วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 14:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


สมบัติ-วิบัติ ๔
สมบัติ ๔ คือ ๑. คติสมบัติ (สุคติ หมายถึง มนุษย์ สวรรค์ พรหม)
๒. อุปธิสมบัติ หมายถึง รูปร่าง ผิวพรรณ วรรณะงาม
๓.กาลสมบัติ หมายถึง ช่วงระยะเวลาที่เกิดเหมาะสม
๔.ปโยคะสมบัติ หมายถึง ความขยันหมั่นเพียร พรสวรรค์
ความชำนิชำนาญการงานต่างๆ
วิบัติ ๔ คือ ๑.คติวิบัติ (ทุคติ หมายถึง อบายภูมิ ๔ สัตว์นรก เปรต อสูรกาย
และสัตว์เดรัจฉาน)
๒.อุปธิวิบัติ หมายถึง รูปร่างพิกลพิการ ไม่สมประกอบไม่งาม
๓.กาลวิบัติ หมายถึง ช่วงกาลเวลาที่ขุกเข็ญเป็นทุกข์อัตคัต
ขัดสน เกิดทุพภิกภัยทั่วไป
๔.ปโยคะวิบัติ หมายถึง ความไม่พากเพียร ไม่มีฝีมือ ไม่ขยัน
พระพุทธองค์ทรงสอนสุข ๔ ประการของผู้ครองเรือน
สุข จากการมีทรัพย์ที่หามาได้โดยชอบธรรมด้วยน้ำพักน้ำแรง
สุข จากการใช้จ่ายทรัพย์เลี้ยงดูคนใกล้ชิดทิศหก
สุข จากการไม่เป็นหนี้ เพราะการเป็นหนี้ เป็นทุกข์ในโลก
สุข จากความประพฤติไม่เป็นโทษ
ความชั่วบางทีแม้มิทันให้ผลทันใดแต่ก็เหมือนไฟบรรลัยคอยเผาผลาญ

ดอกบัวสี่เหล่า พระพุทธองค์เปรียบคนที่เกิดมา ได้แก่ ดอกบัว ๔ เหล่า คือดังนี้
ดอกบัวเหล่าที่ ๑ ดอกบัวพ้นน้ำและบานแล้ว เปรียบได้กับคนที่มีปัญญาดีสอนง่าย เรียกคนประเภทนี้ว่า “อุคฆฏิตัญญู”
ดอกบัวเหล่าที่ ๒ ดอกบัวพ้นน้ำและจะบานในวันพรุ่งนี้ ได้แก่คนที่ฟังธรรมะเพียงหนเดียวก็เกิดปัญญา เรียกบุคคลประเภทนี้ว่า “วิปปจิตัญญู”
ดอกบัวเหล่าที่ ๓ ได้แก่ บัวใต้น้ำ พร้อมที่จะโผล่พ้นน้ำในวันรุ่งขึ้นและจะบานในวันต่อไป เปรียบได้กับคนที่จะต้องได้ฟังธรรมะบ่อยๆ ค่อยๆ เจริญสติปัญญาต่อไป เรียกคนประเภทนี้ว่า “เนยยะบุคคล”
ดอกบัวเหล่าที่ ๔ได้แก่ ดอกบัวอยู่ในโคลนตม อันจะเป็นอาหารของเต่าและปลา ไม่สามารถโผล่บานพ้นน้ำได้ เปรียบได้กับคนที่สอนไม่ได้รังแต่จะไปเกิดในอบายภูมิสถานเดียว เรียกคนประเภทนี้ว่า “ปทะปรมะ”
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงเปรียบเทียบคนที่เกิดมาในโลกนี้ไว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ ตติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๓ วรรคที่๑ ถึง ๕
วรรคที่ ๑ ชื่อวลาหกวรรค ว่าด้วยฝน ๔ อย่าง คือ
๑. คำรามแต่ไม่ตก ได้แก่ บุคคลผู้พูดแต่ไม่ทำ
๒. ตกแต่ไม่คำราม ได้แก่ ผู้ทำแต่ไม่พูด
๓. ทั้งไม่คำรามทั้งไม่ตก ได้แก่ บุคคลทั้งไม่พูดและไม่ทำ
๔. ทั้งคำรามทั้งตก ได้แก่ บุคคลผู้ทั้งพูดทั้งทำ
วรรคที่ ๒ ชื่อเกสีวรรคว่าด้วยนายเกสีผู้ฝึกม้า คือ
๑. เห็นเงาปฏักก็สำนึกตน
๒. ถูกปฏักแทงขุมขนจึงสำนึก
๓. ถูกปฏักแทงถึงหนังจึงสำนึกตน
๔. ถูกปฏักแทงถึงกระดูกจึงสำนึกตน
วรรคที่ ๓ ชื่อภยะวรรค ว่าด้วย ๔ อย่าง สำหรับผู้ลงน้ำ คือ
๑. ภัยจากคลื่น คือความโกรธ
๒. ภัยจากจระเข้ เปรียบด้วยความเห็นแก่ปากท้อง
๓. วังวนเปรียบด้วยกามคุณ ๕ คือ รูปเสียง ฯลฯ เป็นต้น
๔. ภัยจากปลา เปรียบดุจมาตุคามหรือหญิง
วรรคที่ ๔ ชื่อปุคคลวรรค ว่าด้วยบุคคล คือ
๑. ผู้ที่ได้ฌานแล้วติดใจในฌาน
๒. ผู้ได้ฌานแล้วพิจารณาขันธ์ ๕
๓. ผู้เจริญพรหมวิหาร ๔
๔. ผู้เจริญพรหมวิหาร ๔ และพิจารณาขันธ์ ๕
วรรคที่ ๕ ชื่ออาภาวรรค ว่าด้วยแสงสว่าง คือ
๑. แสงจันทร์ เปรียบได้กับการฟังธรรมตามกาล
๒. แสงอาทิตย์ เปรียบได้กับการสนทนาธรรมตามกาล
๓. แสงไฟ เปรียบได้กับการสงบระงับ (สมถะ) ตามกาล
๔. แสงแห่งปัญญา เปรียบได้กับการเห็นแจ้ง (วิปัสสนา) ตามกาล
ทรงแสดงความอัศจรรย์ ๔ ประการ ที่เกิดแก่สัตว์โลก คือ
๑. มีความยินดี อาลัยในกามคุณ 5
๒. มีความยินดีในมานะความถือตัว
๓. มีความยินดีในความไม่สงบระงับ
๔. มีความยินดีในอวิชชาความไม่รู้
.ผู้ตกนรก "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำตัวไปวางไว้ ธรรม ๕ อย่างคือ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ เป็นผู้มักลักทรัพย์ เป็นผู้มักประพฤติผิดในกาม เป็นผู้มักพูดปด เป็นผู้มักตั้งอยู่ในความประมาท ด้วยการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำตัวไปวางไว้. ละธรรม ๑๐ อย่างไม่ได้ยังไม่ควรเป็นพระอรหันต์ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ไม่ได้ ก็ไม่ควรทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลธรรม ๑๐ อย่าง คือ
๑. ราคะ ความกำหนัดยินดี
๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย
๓. โมหะ ความหลง
๔. โกธะ ความโกรธ
๕. อุปนาหะ ความผูกโกรธ
๖. มักขะ ความลบหลู่บุญคุณท่าน
๗. ปลาสะ ความตีเสมอ
๘. อิสสา ความริษยา
๙. มัจฉริยะ ความตระหนี่
๑๐. มานะ ความถือตัว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ เหล่านี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนือง ๆ คือ ควรพิจาณาเนือง ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งปวง ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรม เป็นของตน เป็นผู้รับผลแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น."

***********************************************

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 79 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร