วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 10:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2009, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ในการเป็นกลุ่ม ของนามรูป......................กล่าวคือ

อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น อันใด อุปาทานขันธ์ ๕ อันนั้น

เป็นนามรูปนี้ ฯ ในนามรูปนั้น.................................

ธรรมใดมีผัสสะเป็นที่ ๕ .............ธรรมนี้ เป็นนาม.

รูปอินทีย์ ๕ อันใด................อินทรีย์ ๕ นี้ เป็นรูป.

นามและรูป ทั้ง ๒ นั้น

ชื่อว่า นามรูป ซึ่งเกิดพร้อมกับวิญญาณ ฯ



.



ท่านอชิตะ เมื่อจะถาม ความเกิดดับของนามและรูป

ที่เป็นไปกับปัญญาและสตินั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงกล่าวอย่างนี้ในปารายนวรรค ว่า.........................


"ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ และ นาม รูป

ธรรมทั้งหมดนี้ ย่อมดับไป ณ ที่ไหน...................?

พระองค์......................อันข้าพระองค์ ทูลถามแล้ว

ขอจงตรัสบอกปัญหาข้อนี้ แก่ข้าพระองค์เถิด" ฯ


.


ในคาถานั้น สติ และ ปัญญา จัดเป็น อินทรีย์ ๔ คือ

สตินทรีย์ ๒ ...........ได้แก่ สตินทรีย์ และ สมาธินทรีย์

ปัญญินทรีย์ ๒....ได้แก่ ปัญญินทรีย์ และ วิริยินทรีย์ ฯ


( ในวิจัยนี้ ท่านประสงค์เอาการละปริยุฏฐาน และการถอนอนุสัย

จึงกล่าว่า สมาธินทรีย์ อาศัยสตินทรีย์ จึงสำเร็จการละปริยุฏฐาน

ปัญญินทรีย์...................อาศัย สัมมัปปธาน ๔ จึงสำเร็จการละ

คือ ถอนอนุสัยได้เท่านั้น เป็นเหตุ ฯ......................................

อีกอย่างหนึ่ง............สติ ๒ คือ เป็นโลกียะ และ โลกุตตระ ฯ)




.


"สัทธามั่นคง".......ซึ่งสัมปยุตในอินทรีย์ ๔ เหล่านี้

ให้สำเร็จอยู่ในบุพพภาค หรือ ในขณะแห่งมรรคใด

ธรรมชาตินี้.................................เป็น "สัทธินทรีย์"

ในอินทรีย์ อันมี "สตินทรีย์" เป็นต้น เหล่านั้น ฯ


.


ความที่จิตมีอารมณ์เป็นเลิศ เพราะมีสัทธา เป็นอธิบดี อันใด

นี้เป็น ฉันทสมาธิ.................................................................


เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เพราะความเป็น คือ การข่มกิเลสทั้งหลาย

ด้วยกำลัง คือ การบริกรรม หรือ ด้วยกำลัง คือ ภาวนา

นี้เป็นเหตุละ ฯ...................................................................


เมื่อจิตตุบาทนั้นตั้งมั่นแล้ว ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ วิตก วิจาร

สัญญา เวทนา การระลึก และการตรึกอันใด........................

..................................................ธรรมเหล่านี้ เป็นสังขาร ฯ


.


ฉันทสมาธิ อันมีในกาลก่อน และสังขารเหล่านี้ เป็นเหตุละ

ญาณทั้ง ๒ นั้น............. ย่อมยังอิทธิบาท อันประกอบด้วย

ฉันทสมาธิปธานสังขาร

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อสละ

ให้เกิดขึ้น ฯ ในการเจริญ ฉันทิทธิบาท นั้น...................


.


ความที่จิตมีอารมณ์อันเลิศ เพราะวิริยาธิปติ อันใด

นี้เป็น วิริยสมาธิ ............................................ฯลฯ


ความที่จิตมีอารมณ์เป็นเลิศ เพราะจิตตาธิปติ อันใด

นี้เป็น จิตตสมาธิ.............................................ฯลฯ


ความที่จิตมีอารมณ์เป็นเลิศ เพราะ วิมังสาธิปติ อันใด

อันนี้ เป็นวิมังสาสมาธิ........................................ฯลฯ


.


ความที่จิตตั้งมั่นแล้ว เพราะความเป็น คือ การข่มกิเลสทั้งหลาย

ด้วยกำลังแห่งการพิจารณา..............คือ กำลังแห่งการบริกรรม

หรือ.....ด้วยกำลังแห่งภาวนา นี้ชื่อว่า ปาหานะ ( คือ การละ) ฯ


.


ในการละนั้น ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ วิตก วิจาร สัญญา เวทนา

การระลึก การตรึก อันใด.......ธรรม เหล่านั้น เป็นสังขาร ฯ

ด้วยประการฉะนี้ สมาธิจิตอันมีในกาลก่อน และวีมังสาสมาธิ

ย่อมยัง อิทธบาท อันประกอบด้วย วีมังสาสมาธิปธานสังขาร

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ น้อมไปเพื่อการสละ....ให้เกิด ฯ


.


สมาธิทั้งปวง คือ สมาธิ ๔ ได้แก่

ฉันทสมาธิ วิริยสมาธิ จิตตสมาธิ วีมังสาสมาธิ

เป็นมูลแห่งปัญญาในส่วนเบื้องต้น เป็นเครื่องบรรลุ

และเป็นไปในภายหลัง ในการพิจารณา คือ............

สมาธิในกาลก่อน ฉันใด สมาธิในภายหลัง ก็ฉันนั้น.


ฯลฯ


.


เมื่อเป็นไปแล้ว ด้วยจิตอันเปิดเผย

ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องปกปิดอย่างนี้

ย่อมยัง มรรคจิต...........(สปฺปภาสํ)

อันสัมปยุตด้วยอิทธิบาท ให้เกิดขึ้น.


.


กุศล ที่เป็นอินทรีย์ ๕ ..........ซึ่งเกิดพร้อมกับมรรคจิต

เมื่อจิตเกิด ก็ย่อมเกิด...............เมื่อจิตดับ ก็ย่อมดับ ฯ

นาม และ รูป ที่เกิดเพราะวิญญาณ เป็นเหตุเป็นปัจจัย

นามรูปนั้น ก็ย่อมดับ เพราะความดับไปแห่งวิญญาณ ฯ


.


เหตุ คือ ตัณหาเป็นต้นแห่งวิญญาณนั้น อันมรรคเข้าไปตัดขาดแล้ว

วิญญาณนั้น ก็ไม่มีอาหาร (ไม่มีปัจจัย) ไม่มีเหตุให้ยินดี ไม่มีปฏิสนธิ

ย่อมดับไป ฯ................................................................................ .


.


ปัญญา สติ นาม รูป...........ย่อมดับไป

เพราะความดับไปแห่งวิญญาณ อย่างนี้.


.


เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสว่า


"ดูกรอชิตะ เราจะบอกปัญหาที่ถามแล้วแก่ท่าน

นาม และ รูป ย่อมดับไปไม่มีเหลือ ณ ที่ใด

สติ และ ปัญญา นี้ ...........ย่อมดับไป ณ ที่นั้น

เพราะการดับแห่งวิญญาณ" ..............ดังนี้ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2009, 06:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: สาธุ....กับความรู้ที่คุณรสมนนำมาโพสต์
เป็นความรู้ใหม่ของคนไร้สาระจริง ๆ
เพราะไม่เคยรู้ศัพท์อะไรพวกนี้เลย

อันนี้มาเล่าสู่กันฟัง....
(ด้วยปัญญา อันน้อยนิดนี้ ถ้าผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยค่ะ)

ตั้งแต่เคยปฏิบัติมา
ใช้เวลานานพอสมควร
เห็นแต่ความ เ กิ ด ดั บ
ของ สังขาร

จิตเกิดที่ไหนดับที่นั่น ไม่ว่า
จะเป็น ฝ่ายดี ฝ่ายเลว
ล้วนเป็นสภาวะเดียวกัน
เหมือน ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน
ที่มันแตกต่าง เพราะ การให้ค่าของเรา
เพราะ เห็นแต่ การเกิด และปรุง
ไม่เห็นการ ดับ ...

ถ้าเราเห็นการ เกิด - ดับ บ่อย ๆ
จิตจะ มองเห็นอะไร ก็เป็นของชั่วคราว
ผ่านมาแล้วก็ไป เหมือน เมฆบังดวงจันทร์
เหมือนดอก ไม้ หมาเน่า ลอยมากับกระแสน้ำ
หาสาระอะไร ไม่ได้ บางครั้งน่ะ
ก็ไหล ไปเหมือนกัน ....
และ...
จะมองเห็น แต่ความน่ากลัวใน
สังขาร .... เห็นว่าเมื่อใดมีความคิดผุดขึ้น
ถ้าเห็นไม่ทัน จิตเค้าปรุงแต่ง
ผลที่ได้ ..... เป็นทุกข์เสมอ

แต่สังเกตุให้ดี เราห้ามความคิดปรุงแต่งไม่ได้
เพราะเป็นหน้าที่ของเค้า ..ต้องปรุง
พระท่านว่า ความคิดเป็นอาหารของจิต

อีกอย่างรู้สึกว่า การที่เพียร....
ค้นค้วาแสวงหากันแทบเป็นแทบตาย
สุดท้ายก็ได้ แต่ความว่างเปล่า
เหมือนแย่งกันปืนขึ้นเขา
ขึ้นไปเพื่อจะพบกับความว่างเปล่า

เคยสงสัย ว่าเอ.. แล้วจะทำอย่างไร จิต
จะไม่คิด ไม่ปรุง ไม่รู้ตัวว่า
ที่กำลังคิดอยู่นี่ก็เสียท่าไปแล้ว
ก็ได้คำตอบ จากการฟัง การอ่านค้น
จากเน็ต และเพืื่อนกัลยาณมิตร ว่า...

เ พี ย ง แ ค่ รู้ ....

รู้ว่าคิดผุดขึ้น เมื่อมีสติจริง ๆ
ความคิดนั้น จะดับ ให้รู้สึกได้ทันที
ท่านบอกว่า ถ้าเกิดสภาวะอะไรขึ้นก็ตาม
เมื่อใดจิตให้ ค่า บวก ลบ
ก็หมายความว่ามีตัวเราทันที
ถ้า เราเห็นคิดผุดขึ้น รู้ และวาง
ตัวเราจะไม่มี


(ป.ล) ขณะที่ พิมพ์อยู่นี่ยังปรุงแต่งเลยค่ะ น่ากลัวจริง ๆ)
:b41: :b41: :b41:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 43 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร