วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 21:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2009, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าขงเบ้งสามารถเรียกลมเรียกฝนได้... ในทางพุทธจะเรียกฤทธิเช่นนี้ว่าอย่างไร (จะเอาไปสืบค้นต่อ) และเคยมีการบันทึกใดๆ ไหมว่า ในอดีตเคยมีผู้มีฤทธิเช่นนี้

อีกเรื่องหนึ่ง... ในทางพุทธแท้ๆ เจ้ากรรมนายเวรมีจริงหรือไม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2009, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
อีกเรื่องหนึ่ง... ในทางพุทธแท้ๆ เจ้ากรรมนายเวรมีจริงหรือไม่


มีแต่ "กรรม" และ "กรรมวิบาก (ผลของกรรม)"

กรรมเกิดจากจิต จิตเป็นผู้ก่อกรรมก่อน
มโนกรรมเกิดก่อน แล้วจึงจะพัฒนาไปเป้น กายกรรม วจีกรรม
จึงมีแต่ "จิตที่เป็นเหตุ" และ"จิตที่เป็นผล"
เมื่อกำจัด"จิตที่เป็นเหตุ" จึงไม่มี"จิตที่เป้นผล"

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2009, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าอย่างนั้น เจ้ากรรมนายเวร ในความหมายว่า วิญญาณที่คอยติดตาม จึงไม่มีจริง เป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้นมาในภายหลัง (อาจจะเห็นในนิมิตที่เกิดจากจิตใต้สำนึก แล้วเชื่อว่าเป็นจริง) แม่นบ่...

แล้ว วิญญาณที่ล่องลอยล่ะ (สัมภเวสี) ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2009, 23:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: :b41:

ปัญหาของอจินไตย ๔ ข้อ

ถาม

๑. สิ่งที่เป็นอจินไตย นี่เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรู้ได้ ไม่ใช่วิสัยของปุถุชนคนธรรมดาหรือพระอรหันต์ธรรมดาจะรู้ได้ใช่ไหม

ตอบ สิ่งที่เป็นอจินไตยนั้นมี ๔ อย่าง คือ
๑. พุทธวิสัย วิสัยของพระพุทธเจ้า
๒. ฌานวิสัย วิสัยของผู้ได้ฌาน
๓. กัมมวิบาก ผลจากกรรม
๔. โลกจินดา ความคิดเรื่องโลก
ทั้ง ๔ อย่างนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าไม่ควรคิดผู้ที่คิดจะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากโดยเปล่าประโยชน์

ในอจินไตย ๔ อย่างนี้ อย่างแรกคือ พุทธวิสัย คือวิสัยของพระพุทธเจ้านั้น ผู้ที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้าคิดอย่างไร ก็เข้าไปไม่ถึงวิสัยของพระพุทธเจ้า มีอานุภาพของพระพุทธคุณและพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น

อย่างที่ ๒ ฌานวิสัย วิสัยของผู้ที่ได้ฌานอภิญญา ผู้ที่ไม่ได้ฌานคิดเท่าไรก็คิดไม่ออกว่า ทำไมผู้ที่ได้ฌานอภิญญาจึงสามารถแสดงฤทธิ์ต่างๆ มีเหาะได้ หายตัวได้ ดำดินได้ เป็นต้น ผู้ที่ได้อภิญญาประเภทนั้นๆ เท่านั้นจึงจะรู้ได้

อย่างที่ ๓ กัมมวิบาก ผลของกรรม คือคนธรรมดาๆ ย่อมไม่อาจรู้ว่า ผลของกรรมที่ตนได้รับอยู่ในปัจจุบันนี้มาจากกรรมอะไร ทำไว้แต่เมื่อใด คิดไปเท่าไรก็คิดไม่ออก คิดมากไปจะเป็นบ้าไปเสียเปล่าๆ ผู้ที่รู้ผลของกรรมได้อย่างถ่องแท้ต้องเป็นผู้ที่ระลึกชาติก่อนๆ นับย้อนหลังไปได้โดยไม่จำกัดอย่างพระพุทธเจ้า จึงสามารถจะทราบได้ถูกต้องแท้จริงไม่ผิดพลาด ท่านที่ระลึกชาติได้จำกัด เช่นระลึกได้ ๕๐๐ ชาติ แต่กรรมที่ทำไว้ ทำไว้เมื่อชาติที่ ๕๕๐ ผู้ที่ระลึกชาติได้ ๕๐๐ ชาติก็ไม่สามารถระลึกได้ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่สามารถจะรู้กรรมและผลของกรรมได้ถูกต้องตามความเป็นจริง เพราะพระองค์ทรงมีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ที่ระลึกชาติย้อนหลังได้โดยไม่จำกัด มียถากัมมูปคญาณ ญาณที่เข้าถึงกรรมของสัตว์ตามความเป็นจริง พระพระสัพพัญญุตญาณ ญาณที่ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่คนอื่นไม่มี ทั้งยังมีพระอนาวรณญาณ ญาณที่ไม่มีอะไรมาปิดกั้น ที่คนอื่นที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้าไม่มี เพราะฉะนั้น ป่วยการคิดเรื่องผลของกรรมว่ามาจากกรรมไหน เมื่อใด เป็นต้น คิดมากไป อาจเป็นบ้าได้

อย่างที่ ๔ โลกจินดา ความคิดเกี่ยวกับเรื่องโลก เช่นคิดว่าใครสร้างพระจันทร์-พระอาทิตย์ ใครสร้างภูเขา ต้นไม้ เป็นต้น คิดมากไปไร้ประโยชน์เพราะไม่อาจจะรู้ได้
ด้วยเหตุนี้ อจินไตยทั้ง ๔ อย่างนี้ บางท่านอาจจะคิดว่าตนเองคิดแล้วรู้ได้ ซึ่งก็รู้ได้เพียงวิสัยของตนเท่านั้น พระอรหันต์ก็รู้เท่าวิสัยของพระอรหันต์ จะรู้เท่าความรู้ของพระพุทธเจ้านั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ท่านจึงเตือนว่า สิ่งทั้ง ๔ นี้ไม่ควรคิด คิดไปอาจเป็นบ้า ลำบากโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งนี้เพราะท่านเหล่านั้นไม่ได้สั่งสมสติปัญญาบารมีความรู้มาเสมอด้วยพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งต้องอบรมมาอย่างน้อยถึง ๔ อสงไขยแสนกัปป์ทีเดียว


:b42: :b42: :b42:


พุทธฤทธานุภาพ ฤทธิ์และอานุภาพของพระพุทธเจ้า

ลกุณฏก ภัททิยะ

พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรในตระกูลมั่งคั่ง ชาวพระนครสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของ พระศาสดาที่พระเชตวันมีความเลื่อมใสจึงบวชในพระพุทธศาสนา ท่านมีรูปร่างเตี้ยค่อมจนบางคนเห็นขัน วันหนึ่งมี หญิงนั่งรถผ่านมาเห็นท่านแล้วหัวเราะจนเห็นฟัน ท่านกำหนดฟันนั้นเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้สำเร็จอนาคามิผล ต่อ มาท่านได้บรรลุพระอรหัตในสำนักพระสารีบุตร แต่เพราะความที่มีรูปร่างเล็กเตี้ยค่อม ท่านมักถูกเข้าใจผิดเป็น สามเณรบ้าง ถูกพระหนุ่มเณรน้อยล้อเลียนบ้าง ถูกเพื่อพระดูแคลนบ้าง แต่พระพุทธเจ้ากลับตรัสยกย่องว่าถึงท่านจะ ร่างเล็ก แต่มีคุณธรรมฤทธานุภาพมาก ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีเสียงไพเราะ



ขอเป็นตัวช่วยนิดหน่อย เจริญในธรรมครับ

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2009, 00:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 02:06
โพสต์: 811

อายุ: 0
ที่อยู่: มหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมมีจริงครับ
ผลย่อมเกิดแต่เหตุ
ทำเหตุเช่นไร ผลก็เช่นนั้น
ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ใช่เกิดขึ้นมาเองลอยๆ

แต่ถ้าจะให้คิดเรื่องกรรม ว่ามีที่มาอย่างไร
ทำกรรมอะไรมา ทำไมถึงเป็นเช่นนี้
ไม่ขอคิดดีกว่าครับ เรื่องกรรมมันซับซ้อน
เผลอไปคิดเมื่อไร ก็มีส่วนแห่งความเป็นบ้านั้นทันที
ไม่อยากเป็นบ้าครับ
:b8:

.....................................................
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันถูกต้องอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด (หลวงพ่อชา สุภัทโท)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2009, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
ถ้าอย่างนั้น เจ้ากรรมนายเวร ในความหมายว่า วิญญาณที่คอยติดตาม จึงไม่มีจริง เป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้นมาในภายหลัง (อาจจะเห็นในนิมิตที่เกิดจากจิตใต้สำนึก แล้วเชื่อว่าเป็นจริง) แม่นบ่...

แล้ว วิญญาณที่ล่องลอยล่ะ (สัมภเวสี) ?


ผมก็เป็นสัมภเวสีครับ
เพราะความหมายของสัมภเวสีในพระอภิธรรม เป้นคนละเรื่องกับหนังละครที่หมายถึงวิญญาญร่อนเร่
สัมภะเวสีคือพวกที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด อย่างพระอรหันต์ไม่จัดเป้นสัมภะเวสีเพราะไม่ต้องเวียนว่ายอีกแล้ว
ตายชาตินี้ก้จบแล้ว ไม่ต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะสงสาร

ถ้าว่ากันตามอภิธรรม พระพุทธเจ้าแบ่งโลกเป้น 31 ภูมิ
จะพูดว่าแบ่งโลกเป้น 31 ชั้นก็ได้
16 ชั้นบนสุดเป็นชั้นของเทวดา
1 ชั้นตรงกลางคือโลกของมนุษย์
ที่เหลือก็คือภพภูมิที่ต่ำกว่ามนุษย์ เช่น เปรต ดิรัจฉาน อสุรกาย สัตว์นรก

จิตทุกดวงที่อยู่ในภพภูมิทั้ง 31 นั้น เมื่อตายลงจากภพภูมิของตนแล้ว
จะจุติในภพภูมิใหม่ทันที ตามแรงบุญแรงกรรมของตน
ไม่มีที่ว่างให้คำว่า "ผีร่อนเร่""วิญญานร่อนเร่"

ส่วนเรื่องผี หรือวิญญานที่เข้าใจกันนั้นไม่อยู่สารบบของพระพุทธเจ้า
แต่สิ่งที่พบเห็นกันนั้นอาจจะเป็น"เปรต" หรือ"เทวดาจำแลง"


เรื่องเจ้ากรรมนายเวรที่คอยติดตามนั้น ก็มีความเห็นกันเป้นสองฝ่าย
แต่ฝ่ายที่ผมเชื่อถืออยู่นี้ ไม่มีตัววิญญานแบบละครที่มาคอยรังควาน
มีแต่ จิตเป็นเหตุ จึงเกิดจิตที่เป็นผล(กรรม-กรรมวิบาก)
เช่น สมมุติเราฆ่าพ่อแม่ตาย แล้วต่อให้ไม่มีใครรู้นะ

จิตเหตุคือจิตที่เป็นผู้บงการกายให้ลงมือฆ่าพ่อแม่ จิตเมื่อเวลาที่ลงมือ
จิตผล คือ จิตที่เกิดหลังจากนั้น เช่นนึกทีไรก็วุ่นวายเดือดร้อนใจไม่เว้นว่าง คอยกังวลบาปกรรม กังวลนรก
หาความสุขไม่ได้เลย นี่คือผลของเหตุ

สมมุติว่าเจ้ากรรมนายเวรมีจริง สมมุติว่ามีผีพ่อแม่มาอโหสิให้นะ
แต่เวรกรรมก็ไม่หายนะครับ ถ้าใครบอกว่าหาย พวกนี้ไม่ใช่สาวกของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าบัญญัติว่าเป็นอนันตริยกรรม ให้ผลแบบอนันต์ ไม่เว้นว่าง เดือดร้อนใจไม่เว้นวาย


ถ้าอยากเข้าในเรื่องพวกนี้เองให้ละเอียดขึ้น ให้ศึกษาเรื่อง ภพภูมิ 31(วัฏฏะสงสาร) / ปฏิสนธิจิต / เจตสิก /
ศึกษาว่าสัตว์ในวัฏฏะสงสารทั้ง 31 ภพภูมินี้ เวียนว่ายตายเกิดกันยังไง
จะเข้าใจความสัมพันะธ์ว่า บุญบาป ให้ผลอย่างไรในการเวียนว่ายตายเกิด
ถ้าไงลองอ่านหนังสือคุณดังตฤนเรื่องเตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว + เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน
ต้องอ่านใจเย็นนะครับ เมื่ออ่านไปมากๆแล้วความรู้มันถึงจะเป็นโครงขึ้นมาให้เข้าใจ
อ่านเผินๆ รีบๆเอาคำตอบแบบเป็นจุดๆ มันจะไม่ได้อะไร มันจะงงมากกว่าเดิม
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2009, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระไตรปิฎก มีเรื่องเล่าถึง กรณีที่ฤาษีใช้ฤทธิ์ทำลายเมือง
แต่ ก็หาใช่ว่า ผู้มีฤทธิ์จะพ้นจากกรรม...ไม่ว่าใครก็ตามที่กระทำกรรมไว้ ย่อมได้รับผลของกรรมที่ตนทำสืบไป.... ไม่ในชาตินี้ ในชาติหน้า ก็ ชาติต่อๆไป ถ้ายังมีการเกิดอยู่

ในพระสูตรมีกล่าวถึง พระพรหมที่จุติจากพรหมโลกลงอบายก็มี

ผู้มีฤทธิ์ทางใจที่ยังเป็นโลกียะ ก็มีสุขมีทุกข์ มีหัวเราะมีร้องไห้ ได้เช่นเดียวกับคนทั่วๆไป
บางท่าน ทุกข์มากกว่าคนทั่วๆไปเสียอีก

ความจริงแล้ว
ในพระสูตร การเจริญสติปัฏฐานหมวดกายานุปัสสนาก็สามารถยังให้เกิดฤทธิ์ได้ เพราะ จะมีฌานจิตเกิดขึ้น... แต่ นั่นก็ไม่ใช่สาระสำคัญของสติปัฏฐานแต่อย่างใดเลย
ที่สำคัญของการภาวนา คือ การดับทุกข์โดยไม่กลับมาทุกข์อีกต่างหาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2009, 10:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
ถ้าขงเบ้งสามารถเรียกลมเรียกฝนได้... ในทางพุทธจะเรียกฤทธิเช่นนี้ว่าอย่างไร (จะเอาไปสืบค้นต่อ) และเคยมีการบันทึกใดๆ ไหมว่า ในอดีตเคยมีผู้มีฤทธิเช่นนี้





ขงเบ้ง ถึงแม้นจะมีฤทธิ์ รู้วิชาเรียกลมเรียกฝน

แต่ ขงเบ้งเองก็เป็นผู้ที่ทุกข์มากที่สุดคนหนึ่ง



ตอนที่ขงเบ้งคัดค้านพระเจ้าเล่าปี่ไม่ให้ยกพล75หมื่นไปรบซุนกวน(หลังจากที่กวนอูถูกฝ่ายซุนกวนฆ่าตายตอนที่เสียเกงจิ๋ว) เพราะ ขงเบ้งเห็นว่าถ้าปราบโจโฉได้ ซุนกวนจะยอมแพ้เอง...
แต่ พระเจ้าเล่าปี่ก็ไม่ฟัง แถมยังโกรธไม่ให้ขงเบ้งร่วมขบวนทัพไปด้วย
ผลของสงครามครั้งนั้นพระเจ้าเล่าปี่แพ้อย่างเละเทะ สูญเสียทหารมากมาย...ขงเบ้งถึงกับร้องไห้ และ คร่ำครวญว่า ราชวงค์ฮั่นสิ้นแล้ว

ต่อมา ขงเบ้งเอง ถูกระแวงจากพระเจ้าเล่าเสี้ยน โอรสเล่าปี่...
ศึกครั้งหนึ่ง ในขณะที่ขงเบ้งล้อมสุมาอี้ อยู่ที่เขากีสาน สุมาอี้กำลังจะแพ้ และ ถ้าสุมาอี้แพ้ในครั้งนั้น ประวัติศาสตร์จีนจะไม่มีราชวงค์ของสุมา...
พระเจ้าเล่าเสี้ยนเกรงว่า ขงเบ้งจะขึ้นเป็นใหญ่แทนตน ถ้าสุมาอี้แพ้แก่ขงเบ้ง จึงเรียกให้ขงเบ้งถอยทัพกลับ ....
หลังจากนั้น ขงเบ้งเองก็ไม่เคยได้โอกาสดีๆที่จะชนะวุ่ยก๊กอีกเลย จนตนเองเสียชีวิตเพราะป่วยตายในสนามรบ

ตอนที่ขงเบ้งจะตาย ก็เศร้าโศกเสียใจมาก เพราะ ไม่สมใจตามที่ตนเองปราถนา




ซุนหวู่ กล่าวไว้ว่า

"รู้เขารู้เรา รบร้อยชนะร้อย"

แต่ถ้าไม่รู้ใจตน ก็ทุกข์หนักได้เหมือนกันน่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2009, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เชื่อว่า กรรมมีจริง แต่น่าสนใจว่า แนวคิดเจ้ากรรมนายเวร... วิญญาณที่คอยติดตาม เพื่อหาโอกาสเอาคืนนั้น มาจากไหน

ส่วนผี ก็โอเคว่า อาจจะเป็นชีวิตในอีกภพหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับวิญญาณผู้ตาย (จิตจะไปเกิดทันที)


คือตอนนี้ ยังไม่ได้หวังละทิ้งโลกนะครับ แต่อยากจะพิสูจน์ถึง การมีอยู่จริง ของบางอย่างก่อน (แม้จะอธิบายไม่ได้ตามหลักวิทย์ก็ตาม) บางทีในวันหนึ่งข้างหน้า เราอาจจะมีโอกาสรวบรวม กระบวนการของสมาธิทั้งหมดก็ได้ อย่างน้อยก็ถึงระดับทิพยจักขุญาณ (ขอให้เป็นเช่นนั้น) - ตอนนี้มีข้อมูลพอสมควร แต่ยังไม่พอ

ตอนนี้ เรายังสงสัยในเรื่องลำดับของอภิญญา การแสดงฤทธินั้นเป็นอภิญญาลำดับ 1 ส่วนทิพยจักขุญาณนั้น (รวมถึงเจโตปริยญาณ) เป็นอภิญญาลำดับ 3 มันจะหมายความได้ไหมว่า...
พระภิกษุ (หรือผู้ใด) ที่มีทิพยจักขุ (ตาทิพย์) หรือเจโต (ล่วงรู้ใจคน) ย่อมสามารถแสดงฤทธิได้ในทางใดทางหนึ่ง หรือในทางกลับกัน หากมีผู้ใดอ้างว่า ตนมีตาทิพย์ แต่ไม่สามารถแสดงฤทธิได้ ความเป็นทิพย์นั้น ย่อมน่าสงสัย
เช่นกัน การระลึกชาติ เป็นอภิญญาลำดับที่ 5 (อันดับสุดท้าย ที่คนธรรมดาสามารถมีได้) ดังนั้น ผู้ที่อ้างว่าสามารถเห็นอดีตชาติได้ หากไม่มีทิพยจักษุ ทิพยโสต และไม่สามารถแสดงฤทธิได้ การระลึกชาตินั้น ก็ย่อมน่าสงสัย
อันนี้ยังเป็นสมมุติฐาน...

ปล. ขอบ่นหน่อย เป็นการเรียบเรียงความคิดแบบหนึ่ง :b9:

เพิ่มเติมว่า หากการเรียกลมเรียกฝนสามารถทำได้จริง โมเสสแยกน้ำทะเลก็น่าคิด หรือการลอยตัวก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ (ขงเบ้งนั้น เรายกเป็นตัวอย่างเฉยๆ เพราะฤทธิต่างๆ ล้วนเกิดในขณะทำสมาธิ ไม่ใช่เรียกปุ๊บมาปั๊บ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2009, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


การเห็นในสมาธินั้น มี 3 แบบ การเห็นวิญญาณ (หรือดวงจิต หรือผี) นิมิตจากจิตใต้สำนึก และภาพจากทิพยจักษุ
การเห็นวิญญาณ หรือดวงจิต จะเห็นเฉพาะวิญญาณหรือดวงจิตนั้น ไม่มีภาพพื้นหลัง (เป็นความมืดธรรมดา) การเห็นภาพจากผู้ที่ส่งกระแสจิตมา ก็จะเป็นแบบเดียวกัน ความคมชัดจะมีมากเพียงใด ขึ้นอยู่กับระดับของกระแสจิตที่ส่งมา หรือระดับกำลังจิตของวิญญาณนั้น

นิมิต หรือภาพที่เกิดจากจิตใต้สำนึก มีสภาพแวดล้อมต่างๆ ครบ แต่จะมีลักษณะเหนือจริงเล็กน้อย เหมือนภาพในความฝัน (อาจจะเบลอๆ เล็กน้อย) บางครั้งจะเป็นภาพสัญลักษณ์

ภาพจากทิพยจักษุ เป็นภาพที่คมชัดมาก รายละเอียดและสีสันเหมือนมองด้วยตาปกติ ที่เขียนนี้ ไม่ได้หมายความว่า เรามีทิพยจักษุ แต่เพียงแค่เคยเห็นภาพแวบเดียว และครั้งเดียว แต่นั่นก็เพียงพอที่จะแยกแยะออก

การเห็นวิญญาณหรือดวงจิต เพียงแค่ใจสงบนิ่ง ถึงระดับมองเห็นแสงสว่าง ก็พอจะมองเห็นได้ การเห็นนิมิต ต้องอาศัยสมาธิระดับญาณ ที่เกือบเข้าภวังค์ อันที่จริง เราไม่ค่อยเห็นนิมิตหรอก เห็นครั้งนึงมั้ง แต่อาศัยการหาข้อมูลประกอบจากข้อเขียนต่างๆ อีกอย่าง เราคิดว่า หากตั้งสติไว้ที่แสงสว่างตลอดเวลา โดยไม่อธิษฐาน หรือคาดหวังใดๆ นิมิตจะไม่มีทางเกิด (จิตใต้สำนึก ไม่มีโอกาสได้ทำงาน)

ส่วนทิพยจักขุญาณนั้น ความเข้าใจในตอนนี้ น่าจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า ตาที่สาม ก็กำลังหาข้อมูลอยู่...

ที่เขียนมานี้ ก็เพื่อหวังการโต้แย้ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2009, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามที่ได้ศึกษามา ขงเบ้ง นั้นเป็นตัวละครในสามก๊ก ซึ่งสามก๊กนั้นเป็นบทประพันธ์ของจีน หาใช่เป็นเรื่องจริงไม่ แต่ผู้ได้อ่านแล้วรู้สึกว่าแต่งได้ดี จึงได้มีการเผยแพร่ขึ้น ซึ่งแปลเป็นภาษาต่างๆ หลายภาษา

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2009, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


kokorado เขียน:
ตามที่ได้ศึกษามา ขงเบ้ง นั้นเป็นตัวละครในสามก๊ก ซึ่งสามก๊กนั้นเป็นบทประพันธ์ของจีน หาใช่เป็นเรื่องจริงไม่ แต่ผู้ได้อ่านแล้วรู้สึกว่าแต่งได้ดี จึงได้มีการเผยแพร่ขึ้น ซึ่งแปลเป็นภาษาต่างๆ หลายภาษา


มีจริงครับพี่


แต่เวลาเป็นบทละครพูด ว่าพูดอย่างัน้น ทำหน้าอย่างนี้ อันนั้นเป็นจินตนาการของคนเขียน
แต่โครงเรื่องมาจากจดหมายหตุทางประวัติศาสตร์ของจีน
ซึง่มีการจารึกเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

เพิ่มเติม http://th.wikipedia.org/wiki/สามก๊ก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2009, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สามก๊กเป็นเรื่องจริงครับ
มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพียบ

ปลายราชวงค์ฮั่น มีกบฎโจรโพกผ้าเหลือง และ จีนในยุคนั้นมีการแบ่งเป็นสามฝ่าย
ฝ่ายวุ่ยก๊ก(โจโฉ)ก็คือปักกิ่งปัจจุบัน ฝ่ายง่อก๊ก(ซุนกวน)ก็คือทางตอนใต้ที่ติดกับเวียดนามเช่นเซี่ยงไฮ้ ฝ่ายจ๊กก๊ก(เล่าปี่)ก็คือเสฉวนที่แผ่นดินไหวเร็วๆนี้

เพียงแต่ มีการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายสำนวน และ มีมุมมองที่แตกต่างกัน

ฉบัยที่ไทยเรานิยม คือ ฉบับแปลของเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ที่ยกย่องเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย มากไปหน่อย.... กล่าวถึงจิวยี่เสียหายเละเทะเลย

มีบางสำนวนแปลที่ค่อนข้างจะเป็นกลางกว่านี้
ลองดูภาพยนต์ล่าสุดที่ทางจอนวูกำกับ จะเห็นว่า มองจิวยี่ในทางบวกมาก


ส่วนเรื่องขงเบ้งเรียกลมฝนนั้น เคยมีผู้วิเคราะห์ว่า ความจริงแล้วขงเบ้งเป็นเพียงเชี่ยวชาญรอบรู้ดินฟ้าอากาศบริเวณผาแดง... และ ทราบว่าจะมีมรสุมทำให้ลมเปลี่ยนทิศเข้ามาในช่วงนั้น แต่ที่ขงเบ้งขึ้นไปทำพิธีบนยอดผาเพราะจะหาทางหนีคอยดูเรือที่นัดให้จูล่งมารับ ....
อาจจะไม่ใช่เรื่องฤทธิ์ใดๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2009, 22:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน ฤทธินั้นเกิดจากจิต ไม่ใช่ของติดตัวแบบ Superman ถ้าสมาธิหาย ฤทธิก็หมด
แต่รู้สึกว่า เรื่องราวทางจิต ยิ่งศึกษามาก ก็ยิ่งไปกันใหญ่ อิอิ :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2009, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
ก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน ฤทธินั้นเกิดจากจิต ไม่ใช่ของติดตัวแบบ Superman ถ้าสมาธิหาย ฤทธิก็หมด



ฤทธิ์ไม่ใช่ของติดตัวตามธรรมชาติ แต่มีเหตุเกิด
ฤทธิ์เป็นสิ่งที่สืบเนื่องมาจากฌาน(ทั้งโลกียะและโลกุตระ)

บางท่านจะสามารถเกิดฌานได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เพราะ จริตนิสัยเป็นเช่นนั้น หรือมีอธิวาสนาติดฝังในขันธสันดารมาจากภพชาติเก่า เช่น บางท่านที่เจริญสมาธิได้ฌานโดยใช้เวลาสั้นๆ ท่านผู้รู้กล่าวว่า ทั้งนี้เพราะท่านเหล่านั้นเคยบวชเป็นฤาษีในอดีตชาติ.

และ ในกลุ่มที่ได้ฌาน ก็หาใช่ว่าทุกคนจะมีฤทธิ์
ผู้ได้ฌานที่มีฤทธิ์จะต้องมีอิทธิบาท เชี่ยวชาญในฌาน(วสี) ดังเช่นที่แสดงใน อิทธิบาทภาวนา

อภิญญามีหกอย่าง
ห้าอย่างแรกเป็นได้ทั้งโลกียะ และ โลกุตระ.
ข้อสุดท้ายคือ อาสวักขยญาณ คือ ความดับสนิทของเหตุแห่งทุกข์ เป็นเฉพาะโลกุตระ.. เราท่าน มาสนใจอภิญญาข้อสุดท้ายกันดีกว่า




อ้างคำพูด:
แต่รู้สึกว่า เรื่องราวทางจิต ยิ่งศึกษามาก ก็ยิ่งไปกันใหญ่ อิอิ :b4:


เรื่องราวทางจิตที่นำไปสู่การพ้นทุกข์โดยตรง ยิ่งศึกษามากยิ่งมีประโยชน์
แต่ ต้องศึกษาและ น้อมธรรมมาปฏิบัติ(โอปนยิโก)ด้วย ...ไม่ใช่ศึกษาอย่างเดียว

แต่ เรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการพ้นทุกข์โดยตรง เข่น เรื่องฤทธิ์ ยิ่งศึกษาโดยใช้ตรรกะเหตุผลมากเท่าใด ยิ่งเพี้ยนง่ายเท่านั้น


ฤทธิ์เป็นสิ่งที่สืบเนื่องจากฌาน

และ ฌานวิสัย เป็นหนึ่งใน สี่ อจินไตย คือ สิ่งที่ไม่สามารถใช่ความคิดตรรกะหยั่งเอาได้ทั้งหมด

คือ ผู้ที่ไม่ได้ฌาน ไม่มีฤทธิ์ ประจักษ์ในเรื่องเหล่านี้โดยตนเอง...จะไปใช้ความคิดตรรกะหยั่งในเรื่องเหล่านี้เอา ก็คงได้ระดับหนึ่ง. แต่ จะให้แจ่มแจ้งแทงตลอดโดยการใช้ความคิดตรรกะหยั่งเอามันเป็นไปไม่ได้

กล่าวง่ายๆ คือ ถ้าไม่ได้ฌานและไม่เชี่ยวชาญในฌาน(วสี) จะไปคิดหาเหตุผลให้แจ่มแจ้งแทงตลอดเอาในเรื่องเหล่านี้ มีสิทธิ์เป็นบ้าได้



ครูบาอาจารย์ที่ท่านรู้เรื่องเหล่านี้ ท่านถึงไม่สนับสนุนให้ลูกศิษย์ไปสนใจเรื่องเหล่านี้มาก

เพราะ เป็นเหตุให้ฟุ้งซ่าน และ ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์โยตรง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 58 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร