วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 11:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตตสังเขป

บทที่ ๒.



คำอธิบาย

คำ ว่า "จิต"

ในอัฏฐสาลินี จิตตุปปาทกัณฑ์ มีต่อไป ว่า


จะอธิบาย "จิตฺตํ" ต่อไป

ที่ชื่อว่า "จิต" เพราะอรรถ ว่า "รู้"


อธิบายว่า

"รู้แจ้งอารมณ์"

อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่ศัพท์ ว่า

"จิตฺตํ" นี้.......ทั่วไปแก่จิตทุกดวง.


ฉะนั้น

ใน คำว่า "จิตฺตํ" นี้


โลกิยกุศลจิต อกุศลจิต และ มหากิริยาจิต


จึง ชื่อว่า "จิต"


เพราะ สั่งสมสันดาน ของตน

ด้วยสามารถ แห่ง..."ชวนวิถี"



.



ชื่อว่า "จิต"


เพราะเป็น...ธรรมชาติ อัน กรรมกิเลส...สั่งสมวิบาก.


อนึ่ง

"จิต" แม้ ทุกดวง....ชื่อว่า "จิต"

เพราะเป็น "ธรรมชาติวิจิตร".....ตามสมควร.



ชื่อว่า "จิต"

เพราะ...กระทำให้วิจิตร.



.



ถ้าศึกษา จากตำรารุ่นหลัง ๆ ที่มีผู้รวบรวมไว้

ก็จะทราบว่า "ลักษณะของจิต" ๖ อย่าง

ที่กล่าวไว้ในตำรารุ่นหลัง ๆ นั้น

มาจากข้อความ ใน อัฏฐสาลินี อรรถกถาธัมมสังคณีปกรณ์

ซึ่งอธิบาย คำ ว่า "จิต"

ที่สามารถแยกออกได้ เป็นข้อ ๆ คือ




ชื่อ ว่า "จิต"

เพราะ อรรถ ว่า "รู้"

อธิบาย ว่า เพราะ....รู้แจ้งอารมณ์ ๑.



.



ชื่อ ว่า "จิต"

เพราะ...สั่งสมสันดานของตน....ด้วยสามารถแห่ง "ชวนวิถี" ๑.



.



ชื่อ ว่า "จิต"

เพราะ...เป็น ธรรมชาติ อัน กรรม กิเลส สั่งสมวิบาก ๑.



.



ชื่อ ว่า "จิต"

เพราะ.....เป็น ธรรมชาติวิจิตร ตามสมควร


ข้อนี้ ส่วนมาก ตำรารุ่นหลัง


แยกเป็น ๒ คือ


เพราะ...............วิจิตร ด้วย อารมณ์ ๑.


และ


เพราะ.....วิจิตร ด้วย สัมปยุตตธรรม ๑.



.



ชื่อว่า "จิต"

เพราะ.....กระทำให้วิจิตร ๑.



.



ซึ่ง จะขอกล่าวถึง..........ตามลำดับ

เพื่อที่จะให้ "เข้าใจลักษณะของจิต"

ตามที่กล่าวไว้ใน อัฏฐสาลินี..........



เมื่อพูดถึงกรรมแต่ละประเภทที่สำเร็จเป็นกรรม วิบากที่เกิดจากกรรมนั้นๆย่อมมีได้

แต่เมื่อไม่สำเร็จเป็นกรรม หรือไม่มีเจตนา ไม่เป็นกรรม วิบากที่เกิดเพราะกรรมนั้น

ย่อมไม่มี เพราะไม่เป็นกรรม วิบากจึงไม่มี

ส่วนความหมายคำว่าบาปนั้นส่วนใหญ่หมายถึง อกุศลกรรม

อกุศลวิบากเป็นผลของอกุศลกรรม



ควรทราบว่าปัจจุบันมีความหมาย ๓ อย่าง คือ

ปัจจุบันโดยขณะ ๑ ปัจจุบันโดยสันตติ ๑ ปัจจุบันโดยอัทธา ๑

อารมณ์ปัจจุบันของสติปัฏฐานนั้นหมายถึง โดยขณะแและโดยสันตติ



จิตเกิดขึ้นมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อย 7 ดวง เวลาพูด เวลากล่าวเจตสิกทั้ง 7 ดวง

ตัวไหนก่อนก็ได้ เจตสิกทั้ง 7 ดวงเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกันและ

อาศัยที่เกิดเดียวกัน



นี่คือ ..ผู้ที่เข้าใจธรรมฟังแล้วขั้นฟังจะต้องเป็นผู้ที่ละเอียดนี้เป็น

พื้นฐานที่จะรู้จักตัวธรรมซึ้งเป็นอภิธรรมลึกซึ้งพูดเรื่องเห็นง่าย ๆหมด

แล้วแต่ความลึกซึ้งของธรรมที่กำลังจะเห็น กล่าวได้โดยนัยด้วย

ประการทั้งปวง 45 พรรษา ก็เป็นเรื่องสภาพธรรมทั้งหมด ที่มีจริงใน

ชีวิตประจำวันไม่ใช่แต่ในชาตินี้ ชาติเดียว กี่ภพ กี่ชาติ ก็ต้องเป็น

อย่างนี้ เพราะฉะนั้น การฟังแต่ล่ะครั้งไม่ใช่ให้ใครไปทำอะไร เพราะ

อะไรคะ ธรรมใครทำได้ถ้ารู้ว่าเป็นธรรมเกิดแล้วด้วย ถ้าไม่เกิดจะมี

ใครมาอยู่ตรงนี้หรือเปล่า จะมีอะไรตรงนี้หรือเปล่าแต่ไม่รู้ว่ามายัง

ไง จึงได้เป็นขณะนี้ แม้จะเห็น แม้จะคิด แม้จะได้ยิน แต่ล่ะคนต้อง

เป็นไปตามความเป็นไปของจิตตามการสะสมของแต่ละจิตทีล่ะหนึ่ง

ขณะตามที่ได้สะสมมา เพราะฉะนั้นแม้ว่า จะได้ยินได้ฟังเรื่องของ

สภาพธรรม เพราะเป็นผู้ตรงเห็นกำลังเห็น สิ่งที่ปรากฎกำลังปรากฎ

ค่อย ๆฟังเข้าใจว่าเป็นสิ่งซึ่งใครก็บังคับบัญชาไม่ได้ แล้วก็ต้องเกิด

แล้วด้วยแล้วก็ปรากฎแล้ว ก็ทรงแสดงถึงปัจจัยที่ทำให้สภาพธรรมแต่

ละอย่างเกิดปรากฎได้ด้วย เพื่อที่จะให้เห็นชัดว่าเป็นธรรม ซึ่งเป็น

อนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร แล้วการฟังธรรมต้อง

ลึกซึ้งด้วย เช่นธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาหมายความว่า ไม่ใช่ตัวตน

ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยงไม่ได้ อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร

แล้วก็ไม่เป็นอิสระ ฟังดูรู้สึกยังไง ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาไม่ใช่

ตัวตนแน่นอนใช่ไหม "เห็น" ปรากฎตัวไหนไม่มีเลยเป็นธาตุ ซึ่ง

ปรากฎให้เห็นได้เท่านั้นแล้วก็หมดไป "เสียง"ก็จะเป็นใครหรือของ

ใครมีปัจจัยเกิดแล้วก็ดับไป เป็นอนัตตาทั้งหมดธรรมทั้งหลายเป็น

อนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาและไม่อิสระ

เห็นไหม พระธรรมที่ทรงแสดง เพื่อที่จะให้เข้าใจตรงกับที่

กล่าวไว้เมื่อกี้นี้เลยเพียงแต่ใช้อีกคำหนึ่งเพื่อที่จะทดสอบความเข้าใจ

ของคนฟังว่าสามารถที่จะเข้าใจถึงความหมายของคำว่าไม่เป็นอิสระ

หรือเปล่า เพราะว่าตอนแรกก็ได้ทรงแสดงไว้ว่า ธรรมทั้งหลายเป็น

อนัตตา เพราะว่าไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครไม่ใช่ใครเกิด

ขึ้นแล้วก็ดับไป เมื่อมีปัจจัยไม่เป็นอิสระถูกต้องไหม

หมายความว่าเมื่อไม่ได้อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาไม่เป็น

อิสระ เพราะว่าเกิดขึ้นเป็นไป ตามเหตุ ตามปัจจัย จะเป็นอิสระจะเกิด

เองเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้เลยแม้ว่าเป็นอนัตตาจริงแต่เกิดขึ้นเป็น

ไปตามเหตุตามปัจจัยพ้นจากเหตุปัจจัยไม่ได้เพื่อที่จะให้เข้าใจความ

หมายของ อนัตตา ยิ่งขึ้นพอฟังเผิน ๆ เหมือนกับว่าเมื่อไม่ได้อยู่ใน

อำนาจบังคับบัญชาของใครก็อิสระใช่ไหม แต่ไม่เป็นอิสระ เพราะ

ว่าเกิดเองตามใจชอบไม่ได้ เป็นไปตามต้องการไม่ได้แต่ว่าต้องเป็น

ไป ตามเหตุ ตามปัจจัย เกิดขึ้นเป็นไปอย่างนั้นตามเหตุ ตามปัจจัยที่

มีอย่างนั้นในขณะนั้นเป็นอื่นจากนั้นไม่ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 16:10
โพสต์: 298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆนะค่ะ
มีประโยชน์มากมายเลย :b20: :b20:

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron