา ส่วนคำว่า ดูกรมหาบพิตร หมายถึงฌานลาภีบุคคล
หรือถ้าผมเข้าใจผิดอย่างไรก็ช่วยอธิบายให้กระจ่างด้วยครับ


ไม่ไช่ครับ คำพวกนี้ท่านเรียกโดยความเป็นประธานนัย คือหมายให้เป็นคำเรียกขึ้นต้นของหมู่บริษัทที่ฟังอยู่
ที่จริงมีทั้งคนธรรมดา นักบวชนอกลัทธิ หรือชาวบ้านฟัง จะให้ตรัสเรียกทุกคนเมื่อไรจะได้แสดงธรรม เอาประธาน
นัยเรียกเลยก็จบ บางครั้งถ้าคุยเดี่ยวๆ ท่านจะเรียกชื่อเฉยๆ แต่ไม่แน่อีกว่าเดี่ยว เพราะบ้างครั้งเหตุที่จะให้แสดงธรรมมีขึ้นเพราะใครก็จะตรัสเรียกคนนั้น เช่น ดูกรปฏาจารา ทั้งที่จริงตามเรื่องนี้ เกิดขึ้นในท่ามกลางหมู่คนเลย
จำได้ว่าในวัดด้วย คนมาทำบุญฟังธรรมกันตรึมเลย

โห้ย... ข้อนี้ยังอีกเยอะ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร