วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 13:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บัวศกล เขียน:
ผมไม่กลัวว่าปลายทางจะหนีหาย แต่ผมกลัวว่าตัวผมเองต่างหากที่หนีหายจากปลายทางซะเอง
เพราะดังนั้นผมจึงควรจะรีบเดิน ถ้ารู้ว่าชีวิตได้วางไว้อยู่บนทางที่ถูกต้องแล้ว

เดินให้ไวค่ะ ให้ไว แมวขาวฯ กำลังตามหลังคุณอยู่....

ผู้มีปัญญา ใช้ตัณหา เพื่อดับตันหา

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2009, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับทุกๆ ความเห็นและข้อเสนอแนะนำครับ

ขอให้ทุกท่านลองติดตามอ่านกันต่อไปนะครับ ให้รู้เรื่องนี้กระจ่างลึกซึ้งกันไปเลย เพราะการที่เรารู้เรื่องนี้กระจ่างลึกซึ้งจะทำให้สามารถแยกแยะการปฏิบัติถูกว่าเป็นอย่างไรได้ และจะรู้ว่าการมีความอยากในการปฏิบัติธรรมเป็นเทคนิคที่สำคัญมากๆ เลยครับ

*************************

ตอนที่ ๓


แรงจูงใจในพุทธธรรม

จุดเริ่มต้นสำหรับทำความเข้าใจกันในตอนนี้คือ ให้ถือว่าแรงจูงใจในการกระทำของมนุษย์แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้

๑. ความพอใจ ชอบใจ ยินดี อยาก รักใคร่ ต้องการ ที่ไม่มี ไม่สบาย ไม่เกื้อกูล เป็นอกุศล เรียกว่า ตัณหา
๒. ความพอใจ ชอบใจ ยินดี อยาก รักใคร่ ต้องการ ที่ดีงาม สบาย เกื้อกูล เป็นกุศล เรียกว่า ฉันทะ

ตัณหา แปลว่า ความกระหาย ความทะยาน ความอยาก ความเสน่หา ความรน ความร่าน ความกระสับกระส่าย ความกระวนกระวาย ไม่รู้อิ่ม หลักสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับตัณหาคือ ตามหลักปฏิจจสมุปบาท ตัณหาเกิดจากเวทนาเป็นปัจจัย โดยมีอวิชชาเป็นมูลราก กล่าวคือ เมื่อบุคคลรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่น่าชอบใจหรือไม่น่าชอบใจก็ตาม เช่น เห็นรูปสวยหรือน่าเกลียด ได้ยินเสียงไพเราะหรือหนวกหู เป็นต้น แล้วเกิดความรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉยๆ ขึ้น ในเวลานั้น ตัณหาก็จะเกิดขึ้นในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ถ้ารู้สึกสุข ก็ยินดี ชื่นชอบ คล้อยตามไป ติดใจ ใฝ่รัก อยากได้ ถ้ารู้สึกสุข ก็ยินดี ชื่นชอบ คล้อยตามไป ติดใจ ใฝ่รัก อยากได้ ถ้ารู้สึกทุกข์ ก็ยินร้าย ขัดใจ ชัง อยากเลี่ยงหนี หรืออยากให้สูญสิ้นไปเสีย ถ้ารู้สึกเฉยๆ ก็เพลินๆ เรื่อยเฉื่อยไป อาการอย่างนี้มันเป็นไปของมันได้เอง โดยไม่ต้องใช้ความคิด ไม่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจอะไรเลย (ตรงข้ามถ้ามีความรู้ความเข้าใจหรือใช้ความคิดแทรกเข้ามาในเวลานั้น เช่น รู้ว่ารูปที่น่าเกลียดนั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์หรือรู้ว่าเสียงไพเราะนั้น เป็นสัญญาณอันตราย เป็นต้น ตัณหาอาจถูกตัดตอน กระบวนการไม่ไหลต่อเนื่องเรื่อยไปอย่างเดิม แต่เกิดพฤติกรรมรูปอื่นรับช่วงไปแทน) จึงอาจพูดอย่างง่ายๆ ว่า ตัณหาอิงอาศัยเวทนาโดยมีอวิชชาเป็นตัวหนุน หรือ ตัณหาแอบอิงเวทนาอยู่บนฐานแห่งอวิชชา

ในเมื่อตัณหาใฝ่หรือผูกพันมุ่งหมายเวทนาอย่างนี้ ตัณหาจึงร่านรนหันไปหาสิ่งที่จะให้เวทนาแก่มันได้ และสิ่งที่ตัณหาต้องการ ก็คือสิ่งใดก็ตามที่จะอำนวยเวทนาอันอร่อยซึ่งตัณหาชอบ สิ่งทั้งหลายที่อำนวยเวทนาได้เมื่อจัดรวมเข้าเป็นประเภทแล้ว ก็มีเพียง ๖ อย่าง เรียกว่าอารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งต้องกาย) และธรรมารมณ์ (เรื่องในใจ) เฉพาะอย่างยิ่ง อารมณ์จำพวกที่เด่นชัดกว่าเป็นรูปธรรม คือ ๕ อย่างแรก ซึ่งเรียกว่า กามคุณ ๕ (ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ น่าพอใจ) อารมณ์ ๖ โดยเฉพาะกามคุณ ๕ นี้ เป็นสิ่งที่ตัณหาต้องการ และเป็นที่เกิดของตัณหา โดยนัยนี้ จึงขยายความหมายของตัณหาออกไปได้ว่า ตัณหาคือ ความกระหายอย่างในสิ่งที่ให้เวทนา หรือความกระหายอยากในอารมณ์ที่ชอบใจ หรือในกามคุณทั้งหลาย หรือความกระหายอยากได้อารมณ์ที่ชอบในมาเสพเสวยเวทนาอันอร่อย พูดสั้นๆ ว่าอยากได้หรืออยากเอา

อย่างไรก็ตาม เรื่องของตัณหายังไม่จบเพียงเท่านั้น การเสพเสวยเวทนาจากอารมณ์เช่นนี้ ได้สร้างเสริมความรู้สึกอย่างหนึ่งที่สั่งสมขึ้นด้วยความหลงผิด คือความรู้สึกว่า มีตัวตนหรืออัตตาผู้เสพเสวยเวทนาเมื่อเข้าใจอย่างนั้นแล้ว ก็ต้องมีความเห็นต่อเนื่องไปอีกว่า การที่จะได้เสพเสวยเวทนาอยู่เรื่อยไป ก็ต้องมีตัวตนผู้เสพเสวยที่เที่ยงแท้ถาวร คราวนี้ ความกระหายอยากในความมีอยู่เป็นอยู่เที่ยงแท้ถาวรของอัตตาก็เกิดมีขึ้นควบคู่ไปกับความเห็นว่ามีตัวตนที่คงอยู่เที่ยงแท้ถาวรได้ แต่เมื่อความเข้าใจเช่นนี้เป็นเพียงความเห็นที่ยึดถือเอาเอง และเมื่อความเห็นนั้นเอียงไปข้างหนึ่งแล้ว ก็ย่อมมีความเห็นอีกอย่างหนึ่งซึ่งเอียงไปในทางตรงข้าม เกิดขึ้นมาซ้อนเป็นคู่คอยแย้งกันไว้ว่า ตัวตนนั้นมีอยู่เพียงชั่วคราว แล้วก็จะดับสิ้นพินาศขาดสูญไป ไม่คงอยู่เที่ยงแท้ถาวร ความเห็นหรือความยึดถือนี้กลับไปสัมพันธ์กันอีกกับการเสพเสวยเวทนากล่าวคือ ความมีอยู่คงอยู่แห่งตัวตนนั้น จะมีความหมายก็เพราะได้เสพเสวยเวทนาที่ชื่นชอบใจ เมื่อใดได้เสพสม เมื่อนั้นความกระหายอยากในความเที่ยงแท้ถาวรของอัตตาก็ยิ่งได้รับการเสริมย้ำให้แรงกล้า แต่เมื่อใดไม่ได้เสพสม ความดำรงอยู่ของตัวตนก็ดูจะไร้ความหมาย เมื่ออาการที่ไม่สมนั้นเป็นไปอย่างรุนแรงก็ถึงกับเบื่อหน่ายเกลียดชังไม่ปรารถนาความดำรงอยู่แห่งตัวตน อยากให้ตัวตนพรากขาดสูญสิ้นไปเสียจากภาวะเช่นนั้น ซึ่งเรียกว่าเป็นควากระหายอยากในความขาดสูญแห่งอัตตา เกิดเป็นตัณหาขึ้นอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีขึ้นควบคู่ไปกับความเห็นที่คอยรอให้โอกาสอยู่แล้วว่า มีตัวตนชั่วคราวซึ่งดับสิ้นขาดสูญไปได้ตัณหาในความพินาศขาดสูญของอัตตานี้ เกิดขึ้นมาเคียงซ้อนเป็นคู่แย้งคอยขัดกันกับตัณหาในความคงอยู่เที่ยงแท้ถาวรของอัตตา ส่วนตัณหาอย่างแรกนั้น ถึงตอนนี้ก็มิใช้มีความหมายเพียงว่า ความกระหายอยากในสิ่งที่ให้เวทนาเท่านั้น แต่ควรขยายออกไปให้ชัดเจนขึ้นอีกว่า เป็นความกระหายอยากที่จะได้สิ่งอำนวยเวทนามาปรนปรืออัตตา หรืออยากให้อัตตาได้เสพเสวยเวทนาอันอร่อยจากอารมณ์ที่น่าชื่นชม เป็นอันว่าตัณหาทุกอย่างมีศูนย์รวมมุ่งมาที่ตัวตนหรือเพื่ออัตตาทั้งสิ้น บทบาทและการทำหน้าที่ของตัณหาเหล่านี้ ได้เป็นตัวกำกับการดำเนินชีวิตส่วนใหญ่ของมนุษย์ผู้คอยพะเน้าพะนอหล่อเลี้ยงมันไว้ และเทิดทูนให้มันเป็นผู้บังคับบัญชาที่ตนจงรักเชื่อฟัง พร้อมกันนั้น มันก็เป็นแหล่งก่อปมปัญหาให้แก่ชีวิตและสังคมของมนุษย์ เป็นที่มาของความหวัง ความหวาดกลัว ความระแวง ความเคียดแค้นชิงชัง ความมัวเมาลุ่มหลง และความทุกข์ความเดือดร้อนต่างๆ รวมความว่าตัณหาแยกออกได้เป็น ๓ อย่าง ๓ ด้าน คือ

๑. ความกระหายอยากได้อารมณ์ที่น่าชอบใจมาเสพเสวยปรนเปรอตน หรือความทะยานอยากในกามเรียกว่า กามตัณหา
๒. ความกระหายอยากในความถาวรมั่นคง มีอยู่คงอยู่ตลอดไป (รวมถึงใหญ่โตโดดเด่น) ของตน หรือความทะยานอยากในภพ เรียกว่า ภวตัณหา
๓. ความกระหายอยากในความดับสิ้นขาดสูญ (รวมทั้งพรากพ้น บั่นรอน) แห่งตัวตน หรือความทะยานอยากในวิภพ เรียกว่า วิภวตัณหา

ตามกฎแห่งกระบวนธรรม ตันหานำไปสู่การแสวงหาที่เรียกเป็นคำศัพท์ว่า ปริเยสนา (จะเรียกสั้นๆ ว่า เอสนา ก็ได้) คือ ไปหา ไปเอา หรือรับเอา หรือหาทางอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะให้ได้สิ่งที่ต้องการมาเสพเสวย ผลสนองการแสวงหานั้น ก็คือการได้ เมื่อได้สิ่งที่ต้องการนั้นมาให้ตนเสพเสวยแล้ว ก็เป็นอันตัดตอนได้ถือว่าจบไปช่วงหนึ่ง มีสิ่งที่ขอย้ำไว้เพื่อให้กำหนดไว้ในในเป็นสิ่งเตือนความสังเกตอย่างหนึ่งในตอนนี้คือ การแสวงหาไม่ใช่สิ่งเดียวกับการกระทำและอาจจะไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ต้องการใช้การกระทำเลยก็ได้ ดังจะพิจารณากันต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2009, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนที่ ๔

หันไปพูดถึงฉันทะบ้าง ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า ฉันทะในที่นี้ หมายถึง กุศลธรรมฉันทะที่เรียกสั้นๆ ว่า กุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ กุศลธรรมฉันทะ แปลว่า ฉันทะในกุศลธรรม หรือความพอใจ ความชอบ ความอยากในสิ่งที่ดีงาม กุศลฉันทะ แปลว่า ฉันทะในกุศล ถึงแม้จะตัดคำว่าธรรมออกก็มีความหมายเท่าเดิม คือตรงกับกุศลธรรมฉันทะนั่นเอง กุศล แปลว่า ดีงาม ฉลาด เกื้อกูล คล่อง สบาย ไร้โรค เอื้อต่อสุขภาพ ได้แก่ สิ่งที่เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ สิ่งที่เป็นผลดีเกื้อกูลแก่ความเจริญงอกงามในทางที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนและคนอื่น ส่วนธรรมฉันทะ แปลว่า ฉันทะในธรรม หรือความต้องการธรรม คำว่า ธรรม ที่มาในคำว่า กุศลธรรม มีความหมายกลางๆ คือแปลว่า สิ่ง หรือ หลัก แต่เมื่อแยกออกมาใช้ลำพังเดี่ยวๆ ก็อาจแปลความหมายได้กว้างขึ้น ความหมายหลักของธรรมในกรณีนี้มี ๒ อย่าง คือ ความจริง (สภาวธรรมหรือคำสอนที่แสดงสภาวธรรมนั้น ตรงกับที่บัดนี้ใช้คำว่าสัจธรรม) และความดีงาม สิ่งที่ดีงาม หรือภาวะที่ดีงาม (คุณธรรม ปัจจุบัน ดูเหมือนนิยมเรียกส่วนหนึ่งของความหมายนัยนี้ว่าจริยธรรม) ธรรมฉันทะจึงแปลได้ว่า ฉันทะในความจริง ฉันทะในความดีงาม หรือความต้องการความจริง ความต้องการสิ่งที่ดีงาม ความต้องการความจริงเล็งไปถึงความรู้ คือ เท่ากับพูดว่าต้องการรู้ความจริง ต้องการเข้าถึงตัวธรรม คือ ตัวจริง ตัวแท้ ความหมายที่แท้ เนื้อหาสาระที่เป็นแก่นแท้ ภาวะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลาย ตลอดจนความดีงามที่เป็นคุณค่าอันแท้จริงของสิ่งนั้นๆ มีความต้องการความดีงามก็เล็งถึงการกระทำ คือ ต้องการทำให้สิ่งที่ดีงามเกิดมีขึ้น โดยนัยนี้ธรรมฉันทะก็แปลได้ว่า ความใฝ่ความจริงหรือความรักความจริง ความใฝ่ในสิ่งดีงาม หรือรักความดีงาม (ใฝ่ดี รักดี) และกินความถึงความอยากรู้ อยากทำ หรือใฝ่รู้ใฝ่ทำ อาจใช้คำสั้นๆ คำเดียวว่า ความใฝ่ธรรม แล้วให้เข้าใจร่วมกันไว้ว่าคลุมถึงความหมายที่กล่าวมาทั้งหมด เมื่อนัดหมายรู้กันอย่างนี้แล้วจะแปลฉันทะเดี่ยวๆ ล้วนๆ ว่า ความใฝ่ธรรม ก็ได้

เป็นอันว่า สิ่งที่ฉันทะต้องการ ก็คือ ธรรม หรือกุศล (ธรรม) พูดอย่างไทยแท้ว่า สิ่งที่ฉันทะต้องการ คือ ความจริงและสิ่งที่ดีงาม แล้วมีความหมายขยายออกไปว่า ต้องการรู้ความจริง ต้องการทำให้สิ่งที่ดีงามหรือภาวะที่ดีงามเกิดมีขึ้น อยากทำให้สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์สำเร็จผลเป็นจริงขึ้น ความหมายที่ขยายออกไปนี้ส่องให้เห็นว่า ฉันทะสัมพันธ์กับการกระทำ คือ การกระทำเพื่อให้รู้ความจริง และการกระทำเพื่อสร้างภาวะที่ดีงามหรือทำให้สิ่งที่ดีงามเกิดมีขึ้น ด้วยเหตุนี้ ตามกฎแห่งกระบวนธรรมท่านจึงกล่าวว่า ฉันทะนำไปสู่อุตสาหะ หรือไม่ก็กล่าวไว้นำหน้าวายามะหรือวิริยะ พูดง่ายๆ ว่าฉันทะทำให้เกิดการกระทำ (เทียบกับตัณหาซึ่งทำให้เกิดการแสวงหา) พร้อมกันนั้นท่านก็กล่าวถึงมูลฐานขอฉันทะว่า มีโยนิโสมนสิการเป็นสมุฏฐาน หมายความว่า ฉันทะเกิดจากโยนิโสมนสิการ (การคิดแยบคาย คิดถูกวิธี รู้จักคิด หรือคิดเป็น) ความข้อนี้แสดงให้เห็นว่า ฉันทะอยู่ในกระบวนธรรมฝ่ายปัญญา ฉันทะตั้งต้นเมื่อเริ่มมีการใช้ปัญญา (เทียบกับตัณหาซึ่งอาศัยอวิชชาเป็นฐานก่อตัว) เนื้อความตอนนี้ยังจะต้องชี้แจงกันต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2009, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณแมวขาว แนะนำให้บัวศกล รีบเดินไวๆ
และบอกอีกว่า ข้างหลังบัวศกล มีแมวไล่กวดตามมาติดๆ

นี่ถ้าหากบัวศกลรีบเดินเกินไปหน่อย แล้วหกล้ม ลุกไม่ไหว
บัวศกลคงได้แต่มองก้นของแมว ที่เดินผ่านแซงหน้าไปด้วยหัวใจเศร้าสร้อย

อย่ากระนั้นเลยท่านบัวศกลเอ๋ย ท่านจงเดินไปตามกำลังเท่าที่ท่านมี
และเดินไปตามวิธีที่ท่านถนัด บางช่วงควรต้องช้าก็ค่อยช้า
บางช่วงควรต้องเร็วก็ค่อยเร็ว บางช่วงควรสงบนิ่งพักอยู่เฉยๆก่อนท่านก็ควรอยู่หยุดนิ่งเฉยไว้
ขอเพียงท่านไม่เลิกละที่จะก้าวไปเบื้องหน้า จะช้าบ้างเร็วบ้างก็ควรให้ทุกย่างก้าวนั้น
หนักแน่น มั่นคง และทรงพลังทุกก้าวเดิน

หากว่าช่วงไหนแมวที่ไล่กวดมา เธออาจต้องแซงหน้าไปก่อน
ก็ถือเป็นโอกาสดี ที่จะได้เห็นตัวอย่างที่ก้าวไปก่อน ให้เรารู้ได้ว่า ก้าวต่อไปควรเดินยังไง
และถ้าจะให้ดีเลิศประเสริฐศรี ก็ขอเชิญคุณแมวขาว เดินนำหน้าไปก่อน
บัวศกลจะได้เดินยล เบื้องหลังของคุณแมว

ชีวิตของบัวศกลคงมีสุขในการเดินยิ่งขึ้น เพราะ......คงเดินไป ยิ้มไป เดินไป ยิ้มไป


ขออภัยท่านเจ้าของกระทู้ที่ผมนอกเรื่องไปหน่อย คงไม่ถือนะครับ


:b6: :b6: :b6: :b6: :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2009, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในความคิดส่วนตัวของผม ผมคิดว่า

ความจริงแล้ว ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ว่า เราปฏิบัติด้วยความอยากรึเปล่า
แค่รู้ว่า ควรจะต้องละความอยากให้หมดสิ้นก็น่าจะพอแล้ว

สิ่งที่สำคัญควรรู้ยิ่งกว่า ก็คือ เราจะมีวิธีอย่างไรในการทำลายความอยาก

การที่เรามัวแต่จะมานั่งวิจัยว่า ที่เรามานั่งปฏิบัติกันอยู่นี้มันคือความอยากรึเปล่า
สู้มาสนใจว่า เราจะมาทำลายความอยากกันอย่างไรดี น่าจะดีกว่า


เพราะถึงแม้เราจะเข้าใจมันว่า มันคือความอยาก รึไม่ใช่ความอยาก
มันก็ไม่ได้ทำให้ความอยากนั้นสิ้นไป หากจะรู้ได้ว่ามันคืออะไร
มันก็เป็นแค่เพียงการฉลาดที่จะเรียกให้ถูก ตามศัพท์ ตามบัญญัติเท่านั้นเอง

หากจะวินิจฉัยทำความเข้าใจกัน ก็คือมานั่งทำความเข้าใจเรื่องศัพท์บัญญัติให้ตรงกัน
ว่าควรเรียกอย่างไร ซึ่งเหมือนการมานั่งถกกันแค่เรื่องศัพท์ภาษา
หากจะเกิดความรู้ก็รู้ในเรื่องศัพท์ภาษา ซึ่งไม่ได้ประโยชน์ในทางสภาวะปฏิบัติอะไรเลย


แล้วถ้าหากเรารู้ว่า การปฏิบัติเริ่มต้นด้วยความอยาก............แล้วยังไงต่อ
รึถ้าหากเราเข้าใจว่า การปฏิบัติเริ่มต้น เรียกว่าฉันทะไม่ใช่ความอยาก.........แล้วยังไงต่อ

ประโยชน์ที่ได้รับคืออะไร จากการที่เรารู้ว่ามันเรียกอะไร


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2009, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณความคิดเห็นของคุณบัวสกลครับ

อ้างคำพูด:
ในความคิดส่วนตัวของผม ผมคิดว่า

ความจริงแล้ว ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ว่า เราปฏิบัติด้วยความอยากรึเปล่า
แค่รู้ว่า ควรจะต้องละความอยากให้หมดสิ้นก็น่าจะพอแล้ว

สิ่งที่สำคัญควรรู้ยิ่งกว่า ก็คือ เราจะมีวิธีอย่างไรในการทำลายความอยาก

การที่เรามัวแต่จะมานั่งวิจัยว่า ที่เรามานั่งปฏิบัติกันอยู่นี้มันคือความอยากรึเปล่า
สู้มาสนใจว่า เราจะมาทำลายความอยากกันอย่างไรดี น่าจะดีกว่า


เพราะถึงแม้เราจะเข้าใจมันว่า มันคือความอยาก รึไม่ใช่ความอยาก
มันก็ไม่ได้ทำให้ความอยากนั้นสิ้นไป หากจะรู้ได้ว่ามันคืออะไร
มันก็เป็นแค่เพียงการฉลาดที่จะเรียกให้ถูก ตามศัพท์ ตามบัญญัติเท่านั้นเอง

หากจะวินิจฉัยทำความเข้าใจกัน ก็คือมานั่งทำความเข้าใจเรื่องศัพท์บัญญัติให้ตรงกัน
ว่าควรเรียกอย่างไร ซึ่งเหมือนการมานั่งถกกันแค่เรื่องศัพท์ภาษา
หากจะเกิดความรู้ก็รู้ในเรื่องศัพท์ภาษา ซึ่งไม่ได้ประโยชน์ในทางสภาวะปฏิบัติอะไรเลย


แล้วถ้าหากเรารู้ว่า การปฏิบัติเริ่มต้นด้วยความอยาก............แล้วยังไงต่อ
รึถ้าหากเราเข้าใจว่า การปฏิบัติเริ่มต้น เรียกว่าฉันทะไม่ใช่ความอยาก.........แล้วยังไงต่อ

ประโยชน์ที่ได้รับคืออะไร จากการที่เรารู้ว่ามันเรียกอะไร


คุณกล่าวแบบนี้ เป็นเพราะคุณยังไม่เห็นประโยชน์ของเรื่องนี้นั่นเอง อาจจะเป็นเพราะคุณเป็นผู้เห็นถูกต้องในเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว แต่หากคุณเห็นประโยชน์ หรือเป็นผู้ที่เห็นไม่ถูกต้องอยู่คุณจะเห็นความสำคัญอย่างมากๆ เลยครับ นี่เรื่องนี้มันลึกซึ้งขนาดนี้เลยนะ เรื่องอะไรผมมาลงมักจะแฝงนัยลึกซึ้ง โปรดสังเกตดีๆ ต้องสังเกตดีๆ ถึงจะมองออกได้น่ะครับ

โดยเฉพาะเรื่องนี้จะทำให้ผู้ที่ไปหลงกับคำสอนปฏิรูปจะได้รู้ว่าแท้จริงพระพุทธเจ้าทรงสอนอะไร พระอริยท่านสอนอย่างไร จะไม่ได้หลงผิด เพราะมีความรู้กระจ่างมากแล้ว หรืออย่างน้อยๆ ก็จะได้เป็นแหล่งอ้างอิงได้สำหรับประเด็นที่จะเกิดข้อโต้แย้งกันในอนาคตข้างหน้า เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์พระพุทธศาสนาสืบไป

ทุกวันนี้มีคำสอนแนวปฏิรูป ว่ามีกิเลสห้ามละ มีกิเลสแล้วไปละนั้นมันไม่ถูก (คือ กล่าวแล้วก็ค่อห้ามเพียรละกิเลสนั่นเอง) สอนให้รู้เฉยๆ เท่านั้น ไม่ปรับอารมณ์ ไม่ไปสร้างอารมณ์อะไร เพราะการกระทำอย่างนั้นมันเป็นความอยาก ฯลฯ (เลยต้องแสดงให้เห็นว่ามีความอยากในการละกิเลสไม่ใช่สิ่งผิด ความอยากในการสร้างกุศลไม่ใช่การปฏิบัติผิด มีความอยากได้สิ่งดี มีความอยากทำดี ไม่ใช่สิ่งผิด ไม่ใช่การปฏิบัติผิดอะไรเลย)

จึงต้องบอกให้รู้ว่าการกระทำอย่างนั่นนั่นเองที่มีการสอนเอาไว้ในพระไตรปิฏก สอนโดยพระอริยรักษามาตั้งแต่อดีตว่ามีกิเลสควรละ มีอกุศลธรรมเกิดขึ้นให้เพียรสร้างกุศลขึ้นมาแทนที่ แล้วดูเถิดปฏิรูปไปมากแค่ไหนแล้ว

หากไม่มีกระทู้ดังกล่าวนี้ จะมีหรือหนอที่ประเด็นนี้จะชัดแก่ผู้ที่ยังไม่ชัด จะแก้ผู้ที่เป็นสัจธรรมปฏิรูปได้ ก็จะต้องให้รู้ชัดไปเลยว่าสอนอย่างนี้ หรืออย่างที่กล่าวในกระทู้นี้อะไรตรงกับผู้ปฏิบัติกว่ากัน หรือถูกทั้งสอง หากถูกทั้งสองแล้ว ทำไมถึงว่าการปฏิบัติที่เพียรละกิเลส เพียรสร้างกุศลอย่างนี้ได้เล่า

ติดตามดูไปเถิดครับ เรื่องนี้มันลึกซึ้งเกินจินตนาการ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2009, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: :b6: :b6: :b6:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 17:52
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ walaiporn
อ้างคำพูด:
สำหรับตัวเรานั้นพูดเป็นกลางๆค่ะ ว่าไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
อ่านให้ดีๆนะคะ ... เราไม่ได้พูดว่าคุณอยากได้ไหม หากคุณอยากได้ คุณต้องทำ
ภาษาไทยมันดิ้นได้นะคะ :b12:
แบบว่าเน้นความเพียรค่ะ ไม่ได้เน้นเรื่องความทะยานอยาก :b4:


ก็เซียงเหมี่ยง ดีๆ นี่แหละ มันดิ้นได้ หรือ เลี่ยงบาลี ก็อันเดียวกัน


คำว่า หากเราพยายาม ก็ต้องอาศัยความอยาก เมื่อมันไม่อยากมันจะทำบ้าอะไร จะพยายามไปหาพระแสงง้าวอะไรหละขอรับท่าน

จขกท ว่า การปฏิบัติธรรมต้องมีความอยาก ต้องอาศัยความอยากถึงจะสำเร็จ

เมื่อมันอยากสำเร็จ มันก็ต้องพยายามทำทุกวิถีทาง เพื่อให้มันสำเร็จ ก็แค่นี้

อยากดีมันก็ต้องพยายามทำดี อยู่แล้ว อยากเข้าถึงนิพพาน มันก็ต้องพยายามทำในสิ่งที่เป็นเงื่อนไขของนิพพาน

หรือว่าไงอีก ระวังนะ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด :b13: (อันนี้บอกตัวเองเด้อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอฝากอีกซักหนึ่งความเห็นให้ทุก ๆ ท่านพิจารณาครับ..

ตัณหา(ความอยาก)และฉันทะ (ความต้องการ ความชอบ ความพอใจ)

- ตัณหาฝ่ายดี ท่านเรียก "ฉันทะ" หรือ "ธรรมฉันทะ" ซึ่งก็เป็นตัณหาอย่างหนึ่ง คือตัณหาอย่างละเอียด ( ๑ ในอธิบาท ๔)
- ตัณหาฝ่ายไม่ดี ท่านเรียก "ตัณหา" ความดิ้นรนทะยานอยาก ทำให้ทุกข์ ทำให้เดือดร้อน

บางครั้งก็เรียกรวมกัน ๆ ว่า "ฉันทะ" บ้างก็เรียกรวมว่า "ตัณหา"

"อาศัยความอยากเพื่อละความอยาก" "อาศัยฉันทะเพื่อละฉันทะ" "อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา"
น่าจะเป็นความหมายเดียวกัน

เรื่องของคุณศิรัสพลที่ยกมา หรือ เรื่องปากตรอก ปากซอย ของคุณบัวศกล คงจะเหมือนกัน
รวมเรียกว่า "อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา"

ขออีกสักตัวอย่าง..
เหมือนเราอยากจะไปเกาะสักเกาะหนึ่ง ก็เรียกตัณหา เรียกฉันทะ ความอยากจะไป อยากจะถึง
เราก็อาศัยความอยาก อาศัยตัณหานี่แหละ ขวนขวายทำงาน หาเรือหาแพหาน้ำจืด จัดเตรียมเสบียงอาหารให้พร้อม มุ่งหน้าไปสู่เกาะ พยายามกระตุ้นให้ความอยากให้ฉันทะ(ตัณหา) นี้คงอยู่ เกิดเป็นความเพียรพยายามสู้กับคลื่นลมอย่างไม่ท้อถอย(วิริยะ)
จนถึงฝั่ง ถึงเกาะได้

เมื่อถึงฝั่ง ถึงเกาะแล้ว
"ความอยากจะไปก็สงบ เพราะไปถึงแล้ว"
"ความอยากจะถึงก็สงบ เพราะถึงแล้ว"

ท่านจึงว่า "อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา หรือ อาศัยความอยากเพื่อละความอยาก" ฉะนั้น

แต่กว่าจะถึงจุดหมาย ก็ต้องใช้ความพอดี ความเพียรที่พอเหมาะ คือ "ทางสายกลาง มัฌชิมาปฏิปทา" ไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป ตามแบบอย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเองครับ..

เจริญธรรม

:b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับทุกๆ ความเห็นครับ :b8:

*************************************

ตอน ๕

สรุปความเท่าที่กล่าวมาเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับทำความเข้าใจต่อไป ดังนี้

๑. ตัณหา มุ่งประสงค์เวทนา และจึงต้องการสิ่งสำหรับเอามาเสพเสวยเวทนา หรือสิ่งที่จะปรนปรือตัวตน ตัณหาอาศัยอวิชชาคอยหล่อเลี้ยงและให้โอกาส พัวพันเกี่ยวเนื่องอยู่กับเรื่องตัวตน เอาอัตตาเป็นศูนย์กลาง และนำไปสู่ปริเยสนา หรือการแสวงหา

๒. ฉันทะ มุ่งประสงค์อัตถะคือตัวประโยชน์ (หมายถึงสิ่งที่มีคุณค่าแท้จริงแก่ชีวิต คล้ายกับที่ปัจจุบันเรียกว่าคุณภาพชีวิต) และจึงต้องการความจริง สิ่งที่ดีงาม หรือภาวะที่ดีงาม ฉันทะก่อตัวขึ้นจากโยนิโสมนสิการ คือ ความรู้จักคิดหรือคิดถูกวิธี คิดตามสภาวะและเหตุผล เป็นภาวะกลางๆ ของธรรมไม่ผูกพันกันอัตตา และนำไปสู่อุตสาหะ หรือวิริยะ คือ ทำให้เกิดการกระทำ

ข้อควรย้ำในตอนนี้มี ๒ อย่าง คือ

ก. เพื่อแยกให้ชัดว่าเมื่อใครคิดพูดทำอะไร จะเป็นตัณหาหรือไม่ ถึงตอนนี้จะเห็นชัดว่า ความต้องการหรือกิจกรรมใดไม่เกี่ยวกับการหาสิ่งมาเสพเสวยเวทนา ไม่เกี่ยวกับการปกป้องรักษาหรือเสริมขยายความมั่นคงถาวรของอัตตา (ลึกลงไปแม้แต่การที่จะบีบคั้นลิดรอนอัตตา) ความต้องการหรือกิจกรรมนั้น ไม่ใช่เรื่องของตัณหา

ข. ข้อความว่า ตัณหานำไปสู่การแสวงหา ฉันทะทำให้เกิดการกระทำ นี้เป็นจุดสำคัญที่จะให้เข้าใจความแตกต่างระหว่างตัณหากับฉันทะได้ชัดเจน เป็นขั้นออกสู่ปฏิบัติการ และเป็นขั้นตอนสำคัญที่มีผลในทางจริยธรรมเป็นอย่างมาก จึงจะหันมาพิจารณากันที่จุดนี้ต่อไป

ดังได้กล่าวแล้วว่า ตัณหาต้องการสิ่งที่จะเอามาเสพเสวยเวทนา ความสมประสงค์ของตัณหาอยู่ที่การได้สิ่งนั้นๆ มาวิธีการใดๆ ก็ตามที่จะให้ได้สิ่งนั้นมา เรียกเป็นคำเฉพาะในที่นี้ว่าการแสวงหา หรือ ปริเยสนา ในการได้สิ่งเสพเสวยมาอย่างหนึ่ง วิธีการที่จะได้อาจมีหลายวิธี บางวิธีไม่ต้องมีการกระทำ (เช่นมีผู้ให้) บางวิธีอาจต้องมีการกระทำ แต่ในกรณีที่ต้องมีการกระทำ สิ่งที่ตัณหาต้องการจะไม่เป็นเหตุเป็นผลกันกับการกระทำนั้นโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น

นาย ก. กวาดถนน ได้เงินเดือน ๙๐๐ บาท
ถ้าหนูหน่อยอ่านหนังสือเล่มนี้จบ คุณพ่อจะพาไปดูหนัง

หลายคนคิดว่า การกวาดถนนเป็นเหตุให้ได้เงินเดือน จึงสรุปว่า การกระทำคือการกวาดถนนเป็นเหตุ เงินเดือนเป็นผล การได้เงินเดือนเป็นผลของกระทกระทำคือการกวาดถนน แต่ตามความจริงแท้ ข้อสรุปนี้ผิด เป็นเพียงระบบความคิดแบบสะสมเคยชินและหลอกตนเองของมนุษย์ ถ้าจะให้ถูก ต้องเติมสิ่งที่ขาดหายไปแทรกเข้ามาด้วย ได้ความใหม่ว่า การกระทำคือการกวาดถนน เป็นเหตุให้ถนนสะอาด ความสะอาดของถนนจึงจะเป็นผลที่แท้ของการกระทำคือการกวาดถนน ส่วนการกวาดถนนแล้วได้เงินเดือนเป็นเพียงเงื่อนไขที่มนุษย์กำหนดวางกันขึ้น หาได้เป็นเหตุเป็นผลกันแท้จริงไม่ (เงินไม่อาจเกิดขึ้นได้จากการกวาดถนน บางคนอาจกวาดถนนแล้วไม่ได้เงิน หรืออีกหลายคนได้เงินเดือนโดยไม่ต้องกวาดถนน) คำพูดที่เคร่งครัดตามหลักเหลุผลในกรณีนี้จึงต้องว่า การกวาดถนนเป็นการกระทำที่เป็นเหตุให้ถนนสะอาด แต่เป็นเงื่อนไขให้นาย ก. ได้เงินเดือน ๙๐๐ บาท

ในตัวอย่างที่สองก็เช่นเดียวกัน หลายคนคงคิดว่า การอ่านหนังสือจบเป็นเหตุ และการได้ไปดูหนังกับคุณพ่อเป็นผล แต่ความจริง การอ่านหนังสือจบเป็นเพียงเงื่อนไขให้ได้ไปดูหนัง ส่วนที่เป็นเหตุเป็นผลแท้จริงก็คือ การอ่านหนังสือจบเป็นเหตุให้ได้ความรู้ในหนังสือนั้น การกระทำคือการอ่านเป็นเหตุและการได้ความรู้เป็นผล

ตามตัวอย่างทั้งสองนี้ ถ้าพฤติกรรมของนาย ก. และหนูหน่อย เป็นไปตามตัณหา นาย ก. ย่อมต้องการเงินเดือน หาได้ต้องการความสะอาดของถนนไม่ และเขาก็ย่อมไม่ต้องการทำการกวาดด้วย แต่ที่ต้องกวาด ก็เพราะจำต้องทำเพราะเป็นเงื่อนไขที่จะให้ได้เงิน ส่วนหนูหน่อย ก็ย่อมต้องการดูหนังหาได้ต้องการความรู้จากหนังสือไม่ และโดยนัยเดียวกัน ก็มิได้ต้องการที่จะกระทำการอ่านหนังสือ แต่ที่กระทำคืออ่านหนังสือ ก็เพราะเป็นเงื่อนไขที่จะให้ได้สิ่งที่ตัณหาต้องการคือการดูหนัง โดยนัยนี้ พูดตามกฎธรรมชาติ หรือตามกระบวนธรรมแท้ๆ ตัณหาไม่ทำให้เกิดการกระทำ และไม่ทำให้เกิดความต้องการที่จะทำ การกระทำเป็นเพียงวิธีการอย่างหนึ่งตามเงื่อนไขที่จะช่วยให้การแสวงหาสิ่งที่เสพเสวยสำเร็จลุล่วงตามความต้องการของตัณหา

ตัวอย่างทั้งสองนั้น แสดงความหมายของฉันทะชัดเจนอยู่ด้วยแล้ว ฉันทะต้องการกุศลหรือต้องการตัวธรรม ต้องการภาวะดีงามหรือความรู้เข้าใจในความจริงแท้ ถ้ามีฉันทะ นาย ก. ย่อมต้องการความสะอาดของถนน และหนูหน่อยก็ต้องการความรู้ในหนังสือนั้น ความสะอาดเป็นผลของการกระทำ คือ การกวาดถนน ความรู้ก็เป็นผลของการอ่านหนังสือ ทั้งสองคนต้องการผลของการกระทำโดยตรง ผลเรียกร้องเหตุ คือชี้บ่งหรือกำหนดการกระทำ เมื่อกระทำ ผลก็เกิดขึ้น การกระทำคือการก่อผล หรือการกระทำคือการเกิดผล เมื่อนาย ก. กวาด ความสะอาดก็เกิดขึ้น และเกิดขึ้นทุกขณะที่กวาด เมื่อหนูหน่อยอ่านหนังสือ ความรู้ก็เกิด และเกิดเรื่อยไปพร้อมกับที่อ่าน การกระทำคือการได้ผลที่ต้องการ ฉันทะต้องการภาวะดีงามเป็นผลของการกระทำ และจึงต้องการการกระทำที่เป็นเหตุของผลนั้นด้วย โดยนัยนี้ ฉันทะทำให้เกิดการกระทำ และทำให้เกิดความต้องการที่จะทำ หรือทำให้อยากทำ ความข้อนี้ย้อนหลังไปบรรจบกับหลักที่อ้างไว้ข้างต้น คือทำให้มองเห็นเหตุผลว่าทำไมท่านจึงจัดรวมฉันทะประเภทที่สอง (กัตตุกัมยตาฉันทะ = ความต้องการที่จะทำ หรือความอยากทำ) เข้าเป็นข้อเดียวกับกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ ถ้าพฤติกรรมเป็นไปโดยฉันทะ นาย ก.ก็มีความตั้งใจกวาดถนนที่เป็นส่วนต่างหากจากการได้เงินเดือน หนูหน่อยก็อ่านหนังสือได้โดยคุณพ่อไม่ต้องล่อด้วยการพอไปดูหนัง และมิใช่เพียงเท่านั้น ผลทางจริยธรรมยังมีมากยิ่งกว่านี้ แต่ในตอนนี้จำไว้ง่ายๆ ก่อนว่า ตัณหา คือ ต้องการเสพ ฉันทะ คือ ต้องการธรรมและต้องการทำ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 11:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนที่ ๖

การมีตัณหาหรือมีฉันทะเป็นแรงจูงใจในการกระทำ ก่อให้เกิดผลในทางจริยธรรมหรือผลในทางปฏิบัติแตกต่างกันออกไปได้มาก เมื่อบุคคลมีตัณหาเป็นแรงจูงใจ การกระทำเป็นเพียงเงื่อนไข สำหรับการได้สิ่งเสพเสวยมาปรนเปรอตน เขาไม่ต้องการทั้งการกระทำและผลของการกระทำนั้นโดยตรง จุดประสงค์ของเขาอยู่ที่การได้สิ่งเสพเสวยนั้นมา ในหลายกรณี การกระทำที่เป็นเงื่อนไขนั้นเป็นเพียงวิธีการอย่างหนึ่งที่จะให้ได้สิ่งที่เขาต้องการ ดังนั้น ถ้าเขาสามารถหาวิธีการอื่นที่จะให้ได้โดยไม่ต้องทำ เขาก็จะหลีกเลี่ยงการกระทำนั้นเสีย หันไปใช้วิธีที่จะได้โดยไม่ต้องทำแทน เพราะถ้าเป็นไปได้ การได้โดยไม่ต้องทำย่อมตรงกับความต้องการของตัณหามากที่สุด และถ้าจำเป็นจริงๆ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเงื่อนไขนั้นได้ เขาก็จะทำด้วยความรังเกียจ จำใจ ไม่เต็มใจและไม่ตั้งใจจริง ผลเท่าที่พอมองเห็นได้ก็คือ

- ในเมื่อเขาพยายามหลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นเงื่อนไข เขาอาจหันไปใช้วิธีลัดหรือวิธีอื่นใดซึ่งง่ายที่จะให้ได้สิ่งเสพเสวยมาโดยไม่ต้องทำ ผลอย่างแรงคือการทุจริตในรูปต่างๆ เช่น นาย ก.อยากได้เงิน ไม่มีฉันทะและอุตสาหะในงานเสียเลย เขาทนทำงานรอเวลาอยู่ไม่ได้ จึงหันไปหาเงินด้วยวิธีลักขโมยแทน หรือหนูหน่อยอยากไปดูหนัง ทนอ่านหนังสือไม่ได้ อาจขโมยเงินคุณแม่ไปดูเอง โดยไม่ต้องรอให้คุณพ่อพาไป

- ในเมื่อเขามีแต่ตัณหาที่อยากได้ แต่ไม่มีฉันทะที่อยากทำ เขาจึงทำงานที่เป็นเงื่อนไขอย่างชนิดสักว่าทำ หรือทำพอให้เสร็จ หรือทำคลุมๆ พอให้เขาเห็นว่าได้ทำ ผลคือไม่ได้ความประณีตหรือความดีเลิศของงาน และผู้ทำก็เพาะนิสัยไม่ดีให้แก่ตนเอง กลายเป็นผู้ขาดความใฝ่สัมฤทธิ์มักง่าย จับจดเป็นต้น เช่น นาย ก. สักว่ากวาดถนนไปวันๆ พอครบเดือนๆ เพื่อได้เงิน หนูหน่อยอ่านหนังสือพอให้คุณพ่อเห็นว่าจบแล้ว โดยไม่ได้ความรู้ความเข้าใจ หรืออาจคดโกงหลอกลวง เช่น ไม่ได้อ่านเลย หรืออ่านหน้าแรก หน้ากลาง หน้าหลัง รอพอเวลาผ่านไปพอสมควร มาบอกคุณพ่อว่าอ่านจบแล้ว

- ในเมื่อเงื่อนไขหลักมีช่องโหว่ เกิดความย่อหย่อน หละหลวม เลี่ยงหลบ หลอกได้เป็นต้น ก็เป็นเหตุให้ต้องสร้างเงื่อนไขรองต่างๆ เข้ามากระหนาบ เพื่อป้องกัน กวดขัน และอุดทางรั่ว ซึ่งเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ทำให้ระบบต่างๆ ซับซ้อน สับสน นุงนับ ยืดยาดยิ่งขึ้น เช่น ต้องหาคนมาคุมนาย ก.ทำงาน ตั้งผู้ตรวจงาน สำรวจเวลาทำงาน หรือให้พี่มาคอยดูหนูหน่อยอ่านหนังสือ คุณพ่อซักถามปัญหาเกี่ยวกับเนื้อเรื่องในหนังสือที่อ่าน เป็นต้น

ครั้นตัณหาเข้าไปครอบงำพฤติกรรมในการปฏิบัติเงื่อนไขรองนั้นได้อีก ความทุจริตหละหลวมย่อหย่อนทั้งหลายก็เกิดแทรกซ้อนมากมาย จนอาจทำให้ระบบทั้งหมดฟอนเฟะ หรือเน่าเละไป

- ในเมื่อสิ่งที่ผู้กระทำต้องการเป็นอย่างหนึ่ง แต่สิ่งที่เป็นผลของการกระทำนั้นเป็นอีกอย่างหนึ่งผลของการกระทำก็ไม่อาจเป็นตัวกำหนด หรือบ่งชี้ปริมาณและคุณภาพของการกระทำได้ เพราะการกระทำไม่เป็นไปเพื่อผลของมันเอง แต่กลายเป็นเพียงทาสสำหรับรับใช้สิ่งอื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ย่อมเกิดความไม่พอเหมาะพอดีระหว่างการกระทำ กับผลที่พึงประสงค์ กล่าวคือ เมื่อตามความจริง ภาวะดีงามที่ควรจะมีควรจะเป็น คืออย่างนี้ อยู่ที่ตรงนี้ และจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำเท่านี้ แต่การกระทำของผู้ทำกลับเกินเลยมากไปเสียบ้าง ขาดหย่อนน้อยไปเสียบ้าง ไม่พอดีที่จะให้เกิดภาวะซึ่งเป็นผลดีอันพึงประสงค์นั้น ทั้งนี้เพราะการกระทำนั้นไปมุ่งรับใช้ความต้องการเสพเสวยที่เป็นผลตามเงื่อนไข การได้สิ่งเสพเสวยจึงกลายเป็นตัวกำหนดหรือบ่งชี้การกระทำ สูตรสัมพันธ์สำหรับการกระทำที่เป็นเงื่อนไขของการได้สิ่งเสพสวย หรือสูตรของตัณหามีว่า “ยิ่งได้สิ่งเสพเสวย ก็ยิ่งทำๆ” หรือ “ยิ่งได้เวทนาอร่อย ก็ยิ่งทำๆ” ซึ่งเป็นสูตรเปิดท้าย ทำไปไม่รู้จบ และถ้ามองกลับด้านก็กลายเป็นว่า “ถ้าไม่ได้สิ่งเสพเสวย ก็ไม่ทำ” หรือ “ถ้าไม่ได้เวทนาอร่อย ก็ไม่ทำ” เมื่อการกระทำไม่เป็นเพื่อผลของมัน และไม่พอดีกับผลที่เป็นภาวะพึงประสงค์ นอกจากผลดีนั้นจะบกพร่องแล้ว ยังจะก่อให้เกิดโทษหรือผลร้ายต่างๆ ได้มากมายอีกด้วย ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ ก็คือ การกินอาหาร เมื่อกินด้วยตัณหาล้วนๆ คราวอร่อยก็กินจนอืดเกินอิ่ม ครั้นไม่อร่อยอย่างใจ ก็กินน้อยจนท้องร้องครวญ ไม่พอดีกับความต้องการของร่างกาย ทำให้เจ็บป่วย เกิดโรค (การกระทำคือการกินเป็นเหตุของผลคือร่างกายได้รับอาหารพอแก่สุขภาพ และเป็นเงื่อนไขของการได้เสพรสอร่อย) ผลร้ายในข้อนี้มีได้อย่างซับซ้อน ตั้งแต่ในชีวิตของบุคคลจนถึงปัญหาสังคมในวงกว้าง ดังจะพิจารณาในตัวอย่างต่อๆ ไปอีก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คนขวางโลก เขียน:
คุณ walaiporn
อ้างคำพูด:
สำหรับตัวเรานั้นพูดเป็นกลางๆค่ะ ว่าไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
อ่านให้ดีๆนะคะ ... เราไม่ได้พูดว่าคุณอยากได้ไหม หากคุณอยากได้ คุณต้องทำ
ภาษาไทยมันดิ้นได้นะคะ :b12:
แบบว่าเน้นความเพียรค่ะ ไม่ได้เน้นเรื่องความทะยานอยาก :b4:


ก็เซียงเหมี่ยง ดีๆ นี่แหละ มันดิ้นได้ หรือ เลี่ยงบาลี ก็อันเดียวกัน


คำว่า หากเราพยายาม ก็ต้องอาศัยความอยาก เมื่อมันไม่อยากมันจะทำบ้าอะไร จะพยายามไปหาพระแสงง้าวอะไรหละขอรับท่าน

จขกท ว่า การปฏิบัติธรรมต้องมีความอยาก ต้องอาศัยความอยากถึงจะสำเร็จ

เมื่อมันอยากสำเร็จ มันก็ต้องพยายามทำทุกวิถีทาง เพื่อให้มันสำเร็จ ก็แค่นี้

อยากดีมันก็ต้องพยายามทำดี อยู่แล้ว อยากเข้าถึงนิพพาน มันก็ต้องพยายามทำในสิ่งที่เป็นเงื่อนไขของนิพพาน

หรือว่าไงอีก ระวังนะ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด :b13: (อันนี้บอกตัวเองเด้อ)



คุณนี่ .. สมกับชื่อคนขวางโลกซะจริงๆเลยนะคะ :b1:

หัดคิดพิจรณาให้ดีก่อนที่จะโพสข้อความใดๆ ... จงอย่าเอาความทะยานอยากของตัวคุณเอง

ที่มีอยู่มากมาย กิเลสของคุณน่ะกอดมันไว้ให้แน่นๆ ไม่ต้องมาปล่อยเชื้อหรอกค่ะ :b32:

ไม่ต้องมายัดเยียดให้ชาวบ้านเขา ... เข้าใจไหมคะ .. :b16:

เรื่องของเจ้าของกระทู้ นั่นก็คือเรื่องของความคิดของเขา เขาคิดยังไง เขารู้แค่ไหน เขาย่อมตีความ

ได้ตามที่เขารู้ และตามที่เขาคิด สิ่งที่เขาโพสมาเป็นเพียงความคิดของเขา

คุณอย่ามามั่วซั่วพูดจาเป็นนกแก้วนกขุนทอง ..อย่าเอาความคิดมายัดเยียดให้คนอื่นเขา



คำว่า หากเราพยายาม ก็ต้องอาศัยความอยาก เมื่อมันไม่อยากมันจะทำบ้าอะไร จะพยายามไปหาพระแสงง้าวอะไรหละขอรับท่าน


ก็เพราะคุณมันมั่วไง คาดเดาเอาเองว่าทุกคนจะต้องเหมือนกันหมด

ว่าจะต้องปฏิบัติด้วยความอยากมี อยากได้ อยากเป็น เหมือนกันหมด

จะมั่วทั้งที หัดดูตาม้าตาเรือมั่ง :b28:

อย่างเรานี่ เราปฏิบัติเพราะรู้ว่ามันดี เมื่อรู้ว่ามันดี ก็เลยทำให้มีความเพียร ( คงรู้จักนะวิริยะ )

อย่างต่อเนื่องไม่ได้อยากไปนิพพงนิพพานอะไร ..

ปฏิบัติแล้วรู้สึกเลยว่าความอยากได้ใคร่ดีต่างๆนับวันมันลดน้อยลงไป

รู้แต่ว่าปฏิบัติแล้ว อย่างน้อยยังรู้จักแยกแยะบุคคลออก ..

ว่าต่างคนต่างรู้ รู้แตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดาๆ ...เมื่อเราเห็นต่างกับเขา เราก็หยุดเท่านั้นเอง

ทำให้รู้จักแยกแยะว่า อะไรดี อะไรชั่ว พยายามไม่สร้างเหตุที่ไม่ดี

แต่เราสองคนคงเคยสร้างเหตุมาร่วมกัน คุณถึงได้มากล่าวอะไรที่มันมั่วๆ :b6:




ระวังนะ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด :b13: (อันนี้บอกตัวเองเด้อ)


ดีแล้วค่ะ คุณหัดเตือนตัวคุณเองให้บ่อยๆ จะได้มั่วให้มันน้อยลง :b12:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
คนขวางโลก เขียน:
คุณ walaiporn
อ้างคำพูด:
สำหรับตัวเรานั้นพูดเป็นกลางๆค่ะ ว่าไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
อ่านให้ดีๆนะคะ ... เราไม่ได้พูดว่าคุณอยากได้ไหม หากคุณอยากได้ คุณต้องทำ
ภาษาไทยมันดิ้นได้นะคะ :b12:
แบบว่าเน้นความเพียรค่ะ ไม่ได้เน้นเรื่องความทะยานอยาก :b4:


ก็เซียงเหมี่ยง ดีๆ นี่แหละ มันดิ้นได้ หรือ เลี่ยงบาลี ก็อันเดียวกัน


คำว่า หากเราพยายาม ก็ต้องอาศัยความอยาก เมื่อมันไม่อยากมันจะทำบ้าอะไร จะพยายามไปหาพระแสงง้าวอะไรหละขอรับท่าน

จขกท ว่า การปฏิบัติธรรมต้องมีความอยาก ต้องอาศัยความอยากถึงจะสำเร็จ

เมื่อมันอยากสำเร็จ มันก็ต้องพยายามทำทุกวิถีทาง เพื่อให้มันสำเร็จ ก็แค่นี้

อยากดีมันก็ต้องพยายามทำดี อยู่แล้ว อยากเข้าถึงนิพพาน มันก็ต้องพยายามทำในสิ่งที่เป็นเงื่อนไขของนิพพาน

หรือว่าไงอีก ระวังนะ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด :b13: (อันนี้บอกตัวเองเด้อ)



คุณนี่ .. สมกับชื่อคนขวางโลกซะจริงๆเลยนะคะ :b1:

หัดคิดพิจรณาให้ดีก่อนที่จะโพสข้อความใดๆ ... จงอย่าเอาความทะยานอยากของตัวคุณเอง

ที่มีอยู่มากมาย กิเลสของคุณน่ะกอดมันไว้ให้แน่นๆ ไม่ต้องมาปล่อยเชื้อหรอกค่ะ :b32:

ไม่ต้องมายัดเยียดให้ชาวบ้านเขา ... เข้าใจไหมคะ .. :b16:

เรื่องของเจ้าของกระทู้ นั่นก็คือเรื่องของความคิดของเขา เขาคิดยังไง เขารู้แค่ไหน เขาย่อมตีความ

ได้ตามที่เขารู้ และตามที่เขาคิด สิ่งที่เขาโพสมาเป็นเพียงความคิดของเขา

คุณอย่ามามั่วซั่วพูดจาเป็นนกแก้วนกขุนทอง ..อย่าเอาความคิดมายัดเยียดให้คนอื่นเขา



คำว่า หากเราพยายาม ก็ต้องอาศัยความอยาก เมื่อมันไม่อยากมันจะทำบ้าอะไร จะพยายามไปหาพระแสงง้าวอะไรหละขอรับท่าน


ก็เพราะคุณมันมั่วไง คาดเดาเอาเองว่าทุกคนจะต้องเหมือนกันหมด

ว่าจะต้องปฏิบัติด้วยความอยากมี อยากได้ อยากเป็น เหมือนกันหมด

จะมั่วทั้งที หัดดูตาม้าตาเรือมั่ง :b28:

อย่างเรานี่ เราปฏิบัติเพราะรู้ว่ามันดี เมื่อรู้ว่ามันดี ก็เลยทำให้มีความเพียร ( คงรู้จักนะวิริยะ )

อย่างต่อเนื่องไม่ได้อยากไปนิพพงนิพพานอะไร ..

ปฏิบัติแล้วรู้สึกเลยว่าความอยากได้ใคร่ดีต่างๆนับวันมันลดน้อยลงไป

รู้แต่ว่าปฏิบัติแล้ว อย่างน้อยยังรู้จักแยกแยะบุคคลออก ..

ว่าต่างคนต่างรู้ รู้แตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดาๆ ...เมื่อเราเห็นต่างกับเขา เราก็หยุดเท่านั้นเอง

ทำให้รู้จักแยกแยะว่า อะไรดี อะไรชั่ว พยายามไม่สร้างเหตุที่ไม่ดี

แต่เราสองคนคงเคยสร้างเหตุมาร่วมกัน คุณถึงได้มากล่าวอะไรที่มันมั่วๆ :b6:




ระวังนะ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด :b13: (อันนี้บอกตัวเองเด้อ)


ดีแล้วค่ะ คุณหัดเตือนตัวคุณเองให้บ่อยๆ จะได้มั่วให้มันน้อยลง :b12:


ถึงจะแรงไปนิดก็ ขอสาธุนะงับ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาเป็นว่า ก่อนจะลงมือปฏิบัติธรรม อยากไปเลย อยากปฏิบัติไง
แต่เวลาเดินจงกรม นั่งสมาธิ อย่าไปอยาก
และถ้าจะให้ต่อเนื่อง มีสติตลอดในอิริยาบทต่างๆ ก่อนหรือหลังก็อย่าไปอยาก
ถึงจะฝ่ายดี แต่ก็กิเลสอย่างละเอียดเลย (บางแห่งเรียกว่า นิกันติตัณหา)
เอางี้ วางใจกลางๆในทุกอารมณ์ ไม่งั้น กิเลสทั้งหยาบทั้งละเอียด หลุดเข้ามาจนได้ เฮ่ออ

:b12: :b12: :b12: :b12: :b12:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 22:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
เอาเป็นว่า ก่อนจะลงมือปฏิบัติธรรม อยากไปเลย อยากปฏิบัติไง
แต่เวลาเดินจงกรม นั่งสมาธิ อย่าไปอยาก
และถ้าจะให้ต่อเนื่อง มีสติตลอดในอิริยาบทต่างๆ ก่อนหรือหลังก็อย่าไปอยาก
ถึงจะฝ่ายดี แต่ก็กิเลสอย่างละเอียดเลย (บางแห่งเรียกว่า นิกันติตัณหา)
เอางี้ วางใจกลางๆในทุกอารมณ์ ไม่งั้น กิเลสทั้งหยาบทั้งละเอียด หลุดเข้ามาจนได้ เฮ่ออ

:b12: :b12: :b12: :b12: :b12:


แต่มันก็มีอยากอีแหละ... :b10: ...อยาก..วาง...นี่ซิละเอียดสุด :b32:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 55 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร