วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 01:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 21:03
โพสต์: 26


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ในพระพุทธพจน์บทหนึ่งได้พูดถึงฌานที่ทำให้เกิดปัญญาและปัญญาได้มาจากฌานว่า

นัตถิ ฌานัง อะปัญฺญัสสะ

แปลว่า ฌานไม่มีกับคนที่ไม่มีปัญญา

นัตถิ ปัญญา อะฌายิโน แปลว่า

ปัญญาก็ไม่เกิดกับคนที่ไม่มีฌานเหมือนกัน

และพระพุทธองค์ก็ยังทรงย้ำสรุปต่อไปอีกว่า ถ้าผู้ใดมีฌานจนทำให้เกิดปัญญาหรือมีฌานและมีปัญญา ผู้นั้นจะได้อยู่ใกล้นิพพาน (นิพพานสันติเก) อย่างแน่นอน


เรียนถามทุกท่านขอรับ เราจำเป็นต้องไปฝึกฌาณสมาธิก่อนใช่ไหมครับ
แล้วต้องถึงฌาณ 4 ด้วย มีที่เรียนฝึกสอนบ้างไหมครับ ยากมากไหมขอรับ

ขอบคุณขอรับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เรียนถามทุกท่านขอรับ เราจำเป็นต้องไปฝึกฌาณสมาธิก่อนใช่ไหมครับ

สวัสดีค่ะคุณสมพล

ถ้าคุณอยากได้ฌานสมาธิก็ฝึกสมถกรรมฐาน ใช่แล้วค่ะ
แต่เมื่อได้องค์ฌานแล้วก็เจริญวิปัสสนาต่อไป หรือ
เจริญวิปัสสนาไปเลยก็ได้ แต่หาสำนักสอนยากหน่อยแต่ฝึกง่ายค่ะ
(ศึกษาในสติปัฏฐาน ๔)


โลกุตรจิต ๘ ได้แก่มรรคจิต ๔ ผลจิต ๔
แต่วิธีปฏิบัติที่จะให้มรรคจิตผลจิตเกิดมีอยู่ ๒ ประการ
คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาภาวนาโดยอาศัยรูปนามเป็นอารมณ์
จนได้มรรค – ผล มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ สำเร็จเป็นอริยบุคคลชื่อว่า
สุกขวิปัสสกบุคคล ได้โลกุตรจิตคือมรรค ๔ ผล ๔

แต่บุคคลอีกประเภทหนึ่ง บำเพ็ญทางสมถะมาก่อนและสำเร็จได้รูปฌาน หรืออรูปฌานแล้ว
ชื่อว่าฌานลาภีบุคคล
เอาองค์ฌานนั้นมาเจริญวิปัสสนาภาวนาจนได้มรรค – ผลเป็นอริยบุคคล
จิตของฌานลาภีบุคคลนั้น ในขั้นโลกุตระมีฌานประกอบด้วย
จึงแตกต่างกับจิตของสุกขวิปัสสกบุคคล ตามลำดับของฌานที่ได้

ในรายละเอียดนั้น คงไม่ยากที่จะหาอ่านนะคะ
ในที่นี้มีหลายท่านที่ให้คำอธิบายได้ดี และน่าอ่านมากๆค่ะ


อนุโมทนาด้วยค่ะ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิบัติไปเรื่อยๆ....เดี๋ยวก็ได้เอง
ต้องการได้ฌาณเป็นผล ก็ต้องประกอบเหตุของฌาณ
เหมือนปลูกต้นมะม่วงแล้ว...เดี๋ยวพอตนแก่พอก็ได้กินผล

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 11:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คำถามนี้ ต้องตอบแบบวิภัชชพยากรณ์

ลองดูทีละประเด็น



1.ฌาน จำเป็นต่อการตรัสรู้ไหม?

ในพระสูตร

พระพุทธองค์ทรงแสดงสัมมาสมาธิ ด้วยองค์แห่งฌาน ในสัจจบรรพมหาสติปัฏฐานสูตร
พระพุทธองค์ทรงแสดงสมาธินทรีย์ ด้วยองค์แห่งฌาน(เอกัคคตาจิต) ในสัทธาสูตร
พระพุทธองค์ทรงแสดงอริยะสมาธิ ด้วยองค์แห่งฌาน(เอกัคคตาจิต) ในปริกขารสูตร

ฌาน ในประโยคที่กล่าวถึง นิพพานสันติเก ว่าเป็นเหตุให้ใกล้พระนิพพานเมื่อมีคู่กับญาน(สัมมาญานะ) คือ ความหมายเหล่านี้...

ในสมัยพุทธการเรียก สภาวะจิตที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียวว่า ฌาน

ดังนั้น ในการจะตรัสรู้(ปรากฏสัมมาญาณะ) จึงต้อง มีฌาน(สัมมาสมาธิ)เป็นบาท


................................



2.จำเป็นต้องได้ฌานก่อนไหม จึงค่อยมาเจริญวิปัสสนา?

คำตอบคือ ไม่จำเป็น

เพราะ บางท่านสามารถเจริญอริยมรรคด้วย "การเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า"ได้
คือ สามารถใช้สมาธิระดับพื้นฐานที่ใช้ในกิจวัตรประจำวันเจริญวิปัสสนาได้ แต่ ฌานคือสัมมาสมาธิ จะเป็นของปรากฏตามมาเอง

ลองอ่าน การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า(อย่างเดียวกับ การเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น)

[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อม เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น อย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่ จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ

ด้วยประการดังนี้

วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ



พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา




### สมาธิที่ใช้ในการเริ่มเจริญอริยมรรค คือ ในจุดเจริญอนาสวะสัมมาทิฏฐิ และ อนาสวะสัมมาสังกัปปะ คือ สมาธิระดับที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วๆไป คือ ไม่จำเป็นต้องเป็นฌาน แต่อย่างใด.. เช่น กรณีของท่านสัปปทาสเถระที่ท่านกล่าวว่าท่านเจริญวิปัสสนาโดยไม่ได้ฌานมาก่อน ก็คือ ในจุดนี้

### ส่วน สมาธิที่เป็นองค์แห่งอริยมรรคที่นำหน้าสัมมาญาณะ(การตรัสรู้) ก็คือ สัมมาสมาธิ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงด้วยองค์แห่งฌานนั้นเอง. คำกล่าวที่ว่า สัมมาญาณะ(วิปัสสนาญาณ)ยืนอยู่บนพื้นฐานของสัมมาสมาธิ(สมถะ) ก็คือ ตรงจุดนี้


ถ้า ไม่สามารถเข้าใจว่า สองจุดนี้ไม่ใช่จุดเดียวกันได้ ก็จะไม่เข้าใจกรณีของท่านสัปทาสเถระ ว่าทำไมท่านถึงได้กล่าวว่า ตลอดเวลา25ปีที่ท่านบวชท่านไม่เคยได้เอกัคคตาจิตเลย แล้วทำไมท่านถึงบรรลุสัมมาญาณะที่บริบูรณ์ได้.....


ลองอ่าน กรณ๊ของท่านสัปทาสเถระ

๖. สัปปทาสเถรคาถา

สุภาษิตแสดงผลการเห็นโทษสังขาร

[๓๕๒] นับตั้งแต่เราบวชมาแล้วได้ ๒๕ ปี ยังไม่เคยได้รับความสงบใจ แม้ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเลย เราไม่ได้เอกัคคตาจิต ถูกกามราคะครอบงำแล้ว ประคองแขนทั้งสองร้องไห้คร่ำครวญเข้าไปสู่ที่อยู่ด้วยคิดว่า จักนำศาตรามา ชีวิตของเราจะมีประโยชน์อะไรเล่า ก็คนอย่างเราจะลาสิกขาเสียอย่างไรได้ ควรตายเสียเถิดคราวนี้ เราได้ฉวยเอามีดโกนขึ้นไปนอนบนเตียง มีดโกนเล่มนั้นเราสบัดดีแล้ว สามารถจะตัดเส้นเอ็นให้ขาดได้

ขณะนั้น โยนิโสมนสิการก็บังเกิดขึ้นแก่เรา โทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายในสังขารก็เกิดขึ้นแก่เรา เพราะความเบื่อหน่ายในสังขารนั้จิตของเราหลุดพ้นแล้ว ขอท่านจงดูความที่ธรรมเป็นธรรมดีเถิด วิชชา ๓เราได้บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.




ท่านสัปปทาสเถระท่านก็ไม่ได้เอกัคคตาจิตมาก่อน ท่านก็อาศัยการเจริญวิปัสสนาโดยตรงเลย... แต่ เอกัคคตาจิต(ฌาน)เป็นของปรากฏตามมาเองภายหลัง (จึงเรียกว่า "เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า"). ผู้บรรลุวิชชา๓ นี้ เรียกว่า อุภโตภาควิมุติ เป็นพระอรหันต์ที่บรรลุฌานชั้นสูงด้วย


ตรงจุดนี้ ต้องตั้งสติให้ดีๆ

ว่า จุดที่ท่านสัปปทาสเถระเจริญวิปัสสนาโดยปราศจากเอกัคคตาจิตนี้ คือ การเริ่มเจริญอริยมรรคที่อนาสวะสัมมาทิฏฐิ อนาสวะสัมมาสังกัปปะ(การเจริญวิปัสสสนาในส่วนเริ่มของอริยมรรค)....

หาใช่ การบังเกิดขึ้นของสัมมาญาณะ(การปรากฏวิปัสสนาญาณในส่วนอริยผล)แต่อย่างใด



........................................



3.ฌาน บังเกิดยากไหม?

ฌาน ขอพูดจำเพาพเจาะจง ในสัมมาสมาธิ หรือ ฌานที่เป็นไปในทางโลกุตระ น่ะครับ
ฌาน ที่เป็นโลกียะอยู่นั้น มีประโยชน์ในบางแง่มุม แต่ก็พึงรอบครอบในบางแง่มุม

สัมมาสมาธิ นั้นยืนอยู่บนพื้นฐานของสัมมาสติ(เพราะมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะ...มหาจัตตารีสกสูตร)

สมาธินทรีย์ยืนอยู่บนพื้นฐานของสตินทรีย์(สัทธาสูตร)

สมาธิ จึงขึ้นกับ สติ

และ สิ่งที่จะรักษาสมาธิไว้ได้ ก็คือ สติ นั่นเอง


ดังนั้น เจริญภาวนาในหลักมหาสติปัฏฐาน แน่นอนที่สุด

เมื่อ กระทำได้บริบูรณ์ ฌาน จะเป็นของที่ปรากฏขึ้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 15:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีที่ หลายท่านสงสัยกันมากอีกจุดหนึ่งคือ


4.ในเมื่อไม่จำเป็นว่า ต้องได้ฌานก่อนแล้วค่อยมาเจริญวิปัสสนา .... สามารถเจริญวิปัสสนาได้โดยตรงเลย แล้วสมาธิภาวนา(เช่น อานาปานสติ)จะมีประโยชน์อันใด?


สมาธิภาวนา เช่น อานาปานสตินั้น มีพุทธพจน์แสดงว่าช่วยให้เจริญสติปัฏฐานได้บริบูรณ์ขึ้น

และ มีแสดงในโพธิราชกุมารสูตร ถึงความสำคัญของการออกจากกามทางกาย(ศีลแปด) และ ทางใจ(สมถะ)

โพธิราชกุมารสูตร

(พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. มัชฌิมนิกาย,โพธิราชกุมารสูตร)

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระโพธิราชกุมารว่า

ก่อนตรัสรู้ พระองคืได้ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ที่อุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ อุปมา ๓ ข้อได้ปรากฏแก่พระองค์ ดังนี้คือ

ข้อ ๑ ไม้สดชุ่มด้วยยางอยู่ในน้ำ ถ้าบุรุษนำมาสีไฟ พึงทำให้เกิดไฟไม่ได้
สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กายยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจในกาม ถึงแม้จะเสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ไม่ควรเพื่อรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้

ข้อ ๒ ไม้สดชุ่มด้วยยางอยู่บนบกไกลน้ำ ถ้าบุรุษนำมาสีไฟ พึงทำให้เกิดไฟไม่ได้
สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง กายหลีกออกจากกามแล้ว แต่ยังมีความพอใจในกาม ถึงแม้จะเสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียร ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้

ข้อ ๓ ไม้แห้งเกราะอยู่บนบกไกลน้ำ ถ้าบุรุษนำมาสีไฟ พึงทำให้เกิดไฟได้
สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กายหลีกออกจากกามแล้ว ไม่มีความพอใจในกาม ละได้ด้วยดี สงบระงับด้วยดีภายใน ถึงแม้จะเสวยทุกขเวทนาหรือไม่ได้เสวยทุกขเวทนากล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียร ก็ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ได้



การหลีกออกจากกามในพระสูตรนี้
กล่าวไว้สองนัยยะ คือ

"ออกจากกามทางกาย"คือ ถือศีลพรหมจรรย์
กับ
"สงบระงับด้วยดีภายใน"คือ ออกจากกามทางใจ ห่างจากกามดัวยเนกขัมมะ คือ สมาธิที่ระงับนิวรณ์(รวม ทั้งราคะ) ได้แก่ สุขในขั้นฌานต่างๆ


และจาก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ?
ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้วก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ?
ย่อมละราคะได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
วิปัสสนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ?
ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ?
ย่อมละอวิชชาได้

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะย่อมไม่หลุดพ้น หรือ ปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชาย่อมไม่เจริญ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล
ความสิ้นราคะ ชื่อเจโตวิมุติ
ความสิ้นอวิชชา จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ.....”

ป. ทุก. อํ. (๒๗๕-๒๗๖)
ตบ. ๒๐ : ๗๗-๗๘ ตท. ๒๐ : ๖๙-๗๐
ตอ. G.S. ๑ : ๕๕-๕๖



นี่คือ เหตุผลที่ ผู้ที่พยายามออกจากกาม จะบรรลุมรรคผล ง่ายกว่า ผู้เสพกามสุขอยู่

ศีลพรหมจรรย์(รวมศีลแปด) และ สมาธิจิต จึงช่วยในการเจริญธรรมขั้นสูง ดังนี้


นอกจากนี้ ยังได้ตรัสแสดงประโยชน์ของสุขที่เว้นจากกามเอาไว้ว่า

"ถึงหาก อริยสาวกจะมองเห็นอย่างชัดเจนตามความเป็นจริงด้วยสัมมาปัญญาว่า กามทั้งหลายมีความหวานชื่นน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้มากยิ่งนัก

แต่ถ้าอริยสาวกนั้นยังไม่ประสบ ยังไม่รู้จักปีติและความสุขที่ไม่ต้องอาศัย กาม หรือความสุขที่ประณีตยิ่งไปกว่านั้น ก็ยังวางใจไม่ได้ว่าเธอจะไม่วก วียนกลับมาหากามอีก- (ม.มู. 12/211/180) "


ปิติ และ ความสุขที่ไม่ต้องอาศัยกาม นั้นก็คือ สุขจากรูปฌาน และ อรูปฌาน

ส่วน ความสุขที่ประณีตยิ่งไปกว่านั้นอีก คือ พระนิพพาน

นี่คือ ท่านกำลังสอนให้พระสาวกพากันออกจากกามสุข




แต่ เรื่อง ของสมาธิภาวนานี้ ไม่ใช่ว่า ทุกคนต้องทำ

ท่านผู้รู้ ท่านหนึ่งกล่าวเอาไว้ว่า สมาธิภาวนามีประโยชน์ต่อทุกคน แต่ จำเป็นอย่างยิ่งในการบรรลุธรรมสำหรับบางคนเท่านั้น

ท่านเปรียบ สมาธิภาวนากับน้ำ ที่ต้นไม้แต่ละประเภทชอบ

บางพันธ์ได้น้ำมาก เจริญงอกงาม
บางพันธ์ได้น้ำปานกลาง จึงเจริญงอกงาม
บางพันธ์ชอบน้ำน้อย ถ้าได้น้ำมากเฉาตายไปเลย


บุคคลต่างจริตนิสัยกันไปมากมาย
พระพุทธเจ้าถึงแบ่งบุคคลเป็นหกจริต และ แสดงกรรมฐานที่เหมาะสมกับแต่ล่ะจริตไป

เรา-ท่าน แต่ละคนก็มีหน้าที่อย่างหนึ่ง คือ เลือกเฟ้นธรรม(ธัมมวิจัย)ที่เหมาะสมกับตนเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านหนังสือปราบมาร ของอาจารย์การุณ เค้าบอกว่า บนนิพพานมีมารเต็มอัตรา ไม่รู้จะเถียงยังไง เพราะเราไม่เคยไป ฟังหูไว้หู อยู่นิพพานก็ยังถูกมารทรมาน

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เอกัคคตาจิต คือ จิตที่มีเอกัคคตารมณ์


มีข้อมูลทางธรรมเพิ่มเติม เกี่ยวกับ เอกัคคตารมณ์ หรือ อารมณ์อันเดียว มาลงเพิ่ม




โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท


คนภาวนาเป็น มีอารมณ์เป็นอันเดียว

อารมณ์อันเดียวคืออะไร?

ไม่เอาเรื่องกับใคร เรียกว่าอารมณ์อันเดียว

มันเปลี่ยนจากอารมณ์อันเดียวของสมถกรรมฐาน สมถกรรมฐานเอาเรามาเรียนภาวนาพุทโธ ๆ ๆ ๆ อันเดียว มันน้อยไป ถ้ามันพลาดจากพุทโธแล้วมันไปที่ไหนก็ได้ .....อารมณ์อันเดียวคืออารมณ์วิปัสสนานั่นแหละ ....ไม่มีชั่ว ไม่มีดี ....มีดี มีชั่ว แต่จิตของเราอยู่เหนือชั่วเหนือดีทั้งนั้น ฉะนั้นเป็นอารมณ์อันเดียวอย่างนี้

ปล่อยมันทิ้งไป เรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตาหมดทั้งสิ้นอย่างนี้

นี้การปล่อยวางทั้งหมด นั้นเรียกว่าการภาวนาที่ถูกต้อง




เอกัคคตาจิตในลักษณะนี้ น่าจะตรงกับ สมาธินทรีย์ ใน อินทรีย์๕


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีบทความ เรื่อง ของการปฏิบัติ สมถะ-วิปัสสนา

ของ หลวงปู่ ชา สุภัทโท มาลงเพิ่ม



".....อย่างไรก็ตาม บางคนทำสมาธิยาก ...

เพราะอะไร เพราะจริตแปลกเขา ...
แต่ก็เป็นสมาธิ แต่ก็ไม่หนักแน่น ไม่ได้รับความสบายเพราะสมาธิ แต่จะได้รับความสบายเพราะปัญญา เพราะปัญญาความคิด เห็นความจริงของมันแล้วก็แก้ปัญหาถูกต้อง เป็นประเภทปัญญาวิมุต ไม่ใช่เจโตวิมุต* มันจะมีความสบาย ทุกอย่างที่จะได้เกิดขึ้นเป็นหนทางของเรา เพราะปัญญา....สมาธิมันน้อย คล้ายๆ กับว่าไม่ต้องนั่งสมาธิ พิจารณา "อันนั้นเป็นอะไรหนอ" แล้วแก้ปัญหาอันนั้นได้ทันที เลยสบายไป เลยสงบ
ลักษณะผู้มีปัญญาต้องเป็นอย่างนั้น

ทำสมาธินี้ไม่ค่อยได้ง่าย และไม่ค่อยดีด้วย มีสมาธิแต่เพียงเฉพาะเลี้ยงปัญญาให้เกิดขึ้นมาได้
โดยมากอาศัยปัญญา เช่นสมมติว่า ทำนากับทำสวน เราอาศัยนามากกว่าสวน หรือทำนากับทำไร่ เราจะได้อาศัยนามากกว่าไร่ ในเรื่องของเรา อาชีพของเรา และการภาวนาของเราก็เหมือนกัน มันจะได้อาศัยปัญญาแก้ปัญหา แล้วจะเห็นความจริง ความสงบจึงเกิดขึ้นมา มันเป็นไปอย่างนั้น ธรรมดาก็เป็นไปอย่างนั้น มันต่างกัน

บางคน แรงในทางปัญญา สมาธิพอเป็นฐานไม่มาก คล้ายๆ กับว่านั่งสมาธิ ไม่ค่อยสงบ ชอบมีความปรุงแต่ง มีความคิดและมีปัญญาชักเรื่องนั้นมาพิจารณาชักเรื่องนี้มาพิจารณา แล้วพิจารณาลงสู่ความสงบก็เห็นความถูกต้อง อันนั้นจะได้มีกำลังกว่าสมาธิ อันนี้จริงของบางคนเป็นอย่างนั้น แม้จะ ยืน เดิน นั่ง นอนก็ตามความตรัสรู้ธรรมะนั้นไม่แน่นอน จะเป็นอิริยาบถใดก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้ นั่งก็ได้ นอนก็ได้ อันนี้แหละผู้แรงด้วยปัญญา เป็นผู้มีปัญญา สามารถที่จะไม่เกี่ยวข้องกับสมาธิมากก็ได้

ถ้าพูดกันง่ายๆ ปัญญาเห็นเลย เห็นไปเลยก็ละไปเลย สงบไปเลย ได้ความสบายเพราะอันนั้นมันเห็นชัดมันเห็นจริง เชื่อมั่นยืนยันเป็นพยานตนเองได้ นี่จริตของบางคนเป็นไปอย่างนี้

แต่จะอย่างไรก็ช่างมันก็ต้องทำลายความเห็นผิดออก เหลือแต่ความเห็นถูก ทำลายความฟุ้งซ่านออก เหลือแต่ความสงบ มันก็จะลงไปสู่จุดอันเดียวกัน

บางคนปัญญาน้อย นั่งสมาธิได้ง่าย สงบ สงบเร็วที่สุด ไว แต่ไม่ค่อยมีปัญญา ไม่ทันกิเลสทั้งหลาย ไม่รู้เรื่องกิเลสทั้งหลาย แก้ปัญหาไม่ค่อยได้

พระโยคาวจรเจ้าผู้ปฏิบัติมีสองหน้าอย่างนี้ ก็คู่กันเรื่อยไป

แต่ปัญญาหรือวิปัสสนากับสมถะมันก็ทิ้งกันไม่ได้ คาบเกี่ยวกันไปเรื่อยๆ อย่างนี้ ...
."



จาก http://www.isangate.com/dhamma/mind_peaceful.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุที่ฌาณจำเป็นต่อการไปนิพพาน เพราะว่า:

จิตมี 2 อย่าง คือ จิตบริสุทธิ์ ถ้าเทียบก็ถือเป็นจิตสำนึก และจิตใต้สำนึก หรือภวังค์จิต

จิตบริสุทธิ์(จิตสำนึก)เป็นเหมือนแค่ตัวรู้เท่านั้น
จิตใต้สำนึก หรือภวังค์จิต เป็นเหมือนตัวคิดปรุงแต่ง

การแก้ไขจิตใต้สำนึก หรือภวังค์จิต ต้องไปแก้ไขในระดับฌาณ คือเราต้องเข้าไปในโลกแห่งภวังค์จิตนั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2009, 02:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 20:37
โพสต์: 5


 ข้อมูลส่วนตัว


ครับ สมาธิพระพุทธองค์ตรัสว่ามีอานิสงส์มาก แต่มักมีผู้พยายามเชิดชูวิปัสสนาอย่างเดียว เพราะตัวเองไม่ฝักใฝ่สมาธิ

ถือว่าเขาเหล่านั้นกำลังลบหลู่พุทธพจน์ครับ

ไม่มีตรงไหนที่ที่พุทธพจน์ตรัสว่า วิปัสสนา หรือ สมถะอย่างเดียว มีแต่ ก่อน หลัง และควบคู่กัน

และบรรลุธรรมก็ไม่ใช่แค่สมถะวิปัสสนาครับ ด้วยอะไรทราบมั้ยครับ ผมยังไม่เฉลย แต่คำตอบ โคตรง่ายเลย สั้นด้วย

ฌาณทำไม่ง่าย แต่ไม่เกินความสามารถ และฌาณเพื่อกำจัดสมุทัย ดับนิวรณ์๕ ก็ไม่ยากเย็นครับ แค่ฌาณ๑คุณก็ใช้บรรลุอริยะธรรมได้แล้ว

ไม่ใช่ฌาณแบบแสดงฤทธิ์ เหาะเหิน หายตัว อันนั้น ไม่จำเป็นครับ ไม่ต้องกังวล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2009, 16:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1855

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาบุญ กับทุกท่าน สำหรับคำตอบขอกระทู้นี้
เพราะ "บัวหิมะ" พลอยได้รับอานิสงฆ์ ไปด้วย สาธุ..สาธุ
:b18:

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 45 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron