วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 03:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2009, 11:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของทุกท่านครับ :b8:

คุณ มิตรตัวน้อย ยินดีที่ได้ร่วมสนทนานะครับ ลองอ่านความหมายของโยนิโสมนสิการแบบเต็มๆ ผมนำมาจากในหนังสือพุทธธรรม โปรดสังเกตว่ามีทั้งปัญญาและมนสิการอยู่ในความหมายเลยครับ


#################
ความหมายของโยนิโสมนสิการ
#################


ว่าโดยรูปศัพท์ โยนิโสมนสิการ ประกอบด้วย โยนิโส กับ มนสิการ

โยนิโส มาจาก โยนิ ซึ่งแปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา* อุบาย วิธี ทาง

ส่วนมนสิการ แปลว่า การทำในใจ การคิด คำนึก นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา

เมื่อรวมเข้าเป็นโยนิโสมนสิการ ท่านแปลสืบๆ กันมาว่า การทำในใจโดยแยบคาย


จากหนังสือพุทธธรรม ฉบับขยายความ หน้า ๖๖๙

ลองพิจารณาดูคงจะพอทำให้ไขข้อข้องใจได้บ้างนะครับ

ขอให้เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2009, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ.. :b8: ยินดีอย่างยิ่งครับ
ได้ความรู้ได้ปัญญาเพิ่มเติมครับ :b4: :b20:

เจริญธรรม

:b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2009, 12:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มิตรตัวน้อย เขียน:
สาธุ.. :b8: ยินดีอย่างยิ่งครับ
ได้ความรู้ได้ปัญญาเพิ่มเติมครับ :b4: :b20:

เจริญธรรม

:b8: :b12:

ได้ความรู้ ได้ปัญญาเพิ่มยิ่งขึ้น จริงๆค่ะ .. แต่ติดบัญญัติอีกแล้วเรา ..

... โยนิโสมนสิการเป็นอุปการะมากแก่การบรรลุนิพพาน ...
สาธุ สาธุ สาธุ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2009, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 07:11
โพสต์: 93

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้ความรู้ดีคะ โมทนากับเจ้าของกระทู้
และท่านผู้เข้ามาแสดงความเห็นนะค่ะ

:b8: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2009, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


๒.วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ หรือกระจายเนื้อหา เป็นการคิดมุ่งให้มองและให้รู้จักสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมันเองอีกแบบหนึ่ง ในทางธรรม ท่านมักพิจารณาเพื่อเห็นความไม่มีแก่นสารหรือความไม่เป้นตัวตนที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลาย ให้หายยึดติดถือมั่นในสมมุติบัญญัติ โดยเฉพาะการพิจารณาเห็นสัตว์บุคคลเป็นเพียงการประชุมกันข้าวขององค์ประกอบต่างๆ ที่เรียกว่าขันธ์๕ และขันธ์๕แต่ละอย่างก็เกิดขึ้นจากส่วนประกอบส่วนย่อยต่อไปอีก การพิจารณาเช่นนี้ ช่วยให้มองเห็นความเป็นอนัตตา แต่การที่จะมองเห็นสภาวะเช่นนี้ได้ชัดเจน มักต้องอาศัยวิธีคิดแบบที่๑ และแบบที่๓ ในข้อต่อไปเข้าร่วม โดยพิจารณาไปพร้อมๆกัน กล่าวคือ เมื่อแยกแยะส่วนประกอบออกก็เห็นภาวะที่องค์ประกอบเหล่านั้นอาศัยกันและขึ้นต่อเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่เป็นตัวของมันเองโดยแท้จริง ยิ่งกว่านั้น องค์ประกอบและเหตุปัจจัยต่างๆ เหล่านั้นล้วนเป็นไปตามกฎธรรมดาคือ มีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ไม่เที่ยงแท้ ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วต้องดับไป และต้องขึ้นต่อเหตุปัจจัยต่างๆ ถูกเหตุปัจจัยทั้งหลายบีบคั้นขัดแย้งนั้น ถ้าไม่มองในแง่สืบสวนเหตุปัจจัยตามวิธีที่๑ ซึ่งอาจจะยากสักหน่อย ก็มองได้ในแง่ลักษณะทั่วไปที่เป็นธรรมดาสามัญของสิ่งทั้งหลายซึ่งอยู่ในขอบเขตของวิธีคิดแบบที่๓ ในบาลีท่านมักกล่าวถึงวิธีคิดแบบที่๒นี้ รวมพร้อมไปด้วยกับแบบที่๓
แต่ในชั้นอรรถกถา ซึ่งเป็นแนวของอภิธรรมสมัยหลัง นิยมจัดวิธีคิดแบบที่๒นี้เป็นขั้นหนึ่งต่างหาก และถือเป็นวิภัชชวิธีอย่างหนึ่ง(วิสุทธิ.ฏีกา๓/๔๕,๓๙๗,๓๔๙,๕๑๘) นอกจากนั้นยังนิยมจำแนกขั้นพื้นฐาน โดยถือนามรูปเป็นหลัก ยิ่งกว่าจะจำแนกเป็นขันธ์๕ทันที ความจริงวิธีคิดแบบนี้มิใช่มีแต่การจำแนกแยกแยะหรือแจกแจงออกไปอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีการจัดหมวดหมุ่หรือจัดประเภทไปด้วยพร้อมกัน แต่ท่านเน้นการจำแนกแยกแยะจึงเรียกว่า วิภัชชะ ถ้าเรียกอย่างสมัยใหม่ก็คงว่า วิธีคิดแบบวิเคราะห์ ในการบำเพ็ญวิปัสสนาตามประเพณีปฏิบัติที่บรรยายไว้ในอรรถกถา เรียกว่าการพิจารณาแยกแยะโดยถือเอานามรูปเป้นหลักในขั้นต้นนี้ว่า นามรูปววัตถาน หรือนามรูปปริคคหะ (วิสุทธิ.๓/๒๐๕-๒๑๙;สง.คห.๕๕) คือไม่มองสัตว์บุคคลตามสมมุติบัญัติ ว่าเป็นเขาเป็นเรา เป็นนายนี่นางนี่ แต่มองตามสภาวะแยกออกไปว่าเป็นนามธรรมและรูปธรรม กำหนดส่วนประกอบทั้งหลายที่ร่วมประชุมกันอยู่แต่ละอย่างๆว่า อย่างนั้นเป็นรูป อย่างนี้เป็นนาม รูปคือสภาวะที่มีลักษณะอย่างนี้ นามคือสภาวะที่มีลักษณะอย่างนี้ สิ่งนี้มีลักษณะอย่างนี้จึงจัดเป็นรูป สิ่งนี้มีลักษณะอย่างนี้จึงจัดเป็นนาม ดังนี้เป็นต้น เมื่อแยกแยะออกไปแล้วก็มีแต่นามกับรูป หรือนามธรรมกับรูปธรรม เมื่อหัดมองหรือฝึกความคิดอย่างนี้จนชำนาญ ในเวลาที่พบเห็นสัตว์หรือสิ่งของต่างๆก็จะมองเห็นเป็นเพียงกองแห่งนามธรรมและรูปธรรม เป็นเพียงสภาวะว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นับว่ามีกระแสความคิดความเข้าใจที่คอยช่วยต้านทานไม่ให้คิดอย่างหลงใหลหมายมั่นติดตามสมมุติบัญญัติมากเกินไป

ตัวอย่างการใช้ความคิดแนวนี้ในบาลี พึงเห็นดังนี้
“เพราะคุมส่วนประกอบทั้งหลายเข้า จึงมีศัพท์ว่ารถ ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ สมมติว่าสัตว์ จึงมีฉันนั้น”
สํ.ส.๑๕/๕๕๔/๑๙๘


“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ช่องว่าง อาศัยเครื่องไม้ เถารัด ดินฉาบ และหญ้ามุงล้อมเข้าย่อมถึงความนับว่า เรือน แนใด ช่องว่าง อาศัยกระดูก เอ็น เนื้อ และหนังแวดล้อมแล้ว ย่อมถือความนับว่า รูป แนนั้น....เวทนา....สัญญา....สังขาร....วิญญาณ....การคุมเข้า การประชุมกัน การประมวลเข้าด้วยกันแห่งอุปาทานขันธ์๕เหล่านี้ เป็นอย่างนี้

ม.มู.๑๒/๓๔๖/๓๕๘
“ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคา พึงพัดพาเอากลุ่มฟองน้ำใหญ่มา คนตาดีมองดู เพ่งพินิจ พิจารณาโดยแยบคาย ก็จะปรากฏแต่สภาพว่างเปล่า ไร้แก่นสารเท่านั้น แก่นสารในกลุ่มฟองน้ำ จะมีได้อย่างไร ฉันใด รูปก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม ภิกษุมองดูรูปนั้น เพ่งพินิจ พิจารณาโดยแยบคาย เมื่อเธอมองดู เพ่งพิจ พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ก็จะปรากฏเป็นแต่สภาพว่าง เปล่า ไม่มีแก่นสาร แก่นสารในรูปจะพึ่งมีได้อย่างไร”


ต่อจากนี้ ตรัสถึงเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และมีคาถาสรุปว่า
“พระอาทิตย์พันธุ์(พระพุทธเจ้า) ได้ตรัสแสดงไว้ว่า รูปอุปมาเหมือนฟูมฟองแม่น้ำ เวทนาอุปมาเหมือนฟองน้ำฝน สัญญาอุปมาเหมือนพยับแดด สังขารอุปมาเหมือนต้นกล้วย วิญญาณอุปมาเหมือนมายากล ภิกษุพินิจดู พิจารณาโดยแยบคาย ซึ่งเบญจขันธ์นั้น ด้วยประการใดๆก็มีแต่สภาวะที่ว่างเปล่า....”

สํ.ข.๑๗/๒๔๒-๗/๑๗๑-๔


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2009, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


๓.วิธีคิดแบบสามัญลักษณะ หรือวิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา คือมองอย่างรู้เท่าทันความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ ตามธรรมดาของมันเอง ในฐานะที่มันเป็นสิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยต่างๆปรุ่งแต่งขึ้น จะต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย ธรรมดาที่ว่านั้น ได้แก่อาการที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากปัจจัยปรุ่งแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับไป ไม่เที่ยงแท้ ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ไม่คงอยู่ตลอดไป เป็นอนิจจัง ปัจจัยทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกทุกอย่างต่างก็เกิดดับเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเสมอเหมือนกัน เมื่อเข้ามาสัมพันธ์กันจึงเกิดความขัดแย้ง ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีสภาวะถูกบีบคั้นกดดัน ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ จะต้องมีความแปรปรวนเปลี่ยนสลาย เป็นทุกข์ ในเมื่อต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยมันก็ไม่อาจเป็นของๆใคร เช่นเดียวกับไม่อาจเป็นตัวตนของมันเอง และไม่อาจมีอยู่โดยตัวของมันเอง มันไม่อาจเป็นไปตามปรารถนาของใคร ไม่มีใครคิดอยากบังคับมันได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของครอบครองมันได้จริง เพราะมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยไม่ใช่เป็นไปตามใจอยากของใคร เป็นอนัตตา รวมความว่า รู้เท่าทันสิ่งทั้งหลายว่าเป็นธรรมชาติ มีลักษณะความเป็นไปโดยทั่วไปเสมอเหมือนกันตามธรรมดาของมันในฐานะที่เป็นของปรุ่งแต่งเกิดจากเหตุปัจจัยและขึ้นต่อเหตุปัจจัยทั้งหลายเช่นเดียวกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2009, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีคิดแบบสามัญลักษณะแบ่งออกเป็น๒ขั้นตอน
ขั้นที่๑คือรู้เท่าทันลัยอมรับความจริง เป็นขั้นวางใจวางท่าที ต่อสิ่งทั้งหลายโดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นท่าที่แห่งปัญญา ท่าที่แห่งความเป็นอิสระ ไม่ถูกมัดตัว แม้เมื่อประสพสถานการณ์ที่ไม่ปรารถนาหรือมีเรื่องไม่น่าพึ่งใจเกิดขึ้นแล้ว คิดขึ้นได้ว่าสิ่งนั้นๆ เหตุการณ์นั้นๆ เป็นไปตามคติธรรมดา เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน คิดได้อย่างนี้ก็เป็นท่าที่แห่งการปลงตก ถอนตัวขึ้นได้ หายจากความทุกข์ หรืออย่างน้อยก็ทำให้ทุกข์นั้นบรรเทาลง หรือเมื่อประสพสถานการณ์มีเรื่องราวเช่นนั้นเกิดขึ้น เพียงตั้งจิตสำนึกขึ้นได้ในเวลานั้นว่า เราจะมองตามความเป็นจริง ไม่มองตามความอยากให้เป็นหรืออยากไม่ให้เป็น การที่จะเป็นทุกข์ก็ผ่อนคลายลงได้ทันที เพราะเปลื้องตัวเป็นอิสระได้ ไม่เอาตัวเข้าไปถูกกดถูกบีบ (ความจริงไม่สร้างตัวตนขึ้นถูกกดถูกบีบ)

ขั้นที่๒.คือแก้ไขและทำการไปตามเหตุปัจจัย เป็นขั้นปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายโดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นการปฏิบัติด้วยปัญญา ด้วยความรู้เท่าทัน เป็นอิสระ ไม่ถูกมัดตัว กล่าวคือเมื่อรู้อยู่แล้วว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยขึ้นต่อเหตุปัจจัย เราต้องการเป็นอย่างไร ก็ศึกษาให้รู้เข้าใจเหตุปัจจัยทั้งหลายที่ทำให้มันเป็นอย่างนั้น แล้วแก้ไข ทำการจัดการที่ตัวเหตุปัจจัยเหล่านั้น เมื่อทำเหตุปัจจัยพร้อมบริบูรณ์ที่จะให้มันเป็นอย่างนั้นแล้ว ถึงเราจะอยากหรือไม่อยาก มันก็ต้องเป็นไปอย่างนั้น เมื่อเหตุปัจจัยไม่พร้อมที่จะเป็น ถึงเราจะอยากหรือไม่อยาก มันก็ไม่เป็นอย่างนั้น กล่าวสั้นๆคือ แก้ไขที่ความรู้และแก้ไขที่ตัวเหตุปัจจัย ไม่ใช่แก้ด้วยความอยาก เพียงแต่กำหนดรู้ความอยากของตน และกำหนดรู้เหตุปัจจัย แล้วแก้ไข กระทำการที่เหตุปัจจัย เมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ ก็ถอนตัวเป็นอิสระได้ ไม่ถูกความอยากพาตัว(ความจริงคือสร้างตัว) เข้าไปให้ถูกกดถูกบีบ เป็นการปฏิบัติอย่างไม่ถูกมัดตัว เป็นอันว่าทั้งทำการ และทั้งปล่อยให้สิ่งทั้งหลายมันเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นวิธีปฏิบัติที่ทั้งได้ผลดีที่สุด และตนเองก็ไม่เป็นทุกข์ การปฏิบัติในวิธีแบบที่๓.ในขั้นที่๒นี้ สัมพันธ์กับวิธีคิดแบบที่๔ ซึ่งจะกล่าวข้างหน้า กล่าวคือ ใช้วิธีคิดแบบที่๔มารับช่วงต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2009, 07:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: ซักหน่อย กระทู้นี้สาระเยอะดี

โยนิโสมนสิการ เห็นให้ความหมายกันมากมาย :b12: ก็ถูกทั้งนั้นเลย เพราะโยนิโสเป็นชื่อรวมของ
การพิจารณาในรูปแบบต่างๆ ยกตัวอย่างง่ายๆ ในมหาสติปัฏฐานสูตร วิธีปฏิบัติทั้ง ๙ บรรพ จะว่าเหมือน
กันทั้งหมดโดยสิ้นเชิงก็หาไม่ จะว่าต่างกันโดยสิ้งเชิงก็ไม่ไช่ แต่ต้องยอมรับว่า วิธีปฏิบัติตามมหาสติ
ปัฏฐานสูตรนั้น ก็เป็นโยนิโสเหมือนกัน ตามหนังสือที่ท่านผู้มีความรู้แต่งกัน(ที่ยกตัวอย่างกันมา) ตามพระสูตรหรือคัมภีร์ที่อ้างอิงกันมาก็ไช่อีก
เหมือนกับคำว่า กรรมฐาน คำนี้ทั้งวิธีสมถะ ๔๐ และวิปัสสนา ก็จัดเป็นกรรมฐานทั้งนั้น แล้วมาแยกวิธีการ โยนิโสมนสิการก็เช่นเดียวกัน มาแยกวิธีใช้ในแต่ละแง่มุมและวิธีการ

อัตตโนมติ(ความรู้ของตัวผมเอง) บ้าง

โยนิโสมนสิการ ผมแปลแบบอิงแอบไปทางวิปัสสนาหน่อยนะครับ โยนิ-โส-มนสิการ ใด-นั้น-ทำในใจ
แปลรวมก็ว่า ทำไว้ในใจโดยความเป็นอย่างไร(ก็)อย่างนั้น หมายความคือ เห็นตามความเป็นจริงของ
สภาวะนั้นๆ เช่น เมื่อเดินอยู่ก็รู้ว่าเดินอยู่ คือรู้ว่าเดิน ไม่มีว่าเดินตรงหรือไม่ตรง เมื่อปัญญาแก่กล้าแล้ว
โยนิโสมนสิการนี้จะละเอียด คือเห็นโดยความเป็นอย่างไรก็อย่างนั้นละเอียดขึ้นไปอีก คือ จากปกติรู้อยู่
ว่า เมื่อเดินอยู่ก็รู้ว่าเดินอยู่ ละเอียดลงไปว่า จริงแล้ว เดินก็ไม่มี(เริ่มเพิกบัญญัติทิ้ง) แต่ที่เข้าใจว่าเดินนี้
แท้จริงมาจาก การยก การเลื่อนไป การเหยียบลง ของเท้า เดิน(โลกบัญญัติ)นี้ก็ไม่มี เมื่อได้เห็นตามความเป็นอย่างไรก็อย่างนั้นชัดเข้าละเอียดเข้า การยึดถือหยาบๆกฺเริมเบาลง ปัญญาเกิดขึ้น ก็จะเห็นตาม
ความเป็นอย่างไรก็อย่านั้นที่ละเอียดมากเข้าอีก คือเริ่มจะเห็นว่า แท้จริง ยกเท้า เลื่อนเท้า เหยียบเท้า ก็
ไม่มี แท้จริงแล้วเป็นสักว่าธาตุที่กระทบกันเข้า โดยการผลักดันของวาโยธาตุ(ลม)เป็นต้นเป็นผู้ผลักให้
เคลื่อนไปตามอาการต่างๆ เมื่อปฏิบัติ การมองโดยความเป็นอย่างใด(ไร)ก็อย่างนั้นละเอียดเข้าอีก ก็
มองเห็นอีกว่า แท้จริงแล้ว มีจิตที่เป็นเหตุให้ธาตุต่างๆทำการเคลื่อนไปตามอารมณ์ปรารถนา เมื่อมอง
ตามความเป็นอย่างไรก็อย่างนั้นชัดเข้าไปอีก ปัญญาก็เกิดอีก รู้ได้ว่า อาการที่เคลื่อนไหวต่างๆตาม
เหตุ(จิตที่ปรารถนาเป็นเหตุเคลื่อเท้า)และตามปัจจัย(ธาตุกระทบผลักดันการเคลื่อนไป)นั้น ยกก็ขาดไป
ไม่ถึงการเคลื่อนเท้า การเคลื่อนเท้าก็ขาดไป ไม่ถึงการเหยียบ การเหยียบก็ขาดไป ไม่ถึงการที่อีกเท้า
หนึ่งเริ่มยก ความไม่เที่ยงก็ปรากฏในสันดานให้รู้ว่า แต่ละสภาวะไม่มีตั่งอยู่ มีสภาวะที่ไม่ตั้งอยู่ และ
ไม่มีโลกบัญญัติตามความหมายของคำว่าเดิน รู้สามัญญะทั้ง ๓ คือ แปรเปลี่ยน ทนอยู่ไม่ได้ และไม่
ไช่ตัวตนตามโลกบัญญัติเลย เมื่อนั้นปัญญาปรากฏเลย สิ่งที่ผมเล่ามานี้ เกิดจากการที่ผมเจริญวิปัสสนา
กรรมฐาน แล้วประสบกับภาวะเหล่านี้ ตอนนั้นปีติเกิดขึ้นเลย ร้องไห้ตลอด ๓ วันที่ปฏิบัติอยู่ ดีใจที่เราได้
เห็นจริงๆแล้วว่ามันคืออะไร

นี้เป็นเพียงมติของผมเท่านั้น ในแต่ละแง่มุมของการประสบกับภาวะธรรมนั้นจะไม่เหมือนกัน ตามแต่การ
สั่งสมกันมาของแต่ละบุคคล แต่จัดว่าเป็นโยนิโสมนสิการเช่นเดียวกัน
ผมอนุมานว่า โยนิโสมนสิการ ก็คือการทำไว้ในใจโดยความเป็นอย่างไร(ก็)อย่างนั้น สรุปก็คือ การทำ
ไว้ในใจหรือการเห็นตามความเป็นจริงของเหตุปัจจัยให้เกิดสภาวะนั้นๆ

อนุโมทนาผู้ไฝ่ธรรมทุกท่านครับ ทุกท่านล้วนแต่นิยามมาชอบด้วยกันทุกท่าน

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2009, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ในการเจริญวิปัสสนา ตามประเพณีปฏิบัติซึ่งได้วางกันเป็นแบบแผนดังบรรยายไว้ในอรรถกถา ท่านถือหมวดธรรมคือวิสุทธิ๗เป็นแม่บท (รถวินีตสูตร,ม.มู๑๒/๒๙๒-๓๐๐/๒๘๗-๒๙๗) เอาลำดับญาณที่แสดงไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์เป็นมาตรฐาน (ญาณกถา,ขุ.ปฏิ.๓๑/๑/๑;๙๙-๑๑๑/๗๖-๘๒) และยึดวิธีจำแนกปรากฎการณ์โดยนามรูปเป็นข้อพิจารณาพื้นฐาน ตามหลักการนี้ท่านได้จัดทำข้อปฏิบัติคือการเจริญวิปัสสนานั้นเป็นระบบที่มีขั้นตอนแน่นอนต่เนื่องเป็นลำดับ และสำหรับวิธีคิด๓แบบที่กล่าวมาแล้วนี้ ท่ามก็นำเอาไปจัดเข้าเป็นขั้นตอนอยู่ในลำดับด้วย โดยจัดให้เป็นวิธีคิดวิธีพิจารณาที่ต่อเนื่องเป็นชุดเดียวกัน แต่ลำดับของท่านนั้นไม่ตรงกับลำดับข้อในที่นี้ทีเดียวนักกล่าวคือ (วิสุทธิ.๓/๒๐๖-๒๗๔;สงฺคห.๕๔-๕๕


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2009, 11:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ลำดับที่๑ ใช้วิธีแบบแยกแยะหรือวิเคราะห์องค์ประกอบ (วีที่๒) กำหนดแยกปรากฎการณ์ต่างๆเป็นนามธรรมกับรูปธรรม ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม จำพวกรูปมีอะไรบ้าง จำพวกนามมีอะไรบ้าง มีลักษณะมีคุณสมบัติอย่างไร เรียกว่าขั้นนามรูปปริเคราะห์บ้าง นามรูปววัตถานบ้าง นามรูปปริจเฉทบ้าง หรือสังขารปริเฉทบ้าง และจัดเป็นทิฏฐิวิสุทธิ(วิสุทธิที่๓) อย่างไรก็ตาม ความประสงค์ของท่านมุ่งเน้นให้กำหนดจับและรู้จักสภาวะหรือองค์ประกอบตามที่พบเห็น ตามที่เป็นอยู่ ว่าอย่างไหนเป็นนาม อย่างไหนเป็นรูป มากกว่าจะมุ่งเน้นให้แง่ของการพยายามแจกแจง
ลำดับที่๒ ใช้วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย(วิธีที่๑) พิจารณาหาเหตุปัจจัยของนามและรูป นั้นในแง่ต่างๆเช่น พิจารณาตามแนวปฏิจจสมุปบาท พิจารณาตามแนวอวิชชาตัญหาอุปาทานกรรมและอาหาร พิจารณาตามแนวการรับรู้ (เช่นจักขุวิญญาณอาศัยจักขุกับรูปารมณ์เป็นต้น) พิจารณาตามแนวกรรมวัฏฏ์วิปากวัฏฏ์ เป็นต้น ต่รวมความแล้วก็อยู่ในปฏิจจสมุปบาทนั้นเอง เป้นแต่แยกบางแง่ออกไปเน้นพิเศษ ข้อนี้เรียกว่า นามรูปปัจจัยปริคหะ หรือเรียกสั้นๆว่า ปัจจัยปริคคหะ(ปัจจัยปริเคราะห์) เมื่อทำสำเร็จเกิดความรู้ความเข้าใจก็เป็น ธรรมฐิติญาณ หรือยถาภูตญาณ หรือสัมมาทัสสนะ จัดเป้น กังขาวิตรณวิสุทธิ (วิสุทธิที่๔)
ลำดับที่๓ ใช้วิธีคิดแบรู้เท่าทันธรรมดา หรือวีคิดแบบสามัญลักษณ์(วิธีที่๓) นำเอานามรูปหรือสังขารนั้นมาพิจารณาตามหลักแห่งคติธรรมดาของไตรลักษณ์ ให้เห็นภาวะที่เป้นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ เป็นอนิจจัง ถูกปัจจัยขัดแย้งบีบคั้น เป็นทุกข์ ไม่มีไม่เป็นโดยตัวของมันเอง ใครๆเข้ายึดเป็นเจ้าของครอบครองบังคับด้วยความอยากไม่ได้ เป็นอนัตตา ขั้นนี้เรียกว่า สัมมสนญาณ เป็นตอนเบื้องต้นของ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ(วิสุทธิ๖)
ข้อความอ้างจากบาลี ซึ่งใช้วิธีคิดแบบที่๒ และแบบที่๓ พิจารณาไปพร้อมๆกัน ขอยกมาให้ดูเล็กน้อยเป็นตัวอย่าง
“ภิกษุทั้งหลายเธอจงมนสิการโดยแยบคาย(โยนิโสมนสิการ) ชึ่งรูป และจงพิจารณาเห็นอนิจจตาแห่งรูปตามความเป็นจริง....จงมนสิการโดยแยบคายซึ่งเวทนาและจงพิจารณาเห็นอนิจจตาแห่งเวทนาตามความเป็นจริง....จงมนสิการโดยแยบคายซึ่งสัญญาและจงพิจารณาเห็นอนิจจตาแห่งสัญญาตามความเป็นจริง....จงมนสิการโดยแยบคายซึ่งวิญญาณและจงพิจารณาเห็นอนิจจตาแห่งวิญญาณตามความเป็นจริง....(สํ.ข.๑๗/๑๐๔/๖๔)
ภิกษุผู้มีสุตะ พึงมนสิการโดยแยบคาย ซึ่งอุปาทานขันธ์๕ โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นของถูกปัจจัยบีบคั้น....โดยความเป็นของมิใช่อัตตา (สํ.ข.๑๗/๓๑๕/๒๐๕)

พุทธพจน์ต่อไปนี้ ป็นการคิดแบบสืบสาวหาเหตุ ต่อด้วยการคิดแบบสามัญลักษณะเพื่อวัตถุประสงค์แห่งการรู้เท่าทันตามความเป้นจริง
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง.... มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงมีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ....ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ อยู่เถิด; เมื่อ เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง....มีธรรมเป็นสรณะ....ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่ ก็พิจารณาโดยแยบคายว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวังคับแค้นใจทั้งหลาย เกิดจากอะไร มีอะไรเป็นแดนเกิด
“ภิกษุทั้งหลาย รูป....เวทนา....สัญญา.... สังขาร ...วิญญาณ เกิดจากอะไร มีอะไรเป็นแดนเกิด? (พึงเข้าใจดังนี้) ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ขาดสุตะ (ไม่ได้เรียนรู้) ไม่ได้พบเห็นอริยชนไม่ลาดฝึกอบรมในสัปปรุริธรรม ย่อมมองเห็นรูปเป็นตน มองเห็นตนมีรูป มองเห็นรูปในตน มองเห็นตนในรูป รูปเขานั้นผันแปรไป กลายเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวังคับแค้นใจย่อมเกิดแก่เขา เพราะการที่รูปแปรผันกลายเป็นอื่น; เขามองเห็น...เวทนา....สัญญา.... สังขาร ....วิญญาณเกิด(เป็นอัตตา เป็นต้นอย่างที่กล่าวแล้ว)....โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวังคับแค้นใจย่อมเกิดแก่เขา เพราะการที่....เวทนา....สัญญา.... สังขาร....วิญญาณ ผันแปรไปกลายเป็นอื่น

ส่วนภิกษุรู้ชัดว่ารูป....เวทนา....สัญญา.... สังขาร ...วิญญาณ เป็นสิ่งไม่เที่ยง แปรปรวนได้ จางหานดับสิ้นได้ มองเห็นตามเป้นจริงด้วยสามัญปัญญาอย่างนี้ว่า รูป....เวทนา....สัญญา.... สังขาร ...วิญญาณ ทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง ถูกปัจจัยบีบคั้น มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ทั้งในกาลก่อน ทั้งในบัดนี้ ก็เช่นเดียวกัน เธอย่อมละ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวังคับแค้นใจทั้งหลาย เพราะละโสกะเป็นต้นนั้นได้ เธอก็ไม่ต้องหวาดหวั่นเสียวใจ ย่อมอยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู้เป็นสุข เรียกว่า ตทังคนิพพานแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2009, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


๔.วิธีคิดแบบอริยสัจจ์ หรือคิดแบบแก้ปัญหา เรียกตามโวหารทางธรรมได้ว่า วิธีแห่งความดับทุกข์ จัดเป็นวิธีคิดแบบหลักอย่างหนึ่ง เพราะสามารถขยายให้ครอบคลุมวิธีคิดแบบอื่นๆ ไดัทั้งหมด บาลีที่พึงอ้างในข้อนี้มีความสั้นๆดังนี้
“ภิกษุย่อมมนสิการโดยแยบคาย(โยนิโสมนสิการ)ว่า ทุกข์คือดังนี้; ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า เหตุเกิดแห่งทุกข์คือดังนี้; ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า ความดับแห่งทุกข์คือดังนี้; ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์มีดังนี้; เมื่อเธอมนสิการโดยแยบคายอยู่อย่างนี้ สังโยชน์๓อย่างคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อถูกละเสียได้” (ม.มู.๑๒/๑๒/๑๖)

วีคิดแบบอริยสัจจ์นี้ มีลักษณะทั่วไป๒ประการคือ
๑)วีธีคิดตามเหตุและผล หรือเป็นไปตามเหตุและผล สืบสาวจากผลไปหาเหตุแล้วแก้ไข และทำการที่ต้นเหตุ จัดเป็น๒คู่คือ

คู่ที่๑; ทุกข์เป็นผล เป็นตัวปัญหา เป็นสถานการณ์ที่ประสพซึ่งไม่ต้องการ
สมุทัยเป็นเหตุ เป็นที่มาของปัญหา เป็นจุดที่ต้องกำจัดหรือแก้ไข จึงจะพ้นจากปัญหา
ได้
คู่ที่๒; นิโรธเป็นผล เป็นภาระสิ้นปัญหา เป็นจุดหมายซึ่งต้องการจะเข้าถึง
มรรคเป็นเหตุ เป็นวิธีการ เป็นข้อปฏิบัติที่ต้องกระทำในการแก้ไขสาเหตุ เพื่อบรรลุ
จุดหมายคือภาวะสิ้นปัญหาอันได้แกความดับทุกข์

๒)วิธีที่คิดตรงจุดตรงเรื่อง ตรงไปตรงมา มุ่งตรงต่อสิ่งที่จะต้องทำต้องปฏิบัติต้องเกี่ยวข้องของชีวิต ใช้แก้ปัญหา ไม่ฟุ้งซ่านออกไปในเรื่องฟุ้งเฟ้อที่สักว่าคิดเพื่อสนองตัญหามานะทิฏฐิ ซึ่งไม่อาจนำมาใช้ปฏิบัติไม่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2009, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย กามโภคี เมื่อ 19 มิ.ย. 2009, 19:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2009, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณกามโภคี

โยนิโสมนสิการต่อเลยครับ

ผมไม่ขัดจังหวะหละครับ

เจริญธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2009, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
คุณกามโภคี

โยนิโสมนสิการต่อเลยครับ

ผมไม่ขัดจังหวะหละครับ

เจริญธรรมครับ


โอ้... คงไม่ได้แล้ว รู้สึกเหมือนโดนติติงอย่างไรชอบกล :b32:
พยายามปรับกับหลักปริยัติให้เข้ากับปฏิบัติ ผมทำเสียมารยาทที่ไปอ้างอิงบทความของเขามาปรับ
ซึ่งจุดประสงค์ของการลงบทความนี้คงไม่ไช่ให้ปรับ หรือมีความเห็นในเชิงน้อมเข้าสู่กิริยาของการปฏิบัติ
ได้ คงต้องเบรคโยนิโสของผมไว้ก่อนดีกว่า :b9:
เพื่อผู้อ่านจะไม่ลำบากมาก ผมเข้าไปตัดความคิดเห็นของผมออกก่อนดีกว่านะครับ ท่านอื่นจะได้อ่านง่าย

อนุโมทนานะครับที่ท่านวิริยะอุตสาหะนำสิ่งดีๆมาเผยแผ่

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 05:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โอ้... คงไม่ได้แล้ว รู้สึกเหมือนโดนติติงอย่างไรชอบกล
พยายามปรับกับหลักปริยัติให้เข้ากับปฏิบัติ ผมทำเสียมารยาทที่ไปอ้างอิงบทความของเขามาปรับ
ซึ่งจุดประสงค์ของการลงบทความนี้คงไม่ไช่ให้ปรับ หรือมีความเห็นในเชิงน้อมเข้าสู่กิริยาของการปฏิบัติ
ได้ คงต้องเบรคโยนิโสของผมไว้ก่อนดีกว่า
เพื่อผู้อ่านจะไม่ลำบากมาก ผมเข้าไปตัดความคิดเห็นของผมออกก่อนดีกว่านะครับ ท่านอื่นจะได้อ่านง่าย

อนุโมทนานะครับที่ท่านวิริยะอุตสาหะนำสิ่งดีๆมาเผยแผ่



ท่านกามโภคี

:b8: :b8: :b8:

ผมกราบขออภัยในความผิดผมครั้งนี้

ต่อไปจะตั้งสติมิให้เกิดขึ้น

เกิดความเข้าใจผิดต่อผู้อื่นอีกครับ

:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 95 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร