วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 12:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2009, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว




mink_3199.jpg
mink_3199.jpg [ 82.53 KiB | เปิดดู 3988 ครั้ง ]
nene เขียน:
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 260

๘. อัคคิขันธูปมสูตร
[๖๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้น-
โกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จดำเนินไปสู่ทางไกล
ได้ทอดพระเนตรเห็นไฟกองใหญ่ กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่
ในที่แห่งหนึ่ง จึงเสด็จแวะจากทางประทับนั่งบนอาสนะทีปูลาดไว้ใกล้
โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นไฟกองใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
อยู่หรือไม่ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน การเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลัง
ลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ กับการเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระ-
ราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้า
อ่อนนุ่ม อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือ
นอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี
ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม นี้ประเสริฐกว่า ส่วนการที่บุคคลเข้าไป
นั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
อยู่เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เดือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 261

สกปรกน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็น
สมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่าประพฤติ
พรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ เข้าไป
นั่งกอดหรือนอนกอดพระราชะดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาว
คฤหบดี จะประเสริฐอย่างไร การเข้าไปนั่งกอดนอนกอดกองไฟ
ใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะ
การเข้าไปกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึง
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาติ นรก เพราะการเข้าไปกอดกองไฟใหญ่
นั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก มีความ
ประพฤติสกปรก น่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่
ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่า
ประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ
เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือ
บุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่มนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานแก่เขา และ
ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษ
มีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้างแล้วชักไปมา
เชือกหนังพึงบาดผิว บาดผิวแล้ว พึงบาดหนัง บาดหนังแล้ว พึง
บาดเนื้อ บาดเนื้อแล้ว พึงตัดเส้นเอ็น ตัดเส้นเอ็นแล้ว พึงตัดกระดูก
ตัดกระดูกแล้ว หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก กับการยินดีการกราบไหว้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 262

แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
ไหนจะดีกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีการกราบไหว้แห่ง
กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า
การที่บุรุษผู้มีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้าง
แล้วชักไปชักมา เชือกหนังพึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่จดเยื่อใน
กระดูก นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดี
การกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ
คฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง เอาเชือกหนัง
อันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้าง แล้วชักไปชักมา เชือกหนัง
พึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้น
เป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะขอนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดัง
หยากเยื่อ ยินดีกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล
หรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษที่มีกำลัง
เอาหอกอันคมชะโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอก กับการยินดีอัญชลีกรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 263

ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
ไหนจะดีกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีอัญชลีกรรมของ
กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมพาศาล นี้ดีกว่า
ส่วนการที่บุรุษมีกำลังเอาหอกอันคมชะโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอก
นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดี
อัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี-
มหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษกำลัง เอาหอกอันคมชะโลม
น้ำมัน พุ่งใส่กลางอก นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุ เพราะเขา
จะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้น
เมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้น
เป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดี
อัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี-
มหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์
สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลังเอาแผ่น
เหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว กับการบริโภค
จีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล
หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 264

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคจีวรที่เขาถวายด้วย
ศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
มหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง เอาแผ่นเหล็กแดงไฟกำลังลุก
รุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลนั้นทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ
บริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์
มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล. จะดีอย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง
เอาแผ่นเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว นี้ดีกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่เขาเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดัง
หยากเยื่อ บริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล
พราหมณ์มหาศาล. หรือคฤหบดีมหาศาล นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น
และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
การที่บุรุษมีกำลังเอาขอเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
เกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
เข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น
ไหม้คอ ไหม้อก ไหม้เรื่อยไปถึงไส้ใหญ่ไส้น้อย แล้วออกทางทวาร
เบื้องต่ำ กับการบริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 265

กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหน
จะดีกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคบิณฑบาตที่เขา
ถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ
คฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง เอาขอเหล็กแดงไฟ
กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง เกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง
ไฟกำลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึง
ไหม้ริมฝีปาก... แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ
บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล
พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่
บุรุษมีกำดัง เอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยวปาก
อ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้า
ในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปากะ... แล้วออกทางทวาร
เบื้องต่ำ นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ นั้นพึงถึงความตาย
หรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่
บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวาย
ด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
มหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์
สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 266

ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง จับที่
ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับนอนทับบนเตียงเหล็กหรือตั่งเหล็กแดง
ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง กับการบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวาย
ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
มหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวาย
ด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
มหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอแล้ว
ให้นั่งทับหรือนอนทับเตียงหรือตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์
โชติช่วง นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ
บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล
พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษ
ผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับหรือนอนทับเตียง
หรือตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง นั้นดีกว่า ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นจะพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ
เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของ
กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นั้น ย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 267

เป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่
บุคคลผู้ทุศีลนั้น ละบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง
โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ผู้นั้นถูก
ไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น นางครั้งลอยขึ้นข้างบน
บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวาง ๆ กับการบริโภค
วิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์-
มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลไหนจะดีกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภควิหารที่เขาถวาย
ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
มหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง
โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ผู้นั้นถูก
ไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้นข้างบน
บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวาง ๆ นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ
บริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา การที่บุรุษมีกำลัง จับเอา
เท่านั้น เอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์
โชติช่วง ถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำ ในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้ง
ลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอย ไปขวาง ๆ
นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นพึงเข้าถึงความตายหรือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 268

ทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคล
ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา
ข้องกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบทายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอด
กาลนาน แก่บุคคลผูทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ
เหตุนั้นแหล่ะ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายบริโภค
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของ
เหล่าใด ปัจจัยของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์มากและ
การบรรพชาของเราทั้งหลายจักไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล อนึ่ง เธอทั้งหลาย
พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์นั้น ควรแท้ทีเดียว
ที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท เมื่อพิจารณา
เห็นประโยชน์ผู้อื่น ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จ
ด้วยความไม่ประมาท หรือเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้งสอง
ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์ทั้งสองนั้นสำเร็จด้วยความไม่
ประมาท.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
และเมื่อกำลังตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ โลหิตร้อนพุงออกจากปาก
ของภิกษุ ๖๐ รูป (พวกต้น) ภิกษุ ๖๐ รูป (พวกกลาง) ลาสิกขา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 269

ลึกมาเป็นคฤหัสถ์ ด้วยกราบทูลพระผุ้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำได้
แสนยาก อีก ๖๐ รูป จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น.
จบ อัคคิขันธูปสูตรที่ ๘

:b8: ก็ลองอ่านพระสูตรนี้อีกสักเรื่องสำหรับภิกษุที่ยังยินดีในทางโลก วุ่นวายกับเรื่องโลกอยู่และที่ยังประพฤติตัวนอกเหนือพระธรรมวินัยอยู่ :b29:

:b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23: :b23:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2009, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 19:18
โพสต์: 160

ที่อยู่: นนทบุรี

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเข้าใจว่า... ในสมัยนี้พระภิกษุต้องเรียนทั้งทางโลกและทางธรรม เพื่อที่จะสามารถสั่งสอนเหล่าพุทธศาสนิกชนได้ ทั้งนี้เรียนทางโลก จะได้เทศน์แล้วผู้คนเข้าใจง่าย เทศน์แล้วสนุก

ดูตัวอย่างจากท่าน ว. วชิรเมธี ครับ :b12:

.....................................................
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2009, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


sumanametee เขียน:
ผมว่าไม่ใช่เรื่องที่ไม่เหมาะสมครับ ถ้าเจตนาของผู้เรียน หวังจะนำไปใช้พัฒนาพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง หรืออาจจะมีเจตนาอื่นก็ตาม เเต่ความรู้นั้นก็ยังใช้พัฒนาบุคลากรในชาติได้ครับ

ฉะนั้น ครับ พระเณรที่เล่าเรียนทางโลก หรือทางไหน ก็ดีหมดครับ เพราะว่าป็นบ่อเกิดของความรู้ ความสามารถ เเต่ถึงอย่างนั้นความรู้ทางธรรมย่อมเป็นยอดเสมอครับ

ศาสนาพุทธคือธรรมชาติครับ คือหลักธรรมชาติ กรรมก็คือธรรมชาติ มีเหตุผลในตัวเช่นฝนตกน้ำก็หลาก
เราทำกรรมไว้กรรมนั้นย่อมคืนสนองทำไมพระจะเรียนทางโลกไม่ได้หล่ะ ไม่ได้บาปอะไรนี่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2009, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างถึงคุณ ผู้ดูแลสัตว์วิเศษ
ศาสนาพุทธคือธรรมชาติครับ คือหลักธรรมชาติ กรรมก็คือธรรมชาติ มีเหตุผลในตัวเช่นฝนตกน้ำก็หลากเราทำกรรมไว้กรรมนั้นย่อมคืนสนองทำไมพระจะเรียนทางโลกไม่ได้หล่ะ ไม่ได้บาปอะไรนี่

พระหรือเณรที่เรียนมหาวิทยาลัยทางโลกหรือเรียนสายสามัญทั้งหลายเพื่อจะได้มีวิชาประกอบอาชีพเมื่อสึกออกไปหรือเพื่อความรู้ในสาขาวิชานั้นๆก็ตาม ผิดทั้งนั้นแหละ

เพราะวิชาทั้งหลายที่สอนกันอยู่ในมหาวิทยาลัยนั้น เป็นวิชาที่ขวางกับทางดำเนินไปพระนิพพาน
และล้วนแล้วแต่เป็นไปเพื่อการวนเวียนวกวนอยู่ในโลกแห่งความทุกข์ทั้งหลายเท่านั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ที่เป็นเจ้าของศาสนาพุทธนี้
ได้ใช้ความอุตสาหะพยายามและความเสียสละอย่างใหญ่หลวงอย่างที่สุด
หาที่เปรียบมิได้เป็นระยะเวลารวมทั้งหมดไม่น้อยกว่า 20 อสงไขย
ตั้งพุทธศาสนานี้ขึ้นมาด้วยเจตนาอันแน่วแน่มิเป็นอื่น ก็เพื่อจะขนสัตว์ออกจากวัฏฏะสงสาร
มิใช่ว่าจะตั้งพุทธศาสนาขึ้นมาเพื่อให้สัตว์หลงใหลวนเวียนอยู่ในวัฏฏะจักรแห่งความทุกข์นี้


เพราะฉะนั้นผู้ที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้วต้องตั้งใจศึกษาหาความรู้อยู่ในกรอบระเบียบ
ที่พระพุทธเจ้ากำหนดเอาไว้ให้ ซึ่งก็มีอยู่มากมายและมีเพียงพอที่คนๆ หนึ่งเมื่อบวชเข้ามาแล้ว
จะศึกษาอยู่จนตลอดชีวิตได้ ซึ่งในพระพุทธศาสนาเรียกว่า "ไตรสิกขา"
ซึ่งหมายถึงการศึกษาอยู่ในศีล - สมาธิ - ปัญญา ให้รู้ชัดแจ่มแจ้งชัดเจนหายสงสัยด้วยตัวของตัวเอง
ตราบใดที่ยังไม่รู้ชัด - แจ่มแจ้ง - ชัดเจน - หายสงสัยในธรรมทั้งหลายแล้ว ก็ต้องศึกษาอยู่อย่างนั้นจนตลอดชีวิต

เมื่อผู้ที่บวชเข้ามาได้ศึกษาอบรมตนตามที่พระพุทธเจ้าพุทธแนะนำไว้จนตลอดชีิวิตแล้ว
ถึงแม้ผู้นั้นจะไม่ได้มรรค - ผล ใดๆ ในชาตินี้ - ในศาสนานี้ก็ตาม
แต่การกระทำดังกล่าวก็ชื่อว่าสมเจตนาของผู้ก่อตั้งศาสนาแล้ว
และวัฏฏะสงสารของผู้ที่บวชเข้ามาในศาสนาพุทธแล้วกระทำการศึกษาตามที่พุทธเจ้าสอนนั้น
ก็สั้นเข้ามา - งวดเข้ามา - หรือบางทีก็อาจจะสามารถมองเห็นจุดหมายปลายทางของวัฏฏะสงสารได้

แต่การกระทำดังที่คุณว่ามาคือบวชเป็นพระหรือเณรแล้วยังไปขวนขวายในการศึกษาทางโลกอยู่นั้น
นั่นมันเป็นการเพิ่มวัฏฏะสงสารของผู้ที่บวชเข้ามาให้รุ่งเรือง - แพร่หลาย - ใหญ่โต
จนยากที่จะคณานับได้ว่าเมื่อใหร่จะสิ้นสุด ผู้ใดสนับสนุนให้วัฏฏะจักรคือ การเกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย ของพวกเขา (พระที่บวชเรียนมหาวิทยาลัย) รุ่งเรือง วัฏฏะจักรของผู้ที่สนับสนุนก็พลอยรุ่งเรืองไปด้วยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้


เล่ม 9 หน้า 65

เรื่องเรียนคัมภีร์โลกายตะ


สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์เรียนคัมภีร์โลกายตะ ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า...
เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่...
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ การกระทำของเธอนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส...

ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เห็นคัมภีร์โลกายตะว่ามีสาระ จะพึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้หรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า. ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า. อันผู้ที่เห็นธรรมวินัยนี้ว่ามีสาระ จะพึงเล่าเรียนคัมภีร์โลกายตะหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า. ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเรียนคัมภีร์โลกายตะ รูปใดเรียนต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา

พระฉัพพัคคีย์สอนคัมภีร์โลกายตะ
ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า...เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. ..
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ การกระทำของเธอ
นั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส...

ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสอนคัมภีร์โลกายตะ รูปใดสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.


เรื่องเรียนดิรัจฉานวิชา (วิชาที่ขัดกับทางดำเนินไปพระนิพพาน)

สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์เรียนดิรัจฉานวิชา...
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเรียนดิรัจฉานวิชา รูปใดเรียน ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา

พระฉัพพัคคีย์สอนดิรัจฉานวิชา
ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม…
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสอนดิรัจฉานวิชา รูปใดสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2009, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว




bn.jpg
bn.jpg [ 3.03 KiB | เปิดดู 3941 ครั้ง ]
ขี้เกียจเถียงครับ เอาเป็นว่า เลิกเถียงด้วยครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2009, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างถึงคุณ ผู้ดูแลสัตว์วิเศษ ขี้เกียจเถียงครับ เอาเป็นว่า เลิกเถียงด้วยครับ


:b20: ก็พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้ ท่านว่าไว้อย่างนี้นี่ครับ :b20:

:b8: ผมแค่เอาคำพระพุทธเจ้ามากล่าวอ้างเฉยๆ :b8:

:b8: พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ท่านคิด ท่านพูด ท่านสอน สิ่งใดก็ย่อมดึและถูกต้องเสมอ

:b14: แต่ความคิดของท่าน ผู้ยังไม่รู้ ท่านก็ต้องศึกษาให้ดีสิครับ จะเอาความคิดเห็นของตนเองมาเป็นใหญ่ มาเป็นบรรทัดฐานกล่าวชักจูงคนอื่น มันก็ไม่เหมาะสมนะครับ ถ้าจะว่าเถียงมันไม่ใช่ มันเป็นการเอาหลักธรรมคำสอนมาเปิดเผยก็เท่านั้น

:b21: จะให้ผมไปเถียงกับคุณผมก็คงไม่สามารถหรอกครับเพราะผมก็ยัง เป็นผู้ไม่รู้ เหมือนกัน

:b4: ช่วยกันศึกษาสิครับ สิ่งไหนถูกต้องก็เอามากล่าวให้ผู้อื่นได้รับทราบถึงแม้มันจะไม่ถูกใจบ้างก็ตาม

*คนฉลาดคิดว่าตนเองฉลาด ย่อมเป็นคนโง่ได้
คนโง่ คิดว่าตนเองฉลาด ย่อมโง่อยู่วันยังค่ำ
คนโง่ รู้ว่าตนเองโง่ ก็ศึกษาค้นคว้า ย่อมจะฉลาดได้* :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2009, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว




bm.jpg
bm.jpg [ 3.76 KiB | เปิดดู 3930 ครั้ง ]
บัว 4 เหล่า เขียน:
อ้างถึงคุณ ผู้ดูแลสัตว์วิเศษ ขี้เกียจเถียงครับ เอาเป็นว่า เลิกเถียงด้วยครับ


:b20: ก็พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้ ท่านว่าไว้อย่างนี้นี่ครับ :b20:

:b8: ผมแค่เอาคำพระพุทธเจ้ามากล่าวอ้างเฉยๆ :b8:

:b8: พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ท่านคิด ท่านพูด ท่านสอน สิ่งใดก็ย่อมดึและถูกต้องเสมอ

:b14: แต่ความคิดของท่าน ผู้ยังไม่รู้ ท่านก็ต้องศึกษาให้ดีสิครับ จะเอาความคิดเห็นของตนเองมาเป็นใหญ่ มาเป็นบรรทัดฐานกล่าวชักจูงคนอื่น มันก็ไม่เหมาะสมนะครับ ถ้าจะว่าเถียงมันไม่ใช่ มันเป็นการเอาหลักธรรมคำสอนมาเปิดเผยก็เท่านั้น

:b21: จะให้ผมไปเถียงกับคุณผมก็คงไม่สามารถหรอกครับเพราะผมก็ยัง เป็นผู้ไม่รู้ เหมือนกัน

:b4: ช่วยกันศึกษาสิครับ สิ่งไหนถูกต้องก็เอามากล่าวให้ผู้อื่นได้รับทราบถึงแม้มันจะไม่ถูกใจบ้างก็ตาม

*คนฉลาดคิดว่าตนเองฉลาด ย่อมเป็นคนโง่ได้
คนโง่ คิดว่าตนเองฉลาด ย่อมโง่อยู่วันยังค่ำ
คนโง่ รู้ว่าตนเองโง่ ก็ศึกษาค้นคว้า ย่อมจะฉลาดได้* :b13:

ทำไมต้องโมโหด้วยครับ ผมแค่ขี้เกียจจะพิมพ์หม่ะ ไม่ได้บอกว่าไม่เชื่อสักหน่อย อย่าเข้าใจผิดสิครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2009, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 02:22
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความโมโหนั้นย่อมเกิดขึ้นที่ตัวเราก่อนไม่ไช่ไครจะสร้างให้ได้ รวมทั้งเราเองก็รับรู้และรับผลก่อนไม่ไช่ไครเลย โลกนี้ล้วนหมุนไปเป็นธรรมดา ทุกสิ่งอยู่เป็นไปตามโลกธรรม 8 ส่วนใจเราก็อยู่กับเราหากไม่เอาใจไปกระทบโลกธรรม 8 เหล่านั้นก็เก้อเขินอยู่ไม่แปดเปื้อนเราได้ เหมือนดั่งดอกบัวที่เกิดในโคลนตมแต่บานอยู่ได้ท่ามกลางโคลนตม น้ำหยดลงไปย่อมไม่เกาะได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2009, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

บัว 4 เหล่า เขียน:
พระหรือเณรที่เรียนมหาวิทยาลัยทางโลกหรือเรียนสายสามัญทั้งหลายเพื่อจะได้มีวิชาประกอบอาชีพเมื่อสึกออกไปหรือเพื่อความรู้ในสาขาวิชานั้นๆก็ตาม ผิดทั้งนั้นแหละ


คุณบัว 4 เหล่าทราบหรือไม่ครับว่า
มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งชาติเกิดขึ้นที่ชุมพรแล้วครับ

ถ้าพระเณรไม่ศึกษาทางโลกไว้บ้าง
จะเป็นเหมือนประเทศอินเดียครับ
ต้นกำเนิดพระพุทธศาสนา แท้ ๆ
แต่มีคนนับถือพระพุทธศาสนาแค่ 1% เอง

มันไม่มีอะไรเสียหายหรอกครับเรื่องการศึกษา
ผมก็รู้เหมือนท่านนั่นแหละครับว่าการศึกษาทางธรรมมันสำคัญ
แต่สมัยนี้มิจฉาชีพเยอะเหลือเกินครับ
อย่าปิดหู ปิดตาพระคุณเจ้าท่านเลยครับ


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 01:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 02:22
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสงฆ์คือผู้สืบทอดพระศาสนา นอกนั้นยังมี อุบาสกและอุบาสิกา พุธศาสนิกชนเป็นผู้บำรุงศาสนาให้ดำรงอยู่ได้ หากไม่มีผู้สืนทอดที่ดีแล้ว ย่อมไม่มีผู้ทำนุบำรุง อุบาสกและอุบาสิกาจะลดน้อยลงพระสงจึงควรหาความแตกฉานทางธรรมเพื่อเวไนยสัตให้มากจะนำไปสู่พระนิพพานได้ ส่วนเหตุการณ์ที่อินเดียที่พระพุทธศานนาถูกทำลายลงนั้น ไม่ไช่เพราะความโง่เขลาของพระสงนะครับ แต่เป็นเพราะสงครามทั้งการเมือง และ สงครามศาสนา โดยการทำลายที่หนักที่สุกก็คือ การเผยแพร่ของศาสนาอิสลามนั้นล่ะ ที่ทำสงครามและยึดครองอินเดียทั้งตอนเหนือ กลาง ออก ตก ได้อย่างเด็ดขาด โดยได้ทำลายวัด ทำลายพุทธสถานทุกที่ และฆ่าพระสงจำนวนมาก ที่สำคัญกษัตที่ปกครองเองก็หันไปนับถืออิสลามและบังคับให้ชาวบ้านนับถืออิสลามไม่อย่างนั้นก็ถูกฆ่าตาย พระสงถูกฆ่าตายหมด รวมทั้งมหาวิทยาลัย นาลันทาที่เป็นแหล่งความรู้ ก็ถูกเผาไม่มีเหลือแม่แต่หนังสือหรือตำรา รวมทั้งการกลืนของชาวฮินดูและเชน ที่ได้ผลมากที่สุดคือการแต่งตำราบอกว่า พระพุทธเจ้าคือ ปาง หนึ่งของพระวิษณุ ทำให้คนเข้าใจว่าพุทธกับฮินดูคืออันเดียวกันแต่พระพุทธเจ้าคือ ปางหนึ่งของพระวิษณุเท่านั้นจึงไปทางฮินดูดีกว่า นี่คือปัจจัยที่ทำลายศาสนาพุทธจนไม่เหลือนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นอีกมาก แต่ไม่ขอกล่าวถึงเพราะจะยาวกว่านี้มาก แต่ยังมีพระที่ได้ทุ่มเทเดินทางไปชมพูทวีปเพื่อศึกษาพระธรรมแล้วนำไปสั่งสอนรวมทั้งผู้มีปัญญาอีกมากในหลายที่ ทำให้พระศาสนายังไม่หมดไปจากโลกนี้ นี่คือผลจากที่พระพุทธเจ้าได้ฝึกไว้ดีตั้งแต่รุ่นแรกแล้วจึงมีปัญญาที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ท่านเล็งเห็นถึงพระธรรมและวินัย รวมทั้งสิกขาบทไว้เพื่อจะให้ศาสนาดำรงอยู่ได้ ภิกษุพึงศึกษาพระธรรมและวินัยให้แตกฉานเพือสืบทอดศาสนาจะดีกว่าครับ เมื่อทำหน้าที่ดีแล้ว ย่อมมีอุบาสกและอุบาสิกาที่ดีเกิดขึ้นอีกนับไม่ถ้วนเพื่อ ทำนุบำรุงให้พุธทศาสนาดำรงไปอีกนาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 02:22
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเพิ่มนะครับ ปัจจัยสำคัญคือการมีพระราชาอุปถัมหากพระราชาไม่อุปถัมแล้วก็ยาก ในประเทศไทยเราโชคดีที่สุดที่มีพระราชาที่นับถือศาสนาพุทธและยังอุปถัมบำรุงศาสนาอย่างมากนอกนั้นยังเป็นแบบอย่างที่ดีในการบำรุงศาสนาทำให้พุทธศาสนารุ่งเรืองในไทยมาก ทุกคนก็ปฏิบัติได้อย่างราบรื่น รวมถึงทุกศาสนาก็มีอิสระในการอยู่ร่วมกัน เพราะท่านมีทศพิศราชธรรมโดยแท้ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขอโทษนะครับ คือข้างต้นเขียนผิด ผมตอบในหัวข้อนี้ 4 ครั้งแล้วครับตั้งแต่หน้าแรกคุณ nene ช่วยไปอ่านทุกตัวด้วยครับถ้าผิดถูกหรือขัดกันยังไงผมขอคำชี้แนะด้วยล่ะกันครับ แต่จะอ่านหรือไม่ก็ไม่เป็นไรครับมีคำแนะนำดี ๆ ให้ผมก็ขอบคุณแล้วครับ



:b8: ขอประทานอภัย คุณ cmessage อย่างแรง และได้แก้ไขให้แล้ว ตอนที่ตอบกระทู้เวปเป็นอะไรไม่ทราบติด ๆ ขัด ต่อจากนั้นก็เข้าไม่ได้แฮ้งค์ตลอด ก็เลยส่งกระทู้โดยไม่ได้ตัดสินใจว่าจะตอบหรือไม่ตอบ มันถูกส่งไปโดยไม่ทบทวน กระทู้ :b3: กระทู้กระทบกระเทือนจิตของคุณ cmessage บ้าง ขออภัยนะขอรับ ขอประทานอภัยจริง ๆ :b34: :b34: :b34: :b34:


แก้ไขล่าสุดโดย nene เมื่อ 01 มิ.ย. 2009, 11:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 02:22
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nene เขียน:
นี่คือผลจากที่พระพุทธเจ้าได้ฝึกไว้ดีตั้งแต่รุ่นแรกแล้วจึงมีปัญญาที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ท่านเล็งเห็นถึงพระธรรมและวินัย รวมทั้งสิกขาบทไว้เพื่อจะให้ศาสนาดำรงอยู่ได้
อ้างคำพูด:
ภิกษุพึงศึกษาพระธรรมและวินัยให้แตกฉานเพือสืบทอดศาสนาจะดีกว่าครับ
เมื่อทำหน้าที่ดีแล้ว ย่อมมีอุบาสกและอุบาสิกาที่ดีเกิดขึ้นอีกนับไม่ถ้วนเพื่อ ทำนุบำรุงให้พุธทศาสนาดำรงไปอีกนาน

"การรักษาพระธรรมวินัย" ของภิกษุ ต้องเรียนทางโลกจึงจะรู้รักษาธรรมวินัยอย่างนั้นหรือ คงไม่ใช่วิธีการนี้ เพราะเรียนทางโลกต่างหากจึงไม่ค่อยจะพอใจรักษาธรรมวินัย และกล่าวอ้างว่าที่อินเดียพระพุทธศาสนเสื่อมหายไปนั้น เป็นเพราะปัจจัยหลายอย่าง ไม่ใช่เพราะภิกษุไม่เรียนทางโลกให้ทันสมัยหรอก อย่าเพียงไปค้นหาตำราหรือศาสตร์อื่นให้เสียเวลา เพราะเป็นการลบหลู่ การตรัสรู้ของพระพุทธองค์อย่างไม่รู้ตัว พระสูตรต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกนั้น มีเนื้อหาทุกอย่างมีอยู่ครบถ้วน ทุกวิชา ในโลกนี้ ถ้ารู้จักอ่านและวิเคราะห์ให้เป็นแบบสัมมาทิฐิ และนำมาเทียบเคียงกัน เพราะคิดกันว่าโลกทันสมัยต้องไปเรียนตามวิชานั้นทางโลก กรุณาอ่านและปฏิบัติตัวตามนั้นให้เหมาะสมกับความสามารถของตัวเอง ๆ กลับไปทบทวนใหม่ว่า พระไตรปิฎกเหนือกว่าวิชาทางโลกอยู่มาก ถ้าใครคัดค้านพระไตรปิฎก ผู้นั้นถือว่าไม่ใช่ผู้ที่นับถือ พระพุทธเจ้าสมณโคดม แท้จริง และก็ไม่ต้องคิดจะไปหาการทำอย่างอื่นในแนวพุทธะหรอก มันผิดและหลงทาง เปล่า ๆ ....เคยได้ยินที่ท่านพุทธทาสภิกขุ พูดว่า "การศึกษาเหมือนหมาหางด้วน"หรือเปล่า ข้าพเจ้ามาเข้าใจเมื่อมาอ่านพระไตรปิฎกมากๆ นี่เอง และที่กล่าวอ้างยกกระทู้กันขึ้นมาก็คือพระบัญญัติในพระวินัยชัดเจน ถ้าจะให้พูดแบบตรง ๆ ก็เหยียบพระโอษฐพระพุทธองค์กันไว้หมดนั่นแหละ "พระพุทธองค์ไม่ต้องพูดขอครับ" อะไรประมาณนั้นเลยนะ และจะมาบอกว่าจะได้รักษาพระศาสนาไว้นาน ๆ ถ้าไม่รักษาพระธรรมวินัย จะเรียกว่ารักษาพระศาสนาได้หรือเปล่าหละท่าน.. :b33:


เอ่อ ขอบคุณจะครับที่อ้างอิงและยกกระทู้ที่ผมเขียนมานะครับ แต่ผมอยากให้กลับไปดูที่ผมเขียนไว้ในกระทู้นี้ตั้งแต่หน้าแรกนะครับ ผมตอบในกระทู้นี้มา 3 ครั้งแล้ว และตั้งแต่หน้าแรกผมเองได้เขียนไว้อย่างไรและสื่อถึงอะไรบ้าง และสรุปอย่างไร ว่า ทำได้หรือไม่ ผมจะขอบคุณมากเลยครับถ้าอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ ผมจะรอฟังคำแนะนำที่ดีอีกนะครับ ขอบคุณที่แนะนำครับ :b15: :b15:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 02:22
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าอ้างอิงอีกช่วยยกมาให้หมดจะดีมากครับ เพราะยกมาเพียงบางส่วนหรืออ่านบางส่วนอาจตีความเป็นอื่นได้ ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 02:22
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโทษนะครับ คือข้างต้นเขียนผิด ผมตอบในหัวข้อนี้ 4 ครั้งแล้วครับตั้งแต่หน้าแรกคุณ nene ช่วยไปอ่านทุกตัวด้วยครับถ้าผิดถูกหรือขัดกันยังไงผมขอคำชี้แนะด้วยล่ะกันครับ แต่จะอ่านหรือไม่ก็ไม่เป็นไรครับมีคำแนะนำดี ๆ ให้ผมก็ขอบคุณแล้วครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร