วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 09:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2009, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจุบันนี้มีผู้กล่าวถึงเรื่องของการใช้คำว่า "เพ่ง" ที่บอกและสอนว่าอย่าไปเพ่งประการต่างๆ อย่างนี้เป็นการนำคำว่าเพ่งมาใช้ในความหมายที่คลาดเคลื่อนไป คล้ายกับคำว่า "อธิษฐาน" ก็ว่าได้ที่บางคนนำมาใช้คลาดเคลื่อนไป จึงได้แพร่หลายตามๆ กันอยู่จนทุกวันนี้ก็ยังมีอยู่ การเพ่งพระพุทธเจ้าทรงสอนให้เพ่ง ไม่ว่าจะเพ่งฌาน หรือว่าจะเพ่งพินิจเพื่อเจริญปัญญาก็ตาม ดังนั้นคำอย่างนี้เลิกใช้ไปเลย ควรจะไปใช้คำอื่นๆ เช่น เจริญสติไปสบายๆ อย่างไปเคร่งเครียด แต่อย่าไปใช้ว่า "อย่าเพ่ง", เจริญสมาธิไปอย่างตั้งใจแต่อย่าเคร่งเครียด เป็นต้น

#######################
ตัวอย่างในบางพระสูตรเรื่องการ "เพ่ง"
#######################

[๑๑๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พวกชนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมตามประกอบความประมาท
ส่วนนักปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาท เหมือนบุคคล
รักษาทรัพย์อันประเสริฐ บุคคลอย่าตามประกอบความประมาท
และอย่าตามประกอบความสนิทสนมด้วยอำนาจความยินดีทาง
กาม เพราะว่าบุคคลไม่ประมาทแล้วเพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุบรมสุข ฯ

* * * * * * * * * *

ดูกรภิกษุ นั่นโคนต้นไม้ นั่นเรือนว่าง เธอจงเพ่งฌานอย่าประมาท
อย่าเป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ

* * * * * * * * * *

ปัญญาวรรค มหาปัญญากถา

[๖๗๑] ปัญญาพาหุลละ ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
มาก เป็นไฉน ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้หนักด้วยปัญญา เป็นผู้ประพฤติด้วยปัญญา
มีปัญญาเป็นที่อาศัย น้อมใจเชื่อด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นธงไชย มีปัญญาเป็นยอด
มีปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วยการค้นคว้า มากด้วยการ
พิจารณา มากด้วยการเพ่งพินิจ มีการเพ่งพิจารณาเป็นธรรมดา มีความประพฤติ
งดเว้นด้วยปัญญาที่แจ่มแจ้ง หนักในปัญญา มากด้วยปัญญา โน้มไปในปัญญา
น้อมไปในปัญญา เงื้อมไปในปัญญา น้อมจิตไปในปัญญา มีปัญญาเป็นอธิบดี
เปรียบเหมือนภิกษุผู้หนักไปในคณะ ท่านกล่าวว่า มีคณะมาก ผู้หนักในจีวร
ท่านกล่าวว่า มีจีวรมาก ผู้หนักในบาตร ท่านกล่าวว่า มีบาตรมาก ผู้หนักใน
เสนาสนะ ท่านกล่าวว่า มีเสสนานะมาก ฉะนั้น นี้เป็นปัญญาพาหุลละ ในคำว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ฯ

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2009, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
[๑๑๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พวกชนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมตามประกอบความประมาท
ส่วนนักปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาท เหมือนบุคคล
รักษาทรัพย์อันประเสริฐ บุคคลอย่าตามประกอบความประมาท
และอย่าตามประกอบความสนิทสนมด้วยอำนาจความยินดีทาง
กาม เพราะว่าบุคคลไม่ประมาทแล้วเพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุบรมสุข ฯ


น่าจะหมายถึงใส่ใจพิจารณานะครับ

ศิรัสพล เขียน:
น่าจะหมายถึงใส่ใจพิจารณานะครับ
ดูกรภิกษุ นั่นโคนต้นไม้ นั่นเรือนว่าง เธอจงเพ่งฌานอย่าประมาท
อย่าเป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ


อันนี้น่าจะหมายถึงการทำสมถะอย่างใดอย่างหนึ่ง



ศิรัสพล เขียน:
ปัญญาวรรค มหาปัญญากถา

[๖๗๑] ปัญญาพาหุลละ ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
มาก เป็นไฉน ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้หนักด้วยปัญญา เป็นผู้ประพฤติด้วยปัญญา
มีปัญญาเป็นที่อาศัย น้อมใจเชื่อด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นธงไชย มีปัญญาเป็นยอด
มีปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วยการค้นคว้า มากด้วยการ
พิจารณา มากด้วยการเพ่งพินิจ มีการเพ่งพิจารณาเป็นธรรมดา มีความประพฤติ

อันนี้น่าจะมีการทำสมถะอย่างใดอย่างหนึ่ง และยกสู่วิปัสสนา

เท่าที่เข้าใจ การเพ่งในสูตรต่างๆอาจไม่เหมือนกัน คำว่าเพ่งอาจหมายถึงการใส่ใจ ตั้งใจ และไม่ไช่การบังคับ
คล้ายคำว่า เพ่งเล็ง ก็คือตั้งอกตั้งใจหาข้อผิดหรือถูกของคนอื่นหรือของตนเอง
นอกจากพระองค์จะพูดถึงเรื่องการทำสมถะ เช่น กสิณ คำว่าเพ่งอาจมีความหมายนอกจากคำว่าใส่ใจ ตั้งใจ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2009, 11:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณกามโภคีครับ

ขอให้ทุกท่านลองตรองดูในแง่นี้นะครับ ในเมื่อพระไตรปิฏกภาษาไทยได้ใช้คำว่า "เพ่ง" ไปแล้ว ซึ่งเป็นคำที่เห็นว่าผู้รวบรวม แปลพระไตรปิฏกได้ตัดสินกันวินิจฉัยกันดีแล้ว และก็ได้พยายามรักษากันสืบต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้

ซึ่งหากจะกล่าวถึงความหมายจริงๆ โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่า คำว่า เพ่ง นี้อาจจะครอบคลุมถึงสาระเดียวกับคำว่า "อิทธิบาทสี่" หากนำมาใช้ในตอนเจริญสมาธิ หรือเจริญปัญญา จะหมายถึง ให้มีอิทธิบาทสี่ เช่น มีฉันทะ มีวิริยะ มีจิตตะ มีวิมังสา เป็นต้น ต่อการเจริญฌาน ต่อการเจริญปัญญา เป็นคำที่รวบรัดและเข้าใจได้ง่ายเลย เป็นไปในแง่สัมมา ไม่ใช่มิจฉา (Positive ไม่ใช่ Nagative)

ดังนั้น การสนับสนุนว่าให้หมั่นเพ่งกันอย่างถูกต้องนี้ ควรจะเป็นสิ่งที่น่าจะกระทำ น่าสนับสนุนให้กระทำกัน และควรช่วยกันยับยั้งการใช้คำว่าเพ่ง ไปในทางที่จะคลาดเคลื่อนให้กลับมาใช้ในทางที่ถูกต้องจะดีกว่าครับ เพราะไม่เช่นนั้นก็รังแต่จะทำให้ความคิดรวบยอดกลายเป็นว่า "ห้ามเพ่ง", "อย่าเพ่งกาย", "อย่าเพ่งใจ" ซึ่งไม่ดีต่ออนาคตของพระพุทธศาสนาจะทำให้ธรรมบิดเบือนไปจากความหมายที่แท้จริงได้ครับ

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2009, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณศิรัสพลครับ อย่างไรถ้ามีเวลา หาบาลีพุทธพจน์ที่อ้างมาช่วยกันดูว่าน่าจะคำไหน
กันดีกว่า จะได้ไม่พลาดกัน สร้างสรรดีครับ ไงถ้าไม่มีเวลา บอกที่มามาก็ได้ เดี๋ยวผมช่วยหาเอง

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2009, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณกามโภคีครับ

อย่างไรรบกวนคุณกามโภคีด้วยแล้วกันครับ หรือท่านอื่นๆ จะกรุณานำบาลีมาช่วยกันวิเคราะห์เพิ่มเติมก็ได้นะครับ หากเป็นไปได้ให้ช่วยวิเคราะห์พระสูตรต่อไปนี้แถมท้ายด้วยดังนี้

*****************
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

[๖๒๕] ขันติพละเป็นไฉน ชื่อว่าขันติพละ เพราะอรรถว่า เนกขัมมะ
ย่อมอดทนเพราะละกามฉันทะได้แล้ว ความไม่พยาบาทย่อมอดทนเพราะละ
พยาบาทได้แล้ว ฯลฯ อรหัตมรรคย่อมอดทนเพราะละสรรพกิเลสได้แล้ว นี้
เป็นขันติพละ ฯ

ปัญญัตติพละเป็นไฉน ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร
เมื่อละกามฉันทะ ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาทย่อมตั้งจิต
ไว้ด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมตั้งจิตไว้ด้วย
อำนาจอรหัตมรรค นี้เป็นปัญญัตติพละ ฯ

นิชฌัตติพละเป็นไฉน ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร
เมื่อละกามฉันทะ ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อม
เพ่งจิตด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลสย่อมเพ่งจิตด้วย
อำนาจอรหัตมรรค นี้เป็นนิชฌัตติพละ ฯ


อิสริยพละเป็นไฉน ชื่อว่าอิสริยพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร
เมื่อละกามฉันทะ ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถเนกขัมมะ
เมื่อละพยาบาท ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถความไม่พยาบาท
ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถอรหัตมรรคนี้เป็นอิสริยพละ ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=9357&w=เพ่งจิต

รวบกวนด้วยแล้วกันนะครับ หากช่วยกันวิเคราะห์แล้ว คงจะรู้อะไรๆ อีกมากมายที่ดีมีประโยชน์ตรงต่อพุทธพจน์ครับ

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2009, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่งหา เรียบเรียงซะครึ่งวัน ช่วยอ่านหน่อยครับ :b12: :b12:

กตมํ ขนฺติพลํ ฯ กามจฺฉนฺทสฺส ปหีนตฺตา เนกฺขมฺมํ
ขมตีติ ขนฺติพลํ ฯ พฺยาปาทสฺส ปหีนตฺตา อพฺยาปาโท ขมตีติ
ขนฺติพลํ ฯเปฯ สพฺพกิเลสานํ ปหีนตฺตา อรหตฺตมคฺโค ขมตีติ ขนฺติพลํ
อิทํ ขนฺติพลํ ฯ
ขันติพละเป็นไฉน ชื่อว่าขันติพละ เพราะอรรถว่า เนกขัมมะ
ย่อมอดทนเพราะละกามฉันทะได้แล้ว ความไม่พยาบาทย่อมอดทนเพราะละ
พยาบาทได้แล้ว ฯลฯ อรหัตมรรคย่อมอดทนเพราะละสรรพกิเลสได้แล้ว นี้
เป็นขันติพละ ฯ

กตมํ ปญฺญตฺติพลํ ฯ กามจฺฉนฺทํ ปชหนฺโต เนกฺขมฺมวเสน
จิตฺตํ ปญฺญเปตีติ ๑ ปญฺญตฺติพลํ พฺยาปาทํ ปชหนฺโต อพฺยาปาทวเสน
จิตฺตํ ปญฺญเปตีติ ปญฺญตฺติพลํ ฯเปฯ สพฺพกิเลเส ปชหนฺโต อรหตฺตมคฺควเสน
จิตฺตํ ปญฺญเปตีติ ปญฺญตฺติพลํ อิทํ ปญฺญตฺติพลํ ฯ
ปัญญัตติพละเป็นไฉน ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร
เมื่อละกามฉันทะ ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาทย่อมตั้งจิต
ไว้ด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมตั้งจิตไว้ด้วย
อำนาจอรหัตมรรค นี้เป็นปัญญัตติพละ ฯ

กตมํ นิชฺฌตฺติพลํ ฯ กามจฺฉนฺทํ ปชหนฺโต เนกฺขมฺมวเสน
จิตฺตํ นิชฺฌาเปตีติ นิชฺฌตฺติพลํ พฺยาปาทํ ปชหนฺโต อพฺยาปาทวเสน
จิตฺตํ นิชฺฌาเปตีติ ฯเปฯ สพฺพกิเลเส ปชหนฺโต อรหตฺตมคฺควเสน
จิตฺตํ นิชฺฌาเปตีติ นิชฺฌตฺติพลํ อิทํ นิชฺฌตฺติพลํ ฯ
นิชฌัตติพละเป็นไฉน ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร
เมื่อละกามฉันทะ ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อม
เพ่งจิตด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลสย่อมเพ่งจิตด้วย
อำนาจอรหัตมรรค นี้เป็นนิชฌัตติพละ ฯ

กตมํ อิสฺสริยพลํ ฯ กามจฺฉนฺทํ ปชหนฺโต เนกฺขมฺมวเสน จิตฺตํ
วสํ วตฺเตตีติ อิสฺสริยพลํ พฺยาปาทํ ปชหนฺโต อพฺยาปาทวเสน
จิตฺตํ วสํ วตฺเตตีติ อิสฺสริยพลํ ฯเปฯ สพฺพกิเลเส ปชหนฺโต อรหตฺตมคฺควเสน
จิตฺตํ วสํ วตฺเตตีติ อิสฺสริยพลํ อิทํ อิสฺสริยพลํ ฯ
อิสริยพละเป็นไฉน ชื่อว่าอิสริยพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร
เมื่อละกามฉันทะ ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถเนกขัมมะ
เมื่อละพยาบาท ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถความไม่พยาบาท
ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถอรหัตมรรคนี้เป็นอิสริยพละ ฯ

สรุปความหมายย่อๆก่อน

ขันติพละ คือ การข่ม
ปัญญัติพละ คือ การตั้งไว้
นิชฌัชติพละ คือ การเพ่ง
(อันนี้ไงที่กำลังวิจัยกันว่า เพ่ง คือ อะไร แบบไหน)
อิสฺสริยพละ คือ การให้เป็นไปในอำนาจ

มาดูท่านอรรถกถาจารย์ท่านอธิบายครับ

อิทานิ โลกุตฺตรกถาย อนนฺตร กถิตาย โลกุตฺตรกถา-
วติยา สุตฺตนฺตปุพฺพงฺคมาย พลกถาย อปุพฺพตฺถานุวณฺณนา ฯ
ฯเปฯ
ทุกฺขมาน อธิวาสน ขนฺติพล ฯ
ธมฺมกถาย ปเรส โตสน ปฺตฺติพล ฯ
อธิตสฺส อตฺถสฺส อธิคมาปน นิชฺฌตฺติพล ฯ
กุสเลสุ พหุภาโว อิสฺสริยพล ฯ
ฯเปฯ หิริพลาทีน อตฺโถ มาติกาปเทสุ พฺยฺชนวเสน วิเสสโต
ยุชฺชมาน คเหตฺวา วุตฺโต ฯ
บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งพลกถา อันมี
พระสูตรเป็นเบื้องต้นอันเป็นโลกุตรกถา ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
ลำดับแห่งโลกุตรกถา.ฯเปฯ
การอดกลั้นทุกข์ ชื่อว่า ขันติพละ.
การยินดีธรรมกถาของผู้อื่น ชื่อว่า ปัญญัตติพละ.
การเพ่งถึงประโยชน์อันยิ่ง ชื่อว่า นิชฌัตติพละ.
ความเป็นผู้มากในกุศลทั้งหลาย ชื่อว่า อิสริยพละ.


(ท่อนต่อไปนี้ผมแปลเอง)
เนื้อความแห่งพละธรรมทั้งหลาย มีหิริพละเป็นต้น อันพระอรรถกถาจารย์ยึดการ
ประกอบโดยวิเศษ ด้วยอำนาจแห่งพยัญชนะ ในมาติกาบททั้งหลาย แล้วจึงกล่าวแล้ว ฯ
(ยังแปลได้วุ้ย)
ความหมายก็คือ มีการอธิบายไว้ในมาติกาบทอีกนั่นเอง ลองตามมาดูที่
มาติกาบทกันหน่อย

คัมภรีย์กล่าวไว้ดังนี้ครับ
๑. ขมตีติ ตสฺส โยคิสฺส ขมติ รุจฺจติ ฯ
๒. ปฺาเปตีติ โตเสติ ฯ
๓. นิชฺฌาเปตีติ จินฺตาเปติ ฯ
๔. วส วตฺเตตีติ จิตฺเต ปหุ หุตฺวา จิตฺต อตฺตโน วส กตฺวา ปวตฺเตติ ฯ

ท่านอธิบายไว้ดังนี้ครับ

๑. บทว่า ขมติ ย่อมอดทน คือ พระโยคาวจรนั้นย่อมอดทน ย่อมชอบใจ.
๒. บทว่า ปญฺเปติ ย่อมตั้งไว้ คือ พอใจ.
๓. บทว่า นิชฺฌาเปติ ย่อมเพ่ง คือ ย่อมคิด.
๔. บทว่า วส วตฺเตติ ให้เป็นไปในอำนาจ คือ ทำจิตมากในความคิดให้เป็นไปตาม
อำนาจของตน.

นี่ไง ผมว่าความหมายของเพ่งน่าจะแบบนี้ คิด แต่ต้องคิดแบบใส่ใจ ตั้งใจ แบบโยนิโสทำนองนั้น
คงไม่ได้มานั่งเพ่งแบบฌานแน่ๆ อีกอย่างหนึ่ง ถ้าเพ่งแบบสมถะ ท่านจะใช้คำว่า ฌาน เฉยๆ เช่น ฌานํ
ฌายี ทำนองนี้ แต่คำว่า นิชฺฌาเปติ ก็มาจากศัพท์เดียวกัน คือน่าจะมาจาก นิ บทหน้า ชา หรือ ฌา ธาตุ
เป็นไปในความรู้ ณาเป ปัจจัยในเหตุกัตตุวาจก แล้วลง ติ วัตตมานาวิภัติอาขยาต
นิ แปลได้หลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ แปลว่า เข้า ฌา แปลว่ารู้ คือเข้าไปรู้นั่นเองที่เรียกว่าเพ่งตาม
ความหมายนี้ จริงๆแล้วเข้าไปรู้เนี่ยแปลสวยกว่าที่ท่านอธิบายว่า คิด เสียอีก เข้าไปรู้นี่ความหมายตรงกับ
อนุปัสสนา เช่น กายานุปัสสนา เป็นต้น(อันนี้มติผมเองครับ พึงพิจารณาเน้อ)

ขอบคุณในความใจกว้างนะครับคุณศิรัสพล หาไม่ค่อยได้ที่จะรับฟังความเห็นที่แตกต่าง สวนมาก อัตตาสูงจริงๆ
บางทีเข้าใจไม่ถูกดันด่าคนที่เขาเข้าใจถูกอีก อย่างนี้ก็มีมาก และผมยังอ่านกระทู้คุณที่พันทิปอยู่เรื่อยๆครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2009, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณท่านกามโภคีมากครับ ที่อุตสาหะไปเรียบเรียงพระบาลีและคำแปลอันมีคุณค่ามีประโยชน์มาให้

หากท่านใดอ่านข้อความพระบาลีประกอบด้วยแล้วคงจะเสริมสัมมาทิฐิที่ถูกต้องต่อไปได้ หากไม่ยึดติด และมีการใช้กาลามสูตร

ท่านกล่าวได้ถูกต้องแล้วครับ ว่ามีคนน้อยจริงๆ ที่จะยอมรับในความเห็นที่แตกต่างกับตนโดยเฉพาะปัจจุบันนี้ แม้ว่าจะมีการยกพุทธพจน์มาแสดงก็ตาม

ขอให้เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2009, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำคนเดียวเหอะ :b23:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2009, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเข้าใจว่าควรจะเพ่งกายเพ่งใจแล้ว ขอแนะนำให้กระทำตามพระสูตรดังนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการเพ่งที่นำมาใช้ในการเจริญวิปัสสนา หรือที่เรียกว่า มีปัญญาพิจารณาแนวทางหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสนับสนุน แล้วจะเห็นว่าการสอนให้ไม่ต้องวิจาร วิจัยธรรมใดๆ ให้รู้เฉยๆ เท่านั้น อย่างนี้ คลาดเคลื่อนจากพุทธพจน์ต่อไปนี้หรือไม่อย่างไร ดังนี้

******************

๕. สัตตัฏฐานสูตร
ว่าด้วยการรู้ขันธ์ ๕ โดยฐานะ
[๑๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-
*เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เราเรียกว่า
ยอดบุรุษ ผู้เสร็จกิจ อยู่จบพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ฉลาดใน
ในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้ชัดซึ่งรูป เหตุเกิด
แห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และ
อุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป. รู้ชัดเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เหตุเกิด
แห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ
โทษแห่งวิญญาณ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ.

. . . . . . . . . .

[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เป็นอย่างไร?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเพ่งพินิจโดยความเป็นธาตุประการหนึ่ง โดยความเป็นอายตนะประการ
หนึ่ง โดยความเป็นปฏิจจสมุปบาทประการหนึ่ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุย่อมเป็นผู้
เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ. ภิกษุฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เรา
เรียกว่า ยอดบุรุษ ผู้เสร็จกิจ อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้.
จบ สูตรที่ ๕.


ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=1379&w=๕._สัตตัฏฐานสูตร

*******************
ความปล่อยวาง ความสักแต่ว่า เป็นสิ่งที่พึงประสงค์ของผู้ปฏิบัติ แต่ไม่ใช่ว่าความสักแต่ว่าจะเกิดขึ้นจากการสักแต่ว่าอย่างทื่อๆ เฉยๆ รู้เฉยๆ ไม่ต้องไปทำอะไร ไม่ต้องไปละกิเลสอะไร ไม่ต้องไปป้องกันกิเลสอะไร ไม่ต้องไปวิจาร วิจัยธรรมอะไร ตรงกันข้ามให้เราทำการเข้าไปเพ่งกายเพ่งใจ ให้หมั่นเพ่งพินิจ หมั่นละกิเลส ป้องกันกิเลส วิจาร วิจัยธรรม เรียกว่าทำทุกสิ่งอย่าง ให้หมดทุกอย่างเพื่อให้รู้กระจ่าง เข้าใจในสิ่งที่เป็นขันธ์ห้า ในสิ่งที่ทำให้เรายึดมั่นถือมั่นนั้น เมื่อเราหมั่นทำอย่างนี้แล้ว ความปล่อยวาง ความสักแต่ว่า จะบังเกิดขึ้นมาเอง

อุปมาเหมือนกับ คนที่อยากเห็นของที่คว่ำอยู่ แล้วได้เปิดของที่คว่ำอยู่ให้รู้ว่าคืออะไร แล้วก็ได้รู้ว่าแท้จริงหาได้มีสาระอะไรเลย ที่นี้ก็ไม่อยากเห็นอีกจริงๆ เพราะรู้แล้ว แต่หากตราบใดไม่เห็นย่อมยังมีความอยากอยู่ลึกๆ หรือยังอยากกลับมาได้อีก

ลองพิจารณาดูเถิด ปฏิบัติตามที่บอกไปแล้วจะรู้ว่าจริงเท็จอย่างไร ขอให้พิสูจน์

ขอให้เจริญในธรรมทุกท่านทุกคน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร