วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 18:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2009, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 21:03
โพสต์: 26


 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนถามทุกท่านขอรับ ว่าการละสักกายทิฏฐิ และการละอุปทานขันธ์ 5 อันเดียวกันใช่ไหมครับ

ขอบคุณมากขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2009, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมพล เขียน:
เรียนถามทุกท่านขอรับ ว่าการละสักกายทิฏฐิ และการละอุปทานขันธ์ 5 อันเดียวกันใช่ไหมครับ

ขอบคุณมากขอรับ




สวัสดีค่ะคุณ สมพล

ขี้สงสัยจังเลยนะคะ อย่าไปอยากรู้เลยค่ะ ต้องปฏิบัติถึงจุดๆหนึ่งก็จะรู้เอง โดยไม่ต้องมีใครมาบอกหรอกค่ะ :b1:


เอาใจช่วยนะคะ :b12:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2009, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


สังโยชน์สิบ

ภิกษุ ท.! สังโยชน์ ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่. สิบประการอย่างไรเล่า?
สิบประการ คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า? คือ
สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา
สีลัพพต-ปรามาส
กามฉันทะ
พยาบาท :
เหล่านี้ คือ โอรัมภาคิย-สังโยชน์ ๕ ประการ.

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า? คือ
รูปราคะ
อรูปราคะ
มานะอุทธัจจะ
อวิชชา :
เหล่านี้ คือ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล สัญโยชน์ ๑๐ ประการ.
- ทสก. อํ. ๒๔/๑๘-๑๙/๑๓.
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2009, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ไวพจน์ของจตุราริยสัจ
(ทรงแสดงด้วยคำว่า สักกายะ)

ภิกษุ ท.! เราจะแสดง ซึ่งสักกกายะ สักกายสมุทัย สักกายนิโรธ
และสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุ ท.! สักกายะ เป็นอย่างไรเล่า ? ควรจะกล่าวว่าได้แก่
อุปาทานขันธ์ห้า. อุปาทานขันธ์ห้าเหล่าไหนเล่า ?
อุปาทานขันธ์ห้าคือ รูปู-ปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์
วิญญาณูปาทานขันธ์. ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่า สักกายะ.

ภิกษุ ท.! สักกายสมุทัย เป็นอย่างไรเล่า ? คือ ตัณหาอันเป็น
เครื่องทำให้มีการเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจความเพลิน
มีปกติทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ; ได้แก่ตัณหาเหล่านี้ คือ กามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา. ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่า สักกายสมุทัย.

ภิกษุ ท.! สักกายนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า? คือ ความจางคลาย
ดับไปโดยไม่เหลือ ความสละทิ้ง ความสลัดคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่
อาศัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นแหละ ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่า สักกายนิโรธ.

ภิกษุ ท.! สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? คือ
หนทางอันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยองค์แปดประการ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา, ดังนี้แล.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๓/๒๘๔-๒๘๘.
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อันเดียวกันครับ แต่มีความต่างเล็กน้อย

เหมือนถามว่า "ส้มใช่ผลไม้หรือเปล่า" - ต้องตอบว่าใช่
ถ้าถามกลับกันว่า "แล้วผลไม้ ใช่ส้มหรือเปล่า" - ต้องตอบว่าใช่และไมใช่

สิ่งที่ถูกต้องคือ ผลไม้ ประกอบด้วยผลไม้หลายชนิด ไม่ใช่แค่ส้ม
ดังนั้น ส้มเป็นผลไม้
แต่ผลไม้ไม่ใช่ส้ม แต่มีส้มอยู่ด้วย


สักกายทิฐิ หมายถึงมีทิฐิว่า "กาย"นี้เป็นของ"เรา"
(ความคิด ความเชื่อ ยึดถือความคิดเชื่อนี้ ว่าร่างกายเป้นของเรา)

ละสักกายะทิฐิหมายความว่า ละความเห็นว่า กายนี้เป็นของเรา
คนที่จะละได้ต้องได้ ได้โสดาบันแล้ว จิตเป็นจิตผู้รู้ จิตผู้ตื่น จิตผู้เบิกบาน
เขาจะจะมีญานทัสนะสามารถเห็นได้ว่า กายนี้จริงๆไม่ใช่ของเรา มันเป้นก้อนธาตุอันหนึ่งที่จิตอาศัยอยู่

คนเหล่านี้ จะสามารถมองเห็นว่า กายอยู่ต่างหาก /เวทนาแยกอยู่อีกต่างหาก /และมีจิตผู้รู้อยู่ต่างหาก
จิตผู้รู้นี้ ก็เข้าไปเห็นกาย และเวทนา อีกที เห็นมันเป็น 3 ส่วนแยกกัน
ส่วนรูปกายอย่านึง ส่วนเวทนาอย่างหนึ่ง ส่วนจิตอีกอย่างหนึ่ง
คำว่าส่วนๆนี้แหละ คือคำว่ากองๆ คือคำว่าขันธ์
จิตนั้นเห้นกายต่างหาก จิตนั้นเห้นเวทนาต่างหาก จิตเห็นจิตว่าแยกจากเวทนาและกาย

ปุถุชนนั้นเวลามีดบาด ก็จะบอกว่า"เราเจ็บ"
คือทั้งหาย ทั้งใจ ทั้งเวทนา รวมเป็นอันเดียว แล้วเจ็บด้วยกันหมด
อริยชนนั้น เวลามีดบาด
กายถูกมีดบาดจะอยู่ต่างหาก / เวทนาที่เกิดจากมีดบาดจะอยู่ต่างหาก / จิตไปรับรู้กายและเวทนา ก้จะอยู่อีกต่างหาก



อุปาทาน เอาง่ายๆก็มีความหมายแบบที่เราเข้าใจกันเช่น "อุปาทานหรือเปล่า"
แปลไทยเป้นไทยอีกทีมีความหมายว่า
"คิดไปเอง เอออไปเอง เข้าใจไปเอง ติีต่างไปเอง [u]ด้วยความไม่รู้ด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้[u]"

ขันธ์ อันนี้อธิบายยาวนิดนึง
เวลาเราจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต เราจะจัดแบบว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบ้าง สัตว์ปีกบ้าง สัตว์สองเท้าบ้าง
สัตว์น้ำ สัตวืบก แล้วแต่อยากจะจัดกันไป

แต่พระพุทธเจ้าจัดหมวดหมู่ไม่เหมือนเขา
ท่านจัดแบบว่า ว่าสัตว์ในวัฏฏะสงสารทั้ง 31 ภุมินี้
แต่ละชนิดประกอบด้วยองค์ประกอบที่เรียกว่าขันธ์
มนุษย์ สัตว์เดรจฉาน มี 5 อย่าง (5 ขันธ์)
เทวดา สัตว์ นรก เปรต อสุรกาย มี 4 ขันธ์ (ขันธ์ที่ขาดไปคือ รูปขันธ์ กล่าวคือร่างกายแบบของเรา ของสัตว์เดรัจฉานต่างๆ )
บางพวกมีหนึ่งขันธ์ คือพวกเทวดาชั้นพรหม

ในที่นี้ เราพูดถึงแต่มนุษย์ ท่านมองว่า
มนุษย์ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน รวมกันเข้าเป้นขันธ์ 5
แล้วมี"จิต" เป็นผู้"ยึดครองขันธ์" (เกิดอุปาทานในขันธ์5)
จิตยึดครองด้วยความไม่รู้ว่าขันธ์ 5 นั้นเป้นทุกข์ ไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ (จิต มีอวิชชา)

จิต มีอวิชชา จึงไม่รู้ความจริงว่าขันธ์์เป้นทุกข์
เมื่อไม่รู้จึงเข้าไปยึดครองขันธ์ ว่าเป้นตัวเรา ของเรา ตัวกู ของกู
อุปาทานขันธ์ ก้คือ อุปาทานไปเองว่าขันธ์ทั้ง 5 เป้นของเรา

ตัวอย่างง่ายๆที่เราชอบยึดถือขันธ์ เช่น ฝันแล้วตื่นขึ้นมา ก็เชื่อว่าฝันนั้นเป้นจริง
ฝันโดยทั่วไปเกิดจากความสามารถในการปรุงแต่งของจิตในขณะที่ตกภวังค์
สร้างเรื่องแฟนตาซีต่างๆนาๆ
จิตสามารถสร้างตัวละคร ภาพ ได้สมจริงอย่างที่เราไม่นึกว่าเราจะคิดได้อย่างนั้นในเวลาปกติ

อุปาเหมือนจิตเป้นพ่อครัว กำลังปรุงอาหารชนิดหนึ่ง
ส่วนประกอบของอาหารจานนี้คือ รูป เวทนา สัญญา วิญญาน สังขาร

ยกตัวอย่างเช่น การไปหยิบเอาความจำต่างๆมาใช้ นี่คือเอาสัญญาขันธ์มาใช้

ถ้านอนๆอยู่มีเสียงอะไรดัง มันก็ไปเอามาใช้ปรุงความฝันเหมือนกัน
นี่คือวิญญานขันธ์ ในส่วนของโสตวิญญาน

หรือบางทีป่วยอยู่ ร่างกายไม่ดี อาหารเป้นพิษ เกิดความเจ็บปวด
ก็ไปเอามาปรุงความฝันเหมือนกัน เจ็บเป็นเวทนาขันธ์

ในขณะที่นอนอยู่อากาศร้อน เตียงแข็ง เลยฝันว่าเข้าไปในนรกที่พื้นแข็ง อากาศร้อน
นี่คือเอารูปขันธ์ เรื่องเตียงแข้งมาใช้ปรุงความฝัน
ฉี่ราดไม่รู้ตัวเลยฝันว่าน้ำท่วม นี่ก็เอารูปขันธ์กล่าวคือความเปียก มาปรุงเป้นฝันน้ำท่วม

หรือในกรณีสังขารขันธ์ ก้คือการที่เอาความรูสึกเปียกมาปรุง แล้วสร้างความฝันว่าน้ำท่วม
สังขารคือการปรุง มันก็คือปรุงแล้วเอาที่ปรุงไปปรุงของใหม่อีก
เช่นเอาขาหมูไปทอดแล้ว เอาที่ทอดไปตุ๋น คือปรุงซับปรุงซ้อน


ปรุงจนได้ความฝันความเพ้อ สิ่งที่ปรุงนี้คือสังขารขันธ์ชนิดหนึ่ง
ตื่นขึ้นมา มันสมจริงมาก และด้วยความไม่แจ้งในอริยสัจ ไม่ทราบสิ่งเหล่านี้อย่างถ่องแท้
เลยยึดถือว่าความฝันนั้นน่าจะเป้นจริง แล้วก็ปรุงสังขารต่อว่า
ถ้าฝันไม่ดี เคยมีคนสอนว่าให้ไปทำบุญทำทาน ก้เลยไปทำบุญ
ด้วยการพารูปขันธ์ร่างกายไปทำบุญ ระหว่างทางแดดส่อง ก็ร้อน ร้อนเป้นเวทนา
ๆไม่ชอบความร้อนเป้นสังขารขันธ์ที่เกิดจากการปรุง
การปรุงเกิดจากการไปเรียกความทรงจำมาว่า ร้อนไม่ดี ต้องไม่ชอบ เป้นสัญญาขันธ์

((( ไม่ทราบว่างงไหม เพราะคนเขียนชักงงแล้ว มันขันธ์บ่อย
ผมพูดคำว่าขันธ์บ่อยๆรู้สึกไม่ค่อยดี เพราะมีสัญญาเรื่องเกี่ยวกับสังขารที่ชื่อขันธ์
เพราะเคยได้รับเวทนาจากการที่ไปรับรู้ด้วยวิญญานในเรื่องของสังขารที่ชื่อขันธ์
ที่พูดในวงเล้บนี้ joke เฉพาะกลุ่มนะครับ ไม่เข้าใจก้ไม่เป้นไร )))



ทีนี้ ตรงที่ผมพูดว่าต่างเล็กน้อยนั้น
คือปุถุชน จะมีอุปาทานขันธ์เหนียวแน่น มองความจริงไม่ออกเลย

พอได้โสดาบัน จะสามารถมองควมจริงออกว่ากายไม่ใช่ของเรา จึงหมดความยึดถือในกาย
แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่ยึดถือขันธ์
ยังคงยึดถือขันธ์อยู่ แต่แค่รู้แจ้งเห้นจริงว่ากายนี้มันเป้นคนละส่วนกับจิต

ต่อมาระดับ สกทาคคามี อนาคามี ท่านก็ยังมีอุปาทานในขันธ์
เช่น อนาคามี มีกิเลสชื่อ มานะ เป้นสังขารขันธ์ชนิดหนึ่ง
นี่คือยึดถือขันธ์อยู่ แต่น้อยแล้ว

แต่ว่าเฉพาะพระอรหันต์เืท่านั้น ที่จะมีแต่ขันธ์ แล้วไม่มีอุปาทานจริงๆ
ถึงจะใช้คำว่า "ละอุปาทานในขันธ์"ได้เต็มภูมิ
แต่ถ้าละขันธ์ หมายถึงตายจากขันธ์ไป อาจจะไปเกิดอีกก็ได้
ดับขันธ์์ หมายถึงวิธีที่พระอรหันต์ดับขันธ์ต่างๆเพื่อเข้าสู่นิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คามินธรรม เขียน:
สักกายทิฐิ หมายถึงมีทิฐิว่า "กาย"นี้เป็นของ"เรา"
(ความคิด ความเชื่อ ยึดถือความคิดเชื่อนี้ ว่าร่างกายเป้นของเรา)

ละสักกายะทิฐิหมายความว่า ละความเห็นว่า กายนี้เป็นของเรา
คนที่จะละได้ต้องได้ ได้โสดาบันแล้ว จิตเป็นจิตผู้รู้ จิตผู้ตื่น จิตผู้เบิกบาน
เขาจะจะมีญานทัสนะสามารถเห็นได้ว่า กายนี้จริงๆไม่ใช่ของเรา มันเป้นก้อนธาตุอันหนึ่งที่จิตอาศัยอยู่


คุณคามินธรรมครับ

ถ้าผมจะพูดว่าสักยะทิฐิคือความเห็นแก่ตัว(คือจะใช้ภาษาทางโลก)

การละสักยะทิฐิคือการไม่เห็นแก่ตัว

อย่างนี้จะได้ไหมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:

คุณคามินธรรมครับ

ถ้าผมจะพูดว่าสักยะทิฐิคือความเห็นแก่ตัว(คือจะใช้ภาษาทางโลก)

การละสักยะทิฐิคือการไม่เห็นแก่ตัว

อย่างนี้จะได้ไหมครับ


คุณพี่เมสครับ คือว่า "สักกายทิฐิ" เป้นศัพท์เทคนิค เป็นคำเฉพาะ ที่มีความหมายเฉพาะเจาะจง


"ความเห็นแก่ตัว" เป้นชื่อภาษาไทยของ "โลภะ"
การ"ละความเห็นแก่ตัว" ก็คือการ "ละโลภะ" ธรรมดาๆนี่เองครับ

ความจริงใช้คำว่า"ละโลภะ" ไม่ได้ เพราะโลภะเป้นทุกข์ ทุกข์ละไม่ได้ แต่มีไว้ให้"รู้"
แต่ละเหตุของโลภะ โลภะจึงหมดไป

การมีสติ เป้นการแก้ไขที่สมุทัย ทุกข์จึงดับ
ทันทีที่มีสติ โลภะ โทสะ โมหะ หายไปหมด
ดังนั้นการเจริญสติเป้นวิธีจัดการกับโลภะ โทสะ โมหะ โดยตรงครับ

เพราะในขณะที่มีสติ จิตจะเป็นกุศลจิต
อกุศลจะมาแืทรกไม่ได้
พูดง่ายๆว่า อุกศล จะไม่เเกิดร่วมกับกุศลได้เลย


ส่วนการละสักกายทิฐิเป็นคุณสมบัติของผู้บรรลุธรรมชั้นโสดาบัน
ที่ละได้ เพราะมีญานที่ชื่อ นามรูปปริเฉทญาน (ญานแยกนาม-รูป)
เป้นสมรรถนะของโลกุตรจิตครับผม


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สักกายทิฏฐิ และการละอุปทานขันธ์ 5 อันเดียวกันใช่ไหม


:b38:
[๕๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่กระแต
เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น วิสาขอุบาสกเข้าไปหาธรรมทินนาภิกษุณีถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
เรื่องสักกายทิฏฐิ
[๕๐๖] วิสาขอุบาสกครั้นนั่งแล้ว ได้ถามธรรมทินนาภิกษุณีว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระ-
*ผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ สักกายะ ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ?
ธรรมทินนาภิกษุณีตอบว่า ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ คือรูปูปาทานขันธ์ ๑
เวทนูปาทานขันธ์ ๑ สัญญูปาทานขันธ์ ๑ สังขารูปาทานขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑ อุปาทาน
ขันธ์ ๕ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ.


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9420&Z=9601

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณคามินธรรม

ขอขยายให้กว้างออกไปอีกครับ

คำที่ท่านพุทธทาสชอบใช้คือ ตัวกูของกู

ใช่สักยะทิฐิใช่หรือไม่ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 06:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
คุณคามินธรรม

ขอขยายให้กว้างออกไปอีกครับ

คำที่ท่านพุทธทาสชอบใช้คือ ตัวกูของกู

ใช่สักยะทิฐิใช่หรือไม่ครับ



ในขันธ์ 5 นั้น สามารถแยกประเภทออกเป็น รูป+นาม
รูป เป็นส่วนของรูปขันธ์
ที่เหลือเป็นขันธ์์ประเภทนามขันธ์ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน)

สักกายทิฐิ เป็นการละความเห็นในส่วนของรูปขันธ์
หมายความถึงร่างกายที่เป็นขนเล้บฟันหนังของเรานี่แหละครับ
ที่เรามีญานมองเห็นได้ชัดเจนเหมือนตาเปล่าว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวเรา
"ตัวเรา"มันอาศัยอยู่ในร่างกายอีกที


ทีนี้คำว่า "ตัวกูของกู" ของท่านพุทธทาส มันเป้นคำใหญ่ ที่รวมทั้งรูปขันธ์์และนามขันธ์
มันรวมทั้ง รูปกาย โลภะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อยู่ในคำนี้หมด
หรือแม้แต่ข้าวของนอกกาย เงินทอง ลูกเมียผู้อื่น ชีวิตคนอื่น เราก็อยากจะไปเอาของเขามา
อยากบังคับบัญชาเขาให้ได้ดังนใจเรา ซึ่งก็เป็นคำว่า "ตัวกูของกู"


แต่สักกายทิฐิเป็นเรื่องของรูปขันธ์โดยตรง ร่างกายเรานี้แหละ ไม่ใช่อะไรลึกลับเลย
ในบรรดา"วัตถุธาตุ"ในโลก สิ่งที่เรารักที่สุดคือ"กาย"ของเรา
ถ้าเราละกายได้ เรื่องของนอกกายไม่ต้องพูดถึง ละได้สบายๆ


แต่ถ้าเป็นกรณีของนาม (จิต และ เจตสิก)
เช่นว่าเราเคยมีชื่อเสียง ต่อมาตกต่ำ ทำใจไม่ได้
เรื่องทางใจอย่างนี้ก็ไม่เรียกว่าสักกายทิฐิ เพราะเป็นเรื่องของจิตใจที่ไปยึดเหนี่ยวนามธรรม
ในที่นี้คือ"ชื่อเสียงเกียรติยศ" ว่าเป้น"ตัวกูของกู" ว่าเป้นตัวเรา ของเรา เราเป้นเจ้าของชื่อเสียงนั้น

หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง
อย่างเช่น "ความถือตัว" นี่ก้มองว่าเป้น "ตัวกู ของกู" เหมือนกัน
เป็นสังโยชนืข้อ 8 เป็นกิเลสชั้นของพระอนาคามี
ทีนี้ เรื่องสักกายทิฐินั้น พระโสดาบันท่านละได้แล้ว จบเรื่องไปแล้ว
พระอนาคามีก็ไม่จำเป็นจะต้องมาละสักกายทิฐิอีกรอบใช่ไหมครับ
แต่ที่กำลังละอยู่คือ"ขันธ์ที่เป้นนามธรรม"

พูดง่ายๆว่า จัดการกับ"ความเห็นผิด"เรื่อง"กาย"ไปแล้ว จบเรื่องไปแล้ว
แต่กำลังจัดการกับความเห้นผิดว่า "จิตนี้" เป้น"ของเรา"

ถ้าคนที่ละความเห็นผิดว่าจิตนี้เป้นของเราได้ ก็เรียกว่าละครบทั้งรูปและนาม
กายก็ไม่ยึด จิตก็ไม่ยึด เข้าสู้ความว่างอย่างแท้จริง (เพราะไม่ยึดทั้งรูปทั้งนาม)


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


รากเง่าแห่งอุปาทานขันธ์

“ข้าแต่ พระองค์ ผู้เจริญ ! อุปาทานขั นธ์ มีแต่ เพียงห้าอย่าง คือ รูปขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
เวทนาขันธ์ ที่ ยังมี อุปาทาน ๑ สั ญญาขันธ์ ที่ ยังมี อุปาทาน ๑ สังขารขันธ์ ที่ ยังมี
อุปาทาน ๑ และวิญญาณขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ เหล่านี้ เท่านั้นหรือ ?

ภิ ก ษุ ! อุปาทานขันธ์ มี แต่ เพียง ห้าอย่าง คื อ รูป ขั น ธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
เวทนาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ สัญญาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ สังขาร-
ขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ และวิญญาณขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ เหล่านี้ เท่านั้น.

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็อุปาทานขันธ์ห้าเหล่านี้ มีอะไรเป็นรากเง่าเล่า พระเจ้าข้า?"

ภิกษุ ! อุปาทานขันธ์ห้าเหล่านี้ มีฉันทะ (ความพอใจ) เป็นรากเง่าแล.

- อุปริ. ม. ๑๔/๑๐๑/๑๒๑.
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 13:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สนทนาธรรมกับท่านคามินธรรมต่อครับ

ผมจะกล่าวต่อไปอย่างนี้จะได้ไหมครับว่า

แท้จริงแล้วสักยะทิฐิเกิดขึ้นมาจากอายตนะสัมผัสคือผัสสะ(เรารู้ลึกจึงรู้ว่ามีเรา)

หมายความว่าเพราะเมื่อผัสสะสักยะทิฐิจึงเกิดตามหลักปฏิจจสมุปบาท

การละสักยะทิฐิต้องใช้สติคือสติปัฏฐาน๔เฝ้าระวัง

คือต้องมีสมาธิด้วยใช้ปัญญาร่วมด้วย

เพื่อ

สืบสาวให้รู้อย่างถ่องแท้ในสิ่งที่เข้ามาให้รับรู้และการรับรู้การปรุ่งแต่งรวมไปถึงอุปทาน

ก็คือการรับรู้ถึงสภาวะหรือปรมัตถ์

ผมกล่าวมาเช่นนี้พอจะเป็นแนวทางที่ถูกหรือไม่ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
สนทนาธรรมกับท่านคามินธรรมต่อครับ
ผมจะกล่าวต่อไปอย่างนี้จะได้ไหมครับว่า

แท้จริงแล้วสักยะทิฐิเกิดขึ้นมาจากอายตนะสัมผัสคือผัสสะ(เรารู้ลึกจึงรู้ว่ามีเรา)
หมายความว่าเพราะเมื่อผัสสะสักยะทิฐิจึงเกิดตามหลักปฏิจจสมุปบาท

การละสักยะทิฐิต้องใช้สติคือสติปัฏฐาน๔เฝ้าระวัง
คือต้องมีสมาธิด้วยใช้ปัญญาร่วมด้วย

เพื่อสืบสาวให้รู้อย่างถ่องแท้ในสิ่งที่เข้ามาให้รับรู้และการรับรู้การปรุ่งแต่งรวมไปถึงอุปทาน
ก็คือการรับรู้ถึงสภาวะหรือปรมัตถ์
ผมกล่าวมาเช่นนี้พอจะเป็นแนวทางที่ถูกหรือไม่ครับ



เรียกท่านเลยเหรอพี่ ผมเขินนา ไม่อยากจะอยู่สูงๆเลยนะครับ เสียวจะตกลงมา
อยากให้คุณพี่ลองฟังหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช
ฟัง mp3 นั่นแหละครับ ฟังไปเล่นๆเรื่อยๆ ฟังเยอะๆ
คุณพี่บ้านอยู่ใกล้ศรีราชาด้วย น่าจะหาโอกาสไปสอบกรรมฐานกับท่านได้เลยนะครับ
ผมรับประกันว่าจะพบหนึ่งในสามของที่พึ่งแห่งชีวิต (สังฆัง สรณัง คัจฉามิ)

mes เขียน:
สนทนาธรรมกับท่านคามินธรรมต่อครับ
ผมจะกล่าวต่อไปอย่างนี้จะได้ไหมครับว่า

แท้จริงแล้วสักยะทิฐิเกิดขึ้นมาจากอายตนะสัมผัสคือผัสสะ(เรารู้ลึกจึงรู้ว่ามีเรา)
หมายความว่าเพราะเมื่อผัสสะสักยะทิฐิจึงเกิดตามหลักปฏิจจสมุปบาท

การละสักยะทิฐิต้องใช้สติคือสติปัฏฐาน๔เฝ้าระวัง
คือต้องมีสมาธิด้วยใช้ปัญญาร่วมด้วย

เพื่อสืบสาวให้รู้อย่างถ่องแท้ในสิ่งที่เข้ามาให้รับรู้และการรับรู้การปรุ่งแต่งรวมไปถึงอุปทาน
ก็คือการรับรู้ถึงสภาวะหรือปรมัตถ์
ผมกล่าวมาเช่นนี้พอจะเป็นแนวทางที่ถูกหรือไม่ครับ




เรียกท่านเลยเหรอพี่ ผมเขินนา ไม่อยากจะอยู่สูงๆเลยนะครับ เสียวจะตกลงมา
อยากให้คุณพี่ลองฟังหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช
ฟัง mp3 นั่นแหละครับ ฟังไปเล่นๆเรื่อยๆ ฟังเยอะๆ
คุณพี่บ้านอยู่ใกล้ศรีราชาด้วย น่าจะหาโอกาสไปสอบกรรมฐานกับท่านได้เลยนะครับ
ผมรับประกันว่าจะพบหนึ่งในสามของที่พึ่งแห่งชีวิต (สังฆัง สรณัง คัจฉามิ)

แต่เบื้องต้นนี้ อยากให้คุณพี่อ่านลิงก์นี้ก่อนครับ
คำตอบอยู่ที่นั่น
http://www.watdao.com/vipussana/way_dhul.html

อย่างไรก็ตาม การมีสัมมาสติเห็นปรมัตถ์ นั่นคือหนทางที่ถูกต้องแล้วล่ะครับ
เพียงแต่มันต้องเห็น "เนืองๆ" เนืองนานจนมันจิตมันเกิดปัญญาญานขึ้นมาเอง


แต่เบื้องต้นนี้ อยากให้คุณพี่อ่านลิงก์นี้ก่อนครับ
คำตอบอยู่ที่นั่น
http://www.watdao.com/vipussana/way_dhul.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คามินธรรม เขียน:
mes เขียน:

คุณคามินธรรมครับ

ถ้าผมจะพูดว่าสักยะทิฐิคือความเห็นแก่ตัว(คือจะใช้ภาษาทางโลก)

การละสักยะทิฐิคือการไม่เห็นแก่ตัว

อย่างนี้จะได้ไหมครับ


คุณพี่เมสครับ คือว่า "สักกายทิฐิ" เป้นศัพท์เทคนิค เป็นคำเฉพาะ ที่มีความหมายเฉพาะเจาะจง


"ความเห็นแก่ตัว" เป้นชื่อภาษาไทยของ "โลภะ"
การ"ละความเห็นแก่ตัว" ก็คือการ "ละโลภะ" ธรรมดาๆนี่เองครับ

ความจริงใช้คำว่า"ละโลภะ" ไม่ได้ เพราะโลภะเป้นทุกข์ ทุกข์ละไม่ได้ แต่มีไว้ให้"รู้"
แต่ละเหตุของโลภะ โลภะจึงหมดไป

การมีสติ เป้นการแก้ไขที่สมุทัย ทุกข์จึงดับ
ทันทีที่มีสติ โลภะ โทสะ โมหะ หายไปหมด
ดังนั้นการเจริญสติเป้นวิธีจัดการกับโลภะ โทสะ โมหะ โดยตรงครับ

เพราะในขณะที่มีสติ จิตจะเป็นกุศลจิต
อกุศลจะมาแืทรกไม่ได้
พูดง่ายๆว่า อุกศล จะไม่เเกิดร่วมกับกุศลได้เลย


ส่วนการละสักกายทิฐิเป็นคุณสมบัติของผู้บรรลุธรรมชั้นโสดาบัน
ที่ละได้ เพราะมีญานที่ชื่อ นามรูปปริเฉทญาน (ญานแยกนาม-รูป)
เป้นสมรรถนะของโลกุตรจิตครับผม


:b8:



สวัสดีค่ะคุณคามิน


คือมีข้อแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่คุณคามินนำมาโพสน่ะค่ะ เรื่อง นามรูปปริเฉทญาณ ที่ว่าเป็นการละ สักกายะทิฏฐิได้นั้น จะเป็นการรบกวนไหมคะว่าคุณคามินนำมาจากไหน ถ้าเป็นคำพูดของครูบาฯท่าน ก็ไม่เป็นไรค่ะ
เพียงจะบอกว่า นามรูปปริเฉจญาณ แยกรูปนามได้ นี่เป็นเพียงผลของการเจริญสติ ที่ไปแยกรูปนามตรงนั้นได้ ยังไม่ใช่การละสักกายะทิฏฐิที่แท้จริงค่ะ เพียงแค่อนุมานเอาเองเฉยๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คามินธรรม เขียน:
อันเดียวกันครับ แต่มีความต่างเล็กน้อย

เหมือนถามว่า "ส้มใช่ผลไม้หรือเปล่า" - ต้องตอบว่าใช่
ถ้าถามกลับกันว่า "แล้วผลไม้ ใช่ส้มหรือเปล่า" - ต้องตอบว่าใช่และไมใช่

สิ่งที่ถูกต้องคือ ผลไม้ ประกอบด้วยผลไม้หลายชนิด ไม่ใช่แค่ส้ม
ดังนั้น ส้มเป็นผลไม้
แต่ผลไม้ไม่ใช่ส้ม แต่มีส้มอยู่ด้วย


สักกายทิฐิ หมายถึงมีทิฐิว่า "กาย"นี้เป็นของ"เรา"
(ความคิด ความเชื่อ ยึดถือความคิดเชื่อนี้ ว่าร่างกายเป้นของเรา)

ละสักกายะทิฐิหมายความว่า ละความเห็นว่า กายนี้เป็นของเรา
คนที่จะละได้ต้องได้ ได้โสดาบันแล้ว จิตเป็นจิตผู้รู้ จิตผู้ตื่น จิตผู้เบิกบาน
เขาจะจะมีญานทัสนะสามารถเห็นได้ว่า กายนี้จริงๆไม่ใช่ของเรา มันเป้นก้อนธาตุอันหนึ่งที่จิตอาศัยอยู่

คนเหล่านี้ จะสามารถมองเห็นว่า กายอยู่ต่างหาก /เวทนาแยกอยู่อีกต่างหาก /และมีจิตผู้รู้อยู่ต่างหาก
จิตผู้รู้นี้ ก็เข้าไปเห็นกาย และเวทนา อีกที เห็นมันเป็น 3 ส่วนแยกกัน
ส่วนรูปกายอย่านึง ส่วนเวทนาอย่างหนึ่ง ส่วนจิตอีกอย่างหนึ่ง
คำว่าส่วนๆนี้แหละ คือคำว่ากองๆ คือคำว่าขันธ์
จิตนั้นเห้นกายต่างหาก จิตนั้นเห้นเวทนาต่างหาก จิตเห็นจิตว่าแยกจากเวทนาและกาย

ปุถุชนนั้นเวลามีดบาด ก็จะบอกว่า"เราเจ็บ"
คือทั้งหาย ทั้งใจ ทั้งเวทนา รวมเป็นอันเดียว แล้วเจ็บด้วยกันหมด
อริยชนนั้น เวลามีดบาด
กายถูกมีดบาดจะอยู่ต่างหาก / เวทนาที่เกิดจากมีดบาดจะอยู่ต่างหาก / จิตไปรับรู้กายและเวทนา ก้จะอยู่อีกต่างหาก



อุปาทาน เอาง่ายๆก็มีความหมายแบบที่เราเข้าใจกันเช่น "อุปาทานหรือเปล่า"
แปลไทยเป้นไทยอีกทีมีความหมายว่า
"คิดไปเอง เอออไปเอง เข้าใจไปเอง ติีต่างไปเอง [u]ด้วยความไม่รู้ด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้[u]"

ขันธ์ อันนี้อธิบายยาวนิดนึง
เวลาเราจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต เราจะจัดแบบว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบ้าง สัตว์ปีกบ้าง สัตว์สองเท้าบ้าง
สัตว์น้ำ สัตวืบก แล้วแต่อยากจะจัดกันไป

แต่พระพุทธเจ้าจัดหมวดหมู่ไม่เหมือนเขา
ท่านจัดแบบว่า ว่าสัตว์ในวัฏฏะสงสารทั้ง 31 ภุมินี้
แต่ละชนิดประกอบด้วยองค์ประกอบที่เรียกว่าขันธ์
มนุษย์ สัตว์เดรจฉาน มี 5 อย่าง (5 ขันธ์)
เทวดา สัตว์ นรก เปรต อสุรกาย มี 4 ขันธ์ (ขันธ์ที่ขาดไปคือ รูปขันธ์ กล่าวคือร่างกายแบบของเรา ของสัตว์เดรัจฉานต่างๆ )
บางพวกมีหนึ่งขันธ์ คือพวกเทวดาชั้นพรหม

ในที่นี้ เราพูดถึงแต่มนุษย์ ท่านมองว่า
มนุษย์ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน รวมกันเข้าเป้นขันธ์ 5
แล้วมี"จิต" เป็นผู้"ยึดครองขันธ์" (เกิดอุปาทานในขันธ์5)
จิตยึดครองด้วยความไม่รู้ว่าขันธ์ 5 นั้นเป้นทุกข์ ไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ (จิต มีอวิชชา)

จิต มีอวิชชา จึงไม่รู้ความจริงว่าขันธ์์เป้นทุกข์
เมื่อไม่รู้จึงเข้าไปยึดครองขันธ์ ว่าเป้นตัวเรา ของเรา ตัวกู ของกู
อุปาทานขันธ์ ก้คือ อุปาทานไปเองว่าขันธ์ทั้ง 5 เป้นของเรา

ตัวอย่างง่ายๆที่เราชอบยึดถือขันธ์ เช่น ฝันแล้วตื่นขึ้นมา ก็เชื่อว่าฝันนั้นเป้นจริง
ฝันโดยทั่วไปเกิดจากความสามารถในการปรุงแต่งของจิตในขณะที่ตกภวังค์
สร้างเรื่องแฟนตาซีต่างๆนาๆ
จิตสามารถสร้างตัวละคร ภาพ ได้สมจริงอย่างที่เราไม่นึกว่าเราจะคิดได้อย่างนั้นในเวลาปกติ

อุปาเหมือนจิตเป้นพ่อครัว กำลังปรุงอาหารชนิดหนึ่ง
ส่วนประกอบของอาหารจานนี้คือ รูป เวทนา สัญญา วิญญาน สังขาร

ยกตัวอย่างเช่น การไปหยิบเอาความจำต่างๆมาใช้ นี่คือเอาสัญญาขันธ์มาใช้

ถ้านอนๆอยู่มีเสียงอะไรดัง มันก็ไปเอามาใช้ปรุงความฝันเหมือนกัน
นี่คือวิญญานขันธ์ ในส่วนของโสตวิญญาน

หรือบางทีป่วยอยู่ ร่างกายไม่ดี อาหารเป้นพิษ เกิดความเจ็บปวด
ก็ไปเอามาปรุงความฝันเหมือนกัน เจ็บเป็นเวทนาขันธ์

ในขณะที่นอนอยู่อากาศร้อน เตียงแข็ง เลยฝันว่าเข้าไปในนรกที่พื้นแข็ง อากาศร้อน
นี่คือเอารูปขันธ์ เรื่องเตียงแข้งมาใช้ปรุงความฝัน
ฉี่ราดไม่รู้ตัวเลยฝันว่าน้ำท่วม นี่ก็เอารูปขันธ์กล่าวคือความเปียก มาปรุงเป้นฝันน้ำท่วม

หรือในกรณีสังขารขันธ์ ก้คือการที่เอาความรูสึกเปียกมาปรุง แล้วสร้างความฝันว่าน้ำท่วม
สังขารคือการปรุง มันก็คือปรุงแล้วเอาที่ปรุงไปปรุงของใหม่อีก
เช่นเอาขาหมูไปทอดแล้ว เอาที่ทอดไปตุ๋น คือปรุงซับปรุงซ้อน


ปรุงจนได้ความฝันความเพ้อ สิ่งที่ปรุงนี้คือสังขารขันธ์ชนิดหนึ่ง
ตื่นขึ้นมา มันสมจริงมาก และด้วยความไม่แจ้งในอริยสัจ ไม่ทราบสิ่งเหล่านี้อย่างถ่องแท้
เลยยึดถือว่าความฝันนั้นน่าจะเป้นจริง แล้วก็ปรุงสังขารต่อว่า
ถ้าฝันไม่ดี เคยมีคนสอนว่าให้ไปทำบุญทำทาน ก้เลยไปทำบุญ
ด้วยการพารูปขันธ์ร่างกายไปทำบุญ ระหว่างทางแดดส่อง ก็ร้อน ร้อนเป้นเวทนา
ๆไม่ชอบความร้อนเป้นสังขารขันธ์ที่เกิดจากการปรุง
การปรุงเกิดจากการไปเรียกความทรงจำมาว่า ร้อนไม่ดี ต้องไม่ชอบ เป้นสัญญาขันธ์

((( ไม่ทราบว่างงไหม เพราะคนเขียนชักงงแล้ว มันขันธ์บ่อย
ผมพูดคำว่าขันธ์บ่อยๆรู้สึกไม่ค่อยดี เพราะมีสัญญาเรื่องเกี่ยวกับสังขารที่ชื่อขันธ์
เพราะเคยได้รับเวทนาจากการที่ไปรับรู้ด้วยวิญญานในเรื่องของสังขารที่ชื่อขันธ์
ที่พูดในวงเล้บนี้ joke เฉพาะกลุ่มนะครับ ไม่เข้าใจก้ไม่เป้นไร )))



ทีนี้ ตรงที่ผมพูดว่าต่างเล็กน้อยนั้น
คือปุถุชน จะมีอุปาทานขันธ์เหนียวแน่น มองความจริงไม่ออกเลย

พอได้โสดาบัน จะสามารถมองควมจริงออกว่ากายไม่ใช่ของเรา จึงหมดความยึดถือในกาย
แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่ยึดถือขันธ์
ยังคงยึดถือขันธ์อยู่ แต่แค่รู้แจ้งเห้นจริงว่ากายนี้มันเป้นคนละส่วนกับจิต

ต่อมาระดับ สกทาคคามี อนาคามี ท่านก็ยังมีอุปาทานในขันธ์
เช่น อนาคามี มีกิเลสชื่อ มานะ เป้นสังขารขันธ์ชนิดหนึ่ง
นี่คือยึดถือขันธ์อยู่ แต่น้อยแล้ว

แต่ว่าเฉพาะพระอรหันต์เืท่านั้น ที่จะมีแต่ขันธ์ แล้วไม่มีอุปาทานจริงๆ
ถึงจะใช้คำว่า "ละอุปาทานในขันธ์"ได้เต็มภูมิ
แต่ถ้าละขันธ์ หมายถึงตายจากขันธ์ไป อาจจะไปเกิดอีกก็ได้
ดับขันธ์์ หมายถึงวิธีที่พระอรหันต์ดับขันธ์ต่างๆเพื่อเข้าสู่นิพพาน



สวัสดีค่ะคุณคามินธรรม

จากข้อความที่คุณได้โพสมานั้น ตรงนี้ค่ะ

คนเหล่านี้ จะสามารถมองเห็นว่า กายอยู่ต่างหาก /เวทนาแยกอยู่อีกต่างหาก /และมีจิตผู้รู้อยู่ต่างหาก
จิตผู้รู้นี้ ก็เข้าไปเห็นกาย และเวทนา อีกที เห็นมันเป็น 3 ส่วนแยกกัน
ส่วนรูปกายอย่านึง ส่วนเวทนาอย่างหนึ่ง ส่วนจิตอีกอย่างหนึ่ง
คำว่าส่วนๆนี้แหละ คือคำว่ากองๆ คือคำว่าขันธ์
จิตนั้นเห้นกายต่างหาก จิตนั้นเห้นเวทนาต่างหาก จิตเห็นจิตว่าแยกจากเวทนาและกาย

อันนี้ เป็นเรื่องของสติ สัมปชัญญะค่ะ เมื่อสติ สัมปชัญญะดี ขณะที่เกิดเวทนา กายและจิตมันแยกออกจากกัน เวทนาที่เกิดขึ้นกับกาย จิตมันก็แค่รู้แต่สักว่ารู้ ไม่ไปข้องเกี่ยวด้วย เพราะช่วงขณะนั้นสติ สัมปชัญญะได้เกิดขึ้น สติมันทันจิต การปรุงแต่งของสังขารย่อมดับไปชั่วขณะหนึ่ง แต่ตราบใดที่อุปทานยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 นั้นมีอยู่ เวทนานั้นย่อมมีเกิด ดับ อยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ว่า จะมีสติ สัมปชัญญะรู้ทันหรือเปล่าเท่านั้นเองค่ะ ถ้าสติไม่ทัน จิตก็จะไปเสวยอารมณ์เวทนาตรงนั้น ยึดมาก ยึดน้อย เวทนาเกิดมากเกิดน้อย ก็อยู่ที่ตัวอุปทานนี่แหละค่ะ

คือขออธิบายในแง่ของการปฏิบัติ ภาษาปริยัติไม่ค่อยจะเป็นค่ะ รู้แต่ว่า เพียง แยกรูปแยกนามได้ นั่นเป็นเพียงแค่เรื่องของสติ สัมปชัญญะที่ดีขึ้นมาระดับหนึ่งเท่านั้นเองค่ะ

แล้วก็ตรงนี้ด้วยค่ะ

อริยชนนั้น เวลามีดบาด
กายถูกมีดบาดจะอยู่ต่างหาก / เวทนาที่เกิดจากมีดบาดจะอยู่ต่างหาก / จิตไปรับรู้กายและเวทนา ก้จะอยู่อีกต่างหาก

คำว่า อริยชน ก็ไม่ทราบว่าจะตีความอย่างไร หรือแค่ไหนจึงจะเรียกว่าอริยชน เพราะถ้าผู้ใดเจริญสติอย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องแค่เพียงมีดบาดหรอกค่ะ แม้พริกเข้าตา แม้เกิดอาการบาดเจ็บ แค่เพียงเขาตั้งสติรู้ลงไป จิตเขาสามารถแยกตัวออกมาได้ทันที ไม่ไปเกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นค่ะ


อันนี้เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นจากที่การปฏิบัติมาค่ะ

เอ่อ ... อยากจะบอกว่า อันนี้ก็เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ อย่าไปยึดติดกับคำเรียกเลยค่ะ ยิ่งเราไปยึดติดกับคำเรียก เรายิ่งละได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นอริยชนก็ดี โสดาบัน หรือคำเรียกต่างๆก็ดี เป็นเพียงสภาวะหนึ่งเท่านั้นเอง เขาให้ดูกิเลสเป็นหลักค่ะ ปฏิบัติแล้ว ลด ละ เลิกได้ นั่นคือ มาถูกทาง

อย่างบางคนคิดว่าตัวเองเป็นโสดาบัน เพราะพอไปอ่านข้อมูลของโสดาบันแล้วว่าจะต้องเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ ก็เลยคิดว่าตัวเองเป็นโสดาบัน แต่ยังมาว่ากล่าวบุคคลอื่น มีการใช้ถ้อยคำหยาบคาย หยามหยัน ดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น กดข่มผู้อื่นให้ด้อยกว่าตัวเอง ขาดเมตตา คุณว่าบุคคลประเภทนี้ ใช่โสดาบันหรือเปล่าล่ะคะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 60 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร