วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 05:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคล ๗ จำพวก


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0

[๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๗ จำพวกเป็นไฉน

คืออุภโตภาควิมุตบุคคล ๑
ปัญญาวิมุตบุคคล ๑
กายสักขีบุคคล ๑
ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑
สัทธาวิมุตบุคคล ๑
ธัมมานุสารีบุคคล ๑
สัทธานุสารีบุคคล ๑.




[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติล่วงรูปสมบัติ ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา บุคคลนี้เรากล่าวว่า อุภโตภาควิมุตบุคคล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่
ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.




[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาวิมุตบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่าปัญญาวิมุตบุคคล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อมไม่มีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.




[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายสักขีบุคคลเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ และ อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา บุคคลนี้เรากล่าวว่ากายสักขีบุคคล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉน ท่านผู้นี้ เมื่อเสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่าที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองได้ในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้





[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นธรรมอันผู้นั้นเห็นแจ้งด้วยปัญญาประพฤติดีแล้ว บุคคลนี้เรากล่าวว่า ทิฏฐิปัตตบุคคล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้
เสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำซึ่งที่สุพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้





[๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธาวิมุตบุคคลเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา อนึ่ง ความเชื่อในพระตถาคตของผู้นั้นตั้งมั่นแล้ว มีรากหยั่งลงมั่นแล้ว บุคคลนี้เรากล่าวว่าสัทธาวิมุตบุคคล

ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่ากิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะอันสมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้จึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.




[๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธัมมานุสารีบุคคลเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมควรซึ่งความพินิจ โดยประมาณด้วยปัญญาของผู้นั้น อีกประการหนึ่งธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้นบุคคลนี้เรากล่าวว่า ธัมมานุสารีบุคคล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนี้เพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควรคบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึง
กล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.





[๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธานุสารีบุคคลเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา อนึ่ง ผู้นั้นมีแต่เพียงความเชื่อความรักในพระตถาคต อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เรากล่าวว่า สัทธานุสารีบุคคล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ จึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อมมีแก่ภิกษุนี้.



จาก อรรถกถา

อุภโตภาควิมุต

ในบทเหล่านั้น
บทว่า อุภโตภาควิมุตฺโต คือ ผู้พ้นโดยส่วนสอง. พ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ ๑ พ้นจากนามกายด้วยมรรค ๑.
บุคคลนั้นออกจากสมาบัติอย่างหนึ่งๆ แห่งอรูปสมาบัติ ๔ พิจารณาถึงสังขารแล้วออกจากนิโรธของบุคคล ๔ จำพวกผู้บรรลุพระอรหัต
เป็นบุคคล ๕ จำพวกด้วยสามารถแห่งพระอนาคามีผู้บรรลุพระอรหัต.

อนึ่ง บาลีในบทนี้มาแล้วด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ได้วิโมกข์ ๘ ในอภิธรรมอย่างนี้ว่า ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นอริยสัจธรรมนั้นด้วยปัญญาดังนี้.


ปัญญาวิมุต

บุคคลชื่อว่า ปัญญาวิมุต เพราะพ้นด้วยปัญญา.

ปัญญาวิมุตบุคคลนั้นมี ๕ ด้วยสามารถแห่งบุคคลเหล่านี้ คือ
เป็นสุกขวิปัสสก ๑
ผู้ออกจากฌาน ๔ แล้วบรรลุพระอรหัตอีก ๔
แต่บาลีในบทนี้มาแล้วด้วยสามารถการปฏิเสธวิโมกข์ ๘.

เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็บุคคลนั้นแลหาได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ไม่. อาสวะของเขาสิ้นไปแล้วเพราะเห็นอริยสัจธรรมนั้นด้วยปัญญา. บุคคลนี้เรากล่าวว่าปัญญาวิมุตบุคคล.



และ กายสักขี

บุคคลชื่อ กายสักขี เพราะทำให้แจ้งธรรมที่ถูกต้องแล้วนั้น.

บุคคลใดถูกต้องผัสสะคือฌาน เป็นครั้งแรก ภายหลังจึงทำให้แจ้งนิพพานอันเป็นความดับสนิท พึงทราบบุคคลนั้นมี ๖ ตั้งต้นแต่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลจนถึงบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ อาสวะบางเหล่าของบุคคลนั้นสิ้นไป เพราะเห็นอริยสัจธรรมนั้นด้วยปัญญา. บุคคลนี้เรากล่าวว่ากายสักขีบุคคล


.............................................


ประเด็น ความเห็นที่แตกต่างกัน มันอยู่ตรง กายสักขี

ในระดับพระสูตร กายสักขี ก็นับเนื่อง ตั้งแต่ "ผู้บรรลุโสดาปัตติผล จนถึง อนาคามีผล"(รวมได้หก คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามีมรรค สกิทาคามีผล อาคามีมรรค อนาคามีผล อรหััตตมรรค...ในพระสูตรบรรยายด้วยคำว่า อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป) ที่ บรรลุอรูปฌาน(ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่) ....ซึ่้ง ถ้าบรรลุอรหัตตผล ก็จะเป็น อุภโตภาควิมุต(เจโตวิมุต)

ส่วน ผู้บรรลุโสดาปัตติผล จนถึง อนาคามีผล(รวมได้หก คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามีมรรค สกิทาคามีผล อาคามีมรรค อนาคามีผล อรหััตตมรรค) ที่ไม่บรรลุอรูปฌาน(ไม่ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่) ก็จะ จัดแบ่งเป็นสอง คือ สัทธาวิมุต และ ทิฏฐิปัตตะ .....ซึ่้ง ถ้าบรรลุอรหัตตผล ก็จะเป็น ปัญญาวิมุต



แต่ มีคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลบางเล่ม ตีความว่า แม้นบรรลุเพียงรูปฌาน ก็จัดเป็นกายสักขีแล้ว

และ มีผู้เข้าใจว่า การบรรลุเพียงรูปฌาน ก็นับว่าจัดเป็น"ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่"แล้ว

(มีความเห็นที่แตกต่างกันตรงคำว่า "อรูปสมาบัติล่วงรูปสมาบัติ นี้ด้วย)

ช่วงบ่ายๆ ผมจะมาเสนอประเด็นนี้เพิ่ม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เสนออ่าน จาก พุทธธรรม หน้า ๓๓๒

http://www.freewebs.com/pdfbuddadharma/chap9%20sec2.pdf

ท่านสรุปประมวล "สมถะยานิก-วิปัสสนายานิก" เทียบกับ "เจโตวิมุต-ปัญญาวิมุต" ไว้ดังนี้


".....พระสมถะยานิก เมื่อสำเร็จอรหัตตผลเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านจัดแยกเป็น๒ประเภท คือ พระปัญญาวิมุต และ พระอุภโตภาควิมุต .
ท่านที่ได้ฌานสมาบัติเพียงชั้นรูปฌาน คือไม่เกินจตุตฌานเป็นปัญญาวิมุต.
ท่านที่ได้อรูปฌานขั้นใดขั้นหนึ่งตลอดถึงได้สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นอุภโตภาควิมุต.



ส่วน พระวิปัสสนายานิก เป็นพระอรหันต์ได้แต่ประเภทปัญญาวิมุตอย่างเดียว. และ ในชั้นอรรถกถา ท่านบัญญัติชื่อให้เป็นพิเศษ เรียกว่า พระสุกขวิปัสสก เป็นอันดับสุดท้ายในหมู่พระปัญญาวิมุต..."




ผม ขอเสนอให้สังเกตุ ว่า

ปัจจุบัน
คนส่วนใหญ่จะมีความเข้าใจคำว่า พระอรหันต์ปัญญาวิมุตจำกัดเฉพาะที่มาจากทางวิปัสสนายานิก เท่านั้น.... ไม่เชื่อว่า มีพระอรหันต์ปัญญาวิมุตที่มาจากทางสมถะยานิก(ที่ได้รูปฌาน)ด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เกี่ยวกับ กายสักขี

ในหนังสือพุทธธรรม หน้า291

"5.กายสักขี (ผู้เป็นพยานด้วยนามกาย หรือ ผู้ประจักษ์กับตัว) ได่แก่ ผู้ที่ได้สัมผัสวิโมกข์8ด้วยกาย และ อาสวะบางส่วนก็สิ้นไป เพราะเห็น(อริยสัจจ์)ด้วยปัญญา (หมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตตผล ที่สมาธินทรีย์แรงกล้า; ท่านผู้นี้ ถ้าบรรลุอรหัตตผลกลายเป็นอุภโตภาควิมุต)

และ ในหน้า291 ตรงส่วนล่างใต้เส้น บันทึกเพิ่ม

"....5.กายสักขีบุคคล ได้แก่ผู้สัมผัสด้วยกายซึ่งวิโมกข์อันละเอียด คือ เลยรูปสมาบัติไปเป็นอรูปสมาบัติ และ อาสวะบางส่วนของเธอก็สิ้นไป เพราะเห็น(อริยสัจจ์)ด้วยปัญญา...."

ปล... สังเกตุ ท่านเจ้าคุณๆ ท่านใช้คำๆนี้"เลยรูปสมาบัติไปเป็นอรูปสมาบัติ" บรรยายคำในพระสูตรที่ว่า "ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติล่วงรูปสมาบัติ"




ส่วนคำว่า " ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติล่วงรูปสมาบัติ" จากในพระสูตร
ความหมายเดียวกับ สัมผัสวิโมกข์ ได้วิโมกข์ ......
มีคำอธิบาย ที่ละเอียด ในหนังสือพุทธธรรม หน้า290

"ในทางปฏิบัติ อินทรีย์จะมาสัมพันธ์กับวิโมกข์ดังนี้ คือ เมื่อเริ่มปฏิบัติผู้ปฏิบัติจะมีสัทธินทรีย์ หรือ ปัญญินทรีย์ อย่างใดอย่างหนึ่งแรงกล้าเป็นตัวนำ. ถ้าผู้นั้นไปบำเพ็ญสมถะจนได้วิโมกข์ ก็จะเปลี่ยนไปเป็นสมาธินทรีย์เป็นตัวนำ. ที่ว่าได้วิโมกข์ในที่นี้ หมายถึง วิโมกข์4ขึ้นไป(คือ ได้ถึงอรูปฌาน)

ส่วนผู้ที่ยังคงมีสัทธินทรีย์ หรือ ปัญญินทรีย์ เป็นตัวนำ ก็อาจได้ถึงรูปฌานที่4 แต่ไม่สามารถได้อรูปฌาน พูดคลุมๆว่า ไม่อาจได้วิโมกข์...."




นำมาเสนอ เพราะ เคยเห็นมีผู้แปลคำว่า "ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติล่วงรูปสมาบัติ" ว่า "บรรลุเพียงรูปฌาน ก็นับว่า ได้วิโมกข์แล้ว!!!"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2009, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตร ตรัสแสดงบุคคล๔จำพวก

มีบางท่าน เห็นว่า อธิบาย พระอรหันต์ปัญญาวิมุต และ พระอรหันต์เจโตวิมุต(อุภโตถาควิมุต)

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/i ... agebreak=0

สมาธิสูตรที่ ๑

[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ

บุคคลบางคนในโลกนี้ มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑

บุคคลบางคนในโลกนี้ มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แต่ไม่ได้ความสงบใจในภายในจำพวก ๑

บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑

บุคคลบางคนในโลกนี้ มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำ
พวก ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ




ประเด็นคือ มีผู้เข้าใจว่า

" บุคคลบางคนในโลกนี้ มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แต่ไม่ได้ความสงบใจในภายในจำพวก ๑"
หมายถึง พระอรหันต์ประเภทปัญญาวิมุต ....

เพราะเขาเชื่อว่า พระอรหันต์ปัญญาวิมุตไม่เคยผ่านฌานจิตแม้นแต่ขณะบรรลุอรหัตตผล
และ การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า นั้นหมายถึงสามารถบรรลุอรหัตตผลด้วยวิปัสสนา(อธิปัญญา)อย่างเดียว แล้วจึงไปฝึกฌานภายหลังบรรลุอรหัตตผล นั่นเอง.


เสนออ่าน มีอธิบาย พระสูตรนี้ ต่อใน

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/i ... agebreak=0

สมาธิสูตรที่ ๒

และ มีรายละเอียดมากขึ้นใน

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/i ... agebreak=0

สมาธิสูตรที่ ๓

[๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แต่ไม่ได้ความสงบใจในภายในจำพวก ๑

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในบุคคลเหล่านั้น
บุคคลผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม พึงเข้าไปหาบุคคลผู้มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แล้วถามอย่างนี้ว่า พึงเห็นสังขารอย่างไรหนอ พึงพิจารณาสังขารอย่างไร พึงเห็นแจ้ง
สังขารได้อย่างไร
ผู้ถูกถามนั้นย่อมตอบเขาตามความเห็น ความรู้ว่า พึงเห็นสังขารได้อย่างนี้แล พึงพิจารณาสังขารอย่างนี้ พึงเห็นแจ้งสังขารอย่างนี้
สมัยต่อมา เขาเป็นผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แต่ไม่ได้ความสงบใจในภายใน พึงเข้าไปหาบุคคลผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน แล้วถามอย่างนี้ว่า พึงตั้งจิตไว้อย่างไร พึงน้อมจิตไปอย่างไร พึงทำจิตให้มีอารมณ์เดียวเกิดขึ้นได้อย่างไร พึงชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างไร
ผู้ถูกถามนั้นย่อมตอบเขาตามความเห็น ความรู้ว่า พึงตั้งจิตไว้อย่างนี้พึงน้อมจิตไปอย่างนี้ พึงทำจิตให้มีอารมณ์เดียวเกิดขึ้นอย่างนี้ พึงชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างนี้ สมัยต่อมาเขาเป็นผู้มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม ทั้งได้ความสงบใจในภายใน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้ไม่มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม พึงเข้าไป
หาบุคคลผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แล้วถามอย่างนี้ว่า พึงตั้งจิตไว้อย่างไรหนอ พึงน้อมจิตไปอย่างไรพึงทำจิตให้มีอารมณ์เดียวเกิดขึ้นอย่างไร พึงชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างไรพึงเห็นสังขารนั้นได้อย่างไร พึงพิจารณาสังขารอย่างไร พึงเห็นแจ้งสังขารอย่างไร
ผู้ถูกถามนั้นย่อมตอบเขาตามความเห็น ความรู้อย่างนี้ว่า พึงตั้งจิตไว้อย่างนี้ ฯลฯพึงเห็นแจ้งสังขารอย่างนี้
สมัยต่อมา เขาเป็นผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้มีปกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม พึงตั้งอยู่ใน
กุศลธรรมเหล่านั้นแหละ แล้วกระทำความเพียรให้ยิ่ง เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลกนี้ ฯ



.................................

ความเห็นส่วนตัวน่ะครับ

พระสูตรทั้งสามนี้ อธิบาย ผู้ที่กำลังเพียรเจริญสมถะ-วิปัสสนา แต่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล คือ ครอบคลุมทั้ง

ประเภทที่1 คือ ปุถุชนผู้ที่ได้ความสงบใจในภายใน(โลกียฌาน) แต่ยังไม่ได้อธิปัญญา คือ ยังไม่เข้าเขตโลกุตระ

ประเภทที่2 คือ พระเสขะบุคคล(ได้อธิปัญญา)แล้ว แต่ ยังไม่ได้ความสงบใจในภายใน(สมาธิสูตรที่๓ อธิบายว่า หมายถึง ความมีอารมณ์เดียว หรือ เอกัคคตาจิต)

ประเภทที่3 คือ ปุถุชนที่กำลังเพียรเจริญสมถะ-วิปัสสนาอยู่ แต่ยัง ไม่ได้ทั้งความสงบใจในภายใน(โลกียฌาน) และ ไม่ได้อธิปัญญา คือ ยังไม่เข้าเขตโลกุตระ.

ประเภทที่4 คือ พระเสขะบุคคลที่บรรลุเอกัคคตาจิตแล้ว แต่ ท่านยังไม่จบกิจในพระศาสนา(ในพระสูตร กล่าวว่า "แล้วกระทำความเพียรให้ยิ่ง เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย " คือ ยังไม่บรรลุอรหัตตผล)



ปล...

พึงสังเกตุคำว่า ความสงบใจในภายใน ...คำๆนี้ พระบาลีใช้ว่า " อชฺฌตฺตํ เจโตสมถสฺส " หรือ เจโตสมถะ ที่เป็นไปด้วยดีภายใน นั่นเอง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 85 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร