วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 09:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อปัญญาที่เกิดพร้อมสติ ซึ่งระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูป-

ธรรมสมบูรณ์เป็นวิปัสสนาญาณแต่ละขั้นแล้ว ก็ประกอบด้วยโพชฌงค์ ๗ คือ

องค์ธรรมของการตรัสรู้อริยสัจจธรรม โพชฌงค์ ๗ คือ ...

๑. สติสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ สติเจตสิก

๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ ปัญญาเจตสิก

๓. วิริยสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ วิริยเจตสิก

๔. ปีติสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ ปีติเจตสิก

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ กายปัสสัทธิเจตสิกและจิต-

ตปัสสัทธิเจตสิก

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ เอกัคคตาเจตสิก

๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก




เมื่ออินทรีย์ ๕ เจริญเพิ่มขึ้น เป็นสภาพธรรมที่มีกำลัง ไม่หวั่นไหวใน

การพิจารณาอารมณ์ใดๆ ที่ปรากฏ ก็เป็นสภาพธรรมที่เป็น พละ ๕ คือ ...

๑. สัทธาพละ ไม่หวั่นไหวไปด้วยความไม่ศรัทธา

๒. วิริยพละ ไม่หวั่นไหวไปด้วยความท้อถอย

๓. สติพละ ไม่หวั่นไหวในการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมใดๆ ที่ปรากฏ

๔. สมาธิพละ ไม่หวั่นไหวไปด้วยความฟุ้งซ่านไม่มั่นคง

๕. ปัญญาพละ ไม่หวั่นไหวไปด้วยความไม่รู้

การที่สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ จะเป็นสภาพธรรมที่มีกำลังได้ ก็เมื่อ

ปัญญาเป็นพละ เพราะรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมทั่วขึ้น จึงไม่หวั่นไหว

ที่จะระลึกรู้ได้ว่า ขณะที่กำลังเห็นเป็นนามธรรมและรูปธรรมอย่างไร ขณะที่กำลัง

ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้โผฏฐัพพะ ก็โดยนัยเดียวกัน

การที่อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ จะดำเนินไปได้ ก็ต้องอาศัยการสะสม

เจริญขึ้นของอินทรีย์ ๕ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ในการนำไปสู่สัมมามัคค์

หนทางปฏิบัติที่ถูกต้อง อินทรีย์ ๕ คือ ...

๑. สัทธินทรีย์ ได้แก่ สัทธาเจตสิก เป็นใหญ่ในการมีศรัทธาที่จะระลึกรู้ลักษณะ

ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

๒. วิริยินทรีย์ ได้แก่ วิริยเจตสิก เป็นใหญ่ ไม่เกียจคร้าน ไม่ท้อถอยที่จะระลึกรู้

ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

๓. สตินทรีย์ ได้แก่ สติเจตสิก เป็นใหญ่ในการไม่หลงลืม ระลึกรู้ลักษณะของ

สภาพธรรมที่ปรากฏ

๔. สมาธินทรีย์ ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก เป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในอารมณ์ที่

ปรากฏ

๕. ปัญญินทรีย์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก เป็นใหญ่ในการไตร่ตรอง พิจารณา

สังเกตศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ


ความเพียรซึ่งเป็น สัมมัปปธาน ๔ นั้น ย่อมเป็นบาทให้สำเร็จผล

ร่วมกับสัมปยุตตธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกับสภาพธรรมที่เป็น อิทธิบาท ๔ คือ ..

๑. ฉันทิทธิบาท ได้แก่ ฉันทเจตสิก ความพอใจที่จะสังเกตพิจารณา รู้ลักษณะ

ของสภาพนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ๑ การยัง

ผลสำเร็จให้เกิดขึ้นโดยอาศัยความพอใจนั้น พึงเห็นเช่นกันกับบุตรอำมาตย์

ผู้ไม่ประมาทในการบำรุงพระราชา จึงได้ฐานันดรโดยอาศัยการบำรุงนั้น

๒. วิริยิทธิบาท ได้แก่ วิริยเจตสิก ความเพียรที่จะสังเกต พิจารณา รู้ลักษณะ

ของนามธรรม และรูปธรรมที่กำลังปรากฏ ๑ การยังผลสำเร็จให้เกิดขึ้นโดย

อาศัยความเพียรนั้นพึงเห็นเช่นกับบุตรอำมาตย์ ผู้ยังพระราชาให้พอพระทัย

โดยความเป็นผู้กล้าหาญในการงาน แล้วได้ฐานันดร

๓. จิตติทธิบาท ได้แก่ จิต ๒ การยังผลสำเร็จให้เกิดขึ้นโดยอาศัยจิตนั้น พึง

เห็นเช่นกันกับบุตรอำมาตย์ผู้ได้ฐานันดรเพราะความถึงด้วยดีแห่งชาติ

๔. วิมังสิทธิบาท ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ไตร่ตรอง สังเกต พิจารณาลักษณะ

ของสภาพธรรม ๓ การยังผลสำเร็จให้เกิดขึ้นโดยอาศัยปัญญานั้น พึงเห็น

เช่นกับบุตรอำมาตย์ผู้ได้ฐานันดรเพราะอาศัยความรู้

บุตรอำมาตย์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ถึงแล้วซึ่งฐานันดรโดยกำลังแห่ง

ภาวะอันเป็นที่อาศัย (โดยความสามารถ) ของตนๆ
ผู้อบรมปัญญาเป็นผู้ตรง เมื่อสติปัฏฐานเกิด ก็รู้ว่าต่างกับขณะที่

หลงลืมสติ เมื่อสติปัฏฐานเกิดในตอนต้นๆ นั้น ยังไม่รู้ชัดในลักษณะของนาม-

ธรรมและรูปธรรม ความเพียรที่เกิดพร้อมสติปัฏฐานที่ระลึกรู้ สังเกต พิจารณา

ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏจึงเป็น สัมมัปปธาน ๔ คือ ...

สังวรปธาน ๑ ปหานปธาน ๑ ภาวนาปธาน ๑ อนุรักขนาปธาน

๐ สังวรปธาน คือ เพียรเพื่อไม่ให้อกุศลธรรม (ที่ยังไม่เกิด) เกิดขึ้น

๐ ปหานปธาน คือ เพียรเพื่อละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

๐ ภาวนาปธาน คือ เพียรเพื่อให้กุศลธรรม (ที่ยังไม่เกิด) เกิดขึ้น

๐ อนุรักขนาปธาน คือ เพียรเพื่อความเจริญ มั่นคง บริบูรณ์ของกุศล

ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 21:25
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณนะค่ะที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมะ

:b12: :b33: :b33:

.....................................................
ศัตรูของคนเราที่แท้จริงแล้ว คือ โลภ โกรธ หลง
ต้องแก้ด้วยมี ศีล สมาธิ ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 04:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิปักขิยธรรม 37 ประการคลุมหมดแล้วงับ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร