วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 15:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2010, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มี.ค. 2010, 21:06
โพสต์: 8

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความรู้จากผู้รู้ด้วยค่ะ พระจีวรสีส้มกับสีกลัดต่างกันยังไงคะ

tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2010, 23:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


พระป่า-พระบ้าน
viewtopic.php?f=1&t=27234&p=187543#p187543

สีของจีวร
viewtopic.php?f=23&t=19701


รูปภาพ
:b44: ขอให้เจริญในธรรมค่ะ :b44:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2010, 23:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุ เด้อ :b12:

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b16:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2010, 06:38
โพสต์: 59

อายุ: 21

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่างกันที่เปลือกแต่แก่นก็เหมือนกัน
เพราะต่างก็ปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ มีพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมครูเหมือนกันครับ

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นพระป่าหรือพระบ้านเราก็ควรให้ความเคารพเช่นเดียวกันครับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
วัดร่มโพธิธรรม
ต.หนองหิน กิ่ง อ.หนองหิน จ.เลย




พระแท้

“พระแท้” ในที่นี้หมายถึง พระอนิจจัง พระทุกขัง พระอนัตตา พระที่ยึดไม่ได้ ใครได้เข้าใจถึงความเป็นพระเหล่านี้แล้ว ก็จะคลายจากการหลงยึดในความเป็นพระ จะไม่ทะเลาะกันเพราะพระ โลกจะหมดปัญหาเรื่องความขัดแย้งกันของความเป็นพระ หรือขัดแย้งกับพระ
ถ้าเข้าใจถึงพระอนิจจังตามที่ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่ายึดไม่ได้ ก็จะไม่ยึด แม้แต่ความเป็นพระ ความเป็นคนหรือความเป็นสัตว์โลกตระกูลใดตระกูลหนึ่ง หรือภพหนึ่งภพใด พระจริงๆ ไม่ได้อยู่ที่ว่า จะไปยึดเอาไว้ถือเอาไว้ ในทำนองยึดหรือว่าถือ การกราบไหว้พระทุกวันนี้เพราะความเคารพ ไม่ใช่ยึดถือ
ถ้ายึดถือแล้วก็ทุกข์ เพราะความยึดพระ ถ้าเข้าใจถึงพระอนิจจังจริงๆ แล้ว เรียกว่า พระไตรลักษณ์ตามธรรมชาติ พระสัจธรรมตามธรรมชาติคือ พระอนิจจัง พระทุกขังตามธรรมชาติ คือ ทุกข์อยู่แล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างคือทุกข์อยู่แล้ว เปลี่ยนไปอยู่เสมอๆ
ความทนยากคือทุกข์ ทุกข์ก็ยึดไม่ได้ พระสัจธรรมในข้อนี้ พระทุกขังเป็นสิ่งยึดไม่ได้....ที่ยึดไม่ได้เพราะยึดแล้วก็ยิ่งขังทุกข์ไปหน้าเรื่อยๆ ทุกสิ่งทุกอย่างถ้าเข้าใจพระสัจธรรมตามธรรมชาติแล้ว ก็จะคลายเสียจากอุปทาน ไม่ถือสาในสมมติทั้งหลายทั้งปวง
แม้แต่สมมติที่เกิดขึ้นในดวงใจ ที่นึกว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ก็จะคลายเสีย แม้แต่สมมติทางภาษา สมมติบัญญัติทางภาษา บทความหรือข้อเขียนทั้งสิ้น ก็จะคลายจากการยึดในสมมติทั้งสิ้น อย่างนี้จะไม่ทะเลาะกันเพราะการยึดถือ ในพระจริงๆ แล้ว ไม่ได้อยู่ที่เนื้อหนัง เอ็น กระดูก รูปร่าง หน้าตา มีผม ไม่มีผม ห่มเหลือง ไม่ห่มเหลือง ไม่ได้อยู่ที่นิกายไหนทั้งนั้น แม้แต่ธรรมยุตก็ยังไม่ใช่ ความเป็นพระ มหานิกายก็ยังไม่ใช่ ความเป็นพระ หินยาน มหายาน ก็ยังไม่ใช่ความเป็นพระที่แท้จริง...ไม่ใช่...
พระอนัตตา พระที่ไม่มีตัวตน พระที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง เพราะยึดอย่างไรก็ยึดไม่ได้ เปลี่ยนไปอยู่เสมอๆ นี่แหละยึดเอาตรงไหน ตรงนั้นก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่มีตัวให้ยึดได้อย่างแท้จริง เรียกว่า อนัตตา ตามธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่ต้องไปทำให้อนัตตา นี่แหละคือพระสัจธรรม ถ้าเข้าใจถึงความเป็นพระสัจธรรมอย่างแท้จริง จะหมดปัญหาเรื่องการทะเลาะเบาะแว้งกันเพราะพระ พระดี พระไม่ดี หมดไม่มีตัวตนทั้งนั้น อนัตตาหมด ไปทะเลาะกันเพราะพระดีบ้าง พระไม่ดีบ้าง แย่งกันเพราะพระดีบ้าง ขับไล่เพราะพระไม่ดีบ้าง เรียกว่า วิปลาสทางความคิดเห็น วิปลาสทางจิตวิญญาณทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เข้าใจถึงธรรมะที่พระองค์ทรงดำรัสเอาไว้เลย
พระสัจธรรมมีอยู่ในทุกอณูของทุกธรรมชาติ ถ้าเข้าถึงรหัสนัยของทุกธรรมชาติเข้า มันมีแม้แต่ในความคิด ความรู้สึกมีหมดความครอบงำ ซึมซาบอยู่ในอายตนะสัมผัสทั้งหมดเลย พระอนิจจัง พระทุกขัง พระอนัตตา พระสัจธรรม เรียกว่า พระสัจธรรม
พอเข้าใจ จะมีความศรัทธา มีความเคารพ เคารพนับถือไม่ใช่ยึดถือต่อธรรมสัจจะ เคารพนับถือในพระปัญญาต่อธรรมะขององค์พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าที่แทงตลอดใน อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณทั้งหมดทั้งสิ้น และในธรรมสัจจะ ในปรมัตถ์สัจจะทั้งหมดทั้งสิ้น
นี่คือเคารพนับถือในพระปัญญาของพระองค์ บูชาเทิดทูนในพระปัญญา แต่ไม่ใช่ยึด เคารพนับถือ ก็เบา สบายไปเลย สรณะนี้ถ้าถือเป็นก็จะเบาสบาย ถือไม่เป็นก็จะหนักไปเรื่อยตลอดชีวิต ถ้าเคารพนับถือก็สบายดี อบอุ่นในใจดี ซาบซึ้งดี ซาบซ่านดี ลึกซึ้งดี แยบคายดี ประณีตดี อ่อนโยนดี ถ้าถือเป็นเรียกว่า เคารพนับถือ
ถ้าถือไม่เป็น เรียกว่า ยึดถือ ไปยึด ไปถือ ก็คับแค้นดี ฝืดเคืองดี ทะเลาะกันดี แบ่งพรรคแบ่งพวกดี แล้วเป็นเวรเป็นกรรมกันดี เต็มบ้านเต็มเมือง ไม่มีใครสอน ไม่มีใครบอก มีแต่บอกให้ทะเลาะกัน ไม่มีใครสอน มีแต่สอนให้ทิ่มแทงกัน พระไม่ดีก็ขับไล่พระไม่ดี พระดีก็พากันแย่งพระดี เรียกว่า บ้าทั้งนั้นเลย พูดได้เต็มโอษฐ์ว่า...บ้าทั้งนั้น...
เพราะไม่เข้าใจว่า รหัสนัยแห่งความเป็นปรมัตสัจจะที่มีอยู่ในดีและไม่ดี คืออนิจจัง ยึดไม่ได้ ดี ไม่ดี ก็ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ยึดตรงไหนก็เปลี่ยนไปตรงนั้น เปลี่ยนไปเรื่อย อนิจจังอยู่เสมอๆ ถ้าเข้าถึงพระธรรมตามธรรมชาติแล้ว ไม่มีใครไปหลงยึดพระ มีใครยึดอนิจจัง ? ถ้าเข้าใจอนิจจังแล้ว ไม่มีใครยึดอนิจจัง มีแต่ทำใจ ปลงใจ วางใจ ถ้าเข้าใจทุกขังว่าเป็นอนิจจังตามธรรมชาติ ทุกข์ไม่แน่นอน ไม่มีตัวตนตามธรรมชาติ ใครจะไปหลงยึดในทุกข์ มีแต่จะปลงใจ มีแต่จะคลายในใจต่อการยึดในทุกข์ ถ้าเข้าใจถึงธรรมชาติที่มันไม่แน่นอนทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ก็ไม่มีตัวตนเป็นมั่นเป็นเหมาะที่ถือเอาได้ ยึดเอาได้แท้จริง เกาะเอาได้อย่างแท้จริง ใครจะไปหลงเกาะทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อจิตมันจางคลายสอดคล้องกับอนัตตาตามธรรมชาติ หรือว่างตามธรรมชาติเลย หรือสุญญตาตามธรรมชาติเลยทันที
อนิจจังมีอยู่ทุกอณู มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง มีอยู่ในทุกเรื่อง ทุกสภาวะ รูปธาตุ นามธาตุ ที่หลงยึดทั้งหลาย ก็หลงดันทุรังกันไปเฉยๆ ดันหน้าไปเฉยๆ ดันไม่สุดสักที ดันไปเรื่อย เวียนว่ายตายเกิดดันทุกรังไปเรื่อย ไม่เคยสุดสักที มันเปลี่ยนไปเรื่อย ยึดสิ่งไม่มีตัวตนก็ยึดไม่ได้จริงสักที จึงไม่มีสุดสักที ก็เลยไม่เข้าใจ เลยหลงสังสารวัฏ เลยหลงยึดไปเรื่อยๆๆๆๆ
เมื่อพระที่แท้จริง ไม่ได้อยู่ที่รูปแบบหรือปรากฏการณ์ หมายถึง ความเป็นจริงที่มีอยู่ในรูปแบบ ความเป็นสัจธรรมที่มีอยู่ในทุกปรากฏการณ์ เรียกว่า ความเป็นอนิจจัง จะได้หมดปัญหาเรื่องการติดในรูปแบบ พระดีก็มีความเป็นสัจจะอยู่ในพระนั่นเอง พระไม่ดีก็มีความเป็นสัจธรรมอยู่ในความเป็นพระไม่ดี...นั่นแหละ
ให้เข้าใจถึงสัจจะที่มีอยู่ภายในของธรรมชาติทุกธรรมชาติ มองไปแล้วอย่าให้ไปคาที่เปลือก เปลือกพระพุทธเจ้า เปลือกพระธรรม เปลือกพระสงฆ์ อย่าให้ไปคาที่เปลือก ให้เข้าใจถึงพระสัจธรรมในธรรมชาติ ธรรมสัจจะคือพระสัจธรรม...นั่นแหละ...
การที่จะสอดคล้องกับพระจริงของท่านได้ ก็ต้องสอดคล้องกันด้วยความเข้าใจถึงความเสื่อมที่มีอยู่ในทุกขณะจิต ทุกขณะอารมณ์ ทุกขณะความคิด ความเห็น ทุกรูปธาตุ นามธาตุทั้งหมดทั้งสิ้น เสื่อมเป็นอยู่เสมอๆ นั่นแหละ ไม่แน่นอนอยู่เสมอๆ ไม่ว่าอาการละเอียด อาการหยาบ อารมณ์ละเอียด อารมณ์หยาบ ไม่แน่นอนอยู่เสมอๆ เสื่อมเป็นอยู่เสมอๆ
เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้วก็จะคลายเสียเอง ปลงเสียเอง ไม่ยึด ไม่ถือเสียเอง คือการเข้าถึงพระที่แท้จริง ไม่ถือแล้วดี จะได้ไม่หนัก จิตหนัก วิญญาณหนัก เคารพนับถือไม่เป็นไร ไม่ได้เกิดโทษ จะเกิดโทษตรงที่ยึดถือ ความยึดถือก็มาใกล้ๆ กับความเคารพนับถือด้วย
อย่างเคารพพ่อแม่ ก็อ่อนน้อมในคุณพ่อคุณแม่เสมอ ไม่ล่วงเกินในคุณพ่อคุณแม่ ไม่ประมาทในคุณพ่อคุณแม่ ไม่เพลี่ยงพล้ำล่วงเกินในคุณพ่อคุณแม่อยู่เสมอๆ เรียกว่าเคารพในคุณพ่อคุณแม่ ไม่เกิดโทษ เกิดแต่คุณ
ถ้ายึดถือพ่อแม่ เดี๋ยวก็เพลี่ยงพล้ำตามมา รักนั่นมากกว่ารักเรา รักสิ่งนั้นมากกว่ารักเรา เดี๋ยวก็จะมีอคติตามมา ถูกใจก็ดี ไม่ถูกใจก็แยกเขี้ยวยิงฟันใส่ นี่เรียกว่ายึดถือเกิดโทษ ไม่เกิดคุณ ดูฉาบฉวย เหมือนเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็มีผลที่ไม่ดีตามมาเป็นนิสัย ที่นำทุกข์มาสู่ตนและคนอื่นด้วย
เพราะคำว่า “ยึดถือ” ไม่ได้หมายความว่า ปลงใจได้ หรือทำใจได้ ท่านดีด้วย พูดดีด้วยก็จะดีกับท่าน พอท่านไม่ดีด้วยก็ร้ายกับท่าน เรียกว่า ยึดถือ ทุกข์นะ.....เกิดทุกข์อย่างเดียว ถ้าเคารพนับถือ ท่านจะว่าหรือไม่ว่า จะดุหรือไม่ดุ ก็น้อมในคุณอย่างเดียว ปลงใจอย่างเดียว ทำใจอย่างเดียว ท่านจะเห็นใจ หรือไม่เห็นใจ ก็เคารพอย่างเดียว นับถืออย่างเดียว อ่อนน้อมอย่างเดียว เรียกว่า มีแต่คุณอย่างเดียว.....
ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ก็เหมือนกัน ใช้คำว่าเคารพนับถือ ให้เคารพนับถือทั้งนั้น ไม่ใช่พากันไปยึด ไปถือ ถ้าทำใจไม่ถูกกับพระรัตนตรัย มีแต่จะเกิดโทษ ถือว่าเป็นชาวพุทธกันแต่วาจา แต่ปาก ไหว้พระก็ไหว้ไปอย่างนั้น กราบพระก็กราบไปอย่างนั้น ไปหาพระก็ไปหากันอย่างนั้น แต่ไม่เข้าใจถึงพระสัจธรรมแห่งความเป็นพระ ก็ปลงไม่ได้.....ต้องเข้าใจอยู่กับความเสื่อมทุกขณะ อยู่กับความไม่เที่ยงทุกอณู อะไรๆ ก็ยึดไม่ได้
ให้สำนึกอยู่เสมอว่า อยู่กับสิ่งที่ยึดไม่ได้ สิ่งที่เสื่อมอยู่ทุกขณะ ไม่แน่นอนอยู่ทุกขณะ เรียกว่า ไม่ได้เป็นมั่นเป็นเหมาะ เป็นตัวเป็นตนที่จะเอาได้ ยึดเอาได้ ไม่มี.....เสื่อมอยู่เสมอ กลับกลอกอยู่เสมอๆ ไม่แน่นอนอยู่เสมอๆ ทุกขณะคิด ขณะอารมณ์ ขณะรู้ ขณะเห็น อยู่กับอารมณ์ ความรู้สึก ก็ไม่ประมาท.....เสื่อมอยู่เสมอๆ ยึดไม่ได้
ให้เข้าใจสัจธรรมที่มีอยู่อย่างนี้ไปเรื่อย จะได้ไปลงล็อคตรงที่เคารพนับถือ.....ไม่ใช่ยึดถือ.....
ถ้าไม่เข้าใจถึงธรรมชาติที่มีอยู่ดังกล่าวแล้ว จะไปลงตรงที่ยึดถือทุกคน ไม่ใช่เคารพนับถือ ยึดถือทุกคน แค่ยึดหลวงพ่อนี่ก็จะตายแล้ว ยึดอะไรๆ ก็จะตายแล้ว ทุกข์ คับแค้น เพราะมีภาวะที่ได้ดังใจตามมา ไม่ได้ดังใจตามมา สมปรารถนา ไม่สมปรารถนาตามมา ล้วนแล้วแต่ปริเวทนาทั้งนั้น ทุกข์หมด แม้แต่ตัวเองก็ยึดไม่ได้ ไม่ว่าสิ่งใด ไม่ว่าสิ่งอื่น อณูธาตุแห่งรูปธาตุนี้ ยึดไม่ได้เช่นเดียวกัน คือพระสัจธรรม
ถ้าเข้าใจถึงพระสัจธรรมอย่างนี้แล้วก็จะสบายๆ กราบไปก็ไม่ถูกอิฐถูกปูน ทองคำ ทองเหลือง ทองแดง ถูกพระขลัง พระไม่ขลัง จะถูกพระสัจธรรมหมดเลย ถูกจางคลายหมด ถูกพระอนัตตาหมด ถูกว่างตามธรรมชาติหมด ไม่ไปถูกเปลือกพระ เรียกว่ายึดถือไม่ใช่เคารพนับถือ

ถ้าเคารพนับถือแล้ว ไม่ว่าพระจะเป็นอย่างไร ก็ยังเคารพนับถือ ไม่เสื่อมตามธรรมชาติอยู่เสมอๆ ไม่มีที่จะไปหาวิธีการส่องดูรูปธาตุ นามธาตุอยู่ตลอด เนื้อดีหมด เนื้อหาสาระแห่งความเป็นปรมัตสัจจะที่มีอยู่ในทุกธรรมชาติ ทุกอณูแห่งธรรมชาติ เสื่อมอยู่เสมอ...
สัพเพ สังขารานิจจา วายะธรรมะ สังขารา ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยงอยู่เสมอ เนื้อดีหมด เนื้อหาสาระแห่งธรรมสัจจะ ไม่ใช่เนื้อดีอยู่ตรงที่เนื้อข้าวสุกเก่าๆ เนื้อข้าวก้นบาตร เนื้อข้าวสาร เนื้อว่าน เนื้อหาสาระแห่งความเป็นปรมัต
“...ต้องเข้าใจถึงความไม่เที่ยงของมหานิกาย ความไม่เที่ยงของธรรมยุต ความไม่เที่ยงของมหายาน หินยาน หรือนิกายไหนก็ตามที ต้องเข้าใจถึงความเป็นอนิจจังของความเป็นธรรมชาติเขา เราจะได้คลายเสียจากการหลงเข้ายึดในนิกายนั้น นิกายนี้ มันทุกข์ยากลำบาก แบ่งพรรคแบ่งพวกกัน ทะเลาเบาะแว้งกัน จะได้คลายเสีย...นั่นแหละ...
ความเป็นพระที่แท้จริงยึดไม่ได้ คำว่า พุทธังสรณังคัจฉามิ ขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ คือนับถือ เคารพนับถือไม่ใช่ยึดถือ ธัมมังสรณังคัจฉามิ ขอถือเอาพระธรรมเป็นสรณะ เคารพพระธรรม ไม่ใช่ยึดถือพระธรรม ถ้ายึดถือเอาพระธรรมก็หัวปักหัวปำ เถียงกันเพราะธรรมะไม่ตรงความคิดเห็นก็จะทะเลาะกัน เพราะพระธรรมที่ออกมาจากความคิดเห็นไม่ตรงกัน
สิ่งที่เป็นสัจธรรมมีความเสมอภาคอยู่แล้วในธรรมชาติ คือความเป็นอนิจจังเหมือนกันหมด จะมีความคิดหรือไม่มีความคิดก็อนิจจังเหมือนกันหมด ทุกสิ่งทุกอย่างจะยึดหรือไม่ยึดก็เหมือนกันหมด ยึดก็ทุกข์ ไม่ยึดก็ทุกข์ ยึดก็ทุกข์...นี่คือสัจธรรม
ไม่ยึดก็ทุกข์ ทุกข์ธรรมชาติ ไม่ไปทุรนทุราย กระสับกระส่าย ปฏิฆะทุกข์ ปฏิเสธทุกข์ มันยุ่งยาก ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้ายิ่งยึดก็ทุกข์หนักเข้าไปอีก เพราะยิ่งยึดก็จะเป็นทุกข์กำลังสอง กำลังสามไปเรื่อย...
ถ้ายิ่งไม่ยึดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสอดคล้องกับพระนิพพานตามธรรมชาติมากเท่านั้น ไม่ว่าจะยึดสมมติหรือไร้สมมติ จึงเรียกว่า อนัตตา เพราะยึดไม่ได้ ไม่ใช่อัตตาตัวตนที่แท้จริง พระอนัตตาพระไม่มีตัวตน มัวแต่ไปทะเลาะกันในรูปร่าง เนื้อหนัง มังสา กระดูกจนถึงปลายผมจนปลายเล็บเท้า แต่ผิวหนังจนถึงช่องว่างในกระดูก พระกู พระมึง พระพวกมึง พระพวกกูอยู่นี่...”


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร