วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 02:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 11:45
โพสต์: 17

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"อริยะสัจ๔" ความจริงที่ชาวพุทธรู้น้อย ธรรมมะที่ควรเพ่งพินิจแก่นแกนให้มากกว่าตัวอักษรร่างรัฐธรรมนูญที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้บรรจุให้ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติตามคำเรียกร้องของใครบ้างคน แต่เขียนว่า "ศาสนาธรรม" ซึ่งอาจจะหมายถึงทุกศาสนารัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ๑๗ ฉบับ รวมทั้งฉบับชั่วคราวในปัจจุบัน และฉบับที่บอกกันว่าประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด ดีที่สุด ฉบับปี ๒๕๔๐ ก็ไม่ได้บัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติผมไม่เข้าใจว่า ทำไมจะต้องเดือดร้อนถึงขนาดบรรจุคำว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทำไมไม่ไปสนใจเรื่องของหลักธรรม คำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าคืออะไร "อริยสัจ๔" ที่พระพุทธเจ้าค้นพบเป็นอย่างไร หมายถึงอะไร รณรงค์เมาไม่ขับ พระก็ไม่ได้สั่งไม่ได้สอน ไม่ได้ร่วมรณรงค์ ไปวัดแต่ละครั้งก็รับศีล ๕ ข้อมาตลอด แต่พระไม่เคยอธิบายเป็นภาษาไทย ผิดศีล ๑ ข้อ จะเกิดอะไรขึ้น ผิดข้อ ๑ จะนำไปสู่ผิดข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ อย่างไร มีแต่ให้กล่าวตามแบบ "นกแก้วนกขุนทอง""อริยสัจ๔" คือความจริง ๔ ประการ ทุกข์ สมุทัย นิโรจน์ มรรค ช่วยอธิบายให้พุทธมามะกะ ได้เข้าใจและซาบซึ้งมากกว่านี้หน่อยได้ไหม ยิ่งในสถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างนี้ คนทุกข์กันทั้งประเทศ พระสงฆ์ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของพระพุทธเจ้าช่วยหาทางดับทุกข์ให้ประชาชนหน่อยได้ไหมเวลานี้ประชาชนขาดที่พึ่ง พึ่งพระก็ไม่มั่นใจว่า พระจะทำอะไรเอาอีก ท้ายที่สุดก็ไปพึ่งองค์เทพโพธิสัตว์ "จตุคามรามเทพ" ซึ่งไม่ใช่แก่นสารของพุทธศาสนา เวลานี้เข้าไปในวัด ก็เจอศาลาการเปรียณเป็นที่เช่าพระ กุฏีเจ้าอาวาสปิดเงียบ โบสถ์ สร้างเป็นสิบล้าน สี่สิบล้าน ไม่ได้ใช้ประโยชน์มากนัก ใช่แค่ปีละครั้งสองครั้ง เช่น วันวิสาขะ วันมาฆะ เป็นต้นบวร. (บ้าน วัด โรงเรียน) ที่เคยเป็นชุมชนเดียวกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เดี่ยวนี้ไม่รู้ยังเป็นอย่างนั้นอยู่หรือเปล่า หรือต่างคน ต่างฝ่ายต่างก็อยู่กันไป ตัวใครตัวมัน ไม่เดือดร้อนไม่ไปมาหาสู่กัน อยากให้ชาวพุทธ รวมทั้งพระสงฆ์ที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องให้บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ หันกลับไปกุมขยับจับหัวตัวเอง แล้วคิดดูให้ดีๆ ว่าซาบซึ้งในรสพระธรรมมากพอแล้วยัง พระพุทธเจ้าตรัสกับองคุลีมารว่า "เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด" เมื่อถูกองคุลีมารเรียกหมายจะตัดนิ้วไปแขวนคอเป็นนิ้วที่ ๑๐๐ แล้วท่านภิกษุทั้งหลายที่ออกมาเคลื่อนไหวอยู่เวลานี้ "หยุดแล้วยัง หยุดแล้วเพ่งพิพิจพิจารณา แล้วจะเห็นธรรม" มากกว่าเห็นตัวอักษรที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญที่เอาเรื่องนี้ขึ้นมาอัพใหม่ เนื่องจากเพิ่งเดินทางไปทำบุญในภาคตะวันออก และได้มีโอกาสแวะไปที่วัดช่องแสมสาร อ.สัตหีบ แวะไปดูเสียงเล่าลือเกี่ยวกับความเชื่อในการลอดโบสถ์ ซึ่งก็พบผู้คนจำนวนมากเดินทางไปลอดโบสถ์ โดยวัดช่องแสมสาร ประสบปัญหาน้ำท่วม จึงทำพิธียกโบสถ์ให้สูงขึ้นอีก 2 เมตร โดยไม่ได้ทำพิธีสวดถอน ยังถือเป็นสังฆมณฑลระหว่างลอดโบสถ์ มีเรื่องให้อธิฐานถึงร่วม 10 ข้อ ได้คุยกับเจ้าอาวาส ก็พบว่า ช่วงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ จะมีคนเข้ามาลอดโบสถ์วันะร่วมหมื่นคน ถามว่าเพราะอะไร เจ้าอาวาสบอกว่า ปกติโบสถ์จะไม่มีใต้ถุน เขาเชื่อกันว่า ถ้าได้ลอดโบสถ์จะเป็นการสะเดาะห์เคราะห์อย่างหนึ่ง ให้กล่าวตามคำอธิษฐาน ได้รับการยืนยันจากเจ้าอาวาสว่า บางคนมาเดินไม่ได้ นั่งรถเข็นมา ลอดโบสถ์ 3 ครั้ง อาการค่อยๆหายไป เมื่อไปที่วัดป่ายุบ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดช่องแสมสารมากนัก ก็มีการพิธีลอดราหูเหมือนกัน คำอธิษฐานก็ไม่แตกต่างจากการลอดโบสถ์ ทั้งลอดโบสถ์ และลอดราหู ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า เป็นแก่นแกนของพุทธศาสนาหรือไม่ ใครรู้ ใครเข้าใจช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้หน่อยนะครับ ......ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านทั้งหลาย การเรียกร้อง ให้มีการเขียนไว้เป็นกฎหมายในรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะทำไม่ได้
ที่พวกนักการเมือง หรือบรรดาท่านที่เขาจัดให้เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ไม่กล้า หรือเห็นว่าไม่ควร บรรจุ คำว่า " ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติ" ลงในรัฐธรรมนูญ ก็เพราะมีเหตุ
เหตุที่ว่านั้น คือหากบรรจุลงไป ทุกคนในประเทศไทยจะต้อง นับถือศาสนาพุทธทุกคน เพราะเป็นศาสนาประจำชาติไทย ใครเป็นประชาชนคนไทย ต้องนับถือพุทธศาสนาเหมือนกันหมด ไม่อย่างนั้น ถ้านับถือศาสนาอื่น ก็แสดงว่า ไม่ใช่คนไทย ไม่ใช่ชาติไทย ซึ่งจะทำให็เกิดความแตกแยกความสามัคคีภายในชาติ นี้เป็นเหตุอย่างหนึ่ง
เหตุอีกอย่างหนึ่ง คือ ในประเทศไทย มีผู้นับถือ ศาสนาต่างๆมากมาย ดังที่ท่านทั้งหลายก็รู้กันอยู่ หากบรรจุคำว่า "ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติไทย" ลงในรัฐธรรมนูญ ก็จะเกิดความแตกแยก ทางความคิด เพราะผู้นับถือศาสนาต่างๆ ก็ล้วนเป็นคนไทยเหมือนกันหมด อาจจะเกิดความวุ่นวายในภายหลังก็เป็นได้ นี้ก็เป็นเหตุอีกอย่างหนึ่ง

แต่ความจริงแล้ว จะบรรจุหรือเขียนคำ "ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประชาติไทย" ลงในรัฐธรรมนูญก็ได้ แต่ต้องมีประโยคต่อจากนั้นอีกว่า

" ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติไทย ประชาชน มีสิทธิ์ที่จะนับถือศาสนาใดใดก็ได้ และศาสนาเหล่านั้น ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของชาติไทย" เท่านี้ก็ชัดเจน แบบบัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่น และไม่เกิดปัญหาใดใดอย่างแน่นอน


แก้ไขล่าสุดโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 13:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 90 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร