วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 17:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b14: ถามนะคะว่า การฝึกดูจิต ต้องใช้เวลาในการปฏิบัตินานไม๊คะ ถึงจะตามดูแล้วเผลอ
ไปให้น้อยลง คือเราก็หมั่นฝึกดูอยู่นะคะแต่ก็เผลอ+หลง+ลืม....ตลอด วันๆทำได้แป๊ปๆเองค่ะ
:b16: การดูจิต กับการเจริญสติ นี่มีความหมายเหมือนกัน หรือต่างกัน ตรงไหนค่ะ
ช่วยอธิบายด้วยค่ะ :b5:
:b10: ตอนนี้เริ่มสับสนค่ะ เพราะอ่านเจอโพสต์หนึ่งบอกว่า ทำอานาปานสติและเฝ้าตามดูจิต
ไปด้วย ทำพร้อมกันเลยหรือคะ ถ้าเค้าทำได้ แสดงว่าเค้ามีสมาธิที่ดีแล้วมั้งคะ
:b6: แค่เรานั่งสมาธิ เฝ้าตามดูลมหายใจเข้า-ออก บริกรรมพุทโธ จิตก็ชอบออกนอกบ่อยๆ
:b21: เวลาสงสัยเข้าไปในอ่านของคุณสุรวัฒน์ (วิมุตติ)น่ะค่ะ เจอแต่คำถาม ที่ส่วนใหญ่
มีความเข้าใจกันแล้ว เราเลยอ่านๆๆ :b6: :b6: :b6:
ที่K.คามินธรรม แนะนำ http://enggy.com/awake/awake01.html เราปริ๊นส์ มาพกไว้เลยค่ะ จะได้ไม่ลืมตามดูไปเรื่อยๆค่ะ :b8: :b8: :b8:
:b29: :b29: เราตั้งคำถามเองก็ยัง :b10: ตัวเองเหมือนกันนะคะ ว่าควรที่จะมาถามคุณๆ
กันหรือเปล่า แต่ว่าสับสนน่ะค่ะ รบกวนคุณๆช่วยชี้แนะด้วยค่ะ :b8: :b8:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 15:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องดุจิตนี้ เนื่องจากเป็นวิธีที่ใหม่
ทำให้เกิดการวิพากย์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เพราะไม่เข้าใจว่าคืออะไร
หลวงพ่อมีความเป็นห่วงในการนำเรื่องดุจิตไปคุยตามเว็บบอร์ดต่างๆ
และฟังเทศน์ระยะหลังๆ หลวงพ่อบอกว่าเดี่ยวนี้ก็มีการตั้งสำนักสอนดูจิตที่ผิดๆกันเป็นอันมาก

ฉะนั้น เรื่องดุจิตนี้ อยากให้คุณโอว่านสอบถามที่เว้บโดยตรง wimutti.net ในส่วนของกระดานดูจิต
หรือถ้าติดขัดตรงไหนที่หาคำตอบไม่ได้ ให้ไปพบหลวงพ่อโดยตรง

ผมเคยเอาหลักนี้ไปคุยในเว็บๆหนึ่ง ถึงกับทำให้เจ้าของเว็บนั้น หาว่าหลวงพ่อสอนไม่ตรงกับพระพุทธเจ้า
แล้วก็ไม่ไปศึกษาว่าท่านสอนอะไร แล้วก็ Ban พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อออกไปจากเว็บเลยทีเดียว
ก้รู้สึกเสียใจมากที่ว่าผมทำให้คำสอนหลวงพ่อ ถูกลดโอกาสในการเข้าถึงลงไป
เสียโอกาสสำหรับคนจำนวนมาก เพราะการคุยกันไม่เข้าใจของคนไม่กี่คน

จากนั้นมีกัลยาณมิตรมาแจ้งให้ทราบว่า หลวงพ่อเคยห้ามเอาไว้
ว่าอย่าไปพูดเรื่องพวกนี้ในเว้บบอร์ดให้มาก
ผมเลยหุบปากเรื่องดุจิตตั้งแต่นั้น อาศัยแค่แนะนำให้ไปศึกษาเอาจากต้นตำรับ
ส่วนใครจะรับไปได้เท่าไหนก็แล้วแต่บุญทำกรรมแต่งนะครับ

เรื่องดุจิต ผมแนะนำให้ถามเว็บ wimutti.net หรือหลวงพ่อเท่านั้นนะครับ
เพราะถ้าเข้าใจผิด จะเสียเวลามาก


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 15 ก.พ. 2009, 15:42, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะคุณ owan

O.wan เขียน:
:b8: :b14: ถามนะคะว่า การฝึกดูจิต ต้องใช้เวลาในการปฏิบัตินานไม๊คะ ถึงจะตามดูแล้วเผลอ
ไปให้น้อยลง คือเราก็หมั่นฝึกดูอยู่นะคะแต่ก็เผลอ+หลง+ลืม....ตลอด วันๆทำได้แป๊ปๆเองค่ะ
:b16: การดูจิต กับการเจริญสติ นี่มีความหมายเหมือนกัน หรือต่างกัน ตรงไหนค่ะ
ช่วยอธิบายด้วยค่ะ :b5:
:b10: ตอนนี้เริ่มสับสนค่ะ เพราะอ่านเจอโพสต์หนึ่งบอกว่า ทำอานาปานสติและเฝ้าตามดูจิต
ไปด้วย ทำพร้อมกันเลยหรือคะ ถ้าเค้าทำได้ แสดงว่าเค้ามีสมาธิที่ดีแล้วมั้งคะ
:b6: แค่เรานั่งสมาธิ เฝ้าตามดูลมหายใจเข้า-ออก บริกรรมพุทโธ จิตก็ชอบออกนอกบ่อยๆ
:b21: เวลาสงสัยเข้าไปในอ่านของคุณสุรวัฒน์ (วิมุตติ)น่ะค่ะ เจอแต่คำถาม ที่ส่วนใหญ่
มีความเข้าใจกันแล้ว เราเลยอ่านๆๆ :b6: :b6: :b6:
ที่K.คามินธรรม แนะนำ http://enggy.com/awake/awake01.html เราปริ๊นส์ มาพกไว้เลยค่ะ จะได้ไม่ลืมตามดูไปเรื่อยๆค่ะ :b8: :b8: :b8:
:b29: :b29: เราตั้งคำถามเองก็ยัง :b10: ตัวเองเหมือนกันนะคะ ว่าควรที่จะมาถามคุณๆ
กันหรือเปล่า แต่ว่าสับสนน่ะค่ะ รบกวนคุณๆช่วยชี้แนะด้วยค่ะ :b8: :b8:



ไปแวะเยียมสเปสของดิฉันมาหรือคะ .... อ่านได้ค่ะ ไม่หวงห้าม

การดูจิตก็คือการเจริญสตินี่แหละค่ะ อยู่ในหลักของการเจริญสติปัฏฐาน 4 การดูจิตก้คือการดูฐานจิตนั่นเอง อาจจะยุ่งยากซับซ้อนนิดหนึ่งสำหรับผู้ที่เริ่มต้นใหม่ๆ แต่บางคนถูกจริตก็จะดูไม่ยุ่งยากซับซ้อนค่ะ

ส่วนที่คุรถามมาว่า ดูจิตพร้อมกับการเจริญอานาปนสติไปด้วยได้หรือ ทำได้ค่ะ

การเจริญอานาปนสติมีสองทางค่ะ คือ ทางตรง พุทโธที่คุณใช้อยู่น่ะค่ะ อันนี้ตามลมหายใจทางจมูก แต่มีทางอ้อมด้วค่ะ คือ ดูกาย ( ดูท้องพองยุบ ตามลมหายใจเข้าออก ) ก็คือ การเจริญสติฐานกายนี่แหละค่ะ พร้อมๆกับเจริญอานาปนสติไปด้วย

ถ้าดิฉันพูดแล้วทำให้สับสนตรงไหนบอกด้วยค่ะ

ลองอ่านใหม่นะคะ จากข้อความที่ผู้ปฏิบัติแนวดูจิต แล้วมาทำอานาปนสติเพิ่ม ก็คือ เจริญสติฐานกายนี่แหละค่ะ

การดูกายเอารูปนามเป็นอารมณ์

เมื่อคืนได้สนทนากับผู้ปฏิบัติแนวดูจิต ซึ่งสนใจจะทำสมาธิ เราก็เลยแนะนำการดูฐานกาย โดยเอารูปนามเป็นอารมณ์ ผู้ที่ปฏิบัติแนวดูจิตนี่ ไม่แน่ใจว่าจะเป็นเหมือนกันหมดทุกคนไม๊ แต่คนนี้ทำได้ดี ทำได้ดีกว่าคนที่ปฏิบัติแนวพองหนอยุบหนอ ที่ใช้การภาวนาพองหนอยุบหนอตามอาการท้องพองยุบ น้องที่บ้าน ให้ลองฝึกทำแบบนี้ เขายังทำไม่ได้เลย ทุกวันนี้เขาเลยติดนิ่ง ยังแก้เองไม่ได้ เราไปแก้ให้ไม่ได้ คนใกล้ตัว ทิฏฐิมานะมันมีอยู่ ก็เลยปล่อยให้เขาแก้ปัญหาเอาเอง

เทคนิคการใช้วิธีดูอาการกายท้องพองยุบนี่มีหลายวิธี สุดแต่ผู้แนะนำจะใช้อุบายในการแนะนำแบบไหนให้ถูกจริตกับบุคคลคนนั้น


พอดีน้องเขากำลังทำงานอยู่ เลยแนะนำให้ลองเอามือจับอาการกาย ( ท้องพองยุบ ตามลมหายใจเข้าออก ) โดยยังไม่ได้แนะนำให้เอาจิตดู

ก็นั่งธรรมดาๆนี่แหละ ท่าที่คิดว่า ถนัดที่สุด แรกๆเราต้องใช้ความสบายไปก่อน เพื่อจะได้ไม่เกิดความเบื่อ เอามือทั้งสองข้าง วางบนหน้าท้อง เหนือสะดือ หายใจยาวๆช้าๆ ธรรมดาๆนี่แหละ แต่หายใจยาวหน่อย หายใจสั้นจะจับได้ไม่ทัน หายใจเข้า ท้องจะพอง ตามลมหายใจเข้า หายใจออกท้องจะแฟ่บ ตามลมหายใจที่ปล่อยออกไป

นี่คือ คำตอบของน้องเขา เมื่อลองทำแล้ว ทำแค่แป๊บเดียวเองนะเนี่ย : แต่สบายดีนะคับ รู้เฉยๆ ไม่ไปทำอะไรมัน

อันนี้เขาทำถูกค่ะ คือ รู้เฉยๆ ไม่ต้องไปทำอะไร

แค่แป๊บเดียวระหว่างที่สนทนากัน ไม่ถึงนาที น้องเขาบอกว่า เอ๊ะ แต่แปลกดีคับ เมื่อกี้ตอนหายใจ แล้วท้องพอง ยุบ สติมันไปจับเอง ก็ธรรมดา เวลาหายใจ แล้วสติเกิด มันจะไปรู้ว่าลมเข้า หรือออก อยู่น่ะคับ ไม่เคยเห็นส่วนของท้องที่พองยุบมาก่อน แต่เมื่อกี้ ลองหลับตาทำตามที่พี่น้ำบอกน่ะคับ แปบนึง แล้วก็ลืมตามา มันก็ลืมท้องไป เสร็จแล้วเมื่อกี้ พอหายใจ แล้วท้องพองขึ้น มันไปรู้สึกตัวเอง ว่าท้องกำลังพองครับ พร้อมกับเห็นลมหายใจไปด้วย มันรู้สึกถึงร่างกายที่นั่งอยู่ไปด้วยครับ เหมือนเห็นกว้างๆ ไม่ได้เจาะจงเฉพาะที่ ( นี่คือ อาการของสติ สัมปชัญญะ ทำงานร่วมกัน จะรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่เจาะจงรู้เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของกาย ) สรุปแล้วตรงนี้น้องเขาเจริญอานาปนสติพร้อมกับดูจิตไปพร้อมๆกันค่ะ


บางคนทำมาเป็นปี จับอาการพองยุบไม่ได้เลย บางคนต้องใช้ท่านอนหงาย แล้วถึงจะจับได้ นั่งนี่จับไม่ได้เลย แสดงว่า การเจริญสติฐานจิต ของน้องเขาทำได้ดี ก็เลยเปลี่ยนจากฐานจิต มาจับฐานกายแทน ตรงนี้น้องเขาจะได้ทั้งสมถะและเจริญสติไปด้วย สมถะตรงนี้น้องเขาอาจจะได้ถึงฌาน 4เพราะเป็นการเจริญอานาปนสติทางอ้อม ... และมีการเจริญสติร่วมด้วยไม่ใช่แค่มุ่งการทำสมาธิเพียงอย่างเดียว

ผู้ปฏิบัติส่วนมากที่ติดอยู่แค่ปฐมฌาน เพราะขาดการเจริญสติ จึงไม่อาจละปีติ ละสุขได้ เลยติดอยู่แค่ตรงนี้ บางคนก็ดิ่งไปเลย ... แก้ไขไม่ได้ เพราะยังเจริญสติไม่มากพอนั่นเอง

ตรงไหน สงสัยถามได้ค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:09
โพสต์: 112


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อนุโมทนาทุกท่านค่ะ(ครับ) :b12: //เมื่อไรอัญญาสิจะทำได้บ้างก็ไม่รู้ :b2:

:b8: เจริญในธรรม


แก้ไขล่าสุดโดย อัญญาสิ เมื่อ 15 ก.พ. 2009, 16:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว้ายยย ! :b5: ตาเถนตกบันได คุณอัญญาสิเป็นหญิงหรือครับนี่

แต่ลิงค์นี้เป็นชาย

viewtopic.php?f=27&t=20493&p=95442#p95442

(โดนเพื่อนจีบ...รู้สึกปาบและแย่มากเลยอะครับ
เพราะผมยังเป็นเด็กอยู่เลยครับ หน้าที่ต้องเรียนหนังสืออะครับ)


ตกลงหญิงหรือชายอะคับนี่ :b10: :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:09
โพสต์: 112


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
:b12: ผู้ชายครับ ท่านอาจารย์กรัชกาย//แต่คนถามเป็นผู้หญิงก็ต้องให้เข้ากับบรรยากาศครับ :b12:

:b8: เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 16:42 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทางสายกลาง

หลักการภาวนาอีกอย่างหนึ่งซึ่งนักปฏิบัติไม่ควรลืม


คือการกำหนดดูลงที่จิต แล้วพยายามทำความรู้สึก


ตามรู้การยืน เดิน นั้ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด ทุกลมหายใจ


อันนี้เป็นจุดยืนของการปฏิบัติ เพราะการกำหนดจิตเอาใจใส่ ต่อการยืน เดิน นั้ง นอนฯลฯ


เป็นอุบายวิธีฝึกหัดจิตให้มีการสำรวมและเป็นการเอาใจใส่ตัวเองให้มากขึ้นเราย่อมรู้ขอบกพร่องของตัวเอง


หรือรู้ส่วนเกินของตนเองและรู้ว่าเราขาดอะไรเราเกินอะไร แล้วเราจะได้ปรับปรุงให้มันพอดิบพอดี



ซึ่งเรียกว่า "มัชฌิมาปฏิปทา"อันนี้คือหลักการปฏิบัติ


จากตามดูอารมณ์จิต หลวงพ่อพุธ ฐานิโย


อุบายในการปฏิบัติ


พอทำจิตให้สงบเป็นอุปจารสมาธิบ่อยๆ พอที่จะประคับประคองจิตให้น้อมไปสู่การพิจารณาแนวทางไตรลักษณ์ คือพิจารณากาย และความรู้สึกน้อมไปสู่พระไตรลักษณ์ คือพิจารณากายและความรู้สึกน้อมไปสู่พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนันตา ก็รีบกำหนดพิจารณาทันทีไม่ต้องคอยให้จิตสงบเป็นอัปนาสมาธิ ปฏิบัติไปทำนองนี้ย่อมเกิดผลแก่ผู้ปฏิบัติเหมือนกันถ้าหากต่างว่าเราจะคอยให้จิตสงบเป็นอัปนาสมาธิเสียก่อน เข้าฌานให้มันได้ชำนิชำนาญก่อน แล้วจึงไปพิจารณาพระไตรลักษณ์ หรือยกจิตขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนา ถ้าเผื่อว่าชั่วชีวิตนี้เราทำอย่างนั้นไม่ได้เราจะมิตายเปล่าหรือ


จากเทปธรรมบรรยายเรื่องสมาธิหลวงพ่อพุธ ฐานิโย

สมาธิในฌาน

จิตที่เป็นสมาธิในฌานนั้นเป็นสมาธิที่โง่ เพราะจิตที่เข้าฌานนั้นจะต้องเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นอาการที่ว่าความรู้ภูมิจิตภูมิธรรมก็ไม่เกิดขึ้น ครูบาอาจารย์ท่านได้ยืนยันว่าสมาธิในฌานเป็นสมาธิที่โง่แม้แต่โดยหลักท่านยืนยันไว้ว่า ถ้าจิตไปติดอยู่ในความสงบ ในฌานคือขั้นสมถะเท่านั้น อย่างดีก็ให้เกิด อภิญญา สามารถที่จะทำฤทธิ์ต่างๆได้สามารถที่จะรู้ใจของคนอื่นได้สามารถที่จะรู้สิ่งที่ปิดบังซ่อนเร้นอยู่ภายในซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่เหตุผลที่จะพึงกระทำให้หมดกิเลสนั้นยังไม่มีผู้สำเร็จฌานแล้วจะต้องมาเวียนว่ายตายเกิดเพราะจิตไม่มีปัญาลักษณะการรู้จริงที่เรียกว่า อภิญญารู้ใจคนอื่น รู้เหตุการณ์ล่วงหน้ารู้เรื่องอดีตผ่านมาแล้วนานๆในลักษณะอย่างนี้ไม่ได้จัดเข้าอยู่ในลักษณะของปัญญาที่จะเอาตัวรอดได้จากอำนาจของกิเลสเพราะฉะนั้นสมาธิในฌานจึงป็นสมาธิที่ไม่สามารถจะทำผู้ปฏิบัติให้สำเร็จมรรคผลนิพานได้ถึงจะมีบ้างก็มีจำนวนน้อย

จากเทปธรรมบรรยายเรื่องของสมาธิหลวงพ่อพุธ ฐานิโย


แก้ไขล่าสุดโดย ทางเดินที่พ้นทุกข์ เมื่อ 12 เม.ย. 2009, 23:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริงศึกษาไปมากๆ จะเข้าใจที่ถามมาทั้งหมดนี้เองนะครับ
แต่คามินธรรมขอช่วยร่นระยะเวลาให้ แต่ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมให้แตกฉานเองนะครับ

O.wan เขียน:
การฝึกดูจิต ต้องใช้เวลาในการปฏิบัตินานไม๊คะ


- เป้าหมายของการดูจิต "หลักชัยอันแรก" คือ ดุจนละสักกายทิฐิได้
ไม่มีระยะเวลาแน่นอนในแต่ละคน บางคนไม่กี่เดือน บางคนดูมาหลายปีแล้ว

ผมอยากจะบอกประสบการณ์ตรงอะไรอยา่งนึง
คืออยากให้ทำความเข้าใจวิธีให้ดี แล้วทำไปเลย
เพราะถ้ารู้มากแบบผมมันจะทำยาก ยากจริงๆ

เพราะเราจะพยามสู่รู้ไปก่อน หรือบางทีจำลองสภาวธรรมขึ้นมาเอง ไม่ใช่สภาวะธรรมตามธรรมชาติ


O.wan เขียน:
การดูจิต กับการเจริญสติ นี่มีความหมายเหมือนกัน หรือต่างกัน ตรงไหนค่ะ

- อันเดียวกันครับ

O.wan เขียน:
ทำอานาปานสติและเฝ้าตามดูจิตไปด้วย ทำพร้อมกันเลยหรือคะ
ถ้าเค้าทำได้ แสดงว่าเค้ามีสมาธิที่ดีแล้วมั้งคะ

ได้ครับ เขาทำกันตรึมเลย แต่มันแล้วแต่คนนะครับ
บางคนทำสมาธิไม่ได้จริงๆ บางคนก็ขาดการทำสมาธิไม่ได้
บางคนนั่งนิ่งๆเจริญสติไม่ได้ บางคนเคลื่อนไหวแล้วเจริญสติไม่ไ่ด้ต้องนัง่สมาธิ
แล้วแต่จริตของใครของมัน

แต่ในที่สุดแล้วสิ่งที่จะต้องเจอเหมือนกันคือ"ความจริงของจิต" "สัจจธรรมของจิต"
เพราะจิตพวกเรามันเมหือนกันหมดในเชิงปรมัตถ์
เราต้องการดุให้เห็นสัจจจธรรมของจิตที่ป้นเหตุแห่งทุกข์

แต่ถ้าอยากรู้ว่ากรรมฐานอันไหนเฟหมาะเฉพาะกับตัวเรา คุณต้องหาโอกาสไปพบหลวงพ่อสักครั้ง
แล้วบอกท่านว่า "ขอการบ้าน" (ขอกรรมฐานที่เหมาะกับตัวเรา) ท่านจะชี้แนะให้ตรงจริตกับเราเลย
บอกเราเลยว่าให้ทำอะไรยังไง
ในหมู่ลูกศิษย์ท่านจะทราบความ"พิเศษ"อันนี้ดีครับ



O.wan เขียน:
ที่K.คามินธรรม แนะนำ http://enggy.com/awake/awake01.html เราปริ๊นส์ มาพกไว้เลยค่ะ จะได้ไม่ลืมตามดูไปเรื่อยๆค่ะ :b8: :b8: :b8:

- ถ้าต้องการเป้นเล่มๆ ขอได้ที่มูลนิธิบ้านอารีย์นะครับ http://www.baanaree.net
แล้วถ้าสะดวกก็ทำทานสมทบทุนกองทุนหนังสือกับเขาไป
ขอทางจดหมายก็ได้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


Puy เขียน:
ทางสายกลาง

หลักการภาวนาอีกอย่างหนึ่งซึ่งนักปฏิบัติไม่ควรลืม


คือการกำหนดดูลงที่จิต แล้วพยายามทำความรู้สึก


ตามรู้การยืน เดิน นั้ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด ทุกลมหายใจ


อันนี้เป็นจุดยืนของการปฏิบัติ เพราะการกำหนดจิตเอาใจใส่ ต่อการยืน เดิน นั้ง นอนฯลฯ


เป็นอุบายวิธีฝึกหัดจิตให้มีการสำรวมและเป็นการเอาใจใส่ตัวเองให้มากขึ้นเราย่อมรู้ขอบกพร่องของตัวเอง


หรือรู้ส่วนเกินของตนเองและรู้ว่าเราขาดอะไรเราเกินอะไร แล้วเราจะได้ปรับปรุงให้มันพอดิบพอดี



ซึ่งเรียกว่า "มัชฌิมาปฏิปทา"อันนี้คือหลักการปฏิบัติ


จากตามดูอารมณ์จิต หลวงพ่อพุธ ฐานิโย


อุบายในการปฏิบัติ


พอทำจิตให้สงบเป็นอุปจารสมาธิบ่อยๆ พอที่จะประคับประคองจิตให้น้อมไปสู่การพิจารณาแนวทางไตรลักษณ์ คือพิจารณากาย และความรู้สึกน้อมไปสู่พระไตรลักษณ์ คือพิจารณากายและความรู้สึกน้อมไปสู่พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนันตา ก็รีบกำหนดพิจารณาทันทีไม่ต้องคอยให้จิตสงบเป็นอัปนาสมาธิ ปฏิบัติไปทำนองนี้ย่อมเกิดผลแก่ผู้ปฏิบัติเหมือนกันถ้าหากต่างว่าเราจะคอยให้จิตสงบเป็นอัปนาสมาธิเสียก่อน เข้าฌานให้มันได้ชำนิชำนาญก่อน แล้วจึงไปพิจารณาพระไตรลักษณ์ หรือยกจิตขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนา ถ้าเผื่อว่าชั่วชีวิตนี้เราทำอย่างนั้นไม่ได้เราจะมิตายเปล่าหรือ


จากเทปธรรมบรรยายเรื่องสมาธิหลวงพ่อพุธ ฐานิโย

สมาธิในฌาน

จิตที่เป็นสมาธิในฌานนั้นเป็นสมาธิที่โง่ เพราะจิตที่เข้าฌานนั้นจะต้องเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นอาการที่ว่าความรู้ภูมิจิตภูมิธรรมก็ไม่เกิดขึ้น ครูบาอาจารย์ท่านได้ยืนยันว่าสมาธิในฌานเป็นสมาธิที่โง่แม้แต่โดยหลักท่านยืนยันไว้ว่า ถ้าจิตไปติดอยู่ในความสงบ ในฌานคือขั้นสมถะเท่านั้น อย่างดีก็ให้เกิด อภิญญา สามารถที่จะทำฤทธิ์ต่างๆได้สามารถที่จะรู้ใจของคนอื่นได้สามารถที่จะรู้สิ่งที่ปิดบังซ่อนเร้นอยู่ภายในซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่เหตุผลที่จะพึงกระทำให้หมดกิเลสนั้นยังไม่มีผู้สำเร็จฌานแล้วจะต้องมาเวียนว่ายตายเกิดเพราะจิตไม่มีปัญาลักษณะการรู้จริงที่เรียกว่า อภิญญารู้ใจคนอื่น รู้เหตุการณ์ล่วงหน้ารู้เรื่องอดีตผ่านมาแล้วนานๆในลักษณะอย่างนี้ไม่ได้จัดเข้าอยู่ในลักษณะของปัญญาที่จะเอาตัวรอดได้จากอำนาจของกิเลสเพราะฉะนั้นสมาธิในฌานจึงป็นสมาธิที่ไม่สามารถจะทำผู้ปฏิบัติให้สำเร็จมรรคผลนิพานได้ถึงจะมีบ้างก็มีจำนวนน้อย

จากเทปธรรมบรรยายเรื่องของสมาธิหลวงพ่อพุธ ฐานิโย

ทั้งหมดยกมาให้พิจารณาดูและทำความเข้าใจแต่จะบอกว่าทำอันไหนดีหรือไม่ดีนั้นก็จากประสบการณ์ที่ปฏิบัติมาก็บอกได้ว่าต้องมีทั้ง2อย่างควบคู่กันไปจิตที่เราเห็นนั้นเร็วมาแต่เราเห็นบ้างไม่เห็นบ้างก็ไม่เป็นไรเอาเป็นว่าขณะนี้ขอเพียงแต่รู้ทุกอย่างตามความเป็นจริงการที่เราเกิดสงสัยก็ให้รู้ว่ากำลังสงสัยไม่ต้องไปคิดหรือปรุงแต่งต่อไปอะไรเกิดขึ้นก็รู้รู้ทุกอย่างตามความเป็นจริงทั้งกายเวทนาจิตธรรมให้พี่ลองกลับไปอ่านหนังสือสติปัฏฐานสูตรแล้วก็ให้ปฏิบัติไปคะแล้วพรุงนี้น้องจะส่งหนังสือไปให้อีกครั้งคะอนุโมทนาคะ


สวัสดีค่ะ

สงสัยข้อมูลที่นำมาพิมพ์นี้ คงจะเป็นข้อมูลเก่าของหลวงพ่อพุธ สมัยแรกๆกระมังคะ

คือ ขออภัยด้วยค่ะ ขอเสริมนิดหนึ่ง ไม่งั้นคนเข้ามาอ่านบทความนี้จะเข้าใจผิดๆ จะกลายเป็นรังเกียจสมถะไป หรือ รังเกียจเรื่อง สมาธิในฌาน

ผู้ที่ขาดการเจริญสติปัฏฐานหรือไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน เอาแต่ทำสมาธิอย่างเดียว เมื่อเวลาเกิดสมาธิ ที่เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ( ฌาน ) มีบางคนจะติดตรงนี้ ไม่สามารถจะนำสมาธิระดับอัปปนาสมาธิมาใช้ได้ เลยมีฉายาว่า สมาธิหัวตอ แต่ถ้าผู้ปฏิบัติเจริญสติปัฏฐานอย่างต่อเนื่อง เมื่อเกิดสมาธิเข้าสู่ระดับอัปปนาสมาธิ เขาจะสามารถถอยออกมาจากสมาธิระดับอัปปนาได้ และไม่ต้องรอให้สมาธิคลายตัวเอง โดยที่สมาธินี้ไม่ตกไปอยู่ที่อุปจารสมาธิ เพราะถ้าเป็นสมาธิระดับอุปจารสมาธิ ก็จะเกิดนิมิต แต่สมาธิที่ถอยออกมาจากอัปปนาสมาธินี้ จะอยู่กึ่งกลาง ระหว่าง อุปจาร กับ อัปปนา สมาธิตรงนี้จะตั้งมั่นอยู่ได้นาน และควรแก่งาน

เพียงแต่ยังมีผู้ปฏิบัติบางคนอาจจะไปติดอยู่ที่ปีติ และ สุข 2 ตัวนี่ เลยไม่สามารถที่จะก้าวไปสู่สมาธิระดับจตุตถฌานได้ ฌาน 4 หรือจตุตถฌานนี้ เป็นสมาธิที่ปราศจากนิวรณ์ เป็นสมาธิที่ควรแก่งานที่สุด

เฉกเช่นเดียวกับผู้ที่ปฏิบัติด้านสติปัฏฐาน แต่เน้นดูจิตเป็นหลัก เมื่อมาปฏิบัติดูกาย โดยมาเจริญอานาปนสติทางอ้อม คือ ดูอาการท้องพองยุบแทน ก็จะสามารถขึ้นไปสู่สมาธิระดับจตุตถฌานได้ง่ายกว่า ผู้ที่ไม่ได้เจริญสติปัฏฐานเลย เพราะบุคคลเหล่านี้ เมื่อเกิดปีติ ตัวจิตเขาจะทำงานทันที เมื่อเกิดสุข จิตเขาจะทำงานทันที ทำให้ไม่ไปติดอยู่ที่ ปีติ แล สุข นั้น

เมื่อผ่านฌาน 4 ได้ ฌาน 5 6 7 8 ก็ทำได้ง่ายขึ้น แต่ส่วนมากจะไม่เอากัน เพราะไม่มีประโยชน์ เน้นที่ฌาน 4 เสียมากกว่า

จะรู้ได้อย่างไรว่า ตัวเองปฏิบัติผ่านฌาน 4 แล้ว คือ เมื่อ คุณนั่งลง คุณสามารถทำจิตให้เป็นหนึ่งเข้าสู่สมาธิได้ทันที เวลาไหน ที่ไหน ตอนไหนก็ได้ ตรงนี้จะไม่มีการภาวนาแล้ว มีแต่ความรู้ตัวประกอบอยู่กับสมาธิ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


[๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย
ปฐมฌานบ้าง
ทุติยฌานบ้าง
ตติยฌานบ้าง
จตุตถฌานบ้าง
อากาสนัญจายตนฌานะบ้าง
วิญญาณัญจายตนะบ้าง
อากิญจัญญายตนะบ้าง
เนวสัญญานาสัญญายตนะ บ้าง
สัญญาเวทยิตนิโรธ บ้าง

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะ
อาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย

(ปฐมฌาน)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัดความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงแม่น ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้

(สำหรับ ทุติยฌาน ตติยฌานจตุตถฌาน ก็กล่าวทำนองเดียวกัน)

(อาศัยอากาสานัญจายตนะ)
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะ
อาศัยอากาสานัญจายตนะบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้วดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนะ โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสานัญจาตนะนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตาเธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพานเธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไปด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงแม่น ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้

(สำหรับ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ ก็กล่าวทำนองเดียวกัน)

สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ
และฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕ อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต - หน้าที่ 341-345
-------------------------

(ความเห็นของผมเองครับ ซึ่งได้จากการศึกษาเอง และ ไตร่ถามครูบาอาจราญ์ ผิดถูกอย่างไรก็พิจารณาดูเองเถิด)

ใน รูปฌาน
ปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง
ขันธ์ ทั้ง ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) มีอยู่ในขณะแห่งรูปฌานนั้น

๑.ให้เรา เห็น การเกิดดับ ของ ขันธ์ ทั้ง ๕ (ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา) แล้วโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุ
๒. ให้เรา เห็น การเกิดดับ ขององค์ฌาน นั้นๆ แล้วโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุ

ในอรูปสัญญาสมาบัติ
อากาสนัญจายตนฌานะบ้าง วิญญาณัญจายตนะบ้าง อากิญจัญญายตนะบ้าง
ขันธ์ ทั้ง ๔ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) มีอยู่ในขณะแห่งอรูปสัญญาสมาบัตินั้น

๑.ให้เรา เห็น การเกิดดับ ของ ขันธ์ ทั้ง ๔ (ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา) แล้วโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุ
๒. ให้เรา เห็น การเกิดดับ ของอรูปสัญญา นั้นๆ แล้วโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุ

ใน อายตนะ ๒
อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑
ขันธ์ ๒ ขันธ์ คือ สังขาร วิญญาณ ต่างอาศัยกัน จะมีความปรุงว่า เรามีอยู่
ให้ ภิกษุผู้นั้น ฉลาดในการเข้าสมาบัติและฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออก เข้าแล้วออก เข้าแล้วออก......พึงจะรู้อมตธาตุได้เองโดยชอบ ฯ

-------------------------------------------------
มีข้อสังเกตุอยู่ว่า
๑.สัญญาสมาบัติ มี ๒ กลุ่ม ได้แก่ รูปสัญญาสมาบัติ (รูปฌาน) และ อรูปสัญญาสมาบัติ
๒. ไม่มีคำว่า อรูปฌาน ที่เป็น พุทธพจน์ (อาจมีในพระไตรปิฎกภาษาไทย แต่ ไม่มีในภาษาบาลี ภาษาบาลีใช้ อรูปสัญญา)
๓.สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น คือ ยิ่งมีสมาธิมากเท่าใด การแทงตลอดซึ่งอรหันตผลก็มีได้มากขึ้นเท่านั้น
-----------------------------
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 01:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูจิต คือการเจริญสักกายะ
รู้จิต แต่ไม่ตามดูจิต
การเจริญสติปัฏฐาน 4 ภาวนา ก็คือการเจริญมรรคภาวนา ไม่มีการเจริญสติ มีแต่การเจริญธรรม
การดูจิต จึงไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน4 ภาวนา
การทำอานาปานสติภาวนา ก็เป็นวิธีการหนึ่ง แห่งสติปัฏฐาน4 ภาวนา
ดังนั้นอานาปานสติภาวนาจึงไม่ใช่เฝ้าดูลมหายใจ หากเฝ้าตามดูลมหายใจ ก็คือ ดูกาย
ดูกาย ก็เป็นการเจริญสักกายะอีก แต่ถ้าหากเทียบระหว่างดูกาย และดูจิตแล้ว การตามดูกายยังจะดีกว่าการตามดูจิต เสียอีก

ดังนั้น เพียรทำอานาปานสติ ยังดีเสียกว่า ตามดูจิตอันเป็นที่ตั้งแห่งสักกายะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 02:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ดูจิต คือการเจริญสักกายะ
รู้จิต แต่ไม่ตามดูจิต
การเจริญสติปัฏฐาน 4 ภาวนา ก็คือการเจริญมรรคภาวนา ไม่มีการเจริญสติ มีแต่การเจริญธรรม
การดูจิต จึงไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน4 ภาวนา
การทำอานาปานสติภาวนา ก็เป็นวิธีการหนึ่ง แห่งสติปัฏฐาน4 ภาวนา
ดังนั้นอานาปานสติภาวนาจึงไม่ใช่เฝ้าดูลมหายใจ หากเฝ้าตามดูลมหายใจ ก็คือ ดูกาย
ดูกาย ก็เป็นการเจริญสักกายะอีก แต่ถ้าหากเทียบระหว่างดูกาย และดูจิตแล้ว การตามดูกายยังจะดีกว่าการตามดูจิต เสียอีก

ดังนั้น เพียรทำอานาปานสติ ยังดีเสียกว่า ตามดูจิตอันเป็นที่ตั้งแห่งสักกายะ


คุณเข้าใจเรื่องดุจิตผิดหมดเลยครับ

ถ้าต้องการจะรู้เรื่องดุจิตจริงๆ ลองอ่านที่หลวงพ่อปราโมทย์รจนาเอาไว้ มีหลายเล่ม
เอาอย่าง่ายสุดๆก็มี เอาอย่างนักอภิธรรมอ่านถึงจะรู้เรื่องก้มี
www.wimutti.net เข้าไปที่เมนูชื่อหลวงพ่อ เลือกดูหนังสือ
แล้วท่านจะได้ตัดสินด้วยตัวท่านเอง
คนส่วนใหญ่ ไม่ค่อยกล้าศึกษา เลยไม่ค่อยเข้าใจ แล้วก็วิพากย์วิจารณ์ไปต่างๆนาๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 02:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านแล้ว ที่ท่านอ.ปราโมทย์แต่ง
เช่นนั้น ก็ยังคงต้องกลับไปอ่านพระไตรปิฏกเหมือนเดิม

อนุโมทนาครับที่แนะนำให้อ่าน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ดูจิต คือการเจริญสักกายะ
รู้จิต แต่ไม่ตามดูจิต
การเจริญสติปัฏฐาน 4 ภาวนา ก็คือการเจริญมรรคภาวนา ไม่มีการเจริญสติ มีแต่การเจริญธรรม
การดูจิต จึงไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน4 ภาวนา
การทำอานาปานสติภาวนา ก็เป็นวิธีการหนึ่ง แห่งสติปัฏฐาน4 ภาวนา
ดังนั้นอานาปานสติภาวนาจึงไม่ใช่เฝ้าดูลมหายใจ หากเฝ้าตามดูลมหายใจ ก็คือ ดูกาย
ดูกาย ก็เป็นการเจริญสักกายะอีก แต่ถ้าหากเทียบระหว่างดูกาย และดูจิตแล้ว การตามดูกายยังจะดีกว่าการตามดูจิต เสียอีก

ดังนั้น เพียรทำอานาปานสติ ยังดีเสียกว่า ตามดูจิตอันเป็นที่ตั้งแห่งสักกายะ




สวัสดีค่ะคุณเช่นนั้น

อืมมม ... คุณเช่นนั้นศึกษาพระไตรปิฎก เมื่อศึกษาพระไตรปิฏก ย่อมเห็นว่าแต่ละคนย่อมสำเร็จอรหันต์ไม่เหมือนกัน ไม่มีอะไรดีกว่าอะไรหรอกค่ะ แล้วแต่กุศลที่เขาได้สร้างสั่งสมมากันมากกว่า จริตของแต่ละคนนั้น เลยถนัดในการปฏิบัติที่แตกต่างกันไป

ยกตัวอย่างให้ฟังค่ะ ถ้าเราเพียรทำแต่อานาปนสติ ไม่สนใจในการเจริญสติปัฏฐาน เช่น ฐาน จิต เมื่อเกิดปีติ แล เกิดสุข หรือ เกิดนิมิต จะทำอย่างไรล่ะคะถึงจะละได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรละ สมาธิจะได้เจริญในสู่ระดับอื่นๆได้

ส่วนตัวดิฉันนั้นปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 ค่ะ ไม่ได้เน้นฐานใดฐานหนึ่ง

อันนี้พูดเป็นกลางๆค่ะ เพราะหลายๆคนอาจจะลืมฐาน เวทนาและธรรมไปเสีย อาจจะคิดว่าไม่สำคัญ จริงๆแล้ว สำคัญทุกฐานค่ะ เพียงแต่อุบายในการสอนของครูบาฯนั้นท่านอาจจะแตกต่างกันไป

เอาเป็นว่า ... สุดแต่ใครจะทำแล้วถนัดแบบไหนดีกว่ากระมังคะ การยึดครูบาฯหรือยึดรูปแบบ เป็นเรื่องธรรมดาของผู้ปฏิบัติทุกคนค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b10: :b10: k. walaiporn ก็นั่งธรรมดาๆนี่แหละ ท่าที่คิดว่า ถนัดที่สุด แรกๆเราต้องใช้ความสบายไปก่อน เพื่อจะได้ไม่เกิดความเบื่อ เอามือทั้งสองข้าง วางบนหน้าท้อง เหนือสะดือ หายใจยาวๆช้าๆ ธรรมดาๆนี่แหละ แต่หายใจยาวหน่อย หายใจสั้นจะจับได้ไม่ทัน หายใจเข้า ท้องจะพอง ตามลมหายใจเข้า หายใจออกท้องจะแฟ่บ ตามลมหายใจที่ปล่อยออกไป
:b9: เราสงสัยตอนหายใจเข้า-ออกน่ะค่ะ จำเป็นด้วยไม๊คะว่า หายใจเข้าท้องพอง
แล้วหายใจออกท้องแฟบ ถ้าสลับกันเข้าแฟบ-ออกพองได้ไม๊คะ คือรู้สึกว่าจะถนัดกว่าน่ะค่ะ
ที่ถาม เพราะเห็นหลายที่ปฎิบัติแบบนี้ท้องพอง+ยุบ เลยสงสัย จะได้ฝึกให้ถูกน่ะค่ะ
:b9: อยากถามว่าการที่เราจะฝึกนั่งสมถะ วิปัสสนากรรมฐานต่างๆ จำเป็นต้องมีพระอาจารย์ฝึก
ด้วยหรือคะ เราเห็นบางคนจะมีพระอาจารย์คอยสอน คือตัวเราเริ่มที่สนใจอยากเข้ามาทางนี้
:b6: เพราะรู้สึกอยากรู้สัจธรรมของชีวิต อยากเข้าใจให้ลึกซึ้งของการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง พอเริ่ม
เข้าวัด ฟังธรรมเทศนา ก็รู้สึกชอบ รู้ถึงความสงบ การปล่อยวาง การรักษาศีล สมาธิ ปัญญา ถึงแม้จะ
เป็นการเริ่มต้น แต่มันทำให้ได้รู้อะไรมากมาย ที่ไม่เคยรู้ และที่สำคัญ เรามีลูกสาว 2 คนกำลังเป็นสาว
เราก็จะหมั่นสอนให้เค้าให้ เริ่มเสียแต่ตอนนี้ในการปฏิบัติให้ถูก เพื่อจะได้มีหลักธรรมไว้เตือนสติ
น่ะค่ะ เพราะเราเริ่มช้าไป เราก็อาศัยลานธรรมจักรนี่แหละค่ะเป็นครูสอน เพราะมีคนคอยชี้แนะเก่งๆ
อย่างการนั่งสมาธิถ้าป็นเมื่อก่อน เราก็แค่คิดว่านั่งหลับตา-ปากท่องพุทโธ ใจก็แล้วแต่จะไป :b32:
:b41: แต่ตอนนี้ก็เข้าใจ แต่แค่ในระดับหนึ่งนะคะ เราไม่มีอาจารย์สอน แต่อาศัยอ่าน+ถาม แล้วก็
หัดแบบที่ถามคุณนี่แหละค่ะ k.walaiporn คิดว่าเราทำแค่นี้ ได้ไม๊คะ
:b39: คือตอนนี้เราก็แค่ตามรู้กาย รู้ใจให้ได้ก่อน สวดมนต์นั่งสมาธิหรือเดินจงกรมเพื่อให้จิตสงบ
น่ะค่ะที่เล่ามาเสียยาวก็คืออยากให้คุณแนะนำด้วยน่ะค่ะ เพราะเรารู้สึกเราต้องการแค่นี้เอง
หรือเพราะเราเห็นคุณๆสนทนาธรรมกันเก่งๆ รู้อะไรมากมาย เราก็เลยคิดว่าเราแค่นี้ก็ o.k.แล้วค่ะ
:b39: หรือว่าต้องปฏิบัติมากกว่านี้ถึงจะได้บุญมากกว่าด้วยหรือเปล่าคะ ช่วยอธิบายด้วยนะคะ :b8:
หรือท่านอื่นๆมีคำแนะนำเราก็ดีนะคะ :b48: :b48: :b48:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร