วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 03:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 12:36
โพสต์: 91

สิ่งที่ชื่นชอบ: หนังสือธรรมะทุกเล่ม
ชื่อเล่น: ก้อย
อายุ: 28
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนท่านผู้มีประสบการณ์ทุกท่าน

ดิฉันได้ฝึกการทำสมาธิมาหลายปี โดยมีหลวงพ่อของเพื่อนสอนทางโทรศัพ์ตลอดเวลา (เวลาว่างจะไปพบท่าน แต่เวลาไม่ได้ไปจะโทรปรึกษาท่านตลอด ) ณ ปัจจุบันหลวงพ่อมรณภาพไปนานแล้ว ก็เลยไม่มีที่ปรึกษา หากท่านได้มีประสบการณ์รบกวนแนะนำด้วย

ดิฉันได้ผ่านสมาธิขั้นต่างๆมาหลายขั้นแล้ว คือ วิตกวิจารณ์ ปีติ สุข เอกคัตตา และเดี๋ยวนี้เวลานั่งมันจะเลยขั้นพวกนี้มาทั้งหมด แต่จะมาหยุดที่ตรงนี้ คือ รู้สึกไม่มีตัวตน ไม่มีร่างกาย ลมหายใจแผ่วลง จนถึงหายไปเลย แต่ก็ไม่สามารถผ่านจากตรงนี้ไปได้ ไม่ทราบว่าตรงส่วนนี้เรียกว่าเป็น ฌานขั้นต้นหรือไม่ และจะพอมีวิธีที่จะผ่านขั้นต้นไป ขั้นกลาง หรือปลายได้ไหมค่ะ รบกวนท่านผู้รู้ทุกท่านช่วยอธิบาย และแนะนำด้วย

ขอขอบพระคุณทุกท่านล่วงหน้าค่ะ

ก้อย

.....................................................
"ใช้ใจมองคน" แล้วคุณจะรู้ว่า คนๆนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คุณเห็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


แนะนำครูบาร์อาจารย์ครับ

- พระครูเกษมธรรมทัต
วัดมเหยงค์ อยุธยา

- หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช
สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

แต่ต้องลองศึกษาเอาเอง หรือไปพบท่านเองนะครับ
เรื่องจะโทรถามนี่ คงจะไม่ได้น่ะคับ

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 13:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 22:30
โพสต์: 61


 ข้อมูลส่วนตัว


มันเป็นการรวมอารมณ์ลงสู่จุดเดียวแล้ว

ถ้ายังสงสัยมันอยู่ หรือ ห่วงว่าเป็นขั้นไหนๆ ผมว่ามันก็ยังจะติดไม่ไปไหน

ความอยากรู้มันเป็นตัวบั่นทอน


ลองพิจารณาดูครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 12:36
โพสต์: 91

สิ่งที่ชื่นชอบ: หนังสือธรรมะทุกเล่ม
ชื่อเล่น: ก้อย
อายุ: 28
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบพระคุณทุกท่านมากนะค่ะ ที่กรุณาช่วยแนะนำ แล้วจะลองไปปฏิบัติดูค่ะ และถ้ามีเวลาว่าง ดิฉันจะหาเวลาไปพบอาจารย์ตามที่แนะนำมาค่ะ

.....................................................
"ใช้ใจมองคน" แล้วคุณจะรู้ว่า คนๆนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คุณเห็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2009, 20:17
โพสต์: 15


 ข้อมูลส่วนตัว


มาถึงระดับนี้แล้ว...ปัญญาไม่เกิดเลยหรือครับ..หรือว่าสติตอนนั้นยังไม่สมบูรณ์..ปัญญาก็เลยยังไม่เกิด.
ถ้าอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวแล้ว..ปัญญาไม่เกิด..จะเป็นสมถะไปนะครับ..คือสงบอยู่อย่างเดียว..ถ้านั่งนานๆไปจิตจะเข้าสู่ภวังค์ได้นะครับ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
รู้สึกไม่มีตัวตน ไม่มีร่างกาย ลมหายใจแผ่วลง จนถึงหายไปเลย แต่ก็ไม่สามารถผ่านจากตรงนี้ไปได้


คุณก้อยใช้อานาปาสติ แล้วใช้คำภาวนาพุทโธ กำกับลมเข้า-ออกใช่ไหมครับ
จุดหมายในการทำกรรมฐานของคุณ คือ ? :b42:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 23:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b5: :b40: :b40: ก็เอาสติใส่เข้าไปสิ ในช่วงที่ไม่มีลมหายใจ ไม่ต้องไปสงสัยหรือคิดอะไร(คืออย่าเอาความคิดใส่เข้าไป) ตามดูไปเรื่อยๆ มันเป็นสภาวะของจิตที่สงบเข้าสู่ภวังค์ เพราะเมื่อเรารู้สึกตัวก็กลับมาหายใจอีกครั้ง แต่เมื่อเรานิ่งมากๆเข้าก็เหมือนหยุดหายใจ เป็นธรรมชาติของจิตและไม่ต้องไปสนใจว่าจิตเราอยู่ฌาณขั้นไหน พอจิตเรานิ่งได้ที่(จิตวางถูกตำแหน่ง)มันจะเข้าฌาณของมันเอง โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยเน้นฌาณ มีหรือไม่มีก็ได้... :b41:

:b40: :b44: ว่าแต่สภาวะที่พูดถึงนานแค่ไหนครับ ถึงชั่วโมงเปล่า ... ซึ่งสภาวะที่พูดถึงนี้ถ้าเป็นผม ผมจะกำหนดว่ารู้หนอๆ หรือ ว่างหนอๆ ใส่เข้าไปเรื่อยๆเมื่อเจอสภาวะแบบนี้นานๆ จนสภาวะนี้หายไป หรือเปลี่ยนไปเป็นสภาวะปกติ

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 12:36
โพสต์: 91

สิ่งที่ชื่นชอบ: หนังสือธรรมะทุกเล่ม
ชื่อเล่น: ก้อย
อายุ: 28
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องกราบขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความกระจ่างค่ะ คือ เวลานั่งจะไม่คิดถึงว่าเป็นฌานขั้นไหน พอดีออกจากสมาธิแล้วนึกได้ เคยได้ยินจากคนที่เขาเคยนั่งๆกันตามหนังสือธรรมะ ก็เลยแปลกใจ และสอบถามดู ดิฉันจะพยายามปรับปรุงให้ดึขึ้นค่ะ เพราะเท่าที่ได้อ่านคำแนะนำจากทุกท่าน ดิฉันมีข้อผิดพลาดตรงที่มักจะนึกถึงแต่ลมหายใจ ว่าทำไมมันหายไป ไม่ยอมปล่อยวาง แต่จะลองใหม่ค่ะ ขอขอบพระคุณทุกท่านอีกครั้งค่ะ

.....................................................
"ใช้ใจมองคน" แล้วคุณจะรู้ว่า คนๆนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คุณเห็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 08:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 12:36
โพสต์: 91

สิ่งที่ชื่นชอบ: หนังสือธรรมะทุกเล่ม
ชื่อเล่น: ก้อย
อายุ: 28
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติมค่ะ ภาวะนี้อยู่ได้ไม่นานเท่าไหร่ค่ะ ประมาณ 5 นาทีได้ เพราะดิฉันมัวแต่นึกถึงลมหายใจมันก็เลยหายไปค่ะ

.....................................................
"ใช้ใจมองคน" แล้วคุณจะรู้ว่า คนๆนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คุณเห็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแนะนำให้ตอบคำถามท่านกรัชกายครับ... :b12:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ผมฌาณครับ ยินดีที่รู้จักครับ รูปคุณก้อยน่ารักดีครับ

:b4: :b4: :b22:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 03:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์สำหรับละมี ๕

นักศึกษาพึงทราบถึงภาวะที่ปฐมฌาน ละองค์ ๕ ด้วยอำนาจที่ประหานนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ คือ



นิวรณ์ ๕

๑. กามฉันทะ ความพอใจในกาม
๒. พยาปาทะ ความไม่ชอบ
๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาและความเซื่องซึม
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและความรำคาญใจ และ
๕. วิจิกิจฉา ความสงสัยตัดสินใจไม่ได้
ก็เมื่อโยคีบุคคลยังละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ไม่ได้ ฌานก็เกิดขึ้นไม่ได้ เป็นธรรมดาด้วยเหตุนั้น นิวรณ์ ๕เหล่านี้ จึงเรียกว่าเป็นองค์สำหรับละของฌานนั้น......... :b41:

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 03:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์แห่งปฐมฌาน ๕
...... :b41:
แหละ เพราะเหตุที่ วิตก ย่อมยกจิตขึ้นไว้ในอารมณ์ วิจารณ์ ตามผูกพันจิตไว้ในอารมณ์ ปีติ อันเป็นที่เกิดแห่งประโยคสมบัติของจิตซึ่งมีประโยคอันวิตกและวิจารณ์ให้ถึง พร้อมแล้วด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมทำให้จิตเอิบอิ่ม สุข ย่อมทำสัมปยุตธรรมให้เจริญและถัดมาเอกัคคตา อันความยกขึ้น, ความตามผูกพัน, ความเอิบอิ่มและความเจริญเหล่านี้ อนุเคราห์แล้วย่อมตั้งจิตนั้นพร้อมทั้งสัมปยุตธรรมที่เหลือไว้ในอารมณ์อันเป็นเอกภาพ อย่างสม่ำเสมอ โดยถูกต้อง
ฉะนั้น นักศึกษาพึงทราบถึงภาวะที่ปฐมฌานประกอบด้วยองค์ ๕ ด้วยอำนาจความบังเกิดขึ้นแห่งองค์ ๕ เหล่านี้ คือ
๑. วิตก ธรรมชาติที่ยกจิตสู่อารมณ์
๒. วิจาร ธรรมชาติที่พิจารณาอารมณ์
๓. ปีติ ธรรมชาติที่ทำจิตใจให้เอิบอิ่ม
๔. สุข ธรรมชาติที่ทำจิตให้ยินดี และ
๕. จิตเตกัคคตา ความมีอารมณ์อย่างเดียวของจิต
ก็เมื่อองค์ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นอันชื่อว่า ฌานเกิดขึ้นแล้ว ด้วยเหตุนั้น องค์ ๕ เหล่านี้ จึงเรียกว่าองค์ที่ประกอบของฌานนั้น นักศึกษาพึงยึดหลักไว้เถิดว่าขึ้นชื่อว่า ฌาน อื่นจากที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้หามีไม่
ก็แหละ เหมือนอย่างชาวโลกเรียกขานกันว่า เสนามีองค์ ๔ ดนตรีมีองค์ ๕ มรรคมีองค์ ๘ ทั้งนี้ ด้วยอำนาจสักว่าองค์เท่านั้น ฉันใด แม้ฌานนี้นักศึกษาก็พึงเข้าใจว่าที่ท่านเรียกว่า มีองค์ ๕ หรือประกอบด้วยองค์ ๕ นั้น ด้วยอำนาจสักว่าองค์เท่านั้นเช่นเดียวกัน ... :b41:

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 03:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายมีความงาม ๓ สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๑๐

............... :b41:
ก็แหละ ในคำที่ข้าพเจ้ากล่าวสังเขปไว้ว่า มีความงาม ๓ สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๑๐ นั้น มีอรรถาธิบายโดยพิศดารดังต่อไปนี้ –
นักศึกษาพึงทราบความงาม ๓ อย่างของปฐมฌาน ด้วยอำนาจความงามในเบื้องต้น ๑ ความงามในท่ามกลาง ๑ และความงามในที่สุด ๑ และพึงทราบความสมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๑๐ ประการของปฐมฌาน ด้วยอำนาจลักษณะของความงามในเบื้องต้น ความงามในท่ามกลาง และความงามในที่สุดเหล่านั้นนั่นแล
ในการแสดงถึงความงามและลักษณะแห่งความงามของปฐมฌานนั้น มีคำบาลีรับรองไว้ดังนี้ –



ความงาม ๓ ประการ

ความบริสุทธิ์แห่งปฏิปทา เป็นความงามในเบื้องต้นของปฐมฌาน
ความเจริญได้ที่แห่งอุเบกขา เป็นความงามในท่ามกลางของปฐมฌาน
และความร่าเริงใจ เป็นความงามที่สุดของปฐมฌาน



ลักษณะแห่งความงามเบื้องต้น ๓ ประการ

ถาม - ข้อว่า ความบริสุทธิ์แห่งปฏิปทา เป็นความงามเบื้องต้นของปฐมฌานนั้น ความงามในเบื้องต้นของปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร ?

ตอบ - ความงามในเบื้องต้นของปฐมฌาน มีลักษณะ ๓ ประการ คือ จิตย่อมบริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นข้าศึก ๑ เพราะเหตุที่จิตบริสุทธิ์ จิตจึงดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นกลาง ๑ เพราะเหตุที่จิตดำเนินไป จิตจึงแล่นตรงไป ในสมถนิมิตอันเป็นกลางนั้น๑
อาการที่จิตบริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นข้าศึก อาการที่จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นกลางด้วยเหตุที่บริสุทธิ์ และอาการที่จิตแล่นตรงไปในสมถนิมิตอันเป็นกลาง ด้วยเหตุที่ดำเนินไปแล้วเหล่านี้เป็นลักษณะ ๓ ประการ แห่งความงามในเบื้องต้นของปฐมฌาน ซึ่งมีความบริสุทธิ์แห่งปฏิปทาเป็นความงามในเบื้องต้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปฐมฌานมีความงามในเบื้องต้น และสมบูรณ์ในลักษณะ ๓ ด้วยประการฉะนี้



ลักษณะแห่งความงามท่ามกลาง ๓ ประการ

ถาม - ข้อว่า ความเจริญได้ที่แห่งอุเบกขาเป็นความงามในท่ามกลางของปฐมฌานนั้น ความงามในท่ามกลางของปฐมฌานมีลักษณะเท่าไร ?
ตอบ - ความงามในท่ามกลางของปฐมฌานมีลักษณะ ๓ ประการ คือ

โยคีบุคคลย่อมเพ่งดูเฉยซึ่งจิตบริสุทธิ์แล้ว ๑ ย่อมเพ่งดูเฉยซึ่งจิตที่ปรากฏเป็นเอกภาพ แล้ว ๑
อาการที่เพ่งดูเฉยซึ่งจิตที่บริสุทธิ์แล้ว อาการที่เพ่งดูเฉยซึ่งจิตที่ดำเนินไปสู่สมถนิมิตแล้ว และอาการที่เพ่งดูเฉยซึ่งจิตที่ปรากฏเป็นเอกภาพแล้วเหล่านี้เป็นลักษณะ ๓ ประการ แห่งความงามในท่ามกลางของปฐมฌาน ซึ่งมีความเจริญได้ที่แห่งอุเบกขาเป็นความงามในท่ามกลาง ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า ปฐมฌานมีความงามในท่ามกลางและสมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๓ ด้วยประการฉะนี้


ลักษณะแห่งความงามในที่สุด ๔ ประการ

ถาม - ข้อว่า ความร่าเริงใจ เป็นความงามในที่สุดของปฐมฌานนั้น ความงามในที่สุดของปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร ?
ตอบ - ความงามในที่สุดของปฐมฌานมีลักษณะ ๔ ประการ คือ

ความร่าเริงใจเพราะผลที่ธรรมทั้งหลายซึ่งเกิดในฌานจิตนั้นไม่ล่วงล้ำก้ำเกินกัน ๑ ความร่าเริงใจเพราะผลที่อินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงใจเพราะผลที่ทำให้วีริยะอันสมควรแก่อินทรีย์ทั้งหลายบังเกิดขึ้น ๑ความร่าเริงใจเพราะผลที่ได้อาเสวนปัจจัย ๑
อาการเหล่านี้เป็นลักษณะ ๔ ประการแห่งความงามในที่สุด ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปฐมฌาน มีความงามในที่สุดและสมบูรณ์ในลักษณะ ๔ ด้วยประการฉะนี้แล

.................... :b41:

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 03:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องจำอาการที่บรรลุฌาณไว้ให้แม่นยำ

ก็แหละ เมื่อได้บรรลุปฐมฌานอย่างนี้แล้ว อันโยคีบุคคลนั้นพึงกำหนดสังเกตุอาการทั้งหลายขณะที่ได้บรรลุไว้ให้แม่นยำ เหมือนนายขมังธนูผู้ยิงขนทราย และเหมือนดังพ่อครัว



เปรียบเหมือนนายขมังธนูยิงขนทราย

อธิบายว่า เหมือนนายขมังธนูผู้ชาญฉลาด ประกอบกรรมในการยิงขนทราย เมื่อยิงถูกขนทรายในวาระใด เขาจะพึงกำหนดสังเกตุอาการ
...ที่ยันเท้า
...อาการแห่งคันธนู
...อาการแห่งสายธนู
... และอาการแห่งลูกธนู


..ในวาระนั้นไว้อย่างแม่นยำว่า

เรายืนท่านี้ จับคันธนูท่านี้ ขึ้นสายธนูอย่างนี้ แล้วจึงยิงขนทราย จำเดิมแต่นั้น เขายังอาการเหล่านั้น ให้ถึงพร้อมอยู่ด้วยประการนั้นนั่นแหละ ย่อมยิงถูกขนทรายอย่างไม่ผิดพลาดเลยฉันใด


แม้อันโยคีบุคคลนี้ ก็ฉันเดียวกันนั่นแล คือเธอพึงกำหนดสังเกตกิริยาอาการทั้งหลายมีอาการเป็นอันที่สบายเป็นต้นเหล่านี้ว่า เราบริโภคอาหารชนิดนี้ คบหาสมาคมบุคคลเห็นปานนี้ จึงได้บรรลุปฐมฌานนี้ ในเสนาสนะชนิดนี้ ด้วยอิริยาบทอย่างนี้ ในเวลาเช่นนี้


ครั้นสังเกตจดจำอาการไว้ได้อย่างนี้แล้ว แม้เมื่อสมาธิขั้นอ่อน ๆ นั้นเสื่อมหายไป โยคีบุคคลนั้น จักสามารถเพื่อที่จะทำอาการเหล่านั้ให้ถึงพร้อมแล้ว ทำสมาธินั้นให้กลับเกิดขึ้นอีกได้ หรือจักสามารถเพื่อที่จะทำสมาธิที่ยังไม่คล่องแคล่วให้คล่องแคล่วกับเป็นอัปนาสมาธิบ่อย ๆโดยไม่ลำบากเลย ..

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 118 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร