วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 06:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2009, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ควรทราบว่าพระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประกอบด้วย

ปิฎก ๓ พระพระวินัยปิฎก พระสุตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ความลึกซึ้ง

ของปิฎกทั้ง ๓ จึงต่างกัน คือ พระวินัยลึกซึ้งโดยกิจ พระสูตรลึกซึ้งโดยอรรถ

พระอภิธรรมลึกซึ้งโดยสภาวะ พระวินัยลึกซึ้งโดยกิจ คือ พระภิกษุที่ศึกษา

ประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยจะเห็นความละเอียดลึกซึ้งโดยกิจต่างๆในพระวินัย

ที่ทรงบัญญัติไว้ว่ากิจเล็กกิจน้อยหรือกิจสำคัญที่สงฆ์พึงประพฤติปฏิบัติมีคุณ

ประโยชน์อย่างไร ส่วนพระสูตรทั้งหลายลึกซึ้งโดยอรรถ คือเนื้อความที่ลึกถึง

โลกุตตระ ไม่ใช่แสดงเพียงพยัญชนะเรื่องราวบุคคลต่างๆเท่านั้น ส่วนพระ

อภิธรรมลึกซึ้งโดยสภาวะ เพราะพระอภิธรรมปิฎกที่ทรงแสดงนั้นลึกซึ้งโดยสภาวะ

ผู้ที่ศึกษาและรู้ตามย่อมทราบความลึกซึ้งด้วยปัญญา ถ้าปัญญาไม่เกิดก็ไม่เห็นความ

ลึกซึ้งของพระธรรมได้..

ปรกติในชีวิตประจำวัน อกุศลเกิดบ่อยมาก อกุศลไม่เลือกสถานที่เกิด ไม่เลือก

อิริยาบถเพราะได้สะสมอกุศลมามากจนมีกำลัง อันเป็นปัจจัยให้อกุศลเกิดได้ทุกที่

ทุกเวลาฉันใด การอบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้ความจริงของสภาพธรรมก็เช่นกัน สามารถ

รู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาเพราะว่าสภาพธรรมที่มีจริง มีอยู่แล้วในชีวิตประจำวันไม่เปลี่ยนไป

ไหน แต่ขาดเพียงสติและปัญญาที่ไม่รู้ในสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้เท่านั้น ซึ่งการ

ศึกษาการฟังพระธรรมย่อมเป็นปัจจัยให้สติและปัญญาจากที่ไม่เคยมี มีขึ้น เมื่อความ

เข้าใจเจริญขึ้นจนมีกำลังเหมือนอกุศลที่เสพคุ้นจนมีกำลังแล้ว สติและปัญญาก็เกิดขึ้น

ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมได้ทุกที่ ทุกเวลาเพราะสติและปัญญามีกำลัง ที่สำคัญ

สภาพธรรมเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไมได้ แม้สติและปัญญาก็เช่นกัน จึงแล้วแต่ว่าเมื่อ

เหตุปัจจัยพร้อมสติและปัญญาจึงเกิดขึ้นเองและก็สามารถบรรลุธรรมได้ในที่ทุกสถาน

ดังเรื่องราวในพระไตรปิฏก ซึ่งเป็นคนเล่นศิลปะเป็นนักกายกรรม เมื่อพระพุทธเจ้า

แสดงธรรม ขณะที่กำลังเล่นกายกรรม ยืนอยู่บนแป้นที่เล่น ฟังธรรมได้บรรลุเป็นพระ-

อรหันต์ทันที สติจึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ -หน้าที่ 306

เรื่องบุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน

" เชิญเถิด อุคคเสน บุตรคนฟ้อน ผู้มีกำลังมาก

เชิญท่านจงดู, เชิญท่านทำความยินดีแก่บริษัทเถิด,

เชิญท่านทำให้มหาชนร่าเริงเถิด."

เขาได้ยินถ้อยคำของพระเถระแล้ว เป็นผู้มีใจยินดี หวังว่า " พระศาสดามีพระ

ประสงค์จะดูศิลปะของเรา " จึงยืนบนปลายไม้แป้นแล้วกล่าวคาถานี้ว่า :-

" เชิญเถิด ท่านโมคคัลลานะ ผู้มีปัญญามาก มี

ฤทธิ์มาก เชิญท่านจงดู, กระผมจะทำความยินดีแก่

บริษัท, จะยังมหาชนให้ร่าเริง."

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ก็กระโดดจากปลายไม้แป้น ขึ้นสู่อากาศ หก

คะเมน ๑๔ ครั้งในอากาศแล้ว ลงมายืนอยู่บนปลายไม้แป้น(ตามเดิม).

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเขาว่า " อุคคเสน ธรรมดาบัณฑิตต้องละความ

อาลัยรักใคร่ในขันธ์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันเสียแล้ว พ้น

จากทุกข์ทั้งหลายมีชาติเป็นต้นจึงควร ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

" ท่านจงเปลื้อง (อาลัย) ในก่อนเสีย จงเปลื้อง

(อาลัย) ข้างหลังเสีย, จงเปลื้อง (อาลัย) ในท่าม-

กลางเสีย, จึงเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจหลุดพ้นใน

ธรรมทั้งปวง จะไม่เข้าถึงชาติและชราอีก."

ในกาลจบเทศนา การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่สัตว์ทั้ง ๘๔,๐๐๐ แล้ว.

อุคคเสนทูลขอบรรพชาอุปสมบท

ฝ่ายบุตรเศรษฐี กำลังยืนอยู่บนปลายไม้แป้น บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทาแล้ว ลงจากไม้แป้นมาสู่ที่ใกล้พระศาสดา ถวายบังคมด้วยเบญจางค

ประดิษฐ์ ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์

เบื้องขวาตรัสกะนายอุคคเสนนั้นว่า " ท่าน จงเป็นภิกษุมาเถิด." อุคคเสนนั้นได้

เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งบริขาร ๘ ประหนึ่งพระเถระมีพรรษาตั้ง ๖๐ ในขณะนั้นนั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 04:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร