วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 07:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความคิดเห็นหน่อยครับ

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


dhama เขียน:
ขอความคิดเห็นหน่อยครับ


หมายถึง พระ ในพระพุทธศาสนาใช่หรือไม่ครับ เพราะนักบวชหรือศาสนาอื่นก็ขอเหมือนๆกัน

ในทางพระพุทธศาสนา
๑.เรายอมรับเหตุผลเหมือนศาสนาอื่นข้อหนึ่งว่า เมื่อสละเรือน ออกบวช อาชีพ
ต่างๆที่เป็นของทางโลก ก็ไม่ควร เพราะนักบวชไม่มีกิจเช่นนั้นแล้ว กิจหลักคือปฏิบัติให้ตรงตามคำสอน
เพื่อบรรลุประสงค์สูงสุดของคำสอน ฉนั้น เรื่องการประกอบอาชีพก็งดไป เมื่อการประกอบอาชีพงดไป
กิจในครัวเรือนอันเนื่องด้วยการจัดทำจัดหาอาหารก็งดไปด้วย เพราะไม่ควรเช่นกัน

๒.เพื่อเกิดอุตสาหะในบรรพชา เพราะเกิดความภาคภูมิใจในอาหารที่ตนเองอาศัยลำแข้งหามา
ในสมัยก่อน ถึงยุคพุทธกาล บ้านกับวัดไม่ไช่ไกล้ๆกันเหมือนอย่างเดี๋ยวนี้ ตามประวัติ พระพุทธองค์ประทับ
ที่บนภูเขานอกเมือง เมื่อเสด็จบิณฑบาต ก็ต้องเสด็จมาในเมือง หรือบ้านตามชานเมือง ผู้ที่เกลียดคล้าน
เมื่อไปอยู่เช่นนั้นทุกวันก็แย่เหมือนกัน

๓.ลดต้นเหตุของการสะสม เพราะการประกอบอาหารเองนั้น การสะสมย่อมมีขึ้นได้ การเก็บอาหาร การปรุง
ล้วนแต่ต้องเก็บสะสมทั้งนั้น การอยู่การกินของสมณะนั้น ต้องสันโดษ

๔.ลดหรือบรรเทากิเลสบางตัวเพื่อฝึกตน เช่น การปรุงแต่งเพิ่มรสชาด เมื่อปรุงเองย่อมมีการปรุงแต่ง

๕.ยังกาลให้น้อมล่วงเลยไปเพื่อคุณของสมณะ ได้แก่นำเวลาส่วนใหญ่ไปในการปฏิบัติเพื่อทำตนให้เป็น
บุญเขต หรือนาบุญ ถ้ายังต้องปรุงทำกันเองฉันเอง คงเสียเวลาไม่ไช่น้อย

๕.เพื่อโปรดสัตว์ หมายความถึงเพื่อให้คนที่เลื่อมใสได้สละส่วนอาหาร เป็นการฝึกตนเพื่อลดความตระหนี่
และได้เห็นสมณะ เป็นเหตุให้เกิดความอยากเข้าไปไกล้ อยากสนทนา อยากฟังธรรม อยากรับข้อวัตรปฏบัติ
และสมณะเองก็มีโอกาสที่จะได้แสดงเหตุผลในทางศาสนาด้วย จากข้อ ๔ เมื่อสมณะถือเป็นบุญเขตแล้ว การ
ที่ผู้มีใจเลื่อมใสน้อมถวายอาหาร ก็เท่ากับเป็นกาลปลูก ๒ อย่างคือ ศรัทธา และเหตุแห่งมนุษย์-สวรรค์สมบัติ
เมื่อยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ฉนั้นทั้งหมดในข้อนี้จึงถือเป็นการโปรดสัตว์ ในพุทธประวัติก็มีกล่าวไว้

ทั้งนี้ การที่จะบรรลุประโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้ได้นั้น ผู้รับบิณฑบาต ผู้ให้ และวัตถุที่ให้ ต้องบริสุทธิ์ดี ในส่วนของ
ผู้รับ(พระ) ท่านให้เป็นผู้ขอ โดยขออย่างประเสริฐ ซึ่งมีข้องแตกออกไปอีกเล็กน้อยจากการขอปกติ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธูๆแจ่ม

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


dhama เขียน:
สาธูๆแจ่ม



ว่าแต่...สุดทางยังว้าาา :b12: :b9: :b9: :b12:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 21:25
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุนะคร้า

.....................................................
ศัตรูของคนเราที่แท้จริงแล้ว คือ โลภ โกรธ หลง
ต้องแก้ด้วยมี ศีล สมาธิ ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 22:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2009, 16:38
โพสต์: 81

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแจมนิดหนึ่ง....

อ้างคำพูด:
23927.ทำไมเป็นพระถึงต้องขออาอาหารไม่ทำอาหารกินเอง


เอ้อ...แล้วทำไมเอาตัวไปห่อผ้าเหลืองไว้ทำไมนี่...หรือไม่งั้นก็ให้มีเมียมีลูกไปอยู่วัดเสียด้วยก็หมดเรื่องไปเน๊าะ..แย่จัง.....แต่พระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างนี้นะ


เล่ม 35 หน้า 79

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคน
มิใช่เพื่อเรียกร้องคน (ให้มานับถือ) มิใช่เพื่ออานิสงส์ ลาภสักการะ
และความสรรเสริญ มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้
มิใช่เพื่อให้คนรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ที่แท้พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อสังวร (สำรวม) เพื่อปหานะ (ความละ)
เพื่อวิราคะ (ความหายกำหนัดยินดี) เพื่อนิโรธะ (ความดับทุกข์)

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นได้ทรงแสดงพรหมจรรย์ อันเป็นการละเว้นสิ่งที่กล่าวตามกันมา
เป็นทางหยั่งลงสู่พระนิพพาน เพื่อสังวร เพื่อปหานะ.
ทางนั้น มหาบุรุษทั้งหลายผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ดำเนินแล้ว ชนเหล่าใดดำเนินตามทาง
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้วนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา
จักกระทำที่สุดทุกข์ได้.

ยังไม่ทัน 5000 ปีเล้ย..ป่นปี้ในหัวจิตหัวใจคนได้ขนาดนี้ ....แต่หนะ ยังมีอยู่หรอกหน้า ที่..ยังแจ๋วอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุๆ แจ่ม

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 08:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุ แปลว่า ผู้ขอ
การที่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ออกบิณฑบาตนั้นถือเป็นกิจของสงฆ์ ที่ไปโปรดญาติโยม ให้ได้สร้างทานบารมี เพราะพระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก ดังคำกล่าวที่ว่า ปุญญัก เขตตัง โลกัสสาติ

และเมื่อมาดูถึงหลักความสัมพันธ์ของพุทธศาสนิกชน ที่ต้องปฏิบัติตนต่อพระพุทธศาสนา ดังนี้
เกื้อกูลพระ โดยปฏิบัติต่อพระสงฆ์ เสมือนเป็น ทิศเบื้องบน ดังนี้
1.จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
2.จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
3.จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
4.ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
5.อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 10:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่สายเกินไป เขียน:
ขอแจมนิดหนึ่ง....

อ้างคำพูด:
23927.ทำไมเป็นพระถึงต้องขออาอาหารไม่ทำอาหารกินเอง

เอ้อ...แล้วทำไมเอาตัวไปห่อผ้าเหลืองไว้ทำไมนี่...หรือไม่งั้นก็ให้มีเมียมีลูกไปอยู่วัดเสียด้วยก็หมดเรื่องไปเน๊าะ..แย่จัง.....แต่พระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างนี้นะ
เล่ม 35 หน้า 79
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคน
มิใช่เพื่อเรียกร้องคน (ให้มานับถือ) มิใช่เพื่ออานิสงส์ ลาภสักการะ
และความสรรเสริญ มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้
มิใช่เพื่อให้คนรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ที่แท้พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อสังวร (สำรวม) เพื่อปหานะ (ความละ)
เพื่อวิราคะ (ความหายกำหนัดยินดี) เพื่อนิโรธะ (ความดับทุกข์)

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นได้ทรงแสดงพรหมจรรย์ อันเป็นการละเว้นสิ่งที่กล่าวตามกันมา
เป็นทางหยั่งลงสู่พระนิพพาน เพื่อสังวร เพื่อปหานะ.
ทางนั้น มหาบุรุษทั้งหลายผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ดำเนินแล้ว ชนเหล่าใดดำเนินตามทาง
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้วนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา
จักกระทำที่สุดทุกข์ได้.
ยังไม่ทัน 5000 ปีเล้ย..ป่น*ในหัวจิตหัวใจคนได้ขนาดนี้ ....แต่หนะ ยังมีอยู่หรอกหน้า ที่..ยังแจ๋วอยู่


ต้องขอประทานโทษที่ต้องอ้างอิงข้อความที่คุณไม่สายเกินไปยกขึ้นมา
ความจริงแล้วหลักการปฏิบัติตนเองของบริษัททั้ง ๔ พระพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้แล้ว และทุกคนก็ควรที่จะปฏิบัติ
ตาม ตามพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นมานั้นก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าพรหมจรรย์เพื่ออะไร แต่ในความเป็นจริง ทุกยุคสมัย
นั่นเองก็ต้องมีออกนอกทาง แม้แต่ในสมัยพุทธกาลเอง ขนาดพระองค์ทรงพระชนม์อยู่ก็ยังมีนอกทาง หลักฐาน
ที่ปรากฏนั้นได้แก่ศีลอย่างน้อย ๒๒๗ ข้อบอกได้ดีถึงการประพฤติที่ไม่ตรง

ความจริง ภิกษุที่ละเมิดสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ หาไช่ว่าภิกษุนั้นจะตัดรากถอนโคนของพรหมจรรย์
เสมอไป อาบัติบางอย่างแม้ผิดซ้ำซากทุกวันๆ ก็ไม่ได้ทำให้ภิกษุภาวะขาดสิ้นไป และไม่ได้ตัดทางของมรรค
ผลเสมอไป อาบัติที่ทำให้ขาดการเป็นภิกษุมีเพียง ๔ ข้อ เท่านั้น ในกรณีที่ต้องอาบัติอื่น ภิกษุภาวะยังมิเสียไป
ข้อนี้จำต้องยึดอาศัยหลักการตัดสินของพระธรรมวินัย หาไช่เอาการตัดสินด้วยอารมณ์ของเราคนธรรมดาเองว่า
พระรูปนั้นรูปนี้ต้องอาบัตินี้ พระวัดนี้ไม่ดี พระเรี่ยรายเงินรับตังค์ การต้องอาบัติเช่น ฉันอาการเวลาวิกาล
หรือการรับเงินทอง แม้ท่านรับตั้งแต่วินาทีแรกที่บวชสำเร็จความเป็นพระ ก็ไม่สามารถทำให้ท่านขาดจากความ
เป็นพระได้ จะคว่ำบาตรตามพุทธานุญาตหรืออุกเขปนียกรรมหรือตัดจากหมู่ แม้โดยที่สุดจะมีโทษให้ท่านต้อง
ลาสิกขาบทไปก็ตาม แต่ขณะที่ยังเป็นพระ ก็ถือไม่ได้ว่าท่านขาดจากการเป็นพระและไม่มีเหตุให้ท่านต้อง
ขาดจากภิกษุภาวะไปโดยปริยายเช่นกัน

อุบาสกอุบาสิกาเช่นเราทั้งหลาย มีหน้าที่แสวงหาบุญเขตและเกื้อกูลสมณะชีพรามณ์ในศาสนา เราก็ทำไป
และทรงวางแนวทางว่า พระองค์สรรเสริญทานที่บุคคลเลือกแล้วทำ ในข้อนี้เอง เป็นหน้าที่ที่เราต้องเลือกแล้วทำ
พระจะดีชั่ว อย่าได้ว่าก่อน อย่าได้ตำหนิก่อน วางใจเป็นกลางก่อน แล้วดูไป เมื่อแน่นอนตกลงใจว่าไม่ดีแล้ว
ก็ละไป เว้นไป ไม่ใส่ใจไป หาที่ถูกที่ต้องทำ ใครจะไปทำไปให้กับพระที่เราแน่ใจว่าไม่ดี ก็เป็นเรื่องของบุคคล
นั้นๆเอง พระไม่ดี บุคคลไม่ดี ก็เป็นเรื่องที่เขาจะปรากฏตามกรรมของเขาเอง เราต่างหากที่ไปเป็นทุกข์มีใจไม่
สบายเพราะเรารักษาใจไม่ดี มีใจไม่วางเฉย เหมือนเราเห็นบ่อโคลนตมสกปรก รู้ว่าไม่สะอาด ก็ยังกระโดลงไป
ทั้งที่จริงเราควรเฉยเสีย ก็เลยเปื้อนไปด้วย ทางที่ควร อย่าหาวิบากใส่ตัว วางใจเป็นกลางไปดีกว่า

ข้อคิดของผมเอง ผมเทียบง่ายๆแบบปุถุชนทั่วไป ถ้าไม่ขาดจากความเป็นพระแล้ว ผิดศีลล่วงอาบัติ ๒๐ ข้อ
ผมยังได้ส่วนบุญ ๒๐๗ ส่วน ก็ยังมีเหลือให้ผมบ้าง ในมุมกลับกัน ถ้าไปว่ากล่าวด้วยคำหยาบคาย ใจเราขุ่นมัว
แม้หวังดี อาจส่งผลให้ได้ส่วนบุญ ๒๐ แต่ส่วนบาปอาจมากถึง ๒๐๗ เพราะในข้อไม่ผิดถึง ๒๐๗ ยังนับว่าสูง
กว่า มากกว่า ยากกว่าคนธรรมดามาก

ผมเคยบวชในพระพุทธศาสนามา ได้อยู่วัดใหญ่โตมีชื่อเสียง เห็นมาอาจมากกว่าที่คนอื่นเห็น ผมก็สามารถ
ทำใจเป็นกลางได้ ไม่หวั่นไหว เพราะเหล่านั้นแค่บุคคลไม่ใช่พระสงฆ์ตามหลักที่พระพุทธเจ้าให้ถือเป็นสรณะ
ในมุมกลับกัน ฆราวาสคนธรรมดา แต่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบบรรลุมรรคผล ท่านเหล่านี้อาจเป็นสรณะที่พระพุทธเจ้า
ทรงหมายถึงได้

อนึ่ง การวางเฉยไม่จัดว่าเป็นการไม่ดูแลศาสนา หรือการถวาย ให้ ก็ไม่จัดว่าเป็นการส่งเสริมให้พระทำผิดวินัย
โดยตรงนัก แม้จะผิดวินัย ก็ไม่ตรงเจตนาของผู้ที่ถวาย ทุกกรณีย่อมมีเหตุเจตนาเป็นกรณีไป ผมเคยทำบุญถวาย
ค่าไฟฟ้าวัด นั่นคือผมถวายไฟฟ้าแสงสว่าง ผมไม่สามารถผลิตหรือทำเองขึ้นมาได้ การที่ผมจะไปรอจ่ายเองก็
ลำบากผมอีกแทนที่จะได้บุญ การรออาจทำให้หมองไป จะถวายทั้งหมดก็ไม่ไหว มากเกินฐานะ ก็ถวายเป็นเงิน
ไป ผมถวายไฟฟ้าท่าน ผมถวายแสงสว่างท่าน ท่านรับแล้วจะผิดเจตนาผมหรือท่านเห็นเป็นเงิน ก็สุดแท้แต่ท่าน
มุมมองนี้ยากมาก แม้พัดยศที่พระราชาถวายพระสมัยนี้เองในวันที่ ๕ ธันวาคมทุกปี บางตำแหน่งสูงพัดก็จะวิจิตร
ตามไปด้วย บางพัดก็ลงดิ้นลายทองประดับพลอย ตรงนี้ดูดีๆ พระราชาถวายหน้าที่ ตำแหน่ง ยศ หาใช่ถวายพลอย
ถวายเส้นทองที่ติดพัดไม่

อายุศาสนาตามที่ทรงพยากรณ์ไว้นั้น ไม่ไช่ว่าจะดีตั้งแต่ต้น เป็นธรรมดาอยู่เอง ทุกอย่างในโลกย่อมเป็นไปตาม
กฎของไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับไม่ได้ ย่อมสิ้นไป เสื่อมไป สูญไป ดีเลวตามเหตุปัจจัย ถ้าสังเกต
ด้วยใจเป็นกลางจะรู้ว่า ศาสนาไม่เสื่อมเลย แต่ผู้ปฏิบัติในศาสนาเสื่อมไป พระธรรมที่ชื่อว่าพระธรรมเพราะทรง
ไว้เองอย่างนั้นอยู่อย่างนั้น คนที่หายไปเสื่อมไปเปลี่ยนแปลงไปก็คือคนที่จะมาจรรโลงศาสนาเท่านั้น ตอนนี้ที่ทำได้
เหมาะกับกาลที่สุดคือ เราทำเราเองให้ดีไว้ก่อน ประคับประครองเราเองให้รู้ถึงคำสอนที่ถูกไว้ก่อน คนอื่นปล่อย
เขาตามกรรมที่เขาทำมาเอง เพราะเขาให้มรรคผลเราไม่ได้ การจะไปเพ่งตำหนิ ยกไว้ก่อน ไม่ควร และถ้าทำได้
เช่นนี้ ก็เท่ากับเราประคับประครองอายุพระศาสนาไปในตัวด้วย

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุๆแจ่ม

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




f54802676.gif
f54802676.gif [ 16.55 KiB | เปิดดู 7195 ครั้ง ]
dhama เขียน:
สาธุๆแจ่ม


คุณน่าชื่อคุณแจ่มนะขอรับ ไม่มีความเห็นอะไรเลย เอาแต่สาธุๆแจ่ม :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
dhama เขียน:
สาธูๆแจ่ม


ว่าแต่...สุดทางยังว้าาา


แบบนี้ไม่นานสุดทางแน่ๆ สาธๆแจ่ม :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ละท่านให้เหตุผลดีมันก็สว่าง แจ่มของผมแปลว่าสว่าง

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2009, 16:38
โพสต์: 81

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 260

๘. อัคคิขันธูปมสูตร
[๖๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้น-
โกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จดำเนินไปสู่ทางไกล
ได้ทอดพระเนตรเห็นไฟกองใหญ่ กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่
ในที่แห่งหนึ่ง จึงเสด็จแวะจากทางประทับนั่งบนอาสนะทีปูลาดไว้ใกล้
โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นไฟกองใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
อยู่หรือไม่ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน การเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลัง
ลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ กับการเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระ-
ราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้า
อ่อนนุ่ม อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือ
นอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี
ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม นี้ประเสริฐกว่า ส่วนการที่บุคคลเข้าไป
นั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
อยู่เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เดือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 261

สกปรกน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็น
สมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่าประพฤติ
พรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ เข้าไป
นั่งกอดหรือนอนกอดพระราชะดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาว
คฤหบดี จะประเสริฐอย่างไร การเข้าไปนั่งกอดนอนกอดกองไฟ
ใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะ
การเข้าไปกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึง
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาติ นรก เพราะการเข้าไปกอดกองไฟใหญ่
นั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก มีความ
ประพฤติสกปรก น่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่
ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่า
ประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ
เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือ
บุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่มนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานแก่เขา และ
ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษ
มีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้างแล้วชักไปมา
เชือกหนังพึงบาดผิว บาดผิวแล้ว พึงบาดหนัง บาดหนังแล้ว พึง
บาดเนื้อ บาดเนื้อแล้ว พึงตัดเส้นเอ็น ตัดเส้นเอ็นแล้ว พึงตัดกระดูก
ตัดกระดูกแล้ว หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก กับการยินดีการกราบไหว้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 262

แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
ไหนจะดีกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีการกราบไหว้แห่ง
กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า
การที่บุรุษผู้มีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้าง
แล้วชักไปชักมา เชือกหนังพึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่จดเยื่อใน
กระดูก นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดี
การกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ
คฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง เอาเชือกหนัง
อันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้าง แล้วชักไปชักมา เชือกหนัง
พึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้น
เป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะขอนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดัง
หยากเยื่อ ยินดีกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล
หรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษที่มีกำลัง
เอาหอกอันคมชะโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอก กับการยินดีอัญชลีกรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 263

ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
ไหนจะดีกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีอัญชลีกรรมของ
กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมพาศาล นี้ดีกว่า
ส่วนการที่บุรุษมีกำลังเอาหอกอันคมชะโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอก
นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดี
อัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี-
มหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษกำลัง เอาหอกอันคมชะโลม
น้ำมัน พุ่งใส่กลางอก นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุ เพราะเขา
จะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้น
เมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้น
เป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดี
อัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี-
มหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์
สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลังเอาแผ่น
เหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว กับการบริโภค
จีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล
หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 264

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคจีวรที่เขาถวายด้วย
ศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
มหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง เอาแผ่นเหล็กแดงไฟกำลังลุก
รุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลนั้นทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ
บริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์
มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล. จะดีอย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง
เอาแผ่นเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว นี้ดีกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่เขาเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดัง
หยากเยื่อ บริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล
พราหมณ์มหาศาล. หรือคฤหบดีมหาศาล นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น
และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
การที่บุรุษมีกำลังเอาขอเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
เกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
เข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น
ไหม้คอ ไหม้อก ไหม้เรื่อยไปถึงไส้ใหญ่ไส้น้อย แล้วออกทางทวาร
เบื้องต่ำ กับการบริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 265

กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหน
จะดีกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคบิณฑบาตที่เขา
ถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ
คฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง เอาขอเหล็กแดงไฟ
กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง เกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง
ไฟกำลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึง
ไหม้ริมฝีปาก... แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ
บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล
พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่
บุรุษมีกำดัง เอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยวปาก
อ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้า
ในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปากะ... แล้วออกทางทวาร
เบื้องต่ำ นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ นั้นพึงถึงความตาย
หรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่
บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวาย
ด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
มหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์
สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 266

ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง จับที่
ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับนอนทับบนเตียงเหล็กหรือตั่งเหล็กแดง
ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง กับการบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวาย
ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
มหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวาย
ด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
มหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอแล้ว
ให้นั่งทับหรือนอนทับเตียงหรือตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์
โชติช่วง นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ
บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล
พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษ
ผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับหรือนอนทับเตียง
หรือตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง นั้นดีกว่า ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นจะพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ
เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของ
กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นั้น ย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 267

เป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่
บุคคลผู้ทุศีลนั้น ละบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง
โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ผู้นั้นถูก
ไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น นางครั้งลอยขึ้นข้างบน
บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวาง ๆ กับการบริโภค
วิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์-
มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลไหนจะดีกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภควิหารที่เขาถวาย
ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
มหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง
โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ผู้นั้นถูก
ไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้นข้างบน
บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวาง ๆ นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ
บริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา การที่บุรุษมีกำลัง จับเอา
เท่านั้น เอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์
โชติช่วง ถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำ ในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้ง
ลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอย ไปขวาง ๆ
นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นพึงเข้าถึงความตายหรือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 268

ทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคล
ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา
ข้องกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบทายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอด
กาลนาน แก่บุคคลผูทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ
เหตุนั้นแหล่ะ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายบริโภค
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของ
เหล่าใด ปัจจัยของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์มากและ
การบรรพชาของเราทั้งหลายจักไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล อนึ่ง เธอทั้งหลาย
พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์นั้น ควรแท้ทีเดียว
ที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท เมื่อพิจารณา
เห็นประโยชน์ผู้อื่น ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จ
ด้วยความไม่ประมาท หรือเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้งสอง
ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์ทั้งสองนั้นสำเร็จด้วยความไม่
ประมาท.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
และเมื่อกำลังตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ โลหิตร้อนพุงออกจากปาก
ของภิกษุ ๖๐ รูป (พวกต้น) ภิกษุ ๖๐ รูป (พวกกลาง) ลาสิกขา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 269

ลึกมาเป็นคฤหัสถ์ ด้วยกราบทูลพระผุ้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำได้
แสนยาก อีก ๖๐ รูป จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น.
จบ อัคคิขันธูปสูตรที่ ๘

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ใครจะดีจะชั่ว ไม่ไช่ภาระเราจะไปว่ากล่าวเขา ถึงในคัมภีร์จะบอกโทษมากมายของความไม่ดี
ก็ไม่ไช่เรื่องของเราจะไปโพนทนาว่ากล่าวคนอื่น ถ้าเขาปวารณาไว้ก็อีกเรื่องหนึ่งไป
มองตัวเรา ค้นหาที่กายนี้ ทำตนให้หลุดพ้นไปดีกว่า การที่มัวมองโทษคนอื่นมากเกินพองาม
ก็เท่ากับเพ่งโทษนั่นเอง ไม่มีอะไรดีขึ้นหรอก มีแต่เราเองได้กิเลสเพิ่ม ที่สำคัญไม่มีในหน้าที่
ของอุบาสกอุบาสิกาที่จะมานั่งเพ่งโทษนักบวช พระพุทธองค์เห็นจะไม่ได้ตรัสไว้
คัมภีร์ต่างๆมีไว้เพื่อศึกษาหาทางออกจากทุกข์ ไม่ไช่มีไว้เพื่อติเตียนใคร อ่านอย่างไร รู้อย่างไร
ก็ไม่สมประโยชน์สูงสุดของการอ่าน เรียกว่ารู้ แต่ไม่มี ก็ยังจนในศาสนานี้
หน้าที่อุบาสกผมยังอ่านไม่เจอเลยที่บอกให้ออกมาติเตียนด้วยถ้อยคำที่ไม่สมควร ทุกวันนี้เลยไม่ออกมาติเตียน
ทั้งที่ความจริงผมรู้ข้อผิดพลาดมากมายของหมู่สงฆ์

วันนี้ทุกท่านเจริญสติปัฏฐานแล้วหรือยัง :b8:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 86 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร