วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 07:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จิตเกิดและดับ

จิตนั้นมีลักษณะรู้อารมณ์ที่มากระทบ
อารมณ์ใดเกิดขึ้นการรู้อารมณ์นั้นเรียกว่าจิต
เช่นรูปกระทบจักขุปสาทเกิดการเห็น การเห็นนั้นคือจิต
แล้วจิตหรือการเห็นนั้นก็ดับไป

เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตก็มิได้มีสภาพตั้งทรงอยู่
หากแต่มีการเกิดดับตามนามรูปอยู่ทุกขณะ

และก็มิใช่เป็นจิตดวงเดียวกัน กล่าวคือ เมื่ออารมณ์มากระทบ
จิตดวงแรกก็เกิดขึ้นรับอารมณ์นั้นแล้วก็ดับไป
และในการดับไปนี้ ยังมีอำนาจที่ช่วยอุดหนุนเป็นปัจจัยให้ธรรมที่เป็นพวกเดียวกัน
อันได้แก่จิตดวงที่ ๒ให้เกิดขึ้นรับช่วงสืบต่อไป
แล้วจิตดวงที่ ๓ ก็เกิดขึ้นรับช่วงสืบต่อไป และดับลงเช่นเดียวกัน
จิตดวงที่ ๔ ก็เกิดขึ้นสืบต่อไป เป็นอยู่อย่างนี้ไปหมดวิถีของจิต

เหมือนอย่างน้ำนิ่งที่อยู่ในสระ เมื่อเอาก้อนหินโยนลงไปกลางสระ
คลื่นลูกแรกเกิดขึ้นแล้วจางหายไป คลื่นลูกที่ ๒ ก็เกิดสืบเนื่องต่อ
และเมื่อคลื่นจางหายไป คลื่นลูกที่ ๓ ก็เกิดขึ้นสืบเนื่องต่อไปอีก
เป็นดังนี้จนกว่าจะเลือนหายไปหมด


คุณพลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เขียน
ที่เห็นเกิดดับนั้นเป็นอาก่ารของจิต ไม่ใช่ตัวจิต เพราะตัวจิตไม่มีการเกิดดับ ลูกคลื่นนั้นไม่ใช่ตัวคลื่นแต่อย่างใด

จิต นั้นเป็นอัตตาตัวตนทรงสภาพอยู่ชั่วนิรันดรไม่เปลี่ยนแปลงนั้นถูกแล้ว อัตตา(ตัวตน)นี้คือธรรม พอเราทำให้อาการของจิตเที่ยง ไม่ส่ายไปส่ายมา ไม่โดนกระทบจากอารมณ์ต่างๆ ที่ถูกกิเลสตัณหาเข้ากระทบ อาการหรืออารมณ์ของจิตจะกลายเป็นคลื่นที่สงบ

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร


"จิตวิญญาณมันไม่ใช่ของแตกของทำลาย แลไม่ใช่ของสูญหาย พระพุทธเจ้าสอนให้จิตมันเที่ยง เหมือนพระนิพพานเป็นของเที่ยง ไม่แปรผัน ยักย้าย "


รบกวนถามคุณพลศักดิ์ นะคะช่วยอธิบายเพิ่มเติมด้วยค่ะ
เมื่อจิตมีสภาพเป็นอัตตา แล้วตัวเจตสิกที่เป็นสหชาติธรรมของจิต ที่ปรุงแต่งจิตมีลักษณะเป็นอะไร
แล้วจิตที่เกิดดับ อย่างน้อย ๑๗ ขณะเมื่อมีอารมณ์มากระทบหล่ะคะ
ขอแบบคนปัญญาด้อยๆ พอเข้าใจ
:b8:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อัตตา(ตัวตน)นี้คือธรรม

ถ้าเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ก็ควรเป็น อนัตตาด้วย คือไม่ควรยึดมั่นถือมั่น บังคับควบคุมไม่ได้ ไม่ถูกหรือคะ
คือ...สรรพเพ ธรรมมา อนัตตา... ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ถูกเปล่าคะ
ถามเยอะไปหน่อย แต่มันต่อไม่ติดค่ะ

ถ้าท่านผู้รู้ท่านใด พอจะเมตตาสาธยายให้อ่านได้อย่างลึกซึ้งก็ยินดียิ่งค่ะ
คงไม่เกินสติปัญญาที่จะเรียนรู้...

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จิต นั้นเป็นอัตตาตัวตนทรงสภาพอยู่ชั่วนิรันดรไม่เปลี่ยนแปลงนั้นถูกแล้ว อัตตา(ตัวตน)นี้คือธรรม พอเราทำให้อาการของจิตเที่ยง ไม่ส่ายไปส่ายมา ไม่โดนกระทบจากอารมณ์ต่างๆ ที่ถูกกิเลสตัณหาเข้ากระทบ อาการหรืออารมณ์ของจิตจะกลายเป็นคลื่นที่สงบ


อาการของจิตเที่ยงนี่หมายรวมถึงไม่เกิดดับด้วยหรือเปล่าคะ หรือแค่ไม่ส่ายไปส่ายมา

ไม่โดนกระทบจากอารมณ์ต่างๆ ที่ถูกกิเลสตัณหาเข้ากระทบ
ตรงนี้ก็ไม่สามารถค่ะ เมื่อจิตคือสภาวะรู้อารมณ์ที่มากระทบ แล้วถ้าไม่โดนกระทบจากอารมณ์ต่างๆ อะไรจะเป็นเหตุให้เกิดสภาวะรู้อารมณ์คือจิตหล่ะคะ ..งง..งง อ่ะค่ะ

:b8:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2009, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เมื่อจิตมีสภาพเป็นอัตตา แล้วตัวเจตสิกที่เป็นสหชาติธรรมของจิต ที่ปรุงแต่งจิตมีลักษณะเป็นอะไร
แล้วจิตที่เกิดดับ อย่างน้อย ๑๗ ขณะเมื่อมีอารมณ์มากระทบหล่ะคะ

ขอแบบคนปัญญาด้อยๆ พอเข้าใจ


คือสังขารครับ
อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
อัตตา(ตัวตน)นี้คือธรรม

ถ้าเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ก็ควรเป็น อนัตตาด้วย คือไม่ควรยึดมั่นถือมั่น บังคับควบคุมไม่ได้ ไม่ถูกหรือคะ
คือ...สรรพเพ ธรรมมา อนัตตา... ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ถูกเปล่าคะ
ถามเยอะไปหน่อย แต่มันต่อไม่ติดค่ะ

ถ้าท่านผู้รู้ท่านใด พอจะเมตตาสาธยายให้อ่านได้อย่างลึกซึ้งก็ยินดียิ่งค่ะ
คงไม่เกินสติปัญญาที่จะเรียนรู้...


อัตตา หรือ อนัตตา ก็เป็นเพียงพยันชนะ อรรถคือธรรม

อ้างคำพูด:
อาการของจิตเที่ยงนี่หมายรวมถึงไม่เกิดดับด้วยหรือเปล่าคะ หรือแค่ไม่ส่ายไปส่ายมา

ตอบด้วยตรงนี้ได้ครับ
อ้างคำพูด:
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร


"จิตวิญญาณมันไม่ใช่ของแตกของทำลาย แลไม่ใช่ของสูญหาย พระพุทธเจ้าสอนให้จิตมันเที่ยง เหมือนพระนิพพานเป็นของเที่ยง ไม่แปรผัน ยักย้าย "

กระผมว่าชัดเจนดีนะครับ
อ้างคำพูด:
ไม่โดนกระทบจากอารมณ์ต่างๆ ที่ถูกกิเลสตัณหาเข้ากระทบ
ตรงนี้ก็ไม่สามารถค่ะ เมื่อจิตคือสภาวะรู้อารมณ์ที่มากระทบ แล้วถ้าไม่โดนกระทบจากอารมณ์ต่างๆ อะไรจะเป็นเหตุให้เกิดสภาวะรู้อารมณ์คือจิตหล่ะคะ ..งง..งง อ่ะค่ะ

เปรียบจิตที่เที่ยงเป็นดังกระจกเงา...สามารถรับอะไรไว้ก็ได้ แต่ไม่ติดต้องกับสิ่งทั้งหลายที่รับไว้
เปลวไฟในกระจกไม่สามารถเผากระจกได้ฉันใด ไฟจากกิเลสตันหาก็ไม่สามารถเผาผลาญจิตได้ฉันนั้น

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุ คุณแมวขาวมณีและ คุณnatdanai

:b47: คนไร้สาระมีข้อความของครูบาอาจารย์มาฝากค่ะ

:b8: ท่านว่า "สิ่งที่คิด ไม่ใช่ "จิต " แต่เป็น อาการของจิต
:b8: "สิ่งที่ไม่คิด คือ "จิต" และคือ ตัวรู้



:b47: ท่านว่าอารมณ์ ต่าง ๆ ที่ผุดขึ้นที่จิต ไม่ใช่ตัวจิต แต่เป็นอาการของจิต
ตัว จิตแท้ ๆ คือความเกิด-ดับ ไม่มีอะไรในนั้น เป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ท่าน
เรียก ธาตุรู้ โดยธรรมดาผู้ที่ยังปฏิบัติศึกษา ในแนวเจริญสติอยู่ระยะแรก ๆ
ท่านว่า จะไม่สามารถเห็นตัวจิตแท้ ๆ ได้ เห็นเพียงอาการของจิต ที่เมื่อถูก
กระทบจากผัสสะ ทั้ง 6 จิตกระเพื่อม หวั่นไหว เกิด ราคะ โทสะ โมหะ
เปลี่ยนไปมาตามผัสสะที่มีองค์ประกอบ ของอาสวะที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน

:b47: ตรงนี้ถ้าสติเกิด สันตติขาด ความสืบเนื่องของ วัฏฏะขาด
ถ้าู้ตามรู้ความหวั่นไหวที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ จิตจะปล่อยวางความยึด
ในสิ่งต่าง ๆ ได้เองอัตโนมัติ เพราะเห็นความไม่เที่ยง (เห็นไตรลักษณ์)
เดี๋ยวเกิดเดี๋ยวดับ(เห็นตัวจิต) ถ้าเห็นความเกิดดับได้ พอจนจิตยอมรับ
ตามความเป็นจริง ความเป็นกลางจะ บังเกิดขึ้น เพราะรู้ทุกข์
สมุทัยย่อมละได้เอง

:b47: ข้อมูลนี้คนไร้สาระได้มาจากครูอาจารย์ ตามรู้ตามศึกษา
ถ้าถูกผิดประการใด โปรดช่วยพิจารณาชี้แนะ เพื่อแลกเปลี่ยน
ความรู้ด้วยความเป็นกัลยาณมิตร เป็นเพื่อนร่วมสังสารวัฏ เกื้อกูล
เพื่อข้ามฝั่งให้ได้ สาธุค่ะคุณแมวขาวมณี

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
เข้าใจมากขึ้น และแน่ใจยิ่งขึ้นเยอะเลยค่ะ
ขอบคุณทุกท่านที่ให้ธรรมปัญญาค่ะ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณแมวขาวมณีครับ


ธรรม หรือ ธรรมชาติ หรือจิต มี 2 อย่าง

1. จิต หรือ ธรรม ที่เป็นอสังขตธรรม หรืออสังขตธาตุ จิตหรือธรรมชาติตัวนี้ พระพุทธเจ้าเรียกว่า นิพพานจิต หรือพุทธะ จิตตัวนี้สร้างสิ่งที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย และเป็นอมตะ นิยามคำว่า "อัตตา" ในอนัตตลักขณสูตร ก็คือ อายตนะที่จิตที่เป็นอสังขตธรรมสร้างขั้นมา = อายตนะนิพพาน หรือ ธรรมกาย

ศาสนาอื่น เรียกจิตและอายตนะนิพพานว่า พระเจ้า ปรมาตมัน อาตมัน พระพุทธเจ้าเรียกไปทางมหายานว่า อาทิพุทธ หรือ พระไวโรจนพุทธเจ้า แต่ศาสนาพุทธหินยาน เรียกว่า อรหันต์ และถ้าแยกตามหน้าที่ก็คือ พระรัตนตรัย(พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์)

2. จิต หรือ ธรรม ที่เป็นสังขตธรรม หรือสังขตธาตุ จิตหรือธรรมชาติตัวนี้ พระพุทธเจ้าเรียกว่า จิตสังขาร จิตตัวนี้สร้างสิ่งที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย และไม่เป็นอมตะ นิยามคำว่า "อนัตตา" ในอนัตตลักขณสูตร ก็คือ อายตนะที่จิตที่เป็นสังขตธรรม(จิตสังขาร)สร้างขั้นมา = ขันธ์ 5 หรือเบญจขันธ์

เป้าหมายของพระพุทธเจ้าที่มายังโลกนี้ คือ ช่วยให้พวกเราทำจิตให้หลุดพ้นจากสังขตธรรม และไปอยู่ในฝั่งของจิต หรือ ธรรม ที่เป็นอสังขตธรรม หรืออสังขตธาตุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณแมวขาวมณีครับ(ต่อ)


1. จิตที่เกิดดับ อย่างน้อย ๑๗ ขณะเมื่อมีอารมณ์มากระทบ

ผมไม่ขอโต้ตอบในเรื่องปริยัตินะครับ เพราะต้องล้างการตีความของอรรรถกฐาจารย์ และฎีกาจารย์ใหม่หมดเลย และต้องนำเอาพระอรหันต์หรืออย่างน้อยพระอนาคามีมาเป็นผู้ตีความพระไตรปิฎก ศาสนาพุทธของเราเป็นสัทธรรมปฎิรูป(ของปลอม)หาใช่โดนคนนอกศาสนาทำไม่ แต่คนในศาสนานี่เองที่ไม่ปฏิบัติให้ถึงขั้นอริยะสงฆ์แต่ดันไปตีความอะไรกันมั่วๆ

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชน แล้วย่อมกลายเป็นของปลอม(สัทธรรมปฏิรูป) ไป แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร์ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริงและเป็นของไม่ลบเลือนด้วย

เพราะฉะนั้น เมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติธรรมฝ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจ กำนัดเหล่ากะปอมก่า คืออุปกิเลสแล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จแต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจาก

สิ่งที่คุณ คนไร้สาระ นำมาฝากนั่นถูกแล้วครับ

"สิ่งที่คิด ไม่ใช่ "จิต " แต่เป็น อาการของจิต
"สิ่งที่ไม่คิด คือ "จิต" และคือ ตัวรู้

คุณ natdanai ใช้คำว่า สังขาร นั่นก็คื จิตสังขาร นั่นเอง จิตในพระอภิธรรม หรือ จิตในปฏิจจสมุปบาท ก็คือตัวนี้

2. ...สรรพเพ ธรรมมา อนัตตา... ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา

มารเขาสิงใจพวกเรา(ปถุชนและสมมุติสงฆ์) ให้มองไม่เห็นคำขึ้นต้นก่อนบท...สรรพเพ ธรรมมา อนัตตา... คำขึ้นต้นเป็นคำนำหน้าบทของขันธ์ 5 และสังขาร เท่านั้น บทนิพพานไม่ใช่เลย
อรรรถกฐาจารย์ และฎีกาจารย์พวกนี้ จะเป็นพระพุทธเจ้าเสียเองแล้ว สิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้บอก ไอ้เวรพวกนี้ แม่งบอกเอง เขียนเองว่า "นิพพานเป็นอนัตตา"

ในอนันตลักขณะสูตร สิ่งที่จะเป็นอนัตตาได้ สิ่งนั้นต้องไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวน(อาพาธ) แก่ เจ็บ ตาย แล้วถ้านิพพานเป็นอนัตตา นิพพานมันก็ต้องต้องไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวน(อาพาธ) แก่ เจ็บ ตาย แล้วจะเข้านิพพานไปหาพระแสงอะไรวะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตรงนี้ถ้าสติเกิด สันตติขาด ความสืบเนื่องของ วัฏฏะขาด
ถ้าู้ตามรู้ความหวั่นไหวที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ จิตจะปล่อยวางความยึด
ในสิ่งต่าง ๆ ได้เองอัตโนมัติ เพราะเห็นความไม่เที่ยง (เห็นไตรลักษณ์)
เดี๋ยวเกิดเดี๋ยวดับ(เห็นตัวจิต)

สติเกิดสืบเนื่องกันไปไม่ขาดจากกัน จะเรียกสันตสติก็ได้
ผู้ที่ทำให้ต่อเนื่องกันได้ อย่างเร็ว7 วัน อย่างกลาง 7เดือน อย่างช้า 7ปี
ก็สามารถบรรลุธรรมขั้นสูงได้ :b40: :b40:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณnatdanai ครับ


อนัตตา = ขันธ์ 5 นาม-รูป สิ่งนี้เป็น "เปลือก"

อัตตา = ธรรมขันธ์ อายตนะนิพพาน สิ่งนี้เป็น "แก่น"

พระอรหันต์ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ คือ พระนิพพานธาตุยังมีอุปาทิเหลือ คือ ยังมีเบญจขันธ์ (ขันธ์ 5) เมื่อดับเบญจขันธ์ (ขันธ์ 5) แล้ว ก็จะกลายเป็นพระอรหันต์ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ หรือ พระวิสุทธิเทพ
ขันธ์ของพระวิสุทธิเทพนี้แหละที่เรียกว่า "อัตตา" = เที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปวน(เกิดแก่เจ็บตาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้าท่านผู้รู้ท่านใด พอจะเมตตาสาธยายให้อ่านได้อย่างลึกซึ้งก็ยินดียิ่งค่ะ
คงไม่เกินสติปัญญาที่จะเรียนรู้...


ไม่ใช่ท่านผู้รู้นะจ้ะ พอจะอธิบายตามที่ตนเองเข้าใจ ดังนี้

จิต คือ ผู้รู้ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ส่ายแส่ ในสารพัดเรื่อง
ใจ คือ ผู้ไม่นึก ไม่คิด อยู่กลาง ๆ รู้อยู่เฉย ๆ
เจตสิก คือ ผู้ปรุงแต่งจิต (จิตสังขาร) ผู้สนับสนุนจิต ปรุงแต่งทั้งกุศล อกุศล ทั้งโลภ โกรธและหลง

หากเปรียบเทียบกับน้ำก็จะได้เป็น :---

น้ำที่สงบก็คือ ใจ
ระลอกคลื่น ฟองฝอยก็คือ จิต
คลื่นที่น้อยใหญ่ ก็คือ เจตสิก ปรุงแต่งมากคลื่นก็ใหญ่ ปรุงแต่งน้อยคลื่นก็น้อย

เจตสิกนี้เกิดขึ้นและก็ดับพร้อมกับจิต ซึ่งเป็นไปตามไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง(เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) ทุกขัง อนัตตา
(เช่น คิดเรื่องโลภก็ปรุงแต่งไปเรื่อย ๆ ปรุงแต่งมากความโลภก็มาก เมื่อเลิกคิดหยุดคิด การปรุงแต่งก็หยุดก็ดับ ฯลฯ)

"จิต" ที่ดับเพราะรู้ในไตรลักษณ์ ก็คือ "ใจ" (น้ำที่สงบไมมีคลื่น)ไม่นึกไม่คิด เป็นกลาง ๆ ไม่เอนเอียง รู้อยู่เฉย ๆ เป็นอุเบกขา ไม่ปรุงแต่งกับสิ่งใด ๆ เรียกว่า "ธาตุรู้ หรือ ธรรมธาตุ" ก็ได้ เพราะ "จิตอันใด ใจอันนั้น" ที่เรียกต่างกันเพราะอาการเกิดที่ต่างกันเท่านั้น

เจริญธรรม

:b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2009, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
1. จิตที่เกิดดับ อย่างน้อย ๑๗ ขณะเมื่อมีอารมณ์มากระทบ

ผม ไม่ขอโต้ตอบในเรื่องปริยัตินะครับ เพราะต้องล้างการตีความของอรรรถกฐาจารย์ และฎีกาจารย์ใหม่หมดเลย และต้องนำเอาพระอรหันต์หรืออย่างน้อยพระอนาคามีมาเป็นผู้ตีความพระไตรปิฎก ศาสนาพุทธของเราเป็นสัทธรรมปฎิรูป(ของปลอม)หาใช่โดนคนนอกศาสนาทำไม่ แต่คนในศาสนานี่เองที่ไม่ปฏิบัติให้ถึงขั้นอริยะสงฆ์แต่ดันไปตีความอะไรกัน มั่วๆ

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชน แล้วย่อมกลายเป็นของปลอม(สัทธรรมปฏิรูป) ไป แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร์ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริงและเป็นของไม่ลบเลือนด้วย

เพราะ ฉะนั้น เมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติธรรมฝ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจ กำนัดเหล่ากะปอมก่า คืออุปกิเลสแล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จแต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจาก

สิ่งที่คุณ คนไร้สาระ นำมาฝากนั่นถูกแล้วครับ

"สิ่งที่คิด ไม่ใช่ "จิต " แต่เป็น อาการของจิต
"สิ่งที่ไม่คิด คือ "จิต" และคือ ตัวรู้

คุณ natdanai ใช้คำว่า สังขาร นั่นก็คื จิตสังขาร นั่นเอง จิตในพระอภิธรรม หรือ จิตในปฏิจจสมุปบาท ก็คือตัวนี้

2. ...สรรพเพ ธรรมมา อนัตตา... ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา

มาร เขาสิงใจพวกเรา(ปถุชนและสมมุติสงฆ์) ให้มองไม่เห็นคำขึ้นต้นก่อนบท...สรรพเพ ธรรมมา อนัตตา... คำขึ้นต้นเป็นคำนำหน้าบทของขันธ์ 5 และสังขาร เท่านั้น บทนิพพานไม่ใช่เลย

:b8: :b8: :b8:
สาธุค่ะ
ขอบคุณคุณพลศักดิมากค่ะ

อ้างคำพูด:
เพราะฉะนั้น เมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติธรรมฝ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจ กำนัดเหล่ากะปอมก่า คืออุปกิเลสแล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จแต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจาก
แมวขาวฯเห็นด้วยค่ะ

จึงหมั่นปฏิบัติจิตใจ ทำ เวิร์คชอป แต่ก็ต้องใช้คู่มือด้วยอ่ะค่ะ
ศึกษาไป ปฏิบัติไป ไอ้จะไม่ศึกษา้เลยก็ขัดกับจริตตัวเองอยู่
จึงขอไปอ่านไปศึกษาเำิพิ่่มเติมจากหลายๆ ที่ หลายๆ แหล่ง แล้วไตร่ตรองตามกำลังปัญญา
คุณพลศักดิ โชคดีจังค่ะ
ขอบคุณค่ะ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร