วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 11:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


สืบเนื่องจากกระทู้ "การปฏิบัติธรรมต้องมีความอยาก ต้องอาศัยความอยากถึงจะสำเร็จ"

viewtopic.php?f=1&t=23108

************************

เท่าที่ได้สนทนากับหลายๆ ท่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ใช่จะทำความเข้าใจได้ง่าย ถือเป็นเรื่องที่ยังก่อให้เกิดความสับสน พร่ามัวไม่กระจ่างชัดได้ ดังนั้น ขอนำเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในหนังสือพุทธธรรมฉบับขยายความมาลงเอาไว้ (จะทยอยเอามาลงนะครับ) เพื่อให้ศึกษาและทำความเข้าใจโดยละเอียดต่อไป

*************************

ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ….หนังสือพุทธธรรมฉบับขยายความของ ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

มีคำถามและคำกล่าวเชิงค่อนว่าพระพุทธศาสนา ที่ได้พบบ่อยครั้ง ซึ่งน่าสนใจและเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทตอนที่ผ่านมา เห็นควรนำมาพิจารณาในที่นี้ คือ คำพูดทำนองว่า

พระพุทธศาสนสอนให้ละตัณหา ไม่ให้มีความอยาก เมื่อคนไม่อยากได้ ไม่อยากรวย จะพัฒนาประเทศชาติได้อย่างไร? คำสอนของพระพุทธศาสนาขัดขวางต่อการพัฒนา

"นิพพานเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรมก็เพื่อบรรลุนิพพาน แต่ผู้ปฏิบัติธรรมจะอยากในนิพพานไม่ได้ เพราะถ้าอยากได้ก็กลายเป็นตัณหา กลายเป็นปฏิบัติผิด เมื่อไม่อยากได้ แล้วจะปฏิบัติได้อย่างไร คำสอนของพระพุทธศาสนาขัดแย้งกันเอง และเป็นการให้ทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้


คำถามและคำค่อนว่า ๒ ข้อนี้ กระทบหลักการของพระพุทธศาสนา ตลอดสายตั้งแต่การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้าน จนถึงการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือตั้งแต่ระดับโลกียะจนถึงระดับโลกุตตระ สาเหตุให้เกิดคำถามและคำกล่าวหาเช่นนี้ เกิดจากความเข้าใจพร่ามัวสับสนบางอย่าง ซึ่งมีอยู่มากแม้แต่ในหมู่ชาวพุทธเอง ความสับสนนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับถ้อยคำด้วย จุดสำคัญคือเข้าใจคำว่าความอยากเป็นตัณหาทั้งหมด และเข้าใจต่อไปว่า พระพุทธศาสนาสอนให้ละความอยากหรือสอนไม่ให้มีความอยากใดๆ เลย นอกจากนั้น บางทีรู้จักข้อธรรมอื่นที่มีความหมายทำนองนี้เหมือนกัน แต่รังเกียจที่จะแปลว่าความอยาก จึงเลี่ยงแปลเป็นอื่นเสีย เมื่อถึงคราวจะพูดเรื่องเกี่ยวกับความอยาก จึงลืมนึกถึงคำนั้น

ก่อนที่จะทำความเข้าใจกันต่อไป ขอลองหยุดดูหลักการง่ายๆ เกี่ยวกับความอยากที่พระอรรถกถาจารย์แสดงไว้สักแห่งหนึ่ง

ในคัมภีร์ปัญจสูทนี และปรมัตถทีปนี ท่านกล่าวไว้ว่า ความปรารถนา (บาลีว่า ปตฺถนา แปลเป็นไทยง่ายๆ ว่า ความอยาก) มี ๒ อย่าง คือ

๑) ความปรารถนาที่เป็นตัณหา (ตัณหาปัตถนา แปลง่ายๆ ว่า อยากด้วยตัณหา)
๒) ความปรารถนาที่เป็นฉันทะ (ฉันทปัตถนา แปลง่ายๆ ว่า อยากด้วยฉันทะ)

คำอธิบายนี้ แม้จะเป็นชั้นอรรถกถา มิใช่มาในบาลี (คือพระไตรปิฏก) โดยตรง แต่ใช้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับทำความเข้าใจได้ดีมาก ถือความตามนี้ว่า ความอยากที่เป็นแรงจูงใจให้มนุษย์กระทำการต่างๆ นั้น แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท ความอยากที่ชั่วร้ายก็มี ความอยากที่ดีก็มี ความอยากฝ่ายชั่วเรียกว่า ตัณหา ความอยากฝ่ายดีเรียกว่า ฉันททะ

อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ต้องการทราบหลักการของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับเรื่องความอยากหรือแจงรูงใจต่างๆ ให้ชัดเจนยังมีรายละเอียดที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมอีกบางประการ ดังจะได้นำมาให้ช่วยกันพิจารณาต่อไป

ความเข้าใจเบิ้องต้น เพื้อแก้และกันความสับสน

ในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา คำศัพท์ธรรมที่รู้จักกันทั่วไปสำหรับใช้ในความหมายว่า ความอยาก ก็คือ คำว่า “ตัณหา” ซึ่งบางทีแปลให้ได้ความหมายจำเพาะมากยิ่งขึ้นว่า ความทะยานอยาก เหตุที่รู้จักคำนี้มาก เพราะเป็นศัพท์เฉพาะซึ่งท่านใช้เป็นคำจำกัดความของอริยสัจจ์ข้อที่ ๒ คือเหตุแห่งทุกข์ ตัณหาเป็นความอยากชนิดที่มีมูลรากมาจากอวิชชา เป็นต้นตอให้เกิดทุกข์ และจะต้องกำจัดเสีย จึงเป็นข้อธรรมที่คนทั้งปวงผู้ต้องการดับทุกข์ แก้ไขปัญหาชีวิต หรือเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาจะต้องเกี่ยวข้องสนใจ อย่างไรก็ตาม เมื่อรู้จักความอยากที่เป็นตัณหาแล้วจะเหมาเอาความอยากทุกอย่างเป็นตัณหาไปหมดก็ไม่ถูกต้อง ในเมื่อตัณหาเป็นความอยากจำเพาะแง่ ก็ควรรู้จักความอยากที่เป็นความหมายกว้างด้วย และการรู้จักความอยากในความหมายกว้างนั่นแหละจะช่วยให้เข้าใจความอยากจำเพาะแง่ที่เรียกว่าตัณหานี้ชัดเจนขึ้นด้วย

คำศัพท์ธรรมที่มีความหมายครอบคลุมความอยากในแง่ต่างๆ ได้แก่ “ฉันทะ” ซึ่งโดยทั่วไปแปลกันว่า ความพอใจ แต่ความจริงแปลได้อีกหลายอย่างเช่น ความชอบใจ ความอยาก ความยินดี ความรัก ความใคร่ ความต้องการ เป็นต้น เมื่อถือตามที่พระอรรถกถาจารย์จัดแยกไว้ พอสรุปได้ว่า ฉันทะ มี ๓ ประเภทคือ

๑. ตัณหาฉันทะ ฉันทะคือตัณหา หรือฉันทะที่เป็นตัณหา เป็นฝ่ายชั่วหรืออกุศล
๒. กัตตุกัมยตาฉันทะ ฉันทะคือความใคร่เพื่อจะทำ ได้แก่ความต้องการทำหรืออยากทำ เป็นฝ่ายกลางๆ คือใช้ในทางดีก็ได้ ชั่วก็ได้ แต่ท่านมักจัดรวมเข้าเป็นฝ่ายดี
๓. กุศลธรรมฉันทะ ฉันทะในกุศลธรรม หรือธรรมฉันทะที่เป็นกุศล เป็นฝ่ายดีงามหรือกุศล มักเรียกสั้นๆ ว่า กุศลฉันทะ (ความรัก ความใฝ่ดี) หรือธรรมฉันทะ (ความรักธรรม หรือความใฝ่ธรรม)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็แค่อยากจะเดินออกจากบ้าน

เพื่อเดินไปให้ถึงปากตรอก

มีคนพูดกันเยอะว่าปากตรอกมีอะไรดีๆ ชนิดที่บ้านไม่มี

จึงอยากไปปากตรอก และอยากรีบออกจากบ้านเพื่อถึงปากตรอกเร็วๆ

ถึงปากตรอกแล้ว ก็รู้ว่ามันดีจริง

จึงไม่อยากไปที่ไหนอีก หรือไม่อยากมาที่ไหนอีก

ชีวิตก็หยุดอยู่ที่ตรงนั้น ที่ตรงปากตรอกนั่น

แม้บ้านเก่าตัวเองที่เดินจากมา ก็หมดความคิดอยากที่จะกลับไป

หมดความอาลัยในทุกอย่างที่บ้านเก่าเคยมี

เพราะปากตรอกนี้ มีอมตะธรรม ซึ่งดื่มด่ำไม่มีหมด
แต่สิ่งที่หมดกลับเป็นความกระหาย

พอถึงปากตรอกแล้ว ก็หมดกระหาย

และความคิดเพื่อแสวงหาใดๆเพิ่มเติม ก็จบลงไปที่ปากตรอกนี้

สิ้นสุดกันที่นี้ ชีวิตได้พักผ่อนกันอย่างแท้จริงที่ตรงนี้

ที่ซึ่งไม่มีความอยากทั้งปวงเหลืออยู่


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:









:b12:


แก้ไขล่าสุดโดย บัวศกล เมื่อ 21 มิ.ย. 2009, 00:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:
ก็แค่อยากจะเดินออกจากบ้าน

เพื่อเดินไปให้ถึงปากตรอก

มีคนพูดกันเยอะว่าปากตรอกมีอะไรดีๆ ชนิดที่บ้านไม่มี

จึงอยากไปปากตรอก และอยากรีบออกจากบ้าน


:b12:



สวัสดีคุณมังกือ :b12:

แล้วถ้าเขาบอกว่า " ปากตรอกมีอะไรดีๆ ชนิดที่บ้านไม่มี " นั้นมีเยอะ ไม่ต้องกลัวว่าของจะหมด ..

มังกือยังอยากจะรีบอยู่อีกไหม? :b16:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 00:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เฮ้อ..............พอมาตอบกระทู้คุณมันแกวหัวแข็งเปลือกหนา
ชาวบ้านผ่านมา พอทราบเนื้อความแล้ว
อาจพากันสำคัญผิด คิดว่าฉันเป็นมังกือขึ้นมาจริงๆ
และเมื่อนั้นฉันก็คงกลายเป็นตัวประหลาด สมจริงดังคำเรียก

เพราะเหตุว่าคุณเป็นคนเรียกว่าคุณมังกือ...................แ้ล้วฉันก็เป็นคนขาน
ฉันจึงต้องกลายเป็นมังกือไปตามระเบียบ

หากว่าถ้าฉันไม่ขาน แล้วใครหนอจะมาขานและกลายเป็นมังกือแทนฉัน


:b14: :b14: :b14: :b5: :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 01:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีคุณมังกือ :b12:

มาถึงก็บ่นเลย .. เป็นมังกือน่ะดีแล้ว :b32:

หรือจะสลับกัน .. มาเป็นมันแกวหัวแข็งเปลือกหนาจะดีไหม?

ยังไม่เห็นตอบคำถามที่ถามทิ้งไว้เลย อยากทราบความคิดเห็นของมังกือ .. :b14:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 04:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:
ก็แค่อยากจะเดินออกจากบ้าน

เพื่อเดินไปให้ถึงปากตรอก

มีคนพูดกันเยอะว่าปากตรอกมีอะไรดีๆ ชนิดที่บ้านไม่มี

จึงอยากไปปากตรอก และอยากรีบออกจากบ้านเพื่อถึงปากตรอกเร็วๆ

ถึงปากตรอกแล้ว ก็รู้ว่ามันดีจริง

จึงไม่อยากไปที่ไหนอีก หรือไม่อยากมาที่ไหนอีก

ชีวิตก็หยุดอยู่ที่ตรงนั้น ที่ตรงปากตรอกนั่น

แม้บ้านเก่าตัวเองที่เดินจากมา ก็หมดความคิดอยากที่จะกลับไป

หมดความอาลัยในทุกอย่างที่บ้านเก่าเคยมี

เพราะปากตรอกนี้ มีอมตะธรรม ซึ่งดื่มด่ำไม่มีหมด
แต่สิ่งที่หมดกลับเป็นความกระหาย

พอถึงปากตรอกแล้ว ก็หมดกระหาย

และความคิดเพื่อแสวงหาใดๆเพิ่มเติม ก็จบลงไปที่ปากตรอกนี้

สิ้นสุดกันที่นี้ ชีวิตได้พักผ่อนกันอย่างแท้จริงที่ตรงนี้

ที่ซึ่งไม่มีความอยากทั้งปวงเหลืออยู่


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

:b12:



:b8: :b8: :b8:
คุณบัวศกล กล่าวไว้ดีแล้วและได้ใจความดีมาก
เป็นผู้มีปัญญาและวาทะลึกซึ้ง คนไร้สาระขอชื่นชม
อนุโมทนาสาธุค่ะ

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของทุกท่านนะครับ อย่างไรติดตามอ่านกันต่อไปให้จบด้วยนะครับ รับรองว่าเมื่อจบแล้วจะได้เรียนรู้ หรือได้ทบทวนอะไรอีกมากครับ

**********************
ตอน ๒

ข้อที่ ๑ ฉันทะที่เป็นตัณหาฉันทะนั้น ท่านใช้เป็นไวพจน์คำหนึ่งของตัณหา เช่นเดียวกับราคะและโลภะ เป็นต้น ฉันทะประเภทนี้ ในบาลีมีใช้มากมาย ที่คุ้นตากันมากคือในคำว่ากามฉันทะ ซึ่งเป็นข้อแรกในนิวรณ์ ๕ ท่านว่าได้แก่กามตัณหานั่นเอง ฉันทะนี้บางแห่งก็มาด้วยกันกับไวพจน์ทั้งหลายเป็นกลุ่ม เช่น ข้อความว่า “ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุปทาน.....ใดๆ ในจักษุ ในรูป ในจักขุวิญญาณ ในธรรมทั้งหลายที่พึงทราบด้วยจักขุวิญญาณ (และในหมวดอายตนะอื่นครบทั้ง ๖), ........ เพราะสลัดทิ้งได้ซึ่งฉันทะ.....เหล่านั้น เราย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว” แต่ส่วนมากมาลำพังโดดๆ ถึงกระนั้น ก็สังเกตไม่ยากว่ามีความหมายเท่ากับตัณหา เพราะถ้าเอาคำว่าตัณหาใส่ลงไปแทนที่ฉันทะในกรณีนั้นๆ ก็จะได้ความเหมือนกัน เช่น ฉันทะในภพ ฉันทะในกามคุณทั้งหลาย ฉันทะในกาย ฉันทะในเมถุน ฉันทะสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่เป็นอัตตา คือ รูป เวทนา เป็นต้น เสียง กลิ่น รส เป็นต้น ที่สร้างรูปเป็นศัพท์เฉพาะอย่างเดียวกับตัณหา ก็มี เช่น รูปฉันทะ สัททฉันทะ คันธฉันทะ รสฉันทะ โผฏฐัพพฉันทะ และธรรมฉันทะ แม้แต่ฉันทะในคน ก็มี ซึ่งก็หมายถึงความรักใคร่หรือความีใจผูกพันนั่นเอง ดังจะเห็นได้ชัดในคันธภกสูตร ตรัสถึงฉันทะในบุตรและภรรยา และในสูตรเดียวกันนี้ตรัสว่า “ฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์” ตรงกับที่ตรัสในอริยสัจจ์ข้อที่ ๒ ตัณหาเป็นสมุทัย คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ และอีกแห่งหนึ่ง ตรัสว่า พึงละฉันทะ (ในสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา) เท่ากับที่ตรัสในธรรมจักรว่า ตัณหาเป็นสิ่งที่พึงละเสีย

ข้อที่ ๒ ฉันทะที่เป็นกัตตุกัมยตาฉันทะ หมายถึง ความต้องการจะกระทำ หรือความอยากทำดังได้กล่าวแล้ว ฉันทะประเภทนี้ ตรงกับอภิธรรมจัดเข้าเป็นเจตสิกอย่างหนึ่งในจำพวกปกิณณกเจตสิก คือเจตสิกที่เรี่ยรายแพร่กระจายทั่วไป เกิดกับจิตฝ่ายกุศลก็ได้ ฝ่ายอกุศลก็ได้ กัตตุกัมยตาฉันทะที่คุ้นกันที่สุด ก็คือฉันทะที่เป็นธรรมข้อแรกในอิทธิบาท ๔ และที่เป็นสาระของสัมมัปปธานทั้ง ๔ ข้อ ฉันทะประเภทนี้ มีความหมายใกล้เคียงกับ วิริยะ หรือวายามะ (ความพยายาม) และอุตสาหะ บางทีท่านก็กล่าวซ้อนกันไว้เพื่อเสริมความหมายของกันและกัน นับว่าเป็นคุณธรรมสำคัญที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติธรรมและการบำเพ็ญกิจกรณีย์ต่างๆ อย่างไรก็ดี กัตตุกัมยตาฉันทะนี้ ท่านมักรวมเข้าไว้ด้วยกันกับฉันทะประเภทที่ ๓ คือ กุศลธรรมฉันทะ เสมือนจะถือว่าฉันทะ ๒ ประเภทนี้เป็นอย่างเดียวกัน เช่น ฉันทะในอิทธิบาท ๔ และในสัมมัปปธาน ๔ นั้น ก็เป็นทั้งกัตตุกัมยตาฉันทะ และกุศลธรรมฉันทะ ดังนั้น จึงขอผ่านไปยังฉันทะประเภทที่ ๓ ทีเดียว ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมจึงจัดกัตตุกัมยตาฉันทะเข้าร่วมกับกุศลธรรมฉันทะ จะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า

ข้อ ๓ ฉันทะประเภทกุศลธรรมฉันทะ ที่เรียกชื่อเต็ม มีที่มาแห่งหนึ่งในพระสูตร ซึ่งตรัสแสดงองค์ประกอบ ๖ ประการ อันยากที่จะปรากฏให้ได้พบในโลก กุศลธรรมฉันทะนี้ เป็นองค์ประกอบข้อสุดท้ายใน ๖ ข้อนั้น ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้บุคคลได้รับประโยชน์จากพุทธศาสนาหรือสามารถดำเนินชีวิตที่ดีงาม เพราะบุคคลใดแม้จะมีองค์ประกอบ ๕ ข้อแรกครบถ้วนแล้ว แต่ถ้าบุคคลนั้นขาดกุศลธรรมฉันทะเสียอย่างเดียว ก็ไม่สามารถใช้องค์ประกอบข้ออื่นๆ ให้เป็นประโยชน์ได้

คัมภีร์วิภังค์แห่งพระอภิธรรมปิฏก อธิบาย “ฉันทะ” ในสัมมัปปธาน ๔ และในอิทธิบาท ๔ ว่าเป็นกัตตุกัมยตากุศลธรรมฉันทะ ซึ่งนับว่าเป็นต้นแบบของคำอธิบายฉันทะฝ่ายดีในอรรถกถาทั้งหลายและคงจะเป็นต้นเค้าของการจัดเอาฉันทะประเภทที่ ๓ มารวมเข้าเป็นข้อเดียวกับฉันทะประเภทที่ ๓ นี้ ฉันทะที่กล่าวถึงในการปฏิบัติธรรมส่วนมากเป็นฉันทะในสัมมัปปธาน ๔ คือในข้อความว่า “บุคคลนั้น ยังฉันทะให้เกิดขึ้น พยายาม ระดมความเพียร ประคองจิต ยืนหยัดเพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด..........เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว..........เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด.........เพื่อความดำรงอยู่ไม่เลือนรางไป เพื่อความเพิ่มพูน ไพบูลย์เจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว” แม้ฉันทะที่มาในข้อความอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมก็มีรูปความคล้ายกัน เช่น ฉันทะเพื่อบรรลุกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันทะในการสมาทานสิกขา ฉันทะเพื่อเจริญปัญญินทรีย์ ฉันทะเพื่อละสรรพกิเลส เกิดฉันทะในนิพพาน เป็นต้น ดังนั้น จึงจัดว่าเป็นทั้งกัตตุกัมยตาฉันทะ และกุศลธรรมฉันทะ คือเป็นทั้งฉันทะที่อยากจะทำ และเป็นฉันทะในสิ่งที่ดีงาม พูดง่ายๆ ว่า ต้องการทำสิ่งที่ดีงาม

รวมความว่า ศัพท์ธรรมที่มีความหมายกว้าง ครอบคลุมความอยาก หรือความต้องการซึ่งเป็นแรงจูงใจของมนุษย์ได้ทุกอย่าง ก็คือคำว่า “ฉันทะ” ฉันทะเป็นข้อธรรมที่สำคัญมาก พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล” หมายความว่า ฉันทะเป็นรากหรือเป็นต้นเค้าของธรรมทุกอย่าง ฉันทะที่ไม่ดี เป็นอกุศล เป็นฝ่ายชั่ว ตรงกับคำว่า ตัณหา จะใช้คำว่า ตัณหาแทนก็ได้ ส่วนฉันทะที่ดีงามเป็นฝ่ายกุศล มีชื่อเต็มว่า กุศลธรรมฉันทะ บางทีเรียกสั้นเข้าเป็น กุศลฉันทะ บ้าง ธรรมฉันทะ บ้าง แต่นิยมเรียกคำเดียวว่า ฉันทะ นอกจากนี้ยังมีฉันทะที่เป็นกลางๆ คือความต้องการจะทำ หรืออยากทำ เรียกว่า กัตตุกัมยตาฉันทะ แต่ท่านมักจัดรวมเข้าในฝ่ายดี เป็นกุศลธรรมฉันทะด้วย

อย่างไรก็ดี เพื่อความสะดวกในการศึกษาต่อไป มิให้เกิดความสับสน ต่อนี้ไป (เฉพาะในบทความหัวข้อนี้) จะแยกทั้งคำ แยกทั้งความให้ขาดออกจากกันอย่างชัดเจน กล่าวคือ สำหรับฉันทะฝ่ายชั่ว ไม่ว่าในกรณีที่ท่านเรียกว่า ฉันทะ ก็ตาม เรียกว่า ตัณหา ก็ตาม ในที่นี้จะใช้คำว่า “ตัณหา” อย่างเดียว และสำหรับฉันทะฝ่ายดีก็จะเรียกสั้นๆ เพียงว่า “ฉันทะ” ส่วนฉันทะที่เป็นกลางๆ คือกัตตุกัมยตาฉันทะ ก็จะอธิบายรวมๆ แทรกไปกับตัณหาและฉันทะนั้น ใช้คำหลักเพียง ๒ คำ คือ ตัณหา กับ ฉันทะ ตรงกับมติของอรรถกถาที่แบ่งความปรารถนาหรือความอยากเป็นสองอย่าง ดังยกมาอ้างไว้แล้วข้างต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 09:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ….หนังสือพุทธธรรมฉบับขยายความของ ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).....


คุณว่า...บทความข้างต้น...ทั้งสอง block
สั้นไป หรือ ยาวไปครับ...

คือผมหัวเชิงวิชาการครับ... ระบบ ISO
เขาจะมีหลักสั้น ๆ คือ...

ทำอย่างที่เขียน... เขียนอย่างที่ทำ....

อันนี้ไม่เกี่ยวกับตำราครับ...ถามความคิดเห็นล้วน ๆ

ถ้าสั้นไป เพราะอะไร...
และยาวไป เพราะอะไร...


บัวศกล เขียน:
ก็แค่อยากจะเดินออกจากบ้าน

เพื่อเดินไปให้ถึงปากตรอก

มีคนพูดกันเยอะว่าปากตรอกมีอะไรดีๆ ชนิดที่บ้านไม่มี

:b12:


จริง ๆ คุณหยิบเอาตัวอย่างอื่นมาก็ได้นี่ครับ....
เล่นพูดถึงบ้าน พูดถึงเรื่องตรอก
ผมก็เข้าใจครับ...ว่าคุณพยายามหมายถึงอะไร...
ซึ่งผมก็เห็นว่าคุณอธิบายได้ดี...

:b49: :b49: :b49:

แต่ด้วยความสัปดล...ของผม...คุณรู้มั๊ยครับว่าทำให้ผมนึกไปถึงอะไร...
เพราะถ้าเป็นแถว ๆ สกลนคร... ปากตรอกอาจจะไม่ใช่ที่น่าสนใจนะครับ...


:b49: :b49: :b49:

ไอ้ปากตรอกที่ว่าเจ๋ง ๆ น่ะ ของมันบ่แน่ด๊อกกกก...
ให้ไปเจอ...สยามพารากอน ก่อนเต๊อะ...

:b49: :b49: :b49:

และไอ้สยามพารากอน ที่ว่าแน่ ๆ ... มันก็บ่แน่ด๊อกกกก...

:b49: :b49: :b49:

เฮ้อ...ขอโทษ...ดันแหย่มาตรงตรอกแล้ว...เลยอดคิดไม่ได้...
แถวบ้านนอก...ชอบมีรถกะบะขับมาประชาสัมพันธ์ครับ...
หมาแลกคุ...
คุ...กับ...ชีวิตของน้องหมา...
ผมจะไปห้ามชาวบ้านก็ไม่ได้...เพราะเขามีความเห็นถูกต้องเช่นนั้น...
อยากรู้จัก...ว่าไอ้คนที่ขับรถมาทำอย่างนี้จะได้รับกรรมยังไงครับ...
ผมจะได้ลงทุนเจียดเงินของตนเอง...ไปทำป้ายอันใหญ่ ๆ ไว้ ติดให้ทั่วชุมชน...
ขอโทษนะครับ...คุณ จขกท.. ที่ผมนอกเรื่อง
พอดีข้อความของเพื่อน...ทำให้ผมสัปดลคิดเลยเถิดไปครับ....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 11:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัยตรอกที่ท่านสหายเฒ่า หมายถึง รึกล่าวถึง
คงจะเป็นคนละตรอกกับที่ผมต้องการจะบอก

เพราะตรอกที่ถึงแล้วก็เป็นอันสุดทาง ไม่มีที่ไหนดีกว่าประณีตกว่าไปได้อีกแล้ว
คือความหมายของตรอกที่ผมกล่าวถึง

หากตรอกไหนเมื่อเดินไปจนสุดทางแล้ว แต่ก็ยังได้เจอสิ่งที่ยังไม่จบสิ้น
ไม่เลิศที่สุด คนคนนั้นก็ควรจะเลือกเข้าตรอกใหม่ ที่มันใช่กว่าเดิม
และจนกว่าจะเจอตรอกที่ใช่
ตราบเท่าที่ชีวิตยังไม่เจอตรอกนั้นเขาก็ยังคงเวียนวนมืดมิดอยู่กับการคลำทางไปเรื่อยๆ

บางคนกว่าจะเจอตรอกที่ใช่ เขาต้องผ่านวันเวลาอันยาวนาน
ด้วยการเข้าตรอกผิดแล้ว ผิดเล่า จนในที่สุด ตรอกผิดทั้งหลายถูกเข้ามาหมดแล้ว
หนทางผิดถูกปิดไปหมดแล้ว จึงเหลือตรอกสุดท้ายที่ใช่ ซึ่งชีวิตมันจะก้าวเข้าไปเอง
โดยอัตโนมัติ เพราะไม่มีตรอกไหนเหลือให้เลือกอีกแล้ว
และการเดินจนครบทุกตรอก ก่อนมาเจอตรอกที่ถูกต้องสูงสุด เป็นบทสุดท้าย
โดยมากแล้วจะเป็นวิสัยของผู้ตรัสรู้เอง ผู้ซึ่งปราศจากผู้ชี้นำแนวทาง


ในทุกย่างก้าวของการเดินในตรอกลึกอาจมีหลายสิ่ง ที่คอยดึงดูด คอยฉุดรั้ง
ให้หยุด ให้จม ให้ติด ให้ชะงัก จนกระทั่งชีวิตนั้นอาจต้องสิ้นลงซะก่อน
ก่อนถึงปลายทางที่ปากตรอก........ดังนั้นผู้รู้ท่านจึงแนะนำก่อนว่า หากคิดออกจากบ้าน
หรือจะเดินทางไปปากตรอกซึ่งมีสถานอันเป็นอมตะ บุคคลนั้นควรมีการศึกษา
มาก่อนในเบื้องต้น ให้รู้จักให้พอตัวสำหรับจะเดินทาง เขาเรียกการเรียนรู้เบื้องต้น
ซะสวยหรูว่า ปริยัติ ทุกคนควรมีปริยัติพอตัวซะก่อน ก่อนออกจากบ้าน


ที่สหายเฒ่าถามว่าทำไมไม่ยกสิ่งอื่นมาเป็นตัวอย่าง

ผมขอตอบว่า จากการที่ผมอ่านอยู่หลายเนื้อความของธรรมะ
ทำให้ผมรู้สึกเหมือนว่า บทธรรมที่ควรจะง่าย ควรจะรวบรัดกลับกลายเป็นสิ่งที่ดู
ยืดยาว ยุ่งยาก และมากมายจนเหมือนเกินจำเป็น ผมจึงเลือกใช้ปากตรอก
เพราะมันดูใกล้ และธรรมดาเกินไป ที่สำคัญไม่แฝงกลิ่นอายของความยากเย็น

และสำหรับคำถามของคุณ มันแกวเปลือกหนาหัวแข็ง ที่ถามว่า
หากปากตรอกมีอะไรดีๆซึ่งมีเยอะ ยังจะรีบไปอยู่อีกไหม

ผมขอตอบคุณอย่างนี้ครับ

ผมว่าความรีบไม่รีบขึ้นอยู่กับว่า ในตอนนั้น บ้านของผมมันร้อนขนาดไหน
มันทุกข์ขนาดไหนกับบ้านหลังนั้น หรือบ้านอาจยังไม่ทำให้ผมทุกข์ทำให้ผมร้อน
แต่ผมกลับมองเห็นเองว่า ในความสบายดีอยู่ในบ้านนี้ มีภัยร้ายที่น่ากลัวแฝงเร้นอยู่
และกำลังคลืบคลานใกล้เข้ามา อีกทั้งกำลังรอเวลามาแผดเผาผมซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไร

เพราะเห็นโทษภัยของบ้านผมอาจต้องรีบก้าวเดินออกมาเพื่อให้เร็วที่สุด

และถ้าหากผมยิ่งรู้ว่าตรอกไหน เป็นตรอกเดิมแท้ ที่ตรงสู่อมตะปลายทาง
ความเพียรที่จะรีบเร่งเดินทางของผม คงยิ่งทวีคูณเป็นหลายเท่าตัว

ชีวิตนี้ก็เป็นสิ่งที่กำลังถูกเผาไหม้ ให้มอดดับลงอยู่ทุกเวลานาที
โดยไม่มีใครหยั่งรู้ได้ว่า การมอดดับครั้งสำคัญจะมาถึงเมื่อไรช่วงไหนของชีวิต

ดังนั้นเพียงแค่นึกถึงการมอดดับแห่งพลังชีวิตนี้แล้ว ความเพียรของผมก็ยิ่งจะเพิ่ม
มั่นคงเป็นทวีคูณ

ถึงแม้จะรู้ว่าปลายทางเป็นสิ่งคงที่ และไม่หนีไปไหน
แต่ชีวิตน้อยๆของผมนี้ต่างหาก ที่มันจะเดินเฉออกจากเส้นทางไปเองถ้าผมประมาท

ผมไม่กลัวว่าปลายทางจะหนีหาย แต่ผมกลัวว่าตัวผมเองต่างหากที่หนีหายจากปลายทางซะเอง
เพราะดังนั้นผมจึงควรจะรีบเดิน ถ้ารู้ว่าชีวิตได้วางไว้อยู่บนทางที่ถูกต้องแล้ว


แล้วคุณมันแกวเปลือกหนาหัวแข็งหละ คุณจะทำยังไง


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธธรรมหน้า๑๒๙


ฯลฯ

แต่เมื่ออวิชชาถูกปรุ่งดัดแปลงด้วยความเชื่อถือในทางที่ดีงาม ความคิดที่ถูกต้อง ความเชื่อความเข้าใจที่มีเหตุผล ตัญหาถูกชักจูงหัเบนไปสู่เป้าหมายที่ดีงาม ถูกควบคุมขัดเกลา และขับห้พุ่งไปอย่างมีจุดหมาย ก็ย่อมให้เกิดกรรมฝ่ายดี และเป็นประโยชน์ได้อย่างมาก และถ้าได้รับการชักนำอย่างถูกต้องก็จะเป็นเครื่องอุปถัมภ์ สำหรับกำจัดอวิชชาและตัญหาได้ต่อไปด้วย ฯลฯ เป็นวิถีแห่งความดี แห่งบุญกุศล คนดีและคนชั่วต่างยังมีทุกข์อยู่ตามแบบของตนๆ แต่วิถีฝ่ายเท่านั้นที่จะนำไปสู่ความสิ้นทุกข์ ความหลุดพ้น และความอิสระได้

ตัญหาที่ใช้ในทางที่เป็นประโยชน์นั้น มีตัวอย่างถึงขั้นสูงสุดเช่น

“ดูกรน้องหญิง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้ยินว่า ภิกษุชื่อนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ ฯลฯ เธอจึงมีความดำริว่า เมื่อไหร่หนอ เราจักกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ฯลฯ บ้าง สมัยต่อมา เธออาศัยตัญหาและละตัญหาเสียได้ ข้อที่เรากล่าวว่า กายนี้เกิดจากตัญหา พึ่งอาศัยตัญหาละตัญหานี้เสีย เราอาศัยข้อความนี้เองกล่าว”


ถ้าไม่สามารถทำอย่างอื่น นอกจากเลือกเอาระหว่างตัญหาด้วยกัน พึงเลือกเอาตัญหาในทางที่ดีเป็นแรงชักจูงในการกระทำ แต่ถ้าทำได้ พึงเว้นตัญหาทั้งฝ่ายชั่วฝ่ายดี เลือกเอาวิถีแห่งปัญญา อันเป็นวิถีที่บริสุทธิ์ อิสระและไร้ทุกข์



จากข้างต้นทำให้มีแง่คิดว่า

สิ่งต่างๆทั้งหลาย มีหลายแง่หลายมุม

สุดท้ายขึ้นอยู่กับเจตนาในการใช้

ในความอยากเดียวกัน

เมื่อใช้ความอยากนั้นเพื่อบรรลุธรรม

เมื่อสิ้นอาสวะ นิสสรณะ แล้ว

ความอยากนั้นก็สิ้นไปโดยปริยาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 13:30
โพสต์: 1


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนแรกก็รู้ว่าทำบุญเอาหน้า ทำไปเรื่อยๆ
ก็ทำทานแล้วสุขใจอีก ก็ต้องการเพิ่มอีก
แล้วมานั่งสมาธิอีก มีปิติอีกบางทีก็สุขและทุกข์
และท้อกับสิ่งที่ตัวเองทำและหวังว่ามาถูกทางไหม
ศัพท์บางอย่างทางพุทธบางครั้งเราไม่เข้าใจหรอก
บางครั้งก็รู้ว่าเรานั้นไม่มีค่าหรอกมี คนว่ากัน ข่มกัน
ในทุกสังคม ได้เฝ้าดูจิตของตัวเองว่าเป็นอย่างไร
หลายสี่งมันเปลี่ยน ไป กลับ และเสื่อม
แต่ก็ทำสี่งดีๆ มากตลอดเราเดินออกมาแล้วเราก็หา
ตัวเองสอนจิตตัวเองว่ามันเป็นอย่างงั้นแหละ
ทุกข์ก็ช่างสุขไม่สนสงบเป็นพอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 17:52
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn ดูนี่สิว่ามันหมายถึงอะไร เกิดจากความอยากหรือไม่อยาก

ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง

:b20: หนุกดีนะ แหล่มเลย :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คนขวางโลก เขียน:
walaiporn ดูนี่สิว่ามันหมายถึงอะไร เกิดจากความอยากหรือไม่อยาก

ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง

:b20: หนุกดีนะ แหล่มเลย :b13:



สวัสดีค่ะ คุณคนขวางโลก :b8:


สิ่งที่คุณถามมา ..



ดูนี่สิว่ามันหมายถึงอะไร เกิดจากความอยากหรือไม่อยาก

ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง


ตอบจ้ะ .. อยู่ที่ความคิดค่ะ :b1:

หากคุณคิดว่าเป็นความอยาก มันก็จะเป็นความอยากตามที่คุณคิด

หากคุณคิดว่ามันไม่ใช่ความอยาก มันก็จะไม่ใช่ตามที่คุณคิด


สำหรับตัวเรานั้นพูดเป็นกลางๆค่ะ ว่าไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง

อ่านให้ดีๆนะคะ ... เราไม่ได้พูดว่าคุณอยากได้ไหม หากคุณอยากได้ คุณต้องทำ

ภาษาไทยมันดิ้นได้นะคะ :b12:

แบบว่าเน้นความเพียรค่ะ ไม่ได้เน้นเรื่องความทะยานอยาก :b4:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 21 มิ.ย. 2009, 17:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:
สงสัยตรอกที่ท่านสหายเฒ่า หมายถึง รึกล่าวถึง
คงจะเป็นคนละตรอกกับที่ผมต้องการจะบอก

เพราะตรอกที่ถึงแล้วก็เป็นอันสุดทาง ไม่มีที่ไหนดีกว่าประณีตกว่าไปได้อีกแล้ว
คือความหมายของตรอกที่ผมกล่าวถึง

หากตรอกไหนเมื่อเดินไปจนสุดทางแล้ว แต่ก็ยังได้เจอสิ่งที่ยังไม่จบสิ้น
ไม่เลิศที่สุด คนคนนั้นก็ควรจะเลือกเข้าตรอกใหม่ ที่มันใช่กว่าเดิม
และจนกว่าจะเจอตรอกที่ใช่
ตราบเท่าที่ชีวิตยังไม่เจอตรอกนั้นเขาก็ยังคงเวียนวนมืดมิดอยู่กับการคลำทางไปเรื่อยๆ

บางคนกว่าจะเจอตรอกที่ใช่ เขาต้องผ่านวันเวลาอันยาวนาน
ด้วยการเข้าตรอกผิดแล้ว ผิดเล่า จนในที่สุด ตรอกผิดทั้งหลายถูกเข้ามาหมดแล้ว
หนทางผิดถูกปิดไปหมดแล้ว จึงเหลือตรอกสุดท้ายที่ใช่ ซึ่งชีวิตมันจะก้าวเข้าไปเอง
โดยอัตโนมัติ เพราะไม่มีตรอกไหนเหลือให้เลือกอีกแล้ว
และการเดินจนครบทุกตรอก ก่อนมาเจอตรอกที่ถูกต้องสูงสุด เป็นบทสุดท้าย
โดยมากแล้วจะเป็นวิสัยของผู้ตรัสรู้เอง ผู้ซึ่งปราศจากผู้ชี้นำแนวทาง


ในทุกย่างก้าวของการเดินในตรอกลึกอาจมีหลายสิ่ง ที่คอยดึงดูด คอยฉุดรั้ง
ให้หยุด ให้จม ให้ติด ให้ชะงัก จนกระทั่งชีวิตนั้นอาจต้องสิ้นลงซะก่อน
ก่อนถึงปลายทางที่ปากตรอก........ดังนั้นผู้รู้ท่านจึงแนะนำก่อนว่า หากคิดออกจากบ้าน
หรือจะเดินทางไปปากตรอกซึ่งมีสถานอันเป็นอมตะ บุคคลนั้นควรมีการศึกษา
มาก่อนในเบื้องต้น ให้รู้จักให้พอตัวสำหรับจะเดินทาง เขาเรียกการเรียนรู้เบื้องต้น
ซะสวยหรูว่า ปริยัติ ทุกคนควรมีปริยัติพอตัวซะก่อน ก่อนออกจากบ้าน


ที่สหายเฒ่าถามว่าทำไมไม่ยกสิ่งอื่นมาเป็นตัวอย่าง

ผมขอตอบว่า จากการที่ผมอ่านอยู่หลายเนื้อความของธรรมะ
ทำให้ผมรู้สึกเหมือนว่า บทธรรมที่ควรจะง่าย ควรจะรวบรัดกลับกลายเป็นสิ่งที่ดู
ยืดยาว ยุ่งยาก และมากมายจนเหมือนเกินจำเป็น ผมจึงเลือกใช้ปากตรอก
เพราะมันดูใกล้ และธรรมดาเกินไป ที่สำคัญไม่แฝงกลิ่นอายของความยากเย็น

และสำหรับคำถามของคุณ มันแกวเปลือกหนาหัวแข็ง ที่ถามว่า
หากปากตรอกมีอะไรดีๆซึ่งมีเยอะ ยังจะรีบไปอยู่อีกไหม

ผมขอตอบคุณอย่างนี้ครับ

ผมว่าความรีบไม่รีบขึ้นอยู่กับว่า ในตอนนั้น บ้านของผมมันร้อนขนาดไหน
มันทุกข์ขนาดไหนกับบ้านหลังนั้น หรือบ้านอาจยังไม่ทำให้ผมทุกข์ทำให้ผมร้อน
แต่ผมกลับมองเห็นเองว่า ในความสบายดีอยู่ในบ้านนี้ มีภัยร้ายที่น่ากลัวแฝงเร้นอยู่
และกำลังคลืบคลานใกล้เข้ามา อีกทั้งกำลังรอเวลามาแผดเผาผมซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไร

เพราะเห็นโทษภัยของบ้านผมอาจต้องรีบก้าวเดินออกมาเพื่อให้เร็วที่สุด

และถ้าหากผมยิ่งรู้ว่าตรอกไหน เป็นตรอกเดิมแท้ ที่ตรงสู่อมตะปลายทาง
ความเพียรที่จะรีบเร่งเดินทางของผม คงยิ่งทวีคูณเป็นหลายเท่าตัว

ชีวิตนี้ก็เป็นสิ่งที่กำลังถูกเผาไหม้ ให้มอดดับลงอยู่ทุกเวลานาที
โดยไม่มีใครหยั่งรู้ได้ว่า การมอดดับครั้งสำคัญจะมาถึงเมื่อไรช่วงไหนของชีวิต

ดังนั้นเพียงแค่นึกถึงการมอดดับแห่งพลังชีวิตนี้แล้ว ความเพียรของผมก็ยิ่งจะเพิ่ม
มั่นคงเป็นทวีคูณ

ถึงแม้จะรู้ว่าปลายทางเป็นสิ่งคงที่ และไม่หนีไปไหน
แต่ชีวิตน้อยๆของผมนี้ต่างหาก ที่มันจะเดินเฉออกจากเส้นทางไปเองถ้าผมประมาท

ผมไม่กลัวว่าปลายทางจะหนีหาย แต่ผมกลัวว่าตัวผมเองต่างหากที่หนีหายจากปลายทางซะเอง
เพราะดังนั้นผมจึงควรจะรีบเดิน ถ้ารู้ว่าชีวิตได้วางไว้อยู่บนทางที่ถูกต้องแล้ว


แล้วคุณมันแกวเปลือกหนาหัวแข็งหละ คุณจะทำยังไง


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:




ตอบสิ่งที่คุณถามมาค่ะ ..

คำตอบคือสิ่งที่กำลังอ้างอิง คือข้อความที่คุณเขียนมา :b12:

ขอบคุณค่ะ สำหรับความคิด .. :b8: คิดตรงกัน เลยก๊อปมาแปะ ไม่ต้องมาเขียนเอง :b32:

เพราะทุกวันก็กำลังทำแบบที่คุณพูดมาค่ะ คุณมังกือ :b16:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณบัวแสนกลพูดเข้าทีดีจิงๆ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 153 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร