วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 04:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2009, 14:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 41

คำว่า จริยา ได้แก่จริยา ๖ คือ ราคจริยา โทสจริยา โมหจริยา

สัทธาจริยา พุทธิจริยา วิตกจริยา

เนื่องด้วยจริยา ๖ นั้น บุคคลก็มี ๖ เหมือนกัน คือ คนราคจริต

คนโทสจริต คนโมหจริต คนสัทธาจริต คนพุทธิจริต คนวิตกจริต เพราะ

เหตุที่ในบุคคล ๖ จำพวกนั้น คนราคจริต ในเวลาประพฤติกุศล ย่อม

ศรัทธากล้า เพราะศรัทธาเป็นคุณที่บางใกล้ต่อราคะ จริงอยู่ในฝ่ายอกุศล

ราคะเป็นโทษที่สดใส ไม่มอซอ ฉันใด ในฝ่ายกุศล ศรัทธาก็เป็น

คุณที่แจ่มใส ไม่มัวซัว ฉันนั้น ราคะย่อมแส่หาวัตถุกาม ฉันใด

ศรัทธาก็แสวงหาสีลาทิคุณฉันนั้น ราคะไม่ทิ้งสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์

เกื้อกูล ฉันใด ศรัทธาก็ไม่สละสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ฉันนั้น เพราะ

เหตุนั้น คนสัทธาจริตจึงมีส่วนเสมอกันแห่งคนราคจริต ส่วนว่าคนโทสจริต

ในเวลาประพฤติกุศล ย่อมมีปัญญากล้า เพราะปัญญาเป็นคุณใกล้

ต่อโทสะ จริงอยู่ในฝ่ายอกุศลโทสะเป็นโทษที่ไม่มีเยื่อใย ไม่ติดพัน

อารมณ์ ฉันใด ในฝ่ายกุศล ปัญญาก็เป็นคุณที่ไม่มีเยื่อยาง ไม่

พัวพันอารมณ์ฉันนั้น อนึ่ง โทสะส่ายหาแต่โทษ แม้ที่ไม่เป็นจริง

ฉันใด ปัญญาก็สอดหาโทษแต่ที่เป็นจริง ฉันนั้น โทสะเป็นไปโดย

อาการไม่เอื้อสัตว์ ( คน ) ฉันใด ปัญญาก็เป็นไปโดยอาการไม่เอื้อ

สังขาร ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น คนพุทธิจริต จึงมีส่วนเสมอกันแห่งคน

โทสจริต ฯลฯ


[ต้นเหตุแห่งจริยา ]

ถามว่า ก็จริยาเหล่านี้นั้น มีอะไรเป็นต้นเหตุ และจะพึงทราบ

ได้อย่างไรว่า บุคคลนี้เป็นราคจริต บุคคลนี้เป็นจริตอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในจริตที่เหลือมีโทสจริตเป็นต้น และอะไรเป็นสัปปายะของบุคคลจริต

อะไร ?

ในจริยา ๖ นั้น จะแก้จริยา ๓ ข้างต้นก่อน อาจารย์ลางพวก

กล่าวว่า จริยา ๓ ข้างต้นนั้น มีอาจิณกรรมในภพก่อนเป็นต้นเหตุ

ประการ ๑ มีธาตุและโทษ (ในร่างกาย) เป็นต้นเหตุประการ ๑

ฯลฯ


ในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสุตรกล่าวจริตมี ๒ อย่าง ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 278

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานว่ามี ๔

ไม่หย่อนไม่ยิ่ง. ตอบว่า ก็เพราะจะทรงให้เป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่เวไนยสัตว์.

แท้จริง ในจำพวกเวไนยสัตว์ที่เป็นตัณหาจริต ทิฏฐิจริต ผู้เป็นสมถยานิก

(ผู้มีสมถะเป็นยาน) และวิปัสสนายานิก (ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน) ที่เป็นไปโดย

ส่วนทั้งสอง คือ ปัญญาอ่อน และปัญญากล้า กายานุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์

หยาบเป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีตัณหาจริต มีปัญญาอ่อน เวทนา

นุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์ละเอียด เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มี

ตัณหาจริต มีปัญญากล้า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่มีอารมณ์ไม่แยกออกมากนัก

เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญาอ่อน ธัมมานุปัสสนา

สติปัฏฐาน ที่มีอารมณ์แยกออกมาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ ผู้มี

ทิฏฐิจริต มีปัญญากล้า

ฯลฯ
คำว่ามีส่วนเสมอกัน ไม่ได้หมายความว่า สภาพธัมมะนั้นเหมือนกัน เช่น ที่ยกมา ราคะ

กับศรัทธา สภาพธัมมะทั้งสองนี่ ไม่เหมือนกันแน่นอน เพราะศรัทธาเป็นธรรมฝ่ายดี

ส่วนราคะหรือโลภะเป็นธรรมฝ่ายไม่ดี แต่ที่กล่าวว่า มีส่วนเสมอกัน หมายถึง ลักษณะ

ที่แสดงออกของสภาพธัมมะทั้งสองอย่างนั้น เสมอกัน เสมอกันโดยอะไร เช่น มีการ

แสวงหาเหมือนกัน(เสมอกัน)คือ ราคะแสวงหาวัตุกาม แต่ศรัทธาก็แสวงหาเหมือนกัน

แต่แสวงหา คุณธรรม มี ศีล เป็นต้น ดังนั้นส่วนที่ มีส่วนเสมอกัน คือ การแสวงหา

เหมือนกัน แต่แสวงหาคนละอย่างเท่านั้น มีส่วนเสมอกัน ในความไม่ทอดทิ้ง เช่น

ราคะก็ไม่ทอดทิ้ง สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วน ศรัทธาก็ไม่ทอดทิ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์

ดังนั้นจึงมีส่วนเสมอกัน ลักษณะเดียวกัน คือการไม่ทอดทิ้ง ส่วนจะไม่ทอดทิ้งอะไรก็

แล้วแต่สภาพธัมมะ

การที่เราจะรู้ว่าเรามีจริตอะไร ไม่ได้รู้ด้วยการคิดนึกเท่านั้น เพราะเป็นความละเอียด

ของจิตที่สะสมในอดีตชาตินับไม่ถ้วนมากมายซึ่งการจะมีจริตอะไรนั้น ก็เกิดจากกรรม

ที่นำเกิดว่า กรรมที่นำเกิดนั้น ประกอบด้วย โลภะอ่อนหรือกล้า โทสะอ่อนหรือกล้า

โมหะอ่อนหรือกล้า เช่น ถ้ากรรมที่ทำนำเกิดนั้น เป็นกรรมที่ทำด้วยโลภะมีกำลังกล้า

โทะมีกำลังกล้า โมหะมีกำลังกล้า ก็ทำให้เป็นคน มีราคะจริต โทสะจริตและโมหะจริต

ด้วย ขึ้นอยู่กับกรรมที่ทำด้วย ดังนั้น เราไม่สามารถรู้จริตของเราได้ทั้งหมด เพราะเป็น

เรื่องของปัญญาและไม่ใช่เพียงสังเกตเพียงอาการเท่านั้น ผู้ที่จะรู้จริตก็ต้องมีปัญญา

ครับ แต่ก็พอสังเกตได้ แต่ไม่ทั้งหมด ดังนั้นหนทางที่จะดับกิเลส คือ สติปัฏฐานนั้นก็มี

2 จริต คือ ตัณหาและทิฏฐิจริต คงไม่มีใครคิดเองว่า เป็นตัณหาหรือทิฏฐิจริต เพราะ

ไม่มีปัญญารู้ได้ แต่ก็อบรมปัญญาได้ด้วยการระลึกรู้ว่าเป็นธรรมในขณะนี้ไม่ใช่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2009, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมอยู่ในจำพวกจริตไหนครับ คุณรสมน
หากทราบช่วยตอบให้สักหน่อยครับ

สาธุ สาธุ :b48: :b48: :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 78 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร