วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 08:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้มองเห็นข้อความที่กำลังทำความเข้าใจกันอยู่ จึงนำมาไว้ใกล้ๆ อีกครั้ง


ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรมนั้น สรุปได้ 2 อย่าง คือ

1. แสดงหลักความจริงสายกลาง ที่เรียกว่า "มัชเฌนธรรม” หรือ เรียกเต็มว่า “มัชเฌนธรรมเทศนา”
ว่าด้วยความจริงตามแนวของเหตุผลบริสุทธิ์ตามกระบวนการของธรรมชาติ นำมาแสดงเพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติในชีวิตจริงเท่านั้น ไม่ส่งเสริมความพยายามที่จะเข้าถึงสัจธรรม ด้วยวิธีถกเถียงสร้างทฤษฎีต่างๆ
ขึ้น แล้วยึดมั่นปกป้องทฤษฎีนั้น ๆ ด้วยการเก็งความจริงทางปรัชญา

2. แสดงข้อ ปฏิบัติสายกลาง ที่เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” อันเป็นหลักการครองชีวิตของผู้ฝึกอบรมตน ผู้รู้เท่าทันชีวิต ไม่หลงงมงาย มุ่งผลสำเร็จ คือ ความสุข สะอาด สว่าง สงบ เป็นอิสระ ที่สามารถมองเห็นได้ในชีวิตนี้
ในทางปฏิบัติ ความเป็นสายกลางนี้ เป็นไปโดยสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆ เช่น สภาพชีวิตของบรรพชิต
หรือ คฤหัสถ์ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำย่อในวงเล็บที่ผ่านมา (ซตพ.) คำเต็มว่าอย่างไรขอรับ ซตพ. เป็นโคตลับอะไรหรอป่าวขอรับ :b12:

........

ขณะรอคำตอบก่อนหน้า จะโพสต์ข้อความที่เกี่ยวเนื่องกันกับข้างต้นตามสมควร เพื่อจะสรุปง่ายขึ้น :b1:


ไตรลักษณ์ กับ ปฏิจจสมุปบาท ความจริงเป็นกฎเดียวกัน แต่แสดงคนละแง่
ภาวะที่ไม่เที่ยงไม่คงที่ ทำให้มีความบีบคั้น ขัดแย้ง จึงมีความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา
(อนิจจัง ทุกขัง วิปริณามธัมมัง) แต่ทั้งนี้ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย

ปฏิจจสมุปบาท เป็นกระบวนการของธรรมชาติ แสดงแต่สภาวธรรม ไม่ใช่ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มัชเฌนธรรมเทศนา คือ อะไร ?

มัชเฌนธรรมเทศนา คือ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นกลางๆ ตามธรรมชาติ คือตามสภาวะ ที่สิ่ง
ทั้งหลายมันเป็นของมัน ตามเหตุปัจจัย ไม่ติดข้องในทิฏฐิหรือแนวความคิดเอียงสุดทั้งหลาย ที่มนุษย์
วาดให้เข้ากับสัญญาที่ผิดพลาดและความยึดความอยากของตนที่จะให้โลก และ ชีวิตเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

มัชเฌนธรรมเทศนานี้ หมายถึงหลักปฏิจจสมุปบาท อันได้แก่ กระบวนธรรมแห่งการเกิดขึ้นพร้อมโดยอาศัยกันและกันของสิ่งทั้งหลาย
กระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาท ที่ชี้แจงเรื่องความทุกข์ของมนุษย์ ท่านแสดงไว้เป็น ๒ สาย
สายที่หนึ่ง แสดงการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ - (ปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร) และจัดเป็นคำจำกัดความของอริยสัจข้อที่ ๒
สายที่สอง แสดงการดับไปแห่งทุกข์ -(ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร) และจัดเป็นคำจำกัดความของอริยสัจข้อที่ ๓

(นำมาย่อๆพอเห็นเค้า)

.....

มัชเฌนธรรมเทศนา มาจากบาลีว่า มชฺเฌน ธมฺมํ เทเสติ ซึ่งมีกล่าวไว้หลายแห่งในสังยุตตนิกาย
นิทานวรรค ระหว่าง สํ.นิ. 16/42/20 ถึง 16/176/92

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน.....
กรัชกายจะพูดว่า ชีวิต หรือ กายกับใจเนี้ย ซึ่งเดินโต๋เต๋ๆ อยู่เนีย คือ ธรรมชาติ หรือ เป็นส่วนหนึ่ง
ในธรรมชาตินั้น
คุณลุงใหญ่ว่า กรัชกายพูดถูกไหมขอรับ

ขอคำตอบสั้นๆ "ถูก" "ไม่ถูก" ก็พอนะขอรับ เพื่อจะได้ข้อสรุปปัญหาที่นำมาข้างต้น

Buddha ตอบ.....

โธ่เอ๋ย ไม่รู้จักอายตัวเองซะบ้าง ถามอย่างหนึ่ง พอเข้าตาจน ดันบอกว่าถามอีกอย่างหนึ่ง คุณจะถามทำไม สิ่งที่คุณเขียนมา จะตอบว่า "ไม่ถูก" ก็ได้ หรือ จะตอบว่า "ถูก" ก็ได้ มนุษย์ คือส่วนหนึ่ง ของธรรมชาติทั้งหมด และมนุษย์ก็เป็นธรรมชาติ อย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน ถามแบบลองภูมิ อยากโอ้อวดภูมิ อยากได้คำตอบไปทำหนังสือขายหรืออย่างไร

ส่วน เจ้า สติเฟือง ผู้ใช้ชื่อว่า "พลศักดิ์" ข้าพเจ้าเคยบอกเจ้าแล้วนะว่า เจ้านั้น ไม่มีปฏิภาณไหวพริบ ข้าพเจ้า ไม่ใช่ "ภิกษุ" อย่าเอา ความในพระไตาด สว่าง สงบ เป็นอิสระ ที่สามารถมองเห็นได้ในชีวิตนี้
ในทางปฏิบัติ ความเป็นสายกลางนี้ เป็นไปโดยสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆ เช่น สภาพชีวิตของบรรพชิต
หรือ คฤหัสถ์ เป็นต้น

Buddha....เขียน

ก็ แล้วสิ่งที่เอ็งกล่าวมานั้น มันคืออะไรกันละ ลองบอกหลักที่แท้จริงมันออกมาซิ เพราะสิ่งที่เอ็งกล่าวมา มันเป็นเพียง บทเกริ่น บทนำ ไม่ใช่ตัวหลักธรรม แล้วเอ็งยังมีหน้าเข้ามาสะเออะ เสนอหน้า เที่ยวสอนใครต่อใคร ทำไมกันเล่า

กรัชกาย ...เขียน...
ไตรลักษณ์ กับ ปฏิจจสมุปบาท ความจริงเป็นกฎเดียวกัน แต่แสดงคนละแง่
ภาวะที่ไม่เที่ยงไม่คงที่ ทำให้มีความบีบคั้น ขัดแย้ง จึงมีความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา
(อนิจจัง ทุกขัง วิปริณามธัมมัง) แต่ทั้งนี้ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย

ปฏิจจสมุปบาท เป็นกระบวนการของธรรมชาติ แสดงแต่สภาวธรรม ไม่ใช่ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ)

Buddha...ตอบ....
ข้าพเจ้าจะโปรดสัตว์ อย่างผู้ใช้ชื่อว่า กรัชกาย เจ้าจงทำความเข้าใจให้ดี
ใน พระไตร ปิฎก เป็นเพียงรายละเอียด ที่อธิบายแยกแยะในหลักธรรม เพื่อให้ภิกษุ(ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นที่ได้ยินได้ฟังจากการสอนให้ภิกษุผู้ปัญญา น้อย)เกิดความเข้าใจ การสอน แม้จะเป็นวรรค เป็นตอน แต่ทุกส่วนสัมพันธ์กัน มีเหตุ มีปัจจัย ไม่มีแบ่งแยก เช่น
สิ่งที่เอ็ง กล่าวมา จะประพฤติ ปฏิบัติ หรือทางดำเนิน หรือข้อปฏิบัติ ใดใด ก็ต้องอาศัยปัจจัยในการ ประพฤติ ปฏิบัติ หรือดำเนิน หรือเป็นข้อปฏิบัติ
เอ็ง ไม่รู้แจ้ง ไม่รู้จริง มีแต่อวดรู้ อวดฉลาด ไม่พิจารณาดูให้ดี ดันไปแยกออกจากกัน เอ็งไม่ได้คิดว่า ถ้าไม่มี ธรรมชาติต่างๆ ข้อปฏิบัติ หรือ การปฏิบัติ หรือการประพฤติ ก็จะไม่เกิดขึ้น หรือไม่มีการปฏิบัติ หรือข้อปฏิบัติ เพราะมันเป็นธรรมชาติ
ดังนั้น ทั้งสองสิ่งคือ สิ่งสิ่งเดียวกัน ต่างกันที่ภาษาที่ใช้เรียก อันนี้เอ็งไปพิจารณาเอา ตามที่ข้าพเจ้าสอนให้ ก็คงจะฉลาดอย่างคน และจะได้ไม่หลงในความคิด ที่ผิด แบบ ไม่รู้จริง แต่ยังโอ้อวด เที่ยวสอนใครต่อใครบ้าง เที่ยวให้เขาส่งคำถามทางเมล์บ้าง นะขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โธ่เอ๋ย ไม่รู้จักอายตัวเองซะบ้าง ถามอย่างหนึ่ง พอเข้าตาจน ดันบอกว่าถามอีกอย่างหนึ่ง คุณจะถามทำไม สิ่งที่คุณเขียนมา จะตอบว่า "ไม่ถูก" ก็ได้ หรือ จะตอบว่า "ถูก" ก็ได้ มนุษย์ คือส่วนหนึ่ง ของธรรมชาติทั้งหมด และมนุษย์ก็เป็นธรรมชาติ อย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน ถามแบบลองภูมิ อยากโอ้อวดภูมิ อยากได้คำตอบไปทำหนังสือขายหรืออย่างไร


เมื่อถามเกี่ยวกับ "ชีวิต" ตามแนวขันธ์ ๕ คุณลุงใหญ่ก็เลี่ยงๆ ไม่ฟันธง :b1:

ก็จึงถามตรงๆดังกล่าว คุณลุงใหญ่ก็แทงกั๊กอีก แสดงว่าไม่แน่ใจ อาจงงชีวิต เพราะคุณลุงใหญ่เห็นกายใจว่าเป็นอัตตา ยึดมั่นในอัตตาว่า ตัวตน จึงวางไม่ลง หลงสมมุติ ติดสมมุติ แยกแยะไม่ออกว่า พูดอย่างไรเป็นสมมุติ พูดอย่างไรเป็นปรมัตถ์ แต่เอาเถอะครับ
สรุปประเด็นนี้เพื่อให้เนื้อเรืองเดินต่อ กรัชกายฟันธงว่า มนุษย์ก็คือธรรมชาติ :b1:



แล้วที่ถามว่า
คำย่อในวงเล็บที่ผ่านมา (ซตพ.) คำเต็มว่าอย่างไรขอรับ ซตพ. เป็นโคตลับอะไรหรอป่าวขอรับ :b1:

อยากรู้ว่าย่อมาจากอะไร ? บอกหน่อยนะขอรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 09:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
โธ่เอ๋ย ไม่รู้จักอายตัวเองซะบ้าง ถามอย่างหนึ่ง พอเข้าตาจน ดันบอกว่าถามอีกอย่างหนึ่ง คุณจะถามทำไม สิ่งที่คุณเขียนมา จะตอบว่า "ไม่ถูก" ก็ได้ หรือ จะตอบว่า "ถูก" ก็ได้ มนุษย์ คือส่วนหนึ่ง ของธรรมชาติทั้งหมด และมนุษย์ก็เป็นธรรมชาติ อย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน ถามแบบลองภูมิ อยากโอ้อวดภูมิ อยากได้คำตอบไปทำหนังสือขายหรืออย่างไร


เมื่อถามเกี่ยวกับ "ชีวิต" ตามแนวขันธ์ ๕ คุณลุงใหญ่ก็เลี่ยงๆ ไม่ฟันธง :b1:

ก็จึงถามตรงๆดังกล่าว คุณลุงใหญ่ก็แทงกั๊กอีก แสดงว่าไม่แน่ใจ อาจงงชีวิต เพราะคุณลุงใหญ่เห็นกายใจว่าเป็นอัตตา ยึดมั่นในอัตตาว่า ตัวตน จึงวางไม่ลง หลงสมมุติ ติดสมมุติ แยกแยะไม่ออกว่า พูดอย่างไรเป็นสมมุติ พูดอย่างไรเป็นปรมัตถ์ แต่เอาเถอะครับ
สรุปประเด็นนี้เพื่อให้เนื้อเรืองเดินต่อ กรัชกายฟันธงว่า มนุษย์ก็คือธรรมชาติ :b1:


Buddha...ตอบ....

ฮ่า ฮ่า ฮ่า ข้าพเจ้าบอกแล้วว่า คุณผู้ใช้ชื่อว่า กรัชกาย นั้น มีความคิดต่ำ สมองสติปัญญาเลวทราม
ยังมีหน้าบอกว่า แทงกั๊ก ในสมองมีแต่การพนันละซิ
หลักความจริง นะคุณ คุณคิดเอาเอง ว่าข้าพเจ้าไม่ตอบตามตรง แต่ความจริงแล้วข้าพเจ้าตอบตามตรง อยู่แล้ว ใช้สมองอันน้อยนิดของคุณคิดพิจารณาให้ดี
ทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าตอบ ตอบอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีการอวดอ้างเพื่อแสดงภูมิความรู้ อย่างคุณ
ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นว่า กายใจ เป็นอัตตา
ทำไมคุณไม่อ่านบทความของข้พาเจ้าให้ดี กลับไปอ่านใหม่ ความคิดของคุณจะได้สูงขึั้น
เรื่อง สมมุติ ก็อธิบายไปแล้ว คุณจะยกความเขลาของคุณมากล่าวอ้างทำไม คุณไม่รู้ว่า ในพระไตรปิฎก เขาสื่อถึงอะไร และในพระไตรปิฎก ก็ได้กล่าว ไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว กลับไปอ่านข้อแสดงความคิดเห็นของข้าพเจ้าทั้งหมดให้ดี
ข้าพเจ้าก็ฟันธงแล้วว่า "มนุษย์ คือส่วนหนึ่ง ของธรรมชาติทั้งหมด และมนุษย์ก็เป็นธรรมชาติ อย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน "
ระดับคุณผู้ใช้ชื่อว่า กรัชกาย มันก็แค่ ฝุ่นละอองใต้ฝ่าเท้าข้าพเจ้าเท่านั้นแหละนะคุณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(เมื่อสรุปว่าชีวิตคือธรรมชาติแล้ว ก็พิจารณา "มัชเฌนธรรม" ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
แต่ทีนี้มีคำอธิบายเพิ่มขึ้น อาจเข้าใจสิ่งที่พระพุทธตรัสรู้ ซึ่งก็คือธรรมชาติ หรือ ชีวิตนี้เอง)



มัชเฌนธรรมเทศนา คือ อะไร ?

มัชเฌนธรรมเทศนา คือ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นกลางๆ ตามธรรมชาติ คือตามสภาวะ ที่สิ่ง
ทั้งหลายมันเป็นของมัน ตามเหตุปัจจัย ไม่ติดข้องในทิฏฐิหรือแนวความคิดเอียงสุดทั้งหลาย ที่มนุษย์
วาดให้เข้ากับสัญญาที่ผิดพลาดและความยึดความอยากของตนที่จะให้โลก และ ชีวิตเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

มัชเฌนธรรมเทศนานี้ หมายถึงหลักปฏิจจสมุปบาท อันได้แก่ กระบวนธรรมแห่งการเกิดขึ้นพร้อมโดยอาศัยกันและกันของสิ่งทั้งหลาย
กระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาท ที่ชี้แจงเรื่องความทุกข์ของมนุษย์ ท่านแสดงไว้เป็น ๒ สาย
สายที่หนึ่ง แสดงการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ - (ปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร) และจัดเป็นคำจำกัดความของอริยสัจข้อที่ ๒
สายที่สอง แสดงการดับไปแห่งทุกข์ -(ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร) และจัดเป็นคำจำกัดความของอริยสัจข้อที่ ๓


(มีขยายความให้อีกหน่อย ก่อนเข้าประเด็นมัชฌิมาปฏิปทา)

มัชเฌนธรรมเทศนา แสดงแต่สภาวธรรมที่เป็นไปตามธรรมดาของมันเอง ตามเหตุปัจจัยในธรรมชาติ
ไม่เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติของมนุษย์ ดังนั้น กระบวนการดับทุกข์ที่เรียกว่านิโรธ ซึ่งอยู่ในฝ่ายของมัชเฌนธรรม
เทศนา จึงเป็นแต่เพียงตัวกระบวนการของธรรมชาติล้วนๆ กล่าวถึง เฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างเหตุปัจจัย
ต่างๆ ที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ไม่ได้ชี้แจงแนะนำรายละเอียดในทางปฏิบัติแต่อย่างใด กล่าวคือ บอกไว้
แต่เพียงว่าในการเข้าถึงจุดหมาย คือ ความดับทุกข์ กระบวนธรรมจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ
แต่ไม่ได้บอกด้วยว่า ทำอย่างไร จึงจะให้กระบวนธรรมเป็นอย่างนั้นขึ้นมาได้ หรือ ว่าถ้าต้องการให้กระบวน
ธรรมเป็นอย่างนั้นมนุษย์ควรปฏิบัติอย่างไร จะต้องทำอะไรบ้าง
เป็นอันว่า มัชเฌนธรรมเทศนา มีขอบเขตจำกัดอยู่ภายในเรื่องของสภาวธรรมที่เป็นไปอยู่ตามธรรมดาของ
มันในธรรมชาติ

มนุษย์เรียนรู้เรื่องมัชเฌนธรรมเทศนามาตามลำดับ จนถึงรู้จักกระบวนการดับทุกข์ในข้อว่าด้วยนิโรธ เป็นอัน
ได้เข้าใจหลักการดับทุกข์ หรือ หลักการแก้ไขปัญหาแล้ว แต่ยังต้องการคำแนะนำในทางปฏิบัติต่อไป
อีก ว่ามีวิธีการที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จตามหลักการ หรือกระบวนการนั้นได้อย่างไร นี้คือจุดเชื่อมต่อ
ระหว่างกระบวนการของธรรมชาติ กับวิธีปฏิบัติของมนุษย์

ข้อสำคัญที่ต้องเน้น คือ วิธีปฏิบัติของมนุษย์ จะต้องสอดคล้องกับกระบวนการของธรรมชาติ
หรือการปฏิบัติของมนุษย์ จะต้องให้ผลเกิดขึ้นตามกระบวนการของธรรมชาติ
วัตถุประสงค์ที่ต้องการจึงจะสำเร็จ


หลักการในเรื่องนี้คือเรียนรู้เข้าใจกระบวนการของธรรมชาติ แล้วปฏิบัติตามวิธีการของมนุษย์ให้เป็นไปตาม
ความรู้ความเข้าใจนั้น

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวนการของธรรมชาติ หน้าที่ของเราคือต้องรู้
ส่วนการปฏิบัติ เราทำตามข้อกำหนดหรือรายละเอียดที่วางขึ้นตามความรู้นั้น
เมื่อเข้าใจอย่างนั้นแล้ว ก็ก้าวจากกระบวนการของธรรมชาติ ไปสู่การปฏิบัติของมนุษย์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

กรัชกายจะพูดว่า ชีวิต หรือ กายกับใจเนี้ย ซึ่งเดินโต๋เต๋ๆ อยู่เนีย คือ ธรรมชาติ หรือ เป็นส่วนหนึ่ง
ในธรรมชาตินั้น
คุณลุงใหญ่ว่า กรัชกายพูดถูกไหมขอรับ :b1:


ขอคำตอบสั้นๆ "ถูก" "ไม่ถูก" ก็พอนะขอรับ เพื่อจะได้ข้อสรุปปัญหาที่นำมาข้างต้น :b16:


การตอบเพียงถูกหรือผิดไม่ได้หรอกครับ ตอบได้ก็ต่อเมื่อสิ่งที่คุณพูดเป็นสัมมาทิฏฐิ แต่ผมไม่คิดว่าความคิดของคุณมาจากสัมมาทิฏฐินะครับ ผมจะอธิบายให้ฟัง

ธรรมชาติมี 2 อย่าง คือ สังขตธรรม และอสังขตธรรม
ธรรมชาติของสังขตธรรมตัวนี้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ภายใต้ไตรลักษณ์ กายกับใจเนี้ยเป็นธรรมชาติตัวนี้

ธรรมชาติของอสังขตธรรมเป็นนิจจัง สุขขัง อัตตา ไม่อยู่ภายใต้ไตรลักษณ์ พระพุทธเจ้ายืนยันว่า อายตนนิพพานมีอยู่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรบอกพระสารีบุตรว่า ธรรมกายคืออายตนะนิพพาน ด้วยเหตุนี้จึงม่กายและใจแบบพิเศษอยู่ในพระนิพพาน

กายและใจแบบพิเศษนี้ เรียกว่า ธรรมกาย ธรรมขันธ์ เป็นกายและใจที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
(เมื่อสรุปว่าชีวิตคือธรรมชาติแล้ว ก็พิจารณา "มัชเฌนธรรม" ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
แต่ทีนี้มีคำอธิบายเพิ่มขึ้น อาจเข้าใจสิ่งที่พระพุทธตรัสรู้ ซึ่งก็คือธรรมชาติ หรือ ชีวิตนี้เอง)



มัชเฌนธรรมเทศนา คือ อะไร ?

มัชเฌนธรรมเทศนา คือ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นกลางๆ ตามธรรมชาติ คือตามสภาวะ ที่สิ่ง
ทั้งหลายมันเป็นของมัน ตามเหตุปัจจัย ไม่ติดข้องในทิฏฐิหรือแนวความคิดเอียงสุดทั้งหลาย ที่มนุษย์
วาดให้เข้ากับสัญญาที่ผิดพลาดและความยึดความอยากของตนที่จะให้โลก และ ชีวิตเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

มัชเฌนธรรมเทศนานี้ หมายถึงหลักปฏิจจสมุปบาท อันได้แก่ กระบวนธรรมแห่งการเกิดขึ้นพร้อมโดยอาศัยกันและกันของสิ่งทั้งหลาย ..... ..... .....



หลักปฏิจจสมุปบาท ใช้กับกายใจที่เป็นสังขตธรรม ไม่สามารถใช้กับกายใจที่เป็นอสังขตธรรม และหลักปฏิจจสมุปบาทที่สมมุติสงฆ์ และปถุชน เข้าใจ ก็เข้าใจผิดด้วย ผู้ที่เข้าใจถูกต้องคือพระอรหันต์ที่มีอภิญญา 6


แก้ไขล่าสุดโดย พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เมื่อ 22 มี.ค. 2009, 12:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 12:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ส่วน เจ้า สติเฟือง ผู้ใช้ชื่อว่า "พลศักดิ์"


คุณพลศักดิ์ครับ ท่านบุดฯ ว่าคุณสติเฟื่อง คำนี้เป็นไงครับ สติเฟื่อง สติตัวนี้ตัวเดียวกับสติที่มาคู่กับสัมปชัญญะเปล่าคับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ส่วน เจ้า สติเฟือง ผู้ใช้ชื่อว่า "พลศักดิ์"


คุณพลศักดิ์ครับ ท่านบุดฯ ว่าคุณสติเฟื่อง คำนี้เป็นไงครับ สติเฟื่อง สติตัวนี้ตัวเดียวกับสติที่มาคู่กับสัมปชัญญะเปล่าคับ :b1:



ปล่อยเขาไปเถอะครับ เขาตกอยู่ในบ่วงมาร คุณbuddhaเขาคิดว่าธรรมะของพระพุทธเจ้าคิดได้ โดยไม่ปฏิบัติ นี่เป็นเหตุให้เขาหนีไม่พ้นบ่วงมาร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ส่วน เจ้า สติเฟือง ผู้ใช้ชื่อว่า "พลศักดิ์"

คุณพลศักดิ์ครับ ท่านบุดฯ ว่าคุณสติเฟื่อง คำนี้เป็นไงครับ สติเฟื่อง สติตัวนี้ตัวเดียวกับสติที่มาคู่กับสัมปชัญญะเปล่าคับ :b1:

เขาตกอยู่ในบ่วงมาร คุณ buddha เขาคิดว่าธรรมะของพระพุทธเจ้าคิดได้ โดยไม่ปฏิบัติ นี่เป็นเหตุให้เขาหนีไม่พ้นบ่วงมาร


มารในที่นี้ได้แก่อะไรครับ พอจะยกตัวอย่างให้เห็นได้ไหม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อจาก คห.ที่ผ่านมา)

มัชฌิมาปฏิปทา (มัชฌิมา+ปฏิปทา) คือ อะไร ? มีความหมาย อย่างไร ?

การปฏิบัติ ข้อปฏิบัติ หรือวิธีปฏิบัติ มีศัพท์จำเพาะเรียกว่า “ปฏิปทา”

คำว่า ปฏิปทา ในที่นี้มีความหมายจำเพาะหมายถึง ข้อปฏิบัติ,วิธีปฏิบัติ, หนทาง, วิธีการ, หรือวิธีดำเนินชีวิตให้บรรลุถึงความดับทุกข์

ปฏิปทาเช่นนี้ พระพุทธเจ้าทรงกำหนดวางไว้แล้วโดยสอดคล้องกับกระบวนการดับทุกข์ที่เป็นมัชเฌนธรรมเทศนา และทรงเรียกปฏิปทานั้นว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” แปลว่า ข้อปฏิบัติมีในท่ามกลาง หรือเรียกกัน
ง่ายๆว่า ทางสายกลาง หรือ หมายถึงข้อปฏิบัติ วิธีการ หรือทางดำเนินชีวิตที่เป็นกลางๆ ตามธรรมชาติ
สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ พอเหมาะพอดีที่จะให้เกิดผลตามกระบวนการดับทุกข์ของธรรมชาติ ไม่เอียงเข้าไป
หาขอบสุดสองข้าง ที่ทำให้ติดพัวพันอยู่ หรือ เฉไถลออกไปนอกทาง


มัชฌิมาปฏิปทา มีชื่อเรียกอย่างง่ายๆ ว่า มรรค ซึ่งแปลว่า ทาง ทางนี้ ทำให้ผู้ดำเนินตามเป็นอารยชน
จึงเรียกชื่อเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค

พระพุทธเจ้าตรัสว่า มรรคาที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทานี้ เป็นทางเก่าที่เคยมีท่านผู้เดินทางถูกต้องไปถึงจุด
หมายเคยเดินกันมาในกาลก่อนแล้ว
พระองค์เพียงแต่ทรงค้นพบแล้วทรงเปิดเผยแก่มวลมนุษย์ ทรงทำหน้าที่แนะนำบอกทางนี้ให้แก่เวไนยชน -
(สํ.นิ.16/253/129)

มรรค หรือ มรรคานี้ เป็นวิธีปฏิบัติของมนุษย์ ที่จะทำให้เกิดผลตามกระบวนการดับทุกข์
ของธรรมชาติ คือ ทำให้เหตุปัจจัยต่างๆ ส่งผลสืบทอดกันไปจนสำเร็จเสร็จสิ้นตามกระบวนการ
ของธรรมชาตินั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามอะไรคุณ คุณ ก็ตอบไม่ตรงคำถาม อย่างคุณเรียกว่าตอบไม่ตรงคำถาม ข้าพเจ้าไม่ได้ถามว่า มัชฌิมาปฏิปทา เป็นอย่างไร
แต่ถามว่า มัชฌิมา ปฏิปทา คือ อะไรบ้าง (ไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทยดอกนะ เห็นคุณเขียนภาษาบาลีมาเยอะแยะ)

คุณจะปฏิบัติ หรือมีข้อปฏิบัติ อะไรก็ตามแต่ คุณต้องมีปัจจัยที่สำคัญ คือ
๑. อัตตา คือ ตัวตน อันได้แก่ ขันธ์ ๕ คือ จิตวิญญาณ,รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร(การปรุงแต่ง
๒.คุณต้องมีปัจจัยอื่นๆ ตามธรรมชาติ เช่นสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น พฤติกรรม ของคน สัตว์ สิ่งของ อันเป็นธรรมชาติที่แท้จริง และเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ประกอบกันเพื่อทำให้เกิด ข้อปฏิบัติ หรือการปฏิบัติ

ชัดเจนไหมละคุณผู้เขลาเบาปัญญา อันชื่อว่า "กรัชกาย"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พึงทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับมัชฌิมาปฏิปทา



มัชฌิมาปฏิปทา หรือ อริยสัจข้อสุดท้าย คือ มรรค เป็นประมวลหลักความประพฤติปฏิบัติ หรือ ระบบจริยธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา เป็นคำสอนภาคปฏิบัติที่จะช่วยให้การดำเนินสู่จุดหมายตามแนวทางของกระบวนธรรมที่รู้เข้าใจแล้วนั้น เป็นผลสำเร็จขึ้นมาในชีวิตจริง หรือ เป็นวิธีการใช้กฎเกณฑ์ แห่งกระบวนการของธรรมชาติให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตจนถึงที่สุด

เพื่อความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับมัชฌิมาปฏิปทา พึงพิจารณาพุทธพจน์ต่อไปนี้


“ภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้ บรรพชิตไม่พึงเสพ กล่าวคือ การหมกมุ่นด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย อันเป็นการชั้นต่ำ ชั้นตลาด ของบุถุชน มิใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์อย่างหนึ่ง
และการประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน อันเป็นทุกข์ ไม่เป็นอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์อย่าง
หนึ่ง”

“ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งทางสายกลางที่ไม่ข้องแวะที่สุดสองอย่างนั้น อันเป็นทางที่สร้างจักษุ -(การเห็น)สร้างญาณ -(การรู้) เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”

“ก็ทางสายกลางนั้น...เป็นไฉน ? ทางนั้น คือ มรรคาอันเป็นอริยะ มีองค์ประกอบ ๘ ประการ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ”
(วินย. 4/13/18 สํ.ม. 19/1661/528)


พุทธพจน์จากปฐมเทศนาแสดงความหมาย เนื้อหา และจุดหมายของมัชฌิมาปฏิปทา ไว้โดยสรุปครบ
ทั้งหมด
ที่ควรสังเกต คือ ความเป็นสายกลาง (the Middle path หรือ Middle Way) นั้น
เป็นเพราะไม่เข้าไปข้องแวะที่สุดสองอย่าง (แต่ไม่ใช่อยู่กลางระหว่างที่สุดทั้งสอง) คือ

๑. กามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ด้วยกาม (the extreme of sensual indulgence หรือ extreme hedonism)

๒.อัตตกิลมถานุโยค การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง (the extreme of self-mortification หรือ extreme asceticism)


(ทางสายกลาง ตามแนวพุทธศาสนากับความเข้าใจของคนต่างกันตรงไหน จะนำคำอธิบายมาให้พอเห็นแนวทาง)


มีผู้นำเอาคำว่า ทางสายกลาง ไปใช้อย่างกว้างขวาง หมายถึง การกระทำหรือความคิดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างการกระทำหรือความคิดสองแบบสองแนว หรือ คนสองพวกสองฝ่าย คือวัดเอาให้ได้ครึ่งทางระหว่างสองพวกหรือสองฝ่ายนั้น ความเป็นกลางหรือทางสายกลางอย่างนี้ ไม่มีหลักอะไรที่แน่นอน ต้องรอให้เขามีสองพวกสองฝ่ายก่อน จึงจะเป็นกลางได้ และจุดกลางหรือเส้นกลางก็ไม่แน่ลงไปว่าแค่ไหน สุดแต่สองพวกหรือสองฝ่ายเขาจะยึดถือปฏิบัติกันแค่ใด ทางสายกลางนั้น ก็ขยับเขยื้อนเลื่อนไปให้ครึ่งทางระหว่าง
สองพวกสองฝ่ายนั้น
บางครั้งทางสายกลางแบบนี้ ก็มองดูคล้ายกับทางสายกลางที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา แต่พึงทราบว่าเป็นทางสายกลางเทียม ไม่ใช่ของแท้จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 144 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร