วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 05:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 22:29
โพสต์: 8


 ข้อมูลส่วนตัว


คือ เพิ่งสนใจและฝึกนั่งสมาธิได้ประมาณ 7-8 วัน โดยซื้อหนังสือมาอ่านและค้นคว้าจากทางอินเตอร์เนตค่ะ ในวันแรกๆ ใช้วิธีอานาปานสติ จิตฟุ้งซ่านและดูเครียดบางทีปวดศีรษะด้วยค่ะ

วันต่อๆ มาใช้ภาวนาพุทโธ และพิจารณาอสุภไปด้วย ปรากฏว่า เกิดอาการขนลุกไปทั่วตัวจนถึงศีรษะ และรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ออก พยายามนิ่งอยู่แต่ก็ไม่สามารถจะทำได้เหมือนจะขาดใจจึงต้องหายใจ พอเริ่มหายใจอาการขนลุกก็หยุดลง แต่หลังจากนั้นก็พยายามภาวนาใหม่จิตก็ไม่นิ่งอีกเลยจึงต้องหยุดไปและไปเข้านอนแต่นอนไม่หลับเลยรู้สึกตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา

แต่วันหลังจากนั้นนั่งสมาธิก็ไม่เกิดอาการนั้นอีกแต่รู้สึกว่า จิตก็ไม่นิ่งเลย และก็รู้สึกไม่แน่ใจในวิธีการ เพราะเริ่มอ่านหนังสือบางเล่มพบว่า นั่งสมาธิอาจทำให้เสียสติได้ก็เลยเริ่มกลัว จะใช้วิธีเพ่งกสิณก็กลัว ตอนนี้เลยไม่ทราบว่า ควรจะปฏิบัติวิธีไหนดี ขอคำแนะนำหน่อยค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วิธีอานาปานสติ จิตฟุ้งซ่านและดูเครียดบางทีปวดศีรษะด้วยค่ะ


ผู้โพสต์ ก็เคยติดกับ...ขั้นตอนมากไป
เช่น
ต้องสมาธิเพชรบ้าง
ต้องนุ่งขาวบ้าง
ก็เลยเครียด..... :b38:

ลอง... :b41:
ลดๆ ดูบ้าง....

แลข้อปุจฉาเป็นคำรบ ๖ ที่ว่าสมาธิจะบริสุทธิ์ด้วยสิ่งดังฤๅนั้น มีคำวิสัชนาว่า สมาธิจะบริสุทธิ์นั้น อาศัยแก่มีสัญญาแลมนสิการที่บมิได้ปราศจากวิตกตั้งอยู่ในภาวนาวิธี เป็นวิเสสภาคิยะแล้วกาลใด ก็เป็นปัจจัยให้สมาธิบริสุทธิ์ในกาลนั้น แลข้อปุจคำรบ ๗ ที่ว่าโยคาพจรจะจำเริญสมาธิ จะจำเริญเป็นดังฤๅนั้น

เหลือ แค่
ต้น กลาง ปลาย หายใจเข้า
ต้น กลาง ปลาย หายใจออก

หรือเปลี่ยนเลย
แนะนำดู
วิสุทธิมรรค เล่ม2
มี 40 วิธี สมถภาวนา..
มี ดิน น้ำ ลม ไฟ อนุสติ..ฯลฯ
รวมถึง
วิธีแก้ปลิโพธก่อน
คือก่อนทำสมาธิ ต้องตัดเรื่องกังวลก่อน


ปลิโพธอย่างใหญ่นั้นมีประเภท ๑๐ ประการ คืออาวาสปลิโพธกังวลอยู่ด้วยกุฎิวิหารที่อยู่ที่กินเอื้อเพื้ออาลัยบริบูรณ์ด้วยร่มไม้แลน้ำ มีภัตรได้ด้วยง่ายเป็นอาทินั้นประการ ๑ กุลปลีโพธ กังวลอยู่ด้วยตระกูลญาติ แลตระกูลโยมอุปัฏฐากร่วมสุขทุกข์ด้วยบุคคลในตระกูลนั้นประการ ๑ ลาภปลิโพธ กังวลอยู่ด้วยลาภสักการ คือทายกนำเอาจตุปัจจัยทานมาถวายเนือง ๆ ต้องเป็นธุระที่จะกระทำอนุโมทนาทานแลแสวงพระธรรมเทศนาหาโอกาส ที่จะจำเริญสมณธรรมบมิได้ประการ ๑

คณปลิโพธ กังวลอยู่ด้วยหมู่ด้วยคณะเป็นธุระที่จะบอกบาลีแลอรรถกถา หาว่างที่จะจำเริญสมณธรรมบมิได้ประการ ๑ กัมมปลิโพธ กังวลอยู่ด้วยกระทำนวกรรมเอาใจใส่ในสิ่งของอันช่างไม้เป็นต้นได้แลบมิได้ เอาใจใส่ในการที่กระทำดีแลกระทำชั่วนั้นประการ ๑ อัทธานปลิโพธ กังวลอยู่ด้วยเดินทางไกล เป็นต้นว่าจะไปบวชกุลบุตรในที่ไกลประการ ๑ ญาติปลิโพธ กังวลอยู่ด้วย มารดาบิดาพี่ชายน้องหญิง อุปัชฌาย์อาจารย์ สิทธิวิหารรีกแลอันเตวาสิกที่ป่วยที่ไข้ประการ ๑

อาพาธปลิโพธ กังวลอยู่ด้วยรักษาโรคในกายแห่งตนประการ ๑ คันถปลิโพธ กังวลอยู่ด้วยเล่าเรียนสังวัธยายปริยัติธรรมเป็นนิตย์นั้นประการ ๑ อิทธิปลิโพธ กังวลอยู่ด้วยจะจำเริญฤทธิ์รักษาฤทธิ์นั้นประการ ๑ สิริเป็นปลิโพธใหญ่ ๑๐ ประการด้วยกัน แลกิริยาที่จะจำเริญฤทธิ์รักษานั้น เป็นปลิโพธแห่งสมาธิวิปัสสมาธิสิ่งเดียว จะได้เป็นปลิโพธแห่งสมาธิภาวนาหาบมิได้ เพราะเหตุว่าโยคาพจรเจ้าจะได้สำเร็จฤทธิ์แล้ว ย่อมได้ด้วยอำนาจจำเริญสมาธิภาวนาว่า อุปจฺฉินทิตฺวา พระโยคาพจรผู้จะบำเพ็ญสมาธิภาวนานั้น เมื่อตัดปลิโพธอันใหญ่เสียได้แล้ว ยังแต่ปลิโพธน้อย ๆ คือผมยาวเล็บยาว บาตรเป็นสนิมจีวรเหม็นสาบนั้นก็พึงชำระเสียให้สิ้น พึงปลงผมตัดเล็บรมบาตรซักจีวร ปลดเปลี้องขุททกปลิโพธเสียให้สิ้นแล้ว ก็พึงไปสำนักอาศัยอยู่ในอาวาสเป็นที่สบายสมควรแก่สมาธิภาวนา

อย่าอยู่ในอันวิหารอันบมิได้สมควรจะอยู่ ๑๙ อย่าง มหตฺตํ วิหารใหญ่นั้น ๑ ชิณฺณตํ ๑ คือวิหารเก่าคร่ำคร่านั้น ๑ นวตุตํ วิหารสร้างใหม่นั้น ๑ ปณฺฐสนฺนิสฺสิตตฺตํ วิหารอยู่ใกล้ทางนั้น ๑ โสณฺฑิ วิหารอยู่ใกล้ตระพังศิลานั้น ๑ ปณฺณํ วิหารอันกอปรด้วยใบไม้ควรจะบริโภค ๑ บุปฺผํ วิหารกอปรด้วยกอดอกไม้นั้น ๑ ผลํ วิหารกอปรด้วยดอกไม้มีผล ๑ ปนฺถนิยตา วิหารเป็นที่คนทั้งปวงปรารถนาที่จะไปมา ๑ นคสนฺนิสฺสิตฺตา วิหารอยู่ใกล้เมือง ๑
................................
http://www.larnbuddhism.com/visut/2.1.html

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 22:29
โพสต์: 8


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ใช้คำภาวนา “พุทโธ” ที่ถูกพึงภาวนาควบคู่ไปกับลมหายใจเข้า-ออก เช่น
ลมเข้าก็ “พุท” ลมออก “โธ” พุทโธๆๆ ตามจังหวะลมเข้าลมออกนั้น ๆ

ขั้นนี้ก็เหมือนๆ กับผู้ใช้ท้องพองท้องยุบ ท้องพองก็ “พองหนอ” ท้องยุบ “ยุบหนอ”
ว่าพร้อมๆ กับที่ท้องกำลังพองขึ้น กำลังยุบลง เบื้องต้นจะต้องเป็นอย่างนี้
ส่วนรายละเอียดอื่นยังมีอีก

ดูที่คุณ See ทำแล้ว ยังฉีกแนวกันอยู่ เช่น

อ้างคำพูด:
ในวันแรกๆ ใช้วิธีอานาปานสติ จิตฟุ้งซ่านและดูเครียดบางทีปวดศีรษะด้วยค่ะ
วันต่อๆมาใช้ภาวนาพุทโธ และพิจารณาอสุภไปด้วย


อานาปานสติ -สติกำหนดลมใจ (นี้เป็นกรรมฐาน) แล้วก็ใช้คำภาวนาว่า “พุทโธ”
กำกับลมไปด้วยกันควบกันไป แต่ดูคุณปฏิบัติแล้วเหมือนแยกกันทำเป็นสองทาง
แถมพิจารณาอสุภเข้าไปด้วย

พิจารณาอสุภ คุณพิจารณายังไงครับ หรือ พิจารณาร่างกายตนเองว่าไม่สวยไม่งาม ฯลฯ ครับ

ประเด็นอื่นนอกจากนี้ ผัดรอบหลังนะครับ รอความชัดเจนที่ถามก่อน :b41:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


See เขียน:
คือ เพิ่งสนใจและฝึกนั่งสมาธิได้ประมาณ 7-8 วัน โดยซื้อหนังสือมาอ่านและค้นคว้าจากทางอินเตอร์เนตค่ะ ในวันแรกๆ ใช้วิธีอานาปานสติ จิตฟุ้งซ่านและดูเครียดบางทีปวดศีรษะด้วยค่ะ

วันต่อๆ มาใช้ภาวนาพุทโธ และพิจารณาอสุภไปด้วย

อย่างท่านกรัชกายว่านั่นล่ะครับ...มันแปลกๆ (เหมือนกินพิซซ่าหน้าพะแนงหมู)
อ้างคำพูด:
ปรากฏว่า เกิดอาการขนลุกไปทั่วตัวจนถึงศีรษะ และรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ออก พยายามนิ่งอยู่แต่ก็ไม่สามารถจะทำได้เหมือนจะขาดใจจึงต้องหายใจ

แล้วไปกลั้นหายใจทำไมล่ะครับ... :b10:
อ้างคำพูด:
พอเริ่มหายใจอาการขนลุกก็หยุดลง แต่หลังจากนั้นก็พยายามภาวนาใหม่จิตก็ไม่นิ่งอีกเลยจึงต้องหยุดไปและไปเข้านอนแต่นอนไม่หลับเลยรู้สึกตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา

อุปปาทานกับสภาวะที่เกิดขึ้นซะแล้ว...

อ้างคำพูด:
แต่วันหลังจากนั้นนั่งสมาธิก็ไม่เกิดอาการนั้นอีกแต่รู้สึกว่า จิตก็ไม่นิ่งเลย และก็รู้สึกไม่แน่ใจในวิธีการ

เกิดความลังเลสงสัยก็เป็นเรื่องปกติครับ...แต่ว่าเดี๋ยวมันก็หายครับเพราะมันไม่เที่ยง

อ้างคำพูด:
เพราะเริ่มอ่านหนังสือบางเล่มพบว่า นั่งสมาธิอาจทำให้เสียสติได้ก็เลยเริ่มกลัว จะใช้วิธีเพ่งกสิณก็กลัว ตอนนี้เลยไม่ทราบว่า ควรจะปฏิบัติวิธีไหนดี ขอคำแนะนำหน่อยค่ะ

นั่งสมาธิโดยขาดสติพิจารณาอาจทำให้บ้าได้ครับ
แต่นั่งสมาธิโดยที่มีสติพิจารณาไม่มีบ้าครับ

ควรเริ่มต้นจากศีลครับ รักษาศีลแล้วศีลจะส่งเสริมเองครับ(เรื่องจริงครับพิสูจน์แล้ว)

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 14:05
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เกิดอาการขนลุกไปทั่วตัวจนถึงศีรษะ


เป็นอาการของปีติ

มี ๕ อย่างได้แก่

............๓.๑ มีอาการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขอนพองสยองกล้า
............๓.๒ มีอาการน้ำตาไหล จากตาโดยไม่มีอะไรทำให้ระคายเคือง
............๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
............๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
............๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่งและใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ

............อาการทั้ง ๕ อย่างนี้แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อสังเกต ก็คือ อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้แต่ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่าง แต่จิตใจก็เป็นสมาธิแนบแน่นไม่หวั่นไหว มีแต่สมาธิมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่องทำเมื่อไร เข้าสมาธิได้ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้

อ้างคำพูด:
และรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ออก


คงเป็นอาการของฌาณ 3-4

ตติยฌาน หรือ ฌาน ๓ มีองค์ประกอบ ๒ อย่าง คือ

............๑. สุข ได้แก่ความสุขที่ปราศจากปีติ เป็นความสุขทางจิตเฉพาะ ไม่มีความสุขที่เนื่องด้วยกาย
............ ๒. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ที่ไม่มีอารมณ์ห่วงใยในกาย เป็นอาการสงัดจากกาย ท่านว่าจิตแยกออกจากความสนใจในกายเด็ดขาด

............มีข้อสังเกตว่า มีอาการทางทางกายเครียด คล้ายกับใครมาจับมัดไว้จนแน่น หรือคล้ายหลักที่ปักจนแน่นไม่มีการโยกโคลงได้นั้น ลมหายใจรู้สึกแต่เบาเต็มที หรือคล้ายไม่มีลมหายใจ จิตสงัดดีไม่มีหวั่นไหว ไม่มืด มีความโพลงแนบแน่นในสมาธิมาก

ฌาน ๔ มีองค์ประกอบ ๒ อย่าง คือ

............๑.เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง จนเป็นอุเบกขารมณ์ในทุกสิ่ง รู้แต่วางทันที
............มีอาการแสดงผลดังนี้
............มีข้อสังเกตว่า การเปรียบเทียบอารมณ์ ในฌาน ๔ ลมหายใจเข้า/ออก ละเอียดจนไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ โดยข้อ เปรียบเทียบไว้ ๔ อย่างคือ เสมือน

............๑) คนตาย
............๒) คนดำน้ำ
............๓) เด็กในครรภ์มารดา
............๔) คนเข้าถึง ฌาน ๔ เป็นต้น


อ้างคำพูด:
พอเริ่มหายใจอาการขนลุกก็หยุดลง


แสดงว่ากลับมาที่ฌาณ 1 หรืออกจากฌาณแล้ว แล้วปีติจึงหายไป


อ้างคำพูด:
แต่วันหลังจากนั้นนั่งสมาธิก็ไม่เกิดอาการนั้นอีกแต่รู้สึกว่า จิตก็ไม่นิ่งเลย และก็รู้สึกไม่แน่ใจในวิธีการ


เพราะจิตมีนิวรณ์ นั่นเอง

นิวรณ์มี ๕ อย่างได้แก่

............๑.กามฉันทะ ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รสและสัมผัส อันเป็นวิสัยของกามารมณ์
............๒.พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
............๓.ถินมิธะ ความง่วงเหงาหาวนอน
............๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และรำคาญหงุดหงิดใจ
............๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิดไว้หรือไม่เพียงใด


นิวรณ์ ๕ เป็นอกุศลกรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือฌาน มิให้ทรงตัวอยู่ได้ และเป็นอนุสัย ที่นอน เนื่องอยู่ในจิตตามมาหลายภพ หลายชาติมาก ท่านผู้รู้กล่าวไว้ควรคิดว่า เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับนิวรณ์ไม่ได้ เพราะเป็นเพื่อนเก่า ถ้าจะไม่คบด้วยจะฝืนอารมณ์มิใช่น้อย ส่วนฌานเปรียบเสมือนเพื่อนหน้าใหม่มีนิสัยตรงกันข้ามกับเพื่อนหน้าเก่า

ดังนั้นการดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงตัวอยู่ได้ไม่นาน ทรงตัวอยู่ได้ชั่วขณะ จิตก็เคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการอย่างนี้เป็นกฎธรรมดาของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้นๆ

อ้างคำพูด:
ควรจะปฏิบัติวิธีไหนดี ขอคำแนะนำหน่อยค่ะ



อานาปานสติ (วิธีที่คุณทำอยู่ดีแล้ว ถูกแล้ว ทำต่อไป)

............เป็นการตั้งอารมณ์พระกรรมฐานที่เป็นพื้นฐานของทุกกองกรรมฐาน

............เมื่อนักปฏิบัติ จิตเข้าสู่ระดับ ฌาณที่ ๑ ...ฌาณที่ ๒....ฌาณที่ ๓....ฌานที่ ๔ ถ้ายังไม่ได้ฝึกให้ชำนาญ คือเข้าออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิได้ไม่นาน จิตจะถอยหลังเข้าหา นิวรณ์ ๕ แน่นอน จงอย่าท้อถอยกำลังใจ หมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยกำหนดเวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน แล้วก็เริ่มทำสมาธิเข้าสู่ฌาน(จนกว่าจะได้เวลาอันสมควรที่ตั้งเอาไว้) เมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อนจากฌาน มีความรู้สึกตามปกติเอง ทำจนทรงอารมณ์ฌานได้มากขึ้นๆตามลำดับ

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิอาจทำให้เสียสติได้ก็เลยเริ่มกลัว จะใช้วิธีเพ่งกสิณก็กลัว


ควรศึกษาโดยมีครูอาจารย์และหาความรู้เรื่องฌาณด้วย

............ฌาน แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งแห่งการเจริญกรรมฐาน

ฌาน ๔ ได้แก่

............อันดับที่ ๑ เรียก ปฐมญาณ หรือฌานที่ ๑
............อันดับที่ ๒ เรียกว่า ทุติยฌาณ หรือฌานที่ ๒
............อันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาณ หรือฌานที่ ๓
............อันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน หรือฌานที่ ๔

............อรูปฌาน ๔ ได้แก่

............๑. อากาสานัญจายตนะ เพ่งอากาศๆ เป็นอารมณ์ จนถึงฌาน ๔
............๒. วิญญารัญจายตนะ กำหนดหมายเอาวิญญาณเป็นอารมณ์จนถึงญาณ ๔
............๓. อากิญจัญญายตนะ กำหนดว่าไม่มีอะไรเป็นอารมณ์จนถึงฌาน ๔
............๔. เนวสัญญาณาสัญญายตนะ กำหนดหมายเอาอาการไม่มีวิญญาณ คือไม่รับรู้ รับทราบ อะไรเลยเป็นสำคัญ จนถึงฌาน ๔

............ดังนั้นหากรูปฌาน ๔ กับอรูปฌาน ๔ จึงเรียกรวมว่าฌาน ๘ แต่จุดมุ่งหมายเบื้องต้นควรอยู่ที่ฌาน ๑-๔ ในรูปฌาน

ตัวอย่างรายละเอียดศึกษาที่

http://www.intania82.com/index.php?showtopic=1020

.....................................................
ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนี ผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้ว มีสติในกาลทุกเมื่อ

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ายินดี
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ายินดี

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ารัก
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ารัก

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันเร่าร้อน
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นสุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b40: :b40: อ่านในนี้ประกอบครับ ====>> 19824.การทำสมาธิ (พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก)

"นั่งหลับตา ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง
ให้ดูพระพุทธรูปเป็นตัวอย่าง นั่งให้สบายๆ พอดีพองาม
หายใจให้สบายๆ กำหนดรู้ลมเข้า ลมออก โดยสม่ำเสมอ ให้ติดต่อกัน
ในเวลานั้น ไม่ต้องคิดอะไร ไม่ต้องทำอะไร
การกำหนดรู้ลมเข้าลมออก เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด อย่างอื่นในโลกไม่สำคัญ
หน้าที่ของเรามีแค่นี้ ให้เอาใจใส่ทำให้ดีที่สุด"


:b39: หยิบข้อความบางส่วนมาจาก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=19824 :b42:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2009, 19:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b4: :b4: คุณเก่งมากเลยค่ะ ทำได้ไงคะ 7-8 วันเอง เรานะปาเข้าไป 4 เดือนแล้วยังอยู่กับที่เลยค่ะ
จนK.natdanaiเอย k.กรัชกรายเอย K.คามินธรรม k.น้ำ k.Puy ให้กำลังใจกันตัวโก่งเลยค่ะ
:b9: เพราะเรารู้สึกเจอปัญหา แบบไม่เข้าใจน่ะค่ะ ถามตลอด :b3: แต่ก็สู้ๆค่ะ

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2009, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 22:29
โพสต์: 8


 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาอสุภ คุณพิจารณายังไงครับ หรือ พิจารณาร่างกายตนเองว่าไม่สวยไม่งาม ฯลฯ ครับต้องขอโทษด้วยค่ะ หายไปนานเพิ่งเข้าเน็ตวันนี้ แรกๆแว็บมาดูยังไม่ค่อยมีใครช่วยตอบกระทู้ วันนี้เข้ามามีผู้ให้คำแนะนำมากมายทีเดียว ต้องขอบคุณมากๆเลยค่ะ

ขอตอบคุณกรัชกายก่อนนะคะ
See เขียน:
พิจารณาอสุภ คุณพิจารณายังไงครับ หรือ พิจารณาร่างกายตนเองว่าไม่สวยไม่งาม ฯลฯ ครับ


ใช่คะ พิจารณาร่างกาย เนื่องจากอ่านในหนังสือเล่มนึง ท่านบอกว่าให้พิจารณาเพื่อรวบรวมจิตให้อยู่ในเรื่องนั้นๆ คือ ตอนแรกในตอนนั้นตามรู้ลมหายใจเข้า-ออกไปได้พักนึง พอรู้สึกว่า เข้าที่เข้าทางก็พิจารณาร่างกาย คือพอดีอ่านหลายเล่มเลยเอามาผสมกัน

แต่เดี๋ยวนี้ก็รู้สึกเหมือนทุกคนบอกค่ะ ว่ามันอาจจะไม่ไปทางเดียวกัน ทุกวันนี้ก็ตามรู้จิตโดยการตามรูลมหายใจอย่างเดียว แต่รู้สึกใจไม่นิ่งเลยคอยแว็บหายเรื่อยๆนิ่งได้ไม่ถึง 5 นาที เลย

แต่ก็แปลกมากค่ะถ้าลองใช้วิธีพิจารณาร่างกายอย่างเดียวจิตกลับนิ่งอยู่ในเรื่องมากกว่า แต่ก็คิดว่าไม่ค่อยถูกทางก็เลยเลิกไป

ขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเพ่งกสิณหน่อยนะคะ คือ โดยปกติเป็นคนโมโหง่ายมีโทสะอยู่มาก ได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งท่านบอกว่า คนลักษณะนี้ควรฝึกโดยการเพ่งกสิณจะไปได้ดี (ท่านบอกว่า ควรเลือกกรรมฐานใน 40 กองเลือกเอาซักกองที่เหมาะกับตนเองจะได้ผลดี) ตรงนี้ไม่ทราบว่า จริงเท็จ หรือดีไม่ดีอย่างงัย อยากจะขอคำแนะนำจากผู้รู้หน่อยค่ะ ด้วยความกลัวปัจจุบันนี้จึงคงไม่กล้าปฏิบัติกสิณ เพราะรู้สึกว่า ดูเป็นวิธีที่ดูขลังๆถ้าไม่มีผู้รู้แนะนำกลัวจะไปไม่กลับ

ขอตอบ คุณณัฐดนัยนะคะ
ขอบคุณมากที่ให้คำแนะนำ

คือจริงๆแล้วเหตุการณ์ที่ปรากฏจากการนั่งสมาธิในวันนั้น คือ ไม่ได้กลั้นหายใจแต่รู้สึกเหมือนว่า ลืมหายใจแล้วพอนึกได้จะหายใจก็นึกขึ้นได้ว่า เคยอ่านพบในหนังสือว่าอาการเหล่านี้จะเป็นขั้นต้นของอุปจารสมาธิหรือเปล่าไม่แน่ใจแต่เคยอ่านว่า ท่านให้นิ่งอย่าไปสนใจ แต่ก็ลังเลอีกว่าหรือจะเป็นอุปทานพอเริ่มลังเลก็วิตกกลัวจะตายก็เลยหันไปสนใจแล้วก็หายใจ ก็ไม่แน่ใจว่าเป็นอนิสงค์ของการอธิฐานจิตหรือเปล่า เพราะเนื่องจากได้ไปเวียนเทียนที่สนามหลวงและอธิฐานกับพระบรมสาลีริกธาตุไว้แล้ววันถัดมาก็มานั่งสมาธิแล้วมาปรากฏเหตุการณ์นั้น แต่ก็อาจจะเป็นอุปทานอย่างที่คุณบอกก็ได้ เพราะคิดว่าความเป็นไปได้น้อยมากเนื่องจากเพิ่งเริ่มนั่งสมาธิมาได้ไม่กี่วันเอง
ทุกวันนี้ก็พยายามรักษาศีล 5 ตลอด แต่ก่อนรักษาศีลเท่าที่ทำได้ก็พอ แต่เดี๋ยวนี้ต้องทำให้ได้ เมื่อก่อนไม่ฆ่าสัตว์แต่ตบยุ่ง ทุกวันนี้ก็ไม่ตบยุ่งไม่ฆ่าทั้งสัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ ด้วยหวังจะตัดวงจรเวรกรรม และให้อภัยแล้วกับผู้เคยทำกรรมกับตน และพยายามจะให้ทานเท่าที่จะทำได้ แต่ที่ตัดไม่ได้ก็เห็นจะเป็นโทสะนี่ล่ะ ระงับไม่อยู่ทุกที แต่พอเกิดแล้วก็ค่อยมารู้สึกว่าไม่น่าเลย แต่ก็จะพยายามต่อไปค่ะ.

ขอขอบคุณ คุณเดช อันเตวาสิก มากค่ะที่ให้ข้อมูลมากมาย
ใจก็หวังว่า ถ้าเป็นปิติจริงก็จะดีใจไม่น้อยทีเดียว ตอนนี้ก็พยายามเพิ่มเวลาทำสมาธิให้มากขึ้นค่ะ แต่ก็อยากจะได้เข้าอบรมสมาธิที่ถูกต้องซักครั้งเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป แต่ยังไม่สามารถหาสถานที่และเวลาเหมาะกับตนเองเลย จึงต้องพึ่งตนเอง ตำรา และกัณยาณมิตรในเว็บนี้ทุกคนไปก่อน

ต้องขอขอบคุณO.wan คุณอินทรีย์5 และทุกๆคนมากๆค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2009, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


O.wan เขียน:
:b4: :b4: คุณเก่งมากเลยค่ะ ทำได้ไงคะ 7-8 วันเอง เรานะปาเข้าไป 4 เดือนแล้วยังอยู่กับที่เลยค่ะ
จนK.natdanaiเอย k.กรัชกรายเอย K.คามินธรรม k.น้ำ k.Puy ให้กำลังใจกันตัวโก่งเลยค่ะ
:b9: เพราะเรารู้สึกเจอปัญหา แบบไม่เข้าใจน่ะค่ะ ถามตลอด :b3: แต่ก็สู้ๆค่ะ



สวัสดีค่ะ คุณ owan

เป็นอย่างไรบ้างคะ ... น้ำยังลุ้นอยู่ค่ะ คอยเอาใจช่วยอยู่ ... :b4:

เป็นอย่างไรบ้างคะ ... อย่ามัวแต่ขอเพลงจากดีเจมากนักนะคะ เดี๋ยวจะมัวแต่ฟังเพลง จนไม่สนใจภาวนา :b1:

ฮ่าๆๆๆ ... อ่านแล้วก็ขำที่คุณพูดว่า " เราเองน่ะปาเข้าไป 4 เดือนแล้ว ยังอยู่กับที่เลยค่ะ "

น้ำเองก็เคยเป็นค่ะ คือ ไปคิดเอาเองว่าอยู่กับที่ จริงๆแล้ว สภาวะมันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เพียงแต่เรายังไม่รู้เท่านั้นเองค่ะ :b12:

เห็นคุณปุ๋ยบอกว่า คุณอยู่แถวเทพารักษ์หรือคะ น้ำก็อยู่สมุทรปราการค่ะ เราอยู่ใกล้ๆกันนี่เองค่ะ :b1:

ไว้นัดทานข้าวกันไหมคะ น้ำจะหยุดเฉพาะวันอาทิตย์เองค่ะ วันอื่นๆคงไม่สะดวก เพราะกว่าจะถึงบ้านก็ใกล้ค่ำแล้ว .... ไว้ใจได้ค่ะ น้ำเป็นผู้หญิง ไม่ใช่ผู้ชายที่แอบเข้ามาทำตัวเป็นผู้หญิงค่ะ ถามคุณปุ๋ยได้ โทรฯหากันประจำค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2009, 13:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


See เขียน:
คือ เพิ่งสนใจและฝึกนั่งสมาธิได้ประมาณ 7-8 วัน โดยซื้อหนังสือมาอ่านและค้นคว้าจากทางอินเตอร์เนตค่ะ ในวันแรกๆ ใช้วิธีอานาปานสติ จิตฟุ้งซ่านและดูเครียดบางทีปวดศีรษะด้วยค่ะ

วันต่อๆ มาใช้ภาวนาพุทโธ และพิจารณาอสุภไปด้วย ปรากฏว่า เกิดอาการขนลุกไปทั่วตัวจนถึงศีรษะ และรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ออก พยายามนิ่งอยู่แต่ก็ไม่สามารถจะทำได้เหมือนจะขาดใจจึงต้องหายใจ พอเริ่มหายใจอาการขนลุกก็หยุดลง แต่หลังจากนั้นก็พยายามภาวนาใหม่จิตก็ไม่นิ่งอีกเลยจึงต้องหยุดไปและไปเข้านอนแต่นอนไม่หลับเลยรู้สึกตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา

แต่วันหลังจากนั้นนั่งสมาธิก็ไม่เกิดอาการนั้นอีกแต่รู้สึกว่า จิตก็ไม่นิ่งเลย และก็รู้สึกไม่แน่ใจในวิธีการ เพราะเริ่มอ่านหนังสือบางเล่มพบว่า นั่งสมาธิอาจทำให้เสียสติได้ก็เลยเริ่มกลัว จะใช้วิธีเพ่งกสิณก็กลัว ตอนนี้เลยไม่ทราบว่า ควรจะปฏิบัติวิธีไหนดี ขอคำแนะนำหน่อยค่ะ


สวัสดีค่ะคุณ see

ใช้วิธีอานาปานสติ จิตฟุ้งซ่านและดูเครียดบางทีปวดศีรษะด้วยค่ะ

คุณไปเพ่งมากเกินไปค่ะ ก็เลยมึน ที่ฟุ้งซ่าน เพราะคุณอยากให้สงบ ยิ่งคุณไปบังคับมากเท่าไหร่ก็ยิ่งฟุ้งซ่านมากเท่านั้นค่ะ ไม่ลองเดินจงกรมก่อนที่จะนั่งละคะ เป็นการผ่อนคลายอริยาบทก่อนที่จะนั่ง อย่างน้อยสิ่งที่คุณกำลังคิดๆอยู่ ณ ขณะนั้น ได้ระบายออกไปบ้าง ขณะที่คุณกำลังเดินอยู่ กว่าคุณจะนั่ง ความคิดที่คิดอยู่นั้น ก็เหลือน้อยลง ลองเดิน กับนั่ง ใช้เวลาเท่าๆกันดูสิคะ ... ลองใช้เทคนิคส่วนตัวของดิฉันไหมคะ ... เวลาเดินจงกรม คุณเกิดความคิด คุณไม่ต้องไปคิดห้ามให้หยุดคิด แต่ให้คุณหยุดเดิน แล้วระบายความคิดที่กำลังคิดอยู่ เป็นตัวหนังสือลงในสมุด คิดอะไรอยู่ ก็เขียนๆลงไปให้หมด จนกว่าจะหยุดคิด พอหยุดคิด ค่อยเดินต่อ ทำแค่นี้เองค่ะ ..มีเวลามากพอที่จะเดินสักครึ่งชม. นั่งครึ่งชม.ไหมคะ .. หลังเลิกปฏิบัติแล้วคุณก็มาดูสิว่า สิ่งที่คุณคิดผ่านไปนั้นน่ะมีอะไรบ้าง ทำแบบนี้บ่อยๆค่ะ สติ สัมปชัญยะคุณก็จะดีขึ้น เมื่อสติ สัมปชัญญะดีขึ้น จิตคุณย่อมมีความฟุ้งซ่านน้อยลง เมื่อฟุ้งน้อยลง สมาธิย่อมเกิดได้ง่ายขึ้นค่ะ

นั่งสมาธิอาจทำให้เสียสติได้ก็เลยเริ่มกลัว

ฟังคุณเล่า แล้วนึกถึงพ่อ :b20:

ตอนนั้น .. ยังเด็กอยู่ ก็ฝึกเองค่ะ เตโชกสิณ จำได้ว่า ทำสมาธิได้เองตั้งแต่เด็กๆแล้ว ทำตามหนังสือเอง ไม่มีใครสอน แต่พ่อมาเจอ พ่อให้เลิก เพราะกลัวบ้า ... ทุกวันนี้ก็ยังทำอยู่ค่ะ ไม่เห็นจะบ้าเลยค่ะ ออกจะรู้จักคิดมากกว่าเดิมด้วยซ้ำค่ะ จะชมว่าตัวเองฉลาดขึ้นก็กระไรอยู่ :b32:

ตกลงแล้ว ปัจจุบันนี้ คุณทำแบบไหนกันแน่คะ เจริญอานาปนสติ หรือ พุทโธ หรือ อสุภะ หรือ กสิณกันแน่คะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2009, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 22:29
โพสต์: 8


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คุณวลัยพรมากค่ะ

ตอนนี้ก็กำลังวิ่งตามลมหายใจอยู่ แต่วิ่งไปพักนึงก็มักจะง่วงสัปงกประจำสะดุ้งตื่นกำวิ่งตามใหม่ คือ ชอบนั่งสมาธิก่อนนอน ประมาณ เที่ยงคืน อาจจะดึกไปหน่อย พอดีไม่ค่อยมีเวลา แต่เสาร์- อาทิตย์ ลองนั่งตอนตื่นนอนรู้สึกดีมากไม่ง่วงเลย แต่วันธรรมดากลัวไปทำงานไม่ทันต้องนั่งตอนดึกอีก

การเดินจงกรม คือเดินไม่ค่อยเป็นน่ะค่ะ ไม่ทราบว่า ตอนเดินไปสุดปลายทางแล้วหมุนตัวกลับยังงัย กำหนดยังงัยเท้าไหนไปยังไงค่ะ ก็เคยเดินแต่เดินไปตามที่เข้าใจแต่ไม่ทราบวิธีที่ถูกต้องค่ะ

ดีใจที่เว็บนี้มีคนช่วยให้คำแนะนำมากเลยรู้สึกอบอุ่นดีค่ะ แต่ไม่ค่อยได้เข้าเว็บบ่อยค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2009, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติโดยเริ่มต้นจากศีล...ก็ต้องรู้จักศีล คือต้องรู้ว่าศีลมีไว้เพื่ออะไร ลองพิจารณาดูครับ :b8:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2009, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


See เขียน:
ขอบคุณ คุณวลัยพรมากค่ะ

ตอนนี้ก็กำลังวิ่งตามลมหายใจอยู่ แต่วิ่งไปพักนึงก็มักจะง่วงสัปงกประจำสะดุ้งตื่นกำวิ่งตามใหม่ คือ ชอบนั่งสมาธิก่อนนอน ประมาณ เที่ยงคืน อาจจะดึกไปหน่อย พอดีไม่ค่อยมีเวลา แต่เสาร์- อาทิตย์ ลองนั่งตอนตื่นนอนรู้สึกดีมากไม่ง่วงเลย แต่วันธรรมดากลัวไปทำงานไม่ทันต้องนั่งตอนดึกอีก

การเดินจงกรม คือเดินไม่ค่อยเป็นน่ะค่ะ ไม่ทราบว่า ตอนเดินไปสุดปลายทางแล้วหมุนตัวกลับยังงัย กำหนดยังงัยเท้าไหนไปยังไงค่ะ ก็เคยเดินแต่เดินไปตามที่เข้าใจแต่ไม่ทราบวิธีที่ถูกต้องค่ะ

ดีใจที่เว็บนี้มีคนช่วยให้คำแนะนำมากเลยรู้สึกอบอุ่นดีค่ะ แต่ไม่ค่อยได้เข้าเว็บบ่อยค่ะ


สวัสดีค่ะ คุณ see

เดินจงกรม ... ไม่ได้มีรูปแบบที่ตายตัวค่ะ สุดแต่ว่าใครจะถูกจริตแบบไหน .. บางคนก็ชอบแบบเดินไปเรื่อยๆ ปล่อยความคิดไปเรื่อยๆ .. บางคนก็เดินแบบรู้ลงไปที่เท้า ทุกย่างก้าวที่เดิน .. บางคนใช้การกำหนด " หนอ " เข้ามาช่วยในการฝึกเจริญสติขณะที่เดิน ... ดิฉันเองฝึกมาแบบใช้ " หนอ " ค่ะ ...
การใช้ หนอ เข้ามาช่วย เช่น เวลาก้าวเท้าขวา ก็รู้ลงไปที่เท้าจะก้าวเดิน ขวา ย่าง หนอ ถ้าเท้าซ้ายก็ ซ้าย ย่าง หนอ ..

อืมมม ... ลองอ่านจากตรงนี้ดูค่ะ คือ พูดแบบวิชาการไม่เป็นน่ะคะ แต่ถ้าให้พูดแบบใช้ภาษาง่ายๆ พอได้ค่ะ viewtopic.php?f=2&t=20691 ดูแค่ ระยะที่ 1 พอค่ะ ..

สนใจแบบไหนคะ .. ลองเดินๆดูก่อนก็ได้ค่ะ แล้วค่อยมาให้คำตอบ เดินสักรอบ 2 รอบก็ทราบแล้วค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2009, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 22:29
โพสต์: 8


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 120 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron