วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2009, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าไม่เคยสอน กรรมฐาน หรือ กัมมัฏฐาน???

--------------------
:b8: :b8: :b8:

ในพระไตรปิฎกภาษาไทย

มีการใช้คำว่า.....
สมถกัมมัฏฐาน
วิปัสสนากัมมัฏฐาน
อสุภกัมมัฏฐาน
อานาปานสติกัมมัฏฐาน
.........

แต่ในบาลีสยามรัฐใช้ว่า

อสุภาย จิตฺตํ ภาเวหิ
อานาปานสฺสตึ ภาเวนฺโต
อานาปานสฺสตึ พหุลีกโรนฺโต
--------------------------------

มีคำว่ากัมมัฏฐาน ในพระสูตรเดียว ที่พูดกับมาณพ โดยแปลว่า ที่ตั้งแห่งการงาน ไม่เกี่ยวกับการภาวนาเลย

------------------------------
จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่า คำว่ากัมมัฏฐาน (กรรมฐาน) ที่มีในพระไตรปิฎกภาษาไทย เป็นการเติมและ ผิดเพี้ยนจากการแปลภาษา นะครับ

------------------------------
ท่านผู้รู้ทั้งหลาย พิจารณาแล้ว มีความคิดเห็นอย่างไร กรุณาชี้แนะด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2009, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พระพุทธเจ้าไม่เคยสอน กรรมฐาน หรือ กัมมัฏฐาน


:b8: เดี๋ยวก็รู้เองว่าใครจะขี่ม้าขาวมาตอบ :b8:
ถามต่อไปอีกหน่อยก็แล้วกันนะ
:b32: มาตอบเร็วๆ ด้วยนะ อยากทราบเหมียนกันและก็ช่วยยกพระสูตรในพระไตรปิฎกมาเทียบเคียงกล่าวอ้างด้วยว่า สอนไว้ตรงไหนว่าให้นั่ง เรียงกันเป็นแถว ๆ ในห้องแอร์บ้าง ในที่สบาย ๆ บ้าง และเวลาใครตดเสียงดังลั่นและเหม็นด้วยเพราะกลั้นไม่ไหว คนนั่งใกล้ ๆ จิตก็เกิดโทสะอย่างแรง และเกิดความข่มจิตใจให้ยอมรับได้หรือไม่ได้กับ สัญญานแบบนี้ ทั้งสองคนจะได้บุญปนบาปต่อกันหรือไม่ อย่างไร ช่วยตอบให้หน่อยนะ :b8: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2009, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 13:03
โพสต์: 13

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อพระพุทธเจ้าสอนกรรมฐาน / โดยคุณ ไชย ณ พล ในหนังสือเล่มนั้นมีข้อมูลที่คุณต้องการรู้ทั้งนั้น ว่าพระองค์สอนตอนไหน อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่เท่าไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2009, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าสอน ตั้งแต่บาลียังไม่อักขระ
พ่อขุนรามก็เพื่อจะเกิดหลังพระพุทธเจ้าถึง 1800 ปี
พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนเรื่อง Meditation (ไม่เคยใช้คำว่า Meditation)


พวกบ้าตัวหนังสือและถือดีมันจะมีโรคอย่างนี้แหละ
คือสงสัยบัญญัติจนวันตาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2009, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


BlackHospital เขียน:
พระพุทธเจ้าไม่เคยสอน กรรมฐาน หรือ กัมมัฏฐาน???


ชื่อกระทู้นี้น่าจะใช้คำนี้ครับ พระพุทธเจ้าไม่เคยใช้คำว่ากรรมฐาน หรือ กัมมัฏฐาน เลย จะดีกว่าครับ
เพราะสังเกตจากคำสรุปกระทู้ที่ตั้งมาว่า "จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่า คำว่ากัมมัฏฐาน (กรรมฐาน) ที่มีในพระไตรปิฎกภาษาไทย
เป็นการเติมและ ผิดเพี้ยนจากการแปลภาษา นะครับ
"
ผมเข้าใจว่าผู้ตั้งมุ่งหมายเอาที่คำที่ใช้ในคัมภีร์มากกว่าความหมายที่เข้าใจกันทั่วไป


BlackHospital เขียน:
ในพระไตรปิฎกภาษาไทย

มีการใช้คำว่า.....
สมถกัมมัฏฐาน
วิปัสสนากัมมัฏฐาน
อสุภกัมมัฏฐาน
อานาปานสติกัมมัฏฐาน
.........

แต่ในบาลีสยามรัฐใช้ว่า

อสุภาย จิตฺตํ ภาเวหิ
อานาปานสฺสตึ ภาเวนฺโต
อานาปานสฺสตึ พหุลีกโรนฺโต
--------------------------------

มีคำว่ากัมมัฏฐาน ในพระสูตรเดียว ที่พูดกับมาณพ โดยแปลว่า ที่ตั้งแห่งการงาน ไม่เกี่ยวกับการภาวนาเลย

------------------------------


เรื่องนี้เป็นเรื่องของการใช้ภาษาให้เหมาะแก่การศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนครับ คำว่ากรรมฐานหรือกัมมัฏฐาน ใด้เริ่มใช้ในคราวทำ
สังคายนาครั้งที่ ๑ คือได้รวบรวมเรื่องการปฏิบัติทางจิตของคำสอน แล้วก็จัดหมวดหมู่เรื่องนี้ไว้ โดยตั้งชื่อว่า "กรรมฐาน ๒" หรือ
"กัมมัฏฐาน ๒" นัยว่า ที่ตั้งแห่งการงาน(ของจิต) หรือ ที่ควรแก่การงานของจิต แล้วท่านสังคายนาจารย์ก็แบ่งการกระทำแบบนี้เป็น ๒
หมวดคือ สมถะ และ วิปัสสนา เมื่ออยู่ในหมวดชื่อกรรมฐาน ๒ ที่ตั้งขึ้นมา ก็ใช้คำว่า "กรรมฐาน" หรือ "กัมมัฏฐาน" ต่อท้าย จากนั้นท่าน
สังคายนาจารย์ก็ได้แยกอีกว่า สมถะในหมวดกรรมฐานหรือกัมมัฏฐานนั้นมี อะไร เท่าไร ได้ข้อสรุปว่ามี ๔๐ อย่าง มีการเจริญอสุภะ เป็นต้น
เวลาพูดถึงวิธีการทำเช่นนี้ท่านก็จะเติมคำว่ากรรมฐานหรือกัมมัฏฐานต่อท้ายไป ส่วนการเจริญปัญญาหรือทำให้เรืองปัญญาท่านก็ใส่คำว่า
กรรมฐานหรือกัมมัฏฐานต่อท้ายไปเช่นกัน
อนึ่งพึงดูที่คำบาลีว่า
อสุกาย จิตฺตํ ภาเวหิ แปลว่า ยังจิตให้เจริญด้วยอสุภะ
อานาปานสฺสตึ ภาเวนฺโต แปลว่า ยังอานาปานะสติให้เจริญอยู่
อานาปานสฺสตึ พหุลีกโรนฺโต แปลว่า กระทำให้มากอยู่ซึ่งอานาปานะสติ

๒ ข้อหลังพอเข้าใจ แต่ข้อแรกนั้นทางภาษาดูกระด้างไป คนแรกศึกษาเข้าใจได้ยาก ก็จะสับสน ลองเปลี่ยนใหม่ว่า ยังจิตให้เจริญด้วยอสุภะกรรมฐาน คนที่อ่านหรือฟังเข้าใจได้ง่ายว่า หมายถึงการทำกรรมฐานข้ออสุภะ ในบาลีนั้นไม่ไช่แค่คำพวกนี้เท่านั้น เช่นคำว่า ภาเวนฺโต หรือ คำว่า ภาเวหิ รากศัพท์แปลว่า มี หรือ เป็น เลือกแปลอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ที่พบมากจะแปลว่า เจริญ ทั้งนี้ก็จะมีความหมายเดียวกัน
ท่านสังคายนาจารย์ท่านเล็งเห็นประโยชน์ว่า หากไม่จัดเป็นหมวดหมู่มีชื่อเรียกจำเพาะไป คำสอนก็จะกระจัดกระจายยากแก่การศึกษาและทรงจำ ยิ่งในสมัยนั้นต้องทรงจำด้วยการท่องด้วยปากเรียกว่ามุขปาฐะ(แม้จะมีภาษา
เขียนแล้วอยู่บ้างก็ตาม) การศึกษาก็จะสับสนปนเปกันไม่รู้ว่าอะไรจัดในข้อไหน เรียนธรรมะอยู่ดีๆ วินัยมาแทรก
อยู่ๆก็อ้างอภิธรรม ก็จะงงกัน และการทรงจำสมัยนั้นก็ใช้วิธีท่องจำ เลยแบ่งเป็นหมวดว่า นี้หมวดอะไร มีเท่าไร
อะไรบ้าง จากนั้นก็ให้ผู้รับผิดชอบท่องจำไปส่งทอดบอกแก่ศิษย์ของตนเองท่องจำสืบๆกันมา เหล่านี้ล้วน
มาจากการทำสังคายนาทั้งสิ้น คำว่ากรรมฐาน หรือ กัมมัฏฐาน ก็จัดเป็นชื่อหมวดที่นิยมใช้กัน
ข้อนี้จะขัดกันหรือไม่กับคำสั่งสอน ในความเข้าใจผม ผมว่าไม่ขัดเลยซักนิดเดียว อีกทั้งยังง่ายต่อการใช้ภาษาอีก เพราะคำว่ากรรมฐานหรือ
กัมมัฏบานนั้น เข้าใจได้ว่าหมายถึงการปฏิบัติทางจิตหรือการกระทำที่มีผลทางจิตอย่างใดอย่างหนึ่งในกรรมฐาน ๔๐ และวิปัสสนา เคยมีผู้ถามว่าไปวัดไปทำไม ถ้าเราตอบว่าไปทำอสุภะ หรือไปทำกายคตาสติ ลองนึกดูครับว่า
ชัดไหม ลองเทียบกับคำตอบนี้ซิครับ ไปวัดไปทำกรรมฐาน เท่านี้ก็เข้าใจได้ง่ายกว่า
สาเหตุที่พระสังคายนาจารย์ท่านเรียบเรียงร้อยกรองใหม่ ไม่ไช่ท่านคิดว่าพระพุทธเจ้าตรัสไม่เป็นหมวดหมูนะครับ แต่วิธีที่พระพุทธเจ้า
ทรงเทศนานั้น พระองค์ตรัสสอนตามจริต นิสัย เหมาะแก่กาลสมัย บุคคล ในที่ประชุมนั้นๆ บางข้อเลยมีแสดงไว้เดี่ยวๆ ไม่แสดงหลายนัยหรือทุกนัย พระสังคายนาจารย์ท่านวินิฉัยว่าข้อนี้จัดเข้าลักษณะนี้ก็จัดไว้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน จากนั้นเสนอสังฆ์เป็นญัติในที่สังคายนาสงฆ์มีมติพ้องกันว่าไช่ ก็จำกันมา(พระสงฆ์ ๕๐๐ รูป,สัตตบรรณคูหา) ฝ่ายเราในประเทศไทยถือตามแบบนี้ก็จัดเป็นเถรวาท(เถระกล่าว)ก็ใช้กันมาแบบนี้ ความหมายก็เข้าใจ
แบบนี้ และท่านแปลกันก็แปลเพราะอนุเคราะห์ทางภาษา ธรรมดาเมื่อแปลลงสู่ภาษาไทย ก็ควรที่ต้อง
ให้เข้าใจความหมายง่ายที่สุด โดยที่รักษาความหมายไว้ให้มากส่วนเรื่องภาษานั้นปกติมีว่า เป็นของชาติใดก็ใช้ได้ครบกับภาษานั้น


BlackHospital เขียน:
จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่า คำว่ากัมมัฏฐาน (กรรมฐาน) ที่มีในพระไตรปิฎกภาษาไทย เป็นการเติมและ ผิดเพี้ยนจากการแปลภาษา นะครับ

------------------------------
ท่านผู้รู้ทั้งหลาย พิจารณาแล้ว มีความคิดเห็นอย่างไร กรุณาชี้แนะด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:


ถูกครับ เป็นการเติม ส่วนเรื่องผิดเพี้ยนนั้นก็ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม แต่มุ่งเจตนาดังที่ผมแสดงความเห็นไว้แล้ว ไม่ไช่เพื่อให้เข้าใจผิดไปจากหลักธรรมคำสอนเดิมและความหมายเปลี่ยนไป

ขออนุโมทนาที่เข้าใจสังเกตเรื่องภาษาครับ คนฉลาดต้องเลือกที่จะอ่านและทำความเข้าใจ โดยเฉพาะคำสั่งสอนทางศาสนานั้นสำคัญมาก
ที่ต้องเข้าใจ ไม่ไช่สำคัญที่จำได้มากหรือน้อย ผมเองก็เป็นคนมีนิสัยสงสัยเช่นนี้เหมือนกัน ทุกวันนี้กรรมตามทันเลยเพราะสงสัยมาก
การศึกษาคัมภีร์ทางศาสนาของผมต้องกลุ้มใจกว่าคนธรรมดา เนื่องจากผมต้องอ่านภาคบาลีประกอบเสมอ อ่านมาอ่านไปสงสัยศัพท์อีก
ต้องค้นหาความหมายเดิมของภาษา วุ่นวายไป กระทั้งอ่านคำสอนของพระต่างๆ ก็มักจะนำมาเทียบกับคำสอนหลักในพระไตรปิฎก ทำให้
วุ่นวายไปอีกที่ต้องเทียบเคียง เสียเวลาปฏิบัติไปมากพอดู ทั้งที่จริงท่านเหล่านั้นท่านเจตนาดีที่สุด

ขออนุโมทนาครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2009, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


คามินธรรม เขียน:
พระพุทธเจ้าสอน ตั้งแต่บาลียังไม่อักขระ
พ่อขุนรามก็เพื่อจะเกิดหลังพระพุทธเจ้าถึง 1800 ปี
พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนเรื่อง Meditation (ไม่เคยใช้คำว่า Meditation)


ภาษาบาลีไม่มีตัวหนังสือเป็นของตัวเองครับ เป็นภาษาพูด แต่ที่น่าพิศวงอย่างยิ่งคือ ภาษาบาลีสามารถนำ
อักษรหรือตัวหนังสือภาษาอื่นๆ เช่นไทย มาเขียนให้เข้ากับไวยากรณ์ของภาษาบาลีเองได้ ถึงดัดแปลงบ้างก็เล็กน้อย

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2009, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
อ้างคำพูด:
ขออนุโมทนาที่เข้าใจสังเกตเรื่องภาษาครับ คนฉลาดต้องเลือกที่จะอ่านและทำความเข้าใจ โดยเฉพาะคำสั่งสอนทางศาสนานั้นสำคัญมาก
ที่ต้องเข้าใจ ไม่ไช่สำคัญที่จำได้มากหรือน้อย ผมเองก็เป็นคนมีนิสัยสงสัยเช่นนี้เหมือนกัน ทุกวันนี้กรรมตามทันเลยเพราะสงสัยมาก
การศึกษาคัมภีร์ทางศาสนาของผมต้องกลุ้มใจกว่าคนธรรมดา เนื่องจากผมต้องอ่านภาคบาลีประกอบเสมอ อ่านมาอ่านไปสงสัยศัพท์อีก
ต้องค้นหาความหมายเดิมของภาษา วุ่นวายไป กระทั้งอ่านคำสอนของพระต่างๆ ก็มักจะนำมาเทียบกับคำสอนหลักในพระไตรปิฎก ทำให้
วุ่นวายไปอีกที่ต้องเทียบเคียง เสียเวลาปฏิบัติไปมากพอดู ทั้งที่จริงท่านเหล่านั้นท่านเจตนาดีที่สุด

นิสัยเดียวกันเลย แต่ไม่แมวฯ ไม่กลุ้มค่ะ
สนุกที่จะค้นคว้าเทียบเคียงเสมอ เพราะชอบอ่านมาตั้งแต่เด็กๆ
เหมือนรู้ว่ายังโง่อยู่ที่ต้องเสียท่าอวิชชา พลาดมาเกิดอีกจนได้ชาตินี้นะเรา
เลยมีจริตชอบศึกษาหาปัญญาใส่ตัวมาเรื่อยๆ ค่ะ

ปฏิบัติไป ค้นหาไป คือทำไปด้วยกันทั้ง สองทางค่ะ
ก็เวลาตั้ง 24 ชม. กลางวันอ่านหนังสือ กลางคืนก็ปฏิบัติ

:b53: :b53: :b53:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2009, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


BlackHospital เขียน:
พระพุทธเจ้าไม่เคยสอน กรรมฐาน หรือ กัมมัฏฐาน???

--------------------
:b8: :b8: :b8:

ในพระไตรปิฎกภาษาไทย

มีการใช้คำว่า.....
สมถกัมมัฏฐาน
วิปัสสนากัมมัฏฐาน
อสุภกัมมัฏฐาน
อานาปานสติกัมมัฏฐาน
.........

แต่ในบาลีสยามรัฐใช้ว่า

อสุภาย จิตฺตํ ภาเวหิ
อานาปานสฺสตึ ภาเวนฺโต
อานาปานสฺสตึ พหุลีกโรนฺโต
--------------------------------

มีคำว่ากัมมัฏฐาน ในพระสูตรเดียว ที่พูดกับมาณพ โดยแปลว่า ที่ตั้งแห่งการงาน ไม่เกี่ยวกับการภาวนาเลย

------------------------------
จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่า คำว่ากัมมัฏฐาน (กรรมฐาน) ที่มีในพระไตรปิฎกภาษาไทย เป็นการเติมและ ผิดเพี้ยนจากการแปลภาษา นะครับ

------------------------------
ท่านผู้รู้ทั้งหลาย พิจารณาแล้ว มีความคิดเห็นอย่างไร กรุณาชี้แนะด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

แน่ใจเหรอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2006, 09:43
โพสต์: 180

ที่อยู่: กทม

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
ภาษาบาลีไม่มีตัวหนังสือเป็นของตัวเองครับ เป็นภาษาพูด ...

คุณกามโภคีท่าทางจะรู้เรื่องนี้เยอะนะครับ แต่...
คือไม่เข้าใจว่าถ้าไม่มีตัวหนังสือ แล้วตอนบันทึกเป็นลายลักอักษรสมัยพระเจ้าอโศก(ผมเข้าใจสมัยถูกใช่เปล่า?) เขาใช้อักษรอะไร? อย่างไง? หรือครับ

.....................................................
โคตมะพุทธ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ผู้รู้แจ้งโลก อัจฉริยมนุษย์ ยอดครูของครูทั้งหลาย
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ผู้ก่อตั้ง ผู้ค้นพบ คำสอนถูกบรรจุอยู่ในพระไตรปิฏก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


wakeup เขียน:
กามโภคี เขียน:
ภาษาบาลีไม่มีตัวหนังสือเป็นของตัวเองครับ เป็นภาษาพูด ...

คุณกามโภคีท่าทางจะรู้เรื่องนี้เยอะนะครับ แต่...
คือไม่เข้าใจว่าถ้าไม่มีตัวหนังสือ แล้วตอนบันทึกเป็นลายลักอักษรสมัยพระเจ้าอโศก(ผมเข้าใจสมัยถูกใช่เปล่า?) เขาใช้อักษรอะไร? อย่างไง? หรือครับ


เป็นภาษาตัวหนังสือถิ่นครับ เช่นภาษาบาลีที่ไทยเราเขียนกันไงครับ เรียกว่าบาลีสยาม
เช่น สตฺถา อ่านว่า สัตถา แปลว่า ครู หรือ พระศาสดา ใช้ไวยากรณ์และศัพท์ของบาลี
แต่ตัวหนังสือของไทย ในภาษาขอมที่จารึกลงในใบลานต่างๆก็ใช้ไวยากรณ์ของบาลี แต่ใช้อักษร
ขอม ในคัมภีร์ทางล้านนาทางเหนือหรือพม่า ก็ใช้ไวยากรณ์บาลี แต่อักษรธรรม เรียกว่าตัวธรรม
ในภาษาทางฝรั่งก็มี ใช้อักษรโรมันแต่ไวยากรณ์บาลี
ผมเองไม่ไช่รู้เรื่องภาษามากครับ พองูๆปลาๆ
ในสมัยพุทธกาลอักษรดั้งเดิมที่ใช้พูดมีหลักๆอยู่ ๒ คือ
บาลี และ สันสกฤตนอกนั้นเป็นภาษาของเผ่าหรือถิ่น ภาษาที่ใช้เขียนเข้าใจว่าใช้อักษรพราหมี
ยุคต้นถึงยุคกลางของพัฒนาการตัวออักษรชนิดนี้ ยังไม่เป็นที่เจาะจงได้ว่าเขียนอย่างไรเป็นหลักตายตัว
ต่อเมื่อยุคปลายของอักษรชนิดนี้แล้วจึงพัฒนามาเป็นอักษรของชาติต่างๆมากมาย ดังเดิมภาษาที่เป็นตัวอักษร
ที่นิยมสอนกันก็จะระบุว่ามาจาก ๒ ภาษาคือ ลาตินกับพราหมี

ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศก(บางคนนิยมเรียกว่า เสาอโศก) ใช้อักษรพราหมีหมีจารึกครับ

ขอเสริมอีกหน่อยครับ ถ้าเราอ่านในมหาสติปัฏฐานสูตร จะพบวรรคที่พระพุทธเจ้าสอนกรรมฐานนะครับ
แต่ไม่ใช้คำว่ากรรมฐานเท่านั้นเอง ท่านบอกไว้ชัดเลยครับ ตัวอย่างเท่าที่ผมนึกได้วรรคหนึ่งที่ประทับใจครับ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ดี ไปแล้วสู่โคนไม่ก็ดี
ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอย่อม.....ฯลฯ

ที่เว้นไว้ยาวๆนั้นท่านอธิบายทีละข้อๆว่าให้ทำอย่างไร กำหนดอย่างไร ตั้งแต่อานาปานบรรพ
ไปจนถึงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานเลยครับ ในการดูกายนั้นก็มีตัวอย่างว่า

คัจฉันโต วา คัจฉามีติ ปชานาติ เมื่อเดินอยู่ก็รู้ว่า(กำลัง)เดินอยู่
ฐิโต วา ฐิโตมหีติ ปชานาติ หรือเมื่อยืนอยู่ก็รู้ว่า(เรา)ยืนอยู่
นิสินโน วา นิสินโนมหีติ ปชานาติ หรือเมื่อนั่งอยุ่แล้วก็รู้ว่า(เรา)นั่งอยู่
สยาโน วา สยาโนมหีติ ปชานาติ หรือเมื่อนอนอยู่ ก็รู้ว่า(เรา)นอนอยู่

ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าทรงสอนการกำหนดอิริยาบทไว้ครับ บางแห่งที่ปฏิบัติจะกำหนดว่า
เดินหนอ ยืนหนอ นั่งหนอ นอนหนอ (สายนี้เรียกภาษาปากว่าสาย พองยุบ)
อันนี้เป็นตัวอย่างการปฏิบัติสติปัฏฐานข้อกายานุปัสสนาที่พระองค์ทรงสอนไว้ครับ
เพียงแต่พระองค์ไม่ใช้คำว่ากรรมฐาน คำว่ากรรมฐานนั้นเป็นภาษาที่สาวกใช้พูดกันครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คัจฉันโต วา คัจฉามีติ ปชานาติ เมื่อเดินอยู่ก็รู้ว่า(กำลัง)เดินอยู่
ฐิโต วา ฐิโตมหีติ ปชานาติ หรือเมื่อยืนอยู่ก็รู้ว่า(เรา)ยืนอยู่
นิสินโน วา นิสินโนมหีติ ปชานาติ หรือเมื่อนั่งอยุ่แล้วก็รู้ว่า(เรา)นั่งอยู่
สยาโน วา สยาโนมหีติ ปชานาติ หรือเมื่อนอนอยู่ ก็รู้ว่า(เรา)นอนอยู่


คุ้นว่าอยู่ในบทสวดมนต์ด้วยค่ะ
สาธุ สาธุ สาธุ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2009, 23:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2008, 14:07
โพสต์: 285

อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


ตั้งหัวข้อ กระทู้ค่อนข้างแรงนะครับ ในความคิดของผม
อ้างถึงพระพุทธเจ้ามันไม่ค่อยดีนะครับ

สำหรับคำๆ กรรมฐาน หรือ กัมมัฏฐาน นี้ จริงๆ แล้วผมก็ไม่รู้ว่าควรจะเขียนเป็นอย่างไร
และในอดีต เขาใช้คำไหน หรือตามหลักภาษาแล้ว ควรจะใช้คำไหน

แต่แนะนำให้เข้าใจเจตนาของการทำกรรมฐานดีกว่า คือการเจริญเมตตาภาวนา ทำจิตให้สงบ เกิดปัญญา เพื่อให้แจ้งถึงนิพพาน

จริงๆ แล้วๆ ไม่ควรไปสนใจให้มาก ว่าเขียนอย่างไร เพราะภาษามันก็เป็นส่วนหนึ่ง ของความไม่เที่ยง
วันนี้ อาจจะเขียนเป็น กรรมฐาน แล้วอนาคต ภาษาเปลี่ยน เป็น กัมมัฏฐาน คำตอบที่ตอบไป ก็กลายเป็นไร้สาระไป อย่างเช่น ภาษาไทย คำว่า "เป็น" ในอดีต เขียนเป็น "เป้น" ปัจจุบันก็เขียน "เป็น"

ถ้าสงสัยเรื่องนี้ ก็จะสงสัยเรื่อยไป เช่น แล้ว ถ้าเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ลาว เขมร ล่ะเขียนอย่างไร
เหมือนภาษาไทยมั้ย วุ่นวายนะครับ อย่าไปสงสัยคำเขียนให้มาก ให้เอาหลักกรรมฐาน มาปฎิบัติดีกว่า

.....................................................
"ใครเกิดมา ไม่พบพระพุทธศาสนา ไม่เลื่อมใส ไม่ปฎิบัติ ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เป็นโมฆะตลอด ตั้งแต่วันเกิดจนวันตาย"

"ให้พากันหมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา"

พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
http://www.luangta.com/

"ทำสมาธิมากเนิ่นช้า คิดพิจารณามากฟุ้งซ่าน หัวใจของการปฏิบัติคือการมีสติในชีวิตประจำวัน"
หลวงปู่มั่น

"ดูจิต...ด้วยความรู้สึกตัว"
หลวงพ่อปราโมทย์ สวนสันติธรรม ชลบุรี
http://www.wimutti.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 12:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุ ท.! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก
ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น.
ภิกษุ ท.! นี่เป็นมูลกรณีที่หนึ่งซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.

-บาลี พระพุทธภาษิต จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๘/๑๖๐,

------------------------------
ภิกษุ ท.! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่
เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติ
ไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้
ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
-บาลี พระพุทธภาษิต สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๑/๒๑.

----------------------------------
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


BlackHospital เขียน:
พระพุทธเจ้าไม่เคยสอน กรรมฐาน หรือ กัมมัฏฐาน???

--------------------
:b8: :b8: :b8:

ในพระไตรปิฎกภาษาไทย

มีการใช้คำว่า.....
สมถกัมมัฏฐาน
วิปัสสนากัมมัฏฐาน
อสุภกัมมัฏฐาน
อานาปานสติกัมมัฏฐาน
.........

แต่ในบาลีสยามรัฐใช้ว่า

อสุภาย จิตฺตํ ภาเวหิ
อานาปานสฺสตึ ภาเวนฺโต
อานาปานสฺสตึ พหุลีกโรนฺโต
--------------------------------

มีคำว่ากัมมัฏฐาน ในพระสูตรเดียว ที่พูดกับมาณพ โดยแปลว่า ที่ตั้งแห่งการงาน ไม่เกี่ยวกับการภาวนาเลย

------------------------------
จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่า คำว่ากัมมัฏฐาน (กรรมฐาน) ที่มีในพระไตรปิฎกภาษาไทย เป็นการเติมและ ผิดเพี้ยนจากการแปลภาษา นะครับ

------------------------------
ท่านผู้รู้ทั้งหลาย พิจารณาแล้ว มีความคิดเห็นอย่างไร กรุณาชี้แนะด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

แรงไปมั้ยเอ่ย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2009, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2006, 09:43
โพสต์: 180

ที่อยู่: กทม

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ดูแลสัตว์วิเศษ เขียน:
แรงไปมั้ยเอ่ย
คงแล้วแต่จะคิด
ผมก็ว่าไม่แรงเลยครับ
BlackHospital เขียน:
ท่านผู้รู้ทั้งหลาย พิจารณาแล้ว มีความคิดเห็นอย่างไร กรุณาชี้แนะด้วยครับ
ก็สุภาพดี
อยากจะแนะนำ(ทั่วๆไป)คือว่า
"ถ้าสงสัยก็ถาม ไม่ต้องกลัว อย่าเก็บใว้ เอามาเคลียร์ๆกันซะ จะได้ไม่มีปัญหาทีหลัง และอาจจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆด้วย เพราะบางทีคนอื่นไม่กล้าถาม..."
ไม่รู้ท่านๆทั้งหลายเคยได้ยินคำกล่าวทำนองๆนี้กันหรือไม่???
สำหรับผมเป็นคำกล่าวที่ผมชอบ
อยากให้หลายๆคนมีความคิดแบบนี้ได้ก็คงจะดีมาก
หรือคำกล่าวแบบว่า "เป็นคำถามที่ดีมาก" บางทีแม้ผมได้ยินคำถามนั้น ก็คิดในใจว่า"ก็เป็นคำถามอย่างงั้นๆ" แต่ก็เข้าใจว่าเป็นการกระตุ้นให้คนรู้จักถาม แต่คนไทยหลายๆคนรู้สึกจะไม่กล้าถาม (รวมถึงไม่กล้าแสดงความคิดเห็น) เพราะกลัว......(เช่นกลัวโดนแบนอย่างไม่มีเหตุผล!!! หรือ.....)....
พอเปิดโอกาสให้ถามก็เงียบฉี่ฉี่ฉี่ฉ... :b1:
ก็โยงไปถึงว่าทำไมประเทศไทยจึงเป็นประเทศด้อยพัฒนา อุ้ย!ไม่ใช่ซิ ต้องใช้คำว่า ประเทศกำลังพัฒนา
ประเทศพัฒนาแล้วเขารู้จริง รู้ลึก รู้ละเอียด จึงพัฒนาอะไรๆได้มาก ได้ถึงไหนๆ (แต่โชคร้ายที่พุทธไม่ได้ไปสอนแถวอเมริกา)
"เด็กฉลาดคือเด็กช่างถาม" ก็คงเคยได้ยินกัน แต่อย่างว่าอาจจะเจอผู้ใหญ่บางคนว่า "ถามเยอะจัง รำคาญ ไปไกลๆ" อะไรประมาณนี้ :b2:

และก็เลยไปนึกถึงตอนที่พระพุทธเจ้ากำลังจะปรินิพพานที่มีคนๆนึงจะขอเข้าเฝ้าพุทธ แต่โดนห้ามแต่พอพระพุทธเจ้ารู้ก็บอกให้เข้าเฝ้าและถามข้อสงสัยได้
หรือในเหตุการณ์เดียวกันคือกำลังจะปรินิพพาน ก็ทรงถามตั้ง3ครั้ง "ใครสงสัยอะไรให้ถาม จะไปแล้วนะ" (อะไรๆ ประมาณเนี๊ยนะ) แต่ก็ยังไม่แค่นั้น ก็ทรงกล่าวต่อว่า "อาจจะไม่กล้าถาม ก็บอกเพื่อนให้ถามก็ได้นะ" (อะไรๆ ประมาณเนี๊ย) แต่ก็ยังเงียบ ซึ่งก็เป็นเพราะพระเหล่านั้นอย่างต่ำเป็นพระโสดาบัน
รู้ไม่จริง ไม่ลึก ไม่ละเอียด มันก็กลายเป็นสร้างปัญหาได้
ก็เปรียบเทียบกับปัญหาบ้านเมืองขณะนี้ได้อีกเหมือนกัน แบบว่าเจตนาดีกันทั้งนั้นหล่ะแต่ก็กำลังสร้างปัญหาให้กับบ้านเมือง

.....................................................
โคตมะพุทธ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ผู้รู้แจ้งโลก อัจฉริยมนุษย์ ยอดครูของครูทั้งหลาย
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ผู้ก่อตั้ง ผู้ค้นพบ คำสอนถูกบรรจุอยู่ในพระไตรปิฏก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร