วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 12:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม (สายเกิด)
เพราะ มี อวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขาร
เพราะ มี สังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะ มี วิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นาม-รูป
เพราะ มี นาม-รูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
เพราะ มี สฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
เพราะ มี ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
เพราะ มี เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
เพราะ มี ตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
เพราะ มี อุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ
เพราะ มี ภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
เพราะ มี ชาติ เป็นปัจจัย จึงมี ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

ปฏิโลม (สายดับ)
เพราะ อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ
เพราะ สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ
เพราะ วิญญาณ ดับ นามรูป จึงดับ
เพราะ นามรูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ
เพราะ สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ
เพราะ ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ
เพราะ เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ
เพราะ ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ
เพราะ อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ
เพราะ ภพ ดับ ชาติ จึงดับ
เพราะ ชาติ ดับ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

***********************************************
ปฏิจจสมุปบาท (สายเกิดอกุศลธรรม)
เพราะมี อวิชชา เป็นปัจจัยจึงมี สังขาร เพราะมี สังขาร เป็นปัจจัยจึงมี วิญญาณ เพราะมี วิญญาณ เป็นปัจจัยจึงมี นาม-รูป เพราะมี นาม-รูป เป็นปัจจัยจึงมี สฬายตนะ เพราะมี สฬายตนะ เป็นปัจจัยจึงมี ผัสสะ เพราะมี ผัสสะ เป็นปัจจัยจึงมี เวทนา เพราะมี เวทนา เป็นปัจจัยจึงมี ตัณหา เพราะมี ตัณหา เป็นปัจจัยจึงมี การแสวงหา เพราะมี การแสวงหา เป็นปัจจัยจึงมี ลาภ เพราะมี ลาภ เป็นปัจจัยจึงมี การตกลงใจ เพราะ มี การตกลงใจ เป็นปัจจัยจึงมี การรักใคร่พึงใจ เพราะมี การรักใคร่พึงใจ เป็นปัจจัยจึงมี การพะวง เพราะมีการพะวง เป็นปัจจัยจึงมี ความยึดถือ เพราะมี ความยึดถือ เป็นปัจจัยจึงมี ความตระหนี่ เพราะมี ความตระหนี่ เป็นปัจจัยจึงมี การป้องกัน เพราะมี การป้องกัน เป็นปัจจัยจึงมี เรื่องในการป้องกันขึ้น อกุศลธรรมอันชั่วช้าลามก คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้แล
อธิบายศัพท์
อวิชชา คือ ความไม่รู้ มี 8 อย่าง ดั้งนี้ ไม่รู้ในอริยสัจ 4 ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งใน อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต และ ไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทธรรม
สังขาร คือ ตัวปรุงแต่งให้เกิด = เจตนา 29 (อกุศลเจตสิก 12 มหากุศลเจตสิก 8 มหัคคตจิต 9 ) อสังขารมี 1 คือ มรรค 8
วิญญาณ คือ เกิดในปฏิสนธิกาล = ปฏิสนธิจิต 19 ( สันตีรณ 2 มหากุศลวิบาก 8 มหัคคต 9 )
ทุคติบุคคล = อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก 1 = อบายภูมิ 4
อเหตุกบุคคล = อุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก 1 = มนุษย์ และ เทวดาชั้นต่ำ
ทวิเหตุกบุคคล = มหาวิบากญาณวิปปยุตต 4 = มนุษย์ และ เทวดาไม่มีปัญญา
ติเหตุกบุคคล = มหาวิบากญาณสัมปยุตต 4 = มนุษย์ และ เทวดามีปัญญา
รูปาวจรวิบาก 5 = รูปพรหมในรูปภูมิ
อรูปาวจรวิบาก 4 = รูปพรหมในรูปภูมิ
เกิดในปวัตติกาล = โลกียวิบากจิต 32 ( อเหตุกวิบาก 15 มหาวิบาก 8 มหัคคตวิบาก 9 )
อเหตุกวิบาก 15 คือ อกุสลวิบาก 7 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมปฏิฉันนะ สันตีรณะ
กุสลวิบาก 7 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมปฏิฉันนะ สันตีรณะ ( อุ และ โสม )
มหาวิบากจิต 8 = ภวังคจิต
รูปาวจรวิบาก 5 = อเหตุกกุสลวิบาก 5 = ตา หู สัมปฏิฉันนะ สันตีรณะ ภวังคจิต
รูปาวจรวิบาก 4 = ภวังคจิต
เกิดเฉพาะปวัตติกาล 13 ดวง ทวิปัญจวิญญาณ 10 สัมปฏิฉันนะ 2 โสม.สันตีรณะ 1
นาม-รูป หมายถึง มหาภูตรูป คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม นาม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
และ นาม มีลักษณะน้อมนำไปสู่อารมณ์ = โลกียวิบากจิต 32 รูป มีลักษณะแตกดับสลาย = กัมมชรูป
สฬายตนะ คือ อายตนะทั้ง6อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ เป็นเครื่องต่อบ่อเกิดแห่ง จิต เจตสิก วิถีจิต = โลกียวิบากจิต 32
จักขุสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี จักขวายตนะ
โสตสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี โสตายตนะ
ฆานสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี ฆานายตนะ
ชิวหาสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี ชิวหายตนะ
กายสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี กายายตนะ
มโนสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี มนายตนะ
ผัสสะ คือ การกระทบ เป็นที่ธรรมชาติที่กระทบอารมณ์ ผัสสะเจตสิก = โลกียวิบากจิต 32 เป็นที่ธรรมทั้ง 3 ประการมาประชุมร่วมพร้อมกัน
จักขุสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี จักขุปสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ
โสตสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี โสตปสาท สัททารมณ์ โสตวิญญาณ
ฆานสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี ฆานปสาท คันธารมณ์ ฆานวิญญาณ
ชิวหาสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี ชิวหาปสาท รสารมณ์ ชิวหาวิญญาณ
กายสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี กายปสาท โผฏฐัพพารมณ์ กายวิญญาณ
มโนสัมผัสสะ จะปรากฏเพราะมี ภวังคจิต ธัมมารมณ์ มโนวิญญาณ
เวทนา คือ สุข ทุกข์ เฉยๆ เป็นธรรมชาติที่เสวยอารมณ์ = เวทนาเจตสิก = โลกียวิบากจิต 32 เวทนาเป็นปัจจุบันธรรมของผัสสะ ได้แก่ เวทนา 6
จักขุสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด จักขุสัมผัสสชาเวทนา = อุเบกขาเวทนา
โสตสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด โสตสัมผัสสชาเวทนา = อุเบกขาเวทนา
ฆานสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด ฆานสัมผัสสชาเวทนา = อุเบกขาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา = อุเบกขาเวทนา
กายสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด กายสัมผัสสชาเวทนา = อิฏฐโผฏฐัพพารมณ์ = สุขเวทนา อนิฏฐโผฏฐัพพารมณ์ = ทุกขเวทนา
มโนสัมผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด มโนสัมผัสสชาเวทนา อิฏฐารมณ์ = โสมนัสเวทนา อนิฏฐารมณ์ = โทมนัสเวทนา มัชฌัตตารมณ์ = อุเบกขาเวทนา
ตัณหา คือ กามตัณหา คือ เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ 6 ที่เกี่ยวกับกามคุณ ภวตัณหา คือ ความยินดีติดใจในภพ มีความเห็นว่าเที่ยง เป็น สัสสตทิฏฐิ วิภวตัณหา คือ เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ 6 มีความเห็นว่าเป็นสูญ เป็น อุจเฉกทิฏฐิ ตรงกันข้ามกับกามตัญหา
อุปาทาน คือ เป็นธรรมชาติที่ติดใจยึดมั่นในอารมณ์ เป็นปัจจุบันธรรมของ ตัณหา ได้แก่ อุปาทาน 4
กามุปาทาน เป็นความติดใจยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง 6 = โลภเจตสิก
ทิฏฐุปาทาน เป็นความติดใจยึดมั่นในการเห็นผิด = ทิฏฐิเจตสิก
สิลพัตตุปาทาน เป็นความติดใจยึดมั่นในการปฏิบัติที่ผิด = สีลัพพตทิฏฐิ
อัตตวาทุปาทาน เป็นความติดใจยึดมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวตนเป็นเราเป็นของเรา = สักกายทิฏฐิ
ภพ คือ ที่อยู่ของหมู่สัตว์ เป็นธรรมชาติที่มีความเป็นกรรม เป็นปัจจุบันธรรมของ อุปาทาน ได้แก่ ภพ 2 กัมมภพ = เจตนา 29 การทำบาป บำเพ็ญบุญ มีความเป็นกรรม อุปปัตติภพ โลกียวิบากวิญญาณ 32 มีความเป็นผลของกรรม ( ชาติ ) แบ่งเป็น 3 กามภพ ได้แก่ กามภูมิ 11 อันมี อบายภูมิ 4 มนุสภูมิ 1 เทวภูมิ 6 รูปภพ ได้แก่ รูปภูมิ 16 คือ รูปพรหม 16 ชั้น อรูปภพ ได้แก่ อรูปภูมิ 4 คือ อรูปพรหม 4 ภพ 3 โดย ขันธ์ 3 ปัญจโวการภพ ได้แก่ ภพที่มีขันธ์ 5 คือ กามภูมิ 11 รูปภูมิ 15 จตุโวการภพ ได้แก่ ภพที่มีขันธ์ 4 คือ อรูปภูมิ 4 เอกโวการภพ ได้แก่ ภพที่มีขันธ์เดียว คือ อสัญญสัตตภูมิ 1 ภพ 3 แบ่งโดยสัญญา 3 สัญญีภพ คือ สัตว์ที่มีนามขันธ์ ได้แก่ กามภูมิ 11 รูปภูมิ 15 อรูปภูมิ 3 อสัญญีภพ คือ สัตว์ที่ไม่มีนามขันธ์ ได้แก่ อสัญญสัตตภูมิ เนวสัญญีนาสัญญีภพ คือ สัตว์ที่มีนามขันธ์ก็ไม่ใช่สัตว์ที่ไม่มีนามขันธ์ก็ไม่ใช่ ได้แก่ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
ชาติ คือ ความเกิด เป็นธรรมชาติที่มีความเป็นผลกรรม เป็นธรรมชาติที่ทำให้สังขารธรรมปรากฏ เป็นการเกิดครั้งแรกในภพนั้นๆ อุปาทานขณะ เป็นปัจจุบันธรรมของ ภพ ได้แก่ ชาติ 3 คือ ปฎิสนธิชาติ = ปฏิสนธิจิต 19 เจตสิก 35 และ กัมมชรูป ที่ปรากฏในปฎิสนธิกาล สันตติชาติ = การสืบของ จิต เจตสิก รูป ทั้งหมด ในปวัตติกาล ขณิกชาติ = การเกิดขึ้นขณะหนึ่งๆของ จิต เจตสิก มี 3 อนุขณะรูปมี 51 อนุขณะ
ชรา คือ ความแก่ เป็นความเก่าแก่เสื่อมโทรมของวิบากนามขันธ์ 4 และ กัมชรูป = ฐิติขณะ
อัปปฏิจฉันนชรา เป็นความชราที่เปิดเผยเห็นด้วยนัตย์ตา ได้แก่ รูปชรา...ปากฎชรา
ปฏิจฉันนชรา เป็นความชราที่ปดปิดไม่เปิดเผย ได้แก่ นามชรา...อปากฎชรา
มรณะ คือ ความตาย เป็นอาการที่ดับไปของวิบากนามขันธ์ 4 และ กัมชรูป = ภังคขณะ
รูปมรณะ คือ ความดับไปของรูป = ภังคขณะ ได้แก่ สมมติมรณะ คนตาย
นามมรณะ คือ ความดับไปของนามขันธ์ 4 = ภังคขณะ ได้แก่ การดับของ จิต เจตสิก
ชรา และ มรณะ เป็นปัจจุบันธรรมของ ชาติ โสกะ คือ ความโศกเศร้า
ปริเทวะ คือ ความร่ำไห้คร่ำครวญ
ทุกข์ คือ ความทุกข์กาย
โทมนัส คือ ความทุกข์ใจ
อุปายาส คือ ความคับแค้นใจ

***********************************************

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร