วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2009, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรต่อไปนี้ จะแสดงให้เห็นถึงทัศนคติอันถูกต้องว่าการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องแล้วผู้ปฏิบัติจะต้องมีความอยาก(กุศลฉันทะ) และต้องอาศัยความอยากนั้น เพื่อละความอยาก(ตัณหาฉันทะ) ถึงจะสำเร็จจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาได้ ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้อิทธิบาทสี่ไม่แน่วแน่ไม่มีกำลังกล้าแข็ง เป็นการปฏิบัติที่ทำให้เรื่อยเปื่อยไปวันๆ ไม่สามารถระดมความเพียร เร่งความเพียรได้ ดังต่อไปนี้

***************************************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พราหมณสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาเพื่อละฉันทะ

[๑๑๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้น อุณณาภ-
*พราหมณ์เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัย
พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า

[๑๑๖๓] ดูกรท่านอานนท์ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์
อะไร? ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อละ
ฉันทะ.

[๑๑๖๔] อุณ. ดูกรท่านอานนท์ ก็มรรคา ปฏิปทา เพื่อละฉันทะนั้น มีอยู่หรือ?
อา. มีอยู่ พราหมณ์.

[๑๑๖๕] อุณ. ดูกรท่านอานนท์ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน?

อา. ดูกรพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันท-
*สมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิ
และปธานสังขาร นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละฉันทะนั้น.

[๑๑๖๖] อุณ. ดูกรท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ฉันทะนั้นยังมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี
บุคคลจักละฉันทะด้วยฉันทะนั่นเอง ข้อนี้มิใช่ฐานะที่มีได้.

อา. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจะย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านเห็นควรอย่างไร
พึงแก้อย่างนั้นเถิด.

[๑๑๖๗] ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ในเบื้องต้นท่านได้มี
ความพอใจว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ความพอใจที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่
หรือ?

อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้มีความเพียรว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว
ความเพียรที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้มีความคิดว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ความ
คิดที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้ตริตรองพิจารณาว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว
ความตริตรองพิจารณาที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.

[๑๑๖๘] อา. ดูกรพราหมณ์ อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนถึงแล้วโดย
ลำดับ สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น ในเบื้องต้นก็มี
ความพอใจเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความพอใจที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มี
ความเพียรเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความเพียรที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มี
ความคิดเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความคิดที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มีความ
ตริตรองพิจารณาเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความตริตรองพิจารณาที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป.

[๑๑๖๙] ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? เมื่อเป็นเช่นนั้น ความ
พอใจนั้นยังมีอยู่หรือว่าไม่มี?

อุณ. ข้าแต่ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ความพอใจก็มีอยู่โดยแท้ ไม่มีหามิได้
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้ง
นัก ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ท่านประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น
ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระอานนท์จงจำ
ข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบ สูตรที่ ๕

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๖๗๙๖ - ๖๘๔๓. หน้าที่ ๒๘๓ - ๒๘๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... =19&i=1162

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2009, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะศิรัสพล

จริงๆแล้วไม่ใช่อาศัยความอยากจึงจะสำเร็จนะคะ ...

ในแง่ของแนวทางการปฏิบัติ ใหม่ๆเราย่อมมีความอยากที่จะสำเร็จกันนั้นเป็นเรื่องธรรมดา

แต่พอปฏิบัติต่อไปจึงจะรู้ว่า .. ตราบใดที่คุณปฏิบัติด้วยความอยากนั้น ...

ไม่มีทางสำเร็จได้อย่างแน่นอน .. คุณต้องเพียรละความอยากให้ได้ค่ะ ..

นำเรื่องโสฬสธรรมมาให้อ่านค่ะ

คนที่ ๑ อชิตมาณพ ทูลถามปัญหา ๔ ข้อ

ถาม โลก คือ หมู่สัตว์ใหญ่ อันอะไรปิดบังไว้ จึงหลงอยู่ในที่มืด? เพราะอะไรเป็นเหตุ

จึงไม่มีปัญญาเห็นปรากฏ? พระองค์ทรงตรัสว่า อะไรเป็นเครื่องฉาบไล้ให้สัตว์โลกติดอยู่

และอะไรเป็นภัยใหญ่ของสัตว์โลกนั้น?

ตอบ โลก คือ หมู่สัตว์ใหญ่ อันอวิชชาคือ ความไม่รู้แจ้ง ปิดบังไว้แล้ว

จึงหลงดุจอยู่ในที่มืด เพราะ ความอยากมีประการต่างๆ และความประมาทเลินเล่อ

จึงไม่มีปัญญาเห็นปรากฏ เรากล่าวว่า ความอยากเป็นเครื่องฉาบไล้สัตว์โลกให้ติดอยู่และกล่าวว่า

ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของสัตว์โลกนั้น

ถาม ขอทรงตรัสบอกว่า อะไรเป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องกันความอยาก

อันเป็นดุจกระแสน้ำ หลั่งไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง ความอยากนั้นจะละได้ เพราะธรรมอะไร?

ตอบ เรากล่าวว่า สติ เป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องกันความอยากนั้น และความอยากนั้นจะละได้เพราะ ปัญญา

ถาม ปัญญา สติกับนามรูป จะดับไป ณ ที่ไหน?

ตอบ เราจะแก้ปัญหาที่ท่านถามถึงที่ดับนามรูปสิ้นเชิง ไม่มีเหลือแก่ท่าน เพราะ วิญญาณดับไปก่อน นามรูปจึงดับไป ณ ที่นั้นเอง

ถาม ชนผู้มีธรรมได้พิจรณาเห็นแล้ว และชนยังผู้ศึกษาอยู่ 2 พวกนี้ มีอยู่ในโลกเป็นอันมาก

ข้าพระเจ้าขอทูลถามถึงความประพฤติของชน 2 พวกนั้น

พระองค์มีพระปัญญาแก่กล้า ขอจงตรัสบอกแก่ข้าพระเจ้าเถิด

ตอบ ภิกษุผู้มีธรรมได้พิจรณาเห็นแล้ว และชนผู้นั้นยังต้องศึกษาอยู่

ต้องเป็นคนไม่กำหนัดในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติอยู่ทุกอริยาบท

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติธรรมอย่าได้ละเสียซึ่ง "ความอยาก" ตราบใดที่ยังไม่สำเร็จจุดมุ่งหมาย

- เริ่มแรกเลยเราได้ฟังธรรม หรือได้เห็นผู้บรรลุธรรม มีพระโสดาบัน จนถึงพระอรหันต์เป็นต้นแล้ว ในใจของเราก็จะเกิดสภาวะความอยากได้สภาวะอย่างนั้นบ้าง <==== การประพฤติที่ถูกต้องจะต้องให้มีความอยากตรงนี้ หากไม่มีจะเป็นอย่างไร เราก็จะไม่สนใจอะไร เห็นผู้ทรงธรรมก็เห็นไป ฟังธรรมก็ฟังไป แต่ไม่มีความอยากจะบรรลุตามบ้าง การกระทำอย่างนี้ผิดพลาดอย่างร้ายแรง

- พอต่อไปเราได้มีศรัทธา มีความอยากที่จะบรรลุตามบ้าง เราก็เพียรพยายามทำตาม โดยอาจจะเริ่มลงมือปฏิบัติโดยเราตั้งเวลาของเราเอาไว้ว่า ในทุกวันเราตอนประมาณ ตีห้า เราจะตื่นขึ้นมานั่งสมาธิ และพอหลังจากหลับถึงบ้านตอนเย็นก่อนนอนเราก็จะนั่งสมาธิ <===== การปฏิบัติที่ถูกต้องจะต้องให้มีความอยากตรงนี้ หากไม่มีจะเป็นอย่างไร เราก็จะไม่คิดแบ่งเวลาของเราเพื่อมาปฏิบัติธรรมอะไร ไม่คิดจะนั่งสมาธิ คิดแต่จะทำอย่างเลื่อนลอยไป ทำเรื่อยๆ เปื่อยๆ ไม่แบ่งเวลาเอาไว้สำหรับปฏิบัติจริงจังเลย

- พอต่อไปเราได้มาถึงเวลาตอนตีห้า หรือถึงตอนกลับมาถึงบ้านที่เราได้ตั้งนาฬิกาเอาไว้ เพื่อจะลุกขึ้นมาทำสมาธิ เรามีความอยากนั่งสมาธิอยู่เต็มเปี่ยม เราก็ลุกพรึบขึ้นมาทันใด ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติ <===== การปฏิบัติที่ถูกต้องจะต้องให้มีความอย่างตรงนี้ หากไม่มีจะเป็นอย่างไร เราก็จะไม่ลุกขึ้นมาในทันใด ลุกยาก ขอนอนต่ออีกหน่อย วันนี้เพลียเหลือเกิน เมื่อคืนนอนดึก เราก็จะไม่มานั่งสมาธิ ขอไปกินอะไรกับเพื่อนก่อน ดูหนังก่อน ดูบอลก่อนแล้วกัน วันนี้ทำงานมาเหนื่อยจริงๆ เรียนมาหนักจริงๆ ทำไปเดี๋ยวง่วง ฯลฯ ก็จะกลายเป็นปฏิบัติพลัดวันประกันพรุ่งไป ไม่ก้าวหน้า ไม่ปฏิบัติสม่ำเสมอ ผิดสัจจะแก่ตนเองได้

- พอต่อไปเราปฏิบัตติไป พอกิเลส อกุศลใดๆ เกิดขึ้น เราก็อยากจะให้มีแต่สภาวะที่เป็นกุศลอยู่ในใจเท่านั้น เราก็เพียรละกิเลสนั้น กำจัดมันออกไปจากจิตใจ เกิดขึ้นปุ๊บกำจัดปั๊บ ไม่เพียงเท่านั้น เราอยากให้ดีกว่านั้นอีก เราก็เพียรป้องกันกิเลสด้วย เพียรป้องกันอกุศลด้วย อะไรที่จะทำให้กิเลสเกิดขึ้น อกุศลเกิดขึ้น เราก็รู้จักไม่เสพเอาไว้ก่อน ทีนี้ใจเราก็ไม่เกิดอกุศล ไม่เกิดกิเลสเอาไว้ก่อนได้ เราก็จะมีแต่กุศลในใจได้เรื่อยๆ <===== การปฏิบัติที่ถูกต้องจะต้องมีความอยากตรงนี้ หากไม่มีจะเป็นอย่างไร เรามีกิเลสเกิดขึ้นในใจ ก็ไม่อยากจะละ กลับไปคิดว่า การอยากละกิเลส การไปละกิเลส เป็นการเพิ่มพูนความอยาก มันจะทำให้ความอยากเพิ่มขึ้นต่างหาก เราจะละกิเลสด้วยความอยากไม่ได้ ที้นี้ใจก็จะมีแต่อกุศลเกิดอยู่เรื่อยๆ ผสมเข้าไว้ในจิต มีแต่เสื่อมๆ แบบไม่รู้ตัว หลงว่านั่นล่ะใช่แล้ว แต่แท้จริงไม่ใช่เลย เราจะมีแต่เสื่อม เพราะจิตมันเกิดอกุศลอยู่บ่อยๆ นั่นเอง

- พอต่อไปเราปฏิบัติไปถึงระดับหนึ่ง เราเกิดติดขัด ยังไม่ได้ฌาน ยังไม่ได้ญาณ เรามีความอยากได้ฌานและได้ญาณอย่างนั้นอยู่ เราก็เพียรศึกษาค้นคว้า ปรับปรุงแก้ไข สอบถามผู้รู้ต่างๆ แล้วนำมาเพียรทำไปอย่างตั้งใจ เราก็เลยได้ฌาน ได้ญานขั้นนั้นๆ สมใจ <===== การปฏิบัติที่ถูกต้องจะต้องมีความอยากตรงนี้ หากไม่มีจะเป็นอย่างไร เราก็คิดว่า โอ ชาตินี้เราคงไม่มีวาสนาเสียแล้ว ทำไปวันๆ แล้วกัน ได้ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เราไม่เพียรพิจารณาดูจุดผิดพลาดของตนเองว่ามีตรงไหน ทำไมท่านที่ปฏิบัติในสมัยพุทธกาลถึงทำได้ในเวลาไม่กี่วัน แล้วเราทำมานานปีถึงไม่สำเร็จได้ เราจะคิดไปว่าเป็นเพราะบารมีสะสมมาไม่เท่ากันอีก ฯลฯ ก็เลยพอล่ะทำไปวันๆ แล้วกัน

- พอต่อไปสมมุติว่าเรามีความอยากได้ จนได้ตามความอยากมาจนถึงขั้นได้อุปจารสมาธิ และได้ญานขั้นต้นๆ แล้ว เรายังมีความอยากได้สมาธิระดับสูงขึ้นไป ได้ญาณระดับสูงขึ้นไปอีก เราก็เพียรพยายามประการต่างๆ อาจจะหาสถานที่สงบเงียบ หยุดงานไปสัก ๓ วันเพื่อบำเพ็ญเพียรจริงจัง ไปหาอาจารย์ที่ท่านได้ขั้นสูงให้ท่านแนะนำ เราก็ได้ฌานขั้นสูง ญาณขั้นสูงสมใจ ดุจดังพระโพธิสัตว์ที่ไปหาอาจารย์ที่เป็นพราห์มท่านแรกไม่พอ ไปหาพราห์มท่านที่สองอีก สำเร็จแค่นั้นยังไม่พอ ไม่ท้อ ไม่มีอาจารย์หาด้วยตนเองก็ยอมจนในที่สุดก็ได้สมดังปรารถนา ก็ไม่มีอะไรให้อยากได้อีก ได้หมดแล้วตามต้องการ<======= การปฏิบัติที่ถูกจะต้องมีความอยากตรงนี้ หากไม่มีจะเป็นอย่างไร เราก็คิดว่า เราได้อุปจารสมาธิ เราได้ญาณขั้นต้นๆ เราพอล่ะ เราเป็นฆราวาส เราทำได้แค่นี้ก็ดีแล้ว เราก็ไม่ลาหยุดงาน หรือมีช่วงเวลาพักร้อนก็ไม่เอามา หยุดเสาร์อาทิตย์หรือหยุดพิเศษก็ไม่ไปปฏิบัติจริงๆ จังๆ เราพอแล้ว พอแล้ว ได้แค่นี้ก็ดีแล้ว เราไม่ได้เกิดในสมัยพุทธกาล ฯลฯ

เมื่อเราไม่อยากได้ เราไม่อยากทำ เราก็ไม่ได้ เราก็ไม่ทำ

ความอยากได้ หากเรารู้จักพักความอยากได้ขณะที่จิตกำลังทำสมาธิ หรือเจริญวิปัสสนาจะไม่มีปัญหารบกวนจิตใจเลย ไม่รบกวนความก้าวหน้าเลย เราต้องมีความอยากได้กุศลธรรม อย่าได้สันโดษในกุศลธรรม ให้สันโดษและไม่อยากได้ในอกุศลธรรม เมื่อเรามีความอยากได้กุศลธรรมใดๆ เราก็เพียรเอามาให้ได้ พอได้แล้วความอยากนั้นๆ จะดับลงไปเอง อย่าพอจนกว่าจะได้ถึงจุดสูงสุดนี่แหละเป็นการปฏิบัติที่มีแต่ก้าวหน้าไม่หยุดนิ่งได้


แก้ไขล่าสุดโดย ศิรัสพล เมื่อ 20 มิ.ย. 2009, 09:59, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


วิภังคสูตร
อริยมรรค ๘

[๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะ
ให้เกิด พยายาม ปรารถนาความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามก
ที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
บังเกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน
เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =174&Z=210

********************************


[๔๖๖] ก็ภิกษุทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น เป็น
อย่างไร

ในบทเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นไฉน
อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในจิตตุปบาท
อันเดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะนั้น กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ เรียก
ว่า บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น

ภิกษุทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำ
ความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ด้วย
ประการฉะนี้

[๔๖๗] บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทสว่า ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำความฉลาด
ความพอใจในธรรม อันใด นี้เรียกว่า ฉันทะ ภิกษุ ย่อมทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้
เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดยิ่ง ด้วยเหตุนั้น จึง
เรียกว่า ทำฉันทะให้เกิด

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=6470&w=ฉันทะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติธรรมไม่จำเป็นต้องมีความอยากก็สำเร็จได้

ปฐมสังคายนารับหน้าที่สำคัญ
ในกาลที่พระพุทธองค์ใกล้ปรินิพพาน พระอานนท์เถระมีความน้อยเนื้อต่ำใจที่ตนยัง เป็นพระโสดาบันอยู่ อีกทั้งพระบรมศาสดาบรมครูก็จะเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานในอีกไม่ช้า จึงหลีก
ออกไปยืนร้องไห้แต่เพียงผู้เดียวข้างนอก พระพุทธองค์รับสั่งให้ภิกษุไปเรียกเธอมาแล้ว ตรัส
เตือนให้เธอคลายทุกข์โทมนัสพร้อมทั้งตรัสพยากรณ์ว่า....
“อานนท์ เธอจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในวันทำปฐมสังคายนา”
เมื่อพระบรมศาสดาปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระได้นัดประชุมพระอรหันต์
ขีณาสพ จำนวน ๕๐๐ องค์ เพื่อทำปฐมสังคายนา โดยมอบให้พระอานนท์รับหน้าที่วิสัชนาพระ
สูตรและพระอภิธรรม แต่เนื่องจากพระอานนท์ยังเป็นพระโสดาบันอยู่ ท่านจึงเร่งทำความเพียรอย่าง
หนักแต่ก็ยังไม่สำเร็จจนเกิดความอ่อนเพลีย ท่านจึงปรารภที่จะพักผ่อนอิริยาบถสักครู่ จึงเอน
กายลงบนเตียง ในขณะที่เท้าพ้นจากพื้น ศีรษะกำลังจะถึงหมอน ท่านก็สำเร็จเป็นพะอรหันต์
ในระหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ คือ ไม่ได้อยู่ในอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งทั้ง ๔ อย่าง คือ อิริยาบถยืน
เดิน นั่ง หรือนอน นับว่าท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แปลกกว่าพระเถระรูปอื่น ๆ


http://www.84000.org/one/1/12.html

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณ walaiporn ครับ

กรณีของพระอานนท์ก็เช่นเดียวกัน ท่านเริ่มด้วยมีความอยากบรรลุธรรมเสียก่อน จากนั้นจึงอยากปฏิบัติ แม้จะได้โสดาบันแล้วท่านก็ยังไม่เพียงพอ ยังมีความอยากจะได้คุณธรรมขั้นสูงขั้นไป จังตั้งหน้าปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าท่านไม่มีความอยากบรรลุธรรม หรือไม่มีความอยากปฏิบัติตั้งแต่แรก กรณีท่านพระอานนท์ผมมีความคิดเห็นว่าท่านมีฉันทะอย่างแรงกล้า เพียงแต่ตอนที่ท่านจะต้องการบรรลุธรรมนั้นท่านไม่ได้พักความอยากได้ผลเอาไว้จึงทำให้ปฏิบัติธรรมไม่สำเร็จ เป็นความฟุ้งซ่านไป ต่อมาท่านจึงได้พักความอยากเอาไว้ชั่วคราว ปล่อยวางความอยาก ไม่เอาความอยากได้มาร่วมด้วยตอนปฏิบัติครับ ความอยากอย่างที่ผมได้บอกไปในความเห็นก่อน ว่าความอยากหากไม่พักเอาไว้ก็รบกวนการปฏิบัติได้ แต่ไม่ใช่ไม่ให้มีความอยาก เราควรมีความอยากได้กุศลธรรม อยากปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา จึงจะก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว เพียงแต่ขณะดำเนินจิตนั้นเราอย่าได้มีความอยาก เราต้องพักความอยากเอาไว้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณ walaiporn ครับ

กรณีของพระอานนท์ก็เช่นเดียวกัน ท่านเริ่มด้วยมีความอยากบรรลุธรรมเสียก่อน จากนั้นจึงอยากปฏิบัติ แม้จะได้โสดาบันแล้วท่านก็ยังไม่เพียงพอ ยังมีความอยากจะได้คุณธรรมขั้นสูงขั้นไป จังตั้งหน้าปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าท่านไม่มีความอยากบรรลุธรรม หรือไม่มีความอยากปฏิบัติตั้งแต่แรก กรณีท่านพระอานนท์ผมมีความคิดเห็นว่าท่านมีฉันทะอย่างแรงกล้า เพียงแต่ตอนที่ท่านจะต้องการบรรลุธรรมนั้นท่านไม่ได้พักความอยากได้ผลเอาไว้จึงทำให้ปฏิบัติธรรมไม่สำเร็จ เป็นความฟุ้งซ่านไป ต่อมาท่านจึงได้พักความอยากเอาไว้ชั่วคราว ปล่อยวางความอยาก ไม่เอาความอยากได้มาร่วมด้วยตอนปฏิบัติครับ ความอยากอย่างที่ผมได้บอกไปในความเห็นก่อน ว่าความอยากหากไม่พักเอาไว้ก็รบกวนการปฏิบัติได้ แต่ไม่ใช่ไม่ให้มีความอยาก เราควรมีความอยากได้กุศลธรรม อยากปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา จึงจะก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว เพียงแต่ขณะดำเนินจิตนั้นเราอย่าได้มีความอยาก เราต้องพักความอยากเอาไว้ครับ



เพียงจะบอกว่า อะไรที่สุดโต่งเกินไป ถือว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ

กุศลแต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน ทุกอย่างมีเหตุที่ได้สร้างกันมา ผลจึงเป็นเช่นนั้น

บางคนปฏิบัติแบบไม่รู้ก็มี คือ เพียงเขาทำแล้ว เขารู้ว่าดี ความทะยานอยากต่างๆลดลง

เขาก็เพียรทำของเขาไป ... แม้แต่คำเรียกต่างๆ บางคนยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าเรียกว่าอะไร

เขาทำเพราะเขารู้ว่าดี เขาไม่ได้ทำเพราะอยากได้หรืออยากเป็นอะไร :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ walaiporn มากครับ

ขอบคุณนะครับ ที่หวังดี แต่หากว่ากันจริงๆ ที่ผมแนะนำไปนี้ ไม่ต้องไปห่วงเรื่องจะเป็นสุดโต่งหรอกครับ หรือมิจฉาทิฐิหรอกครับ ที่ผมบอกไปนั้นถือว่ากลางๆ ไม่หย่อนไม่ตึงเลยนะครับ สามารถทำได้จริงๆ แม้ในเพศฆราวาส ซึ่งหากเทียบกับในสมัยพุทธกาล ที่ท่านปฏิบัติกัน นี่ถือว่าขี้เล็บเลย (ขอโทษที่อาจจะไม่สุภาพ) แต่เป็นเช่นนั้นจริงๆ หากคุณได้อ่าน โดยไม่รู้มาก่อนว่ามาจากพระไตรปืฏกคุณจะเห็นว่าผู้ที่ปฏิบัติเช่นนี้เป็นอย่างไรครับ สุดโต่งหรือมิจฉาทิฐิหริอเปล่าครับ

###############################################
ในสมัยพุทธกาล เขาเพียรกันขนาดนี้เลยนะครับ พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้###############################################
[๗๔๙] ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก พึงมีความเพียร ซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น
พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรม
อันเป็นไปกับด้วยการประดับ.
ว่าด้วยการแบ่งเวลา
[๗๕๐] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก ความว่า ภิกษุพึงแบ่งกลางคืนและ
กลางวันให้เป็น ๖ ส่วนแล้ว ตื่นอยู่ ๕ ส่วน นอนหลับ ๑ ส่วน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ

ไม่พึงทำความหลับให้มาก.
[๗๕๑] คำว่า พึงมีความเพียรซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน พึงชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี
พึงสำเร็จสีหไสยา (นอนเหมือนราชสีห์) โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ
ทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับตื่นขึ้นแล้ว พึงชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี.
คำว่า ซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น คือ พึงซ่องเสพ ซ่องเสพพร้อม ซ่องเสพเฉพาะ
ซึ่งความเป็นผู้ตื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น.
คำว่า มีความเพียร ความว่า วิริยะเรียกว่าความเพียร ได้แก่การปรารภความเพียร
ความก้าวออก ความก้าวหน้า ความย่างขึ้นไป ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความ
มั่นคง ความทรงไว้ ความก้าวหน้ามิได้ย่อหย่อน ความไม่ปลงฉันทะ ความไม่ทอดธุระ ความ
ประคองธุระไว้ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันเป็นไปทางจิต ภิกษุเป็นผู้เข้าถึง
เข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้
ภิกษุนั้นเรียกว่า มีความเพียร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงมีความเพียรซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น.

**********************************
สมัยนั้นทำกันถึงขนาดนี้ สอนให้ทำกันขนาดนี้ ขนาดท่านเหล่านั้นสะสมบารมีมามากแล้ว บางท่านเป็นโสดาบันไปแล้วก็ยังเพียรกันให้มากถึงขนาดนี้ก็มี อย่างนี้ถือว่าไม่ตึงเลยนะครับ นี่เป็นหลักการพื้นฐานเลยนะครับ แล้วมาดูพวกเราเล่า หรือใครก็ตามในสมัยนี้เล่า จัดว่าเทียบไม่ติดหรือเปล่า ดังนั้นเรื่องนี้คงจะต้องมานั่งพิจารณากันใหม่เสียแล้วว่า

"เราคิดว่าตึงเกินไปน่ะจริงหรือเปล่า หรือว่าจรึงๆ เราขี้เกียจ หรือมีความเพียรย่อหย่อนกันแน่...ตึงคือแค่ไหน ตรงไหนที่เป็นมิจฉาทิฐิ"

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตาศิรัสพลนี่มั่วจิงๆ :b33: :b34:
ชอบเอาปุถุชนวิสัยกับอริยชนวิสัยมารวมกันประจำเลย

ถามนิดนึงว่า พระสงฆ์สมัยพระพุทธเจ้าอยู่ เป็นปุถุชนหรือ
ไม่มีหรอก คนไหนท่านบวชให้ แปลว่าได้โสดาบันแล้ว มีจิตผู้รู้แล้ว ตื่นแล้ว ขอบวช ท่านจึงบวชให้


ที่จริงคุณพูดไม่ผิดหรอกนะ คนเราต้องมีฉันทะ
แต่อย่าพยามไปเอาอริยชนวิสัยมาอธิบายใส่ปุถุชน
แล้วอย่าพยามบอกให้ปุถุชนไปทำอย่างอริยะชน มันไม่ถูก

ถ้าจะอธิบายในขอบเขตปุถุชนวิสัยนี้ถือว่า OK นะ โอ
คนเราต้องมีฉันทะ มีความพึงใจจะทำกิจกรรมต่างๆ
แต่จะมาบอกว่าเพราะฉันทะถึงสำเร็จ มันไม่ถูก
จั่วหัวกระทู้ไม่ถูกนะ ตั้งประเด็นไม่ถูกนะ

เหตุของ"สำเร็จ" ไม่ใช่ "ฉันทะ"
ดังนั้นจะพูดว่า เพราะมี"ฉันทะ"จึง"สำเร็จ"ไม่ได้
คณิตศาสตร์ได้เกรดอะไรเนียะ เดี๋ยวปั๊ดจับใส่สีเทาซะเลย

ไหนว่าโยนิโสมนสิการจนบรรลุแล้ว ปฏิเวธธรรมแล้ว นิพพานได้แล้ว
ทำไมมาตกม้าตายเรื่องพวกนี้อะ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


จากหัวข้อกระทู้ที่คุณตั้งมานั้น ..

การปฏิบัติธรรมต้องมีความอยาก ต้องอาศัยความอยาก ถึงจะสำเร็จ!!

มันเป็นการเจาะจงว่า ต้องมีความอยากเป็นพื้นฐาน ..

ไม่ใช่ทำเพราะมีความเพียรเป็นพื้นฐาน

ภาษาไทย ... ดิ้นได้ตลอดเวลา ...

ถึงได้บอกคุณไปว่า การปฏิบัติ ไม่จำเป็นต้องมีความอยากเป็นพื้นฐานสำหรับทุกคนเสมอไปค่ะ

บางคนสร้างกุศลมาหลายภพหลายชาติ พอจับได้ ก็บรรลุธรรมได้ทันทีก็มี ..

แม้แต่โสดาบัน เพียงโสดาบัน .. ท่านอาจจะมีความกิเลสตัณหาความทะยานอยากอยู่บ้าง

แต่ก็เบาบางลง พระสกทาคามี ยิ่งเบาบางมากขึ้น พระอนาคามียิ่งไม่ต้องพูดถึง ..

อีกอย่างกรณีที่คุณยกตัวอย่างของพระอานนท์มา .. อ่านดูนะคะ



กรณีของพระอานนท์ก็เช่นเดียวกัน ท่านเริ่มด้วยมีความอยากบรรลุธรรมเสียก่อน จากนั้นจึงอยากปฏิบัติ แม้จะได้โสดาบันแล้วท่านก็ยังไม่เพียงพอ ยังมีความอยากจะได้คุณธรรมขั้นสูงขั้นไป จังตั้งหน้าปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าท่านไม่มีความอยากบรรลุธรรม หรือไม่มีความอยากปฏิบัติตั้งแต่แรก กรณีท่านพระอานนท์ผมมีความคิดเห็นว่าท่านมีฉันทะอย่างแรงกล้า เพียงแต่ตอนที่ท่านจะต้องการบรรลุธรรมนั้นท่านไม่ได้พักความอยากได้ผลเอาไว้จึงทำให้ปฏิบัติธรรมไม่สำเร็จ เป็นความฟุ้งซ่านไป ต่อมาท่านจึงได้พักความอยากเอาไว้ชั่วคราว ปล่อยวางความอยาก ไม่เอาความอยากได้มาร่วมด้วยตอนปฏิบัติครับ ความอยากอย่างที่ผมได้บอกไปในความเห็นก่อน ว่าความอยากหากไม่พักเอาไว้ก็รบกวนการปฏิบัติได้ แต่ไม่ใช่ไม่ให้มีความอยาก เราควรมีความอยากได้กุศลธรรม อยากปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา จึงจะก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว เพียงแต่ขณะดำเนินจิตนั้นเราอย่าได้มีความอยาก เราต้องพักความอยากเอาไว้ครับ



คุณไปรู้วาระจิตของพระอานนท์ได้อย่างไรว่า ท่านพักความอยากเอาไว้ชั่วคราว

เหมือนกรณีของพระอานนท์ ท่านอาจจะมีความอยากบรรลุธรรม แต่เมื่อท่านทำเต็มที่แล้ว

ท่านทำแล้วไม่ได้ผลตามที่ท่านต้องการ ทำให้ท่านเกิดความเหน็ดเหนื่อยโดยใช่เหตุ

ท่านเลยคิดหยุด เมื่อท่านคิดหยุด ความอยากตัวนั้นไม่เกิดแล้ว

เมื่อหมดความตั้งใจ เมื่อหมดความอยากเสียแล้ว .. ท่านจึงได้บรรลุธรรม

สมดั่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า

คนที่ ๑ อชิตมาณพ ทูลถามปัญหา ๔ ข้อ

ถาม โลก คือ หมู่สัตว์ใหญ่ อันอะไรปิดบังไว้ จึงหลงอยู่ในที่มืด? เพราะอะไรเป็นเหตุ

จึงไม่มีปัญญาเห็นปรากฏ? พระองค์ทรงตรัสว่า อะไรเป็นเครื่องฉาบไล้ให้สัตว์โลกติดอยู่

และอะไรเป็นภัยใหญ่ของสัตว์โลกนั้น?

ตอบ โลก คือ หมู่สัตว์ใหญ่ อันอวิชชาคือ ความไม่รู้แจ้ง ปิดบังไว้แล้ว

จึงหลงดุจอยู่ในที่มืด เพราะ ความอยากมีประการต่างๆ และความประมาทเลินเล่อ

จึงไม่มีปัญญาเห็นปรากฏ เรากล่าวว่า ความอยากเป็นเครื่องฉาบไล้สัตว์โลกให้ติดอยู่และกล่าวว่า

ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของสัตว์โลกนั้น


อื่มมม .. ถ้าตัวหนังสือดูแข็งไปขอโทษด้วยค่ะ เพราะไม่รู้จะสื่อยังไงให้ดูนุ่มนวล :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 22:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เอ.... ผมมองอย่างไรก็ไม่เห็นว่า " ความอยาก" มีอยู่ในโพธิปักขิยธรรมเลย
สงสัยจะตั้งชื่อกระทู้ดุเดือดไปหน่อยจริงๆ

หรือว่า เข้าใจผิดไปว่า " ฉันทะ ความพอใจ " เป็นอันเดียวกับ " ความอยาก "
ความพอใจลักษณะจะไม่ทะเยอทะยานเพิ่มมาก
ความอยากลักษณะจะเพิ่ม เพราะความอยากเป็นลักษณะของตัณหา

:b9: :b9: :b9:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 23:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของทุกท่าน และขอบคุณสำหรับคำตำหนิของบางท่านนะครับ

เรื่องนี้อย่าเพิ่งด่วนสรุปอะไรจากความรู้เท่าที่เรามี หรืออย่าเพิ่งด่วนตำหนิว่าผู้มีความเห็นเช่นนี้ผิด หรือกระทู้ผิดเลยครับ ใจเย็นๆ นะครับ

อย่างไรผมตั้งกระทู้เกี่ยวกับประเด็นนี้ใหม่แยกออกไป ขอความกรุณาเข้าไปในกระทู้นี้นะครับ

การปฏิบัติธรรมต้องมีความอยาก ต้องอาศัยความอยากถึงจะสำเร็จ ๒
viewtopic.php?f=1&t=23153

ธรรมบางอย่างละเอียด ลึกซึ้ง หยั่งตามได้ยาก รู้ตามได้ยาก แต่บัญฑิตพึงรู้ได้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 75 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร