วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 11:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2009, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b42: ช่วยรบกวนอธิบาย สองคำนี้ให้ชัดๆ น่ะค่ะ ความหมายแบบทั่วไปเป็นคำคู่โลกมานาน
แต่ในทางธรรม น่าจะมีคำอธิบายที่ละเอียด ที่แสดงให้ความแตกต่างน่ะค่ะ เพราะทุกวันนี้
เราแทบจะแยกไม่ออกแล้วค่ะ เพราะมันมาคู่ตลอดเวลาสุดขีดน่ะค่ะ :b8: :b8:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


แก้ไขล่าสุดโดย O.wan เมื่อ 27 ก.พ. 2009, 06:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2009, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


โลภะ โทสะ โมหะ (แถมโลภะด้วย)เป็นคำ3 คำที่ทุกคนเข้าใจดี แต่จะค้นหาความหมายในเนตนี่หายากนะ3 คำนี้
ซึ่งก็พอหาได้ เชิญดูได้ที่นี่ครับ (อ่านแล้วกระจ่างใจดีและหายงงได้ทันที)

http://www.oknation.net/blog/k-night/2009/02/08/entry-2

มีทั้งความหมาย และ วิธีแก้ (ธรรมะฝ่ายดี)

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2009, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 09:06
โพสต์: 45


 ข้อมูลส่วนตัว


โทสะ คือ ความโกรธ
โมหะ คือ ความ หลง (ความหลงในที่นี้หมายถึง ความไม่รู้ในสิ่งที่ถูกต้อง ดีงามทำให้ คิดผิด พูดผิด ทำผิด)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2009, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


O.wan เขียน:
:b8: :b42: ช่วยรบกวนอธิบาย สองคำนี้ให้ชัดๆ น่ะค่ะ ความหมายแบบทั่วไปเป็นคำคู่โลกมานาน
แต่ในทางธรรม น่าจะมีคำอธิบายที่ละเอียด ที่แสดงให้ความแตกต่างน่ะค่ะ เพราะทุกวันนี้
เราแทบจะแยกไม่ออกแล้วค่ะ เพราะมันมาคู่ตลอดเวลาสุดขีดน่ะค่ะ :b8: :b8:


ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้นนะครับ....แต่จริงๆแล้ว โมหะมันไม่ได้มาด้วยกันหรอก โมหะมันอยู่กะเรานี่แหละ แต่ที่สลับกันมาคือ ราคะ กับ โทษะ....เจริญสติไปสักพักก็จะเห็นหน้าตามันชัดขึ้นไอ้ตัวโมหะเนี่ย... :b13:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2009, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โทสะ แปลว่า การประทุษร้าย (ในอารมณ์)
ไม่ต้องบอกหรืออธิบายมาก เพราะว่ามีประสบการณ์กันมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย

เปรียบให้พอมองเห็นหน้าตาระหว่าง โทสะกับโมหะ ภาวะของโมหะเนียนกว่าโทสะ โทสะออกโฉ่งฉ่าง
(แยกพอให้เห็นเท่านั้น แต่ความจริงโมหะหรืออวิชชาเป็นพื้นหนุนอยู่นั่นเอง จึงเกิดโทสะ)
คนมีโทสะต้องการทำร้ายทำลาย ขั้นแรกทำร้ายตนเองก่อน แรงไปกว่านั้นก็ทำร้าย ทำลายผู้อื่น สิ่งอื่น

คนกำลังโกรธจะไม่รู้ตัวว่า ตนกำลังโกรธ หลังจากโทสะดับแล้ว จึงรู้สึกว่า ตายล่ะวา
เมื่อกี้เราดุด่าตีลูก...ไปแล้ว ฯลฯ นึกเสียใจ นั่นเป็นคนละขณะจิตกัน
ความรู้สึกตัวขณะนี้ คนละขณะกัน
แบบนี้เรียกว่า สติ-สัมปชัญญะ ระลึกรู้รู้สึกตัวไม่ทันขณะปัจจุบันโทสะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2009, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โมหะ แปลว่า ความหลง ความไม่รู้ เป็นไวพจน์ของคำว่า อวิชชา หมายถึงความไม่รู้
ตามความเป็นจริง ไม่รู้ตรงตามสภาวะ เป็นภาวะตรงข้ามกับปัญญา โดยเฉพาะปัญญาที่เรียกชื่อเฉพาะว่า วิชชา

พูดอย่างสามัญว่า โมหะ คือ อวิชชา คือ ความไม่รู้นี้ เป็นภาวะพื้นเดิมของคน
ซึ่งจะต้องกำจัดให้หมดไปด้วย วิชชา คือ ความรู้ หรือ ด้วยการฝึกอบรมเจริญปัญญา

ปัญญา - ที่เป็นตัวความรู้ในสังขารขันธ์นั้น เป็นสิ่งที่จะต้องทำให้เกิดให้มีขึ้น ต้องฝึกปรือ
ทำให้เจริญเพิ่มพูนขึ้นไปโดยลำดับ

ปัญญา จึงมีหลายขั้นหลายระดับ และมีชื่อเรียกต่างๆ เช่น วิปัสสนา ปริญญา ญาณ วิชชา อัญญา อภิญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ เป็นต้น ตามขั้นของความเจริญบ้าง ตามทางที่เกิดของปัญญานั้นบ้าง

ญาณ - ความรู้ ความหยั่งรู้ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของ ปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่เฉพาะกว่า คือ เป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่องๆ เช่น สัจจานุโลมิกญาณ ความหยั่งรู้
สอดคล้องกับสัจจะ (จริงตามสภาวะ) ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2009, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่จริง กิเลสทั้งหมด ก็มาจากอวิชชาตัวเดียวนั่นแหละ จากอวิชชา แบ่งตระกุลกิเลส ออกเป็น 3สาย คือ สาย ราคะ สาย โทสะ และสายโมหะ แต่ทั้ง3สาย แต่ละสาย ก็แบ่ง ไปอีกตามะดับความรุนแรง ของกิลส สายโทสะ นี่ แรงสุด คือ พยาบาท อ่อนมาหน่อย คือ โทสะ ไล่มา โกรธะ ปฏิฆะ ส่วนสายโมหะ นี่แรงสุด คือ มิจฉาทิฏฐิ ความไม่รู้ผิดชอบชั่วดี อ่อนมาหน่อยคือ โมหะ แต่โมหะ ไม่ใช่โมโห นะ เหมือนสันโดษ ไม่ใช่ความพอใจในการอยู่คนเดียว ใช้ผิดจนจะกลายเป็นถูกไปแล้ว

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2009, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมฟังเทศน์จากครูบาร์อาจารย์มาว่า
"โมหะ เป็นพ่อแม่ของ โทสะ โลภะ "

ขยายความว่า
เพราะมีโมหะ จึงเกิดโลภะ โทสะ
ถ้าจิตไม่มีโมหะ แปลว่าจิตต้องมีสติ
ถ้าจิตไม่มีสติ ก็คือมีโมหะ

มีอวิชชา จึงมีโมหะ
มีโมหะ จึงมีโทสะ จึงมีโลภะ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2009, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: ท่านกรัชกายไม่เคยทำให้ผิดหวังจริงๆเลย... :b8: :b8:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 06:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b35: :b35: ที่K.natdanai บอกท่านกรัชกายไม่เคยทำให้ผิดหวังจริงๆเลย... :b35: :b35:
แต่ยังขาดอีกค่ะ ไม่เข้าใจ จิ๋ว the star ค่ะ

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(นำพุทธพจน์ต่อไปนี้ลงไว้ เพื่อให้เห็นแนวทางการปฏิบัติชัดขึ้น)


“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเราแสดงไว้แล้วโดยวิจัย คือ แสดงสติปัฏฐาน ๔...สัมมัปปธาน ๔...
อิทธิบาท ๔ ... อินทรีย์ ๕ ... พละ ๕ ... โพชฌงค์ ๗ ... มรรคมีองค์ ๘ โดยวิจัย...
แต่กระนั้นก็ยังมีภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นว่า เมื่อรู้อย่างไร
เห็นอย่างไรหนอ อาสวะจึงจะมีแต่สิ้นไปเรื่อยๆ ....
ปุถุชน ผู้มิได้รับการศึกษา (อวินีตะ) ย่อมเห็นคล้อยรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ โดยความเป็นอัตตา
การเห็นคล้อยไปดังนี้ เป็นสังขาร
ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย เกิดจากอะไร มีแหล่งอะไร ?

สังขารนั้น เกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ขาดการศึกษา ซึ่งถูกเวทนาอันเนื่องมาแต่อวิชชาสัมผัส
(การรับรู้ด้วยอวิชชา) กระทบเอา
โดยนัยนี้แล แม้สังขารนั้นก็จึงเป็นของไม่เที่ยง เป็นของปรุงแต่ง (สังขตะ) อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น (= ปฏิจจสมุปบัน)
แม้ตัณหานั้น...เวทนานั้น...ผัสสะ (การรับรู้) นั้น...อวิชชานั้น ก็ไม่เที่ยง เป็นของปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น เมื่อรู้เมื่อมองเห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะก็จะมีแต่ความสิ้นไปเรื่อยๆ”
(สํ.ข. 17/172/116)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีสติ (= ปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔) มีสัมปชัญญะ
(= สร้างความรู้สึกตัว ในการยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม เป็นต้น) ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ด
เดี่ยวอยู่อย่างนี้
ถ้าเกิดเวทนาที่เป็นสุขขึ้น เธอก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาที่เป็นสุขนี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แล เวทนานั้นอาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น มิใช่ไม่อาศัยอะไรเลย
อาศัยอะไร ?
ก็อาศัยกายนี้เอง ก็กายนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น แล้วสุขเวทนา
ซึ่งเกิดขึ้นโดยอาศัยกายที่ไม่เที่ยง เป็นของปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น แล้วสุขเวทนาซึ่งเกิดขึ้น
โดยอาศัยกายที่ไม่เที่ยง เป็นของปรุงแต่ง เป็นปฏิจจสมุปบันอยู่แล้ว จักเป็นของเที่ยงแต่ที่ไหน
เธอมองเห็นความเป็นสิ่งไม่เที่ยง ความเสื่อมสิ้นไป ความจางหายความดับ ความสลัดออกไปทั้งในกาย
และในสุขเวทนา
เมื่อเธอมองเห็น...อย่างนั้น ราคานุสัยที่มีในกาย และ ในสุขเวทนา ก็จะถูกละเสียได้

(ตัดข้อความที่ซ้ำกันออก)

“เมื่อภิกษุมีสติ มีสัมปชัญญะ....อยู่อย่างนี้ ถ้าเกิดเวทนาที่เป็นทุกข์ขึ้น เธอก็รู้ชัด...
ปฏิฆานุสัยที่มีในกาย และ ในทุกขเวทนา ก็จะถูกละเสียได้

“เมื่อภิกษุมีสติ มีสัมปชัญญะ...อยู่อย่างนี้ ถ้าเกิดเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุขขึ้น เธอก็รู้ชัด...
อวิชชานุสัยที่มีในกาย และ ในอทุกขมสุขเวทนา ก็จะถูกละเสียได้”

(สํ.สฬ.18/377/261)

เมื่อผู้ปฏิบัติรู้ชัด...สุขเวทนา = ละราคะ (= โลภะ)
เมื่อผู้ปฏิบัติรู้ชัด...ทุกขเวทนา= ละปฏิฆะ (= โทสะ)
เมื่อผู้ปฏิบัติรู้ชัด...อทุกขมสุขเวทนา = ละอวิชชา (= โมหะ)

ปัญญาเกิด วิชชาเกิด ญาณเกิด วิปัสสนาเกิด ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2009, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:50
โพสต์: 147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:ภายในจิตเราทุกคนจะมีตัว อกุศลจิตอยู่สามตัว คือ
1.โมหะ ความหลง คือการลืมตัวลืมใจไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน มัวหลงคิดฟุ่งซ่านกับอดีตที่เกิดและผ่านไปแล้ว หรือคิดไปถึงอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น
2.โทษะ ไม่ใช่แค่ความโกรธเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอาการอีกหลายลักษณะ ความหมายก็คือ เป็นอาการที่ จิตพยายามผลักไสสิ่งนั้นออกไป คือไม่ต้องการ ไม่ชอบมีหลายอย่างเช่น ความโกรธ ความเหงา หงุดงิด เบื่อรำคาญใจ ฯลฯ
3.โลภะ คือลักษณะที่จิตต้องการเอาเข้ามา คือมีความต้องการ อาทิเช่น ความโลภอยากได้ของคนอื่น ไม่พอใจในสิ่งที่ตัวมีอยากได้เพิ่ม (สิ่งพวกนี้เรียกว่า ตัณหา) และอีกอย่างคือความมักมากในกาม(สิ่งพวกนี้เรียกว่า ราคะ)
อกุศลจิตสามตัวนี้ เมื่อมีตัวใดตัวหนึ่งเกิดขึ้น จะมีตัวโมหะ คือ ความหลง สอดแทรกเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้น เราควรขจัดตัวหลงนี้ก่อน ด้วยการมีสติอยู่กับปัจจุบัน เมื่อไม่เกิดความหลงแล้ว
จะทำให้ โทษะกับโลภะลดน้อยถอยลงด้วย.
เจริญในธรรม :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b40: :b39: เวลาทุกข์เกิดขึ้นจากโมหะ และ โทสะ
พระพุทธองค์ทรงสอนให้ใช้ “เหตุผล” คือใช้ “ปัญญา” :b42:

“สติ” ระลึกได้มากครั้งเท่าไร ก็จะระงับความโกรธไว้ได้มากครั้งเพียงนั้น แต่ก็ต้องไม่ทิ้ง “เหตุผลหรือปัญญา” ต้องฝึกใจให้เป็น “เหตุล” ประกอบกับความตั้งใจทำสติว่าจะไม่โกรธด้วยเสมอ คัดลอกจาก
=======> http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=20862

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร