วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 12:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2009, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะมีแต่ของแท้ไม่มีของปลอม
ธรรมะในทางพุทธศาสนา ล้วนเป็นหลักความจริง ในการดำรงชีวิตของมนุษย์เพื่อความผาสุกในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน
ธรรมะในทางพุทธศาสนาพุทธ จะไม่มีการแบ่งแยกว่า ธรรมะชนิดไหนต้องใช้กับบุคคลชนิดไหน หรือใช้ในสังคมไหน แต่ธรรมะในศาสนาพุทธย่อมต้องสามารถใช้ได้ในทุกบุคคล ทุกสังคมทุกสถานที่
บุคคลใด จะใช้ธรรมะในทางใด ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี ตามค่านิยมของสังคม ก็ล้วนเป็นธรรมะในทางพุทธศาสนาทั้งสิ้น
แต่ธรรมะในทางพุทธศาสนา มิได้เน้นให้บุคคลสร้างความแตกแยก หรือสร้างความทุกข์ให้กับตนเอง และผู้อื่น ดังนั้นจึงดูเหมือนว่า ธรรมะในทางพุทธศาสนาสอนให้บุคคลเป็นคนดีเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้มองถึงหลักความเป็นจริงตามธรรมชาติ
ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้ว ธรรมะทางพุทธศาสนา ล้วนย่อมเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปในทางที่ดี หรือไม่ดี ตามค่านิยมของสังคมมนุษย์ แต่ถ้ามนุษย์มีธรรมะหรือมีพฤติกรรมไปในทางที่ไม่ดี ตามค่านิยมของสังคม ก็ย่อมเกิดความทุกข์ทั้งต่อตนเอง หรือเกิดความทุกข์ต่อผู้อื่น
และก็เช่นกัน ถ้ามนุษย์มีธรรมะ หรือมีพฤติกรรมไปในทางที่ดี ตามค่านิยมของสังคม ก็ย่อมเกิดสุขทั้งต่อตนเองและผู้อื่น สามารถขจัดกิเลสให้เบาบางลงไปได้
ดังนั้น ธรรมะในศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะปฏิบัติ ไปในทิศทางใด ตั้งแต่ระดับปุถุชนเป็นต้นไป ก็ย่อมนับได้ว่า เป็นธรรมะแห่งพุทธศาสนา ตามแต่สมองสติปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ ของแต่ละบุคคล ตามแต่สภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
ย่อมไม่มีการแบ่งแยกว่า ถ้าธรรมะนั้น ปฏิบัติ แล้วเกิดกิเลส เกิดความโลภ เกิดความโกรธ จะไม่ใช่ธรรมะ

แต่จะเป็นธรรมะในส่วนรายละเอียด หรือเป็น ธรรมะหัวข้อหลัก ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2009, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 14:05
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ดังนั้น ธรรมะในศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะปฏิบัติ ไปในทิศทางใด ตั้งแต่ระดับปุถุชนเป็นต้นไป ก็ย่อมนับได้ว่า เป็นธรรมะแห่งพุทธศาสนา ตามแต่สมองสติปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ ของแต่ละบุคคล ตามแต่สภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ



ธรรมะไม่ได้เปลี่ยนตามค่านิยมของสังคม ภูมิประเทส ภูมิอากาศ

เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นว่าโลกนี้มีแต่ทุกข์ (จากการเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย-พลัดพราก) จึงทรงออกค้นหาคำตอบแห่งสรรพสิ่งทั้งปวง จนได้ทรงตรัสรู้ เข้าไปหยั่งรู้ความจริงแท้ ของธรรมชาติทั้งปวง

ทรงพบว่าธรรมชาติทั้งปวงมีอยู่เพียง ๔ เท่านั้น คือ (๑) จิต (๒) เจตสิก (๓) รูป (๔) นิพพาน

ทั้ง ๔ นี้แบ่งออกได้เป็น ๒ ฝ่าย

ฝ่ายแรก

เรียกว่า ธรรมฝ่ายโลกหรือธรรมฝ่ายทุกข์ (โลกียธรรม) หรือเรียกอีกอย่างว่าฝ่ายสังสารวัฏหรือวัฏฏสงสาร ที่ต้องเวียนเกิดเวียนตายเวียนทุกข์ไม่สิ้นสุด ก็คือ
จิต เจตสิกและรูป

อีกฝ่าย

เรียกว่าธรรมฝ่ายหมดทุกข์สิ้นทุกข์ (โลกุตตรธรรม) ก็คือ
พระนิพพาน (คำว่า 'พระนิพพาน' มีความหมายว่า การสิ้นทุกข์ การสิ้นกิเลส)

การที่สรรพสัตว์จะพาตัวออกจากธรรมฝ่ายทุกข์หรือโลกียธรรมได้นั้น มีเพียงวิธีเดียวคือจะต้องเข้ามาทำความรู้จักกับธรรมขาติแท้ๆ ของตนเอง ก็คือ ธรรมชาติแท้ๆ ของจิต เจตสิกและรูป อันเป็นสภาพธรรมหรือ เป็นธรรมชาติที่ไม่เที่ยง (อนิจจัง) เป็นทุกข์ (ทุกขัง) ไม่อยู่ในบังคับ บัญชาใคร ไม่เป็นของๆ ใคร ไม่มีใครสร้าง (อนัตตา)

ไม่ว่าจะสภาพอากาศ ค่านิยม ภูมิประเทศอย่างไร ก็มีแค่ ธรรมชาติทั้งปวงมีอยู่เพียง ๔ เท่านั้น คือ (๑) จิต (๒) เจตสิก (๓) รูป (๔) นิพพาน

ธรรมะคืออกาลิโก แปลว่า (พระธรรม)ไม่ประกอบด้วยกาล

อกาลิโก

หมายความว่าพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติโดยไม่จำกัดกาลเวลา ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลทุกเมื่อทุกโอกาส ให้ผลตามลำดับแห่งการปฏิบัติ คือได้บรรลุเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น ได้บรรลุถึงระดับใหนก็ให้ผลในระดับเมื่อนั้น ทั้งความจริงความแท้แห่งพระธรรมนี้ไม่มีกำหนดอายุกาล จริงแท้อยู่ตลอดกาล จริงแท้อย่างนั้นทุกยุคทุกสมัย ด้วยเหตุนี้ พระธรรมจึงได้ชื่อว่า อกาลิโก (ไม่ขึ้นกับกาล)


ธรรมะของพระองค์เป็นสัจจะวาจา

คือเป็นวาจาจริงที่ไม่ตาย คือเป็นวาจาที่จริงอยู่ทุกกาลสมัยไม่ขึ้นกับค่านิยม

เป็นอกาลิโกไม่ประกอบด้วยกาลเวลาเช่นเดียวกัน ดังเช่นที่ตรัสสอนไว้ในสัปปุริสธรรม

ข้อว่าให้มี กาลัญญู รู้จักกาลเวลา ในอันที่จะทำจะพูดจะคิดอะไรต่างๆ

ก็เป็นคำสั่งสอนที่ใช้ได้ทุกกาลสมัย ทุกภูมิอากาศ



ก่อนแต่พุทธกาล ใครจะทำอะไรก็ต้องให้เหมาะแก่ธรรมนั้น

ในสมัยพุทธกาล ใครจะทำอะไรก็ต้องให้เหมาะแก่ธรรมนั้น

ต่อมาจนถึงปัจจุบัน ใครจะทำอะไรก็ต้องให้เหมาะแก่ธรรมนั้น

ต่อไปก็เหมือนกัน ใครจะทำอะไรก็ต้องให้เหมาะแก่ธรรมนั้น

จึงจะเป็นคนดีคนฉลาด จึงจะสำเร็จประโยชน์

จึงเป็นธรรมะหรือเป็นคุณธรรมที่ต้องใช้อยู่

ต้องปฏิบัติอยู่ทุกกาลสมัย ไม่ว่าเมื่อไรก็ต้องปฏิบัติ ต้องมีทั้งนั้น ใช้ได้ทั้งนั้น



เพราะฉะนั้น แม้คำสั่งสอนของพระองค์ทั้งหมดที่เกี่ยวกับกาลเวลา

ก็เป็นอมตาวาจา เป็นวาจาที่ไม่ตาย เพราะเป็นสัจจะคือความจริง

ให้สำเร็จประโยชน์จริง เป็นสัปปุริสธรรมคือเป็นธรรมของคนดีมีปัญญาจริง

.....................................................
ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนี ผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้ว มีสติในกาลทุกเมื่อ

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ายินดี
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ายินดี

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ารัก
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ารัก

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันเร่าร้อน
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นสุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2009, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


เดช อันเตวาสิก เขียน:
อ้างคำพูด:
ดังนั้น ธรรมะในศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะปฏิบัติ ไปในทิศทางใด ตั้งแต่ระดับปุถุชนเป็นต้นไป ก็ย่อมนับได้ว่า เป็นธรรมะแห่งพุทธศาสนา ตามแต่สมองสติปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ ของแต่ละบุคคล ตามแต่สภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ

ธรรมะไม่ได้เปลี่ยนตามค่านิยมของสังคม ภูมิประเทส ภูมิอากาศ


กระผมตีความรวมตรงนี้ด้วยครับ
อ้างคำพูด:
ตามแต่สมองสติปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ ของแต่ละบุคคล ตามแต่สภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2009, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะในทางพุทธศาสนา มีแต่ของแทั ไม่มีของปลอม แต่คนที่ความคำสอนนั้นเป็นคนธรรมดา หรืออริยะบุคคลล่ะครับ

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เทศน์ว่า :

" สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงว่า ธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปถุชนแล้ว ย่อมเป็นของปลอมทั้งสิ้น(สัทธรรมปฏิรูป) แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของ พระอริยะเจ้าแล้วไซร์ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย "

ย้ำ! ธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปถุชนแล้ว ย่อมเป็นของปลอมทั้งสิ้น(สัทธรรมปฏิรูป)

แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของ พระอริยะเจ้าแล้วไซร์ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย "


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2009, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



พวกเรากำลังแยกธรรมะออกจากคน แยกคนออกจากธรรมะกระมังครับ ปุ่ม ๕ ปุ่ม คือ หัว ๑ แขน ๒
ขา ๒ ที่เรียกว่าปัญจสาขา หรือ ที่บัญญัติเรียกกันว่า คน นี่คือธรรมะ คนมีครบหมด ทั้งทุกข์ และทางให้ถึงความดับทุกข์ ไตรลักษณ์ก็มีอยู่ในคนนี้เอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าพเจ้าอยากจะถามท่านทั้งหลายที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นว่า พวกท่าน เป็นพวกชอบอวดอุตริหรือไม่ ให้พิจารณาตัวเองนะขอรับ
พวกท่านนั้น เป็นกลุ่มบุคคลที่ชอบบิดเบือนหลักธรรมคำสอน เป็นพวกชอบอวดอุตริ ไม่เข้าใจใจในภาษา ขนาดภาษาไทย พวกท่านยังเข้าใจไปคนละอย่างกับสิ่งที่ผู้เขียนไปเขียนไป
นี้เป็นข้อให้พวกท่านได้ไปพิจารณาตัวเอง และได้แก้ไข สภาพความรู้ ความเข้าใจ และความคิดของพวกท่าน

สิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวไปว่า " ดังนั้น ธรรมะในศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะปฏิบัติ ไปในทิศทางใด ตั้งแต่ระดับปุถุชนเป็นต้นไป ก็ย่อมนับได้ว่า เป็นธรรมะแห่งพุทธศาสนา ตามแต่สมองสติปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ ของแต่ละบุคคล ตามแต่สภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ"


มิได้มีความหมายว่า "ธรรมะ จะมีการแปรเปลี่ยนไปตาม สภาพแวดล้อม ลักษณะภูมิประเทศ หรือลักษณะภูมิอากาศ

แต่การปฏิบัติ หรือพฤติกรรม ของบุคคล จะเป็นไปตามหลักธรรมะ อันเกี่ยวข้องกับสมองสติปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ ตามแต่สภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ

แล้วบางท่านใช้สองชื่อในคนเดียว ก็อวดรู้ อวดฉลาด ไม่ได้รู้เรื่องอะไร เกี่ยวกับ ธรรมชาติ
ดันกล่าวว่า ธรรมะชาติ ประกอบไปด้วย จิต เจตสิก รูป นิพพาน มันชอบอุตริซะจริงๆ

ธรรมชาติ ในทางพุทธศาสนา หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเอง ตามวิสัยของโลก เช่น คน สัตว์ ต้นไม้ ผืนดิน ผืนน้ำ อย่างนี้เป็นต้น(ขยายความจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)
ส่วนคำว่า จิต เจตสิก รูป นิพพาน นั้น ในทางพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่มีอยู่ใน หมายเอาเฉพาะสิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น มนุษย์ เท่านั้น
ข้าพเจ้าโปรดสัตว์อย่างพวกท่านได้เพียงเท่านี้นะขอรับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร