วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 20:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ กุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ
นามว่า กัมมาสทัมมะ ครั้งนั้น


ท่านพระอานนท์

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลความข้อนี้กะ
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ

ปฏิจจสมุบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ

และปรากฏเป็นของลึก ก็แหละถึงจะ
เป็นเช่นนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของตื้นนัก ฯ
......................... :b41:


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้น
อานนท์ ปฏิจจสมุบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก ดูกรอานนท์
เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจ
ด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุง
กระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร

........................................

...

[๕๘] ก็คำนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรามรณะ
เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้
กล่าวไว้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรามรณะ

ดูกรอานนท์
ก็แลถ้าชาติมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ มิได้มีเพื่อความเป็นเทพแห่งพวกเทพ เพื่อความเป็นคนธรรพ์แห่งพวกคนธรรพ์ เพื่อความเป็นยักษ์แห่งพวกยักษ์
เพื่อความเป็นภูตแห่งพวกภูต เพื่อความเป็นมนุษย์แห่งพวกมนุษย์ เพื่อความเป็น
สัตว์สี่เท้าแห่งพวกสัตว์สี่เท้า เพื่อความเป็นปักษีแห่งพวกปักษี เพื่อความเป็น
สัตว์เลื้อยคลานแห่งพวกสัตว์เลื้อยคลาน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าชาติมิได้มีเพื่อความ
เป็นอย่างนั้นๆ แห่งสัตว์พวกนั้นๆ เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง
เพราะชาติดับไป ชราและมรณะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

.... :b49: ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

.............................

[๕๘] ก็คำนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรามรณะ เรากล่าวอธิบาย
ดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้
กล่าวไว้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรามรณะ ดูกรอานนท์ ก็แลถ้าชาติมิได้
มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ มิได้มีเพื่อความเป็นเทพแห่งพวก
เทพ เพื่อความเป็นคนธรรพ์แห่งพวกคนธรรพ์ เพื่อความเป็นยักษ์แห่งพวกยักษ์
เพื่อความเป็นภูตแห่งพวกภูต เพื่อความเป็นมนุษย์แห่งพวกมนุษย์ เพื่อความเป็น
สัตว์สี่เท้าแห่งพวกสัตว์สี่เท้า เพื่อความเป็นปักษีแห่งพวกปักษี เพื่อความเป็น
สัตว์เลื้อยคลานแห่งพวกสัตว์เลื้อยคลาน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าชาติมิได้มีเพื่อความ
เป็นอย่างนั้นๆ แห่งสัตว์พวกนั้นๆ เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะชาติ
ดับไป ชราและมรณะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
..................................

...ชาติ ภพ ตัณหา
...อุปทาน
...
ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้
กล่าวไว้ว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา
ดูกรอานนท์ ก็ถ้าเวทนามิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน
คือ เวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสโสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับไป ตัณหาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
................................
..
..
ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าผัสสะมิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหา-
*สัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เมื่อไม่มีผัสสะโดยประการทั้งปวง เพราะ
ดับผัสสะเสียได้เวทนาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
............................

ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ
นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อ
ก็ดี การสัมผัสโดยการกระทบก็ดี จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งผัสสะ
ก็คือนามรูปนั่นเอง ฯ

.................
..
..
ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป ดูกรอานนท์ ก็วิญญาณจักไม่หยั่งลง
ในท้องแห่งมารดา นามรูปจักขาดในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้วจักล่วงเลยไป
นามรูปจักบังเกิดเพื่อความเป็นอย่างนี้ได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณ ของกุมารก็ดี ของกุมาริกาก็ดี ผู้ยังเยาว์วัยอยู่
จักขาดความสืบต่อ นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งนามรูป
ก็คือวิญญาณนั่นเอง ฯ
ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เรากล่าวอธิบายดังต่อ
ไปนี้-
ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณจักไม่ได้
อาศัยในนามรูปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งชาติชรามรณะและกองทุกข์ พึงปรากฏ
ต่อไปได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งวิญญาณ
ก็คือนามรูปนั่นเอง ด้วยเหตุผลเพียงเท่านี้แหละ อานนท์ วิญญาณและนามรูป
จึงยังเกิด แก่ ตาย จุติ หรืออุปบัติ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ ทางแห่งบัญญัติ
ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญาและวัฏฏสังสาร ย่อมเป็นไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้ๆ ความ
เป็นอย่างนี้ ย่อมมีเพื่อบัญญัติ คือนามรูปกับวิญญาณ

..
..
..
[๖๓] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นด้วยเหตุมี
ประมาณเท่าไร ก็บุคคลเมื่อเล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นว่า เวทนาเป็น
อัตตาของเรา ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา
อานนท์ หรือเล็งเห็นอัตตา ดังนี้ว่า เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย จะว่าอัตตา
ของเราไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะฉะนั้น
อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา อานนท์ บรรดาความเห็น ๓ อย่างนั้น ผู้ที่กล่าว
อย่างนี้ว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา เขาจะพึงถูกซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส เวทนา
มี ๓ อย่างนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา บรรดาเวทนา
๓ ประการนี้ ท่านเล็งเห็นอันไหนโดยความเป็นอัตตา อานนท์ ในสมัยใด อัตตา
เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้น ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา
คงเสวยแต่สุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น ในสมัยใดอัตตาเสวยทุกขเวทนาไม่ได้
เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา คงเสวยแต่ทุกขเวทนาอย่างเดียว
เท่านั้น ในสมัยใด อัตตาเสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา
ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา คงเสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น
ดูกรอานนท์ เวทนาแม้ที่เป็นสุขก็ดี แม้ที่เป็นทุกข์ก็ดี แม้ที่เป็นอทุกขม-
*สุขก็ดี ล้วนไม่เที่ยง เป็นเพียงปัจจัยปรุงแต่งขึ้น มีความสิ้นความเสื่อม ความ-
*คลาย และความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเขาเสวยสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า
นี้เป็นอัตตาของเรา ต่อสุขเวทนาอันนั้นดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเรา
ดับไปแล้ว เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่อ
ทุกขเวทนาอันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว เมื่อเสวย
อทุกขมสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่ออทุกขมสุขเวทนา
อันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
เวทนาเป็นอัตตาของเรานั้น เมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นเวทนาอันไม่เที่ยง
เกลื่อนกล่นไปด้วยสุขและทุกข์ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็น
อัตตาในปัจจุบันเท่านั้น เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะ
เล็งเห็นว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้
.....
...
แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา เขาจะพึง
ถูกซักอย่างนี้ว่า ในรูปขันธ์ล้วนๆ ก็ยังมิได้มีความเสวยอารมณ์อยู่ทั้งหมด ใน
รูปขันธ์นั้น ยังจะเกิดอหังการว่าเป็นเราได้หรือ ฯ
ไม่ได้ พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า ถ้าเวทนา
ไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา แม้ด้วยคำดังกล่าว
แล้วนี้ ส่วนผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย อัตตาของเราไม่
ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่า อัตตาของ
เรามีเวทนาเป็นธรรมดา เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า อาวุโส ก็เพราะเวทนาจะต้อง
ดับไปทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เหลือเศษ เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ
เวทนาดับไป ยังจะเกิดอหังการว่า เป็นเราได้หรือ ในเมื่อขันธ์นั้นๆ ดับ
ไปแล้ว ฯ
ไม่ได้ พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า เวทนา
ไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาเลยก็ไม่ใช่ อัตตาของ
เรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่า อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา แม้ด้วยคำ
ดังกล่าวแล้วนี้ ฯ
[๖๔] ดูกรอานนท์ คราวใดเล่า ภิกษุไม่เล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ไม่
เล็งเห็นอัตตาว่าไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ ไม่เล็งเห็นว่าอัตตายังต้องเสวยเวทนา
อยู่ เพราะว่า อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา
ภิกษุนั้น เมื่อเล็งเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก และเมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะทกสะท้าน เมื่อไม่สะทกสะท้านย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตน ทั้งรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว....
..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. มหานิทานสูตร (๑๕)

http://www.geocities.com/tribasket/qten1.doc

[๕๗] พ. ดูกรอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่าชรามรณะมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ ?
-พ. เธอพึงตอบว่ามี
พ. ถ้าเขาถามว่าชรามรณะมีอะไรเป็นปัจจัย ?
-พ. เธอพึงตอบว่ามีชาติเป็นปัจจัย, ชาติมีภพ, ภพมีอุปาทาน, อุปาทานมีตัณหา, ตัณหามีเวทนา, เวทนามีผัสสะ, ผัสสะมีนามรูป, นามรูปมีวิญญาณเป็นปัจจัย
พ. เมื่อเธอถูกถามว่าวิญญาณมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ ?
-พ. เธอพึงตอบว่ามี
พ. ถ้าเขาถามว่า วิญญาณมีอะไรเป็นปัจจัย ?
-พ. เธอพึงตอบว่ามีนามรูปเป็นปัจจัย เพราะนามรูปเป็นปัจจัยดังนี้แลจึงเกิดวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ…ฯลฯ…เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วย
ประการฉะนี้
[๕๘] พ. ก็แลถ้าชาติมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เพราะชาติดับไปชราและมรณะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ?
-อ. ( อานนท์ ) ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งชรามรณะก็คือชาตินั่นเอง
พ. ก็ถ้าภพมิได้มีแก่ใครๆ…ชาติจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ เหตุ..แห่งชาติก็คือภพนั่นเอง
พ. ก็ถ้าอุปาทานมิได้มีแก่ใครๆ…ภพจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ เหตุ..แห่งภพก็คืออุปาทานนั่นเอง
พ. ก็ถ้าตัณหามิได้มีแก่ใครๆ…อุปาทานจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ เหตุ..แห่งอุปาทานก็คือตัณหานั่นเอง
พ. ก็ถ้าเวทนามิได้มีแก่ใครๆ..ตัณหาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ เหตุ..แห่งตัณหาก็คือเวทนานั่นเอง
[๕๙] พ. ดูกรอานนท์ ก็ด้วยประการดังนี้ คือเพราะอาศัยเวทนาจึงเกิดตัณหา…เกิดการแสวงหา
( ปริเยสนา )……เกิดลาภ…..เกิดการตกลงใจ ( วินิจฺฉโย )…เกิดการรักใคร่พึงใจ ( ฉนฺทราโค ) …
เกิดการพะวง ( อชฺโฌสานํ )…เกิดความยึดถือ ( ปริคฺคโห )….เกิดความตระหนี่ ( มจฺฉริยํ) ….
เกิดการป้องกัน ( อารกฺโข )…เกิดเรื่องในการป้องกันขึ้น ( อารกฺขาธิกรณํ ) อกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมเกิดขึ้น ก็ถ้าการป้องกัน ( อารกฺโข ) มิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน อกุศลธรรมจะพึงเกิดขึ้น
ได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
เพราะเหตุนั้นแหละ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมก็คือการป้องกัน
นั่นเอง
พ. เมื่อไม่มีความตระหนี่ การป้องกันจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
พ. เมื่อไม่มีความยึดถือ ( ปริคฺคโห ) ความตระหนี่จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ( ปริคฺคโห = หวงแหน , ที่อาศัย )
พ. เมื่อไม่มีการพะวง ( อชฺโฌสานํ ) ความยึดถือจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ( อชฺโฌสานํ = ตัณหา ; ความหยั่งลง, ความยินดี )
พ. เมื่อไม่มีความรักใคร่พึงใจ ( ฉนฺทราโค ) การพะวงจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
พ. เมื่อไม่มีความตกลงใจ ( วินิจฺฉโย ) ความรักใคร่พึงใจจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ( วินิจฺฉโย = ความตัดสิน )
พ. เมื่อไม่มีลาภ ความตกลงใจจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
พ. เมื่อไม่มีการแสวงหา ( ปริเยสนา ) ลาภจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ( ปริเยสนา = ความแสวงหารอบ ; แสวงหา ) ( ปทานุกรม ฉบับ
กรมพระจันทบุรีนฤนาถ )
พ. เมื่อไม่มีตัณหา การแสวงหาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
พ. เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยของการแสวงหาก็คือตัณหานั่นเอง
[๖๐] พ. เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนาเรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ เมื่อไม่มีผัสสะ
เวทนาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
พ. เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งเวทนาก็คือผัสสะนั่นเอง
พ. ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ การบัญญัติ
นามกายต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุเทศนั้นๆ ไม่มี
การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกายจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
พ. การบัญญัติรูปกายต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี
การสัมผัสโดยการกระทบจะพึงปรากฏในนามกายได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
พ. การบัญญัตินามก็ดี รูปกายก็ดีต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อก็ดี การสัมผัสโดยการกระทบก็ดีจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
พ. การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
พ. เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งผัสสะก็คือนามรูปนั่นเอง
พ. ก็คำนี้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ ก็วิญญาณ
จักไม่หยั่งลงในท้องแห่งมารดา นามรูปจักขาดในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
พ. ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้วจักล่วงเลยไป นามรูปจักบังเกิดเพื่อความเป็นอย่างนี้
ได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
พ. ก็ถ้าวิญญาณของกุมารก็ดี ของกุมาริกาก็ดี ผู้ยังเยาว์วัยอยู่จักขาดความสืบต่อ นามรูปจักถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
พ. เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งนามรูปก็คือวิญญาณนั่นเอง
พ. ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณจักไม่ได้อาศัยในนามรูปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งชาติชรามรณะและกองทุกข์พึงปรากฏต่อไปได้บ้างไหม ?
-อ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า
พ. เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งวิญญาณก็คือนามรูปนั่นเอง
ด้วยเหตุผลเพียงเท่านี้แหละอานนท์ วิญญาณและนามรูปจึงยังเกิด แก่ ตาย จุติ หรืออุปบัติ
[๖๑] พ. ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตา ย่อมบัญญัติด้วยเหตุประมาณเท่าไร ?
-พ.ย่อมบัญญัติว่าอัตตาของเรามีรูปเป็นกามาวจร, มีรูปหาที่สุดมิได้, ไม่มีรูปเป็นกามาวจร, ไม่มีรูปหาที่สุดมิได้
[๖๒] พ. บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ?
-พ.ย่อมไม่บัญญัติว่าอัตตาของเรามีรูปเป็นกามาวจร, มีรูปหาที่สุดมิได้, ไม่มีรูปเป็นกามาจร,
ไม่มีรูปหาที่สุดมิได้
[๖๓] พ. บุคคลเมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ?
-พ. ก็บุคคลเมื่อเล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นว่า
๑. เวทนาเป็นอัตตาของเรา
๒. ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้วอัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา
๓. เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย จะว่าอัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะฉะนั้นอัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา
พ. อานนท์ บรรดาความเห็น ๓ อย่างนั้น ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่าเวทนาเป็นอัตตาของเรา เขาจะพึงถูกซักถามอย่างนี้ว่าเวทนามี ๓ อย่างนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ท่านเล็งเห็นอันไหน
โดยความเป็นอัตตา ?
-พ. ในสมัยใดอัตตาเสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา
เวทนาที่เป็นสุขล้วนไม่เที่ยง เป็นเพียงปัจจัยปรุงแต่งขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เมื่อเขาเสวย
สุขเวทนาย่อมมีความเห็นว่านี้เป็นอัตตาของเรา ต่อสุขเวทนาอันนั้นดับไปจึงมีความเห็นว่าอัตตาของเรา
ดับไปแล้ว ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่าเวทนาเป็นอัตตาของเรานั้น เมื่อเล็งเห็นอัตตาย่อมเล็งเห็นเวทนา
เป็นอัตตาในปัจจุบันเท่านั้น เพราะเหตุนั้นแหละจึงไม่ควรเห็นว่าเวทนาเป็นอัตตาของเรา
พ. ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่าถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้วอัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า ในรูปขันธ์ล้วนๆ ก็ยังมิได้มีความเสวยอารมณ์อยู่ทั้งหมด ในรูปขันธ์นั้นยังจะเกิดอหังการว่า
เป็นเราได้หรือ ?
-อ. ไม่ได้ พระเจ้าข้า
พ.เพราะเหตุนั้นแหละ จึงไม่ควรเห็นว่าถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา
พ. ส่วนผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย อัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่าอัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า ก็เพราะเวทนาจะต้องดับไปทั้งหมดทั้งสิ้น เพราะเวทนาดับไปยังจะเกิดอหังการว่าเป็นเราได้หรือ ในเมื่อขันธ์นั้นๆ ดับไปแล้ว ?
-อ. ไม่ได้ พระเจ้าข้า
พ. เพราะเหตุนั้นแหละ จึงไม่ควรเห็นว่าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้วอัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาเลยก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่าอัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา
[๖๔] พ. คราวใดเล่า ภิกษุไม่เล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา….. ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก ย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตน ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่าทิฐิว่าเบื้องหน้าแต่ตายสัตว์ยังมีอยู่…..สัตว์มีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้
กะภิกษุผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้ การกล่าวของบุคคลนั้นไม่สมควร ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
-พ. ชื่อ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ บัญญัติ ทางแห่งบัญญัติ การแต่งตั้ง ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญา วัฏฏะยังเป็นไปอยู่ตราบใด วัฏฏสงสารยังคงหมุนเวียนอยู่ตราบนั้น
เพราะรู้ยิ่งวัฏฏสงสารนั้นภิกษุจึงหลุดพ้น
ข้อที่มีทิฐิว่าใครๆ ย่อมไม่รู้ย่อมไม่เห็นภิกษุผู้หลุดพ้นเพราะรู้ยิ่งวัฏฏสงสารนั้น นั้นไม่สมควร
[๖๕] พ. ดูกรอานนท์ วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ เหล่านี้ วิญญาณฐิติ ๗ เป็นไฉน ?
( วิญญาณฐิติ = ภูมิเป็นที่ตั้งของวิญญาณ )
-พ. ๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์, เทพ, วินิบาตบางพวก
๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่องในชั้นพรหมผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔
๓.สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสร ( เทพมีรัศมีเกิดเพราะเจริญทุติยฌาน )
๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพชั้นสุภกิณหะ ( พวกเทพ
ผู้เปี่ยมกระจายไปด้วยความงาม เกิดขึ้นด้วยอำนาจตติยฌาน )
๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ ( ฌานกำหนดอากาศคือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์, ภพของผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน )
๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ( ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ )
๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ( ฌานกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์, ภพของ
ผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌาน )
ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ ( อสัญญีสัตว์ สัตว์จำพวกไม่มีสัญญาไม่เสวยเวทนา ) และเนวสัญญานาสัญญายตนะ ( ภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เป็นชื่ออรูปฌาน
หรืออรูปภพที่ ๔ )
พ. ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติ ( ทั้ง ๗ ประการนั้น ) รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษ และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติเขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ?
-อ. ไม่ควร พระเจ้าข้า
พ. ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง ๒ นั้นเล่า ผู้ที่รู้ชัดอสัญญีสัตตายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษ และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไป เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินอีกหรือ ?
-อ. ไม่ควร พระเจ้าข้า
พ. เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับ ทั้งคุณและโทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ เหล่านี้ตามเป็นจริงแล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้เพราะไม่ยึดมั่น
ภิกษุนี้เราเรียกว่าปัญญาวิมุตติ
( ปัญญาวิมุตติ = "ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา" หมายถึง พระอรหันต์ผู้สำเร็จด้วยบำเพ็ญวิปัสสนาโดยมิได้
อรูปสมาบัติมาก่อน )

.....................................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


...ใน internet ไม่พบอรรถกถา เรื่องนี้
อ่านก็พอเข้าใจ แต่ยังไม่ ลึกซึ้ง
ขอท่าน ผู้รู้ ทั้งหลาย ช่วย ขยายความ ด้วย...

โดยเฉพาะตอนท้าย ว่า เวทนา ไม่ใช่ตัวตน หรือ ไม่ หรือ อย่างใด..
ไม่กระจ่าง..เข้าใจ ถึง เวทนาแล้ว ก็ติด แล้ว ไม่ เข้าใจ แล้ว...

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2009, 22:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
...ใน internet ไม่พบอรรถกถา เรื่องนี้
อ่านก็พอเข้าใจ แต่ยังไม่ ลึกซึ้ง
ขอท่าน ผู้รู้ ทั้งหลาย ช่วย ขยายความ ด้วย...

โดยเฉพาะตอนท้าย ว่า เวทนา ไม่ใช่ตัวตน หรือ ไม่ หรือ อย่างใด..
ไม่กระจ่าง..เข้าใจ ถึง เวทนาแล้ว ก็ติด แล้ว ไม่ เข้าใจ แล้ว...


สวัสดีครับ :b8:

ตอนอ่านลองใช้คำว่า ตัวตนแทนคำว่า อัตตา ในประโยคทุกคำที่มีคำว่าอัตตาอยู่ ...อาจเข้าใจมากขึ้นนะครับ

อัตตาแปลว่าตัวตน

โดยปกติแล้วกล่าวได้ว่าโดยสภาวะธรรมชาติของปุถุชนอันมีมาแต่การเกิดย่อมยึดมั่นในขันธ์ 5 อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดว่าเป็นอัตตา หรือตัวตน หรือเป็นของตัวของตนอย่างแท้จริง
หรือยึดว่าอัตตา(ตัวตนของตน)ไปเนื่องด้วยขันธ์ 5 โดยอาการอย่างหนึ่ง

ทั้งนี้เพราะอวิชชานั่นเอง

ทั้งๆที่ชีวิตหรือขันธ์ทั้ง 5 หรือขันธ์กองใดกองหนึ่งก็ตามล้วนเป็นสังขารหรืออนัตตา เกิดแต่เหตุปัจจัยมาประกอบกัน

แต่ถูกมายาจิตหลอกลวงเอาว่าขันธ์ 5 หรือชีวิตร่างกายนี้หรือส่วนใดส่วนหนึ่งเช่น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอัตตา เป็นตัวเป็นตน เป็นของตัวของตน

เมื่อเราโยนิโสมนสิการแล้วจะพบว่า

ชีวิตเกิดแต่เหตุปัจจัยคือขันธ์ทั้ง 5 นี้มารวมกัน
และขันธ์แต่ละขันธ์ก็เกิดแต่เหตุปัจจัยเช่นเดียวกัน


ยกตัวอย่างเวทนาขันธ์


เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ทำหน้าที่เสวยอารมณ์ เวทนาก็เกิดจากเหตุปัจจัยคือ ผัสสะ
เวทนาจึงไม่ใช่อัตตา


ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสเสมอว่า...........

อริยสาวกย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง


เพราะถ้าเวทนาเป็นอัตตาย่อมบังคับเวทนาว่าขอเวทนาจงเป็นสุขเถิดอย่าเป็นทุกข์เลย

แต่ย่อมไม่ได้เพราะเวทนาเกิดจากเหตุปัจจัย เป็นสังขาร จึงเป็นอนัตตา
จึงอิงหรือขึ้นกับเหตุปัจจัยมาประชุมกันเช่นอายตนะ สัญญา ไม่ได้อิงกับอัตตาหรืออิงกับตัวตนบังคับโดยตรง เพราะเมื่อขาดเหตุปัจจัยเหล่านี้เสีย......เวทนาย่อมไม่เกิด


ขันธ์ทั้ง 5 จึงต่างล้วนเป็นไปดังนี้

ตัวกู ของกู

ตัวกู ยังไม่ใช่ของกู แล้วสิ่งทั้งหลายทั้งปวงจะเป็นของกู หรือดังใจกูได้อย่างไร

ตัวกูยังสักว่าเหตุปัจจัยของธาตุ 4 แม้ชีวิตกูยังสักว่าเหตุปัจจัยของขันธ์ 5

ถ้าตัวกู เป็นของกูแล้วไซร้ จะต้องบังคับได้ตามใจปราถนา

ไม่ใช่การควบคุมได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ดังเช่นสังขารทั้งปวง
ต้องเป็นไปดังใจ ไม่อาพาธเจ็บป่วยแก่ตาย

แต่เพราะตัวกู ไม่ใช่ของกูอย่างแท้จริง

จึงควบคุมไม่ได้ ดั่งใจปราถนา

ล้วนเป็นไปหรืออิงเหตุปัจจัย

:b48: :b48: :b48: :b48: :b11: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 51 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร