วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 11:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

http://84000.org/tipitaka/read/?22/356/486

สีติวรรคที่ ๔

๑. สีติสูตร

[๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑
ไม่ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๑
ไม่ยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑
ไม่วางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑
เป็นผู้น้อมไปในธรรมเลว ๑
และเป็นผู้ยินดียิ่งในสักกายะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑
ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๑
ย่อมยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑
ย่อมวางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑
เป็นผู้น้อมไปในธรรมประณีต ๑
และเป็นผู้ยินดียิ่งในนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


"ควรแก่การงาน"

ขอบพระคุณครับคุณหมอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุ สาธุ สาธุค่ะ...คุณตรงประเด็น

ขอบพระคุณค่ะ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตเป็นอนัตตา คือ ไมใช่ตัวตนที่แท้จริง

แต่ การที่จิตเป็นอนัตตานั้น หาใช่ว่า จะฝึกจิต หรือ อบรมจิต ไม่ได้.
ดังมี พระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า "จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้"

การฝึกจิต หรือ อบรมจิต นั้น มีหลากหลายกุศโลบาย

ในพระสูตรนี้
กล่าวถึง ทั้งการ " ข่ม-ประคอง-ยังให้ร่าเริง-วางเฉย-น้อมไปในธรรมประณีต-ยินดียิ่งในนิพพาน" ในสมัยที่ควร

คำว่า "ในสมัยที่ควร"นี้ละครับ มันเป็นประเด็นที่ควรสนใจว่า สมัยไหนควรปฏิบัติต่อจิตเช่นใด

ถ้า ในสมัยที่ควรข่มจิต แต่ กลับไปวางเฉยจิต

หรือ ในสมัยที่ควรวางเฉยจิต(รับทราบสภาวะของจิตแล้ววาง คือ รู้อย่างเดียว) แต่ กลับไปข่มจิต

ก็คงไม่น่าจะใช่ สมัยที่ควร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จริงครับคุณหมอ

ผมฟังเทศน์มา ใจความสรุปว่า
จิตนี้มีหลากหลายชนิดมาก
ต้องฉลาดพอที่จะรู้ว่าเอาจิตชนิดไหน ไปทำงานอะไร
ต้องมีธัมวิจัยและมีโยนิโสมนสิการ ฉลาดคิด ฉลาดสังเกตุ
ถึงจะเอาตัวรอดได้

ที่รอดได้นั้นก็ต้องสุดยอดจริงๆคือระดับพระพุทธเจ้า หรือปัจเจกพระพุทธเจ้า ที่จะตรัสรู้ชอบได้เอง

ส่วนมากไม่รอด ถึงต้องมีกัลยาณมิตรที่ดี
คือครูบาร์อาจารย์ที่รู้จริง พึ่งพาได้


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 06:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เห็นด้วยค่ะ...คุณตรงประเด็นและคุณชาติสยาม

ที่พระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า "จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้"
เป็นสิ่งที่จริงแท้แน่นอน
การที่เราจะใช้จิตชนิดใด ในเวลาที่ควรใช้
เราจะต้องมีการฝึกจิตเอาไว้ก่อน ซึ่งมีมากมายหลายวิธี
ขึ้นอยู่กับจริตของเราว่า เราควรฝึกแบบไหน
ซึ่งพอถึงเวลานั้น เวลาที่ควร เราจะได้นำจิตที่เราฝึกไว้มาใช้ได้อย่างเหมาะสม
ไม่ใช่โดยการคิดเอา ทึกทักเอา แต่ใช้อย่างมีสติ และมีปัญญาดี

ในพระสูตรนี้ กล่าวถึง
ทั้งการ " ข่ม-ประคอง-ยังให้ร่าเริง-วางเฉย-น้อมไปในธรรมประณีต-ยินดียิ่งในนิพพาน"
ในสมัยที่ควร
เป็นการทำในสิ่งควรทำ ทำอย่างเหมาะสม ในโอกาสนั้นๆ
โดยใช้จิตที่ฝึกไว้ดีแล้วพิจารณาว่า ถูกที่ ถูกเวลา ถูกโอกาส ถูกตัวบุคคล
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ต้องถูกต้อง ถูกธรรม และเหมาะแก่กาล

ธรรมะสวัสดีค่ะ

:b48: tongue :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีพระพุทธพจน์ ตรัสถึง การฉลาดในเรื่องราวแห่งจิต ไว้อีกพระสูตรหนึ่งที่น่าศึกษา


"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุไม่ฉลาดในปริยาย(เรื่องราว) แห่งจิตของผู้อื่น, เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเธอก็พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดในปริยาย(เรื่องราว) แห่งจิตของตน.

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้ฉลาดในปริยายแห่งจิตของตนอย่างไร? เปรียบเหมือนหญิงหรือชายรุ่น หรือเป็นหนุ่มเป็นสาว ผู้รักการประดับตกแต่ง เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในเงากระจกอันบริสุทธิ์ผ่องใส หรือในพื้นน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลีหรือมลทินในเงาหน้านั้น ก็พยายามเพื่อนำออกซึ่งธุลีหรือมลทินนั้นเทียว ถ้าไม่เห็นธุลีหรือมลทินในเงาหน้านั้น ก็มีความอิ่มใจ เต็มปรารถนา ด้วยเหตุนั้นแล ว่าเป็นลาภของเราหนอ. เงาหน้าของเราบริสุทธิ์หนอ ดังนี้ ฉันใด."

"ข้ออุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ

การพิจารณาดังต่อไปนี้ของภิกษุ ย่อมมีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย
๑. เราได้เจโตสมถะ (ความสงบแห่งจิต) ในภายใน หรือไม่ได้หนอ?
๒. เราได้อธิปัญญา(ปัญญาอันยิ่ง) อันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ หรือไม่ได้หนอ?"

ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "เราได้เจโตสมถะในภายใน และเพื่ออธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ." ในสมัยอื่น ภิกษุนั้นย่อมได้เจโตสมถะในภายใน และย่อมได้อธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ.

แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "เรายังไม่ได้เจโตสมถะในภายใน ยังไม่อธิปัญญา อันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรม" ภิกษุนั้น ก็ควรทำฉันทะ, ความพยายาม, ความอุตสาหะ, ความตั้งใจ, ความไม่ท้อถอย, สติและสัมปชัญญะอันมีประมาณยิ่ง เพื่อให้ได้กุศลธรรมเหล่านั้น. เหมือนคนที่มีผ้าถูกไฟไหม้ มีศีรษะถูกไฟไหม้ รีบทำผ้าหรือศีรษะนั้นให้ไฟดับไปฉะนั้น. ในสมัยอื่น ภิกษุนั้นย่อมได้เจโตสมถะในภายใน และได้อธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ.

แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "เราได้เจโตสมถะในภายใน ได้อธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ" ดังนี้. ภิกษุนั้น ก็ควรทำความเพียร เพื่อตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้น และเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะยิ่งขึ้นไป."

ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๐๔-๑๐๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสพกามทุกชนิดหย่อน ทรมานตนทุกชนิดตึง

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


dhama เขียน:
เสพกามทุกชนิดหย่อน ทรมานตนทุกชนิดตึง

ง่ายๆแต่ลึกซึ้ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 06:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การเสพกามก็เป็นการทรมานตนอย่างหนึ่ง

เหน็ดเหนื่อย

เหมือนหมาเลียกระดูก(คงไม่รุนแรงนะ)

ไม่มีวันอิ่ม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2009, 16:38
โพสต์: 81

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เสพกามทุกชนิดหย่อน ทรมานตนทุกชนิดตึง

การเสพกามก็เป็นการทรมานตนอย่างหนึ่ง

เหน็ดเหนื่อย

เหมือนหมาเลียกระดูก(คงไม่รุนแรงนะ)

ไม่มีวันอิ่ม

ง่ายๆแต่ลึกซึ้ง


:b32: :b32: :b32:

อ้างคำพูด:
ดังมี พระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า "จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
อ้างถึง มีพระพุทธพจน์ ตรัสถึง การฉลาดในเรื่องราวแห่งจิต
ไว้อีกพระสูตรหนึ่งที่น่าศึกษา


เห็นด้วยค่ะ...คุณหมอ
พระพุทธองค์ทรงสอนให้เราหมั่นฝึกจิตของตนเอง ด้วยตนเอง
ด้วยฉันทะ, ความพยายาม, ความอุตสาหะ, ความตั้งใจ, ความไม่ท้อถอย,
สติ และปัญญา การเห็นแจ้งในธรรม จะเกิดขึ้นได้
และเราจะมองเห็นกิเลสของตนเอง และไม่หลงมัวเมาไปกับมัน

ดูจากพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า

จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต

อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส สทฺธมฺมํ อวิชานโต
ปริปฺลวปสาทสฺส ปญฺญา น ปริปูรติ


เมื่อจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม
มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์


ดังนั้นการฉลาดในเรื่องราวแห่งจิต เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง
ถ้าเราหมั่นฝึกฝนจิตของตนเองเสมอต้นเสมอปลาย
ย่อมมีสติและปัญญาบริบูรณ์

:b48: tongue :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม สมัยที่จิตฟุ้งซ่าน(อุทัจจะฯ)
ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง สมัยที่จิตหดหู่(ถีนะมิทธะ)
ย่อมยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง จิตไม่แช่มขึ้น เพราะมีปัญญาและความเพียรอ่อนไป หรือเพราะไม่บรรลุสุขที่เกิดแต่ความสงบ
ย่อมวางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ปฏิบัติชอบ ไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน แช่มขึ้น เป็นไปสม่ำเสมอในอารมณ์ ไม่ต้องประคับประครอง

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 16:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีพระสูตร อีกพระสูตร
ตรัสถึง ธรรมที่ว่า

การที่จิตหดหู่ควรยังจิตให้ร่าเริง(ให้ตั้งขึ้น) ด้วยธรรมใดบ้าง?

และ

การที่จิตฟุ้งซ่านควรข่ม(ให้สงบ) ด้วยธรรมใดบ้าง?





ใน โพชฌงคสังยุตต์ - ๖. หมวด ที่ ๖ - อัคคิสูตร

[๕๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่นลงในไฟนั้น บุรุษนั้นจะสามารถก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?
ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.

[๕๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่าและไม่โรยฝุ่นในไฟนั้น บุรุษนั้นสามารถจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?
ภิ. ได้ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น.

[๕๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า และไม่โรยฝุ่นลงไปในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นสามารถจะดับไฟกองใหญ่ได้หรือหนอ?
ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.
พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.

[๕๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบ
เหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่น
ลงในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นจะสามารถดับกองไฟกองใหญ่นั้นได้หรือหนอ?
ภิ. ได้ พระเจ้าข้า.
พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อ
เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขา สัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว สติแลว่า มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 22:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


การข่มจิต(ให้สงบ) ในสมัยที่ฟุ้งซ่าน
และ
การยังจิตให้ร่าเริง(ให้ตั้งขึ้น) ในสมัยที่หดหู่

ผมเห็นว่า น่าจะเป็นดังที่แสดงใน อัคคิสูตร

การ"ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง" คือ ถ้าจิตไม่ฟุ้งซ่าน และ ไม่หดหู่ คือ ได้ดุลย์แล้ว ก็น่าจะประคองเอาไว้
ซึ่งใน สีติสูตร ก็กล่าวเอาไว้ตรงกลาง ระหว่าง การข่มจิต และ การยังจิตให้ร่าเริง




ส่วน การ "วางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย"(รับทราบสภาวะของจิตแล้ววาง คือ รู้อย่างเดียว) ในสีติสูตร นั้น
ปล...ความเห็นส่วนตัวน่ะครับ
นี่น่าจะเป็นลักษณะ จิตตานุปัสสนา ครับ



ผมมีโอวาทพระสุปฏิปันโน มาเสนอ ลองพิจารณากันดูน่ะครับ


โอวาทธรรม หลวงตา มหาบัว ญาณสัมปันโน :b8:


การอบรมจิต

จงใช้ปัญญาพิจารณาด้วยดีในอาการของธรรมทุกแง่ซึ่งเกิดขึ้นจากจิต
ความสัมผัสรับรู้ในขณะที่อารมณ์มากระทบจิต ไม่ให้พลั้งเผลอและนอนใจในอารมณ์ นั้นแลเรียกว่า ความเพียร

ดีชั่ว สุขทุกข์ เศร้าหมอง ผ่องใส จงตามรู้ด้วยปัญญาแล้วปล่อยไว้ตามสภาพ ไม่ยึดถือและสำคัญว่าเป็นตน

สิ่งใดที่ปรากฏขึ้นจงกำหนดรู้ อย่าถือเอาแม้แต่อย่างเดียว
รู้ชั่วปล่อยชั่ว กลับมาหลงดี ถือสิ่งที่ดีว่าเป็นตน นี้ก็ชื่อว่าหลง
จงระวังการมีสติหรือเผลอสติในขณะๆ นั้นๆ อย่าตามกังวล เป็นความผิดทั้งนั้น จงกำหนดเฉพาะหน้า พิจารณาเฉพาะหน้า

กายมีอยู่ จิตมีอยู่ ชื่อว่าธรรมมีอยู่
อย่าหลงธรรมว่ามีนอกไปจากกายกับจิต
ไตรลักษณ์หรือสติปัญญาก็ต้องมีอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกัน
จงพิจารณาในจุดที่บอกนั้น แม้ที่สุดทำผู้รู้หรือสติให้รู้อยู่ในวงกายตลอด โดยไม่เจาะจงในกายส่วนใดส่วนหนึ่งก็ถูก ข้อสำคัญให้จิตตั้งอยู่ในกาย อย่าใช้ความอยากเลยเหตุผลที่ตนกำลังทำอยู่ก็แล้วกัน การทำถูกจุดผลจะค่อยเกิดเอง ไม่มีใครแต่งหรือบังคับ
อย่าส่งจิตไปตามอดีตที่ล่วงแล้ว ไม่มีประโยชน์แม้แต่น้อย

16 มีนาคม 2503






ส่วนนี่ เป็นโอวาทธรรม ของ หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย :b8:

จาก อุบายวิธีดับไฟนรก

http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... oot_35.htm

ธรรมชาติของจิต จะไปหยุดนิ่งอยู่นาน ๆ ไม่ได้เดี๋ยวมันก็คิด ในช่วงนั้นถ้าเกิดความคิดขึ้นมาปล่อยให้คิดไป แต่ให้มีสติตามรู้ สิ่งที่มันคิดนั้นจะเป็นอะไรก็ได้เรื่องครอบครัว เรื่องการเรื่องงาน เรื่องผู้เรื่องคน จิปาถะสารพัดที่จะคิดขึ้นมา เมื่อมันคิดขึ้นมาอย่างนั้น ปล่อยให้คิดไป แต่ให้มีสติกำหนดตามรู้ รู้ รู้ เป็นการส่งเสริมให้จิตของเรามีพลังเข้มแข้ง เพราะความคิดเป็นอาหารของจิต ความคิดเป็นการบริหารจิตให้เกิดสติปัญญาจินตามยปัญญา ปัญญาเกิดขึ้นได้จากความคิด เมื่อจิตมีความคิด สติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ทุกขณะจิต ความคิดสะเปะสะปะเหลวไหลนั่นแหละจะกลายเป็นปัญญาในสมาธิเพราะจิตของเราคิดแล้วจะรู้สึกแต่เพียงสักแต่ว่าคิด คิดแล้วก็ปล่อยวางไป ๆ เมื่อสติสัมปชัญญะมีพลังแก่กล้าขึ้นกลายเป็นปัญญา เมื่อมีปัญญาก็สามารถกำหนดหมายรู้ความคิดว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วก็รู้พระไตรลักษณ์ขึ้นมา ก็กลายเป็นปัญญาในขั้นวิปัสสนาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น จะไปข้องใจสงสัยอยู่ทำไมหนอรีบเร่งบำเพ็ญภาวนาให้มากๆ ให้ได้สมาธิเป็นเบื้องต้น

ทีนี้ถ้าหากว่าท่านผู้ใดขี้เกียจ หรือไม่มีอะไรจะคิดก็ให้กำหนดจิตรู้ที่จิตเฉยๆ ถ้าจิตว่างรู้ที่ความว่าง ถ้าจิตคิดรู้ที่ความคิด ว่ารู้ที่ความว่าง คิดรู้ที่ความคิด ไล่ตามกันไปอย่างนี้ เมื่อเราฝึกหัดจนคล่องตัว จนชำนิชำนาญ ทีหลังเราอาจจะไม่ได้ตั้งใจกำหนดรู้อารมณ์จิตหรือความคิด สติก็ทำหน้าที่ตามรู้คอยควบคุม เมื่อมีสติสัมปชัญญะ จิตของเราก็รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อะไรผิด อะไรถูก มันจะรู้ของมันขึ้นมาเอง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 133 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร