วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 03:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 00:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอภิธรรม
คือ ปรมัตทธรรม มี จิต เจตสิก รูป นิพพาน จิต คือ ธรรมชาติที่ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์ มี 89-121 ดวง ซึ่งจิตที่กล่าวต่อไปนั้นเป็นอาการของจิต
โลกปรากฏ = การเกิดของจิต = วิญญาณ = การรู้
• จิต คือ ธรรมชาติที่จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์
• อารมณ์ คือ ธรรมชาติที่ถูกจิตรู้ = ปรมัตถธรรม 4 + บัญญัติ
1) จิต = ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
2) เจตสิก = ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต
3) รูป = ธรรมชาติที่ไม่รู้อารมณ์ แตกดับด้วยวิโรธิปัจจัย
4) นิพพาน = ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง
5) บัญญัติ = สิ่งที่สมมุติขึ้นเรียกขาน
• สภาวะของจิต
1) ทูรังคมัง >> ไปไกล >> สามารถนึกไปที่ใดในจักรวาล ชั่วอึดใจเดียว
2) เอกจรัง >> ไปเดียว >> ในร่างเดียวมีจิตเดียว
3) อสรีรัง >> ไม่มีสรีระ >> ไม่มีรูปร่าง
4) คูหาสยัง >> มีคูหาเป็นที่อยู่อาศัย >> มีปสาทรูป 5 + หทยวัตถุเป็นที่อยู่อาศัย
• จิตมี 4 ชาติ ได้แก่
1) กุศลชาติ = จิตที่เป็นกุศล  โสภณจิต
2) อกุศลชาติ = จิตที่เป็นอกุศล  อกุศลจิต
3) วิบากชาติ = จิตที่เป็นวิบาก  อเหตุกจิต
4) กิริยาชาติ = จิตที่เป็นกิริยา  โลกุตตรจิต
• จิตเกิดจากการกระทบ (ผัสสะ) กันของธรรม 2 อย่าง คือ
1) อายตนะภายใน 2) อายตนะภายนอก
• จิต (วิญญาณ) เกิดที่อายตนะภายใน 6 >> ปสาทรูป 5 และ หทยวัตถุ = ปรากฏทางทวาร 6









ทวาร อารมณ์ ปัจจัย อุปการะ ปัจจยุบัน
(อายตนะภายใน) (อายตนะภายนอก)(เหตุใกล้) (เหตุไกล) (ผลปรากฏ)
1) จักขุปสาทรูป + รูปารมณ์ มนสิการ โอภาส  จักขุวิญญาณ (เห็นสี)
2) โสตปสาทรูป + สัททารมณ์ มนสิการ ช่องว่าง  โสตวิญญาณ (ได้ยิน)
3) ฆานปสาทรูป + คันธารมณ์ มนสิการ วาโย  ฆานวิญญาณ (รู้กลิ่น)
4) ชิวหาปสาทรูป + รสารมณ์ มนสิการ อาโป  ชิวหาวิญญาณ (รู้รส)
5) กายปสาทรูป + โผฏฐัพพารมณ์ มนสิการ ปฐวี  กายวิญญาณ (รู้กระทบ)
6) หทยวัตถุรูป + ธรรมารมณ์ มนสิการ  มโนวิญญาณ (รู้นึกคิด)
• จิต มี 2 ลักษณะ คือ
1) วิเสสลักษณะ เป็นคุณลักษณะเฉพาะของจิต >> ลักขณาทิจตุกะ 4 ประการ
1. วิชานนลักขณัง = มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
2. ปุพังคมรสัง = เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ
3. สันธานปัจจุปัฏฐานัง = มีการเกิดขึ้นต่อเนื่องไม่ขาดสาย เป็นอาการปรากฏ
4. นามรูปปทัฏฐานัง = มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
2) สามัญญลักษณะ เป็นคุณลักษณะทั่วไปของจิต >> ไตรลักษณ์ >> ลักษณะ 3
1. อนิจจัง = ความไม่เที่ยง
2. ทุกขัง = เป็นทุกข์
3. อนัตตา = ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้
• จิต เป็นสภาวธรรมที่ทำให้วิจิตร
1) วิจิตรในการกระทำ >> สามารถทำให้งดงาม, แปลก, พิสดาร, น่าพิศวง, พิลึกกึกกือ
2) วิจิตรด้วยตนเอง >> ตัวจิตเองก็แปลกน่าพิศวง ... จิตดี, จิตชั่ว, จิตสงบ, จิตฟุ้งซ่าน
3) วิจิตรในการส่งสมกรรมและกิเลส >> จิตนั่นแหละเป็นตัวก่อกรรมทำเข็ญ และก็จิตนั่นแหละเป็นตัวสะสมกรรมและกิเลส ที่ตัวเป็นผู้ทำไว้เอง
4) วิจิตรในการรักษาไว้ ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้ >> กรรมทั้งหลายที่จิตเป็นตัวก่อให้เกิดขึ้นนั้น จะไม่สูญหายไปไหนเลย แม้จะช้านานปานใด เมื่อได้ช่องสบโอกาสเป็นต้องได้รับผลของกรรมเมื่อนั้นจนได้
5) วิจิตรในการสั่งสมสันดานของตนเอง >> การกระทำกรรมอย่างใด ๆ ก็ตาม ถ้ากระทำอยู่บ่อยๆ เสมอๆ เป็นเนื่องนิจ ก็จะฝังในนิสัยสันดาน ให้ชอบกระทำชอบประพฤติอย่างนั้นเรื่อยๆ ไป
6) วิจิตรด้วยอารมณ์ต่าง ๆ >> จิตนี้รับอารมณ์ได้ไม่จำกัด
• คุณสมบัติของจิต
1. การรู้ของจิต กับการรู้ของเรา เป็นคนละเรื่องกันทีเดียว
2. การรู้ของเรา เกิดจากการเรียนรู้โดย >> การอ่านตำรา, ฟังบรรยาย, คิดไตร่ตรอง ด้วยสัญญา
3. การรู้ของจิต จิตเขารู้ของเขาเอง >> เขาจะรู้ได้ก็ต้องมี เราเป็นพี่เลี้ยง (สร้างเหตุและปัจจัย)
>> จิตจะตัดสินความรู้ ด้วยตัวของเขาเอง
4. การสร้างเหตุ >> การเจริญสติปัฏฐาน  เพียงระลึกรู้ตัว
>> ศีล, สมาธิ, ปัญญา
>> เป็นเพียงผู้สังเกต สภาวธรรมที่กำลังปรากฏ
5. การให้ผล >> ความสลัดคืน
>> ความปล่อยวางของจิต ก็เป็นไปเอง
>> ความรู้ ความเห็น ที่เกิดขึ้นก็เป็นไปเอง
6. เมื่อจิตบริบูรณ์ด้วยความรู้ในอริยสัจ แล้ว จิตจะไม่วกกลับเข้ามายึดถือของสกปรก คือ ขันธ์ อีก
• จริต (จริยา)ของจิต = ความประพฤติ หรือ พื้นเพของจิต มี 2 ประเภท
ก) จริต 6 = ทางสมถะ
1. ราคะจริต = ปกติ มี ราคะ หนาแน่น >> เป็นคนรักสวยรักงาม (มักโลภ)
2. โทสจริต = ปกติ มี โทสะ หนาแน่น >> เป็นคนมักโกรธ มักขัดเคือง
3. โมหะจริต = ปกติ มี โมหะ หนาแน่น >> เป็นเหม่อลอย ปัญญาทึบ
4. ศรัทธาจริต = ปกติ มี ศรัทธา หนาแน่น >> เป็นคนมีศรัทธากล้าแข็ง
5. พุทธิจริต = ปกติ มี ปัญญา หนาแน่น >> เป็นคนชอบขบคิดในสภาวธรรม
6. วิตกจริต = ปกติ มีความตรึกหนาแน่น … ชอบคิดไปในเรื่องราวต่างๆ
>> โดยส่วนมาก มักจะคิดไปในสิ่งไม่มีสาระ ไม่มีประโยชน์
ข) จริต 2 = ทางวิปัสสนา
1. ตัณหาจริต = ปกติ มี โลภะ + โทสะ หนาแน่น >> เป็นคนทางโลก = ฆราวาส
2. ทิฏฐิจริต = ปกติ มี มานะ + ทิฏฐิ หนาแน่น >> เป็นนักบวช = บรรพชิต
• ประเภทของจิต แบ่งเป็น 3 ประเภท
1. อกุศลจิต = จิตที่ไม่สะอาด ไม่งาม ที่ทราม ชั่ว หยาบ >> เป็นบาป ให้ผลเป็นทุกข์
2. อเหตุกจิต = จิตที่ไม่เป็นบุญเป็นบาป สื่อน้อมนำมาซึ่งบุญและบาป >> เป็นวิบาก
3. โสภณจิต = จิตที่สะอาดดีงาม ไม่เดือดร้อน >> เป็นบุญปราศจากโทษ ให้ผลเป็นสุข
• จิต มีจำนวน 89 หรือ 121 ดวง ดังนี้
อกุศลจิต 12  เป็นธรรมที่ควรละ เกิดจากมูลเหตุ 3 ประการ
1) โลภมูลจิต 8 = จิตที่เกิดจากความโลภ อยากได้
2) โทสมูลจิต 2 = จิตที่เกิดจากความเกลียด โกรธ ประทุษร้าย ทำลาย
3) โมหมูลจิต 2 = จิตที่เกิดจากความไม่รู้ ความหลง
 เหตุเกิดอกุศลจิต >> อโยนิโสมนสิการ = การไม่ใส่ใจอารมณ์ด้วยดี มีเหตุ 5
1. ปุพเพ จ อกตปุญญตา = ไม่ได้สร้างสมบุญไว้ในชาติปางก่อน
2. อัปปฏิรูปเทศวาส = อยู่ในประเทศที่ไม่สมควร (ไม่มีสัปบุรุษ)
3. อสัปปุริสูปนิสสย = ไม่ได้คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ
4. อสัทธัมมัสสวน = ไม่ได้ฟังธรรมของสัปบุรุษ
5. อัตตมิจฉาปนิธิ = ตั้งตนไว้ผิด
 ผลแห่งอกุศลจิต 12
1. โลภมูลจิต 8 >> ทำให้สัตว์ไปเกิดเป็น เปรต อสุรกาย
2. โทสมูลจิต 2 >> ทำให้สัตว์ไปเกิดใน นรก
3. โมหมูลจิต 2 >> ทำให้สัตว์ไปเกิดเป็น เดรัจฉาน
 เหตุที่ประหาร อกุศลมูล 3
ก) ด้วยการวางใจ ในอารมณ์
1. โลภมูลจิต >> ละด้วยสันตุฏฐี >>ความสันโดษ
>>ความพอใจเท่าที่มีอยู่
>>ความพอใจเท่าที่มีกำลังตนหามาได้
>>ความพอใจเท่าที่มีหาได้โดยชอบธรรม
2. โทสมูลจิต >> ละด้วยเมตตา >>ศึกษาและภาวนาในเมตตานิมิตเนืองๆ
>>พิจารณาว่าเป็นกรรมของตน
>>ทำให้มากด้วยปัญญา
3. โมหมูลจิต >> ละด้วยปัญญา >>เป็นพหูสูต ได้ยินได้ฟังมาก
>>หมั่นสอบสวนทวนถาม
>>มีกัลยาณมิตรที่ดี
>>ได้ฟังถ้อยคำสัปปายะ
ข) ด้วยสมถะ = เพ่งอารมณ์เข้าสู่ความสงบ
ค) ด้วยวิปัสสนา = ระลึกรู้เท่าทันอารมณ์
อเหตุกจิต 18  เป็นธรรมที่ไม่เกิดจากเหตุ 6 เกิดจากวิบากมี 3 ประการ
2) อกุศลวิบากจิต 7 ได้แก่ อกุศลทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัม. อุ-สัน.
3) กุศลวิบากจิต 8 ได้แก่ กุศลทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัม. อุ-สัน. โส-สัน.
4) กิริยาจิต 3 ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนะ มโนทวาราวัชชนะ หสิตุปปาทจิต
 เหตุแห่งอเหตุกจิต 18
1) อกุศลวิบากจิต 7 >> วิบากจาก อกุศลกรรม 12
2) กุศลวิบากจิต 8 >> วิบากจาก มหากุศลกรรม 8
3) กิริยาจิต 3 >> จิตเกิดโดยไม่มีเหตุ สักแต่ว่าทำกิจของตน
โสภณจิต 59 หรือ 91  เป็นจิตที่ดีงามพ้นจากบาป
 ประกอบกับโสภณเจตสิก
กามาวจรโสภณจิต 24 แบ่งเป็น กามาวจรกุศลจิต 8 คือ มหากุศลจิต 8 กามาวจรวิบากจิต 8 คือ มหาวิบากจิต 8 กามาวจรกิริยาจิต 8 คือ มหากิริยาจิต 8
รูปาวจรกุศล 15
รูปาวจรกุศลจิต 5 คือ ปฐมฌานกุศลจิต ทุติยฌานกุศลจิต ตติยฌานกุศลจิต จตุถฌานกุศลจิต ปัจมฌานกุศลจิต
รูปาวจรวิบากจิต 5 คือ ปฐมฌานวิบากจิต ทุติยฌานวิบากจิต ตติยฌานวิบากจิต จตุถฌานวิบากจิต ปัจมฌานวิบากจิต
รูปาวจรกิริยาจิต 5 คือ ปฐมฌานกิริยาจิต ทุติยฌานกิริยาจิต ตติยฌานกิริยาจิต จตุถฌานกิริยาจิต ปัจมฌานกิริยาจิต
อรูปาวจรกุศล 12
อรูปาวจรกุศลจิต 4 คือ อากาสานัญจายตนกุศลจิต วิญญาณัญจายตนกุศลจิต อากิญจัญญายตนกุศลจิต เนวสัญญานาสัญญายนกุศลจิต
อรูปาวจรวิบากจิต 4 คือ อากาสานัญจายตนวิบากจิต วิญญาณัญจายตนวิบากจิต อากิญจัญญายตนวิบากจิต เนวสัญญานาสัญญายนวิบากจิต
อรูปาวจรกิริยาจิต 4 คือ อากาสานัญจายตนกิริยาจิต วิญญาณัญจายตนกิริยาจิต อากิญจัญญายตนกิริยาจิต เนวสัญญานาสัญญายนกิริยาจิต
โลกุตตรกุศล 8 หรือ 40
มรรคจิต 4 หรือ 20
โสดาปัตติมรรคจิต 5 คือ ปฐมฌานโสดาปัตติมรรคจิต ทุติยฌานโสดาปัตติมรรคจิต ตติยฌานโสดาปัตติมรรคจิต จตุถฌานโสดาปัตติมรรคจิต ปัจมฌานโสดาปัตติมรรคจิต
สกทาคามีปัตติมรรคจิต 5 คือ ปฐมฌานสกทาคามีมรรคจิต ทุติยฌานสกทาคามีมรรคจิต ตติยฌานสกทาคามีมรรคจิต จตุถฌานสกทาคามีมรรคจิต ปัจมฌานสกทาคามีมรรคจิต
อนาคามีมรรคจิต 5 คือ ปฐมฌานอนาคามีมรรคจิต ทุติยฌานอนาคามีมรรคจิต ตติยฌานอนาคามีมรรคจิต จตุถฌานอนาคามีมรรคจิต ปัจมฌานอนาคามีมรรคจิต
อรหันตตมรรคจิต 5 คือ ปฐมฌานอรหันตตมรรคจิต ทุติยฌานอรหันตตมรรคจิต ตติยฌานอรหันตตมรรคจิต จตุถฌานอรหันตตมรรคจิต ปัจมฌานอรหันตตมรรคจิต
ผลจิต 4 หรือ 20
โสดาปัตติผลจิต 5 คือ ปฐมฌานโสดาปัตติผลจิต ทุติยฌานโสดาปัตติผลจิต ตติยฌานโสดาปัตติผลจิต จตุถฌานโสดาปัตติผลจิต ปัจมฌานโสดาปัตติผลจิต
สกทาคามีปัตติผลจิต 5 คือ ปฐมฌานสกทาคามีผลจิต ทุติยฌานสกทาคามีผลจิต ตติยฌานสกทาคามีผลจิต จตุถฌานสกทาคามีผลจิต ปัจมฌานสกทาคามีผลจิต
อนาคามีผลจิต 5 คือ ปฐมฌานอนาคามีผลจิต ทุติยฌานอนาคามีผลจิต ตติยฌานอนาคามีผลจิต จตุถฌานอนาคามีมรรคผลจิต ปัจมฌานอนาคามีผลจิต
อรหันตตผลจิต 5 คือ ปฐมฌานอรหันตตผลจิต ทุติยฌานอรหันตตผลจิต ตติยฌานอรหันตตผลจิต จตุถฌานอรหันตตผลจิต ปัจมฌานอรหันตตผลจิต
เหตุเกิดโสภณจิตเกิดจากโยนิโสมนสิการ คือ การพิจารณาอารมณ์โดยแยบคาย เหตุ 5
2. ปุพเพ จ กตปุญญตา = เคยสร้างสมบุญไว้ในชาติปางก่อน = อดีตเหตุ
3. ปฏิรูปเทศวาส = อยู่ในประเทศที่สมควร (มีพระพุทธศาสนา) = ปัจจุบันเหตุ
4. สัปปุริสูปนิสสย = คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ = ปัจจุบันเหตุ
5. สัทธัมมัสสวน = ได้ฟังธรรมของสัปบุรุษ = ปัจจุบันเหตุ
6. อัตตสัมมาปนิธิ = ตั้งตนไว้ชอบ = ปัจจุบันเหตุ
สมังคิตา 5 องค์ธรรม 5 ประการ ที่ทำให้กรรมมีผล
อายุหนสมังคิตา คือ มีความเพียรในการทำกรรม
เจตนาสมังคิตา คือ มีเจตนา 3 ในการทำกรรม
กัมมสมังคิตา คือ สิ่งที่ทำนั้นเป็นกรรมที่สำเร็จมาจากความเพียรนั้น
อุปัฏฐานสมังคิตา คือ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ คตินิมิตอารมณ์ ปรากฏขึ้นเวลาจะตาย
วิบากสมังคิตา คือ ผลที่จะต้องได้รับจากการทำกรรมนั้นแล้ว
เจตสิก = ตัวปรุงแต่งจิต ขันธ์ 3 สังขาร 4
เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบและปรุงแต่งจิตให้เป็นไปตามสภาวะนั้น
ขันธ์ 3
เวทนาขันธ์ คือ ธรรมชาติที่เป็น สุข ทุกข์ อทุกขมสุข
สัญญาขันธ์ คือ ธรรมชาติที่จำได้หมายรู้
สังขารขันธ์ คือ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต
สภาวธรรมของเจตสิก คือ สังขาร 4
ปุญญาภิสังขาร คือ กุศลกัมม์เจตนา ปรุงแต่งให้เป็นบุญ
อปุญญาภิสังขาร คือ อกุศลกัมม์เจตนา ปรุงแต่งให้เป็นบาป
อเนญชาภิสังขาร คือ มิสสกเจตนากุศล ปรุงแต่งให้เป็นฌาน
มัคคังค์ 8 ไม่เป็นเจตนาเจตสิกเป็นญาณสัมปยุต เนื่องด้วยกุศลจิต คือ ปัญญา วิตก วิรตีเจตสิก 3 วิริยะ สติ และ เอกัคคตาเจตสิก ได้องค์ 8 สามารถทำลายขจัดเสียซึ่งเจตนาเจตสิกกัมม์เนื่องด้วยกุศล อกุศลจิต อันเป็นโมหะได้ เป็นธรรมพ้นจากโลก
เจตสิก มีสภาพเกิดประกอบกับจิต 4 ลักษณะ
เอกุปปาทะ คือ เกิดพร้อมกับจิต
เอกนิโรธะ คือ ดับพร้อมกับจิต
เอกาลัมพณะ คือ มีอารมณ์เดียวกับจิต
เอกาวัตถุกะ คือ อาศัยวัตถุเดียวกับ จิต
เจตสิกมี 2 ลักษณะ
สามัญญลักษณะ เป็นคุณลักษณะทั่วไปของอสังขตธรรม คือ ไตรลักษณ์
วิเสสลักษณะ เป็นคุณลักษณะเฉพาะของเจตสิก คือ ลักขณาทิจตุกะ 4
ประเภพของเจตสิก แบ่งเป็น 3 ประเภท
อัญญสมานาเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบได้ทั้งกุศลจิตและอกุศลจิต
อกุศลเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับอกุศลจิต
โสภณเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับกุศลจิต
ข้อควรรู้ถ้า อัญญสมานาเจตสิก จะประกอบพร้อมเจตสิกอื่นได้ ส่วนอกุศลเจตสิก และ กุศลเจตสิก จะเกิดร่วมกันไม่ได้เพราะในครั้งๆหนึ่ง จิตจะเกิดเป็นกุศล หรือ อกุศล ได้อย่างเดียว
เจตสิก มี 52 ดวง
อัญญสมานาเจตสิก 13 มี 2 อย่าง
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก 7 เป็นธรรมชาติที่ประกอบกับจิตทุกดวง
ผัสสเจตสิก เป็นธรรมชาติที่กระทบอารมณ์
เวทนาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่เสวยอารมณ์
สัญญาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่จำหมายอารมณ์
เจตนาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความตั้งใจที่จะให้เป็นไปในอารมณ์
เอกัคคตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ตั้งมั่นในอารมณ์
ชีวิตินทรียเจตสิก เป็นธรรมชาติที่รักษาธรรมที่เกิดร่วมให้ตั้งอยู่ตามอายุ
มนสิการเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ใส่ใจในอารมณ์
ปกิณณกเจตสิก 6 เป็นธรรมชาติที่ประกอบกับจิตบางดวง
วิตกเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ = การคิดนึก
วิจารเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ประคองจิตให้อยู่ในอารมณ์ = การคิดนึกบ่อยๆ
อธิโมกขเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ตัดสินอารมณ์
วิริยเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความเพียรเพื่อให้ได้อารมณ์
ปิติเจตสิก เป็นธรรมชาติที่อิ่มเอิบใจในอารมณ์
ฉันทเจตสิก เป็นธรรมชาติที่พอใจในอารมณ์ = ปรารภเพื่อจะกระทำ
อกุศลเจตสิก 14 มี 5 อย่าง
โมจตุกเจตสิก 4 สัพพากุสลสาธารณเจตสิก
โมหเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ไม่รู้ความจริงตามสภาวะของอารมณ์
อหิริกเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ไม่ละอายต่อการทำบาป
อโนตตัปปเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ไม่สะดุ้งกลัวต่อการทำบาป
อุทธัจจเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความฟุ้งซ่านไปในอารมณ์
โลติกเจตสิก 3
โลภะเจตสิก เป็นธรรมชาติที่อยากได้ติดใจในอารมณ์ทั้ง 6
ทิฏฐิเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความเห็นผิดจากความเป็นจริง
มานเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ถือตัวทะนงตนสำคัญตนผิด
โทจตุเจตสิก 4
โทสเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความโกรธความไม่พอใจในอารมณ์ทั้ง 6
อิสสาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความริษยาในการได้ลาภของผู้อื่น
มัจฉริยเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความตระหนี่ไม่ยอมสละ
กุกกุจจเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความรำคาญใจในความชั่วที่ทำไปแล้ว และ ความดีที่ยังไม่ได้ทำ
ถีทุกเจตสิก 2
ถีนเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้จิตท้อถอยหดหู่
มิทธเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้เจตสิกท้อถอยหดหู่
วิจิกิจฉาเจตสิก 1
วิจิกิจฉาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในอารมณ์
โสภณเจตสิก 25 มี 4 อย่าง
โสภณสาธารณเจตสิก 19
สัทธาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความเชื่อถือเหตุผลตามความเป็นจริง
สติเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความระลึกรู้อารมณ์ที่เป็นกุศล
หิริเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความละอายต่อการทำบาปกรรมชั่ว
โอตัปปเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความสะดุ้งกลัวต่อการทำบาปกรรมชั่ว
อโลภเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความไม่อยากได้ไม่ติดข้องในอารมณ์
อโทสเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความไม่โกรธไม่ประทุษร้ายในอารมณ์
ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีการวางเฉยในอารมณ์
กายปัสสัทธิเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้เจตสิกสงบจากอกุศล
จิตตปัสสัทธิเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้จิตสงบจากอกุศล
กายลหุตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้เจตสิกเบาจากอกุศล
จิตตลหุตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้จิตเบาจากอกุศล
กายมุทุตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้เจตสิกอ่อนโยนง่ายต่อกุศลอารมณ์
จิตตมุทุตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้จิตอ่อนโยนง่ายต่อกุศลอารมณ์
กายกัมมัญญตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้เจตสิกควรแก่การงานอันเป็นกุศล
จิตตกัมมัญญตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้จิตควรแก่การงานอันเป็นกุศล
กายปาคุญญตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้เจตสิกคล่องแคล่วต่อกุศล
จิตตปาคุญญตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้จิตคล่องแคล่วต่อกุศล
กายุชุกตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้เจตสิกมุ่งตรงต่อกุศล
จิตตุชุกตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้จิตมุ่งตรงต่อกุศล
วิรตีเจตสิก 3
สัมมาวาจาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้พูดชอบ พูดสิ่งที่เป็นกุศล เว้นวจีทุจริต 4
สัมมากัมมันตเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้ประกอบการงานชอบ เว้นกายทุจริต 3
สัมมาอาชีวเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้เลี้ยงชีพชอบ เว้นกายทุจริต 3 วจีทุจริต 4 เกี่ยวกับอาชีพ
อัปปมัญญาเจตสิก 2
กรุณาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความสงสารอยากช่วยเหลือสัตว์ที่ได้รับทุกข์อยู่
มุฑิตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความยินดีต่อสัตว์ที่ได้รับสุข
ปัญญาเจตสิก 1
ปัญญาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความรู้ในเหตุผลแห่งความเป็นจริงของสภาวธรรม
รูป มี 28 เป็นธรรมชาติที่ไม่ต้องรับรู้อารมณ์ และ ต้องแตกดับไปด้วยความเย็น และ ความร้อน มหาภูตรูป 4 ธาตุดิน มีลักษณะเด่น คือ ความแข็งหรือความอ่อน เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ อวัยวะทุกส่วน ธาตุน้ำ มีลักษณะเด่น คือ การไหลและเกาะกุม เช่น น้ำเลือด น้ำเหลือง ในเนื้อเยื่อทุกส่วนจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญ ทำให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ เกาะกลุ่มกันได้ ไม่กระจัดกระจายออกไป ธาตุไฟ มีลักษณะเด่น คือ ให้ความร้อนและพลังงาน ในการเผาผลาญอาหารใน ร่างกาย และยังทำให้ร่างกายแก่ชราทรุดโทรม เช่น ผมหงอก ฟันหัก เป็นต้น ธาตุลม มีลักษณะเด่น คือ ความเคร่งตึง เคลื่อนไหว เช่น ลมหายใจทำให้เกิดการกระเพื่อมของทรวงอก ตามไขข้อต่าง ๆ สามารถเหยียดยืดออกและหดงอเข้าได้ การเคลื่อนไหวทุกส่วนเกิดจากคุณสมบัติของธาตุลมนั่นเอง ภายในธาตุทั้ง ๔ แต่ละธาตุมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ๔ อย่าง คือ สี กลิ่น รส โอชะ เช่น
ภายในธาตุดินเองจะมีทั้งสี กลิ่น รส โอชะ ประจำธาตุดินอยู่ ธาตุอื่น ๆ ก็เช่นกัน ดังนั้น
องค์ประกอบพื้นฐานของรูปธรรมจึงมีอยู่ ๘ รูป ซึ่งแยกออกจากกันไม่ได้เลย คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชะ เรียกว่า อวินิพโภครูป ๘ นอกจากกลุ่มอวินิพโภครูป ๘ แล้ว รูปปรมัตถ์แท้ที่สำคัญอีก ๙ รูป เป็นรูปที่เกิดจากกรรมโดยตรง กัมมชรูปทั้ง ๙ นั้น ได้แก่ ชีวิตรูป เป็นรูปอย่างหนึ่งเกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานแทรกอยู่ในทุกเนื้อเยื่อของร่างกาย มีหน้าที่รักษารูปที่เกิดพร้อมกับตนให้คงอยู่ และเป็นไปได้ตลอดอายุของรูปนั้น ๆ หทยวัตถุรูป เป็นรูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน ตั้งอยู่ภายในช่องเนื้อเยื่อหัวใจโตเท่าเมล็ดดอกบุนนาค เป็นที่อาศัยเกิดของจิต (จิตประเภทมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ) เพื่อการรู้ธรรมารมณ์ ปสาทรูป ๕ เป็นรูปที่เกิดจากกรรม ปสาทรูป หมายถึง รูปที่มีความใสเป็นที่อาศัยเกิดของจิตประเภทปัญจวิญญาณ รูปที่มีความใสนี้มีอยู่ 5 อย่าง คือ จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป และกายปสาทรูป ตำแหน่ง รูปร่างสัญฐาน และการเรียงตัวของเนื้อเยื่อเฉพาะ ๆ ของรูปทั้ง ๕ ไม่เหมือนกัน ปสาทรูป ๕ จึงเป็นที่อาศัยเกิดของจิตได้เพียงบางดวง และไม่ก้าวก่ายกัน เช่น จักขุปสาทรูป เป็นที่ตั้งของจักขุวิญญาณเพื่อทำหน้าที่เห็นเท่านั้น ส่วนโสตปสาทรูปจะเหมาะสำหรับเป็นที่อาศัยเกิดของโสตวิญญาณเพื่อทำหน้าที่ได้ยินเท่านั้น จักขุวิญญาณจะไปอาศัยเกิดที่โสตปสาทรูป เพื่อทำหน้าที่เห็น หรือแม้แต่ทำหน้าที่ได้ยินก็ไม่ได้ ปสาทรูปอื่นก็เช่นเดียวกัน คือ เป็นที่อาศัยเกิดของจิตเฉพาะดวง โดยจิตนั้นมีความสามารถรับอารมณ์ได้เฉพาะอารมณ์ของตน ๆ ไม่ปะปนกัน ภาวรูป ๒ เป็นรูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน แสดงสภาพความเป็นหญิง (อิตถีภาวะ) เป็นชาย (ปุริสะภาวะ) ภาวรูปนี้จะแทรกอยู่ในทุกเนื้อเยื่อของ ร่างกายเช่นกัน การแสดงความเป็นหญิงหรือเป็นชายนั้นอาศัยเครื่องหมายที่แสดงออก 4 อย่าง คือ รูปร่าง ลักษณะเฉพาะ นิสัยใจคอ และกิริยาอาการ รูปปรมัตถ์แท้ทั้ง ๑๘ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ สัททรูป ๑ เอกันตกัมมัชรูป ๙
นิพพาน เป็น อสังขตธรรม เป็นธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นธรรมอันเหนือโลกที่สภาพเป็นสูญ มีลักษณะที่เที่ยงแต่ไม่ใช่ตัวตน พระนิพพาน มี ๑ ได้แก่ สันติลักษณะ คือ ความสงบจากกิเลส และขันธ์ทั้งหลาย พระนิพพานมี ๒ ได้แก่ สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ยังเป็นไปกับขันธ์ หมายถึง นิพพานของพระอรหันต์ ที่ยังมีชีวิตอยู่ อนุปาทิเสสนิพพาน คือนิพพานที่ไม่เป็นไปกับขันธ์ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ ที่สิ้นชีวิตแล้วเรียกว่า "ปรินิพพาน"
พระนิพพาน มี ๓ ได้แก่ อนิมิตตนิพพาน คือ ภาวะของนิพพานนั้น ไม่มีนิมิต เครื่องหมายใดๆ ย่อมปรากฏแก่ พระโยคาวจร ผู้เจริญวิปัสสนา เห็นว่านาม-รูปนั้น ไม่เที่ยง การตามเห็นความไม่เที่ยงนี้ เรียกว่า "อนิจจานุปัสสนา" ย่อมเข้าถึงพระนิพพาน ที่ไม่มีเครื่องหมายนิมิตใดๆ เรียกว่า "อนิมิตตนิพพาน" อัปปณิหิตนิพพาน คือ ภาวะของพระนิพพานนั้น เห็นว่าไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสุข และ ความปราถนาใดๆ ย่อมปรากฏแก่ พระโยคาวจรที่เจริญวิปัสสนาเห็นไตรลักษณ์ โดยความ เป็นทุกข์ เห็นว่า รูป-นามขันธ์ ๕ นี้ เป็นที่ตั้งของทุกข์โดยแท้ แล้วตามความเห็นเป็นทุกข์ด้วย "ทุกขานุปัสสนา" ย่อมเข้าถึงพระนิพพาน ที่ไม่เป็นที่ตั้งของสุขใดๆเลย เรียกว่า "อัปปณิหิตนิพพาน สุญญตนิพพาน คือภาวะของพระนิพพานนั้น ว่างจากตน ว่างจากกิเลส และขันธ์ ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจร ผู้เจริญวิปัสสนา เห็นไตรลักษณ์โดยความเป็น อนัตตา เห็นว่ารูป-นาม ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตน ไม่เป็นสาระแก่นสาร ไม่อยู่ในอำนาจของใคร และไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ แล้วตามเห็น อนัตตา ด้วย "อนัตตานุปัสสนา" ย่อมเข้าถึงพระนิพพาน ที่เรียกว่า "สุญญตนิพพาน อีกนัยหนึ่ง นิพพานมี ๓ ประเภท คือ กิเลสนิพพาน หมายถึง อนุสัยกิเลสดับเป็น สมุจเฉทปหาน ขันธนิพพาน หมายถึง พระอรหันต์ ที่ดับขันธปรินิพพาน ไม่มีการเกิดอีก ธาตุนิพพาน หมายถึง อันตรธาน แห่งพระบรมธาตุ ของพระพุทธเจ้า ในกาลที่จะสิ้นพุทธศาสนา
สภาวธรรม 72 ได้แก่ จิต 1 เจตสิก 52 รูป 18 นิพพาน 1
***********************************************

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 69 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron