วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 21:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


"เจตสิกปรมัตถ์"



ในขณะที่ "จิต" เกิดขึ้น รู้อารมณ์.


มี "นามปรมัตถ์" อีกประเภทหนึ่ง เกิดร่วมกับ "จิต"

"นามปรมัตถ์" นั้น.....คือ



"เจตสิกปรมัตถ์"



ซึ่ง ได้แก่ ความโกรธ ความรัก ความสุข ความทุกข์

ความตระหนี่ ความริษยา ความเมตตา ความกรุณา


เป็นต้น.


สภาพธรรม ที่มีจริง เหล่านี้

เป็น........."เจตสิกปรมัตถ์"

และ

"เจตสิกปรมัตถ์" ไม่ใช่ "จิตปรมัตถ์"



ความโกรธ ความรัก ความทุกข์ ความสุข เป็นต้น นั้น

เป็น สภาพธรรมที่มีจริง

ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคค.


และ


เป็นสภาพธรรมที่ "ต้องเกิดกับจิต"

หมายความว่า

ถ้าไม่มี "จิต"......"เจตสิก" ก็เกิดไม่ได้.!



"เจตสิกปรมัตถ์"

มี ๕๒ ประเภท.


เช่น ความโกรธ....... (โทสเจตสิก)

มี "ลักษณะ" หยาบ กระด้าง ดุร้าย.


ความรัก (โลภเจตสิก)

มี "ลักษณะ" ยึดติด ติดข้อง ไม่สละ

และ ปรารถนาในอารมณ์.


เป็นต้น.




........................................




จะเห็นได้ ว่า

"เจตสิก"........แต่ละประเภท ๆ

เป็น สภาพธรรม แต่ละอย่าง ๆ



มี "ลักษณะ"

ต่าง ๆ กัน....แต่ละประเภท ๆ


มี "กิจ"

หน้าที่ เฉพาะตน ๆ....แต่ละประเภท ๆ


"ผล" คือ อาการที่ปรากฏ

ก็ต่างกัน....แต่ละประเภท ๆ


"เหตุปัจจัย"

ที่ทำให้เกิด เจตสิก แต่ละประเภท ๆ

ก็ต่างกัน.




...........................................






"จิตปรมัตถ์" และ "เจตสิกปรมัตถ์"

เป็น

"นามธรรม ที่รู้ อารมณ์"

จิต และ เจตสิก ต้องเกิด ร่วมกัน


หมายความว่า


เจตสิก.......เกิด พร้อมกับ จิต.

เจตสิก........ดับ พร้อมกับ จิต.

เจตสิก รู้ อารมณ์เดียว กับ จิต.

เจตสิก......เกิดที่เดียว กับ จิต.


และ


จิต เกิดดับ ที่ไหน....เจตสิกก็ เกิดดับ ที่นั่น

จิต และ เจตสิก................ไม่แยกจากกัน.



คือ ไม่เกิด ดับ เพียงปรมัตถ์เดียว

แต่ จิตปรมัตถ์ และ เจตสิกปรมัตถ์

ต้องเกิด พร้อมกัน.........ที่เดียวกัน

ต้องดับ พรัอมกัน.........ที่เดียวกัน

และ ต้อง......รู้ อารมณ์ เดียวกัน.




...................................




"จิต"

เป็นใหญ่ เป็นประธาน ใน การรู้ อารมณ์

ส่วน เจตสิก แต่ละประเภท ที่เกิดร่วมกับจิต

ต้องรู้ อารมณ์เดียวกับจิต.


แต่


"ลักษณะ" และ "หน้าที่".......ในการรู้ อารมณ์ ของจิต

มีความแตกต่างกันไป.........

ตาม "ลักษณะ" และ "กิจการงาน"

ของ เจตสิก แต่ละ ประเภท ๆ


เพราะว่า เจตสิก มี "ลักษณะเฉพาะของตน ๆ"

และ มี "กิจเฉพาะของตน ๆ"



เพราะฉะนั้น

การที่......... "จิตแต่ละประเภท"

ต่างกันไป เป็น ๘๙ ประเภท

หรือ ๑๒๑ ประเภท โดยพิเศษ.



เป็นเพราะ "เหตุปัจจัย" คือ

จิต แต่ละประเภท

มี เจตสิก เกิดร่วมด้วย มาก น้อย ต่าง ๆ กัน

และ เป็น เจตสิก ที่มีกิจการงาน ที่ ต่าง ๆกัน

ตามประเภท ของเจตสิก นั้น ๆ ด้วย.



ดังนั้น จิต แต่ละประเภท จึงไม่เหมือนกัน

เช่น รู้อารมณ์ ต่างกันบ้าง

ทำกิจการงาน ต่างกันบ้าง.


เป็นต้น.



เช่น


"จิต" บางประเภท

มี "สิ่งที่ปรากฏทางตา" เป็น อารมณ์

(หมายถึง จิตเห็น หรือ จักขุวิญญาณจิต)


หรือ


จิต บางประเภท มี โลภเจตสิก เกิดร่วมด้วย

จิต บางประเภท มี โทสะเจตสิก เกิดร่วมด้วย


ดังนี้ เป็นต้น.




....................................




เมื่อเวไนยสัตว์ ฟัง "พระอภิธรรม"


ก็ พิจารณา สภาพ "ปรมัตถธรรม"


"ที่กำลังปรากฏ"


ด้วย "ปัญญา"


ที่ได้ "สะสม" อบรม มาแล้ว ในอดีต


จึงสามารถที่จะ "รู้ความจริง" ของ "ปรมัตถธรรม"


ในขณะที่ "กำลังปรากฏ" นั้น ได้.



ด้วย "เหตุ" นี้


ในครั้งพุทธกาล

เมื่อพระบรมศาสดา ทรงแสดงธรรมจบลง

จึงมีผู้ที่บรรลุ มรรค ผล นิพพาน

เป็นจำนวนมาก.



เพราะ "เหตุ" คือ

ท่านเหล่านั้น เมื่อฟังพระธรรมแล้ว "เข้าใจ"

และ "พิจารณา"

จน "รู้ความจริง" ของ สภาพ "ปรมัตถธรรม"

"ที่กำลังปรากฏ" ในขณะนั้น.



เช่น

เมื่อพระองค์ทรงเทศนา ว่า


"จักขุวิญญาณ คือ จิตที่ทำกิจเห็น นั้น....ไม่เที่ยง"


ท่านเหล่านั้น..........


มี "สติสัมปชัญญะ"

รู้ "ลักษณะของจิต"


ขณะที่ "กำลังเห็น" นั้น

ได้อย่างถูกต้อง...........

ว่า สภาพธรรมที่เป็น "นามธรรม" นั้น

ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล.


ในขณะที่ได้ยิน....ก็โดยนัยเดียวกัน.




...................................





เมื่อ "ปัญญา" รู้แจ้ง "ลักษณะ"

ที่ไม่เที่ยง เกิดดับ และเป็นทุกข์ ของ "ปรมัตถธรรม"

"ที่กำลังปรากฏ" ในขณะนั้น แล้ว.


ก็ "ละคลาย" ความยินดี และ ความเห็นผิด

ที่ "ยึดถือ" ปรมัตถธรรม เหล่านั้น ว่า.........

...............เป็นตัวตน เที่ยง และ เป็นสุข.




....................................




เพราะฉะนั้น

พึง "เข้าใจ" ให้ถูกต้อง ว่า


"พระธรรม"

ที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้

และทรงเทศนา ทรงสั่งสอน


ซึ่งได้มีการรวบรวมไว้

เป็น "พระไตรปิฎก" นั้น

เป็น


"เรื่องความจริงของสภาพธรรมทั้งปวง"


เมื่อ "ศึกษา" และ "เข้าใจ"

เรื่อง สภาพของ "ปรมัตถธรรม"แล้ว

ก็ควร "พิจารณาปรมัตถธรรม"

"ที่กำลังปรากฏ"


เพื่อ "การรู้แจ้ง"

" ลักษณะตามความเป็นจริง"

ของ "ปรมัตถธรรม"

ที่ กำลังปรากฏ นั้น.


นี่คือ "เหตุ" ที่ทำให้สามารถ

"ละความสงสัย" และ "ความไม่รู้"

ในสภาพ "ลักษณะ"

ของ "ปรมัตถธรรม"

ได้...อย่าง แท้จริง.!




....................................




"การศึกษา"


เพื่อให้ "เข้าใจ" ใน "ปรมัตถธรรม"

ต้อง "พิจารณา" ถึง "เหตุ และ ผล"

ของสภาพธรรม ที่เกิดขึ้น และปรากฏ

จึงจะ "เข้าใจ" ได้ อย่าง "แจ่มแจ้ง"


เช่น


จะ ต้อง รู้ ว่า............

สภาพธรรมที่เห็น และ สภาพธรรมที่ได้ยิน


เหมือนกัน หรือไม่.........................?

ถ้าเหมือน เหมือนกัน........อย่างไร.?

ถ้าไม่เหมือน ไม่เหมือนกัน อย่างไร.?



เพราะฉะนั้น


สภาพธรรมที่เห็น และ สภาพธรรมที่ได้ยิน

เป็นจิต ปรมัตถ์ ก็จริง.

แต่

ไม่ใช่ จิต ประเภทเดียวกัน

เพราะ "เหตุปัจจัย" ที่ทำให้เกิดนั้น ต่างกัน.!


หมายความว่า


"จิตเห็น"

ต้องอาศัย

"สิ่งที่ปรากฏทางตา"

มากระทบกับ

"จักขุปสาท"


ทั้งหมด เป็น "ปัจจัย"

"จิตเห็น" จึงเกิดขึ้นได้.



"จิตได้ยิน"

ต้องอาศัย

"เสียง"

ที่มากระทบกับ

"โสตปสาท"


ทั้งหมด เป็น "ปัจจัย"

"จิตได้ยิน" จึงเกิดขึ้นได้.



เพราะฉะนั้น

"จิตเห็น" และ "จิตได้ยิน"

จึงมี

"กิจต่างกัน"

เพราะมี

"เหตุปัจจัย" ต่างกัน.


(และ "จิตประเภทอื่น ๆ" ก็โดยนัยเดียวกัน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณรสมน

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 52 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร