วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 18:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2009, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


จักร ในทางพุทธศาสนามีความหมาย ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก ดังนี้
"ล้อ, ล้อรถ, ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมายมี ๔ อย่างคือ ๑.ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นที่เหมาะ ๒.สัปปุริสูปัสสยะ สมาคมกับคนดี ๓.อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ ๔.ปุพเพกตปุญญตา ได้ทำความดีไว้ก่อน"

หลักการในเรื่องของจักร ๔ นี้ นับได้ว่า เป็นการให้คำแนะนำ หรือสอนหลักการหรือวิธีการในการดำรงชีวิต ในกับบุคคลทั้งหลายในทุกระดับชั้นได้เป็นอย่างดี ซึ่ง ก็ขึ้นอยู่กับว่า ใครจะมีบทบาท ความรู้ อย่างไร ควรที่จะแสวงหาถิ่นที่จะทำให้บุคคลนั้นๆ มีความสุข ความเจริญ ในชีวิตตั้งแต่ระดับปุถุชน ไปจนถึง ระดับอริยะบุคคลเลยก็ว่าได้

ถึงแม้ว่า หลักการ จักร ๔ นี้ ในทางพุทธศาสนา จะเป็นการให้คำแนะนำ หรือสอนให้สำหรับบุคคลที่พึงต้องการที่จะแสวงหาความพ้นทุกข์ หรือหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง แต่ในทางที่เป็นความจริงแล้ว หลักการ จักร ๔ นี้ ย่อมสามารถนำไปใช้หรือประยุกต์ใช้ได้กับ บุคคลทุกแขนงอาชีพ ทุกแขนงความรู้ จะว่า เป็นหลักในการ ค้าขาย ก็ได้ จะว่าเป็นหลัก การแสวงหาที่ทำงาน ก็ได้ หรือจะว่า เป็นหลักการแสวงหาอาชีพ ก็ว่าได้ ฯลฯ
อีกทั้ง หลักการจักร ๔ นี้ จะเปรียบไป คล้ายการหาทำเลที่อยู่อาศัย หรือทำมาหากิน ในระดับบุคคลทั่วไปก็ยังได้
เพราะเป็นหลักการที่กว้างขวาง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ หรือนำไปใช้ได้โดยตรง กับทุกบุคคล เพราะ ไม่ว่าบุคคลนั้นๆ จะอยู่ในอาชีพ หรือบทบาท หน้าที่ใด ล้วนต้อง


๑.ปฏิรูปเทสวาสะ คือ อยู่ในถิ่นที่เหมาะ หรือ รู้จัก อาศัยอยู่ในถิ่นที่เหมาะกับสภาพจิตใจ สภาพอาชีพ ฯลฯ อันจักทำให้ตนเอง ฯ สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ อย่างมีความสุข ไม่ถึงกับอัตคัด ขัดสน แม้เป็นการค้าขาย ก็ย่อมต้องเลือกค้าขายในถิ่นที่เหมาะสมกับการที่ค้าขายสินค้านั้นๆ หรือจะเลือกอาชีพ ก็ย่อมต้องเลือกอาชีพที่ตัวเองชอบถนัด หรือเป็นอาชีพที่สุจริตสามารถสร้างรายได้ให้กับตนเอง พอสมควร อย่างนี้เป็นต้น และในการอยู่ในถิ่นที่เหมาะสมแล้ว ก็ย่อมต้อง สมาคม ปฏิสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง แต่การที่จะสมาคมกับใครนั้น


๒.สัปปุริสูปัสสยะ คือ บุคคลใดใด ก็ย่อมต้องการสมาคม ปฏิสัมพันธ์ กับคนดีมีศีลธรรม ไม่เกกมะเหรก เกเร พาไปในทางเสียทรัพย์ เสียสุขภาพ ซึ่ง บุคคลทั่วไป ย่อมล้วนต้องการคบหาสมาคมกับคนที่ดีมีศีลธรรม อยู่เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว
เพราะการสมาคม กับคนดีมีศีลธรรม ย่อมสามารถนำตนให้พ้นจากความทุกข์ เพราะคนดีมีศีลธรรมเหล่านั้น ย่อมสามารถแนะนำ แนะแนวทางในการดำรงชีวิต หรือสอนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการดำรงชีวิต หรือการหลุดพ้นจากความทุกข์ ตามแต่ประสบการณ์ของเขาเหล่านั้น เมื่อบุคคลใดใด ได้รับการสมาคม ปฏิสัมพันธ์กับคนดีมีศีลธรรม แล้ว ก็ย่อม
เกิด

๓.อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
การตั้งตนไว้ชอบ คือดำรงตนอยู่ในศีลธรรม และดำเนินแน่วแน่ในวิถีทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ดีงาม(พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎก) เพราะบุคคลนั้นๆ ได้รับการแนะนำ ความรู้ ความเข้าใจในการดำรงชีวิต ในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์ จากการที่ได้สมาคม หรือปฏิสัมพันธ์ กับคนดีมีศีลธรรม เชื่อฟังผู้ใหญ่ ครู อาจารย์ ฯลฯ และอยู่ในถิ่นที่เหมาะ เมื่อเป็นบุคคลที่ ดำรงตนอยู่ในศีลธรรม คือ ตั้งตนไว้ชอบแล้ว นั่นก็ย่อมหมายถึงว่า บุคคลนั้นๆมี

๔.ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในก่อน, ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อนแล้ว ในข้อนี้หลายๆคนไม่ต้องสงสัย ขอเพียงได้อ่านในข้อ ๓ ก็ยอมคลายความสงสัยได้

ดังนั้น ไม่ว่า บุคคลใดใด จะอยู่ในบทบาทใดใดก็ตามแต่ หากได้ใช้หลัก "จักร ๔ " นี้หรือยึดถือไว้เป็นบรรทัดฐาน นำไปเป็นแม่แบบในการปฏิบัติ ก็ย่อมสามารถนำตน ให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ ตั้งแต่ ระดับปุถุชน ไปจนถึง ระดับ อริยะบุคคล ฉะนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 57 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร