ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

เชิญผู้ปฎิบัติ เข้าสู่การสนทนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=23347
หน้า 1 จากทั้งหมด 3

เจ้าของ:  ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ [ 28 มิ.ย. 2009, 23:50 ]
หัวข้อกระทู้:  เชิญผู้ปฎิบัติ เข้าสู่การสนทนา

ส่วนแห่งผู้ปฎิบัตินะงับ



ส่วนใดที่จิต รู้ หรือเจริญ



ทั้ง มรรค ผล พระนิพพาน


หรือ ทาง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

เจ้าของ:  walaiporn [ 29 มิ.ย. 2009, 01:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชิญผู้ปฎิบัติ เข้าสู่การสนทนา

แวะมาทักทาย

เมื่อมี .... จึงรู้

เมื่อมี ...... บางทีก็ไม่รู้

บางทีมี .... แต่ก็ไม่รู้ว่า ... มีหรือไม่มี

บางทีมีและรู้ .. แต่ไม่รู้ว่ามีคำเรียก .. เลยสักแต่ว่ารู้ .. :b29:

เจ้าของ:  natdanai [ 29 มิ.ย. 2009, 08:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชิญผู้ปฎิบัติ เข้าสู่การสนทนา

ไม่ได้ปฏิบัติงับ...แวะมาดูเฉยๆงับ ว่าคนที่ปฏิบัติเขาคุยอะไรกัน...งับๆๆ :b32:

เจ้าของ:  คนขวางโลก [ 29 มิ.ย. 2009, 09:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชิญผู้ปฎิบัติ เข้าสู่การสนทนา

ทำความเพียรที่หนักหน่วง แต่ไม่ประกอบด้วยศีลที่บริบูรณ์ ก็ไร้ความหมายในพุทธศาสนานี้
เล่ม 20 หน้า 325 (ของ มมร.ชุด 91 เล่ม)


ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา (เริ่มต้นด้วยศีล)
ในศาสนาของพระศาสดา เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้
ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟางเถิด
บางทีเราพึงทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ (หวังฟลุคเผื่อจะได้มรรค – ผลบ้าง)
คือ ความรู้ความเห็นของพระอริยะ ผู้สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ ดังนี้
เธอเสพเสนาสนะอันสงัดคือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง
เมื่อเธอหลีกออกอยู่ด้วยประการนั้น พระศาสดาก็ทรงติเตียนได้
เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนได้ เทวดาก็ติเตียนได้
แม้ตนเองก็ติเตียนตนได้ เธออันพระศาสดาติเตียนบ้าง เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายติเตียนบ้าง
เทวดาติเตียนบ้าง ตนเองติเตียนตนบ้าง ก็ไม่ทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ
คือความรู้ความเห็นของพระอริยะผู้สามารถ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

ดูก่อนภัททาลิ ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา...

แล้ว ปฏิบัติกันอย่างไร หนอ.... :b8:
นักปฏิบัติทั้งหลาย จะพากันสร้างเจดีย์จากยอดลงมาก่อนหรือ.....อย่างไร :b8:

เจ้าของ:  sanooktou [ 29 มิ.ย. 2009, 15:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชิญผู้ปฎิบัติ เข้าสู่การสนทนา

สาธุ สาธุ เช่นนั้นแล ท่านขวางโลก

แต่เหตุแห่งการขัดขวางหนทางแห่งมรรคผล ย่อมมีมากมายเสียเหลือเกิน มากเสียเกินจะกล่าวได้หมด

แม้ในปัจจุบัน เราก็รู้สึกสลดเสียยิ่งนัก เมื่อความหลงผิดไปต่างๆนาๆ ของเหล่าชาวพุทธด้วยกัน
แม้นหลงผิดใครห้ามก็หาที่จะกลับมาคิดไม่ หลักกาลามาสูตร หรือมหาปเทส 4 ก็หาได้สนใจกันไม่
ก็เฝ้ายึดถือ ยึดติด ว่านี้แลทางใช่ นี้แลทางเพื่อสู่หนทางแห่งมรรคผล เปลี่ยนแปลงบิดเบือน
กันไปเท่าที่ความเข้าใจตนเองจะพึงทำได้
พระพุทธองค์ สอนให้ละความอยาก ความยึดติด แต่ผู้ปฏิบัติทั้งหลายกลับปฏิบัติเพื่อยึดติด
เพื่ออยากได้ เมื่อเห็นนิมิตอันเป็นกลลวง แห่งสมาธิ ก็ยึดติด ว่าเราถึงแล้วแล แล้วชักจูงผู้อื่น
ให้หลงตามไป เกิดการบิดเบือนกันอย่างมากมาย
การปฏิบัติสมาธิ มีมานอกศาสนาพุทธ
พระพุทธองค์ ทรงเรียนเอาในลัทธิของ อาฬาลดาบส และอุทกดาบส
เป็นการฝึกให้จิต ไม่คิดฟุ้งซ่าน ไม่นึกถึงเรื่องอื่นใด มีอารมณ์นิ่งเป็นจุดเดียว
เพื่อเป็นบรรทัดฐานแห่งวิปัสสนาต่อไป เพราะเมื่ออยู่ในฌาณ จิตย่อมปราศจากกิเลส
พระพุทธองค์ ทรงตรัสไว้ว่า เป็น ตทังควิมุตติ คือหลุดพ้นโดยข่มไว้
แต่เมื่อออกจากฌาณ กิเลสย่อมกลับมี แต่หากเราใช้ช่วงที่กิเลสกำลังกลับมาโดยใช้วิปัสสนาเสีย
เมื่อช่วงกิเลสอ่อนกำลัง เราย่อมกำจัดง่าย เปลี่ยนเช่นแม้ขนศึก ผู้เก่งกล้าหาผู้ใดเทียม
หากต้องอ่อนล้า เพราะอดอาหาร ไร้แม่แต่เรี่ยวแรงจะยกดาบ ย่อมถูกทหารปลายแถวกำจัดได้
ฉันใดก็ฉันนั้น การยังฌาณให้เกิดขึ้น ก็เพื่อให้กิเลสเบาบาง เป็นการไม่เติมเชื้อให้แก่กิเลส
เราย่อมกำจัดกิเลส ได้ง่ายขึ้น
การปฏิบัติวิปัสสนา คือ
การพยามตัดกิเลสที่มีอยู่ในกมลสันดานของตัวเรา ให้หมดสิ้นไป
พระนาคเสนอ้างอุปมาไว้ว่า ปัญญาที่ใช้ตัดกิเลส ย่อมใช้เพียงเพื่อตัดกิเลสเพียงหนเดียว
หาใช่ปัญญาคือตัวรู้ไม่ เพราะอุปมาไว้ว่า
"ดูก่อนมหาบพิต เมื่อเราต้องการจะดับไฟที่ลูกไหม้บ้านอยู่ เมื่อเราดับไฟนั้นเสียได้แล้ว
เรายังมีความต้องการด้วยน้ำอยู่อีกหรือไม่" พระเจ้ามิลินท์ตอบว่า "ไม่ต้องการดอก พระคุณเจ้า"
"ฉันนั้นแล มหาบพิต ปัญญาที่ใช้ตัดกิเลส เมื่อตัดกิเลสแล้ว ปัญญาตัวนั้นก็หาคงอยู่ไม่"
ด้วยคำกล่าวนี้ย่อมแสดงว่า ปัญญาตัวตัดกิเลส กับปัญญาตัวรู้ ต่างกัน เมื่อปัญญาตัวตัดกิเลส
ตัดกิเลสเสร็จแล้ว ก็จะคงไว้แต่ปัญญาตัวรู้ เพราะถ้าไม่มีปัญญาตัวรู้ ผู้ตัดกิเลสได้แล้ว
ย่อมไม่สามารสอนผู้อื่นได้
เช่นนั้นแล เราจึงกล่าวว่า ผู้ปฏิบัติส่วนมากจะปฏิบัติเพื่อให้เกิดตัวรู้ หาใช่ตัวตัดไม่
เมื่อไม่มีตัวตัดตัวรู้ จึงยังไม่ตามมา การปฏิบัติเลยสูญเปล่าโดยมาก เมื่อพยายามอยากได้มาก
จิตก็เลยสร้างภาพตามความอยากตัวเองไปต่างๆนาๆ ดังเช่นที่ปรากฏให้เราเห็นกัน
การตัดกิเลสด้วยปัญญานี้ พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่าเป็น สมุจเฉทวิมุตติ คือหลุดพ้นโดยการตัด
คือไม่สามารถกลับมามีได้อีก
เราหวังเพียงว่า ชนทั้งหลายจะเข้าใจหนทางให้กระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น แม้นอีกซักคนก็เชื่อว่าดีแล้วแล :b42:

เจ้าของ:  คนขวางโลก [ 29 มิ.ย. 2009, 16:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชิญผู้ปฎิบัติ เข้าสู่การสนทนา

พวกมารเขาฉลาดอยู่มาก

พวกมารเขาหลอกคนให้บริจาคทานเยอะๆ
พวกมารเขาหลอกคนให้เคารพรูปต่างๆเยอะๆ
พวกมารเขาหลอกคนให้รักษาศีลไม่ได้
พวกมารเขาหลอกคนให้ภาวนาทำกรรมฐานทั้งๆที่มีกังวลหลายอย่าง
พวกมารเขาหลอกพระในพุทธศาสนาให้ยุ่งเหยิง – วุ่นวาย จนไม่สามารถจะรักษาศีลของพระได้
พระจึงเป็นพระทุศีล
แล้วพวกมารก็หลอกโยมผู้มีศรัทธาในพุทธศาสนาให้เข้าไปบริจาคทานกับพระทุศีลด้วยสิ่งของเยอะๆ
พวกมารทำเช่นนี้ก็เพื่อให้โยมผู้ใจบุญได้บาปมากๆในการบริจาคทานแก่พระทุศีลนั่นเอง

เมื่อรู้เรื่องของมารแบบนี้แล้ว

พวกเราต้องให้ทานกับพระแค่พอให้พระอยู่ได้ และอุปถัมภ์ผู้เขาเคารพและรับใช้พระซึ่งก็คือโยมวัด
ให้ดำรงอยู่ได้โดยสะดวก เมื่อโยมวัดก็สะดวกดีแล้ว

ผู้ที่มีกำลังในการให้ทานก็ควรให้ทานแก่ลูกๆ – บริวารทั้งหลายของตนและผู้ลำบากทั่วๆไป
ไม่ใช่ขนสิ่งของไปบริจาคให้แต่วัดอย่างเดียว การขนสิ่งของไปบริจาคให้วัดก็พอให้วัดดำรงอยู่ได้
เท่านั้นและพอได้เป็นทุนบุญของตนเอง แล้วก็ใช้ทุนบุญนั้นสร้างบุญต่อๆไป

วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ทั้งหลายของตนเอง ก็ให้มีไว้ใช้แต่พอดีไม่ควรมีให้เหลือเฟือจนเกินไป
คือ พอให้กิจกรรมในการดำรงชีวิตของตนเองดำเนินไปได้อย่างสะดวก

1. บุญทานเป็นสิ่งที่เราควรสร้างเองและสร้างบุญทานตามที่พระพุทธเจ้าสอน
2. บุญศีลเป็นสิ่งที่เราควรสร้างเองและสร้างบุญศีลตามที่พระพุทธเจ้าสอน
3. ธรรมคำสอนเป็นสิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง โดยการใช้บุญทานและบุญศีล
เป็นเครื่องสนับสนุนในการส่องดู - ตรวจดูพระธรรมคำสอน

การทำทานทุกอย่างเปรียบเหมือนเป็นการสร้างฐานของยานพาหนะ
การสร้างบุญศีลที่สมบูรณ์เปรียบเหมือน การประกอบเครื่องกั้น – มุง ของยานพาหนะ
การเรียนรู้ธรรมคำสอนเปรียบเหมือน การตรวจดูว่าเราจะนำยานพาหนะดำเนินไปทางไหนจึง
จะถึงเป้าหมายตามที่พระพุทธองค์บอกไว้ และตรวจดูสิ่งของสัมภาระบนยานพาหนะของเราว่า
พอเหมาะพอควร กับการเดินทางไหม หากสัมภาระในยานพาหนะมีมากเกินไป
ยานพาหนะก็จะข้ามภูเขาสูง ,ร่องลึก ,คลื่นสูง ,น้ำเชี่ยว ,ลมแรงพุ่ง ,ลมหมุน
และฝ่าเปลวเพลิงไปไม่ได้ ยานพาหนะก็อาจจะพังยับเยินก่อน


สรุปคือ สร้างบุญทานก็กะว่าให้พอไปรอด
สร้างบุญศีลก็ทำตามที่พุทธองค์สอนไว้ให้มั่นคงนั้นก็พอแล้ว
พระธรรมคำสอนก็ต้องเร่งเรียน – เร่งเล่าเรียนให้รู้ - เรียนให้รู้ทิศทางอย่างทั่วถึงรอบคอบ
ทั้งทิศเหนือ – ใต้ – ตะวันออก – ตะวันตก – ด้านบน – ด้านล่าง – ด้านขวาง - รวมทั้งฤดูกาล
เราจะได้รู้จักเลือกดำเนินไปให้ตรงทางแต่เพียงสายเดียวเท่านั้น
เพื่อจะได้ไปให้ถึงเป้าหมายตามที่พระพุทธองค์ได้บอกไว้โดยเร็ว

เจ้าของ:  ชิชะ [ 29 มิ.ย. 2009, 17:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชิญผู้ปฎิบัติ เข้าสู่การสนทนา

สละทรัพย์ เพื่อรักษาชีวิต

โลกนี้คือละครชีวิตโรงใหญ่ ตัวเราก็คือคนเล่น วันหนึ่งๆ เล่นหลายบท และแต่ละบทต้องแสดงให้สมบทบาท สมหน้าที่ แสดงถูกต้องเบื้องบนก็จะประทานรางวัล !
เก่งกว่านั้นมองโลกนี้เป็นโรงละคร มีเราเป็นคนดู บางครั้งคนเล่นจะโกรธ จะทุกข์ จะเศร้า เราคนดูก็วางเฉย ไม่สะดุ้งสะเทือนอะไร
ถอดตัวถอดตน ถ้าทำได้ โลกนี้ก็จะไม่มีอะไรเลยจริงๆ เหลือแต่การรับรู้ความจริง และบำเพ็ญความดีจนกว่าจะสิ้นอายุขัย
ชีวิตคือการเดินทาง และมีหลายๆ ครั้งที่ ตัวเราเจาะเสบียงร่วงหล่นจนร่อยหรอ
หลายครั้งที่เราบอกรักชีวิต แต่เราก็ดื่มยาพิษฆ่าตัวตายทีละน้อยๆ
จิตที่แจ่มใส กายย่อมแจ่มใส
จิตที่เป็นโรค กายก็ย่อมเป็นโรค

ขอบอกว่า อันนี้ผมไม่ได้แต่งเอง
ผมเคยอ่านแล้วรู้สึกชอบ เลยลอกเอาไว้

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 29 มิ.ย. 2009, 17:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชิญผู้ปฎิบัติ เข้าสู่การสนทนา

sanooktou เขียน:

การปฏิบัติสมาธิ มีมานอกศาสนาพุทธ
พระพุทธองค์ ทรงเรียนเอาในลัทธิของ อาฬาลดาบส และอุทกดาบส




ขอเรียนถามความเห็นน่ะครับ

สัมมาสมาธิของพระอริยะ ที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ที่แสดงในมหาจัตตารีสกสูตรว่าเป็นเอกัคคตาจิตที่แวดล้อมด้วยอีกเจ็ดอริยมรรค
หรือ อริยสัมมาสมาธิที่ทรงแสดงด้วยเอกัคคตาแห่งจิตที่แวดล้อมด้วยอีกเจ็ดอริยมรรค ในปริกขารสูตร
หรือ สัมมาสมาธิของภิกษุใน"ธรรมวินัย" ที่แสดงด้วย องค์แห่งรูปฌาน๑-๔ ในสัจจบรรพ แห่ง มหาสติปัฏฐานสูตร


พระพุทธเจ้า ทรงเรียนจาก สำนักของดาบสทั้งสอง หรือไม่อย่างไรครับ?

เจ้าของ:  kae [ 29 มิ.ย. 2009, 18:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชิญผู้ปฎิบัติ เข้าสู่การสนทนา

:b8: ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ให้ข้อมูลดีๆๆค่ะ :b8: :b8: :b8:
ขออนุญาต นำธรรมะของหลวงพ่อชา สุภัทโท มาให้ท่านได้อ่านค่ะ :b8:

:b53: เรื่องกามนี้ คล้ายๆกับรังมดแดงใหญ่ เอาไม้ไปแหย่ ยิ่งแหย่ยิ่งหล่นใส่ มดมันหล่นใส่
หน้าใส่ตา แสบหูแสบตา ยังไม่เห็นโทษมัน เราไม่เห็นโทษมัน มันก็ดีทั้งนั้น ให้เข้าใจว่า ถ้ายังไม่
เห็นโทษในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ก็ออกจากสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่ได้.
:b44: :b8: :b8: :b8:


:b41: :b41: :b41: หลับตาดูจิต ลืมตาดูธาตุ :b41: :b41: :b41:

เจ้าของ:  natdanai [ 30 มิ.ย. 2009, 08:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชิญผู้ปฎิบัติ เข้าสู่การสนทนา

ตรงประเด็น เขียน:
sanooktou เขียน:

การปฏิบัติสมาธิ มีมานอกศาสนาพุทธ
พระพุทธองค์ ทรงเรียนเอาในลัทธิของ อาฬาลดาบส และอุทกดาบส




ขอเรียนถามความเห็นน่ะครับ

สัมมาสมาธิของพระอริยะ ที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ที่แสดงในมหาจัตตารีสกสูตรว่าเป็นเอกัคคตาจิตที่แวดล้อมด้วยอีกเจ็ดอริยมรรค
หรือ อริยสัมมาสมาธิที่ทรงแสดงด้วยเอกัคคตาแห่งจิตที่แวดล้อมด้วยอีกเจ็ดอริยมรรค ในปริกขารสูตร
หรือ สัมมาสมาธิของภิกษุใน"ธรรมวินัย" ที่แสดงด้วย องค์แห่งรูปฌาน๑-๔ ในสัจจบรรพ แห่ง มหาสติปัฏฐานสูตร


พระพุทธเจ้า ทรงเรียนจาก สำนักของดาบสทั้งสอง หรือไม่อย่างไรครับ?

:b8: :b8: :b8:
ขอร่วมแสดงความเห็นด้วยคนนะครับท่านตรงประเด็น :b16:
กระผมพิจารณาได้ว่า การทำสมาธินั้นมีมาก่อนจริงครับ...และจากที่เคยศึกษามาพระพุทธเจ้าก็ศึกษาการทำสมาธิจากสำนักต่างๆหลายสำนัก แต่ละสำนักที่พระองค์เข้าไปศึกษา พระองค์ก็เรียนจนอาจารย์ไม่มีอะไรจะสอนอีกแล้ว แต่สมาธิเหล่านั้นไม่ใช่สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่ไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา ไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์

ส่วนสัมมาสมาธิที่เป็นเอกัคคตาจิต เป็นสมาธิที่ประกอบด้วยปัญญา ถึงที่สุดแห่งทุกข์

จะว่าไปแล้วสัมมาสมาธิก็เป็นการต่อยอดจากสมาธิในขั้นของโลกิยฌาณ หรือจะเรียกว่าเป็นสมาธิขั้นสูงก็ไม่น่าจะผิดนะครับ....เพราะสูงจริงๆ สูงพ้นโลกเลย :b32: :b32:

เจ้าของ:  sanooktou [ 30 มิ.ย. 2009, 12:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชิญผู้ปฎิบัติ เข้าสู่การสนทนา

จริงๆแล้วเราควรมาตีความคำว่าสมาธิกันเสียก่อน

เมื่อยังไม่รู้ความหมายแห่ง พยัญชนะ อรรถ ย่อมผิดเพี้ยนตามไปด้วย
โดยแท้จริงแล้ว พระพุทธองค์ จะทรงเรียกการปฏิบัติที่เราเรียกกันว่าปฏิบัติสมาธิ
จริงๆแล้วหาใช่เช่นนั้นไม่ สมาธิเป็นชื่อของอารมณ์จิต ส่วนการปฏิบัติที่เรากล่าวว่า มานอกศาสนานั้น พระพุทธองค์ ย่อมเรียกว่า สมถ
ที่เราใช้คำว่าสมาธิ เพื่อสื่อให้พวกเธอเข้าใจได้ง่ายขึ้น ตามคำที่พวกเธอใช้กัน

เช่นนั้นเรามาดูความหมายของคำว่า สมถ กัน
สมถ
ธรรเป็นเครื่องระงับ . ธรรมยังนิวรณ์ห้า มี กามฉันท์ เป็นต้นให้สงบ.
วิเคราะห์ว่า กาฉนฺทาทิกํ ปญฺจนิวรณํ สเมตีติ สมโถ
สมถะ ชื่อว่า สมถะ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
สมถะ เป็นชื่อของภาวนาอย่าง ๑
เป็นอุบายสงบใจ เป็นวิธีทำใจให้สงบหลบทุกข์ไปได้ชั่วคราว ที่ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนเอาหินทับหญ้า
เท่านั้น เมื่อเอาหินออก หญ้าก็งอกงามตามเดิม แต่ก็ยังผู้ปฏิบัติให้หลงไปว่าได้บรรลุโลกุตรธรรม
เป็นพระอริยบุคคลไปก็มี เมื่อหลงไปเช่นนี้ก็เป็นอันตรายแด่พระพุทธศาสนาเหมือนกัน.
คำว่า สมถะ ไทยใช้ในความหมายว่า มักน้อย ปฏิบัติตนปอนๆ.


ทีนี้เรามาดูความหมายของคำว่า สมาธิ กัน
สมาธิ
ความตั้งมั่น. ความตั้งใจมั่น. ความตั้งมั่นด้วยดีแห่งจิต.
ความตั้งมั่นด้วยดีแห่งจิตในอารมณ์เดียว. ความไม่ส่ายไปแห่งจิต. ความสำรวมใจให้แน่วแน่.
การตั้งจิตไว้ด้วยดีในอารมณ์เดียว.
สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ความที่จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะ
ความที่จิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะ ความที่จิตเพ่งอยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ
วิเคราะห์ว่า สํ สุฏฺฐุ อาธานํ สมาธิ. สํปุพฺโพ, ธา ธารเณ
อีกอย่างหนึ่ง สมฺมา สมํ วา จิตฺตํ อาทธาตีติ สมาธิ .
สมาธิ ใช้เป็นกุศลธรรมเป็นส่วนมาก แต่ในที่บางแห่งท่านต้องการให้ชัดจึงเติมศัพท์ที่บ่งชัดไว้ข้างหน้า
ฝ่ายดี ท่านเติม สมฺมา เป็น สมฺมาสมาธิ ฝ่ายชั่ว ท่านเติม มิจฺฉา เป็น มิจฺฉาสมาธิ


หวังว่าคงจะช่วยเธอให้เข้าใจได้บ้าง :b42:

เจ้าของ:  ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ [ 30 มิ.ย. 2009, 18:09 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชิญผู้ปฎิบัติ เข้าสู่การสนทนา

ศีลที่ควรเคารพ คือ อริยกันตศีล ศีลที่พระอริยเจ้าชอบใจ ศีลนี้มีเพียงข้อเดียวก็คลุมไปหมดเเล้ว ทั้ง 311 227 10 8 5

สมาธิที่ไม่มีนอกพระศาสนาคือ มัคคสมาธิ และ ผลสมาธิ
และ นิโรธสมาบัติ

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 30 มิ.ย. 2009, 22:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชิญผู้ปฎิบัติ เข้าสู่การสนทนา

natdanai เขียน:

ขอร่วมแสดงความเห็นด้วยคนนะครับท่านตรงประเด็น :b16:
กระผมพิจารณาได้ว่า การทำสมาธินั้นมีมาก่อนจริงครับ...และจากที่เคยศึกษามาพระพุทธเจ้าก็ศึกษาการทำสมาธิจากสำนักต่างๆหลายสำนัก แต่ละสำนักที่พระองค์เข้าไปศึกษา พระองค์ก็เรียนจนอาจารย์ไม่มีอะไรจะสอนอีกแล้ว แต่สมาธิเหล่านั้นไม่ใช่สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่ไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา ไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์

ส่วนสัมมาสมาธิที่เป็นเอกัคคตาจิต เป็นสมาธิที่ประกอบด้วยปัญญา ถึงที่สุดแห่งทุกข์

จะว่าไปแล้วสัมมาสมาธิก็เป็นการต่อยอดจากสมาธิในขั้นของโลกิยฌาณ หรือจะเรียกว่าเป็นสมาธิขั้นสูงก็ไม่น่าจะผิดนะครับ....เพราะสูงจริงๆ สูงพ้นโลกเลย :b32: :b32:


:b8:

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 30 มิ.ย. 2009, 23:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชิญผู้ปฎิบัติ เข้าสู่การสนทนา

sanooktou เขียน:
จริงๆแล้วเราควรมาตีความคำว่าสมาธิกันเสียก่อน

เมื่อยังไม่รู้ความหมายแห่ง พยัญชนะ อรรถ ย่อมผิดเพี้ยนตามไปด้วย

โดยแท้จริงแล้ว พระพุทธองค์ จะทรงเรียกการปฏิบัติที่เราเรียกกันว่าปฏิบัติสมาธิ
จริงๆแล้วหาใช่เช่นนั้นไม่ สมาธิเป็นชื่อของอารมณ์จิต

ส่วนการปฏิบัติที่เรากล่าวว่า มานอกศาสนานั้น พระพุทธองค์ ย่อมเรียกว่า สมถ

ที่เราใช้คำว่าสมาธิ เพื่อสื่อให้พวกเธอเข้าใจได้ง่ายขึ้น ตามคำที่พวกเธอใช้กัน




สมถะในองค์แห่งอริยมรรคเป็นของมาจากนอกพระศาสนา จริงหรือ???

สมถะในองค์แห่งอริยมรรค ที่ประกอบด้วย อนาสวะสัมมาวาจา อนาสวะสัมมาอาชีวะ อนาสวะสัมมากัมมันตะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ .....พระฤาษีดาบสทั้งสองที่เป็นอดีตอาจารย์ของพระพุทธองค์ก็รู้จัก และ พระพุทธองค์ไปทรงนำของนอกพระศาสนามาใช้ จริงหรือ???

แล้ว ทำไมพระพุทธองค์ จึงตรัส ก่อนที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ว่า ไม่มีสมณะพราหมณ์ใดๆนอกพระศาสนานี้รู้จักอริยมรรคที่มีองค์แปดนี้ล่ะ???

ในพระสูตรที่ตรัสแสดงถึง ธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชาสองอย่างคือ สมถะ(ที่เป็นเหตุละราคะ) และ วิปัสสนา(ที่เป็นเหตุละอวิชชา) แสดงว่า พระพุทธองค์ทรงไปนำสมถะที่เป็นของนอกพระศาสนามาเป็นส่วนแห่งวิชชา จริงหรือ???

ในพระสูตรที่ตรัสแสดง ว่า การเจริญอรยมรรคย่อมเจริญทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา ด้วยปัญญาอันยิ่ง นั้น..... พระดาบสทั้งสองรู้จัก สมถะ ที่เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง(อธิปัญญา)จริงหรือ???....พระดาบสทั้งสองมี อธิปัญญา คือ อนาสวะสัมมาทิฏฐิ และ อนาสวะสัมมาสังกัปปะ จริงหรือ???

เจ้าของ:  natdanai [ 01 ก.ค. 2009, 08:17 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เชิญผู้ปฎิบัติ เข้าสู่การสนทนา

ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เขียน:
ศีลที่ควรเคารพ คือ อริยกันตศีล ศีลที่พระอริยเจ้าชอบใจ ศีลนี้มีเพียงข้อเดียวก็คลุมไปหมดเเล้ว ทั้ง 311 227 10 8 5

สมาธิที่ไม่มีนอกพระศาสนาคือ มัคคสมาธิ และ ผลสมาธิ
และ นิโรธสมาบัติ

เทวินดาบสไงครับ...พราหมณ์ที่ทำนายลักษณะของพระพุทธเจ้า ได้สมาบัติ(อรูปพรหม) แต่ไม่เห็นอนัตตา...ร้องไห้เสียใจเพราะอายุไขอยู่ไม่ถึงที่จะได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า :b13: :b13:

หน้า 1 จากทั้งหมด 3 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/