วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 02:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 12:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: กับท่านที่ตั้งกระทู้แต่มีอายุในนรกสำหรับพระสงฆ์ต้องอาบัติ


ทุกกฎ - ทุพภาษิต / 1 ตัว
(โทษที่ทำไม่ดี / พูดไม่ดี)

ตกสัญชีพนรก 1 ชั่วอายุคือ 500 ปีของชั้นนี้
1 วันในชั้นนี้ เท่ากับ 9 ล้านปีมนุษย์
1 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 3,285,000,000 ปีมนุษย์
500 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 1,642,500,000,000 ปีมนุษย์



ปาฏิเทสนียะ / 1 ตัว
(โทษที่ต้องแจ้งผู้อื่น)

ตกกาฬสุตตนรก 1 ชั่วอายุคือ 1,000 ปีของชั้นนี้
1 วันในชั้นนี้ เท่ากับ 36 ล้านปีมนุษย์
1 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 13,140 ล้านปีมนุษย์
1,000 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 13,140,000 ล้านปีมนุษย์



ปาจิตตีย์ / 1 ตัว
(โทษที่ทำความดีให้ตกไป)

ตกสังฆาฏนรก 1 ชั่วอายุ คือ 2,000 ปีของชั้นนี้
1 วันในชั้นนี้ เท่ากับ 144 ล้านปีมนุษย์
1 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 52,560 ล้านปีมนุษย์
2,000 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 105,120,000 ล้านปีมนุษย์



นิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์ / 1 ตัว
(โทษที่ทำความดีให้ตกไป จำต้องสละ)

ตกโรรุวนรก 1 ชั่วอายุคือ 4,000 ปีของชั้นนี้
1 วันในชั้นนี้ เท่ากับ 576 ล้านปีมนุษย์
1 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 210,240 ล้านปีมนุษย์
4,000 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 840,960,000 ล้านปีมนุษย์



มหานิสสัคคีย์ / 1 ตัว
(โทษที่ทำความดีให้ตกไป จำต้องสละที่ใหญ่)

ตกมหาโรรุวนรก 1 ชั่วอายุคือ 8,000 ปีของชั้นนี้
1 วันในชั้นนี้ เท่ากับ 2,304 ล้านปีมนุษย์
1 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 840,960 ล้านปีมนุษย์
8,000 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 6,727,680,000 ล้านปีมนุษย์



ถุลลัจจัย / 1 ตัว
(โทษที่ใหญ่และหยาบ)

ตกตาปนรก 1 ชั่วอายุ คือ 16,000 ปีของชั้นนี้
1วันในชั้นนี้ เท่ากับ 9,216 ล้านปีมนุษย์
1 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 3,363,840 ล้านปีมนุษย์
16,000 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 53,821,440,000 ล้านปีมนุษย์




สังฆาทิเสส / 1 ตัว
(โทษที่หมู่ภิกษุ จำต้องลงโทษ)

ต้องตกมหาตาปนรก 1 ชั่วอายุ คือ ครึ่งกัปป์

ปาราชิก / 1 ตัว
(โทษที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ)

ต้องตกอเวจีนรก 1 ชั่วอายุ คือ หนึ่งกัปป์์



หมายเหตุ - ข้อมูลนี้มาจากพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระวันรัต (แดง ) วัดสุทัศน์ฯ
- สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา – ฉบับกรุงธนบุรี เล่ม 1-2


:b4: คิดว่าคงไม่โดนลบอีกรอบนะ เพราะตอบมาแล้วไม่ถูกใจคน เพราะทุกอย่างในสังสารวัฎ มันไม่ได้เป็นสิ่งที่สวยหรูงามตา มันมีแต่ความทุกข์ร้อนรน พระพุทธองค์จึงแนะนำให้หนี ด้วยวิธีต่าง ๆ ใครจะขัดขืนธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้มาก็ตามใจ คิดใครคิดมันนะ :b34:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


บัว 4 เหล่า เขียน:
ภิกษุทุกวันนี้ ต่างตั้งใจศึกษาทางโลกกันอย่างจริงจังและตั้งใจเพื่อให้สำเร็จได้วุฒิปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วเมืองไทย

ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายคิดเห็นประการใดเกี่ยวกับเรื่องนี้หนอ

ถ้าไม่ได้แล้วสมัยโบราณจะไปเรียนหนังสือกับพระได้อย่างไร ลองคิดดูสิครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้าไม่ได้แล้วสมัยโบราณจะไปเรียนหนังสือกับพระได้อย่างไร ลองคิดดูสิครับ


คำว่าโบราณนั้นคืออะไร ถ้าจะเป็นสมัยครั้งพุทธกาล ไม่มีหรอกที่ไปเรียนหนังสือกับพระไม่กล่าวถึงอยู่ในพระสูตรไหน มีแต่กล่าวไว้ว่าถ้าใครขัดข้องใจเรื่องอะไรก็เข้าไปหาไปถามเท่านั้น พอได้คำตอบเป็นที่พอใจก็กลับบ้านนำคำสอนคำอธิบายนั้นกลับไปประพฤติบัติด้วยตนเอง ถ้ามาสมัยที่ประเทศไทยมีเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์นั้นก็ไม่รู้ว่าเขาไปเอามาจากไหนกัน มาปฎิบัติในเรื่องนี้ เอ่อ ...หรือว่าสมัยก่อนคนมีกิเลสน้อยหรือเปล่าไม่รู้นะ เลยไม่ค่อยมีเรื่องยุ่งต้องเรียนวิชาการต่าง ๆ อย่างสมัยนี้ คงไปถามแต่เรื่องทำมาหากินธรรมดา และศึกษาธรรมะเท่านั้น เลยไม่ต้องยุ่งเหยิงเหมือนเดี๋ยวนี้ ทำให้พระต้องอาบัติโดยไม่รู้ตัว....และส่งเสริมว่าต้องเรียนทางโลกเพื่อให้ทันเหตุการณ์ อยากเรียนก็เรียนไปกันเถอะ ถ้าอยาก.......ใครจะห้ามได้ :b34:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 23:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 10:57
โพสต์: 26


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ว่าใครจะมีความคิดเเบบใดก็ตาม เเต่ความคิดใดๆ ที่เป็นไปเพื่อความผาสุกเเก่ ชาวโลก ก็ขออนุโมทนาในความคิดเช่นนี้

โลกก็ดำเนินไปตามกระเเสของมัน

ถูกที่ เรา เป็น นักปฏิบัติ ต้องทวนกระเเส ของมัน

เเละก็ถูกอีก ที่ สามารถทวนกระเเสได้

เเต่นั่นก็คือ นักปฏิบัติ เเละ จริยาวัตรของนักปฏิบัติ

หากเราปฏิบัติดีเเล้วก็มีผลดีกะตัวเรา

เเต่ในเรื่องนี้มันเป็นกระเเสของโลก ทุกคนอยู่ในโลกก็ต้องยอมรับมัน

เเต่หากคิดจะทวนกระเเส ก็ ทำได้

เเล้วคุณครับ ล้านคน ล้านความคิด

ไม่มีใครถูก ไม่มีใครผิด

ก็มีเเต่ความเห็นเราเท่านั้นเเหละ ที่พามันไป

วางใจเป็นกลางดีที่สุดครับ อย่าหนักไปข้างใดมาก

เพราะเราก็อยู่ในโลกใบเดียวกัน

สาธุๆ

.....................................................
ไม่มีใครเก่งเกินกรรม กรรมเท่านั้นตัดสินทุกอย่าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


เล่ม 37 หน้า 451

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมกล่าวว่าโลกได้ขณะจึงทำกิจ ๆ แต่เขาไม่รู้ขณะหรือมิใช่ขณะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลมิใช่ขณะมิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นจำแนกธรรม
และธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดง นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้
อันพระสุคตเจ้าประกาศแล้ว แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงนรกเสีย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นในโลก ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม
และธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดง...
แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้เข้าถึงปิตติวิสัยแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๓.

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้เข้าถึงเทพนิกายผู้มีอายุยืนชั้นใดชั้นหนึ่งเสีย (หมายถึงพวกอสัญญีพรหม)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในปัจจันตชนบทและอยู่ในพวกมิลักขะ ไม่รู้ดีรู้ชอบ
อันเป็นสถานที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไปมา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๕.

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบทแต่เขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ
มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล
ผลวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี
สัตว์ทั้งหลายที่ผุดเกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๖

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบทแต่เขามีปัญญาทราม บ้าใบ้
ไม่สามารถรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิต (ไม่สามารถรู้เนื้อความแห่งคำดีและคำชั่ว)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๗.

อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติแล้วในโลก เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้วทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น ผู้จำแนกธรรม
ธรรมอันนำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้
อันพระสุคตเจ้าทรงประกาศแล้ว พระตถาคตมิได้แสดง (แก่เขา)
ถึงบุคคลผู้นี้จะเกิดในมัชฌิมชนบทและมีปัญญา ไม่บ้าใบ้ ทั้งสามารถจะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๘
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลอันมิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ ๘ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนขณะและสมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีประการเดียว ประการเดียวเป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
และธรรมอันตถาคตทรงแสดง เป็นธรรมนำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้
พระสุคตเจ้าทรงประกาศแล้ว และบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท ทั้งมีปัญญา ไม่บ้าใบ้
สามารถเพื่อจะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้เป็นขณะและสมัย ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ประการเดียว.

ชนเหล่าใด เกิดในมนุษยโลกแล้ว เมื่อพระตถาคตทรงประกาศสัทธรรม ไม่เข้าถึงขณะ
ชนเหล่านั้นเชื่อว่าล่วงขณะ ชนเป็นอันมาก กล่าวเวลาที่เสียไปว่า กระทำอันตรายแก่ตน
พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในกาลบางครั้งบางคราว
การที่พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๑ การได้กำเนิดเป็นมนุษย์ ๑ การแสดงสัทธรรม ๑
ที่จะพร้อมกันเข้าได้ หาได้ยากในโลก ชนผู้ใคร่ประโยชน์ จึงควรพยายามในกาลดังกล่าวมานั้น
ที่ตนพอจะรู้จะเข้าใจสัทธรรมได้ ขณะอย่าล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย
เพราะบุคคลที่ปล่อยเวลาให้ล่วงไปพากันยัดเยียดในนรก ก็ย่อมเศร้าโศก
หากเขาจะไม่สำเร็จอริยมรรค อันเป็นธรรมตรงต่อสัทธรรมในโลกนี้ได้

เขาผู้มีประโยชน์อันล่วงเสียแล้ว จักเดือดร้อนสิ้นกาลนาน เหมือนพ่อค้าผู้ปล่อยให้ประโยชน์ล่วงไป
เดือดร้อนอยู่ ฉะนั้น คนผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ พรากจากสัทธรรม จักเสวยแต่สงสาร
คือ ชาติและมรณะ สิ้นกาลนาน ส่วนชนเหล่าใดได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว
เมื่อพระตถาคตประกาศสัทธรรม ได้กระทำแล้ว จักกระทำ หรือ กระทำอยู่ ตามพระดำรัสของพระศาสดา
ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ประสบขณะ คือ การประพฤติพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก
ชนเหล่าใดดำเนินไปตามมรรคา ที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแล้ว
สำรวมในศีลสังวรที่พระตถาคตเจ้า ผู้มีจักษุเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้ว
คุ้มครองอินทรีย์ มีสติทุกเมื่อ ไม่ชุ่มด้วยกิเลส ตัดอนุสัยทั้งปวงอันแล่นไปตามกระแสบ่วงมาร
ชนเหล่านั้นแล บรรลุความสิ้นอาสวะถึงฝั่ง คือ นิพพานในโลกแล้ว.


:b11: แหม :b6: ถ้าอะไรก็สบาย ๆ ทำตามใจตัวเองหรือตามกระแสโลก ก็น่าจะสงสารพระพุทธองค์นะที่เพียรพยายามสร้างบารมีกว่าจะได้มาเป็นพระพุทธเจ้า(พุทธะแปลว่าผู้ตื่น ผู้รู้ ผู้เบิกบาน) เสียสละทุกอย่างจนพ้นจากวัฏสงสาร และยังเมตตาต่อสัตว์โลกนำพระธรรม ที่พระองค์ตรัสรู้มาโปรดสัตว์ที่ตกอยู่ในวังวนของสังสารวัฎให้หลุดพ้นตามวิถีและความสามารถของเหล่าสัตว์นั้น ๆ แต่มาสมัยกึ่งพุทธกาลนี้ สาวกทั้งหลายกลับย่ำยีคำสอนของศาสดาตัวเอง ท่านทั้งหลายควรสำรวจตัวเองว่าได้เป็นตัวทำลายพระศาสนาหรือส่งเสริมพระศาสนาให้รุ่งเรืองโดยวิธีที่ถูกต้องตามหลักธรรมวินัยหรือเปล่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรมและวินัยนี้คือศาสดาแทนเราตถาคต" สมกับคำนี้หรือเปล่าท่านภิกษุที่เรียนทางโลกและ ไปเดินตามห้างเพื่อมือถือ ซื้อโน๊ตบุค(โปรแกรมเถื่อนอีกต่างหาก)เพื่อไปเรียนเป็น ดร.........แล้วก็สึกไปเขียนตำราธรรมะขาย........


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว




m166102.jpg
m166102.jpg [ 20.53 KiB | เปิดดู 4980 ครั้ง ]
nene เขียน:
อ้างคำพูด:
ถ้าไม่ได้แล้วสมัยโบราณจะไปเรียนหนังสือกับพระได้อย่างไร ลองคิดดูสิครับ


คำว่าโบราณนั้นคืออะไร ถ้าจะเป็นสมัยครั้งพุทธกาล ไม่มีหรอกที่ไปเรียนหนังสือกับพระไม่กล่าวถึงอยู่ในพระสูตรไหน มีแต่กล่าวไว้ว่าถ้าใครขัดข้องใจเรื่องอะไรก็เข้าไปหาไปถามเท่านั้น พอได้คำตอบเป็นที่พอใจก็กลับบ้านนำคำสอนคำอธิบายนั้นกลับไปประพฤติบัติด้วยตนเอง ถ้ามาสมัยที่ประเทศไทยมีเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์นั้นก็ไม่รู้ว่าเขาไปเอามาจากไหนกัน มาปฎิบัติในเรื่องนี้ เอ่อ ...หรือว่าสมัยก่อนคนมีกิเลสน้อยหรือเปล่าไม่รู้นะ เลยไม่ค่อยมีเรื่องยุ่งต้องเรียนวิชาการต่าง ๆ อย่างสมัยนี้ คงไปถามแต่เรื่องทำมาหากินธรรมดา และศึกษาธรรมะเท่านั้น เลยไม่ต้องยุ่งเหยิงเหมือนเดี๋ยวนี้ ทำให้พระต้องอาบัติโดยไม่รู้ตัว....และส่งเสริมว่าต้องเรียนทางโลกเพื่อให้ทันเหตุการณ์ อยากเรียนก็เรียนไปกันเถอะ ถ้าอยาก.......ใครจะห้ามได้ :b34:

รับไม่ได้ตรง ตีหัวนี่แหละ เดี๋ยวโดนหรอกคุณหน่ะ จะคิดต่างกันก็ไม่เป็นไรหรอกแต่ใช้สัญลักษณ์ไม่เหาะสมหน่ะ ระวังเถอะ!!! :b34: :b34: :b34: :b34: :b34:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 04:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สถานการณ์เปลี่ยนแปลง ...
แนวคิดต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ...
นกยังเลือกที่ที่จะทำรัง...
วิหคยังต้องเลือกกิ่งเกาะ...
ไม้พันธุ์ดีต้องเลือกดินดีถึงจะเจริญงอกงาม...

ยุคปัจจุบันนี้ พระภิกษุสงฆ์ต้องรู้เท่าทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ ทันต่อกลยุทธ์ ไม่ประมาทในการใช้ปัญญา และหมั่นพัฒนาความสามารถของตนเองอยู่เสมอ จึงควรเรียนทางโลก เพื่อจักได้นำเอาองค์ความรู้ ทักษะ แนวคิด ที่เป็นประโยชน์มาประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งนี้เพื่อจะนำมาซึ่งประโยชน์สุขที่แท้จริงและยั่งยืน แก่ชีวิตและสังคมพร้อมทั้งสันติสุขแก่มวลประชาทั้งโลก... :b35: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ยุคปัจจุบันนี้ พระภิกษุสงฆ์ต้องรู้เท่าทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ ทันต่อกลยุทธ์ ไม่ประมาทในการใช้ปัญญา และหมั่นพัฒนาความสามารถของตนเองอยู่เสมอ จึงควรเรียนทางโลก เพื่อจักได้นำเอาองค์ความรู้ ทักษะ แนวคิด ที่เป็นประโยชน์มาประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งนี้เพื่อจะนำมาซึ่งประโยชน์สุขที่แท้จริงและยั่งยืน แก่ชีวิตและสังคมพร้อมทั้งสันติสุขแก่มวลประชาทั้งโลก...



:b8: แต่เห็นนะ พระสงฆ์สายวัดป่าหลาย ๆ องค์ หลาย ๆ รูป(อยู่ในป่า บนเขา) ท่านก็สอนธรรมะ ได้ทันเหตุการณ์เป๊ะ และเฉลียวฉลาดมาก ผู้คนก็นับถือศรัทธามากด้วย และท่านก็ไม่ได้เรียนอะไรสูงที่ สักองค์ ยกตัวอย่างหลวงตาบ้านตาดเป็นต้น นะเท่าที่ทราบท่านก็เรียนแค่ได้เป็นมหาฯ ท่านก็ไม่ได้จบดร.สักกะหน่อย ทำไมท่านเทศน์ได้คล่องแคล่วปัญญาไวจัง แปลกมั๊ย :b53: ถ้าไม่เชื่ออีกนะ ก็ไปถามอาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร (ขอประทานอภัยและขอโทษท่านมา ณ.ที่นี้ด้วย)เพราะท่านเป็นอาจารย์นักวิทยาศาสตร์ เคยฟังธรรมที่ท่านบรรยายหรือเปล่าหละ ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์เป็น ดร. ท่านยังยอมสยบให้วิชาพระพุทธเจ้า แล้วนี่เป็นพระในพระพุทธศาสนา ยังไปเรียนทางโลกอีก มันจะได้กันมั๊ยนี่ :b34: ไม่ได้โต้แย้ง แต่ขอทำความเข้าใจว่าวิชาของพระพุทธเจ้า นั้นสุดยอดที่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (ตัวเองไม่ได้จบอะไรหรอกนะแค่ซาบซึ้งในวิชานี้เท่านั้น) คำนี้ก็ท่อง สวดสรรเสริญทุกเช้าเย็นแต่ทำไมนึกไม่ออกกันก็ไม่รู้.. :b19:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 10:57
โพสต์: 26


 ข้อมูลส่วนตัว


บารมีคนมันไม่เท่ากันครับ

ถ้าเราเอานั่น ไปเทียบนี่ เอานี่ ไปเทียบนั่น มันก็จะไม่มีจุดสิ้นสุด

เอาเเค่ง่ายๆครับ

อย่างชื่อ ของคุณ

บัวสี่เหล่า

คงไม่ต้องอธิบายครับ คุณคงรู้ดี

สัตว์โลกย่อมไปตามกรรมครับ สาธุๆ

.....................................................
ไม่มีใครเก่งเกินกรรม กรรมเท่านั้นตัดสินทุกอย่าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 10:57
โพสต์: 26


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่า มาถกเถียงกันทำมัย
พระธรรมของพระพุทธองค์
ตรัสใว้ชอบแล้ว
สู้เรามาเร่งการปฎิบัติ
เพื่อความลุดพ้นของตัวเองก่อนไม่ดีเหรอ
แล้วเราค่อยมาช่วยเหลือคนอื่นๆ
เราเอาตัวเองยังไม่รอด
เราจะเอาคนอื่นตกตายตามเหรอ

.....................................................
ไม่มีใครเก่งเกินกรรม กรรมเท่านั้นตัดสินทุกอย่าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 02:22
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่อยากให้เถียงหรือทะเลาะกันในนี้เลยครับ ไม่ขอพูดยาวแต่ขอร้องในทุกกระทู้เลยนะครับทั้งคนตั้งและคนตอบ ผมพูดยาวกว่านี้จะมีคนมาด่าผมต่อ จะบาปกับตัวเขาอีกไม่ดีเลย :b21: :b21: :b21:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหมือนอย่างที่คุณ sumanametee ว่านั่นแหละครับ

บัวในตม / บัวใต้น้ำ / บัวปลิ่มน้ำ / บัวพ้นน้ำ

จะไปอธิบายอะไรกันหนักหนา เมื่อบัวที่พ้นน้ำไปแล้ว จะพยายามอธิบายให้บัวในตมเข้าใจว่าอยู่เหนือน้ำนั้นมันเป็นอย่างไรและมีอะไรบ้าง เหนื่อยเปล่าครับ

เมื่อเขาอยู่ตรงไหนเขาก็ย่อมพอใจ เข้าใจในตรงที่เขาอยู่และคิดว่าดีแล้ว

อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับคนๆ นั้นแหละครับ ว่าจะคิดพิจารณาอย่างไร ปัญญามีกันทุกคนทุกท่าน จะมากจะน้อย จะเข้าใจง่าย จะเข้าใจยาก ก็ตามแต่สร้างมายังไง สั่งสมมายังไง ยังไงซะทุกความคิดเห็นก็ตั้งอยู่ด้วยความปรารถนาดี เพื่อต้องการให้ผู้อื่นได้นำไปใช้ประกอบการพิจารณาว่า จะเชื่อหรือไม่ประการใด

โต้แย้งบ้าง เห็นด้วยบ้าง การสนทนาธรรม จึงจะมีรสที่ตรึงใจครับ


อ้างถึง ; เพื่อความลุดพ้นของตัวเองก่อนไม่ดีเหรอ แล้วเราค่อยมาช่วยเหลือคนอื่นๆ
เราเอาตัวเองยังไม่รอด เราจะเอาคนอื่นตกตายตามเหรอ


เมื่อทุกคนมีจุดหมายเดียวกัน
พอท่านก้าวเดินไปแล้วเห็นว่า ตรงนี้มีหนามอยู่นะ แล้วท่านจะไม่สะกิตเตือนคนข้างๆ ท่านให้ระมัดระวังบ้างเหรอ ก็แค่เตือนนี่ครับ ไม่ได้สั่ง ส่วนเตือนแล้วจะเชื่อหรือไม่ก็เรื่องของเขาครับ

ถ้าสำเร็จแล้วค่อยมาเตือน บางทีอาจสายเกินแก้นะครับ เพราะอาจหลงทางไปได้ง่ายๆ

และที่สำคัญ คนที่อยู่ระดับเดียวกัน หรือ ใกล้เคียงกัน ก็มักจะเข้าใจกันและกันได้ง่ายกว่านะครับ(เพื่อนที่ดี มีความรู้เยอะแยะในเวปนี้) เช่น วัยรุ่นก็มักจะเข้าใจในวัยรุ่นด้วยกัน ทีผู้ใหญ่มาเตือนบางครั้งก็ไม่เอาไม่เชื่อ

ก็เหมือนที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนเรานี่แหละครับ เราก็ยังเป็นแค่เด็กพึ่งจะหัดเดินแล้วคนที่หัดเดินก็เยอะซะด้วย หกล้มบ้าง หลงทางไปบ้าง ก็คนที่อยู่กล้ๆ นั่นแหละครับจะคอยช่วย คอยเตือนกันได้ดีเพราะอยู่ในภาวะเดียวกัน ซึ่งก็เสี่ยงที่จะหลงทางไปด้วยกันได้ทั้งคู่อีกนั่นแหละ ฉะนั้นเมื่อมีคนเตือน มาชี้แนะก็ต้องฟังไว้บ้าง ก็แค่นั้นครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 21:36
โพสต์: 16

ที่อยู่: วังวน

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอาศัยโลกก็ต้องเรียนรู้บ้างหละครับ..บางอย่างก็ไปตามกาลตามสมัยบ้าง..อย่างพระสร้างเวปก็มีมากท่าน..จริงเปล่าไม่รู้ในเวปนี้ก็มีพระด้วยนะคิดว่า.. :b16: :b16:

.....................................................
โด่นเดี่ยวไม่เดียวดาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2009, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อย่า มาถกเถียงกันทำมัย
พระธรรมของพระพุทธองค์
ตรัสใว้ชอบแล้ว
สู้เรามาเร่งการปฎิบัติ
เพื่อความลุดพ้นของตัวเองก่อนไม่ดีเหรอ
แล้วเราค่อยมาช่วยเหลือคนอื่นๆ
เราเอาตัวเองยังไม่รอด
เราจะเอาคนอื่นตกตายตามเหรอ


:b2: ก็ปฏิบัติอยู่นี่ไงหละ ปฎิบัติโดยการนำ"พระธรรมวินัย"มาให้รู้ทั่วกัน แต่มีพวกคัดค้านพระพุทธพจน์ จนสุดแรงเกิด เพราะการเรียนทางโลก เป็นการเรียนวิชาที่ขวางทางนิพพานเห็น ๆ กันอยู่(ที่ชอบไปออกเป็นข่าวหนะ) ถ้าอยากเรียนก็สึกมาเป็นฆารวาสแล้วก็ไปเรียนให้มันสิ้นเรื่อง มาอยู่ในพระศาสนาหาเงินไปเรียนทำไม และกับการไปเรียนทางโลกก็ต้องเกี่ยวข้องกับวัตถุอันไม่เหมาะสมกับพระและพระก็ต้องใช้ปัจจัยที่ญาติโยมนำไปถวายไปซื้อตำราเรียน แล้วกับการับเงินทองก็ผิดวินัยอยู่แล้ว มันไม่ได้กันสักเรื่องก็อ่านพระพุทธพจน์นี้ก็แล้วกันเรื่องเงินทอง ถ้ายังจะว่าทำได้ ไม่เป็นไร ก็สุดแล้วแต่เหมียนกัน คือมันโกรธที่ว่าจะไปเข้าวัดไหนๆก็มีแต่วัดพระทำผิดวินัยซะส่วนมากนั่นเอง ก็เลยไม่พอใจหละมันกราบไม่สนิทใจมันสงสัยอยู่ตลอดกับพฤติกรรมของพระ(จะกราบไปเลยถึงสงฆ์ก็คงไม่ได้เพราะจิตยังหยาบช้ามาก) พระท่านสวดปาฏิโมกข์แล้วไม่รู้คำแปลหรือว่าต้องประพฤติ ปฎิบัติอย่างไร ในเพศบรรชิตลูกศิษย์ พระพุทธเจ้าสมณโคดม ซึ่งถ้าตัวเองทำตัวเองละเมิดศีลก็จะพาญาติโยมลงนรกไปด้วยนะซี(กลัวลงนรกที่ทำบุญกับพระต้องอาบัติมันยาวนานมาก เพราะนรกของตัวเองทำก็นานพออยู่แล้วเข้าใจกันหรือยังท่าน)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 940

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๓๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือ
ยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2009, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 260

๘. อัคคิขันธูปมสูตร
[๖๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้น-
โกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จดำเนินไปสู่ทางไกล
ได้ทอดพระเนตรเห็นไฟกองใหญ่ กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่
ในที่แห่งหนึ่ง จึงเสด็จแวะจากทางประทับนั่งบนอาสนะทีปูลาดไว้ใกล้
โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นไฟกองใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
อยู่หรือไม่ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน การเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลัง
ลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ กับการเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระ-
ราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้า
อ่อนนุ่ม อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือ
นอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี
ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม นี้ประเสริฐกว่า ส่วนการที่บุคคลเข้าไป
นั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
อยู่เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เดือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 261

สกปรกน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็น
สมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่าประพฤติ
พรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ เข้าไป
นั่งกอดหรือนอนกอดพระราชะดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาว
คฤหบดี จะประเสริฐอย่างไร การเข้าไปนั่งกอดนอนกอดกองไฟ
ใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะ
การเข้าไปกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึง
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาติ นรก เพราะการเข้าไปกอดกองไฟใหญ่
นั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก มีความ
ประพฤติสกปรก น่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่
ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่า
ประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ
เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือ
บุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่มนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานแก่เขา และ
ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษ
มีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้างแล้วชักไปมา
เชือกหนังพึงบาดผิว บาดผิวแล้ว พึงบาดหนัง บาดหนังแล้ว พึง
บาดเนื้อ บาดเนื้อแล้ว พึงตัดเส้นเอ็น ตัดเส้นเอ็นแล้ว พึงตัดกระดูก
ตัดกระดูกแล้ว หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก กับการยินดีการกราบไหว้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 262

แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
ไหนจะดีกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีการกราบไหว้แห่ง
กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า
การที่บุรุษผู้มีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้าง
แล้วชักไปชักมา เชือกหนังพึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่จดเยื่อใน
กระดูก นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดี
การกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ
คฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง เอาเชือกหนัง
อันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้าง แล้วชักไปชักมา เชือกหนัง
พึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้น
เป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะขอนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดัง
หยากเยื่อ ยินดีกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล
หรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษที่มีกำลัง
เอาหอกอันคมชะโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอก กับการยินดีอัญชลีกรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 263

ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
ไหนจะดีกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีอัญชลีกรรมของ
กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมพาศาล นี้ดีกว่า
ส่วนการที่บุรุษมีกำลังเอาหอกอันคมชะโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอก
นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดี
อัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี-
มหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษกำลัง เอาหอกอันคมชะโลม
น้ำมัน พุ่งใส่กลางอก นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุ เพราะเขา
จะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้น
เมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้น
เป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดี
อัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี-
มหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์
สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลังเอาแผ่น
เหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว กับการบริโภค
จีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล
หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 264

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคจีวรที่เขาถวายด้วย
ศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
มหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง เอาแผ่นเหล็กแดงไฟกำลังลุก
รุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลนั้นทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ
บริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์
มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล. จะดีอย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง
เอาแผ่นเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว นี้ดีกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่เขาเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดัง
หยากเยื่อ บริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล
พราหมณ์มหาศาล. หรือคฤหบดีมหาศาล นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น
และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
การที่บุรุษมีกำลังเอาขอเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
เกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
เข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น
ไหม้คอ ไหม้อก ไหม้เรื่อยไปถึงไส้ใหญ่ไส้น้อย แล้วออกทางทวาร
เบื้องต่ำ กับการบริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 265

กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหน
จะดีกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคบิณฑบาตที่เขา
ถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ
คฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง เอาขอเหล็กแดงไฟ
กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง เกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง
ไฟกำลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึง
ไหม้ริมฝีปาก... แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ
บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล
พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่
บุรุษมีกำดัง เอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยวปาก
อ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้า
ในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปากะ... แล้วออกทางทวาร
เบื้องต่ำ นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ นั้นพึงถึงความตาย
หรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่
บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวาย
ด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
มหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์
สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 266

ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง จับที่
ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับนอนทับบนเตียงเหล็กหรือตั่งเหล็กแดง
ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง กับการบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวาย
ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
มหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวาย
ด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
มหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอแล้ว
ให้นั่งทับหรือนอนทับเตียงหรือตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์
โชติช่วง นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ
บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล
พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษ
ผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับหรือนอนทับเตียง
หรือตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง นั้นดีกว่า ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นจะพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ
เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของ
กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นั้น ย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 267

เป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่
บุคคลผู้ทุศีลนั้น ละบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง
โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ผู้นั้นถูก
ไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น นางครั้งลอยขึ้นข้างบน
บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวาง ๆ กับการบริโภค
วิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์-
มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลไหนจะดีกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภควิหารที่เขาถวาย
ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
มหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง
โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ผู้นั้นถูก
ไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้นข้างบน
บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวาง ๆ นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ
บริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา การที่บุรุษมีกำลัง จับเอา
เท่านั้น เอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์
โชติช่วง ถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำ ในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้ง
ลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอย ไปขวาง ๆ
นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นพึงเข้าถึงความตายหรือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 268

ทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคล
ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา
ข้องกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบทายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอด
กาลนาน แก่บุคคลผูทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ
เหตุนั้นแหล่ะ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายบริโภค
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของ
เหล่าใด ปัจจัยของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์มากและ
การบรรพชาของเราทั้งหลายจักไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล อนึ่ง เธอทั้งหลาย
พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์นั้น ควรแท้ทีเดียว
ที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท เมื่อพิจารณา
เห็นประโยชน์ผู้อื่น ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จ
ด้วยความไม่ประมาท หรือเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้งสอง
ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์ทั้งสองนั้นสำเร็จด้วยความไม่
ประมาท.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
และเมื่อกำลังตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ โลหิตร้อนพุงออกจากปาก
ของภิกษุ ๖๐ รูป (พวกต้น) ภิกษุ ๖๐ รูป (พวกกลาง) ลาสิกขา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 269

ลึกมาเป็นคฤหัสถ์ ด้วยกราบทูลพระผุ้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำได้
แสนยาก อีก ๖๐ รูป จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น.
จบ อัคคิขันธูปสูตรที่ ๘

:b8: ก็ลองอ่านพระสูตรนี้อีกสักเรื่องสำหรับภิกษุที่ยังยินดีในทางโลก วุ่นวายกับเรื่องโลกอยู่และที่ยังประพฤติตัวนอกเหนือพระธรรมวินัยอยู่ :b29:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 58 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร