วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 02:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 21:10
โพสต์: 66


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกท่านมากๆที่ได้ช่วยตอบกระทู้ผมมาตลอด

ผมศึกษาธรรมไปๆ มาๆ....แล้วรู้สึกสงสัยว่าเราศึกษาไปทำไม....

ผมสังเกตุว่าคนมาสนใจธรรมะนั้นส่วนใหญ่เป็นคนมีทุกข์ ผิดหวัง จึงเข้ามาศึกษากันเพื่อหาทางออกจากทุกข์ ผมก็มานั่งคิดดูว่า เราเกิดมาเป็นเด็กก็มีความสุขดี สนุกสนานเล่นกับเพื่อน โตมาเรียนหนังสือ เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง มีแฟนน่ารัก เที่ยวทะเล ต่างประเทศ สวีทหวานเจี๊ยบ แล้วก็แต่งงานกัน มีลูกน่ารักน่าเอ็นดู มีงานทำ มีรถขับ มีขัดใจกันบ้างก็เพื่อเพิ่มรสชาติชีวิต ไม่เห็นมีทุกข์อะไรที่ต้องเครียดมากมาย

ศึกษาธรรมปฎิบัติไป ..... เที่ยวกลางคืนก็ไม่ได้ สังสรรกินเหล้าก็ไม่ดี ไม่พูดเพ้อเจ้อ มีแฟนหลายคนก็บาป อันนี้ก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ละวางให้หมด เพื่อจะไปนิพพาน (ไม่เกิด)

ว้า.....ผมว่าเลือกเกิดต่อดีกว่านะ มันมีความสุขกว่าตั้งเยอะ แม้จะทุกข์บ้างก็เพื่อรสชาติของชีวิต
เป็นยาชูกำลังให้เราแกร่งขึ้น.....แล้วเราปฏิบัติธรรมเพื่ออะไรเนี่ย....ทุกท่านละปฎิบัติธรรมทำไมกัน

ชอบตอบผมหน่อย ถ้าทำไปเพื่อละวางหมดไม่มีอะไรเป็นของเราเลย จะทำไปทำไมครับ....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เราเกิดมาชาติหน้านี่ จะได้เป็นคนอีกรึเปล่าก็ไม่รู้ เกิดมาในโลกนี้มีแต่ทุกข์ทั้งนั้น ยิ่งเกิดมาพิการ ยากจน ยิ่งเห็นทุกข์ชัดเจนขึ้น จะเกิดน่ะไม่ยาก แต่ให้เลิกเกิดนี่สิยากกว่าหลายเท่า

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเดาว่าประสบการณ์ในชีวิตท่านอาจจะน้อยเกินไป
เช่นว่ายังอายุไม่มาก ยังไม่ผ่านความทุกข์ความสุขมามากพอ อาจจะต้องใช้เวลาอีกพอสมควร


เรื่องความทุกข์คืออะไรเราไม่ต้องพูดก็ได้ เราท่านทราบดี
แต่เรื่องความสุข ถ้าพิจารณาให้ดี ไม่ใช่ความสุขจริงๆนะครับ มันคือความทุกข์

ตอนความสุขมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ... มันไม่เป้นไรหรอกครับ ยิ่งสุขยิ่งดี
แต่ตอนที่ความสุขมันดับไป อันนี้แหละความทุกข์
ทุกครั้งที่เราคิดว่าเราได้ความสุขมา ความทุกข์มันแถมมาด้วย แต่เราไม่เห็นเอง


ยิ่งสุขเอาไว้มาก พอตอนทุกข์มาเยือน ทุกข์สุดๆ
เช่นเรารักใครมากๆ เวลารักกันอยู่มันก็สบายดี แต่พอเขาตายหนีจาก
เจ็บปวดอะไรในโลกก็ไม่เท่าตอนนี้
ตอนนี้แหละ เราจะเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า
ไม่ว่าเราจะพยามรักษาสถานะตัวและใจตัวเองให้หมกมุ่นอยู่แต่ในความสุขเท่าไรๆ
ในที่สุดเราก็ต้องทุกข์อยู่ดี และยิ่งสุขมากยิ่งทุกข์มาก
ลองดูกระทู้เก่านี้นะครับ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18137

------------------------------------

ส่วนเรื่องการปฏิบัติธรรม
หลวงพ่อชยสาโรท่านเปรียบเทียบเอาไว้ได้ใจมากๆ
ปฏิบัติธรรมก็เหมือนถ่ายอุจจาระน่ะครับ จะว่าเสียอะไรไปไหม ก็ไม่เสียอะไร
ถามว่าได้อะไรไหม กลับได้แฮะ คือร่างกายได้ประโยชน์จากการขับของเสีย
ไม่เสียอะไร แต่ได้อะไรบางอย่าง

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18147


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ปฎิบัติธรรมไปทำไมกัน ถ้าต้องละวางทั้งหมด สุขจริงหรือ.....


ขออนุญาตจูงมือเข้าส้วมอีกทีนะครับ (เอ๊ะ ยังไง)

การขับถ่ายนี้ มองว่าสุขก็ได้

เพราะได้กำจัดของเสียออกไป ทำให้มีความสุข
ลองไม่ถ่ายดูสัก 5 วันจะพบว่านรกมีจริง


แต่การขับถ่าย จะมองว่าทุกข์ก็ได้

เพราะต้องทำทุกวัน เป็นภาระ จะไปไหนมาไหนก็ต้องคอยระวัง วุ่นวายเรื่องนี้ทั้งชาติ
เรียกว่า ถ้าไม่ต้องมีการกิน ไม่ต้องขับถ่ายได้ คงจะดี
อิ่มทิพย์ดีจะตายไป

ถ้ายังต้องกินอาหารอยู่ การขับถ่ายก้เป้นประโยชน์
รวมความแล้วการขับถ่ายเป้นประโยชน์
จะใช้คำว่าการขับถ่ายเป้นความสุข ... มันก็แทม่งๆ
จะใช้คำว่าการขับถ่ายเป้นความทุกข์ ... มันก็แทม่งๆ

คงใช้คำว่า สุขเหนือสุข .... น่าจะได้
นิพพานัง ปรมัง สุขัง
"นิพพาน เป็นบรมสุข"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b43: ในขั้นโลกียะ

ศึกษา และปฏิบัติธรรมไป
เพื่อให้รู้เท่าทันกับทั้งสิ่งที่เราคิดว่ามันเป็นสภาวะทั้งสุข และทุกข์

เพื่อให้อยู่กับสุข โดยไม่ติดสุข
เพื่อให้อยู่กับทุกข์ โดยไม่ทุกข์ไปกับมันด้วย
เพื่อให้อยู่กับทั้งสุขและทุกข์อย่างปล่อยวาง ไม่ยึดติด
เพราะทั้งสุขและทุกข์ก็ไม่อะไรจีรัง


และเมื่อปล่อยวางไม่ยึดติดได้
ความทุกข์ก็คลี่คลายลงไปได้เป็นระยะๆ


:b43: ในขั้นโลกุตตระ

เพื่อให้เกิดปัญญาญาณจนสามารถประหารกิเลสให้สิ้นไปอย่างเด็ดขาด
โดยไม่กลับเข้ามาสู่จิตใจอีก
...น่ะค่ะ :b12:

:b43: :b43: :b43:

“สติระลึกรู้อะไร ?” : พระครูเกษมธรรมทัต (เขมรํสี ภิกขุ)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13357


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


หล่อ ลูกแม่อ้วน เขียน:
ขอบคุณทุกท่านมากๆที่ได้ช่วยตอบกระทู้ผมมาตลอด

ผมศึกษาธรรมไปๆ มาๆ....แล้วรู้สึกสงสัยว่าเราศึกษาไปทำไม....

ตอบ.....
แล้วคุณสงสัยว่าศึกษาไปทำอะไรหรือขอรับ ถ้าไม่ศึกษาธรรมะ เพื่อให้เกิด ความรู้ ความเข้าใจ ในหลักธรรม เพื่อขัดเกลากิเลส และเพื่อพัฒนาสมอง และจิตใจ


หล่อ ลูกแม่อ้วน เขียนว่า.....
ผมสังเกตุว่าคนมาสนใจธรรมะนั้นส่วนใหญ่เป็นคนมีทุกข์ ผิดหวัง จึงเข้ามาศึกษากันเพื่อหาทางออกจากทุกข์ ผมก็มานั่งคิดดูว่า เราเกิดมาเป็นเด็กก็มีความสุขดี สนุกสนานเล่นกับเพื่อน โตมาเรียนหนังสือ เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง มีแฟนน่ารัก เที่ยวทะเล ต่างประเทศ สวีทหวานเจี๊ยบ แล้วก็แต่งงานกัน มีลูกน่ารักน่าเอ็นดู มีงานทำ มีรถขับ มีขัดใจกันบ้างก็เพื่อเพิ่มรสชาติชีวิต ไม่เห็นมีทุกข์อะไรที่ต้องเครียดมากมาย

ตอบ...
คุณสังเกต และเข้าใจเอาเองแล้วขอรับ เพราะคำที่คุณกล่าวมาว่า "คนที่สนใจธรรมะนั้น ส่วนใหญ่ เป็นคนมีทุกข์" คุณคงหมายถึง "บุคคล ที่มีความลำบากกาย ลำบากใจ" แต่ในทางที่เป็นหลักศาสนานั้น คำว่าทุกข์ "หมายถึง ความโลภ ความโกรธ ความหลง" ซึ่ง มนุษย์ทุกคนล้วนมีเหมือนกันทุกคน(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) ทุกคน แม้จะมีความสุขสบายทั้งทางกาย และใจ ซึ่ง ความเข้าใจของคุณคงคิดว่า เป็นความสุข หรือบางคน อาจไม่มีความสบายทางกาย และไม่สบายทางใจ ก็ล้วนเข้ามาศึกษา หรือปฏิบัติตามหลักธรรม ในศาสนากันอยู่ ทุกคนอยู่แล้ว ทั้งนี้ เกิดจากการได้รับการขัดเกลาทางสังคม ในด้านต่างๆ ซึ่งคุณคงไม่รู้



หล่อ ลูกแม่อ้วน เขียนว่า.......
ศึกษาธรรมปฎิบัติไป ..... เที่ยวกลางคืนก็ไม่ได้ สังสรรกินเหล้าก็ไม่ดี ไม่พูดเพ้อเจ้อ มีแฟนหลายคนก็บาป อันนี้ก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ละวางให้หมด เพื่อจะไปนิพพาน (ไม่เกิด)

ว้า.....ผมว่าเลือกเกิดต่อดีกว่านะ มันมีความสุขกว่าตั้งเยอะ แม้จะทุกข์บ้างก็เพื่อรสชาติของชีวิต
เป็นยาชูกำลังให้เราแกร่งขึ้น.....แล้วเราปฏิบัติธรรมเพื่ออะไรเนี่ย....ทุกท่านละปฎิบัติธรรมทำไมกัน

ชอบตอบผมหน่อย ถ้าทำไปเพื่อละวางหมดไม่มีอะไรเป็นของเราเลย จะทำไปทำไมครับ....


ตอบ...
ใครเป็นคนบอกคุณ ใครเป็นคนสอนคุณว่า ถ้าศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม ไปแล้ว เที่ยวกลางคืนไม่ได้ หรือ ดื่มเหล้าไม่ได้ หรือทำอะไร อะไรอย่างมนุษย๋คนอื่นๆไม่ได้ ใครสอนคุณหรือขอรับ
หรือว่าคุณคิดเอาเอง
ใครสอนคุณครับว่า พุทธศาสนา สอนให้ละวาง ทุกสิ่งทุกอย่าง
ใครก็ตามที่สอนคุณแบบนั้น บอกได้คำเดียวว่า "ประสาท" ไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง อวดอุตริ (คำว่าอวดอุตริ นี้ มีความหมายว่า อวดนอกทาง นอกคอก นอกรีต) คือเขาสอนให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ดันไปสอนให้เป็นผู้หมักหม่ม ด้วยความเศร้าหมอง กลายเป็นพวกสัตว์ที่เอาลำตัวเดินขวางแผ่นดิน ไม่สนโลก หลงคิดว่า ตัวพวกมันมีธรรมะ แต่แท้จริงแล้ว มีแต่กิเลส (ขออภัยต่อทุกท่าน ข้าพเจ้าเขียนตรงๆ ไม่มีเจตนาว่าร้ายให้กับผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบนะขอรับ)
เอาแค่นี้นะขอรับ ใช้สมองสติปัญญาพิจารณาเอาบ้างเถอะขอรับว่า "พุทธศาสนาที่แท้จริงนึั้น เขาสอนอย่างไร" แม้คุณจะศึกษา จากพระไตรปิฎก ก็ให้คิดพิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริง หรือหลักธรรมชาติ ก็จะสามารถพบความลับในการเรียน การสอนธรรมะ รวมถึงการปฏิบัติ คิดพิจารณาให้ดี เถิดขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 21:10
โพสต์: 66


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากๆทุกท่านครับ ได้อ่าน link ที่โยงมาให้แล้วดีมากครับและตัวอย่างต่างๆจะพยายามเข้าใจ

คือผมเคยเสียคุณยายที่รักมากไปเพราะโรคชรา แต่ก็มองว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนก็ต้องตาย
ก็ไม่ได้เสียใจอะไรมาก

การมีกิเลสอยากมีบ้านใหญ่ๆโตๆ ดูแล้วมันทำให้เราขยันทำงานมากขึ้นไม่ขี้เกลียด กิเลสก็มีข้อดีนะ
การผิดหวัง เช่นสอบเลื่อนขั้นไม่ได้ ก็รู้สึกว่ามันทำให้เรารู้ข้อบกพร่อง หันมาปรับปรุงตัวเช่นกัน ก็ดีอีก

ส่วนเรื่องการละวางทุกอย่างแม้แต่ร่างกายและใจนี้ไม่ใช่เรานั้น ผมได้อ่านได้ยินมามากครับ ไม่ได้คิดเอาเอง แต่ที่คิดเองคือว่าถ้าปฏิบัติถึงที่สุดต้องวางทุกอย่าง แล้ว ไปสู่ภาวะนิพพาน ที่เราไม่รู้ว่าเป็นอย่างไรก็ลังเลอยู่....งั้นเราขอแค่ทำบุญ ทำทาน ไม่ทำชั่วเพื่อชาติหน้าจะได้เกิดมาดียิ่งขึ้นอีก

ขอบคุณอีกครั้ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 22:30
โพสต์: 61


 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: :b6: :b6:

ปฏิบัติธรรมทำไม? :b32: :b32: :b13:


หลักธรรม ของพระพุทธเจ้า ไม่ได้บังคับใครให้ต้องทำหรือปฎิบัติตาม แต่ตีแผ่ให้คนได้รู้และทดลอง
ปฏิบัติดูว่าจริงและมีประโยชน์หรือไม่

ถ้ารู้แล้ว จะยังปฏิบัติตามหรือไม่ ก็ไม่มีใครบังคับ
:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2009, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


หล่อ ลูกแม่อ้วน เขียน:
ขอบคุณทุกท่านมากๆที่ได้ช่วยตอบกระทู้ผมมาตลอด

ผมศึกษาธรรมไปๆ มาๆ....แล้วรู้สึกสงสัยว่าเราศึกษาไปทำไม....

ผมสังเกตุว่าคนมาสนใจธรรมะนั้นส่วนใหญ่เป็นคนมีทุกข์ ผิดหวัง จึงเข้ามาศึกษากันเพื่อหาทางออกจากทุกข์

ความจริงแล้วคนทุกคนมีความทุกข์ครับ แต่ไม่ทุกคนที่เห็น
อ้างคำพูด:
ผมก็มานั่งคิดดูว่า เราเกิดมาเป็นเด็กก็มีความสุขดี สนุกสนานเล่นกับเพื่อน

แต่ว่ามันก็ต้องโต ความสุขนั้นก็อยู่ไม่ได้ แต่ตอนเป็นเด็กเราก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นความสุขด้วยซ้ำไป เรารู้สึกว่าสิ่งเหล่านั้นมันเป็นความสุขต่อเมื่อมันจากเราไปแล้วต่างหาก เรียกคืนกลับมาไม่ได้อีกแล้ว เรารู้สึกเสียดายมัน เราเลยจดจำมันไว้ว่านี่แหละคือความสุขของวัยเด็ก
อ้างคำพูด:
โตมาเรียนหนังสือ เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง มีแฟนน่ารัก เที่ยวทะเล ต่างประเทศ สวีทหวานเจี๊ยบ แล้วก็แต่งงานกัน มีลูกน่ารักน่าเอ็นดู มีงานทำ มีรถขับ

กระผมว่าก็เหมือนวัยเด็กนั่นแหละ ตอนที่เสพอยู่เราก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นความสุขหรอก
อ้างคำพูด:
มีขัดใจกันบ้างก็เพื่อเพิ่มรสชาติชีวิต ไม่เห็นมีทุกข์อะไรที่ต้องเครียดมากมาย

สงสัยครับว่า....มีชีวิตคู่แล้วเจตนาที่จะมีเรื่องขัดใจกันเพื่อเพิ่มรสชาติชีวิตจริงๆรึป่าวครับ หรือเป็นการพูดปลอบใจตัวเอง :b10:
อ้างคำพูด:
ศึกษาธรรมปฎิบัติไป ..... เที่ยวกลางคืนก็ไม่ได้ สังสรรกินเหล้าก็ไม่ดี ไม่พูดเพ้อเจ้อ มีแฟนหลายคนก็บาป

เที่ยวกลางคืนก็ย่อมได้ถ้าต้องการไปเพราะปฏิบัติธรรมไม่ได้ติดคุก กินเหล้าก็ย่อมได้เพราะปฏิบัติธรรมไม่ได้ทำให้กลืนอะไรไม่ลง อยากจะมีแฟนหลายคนถ้าไม่กลัวเรื่องวุ่นวายก็ไม่มีใครห้ามท่านได้หรอกส่วนบาปนั้นอยู่ที่ใจท่านเองจะรู้เองว่าบาปหรือไม่
อ้างคำพูด:
อันนี้ก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ละวางให้หมด เพื่อจะไปนิพพาน (ไม่เกิด)

ก็ไม่ใช่ทุกคนที่ปฏิบัติจะเป็นแบบนี้
อ้างคำพูด:
ว้า.....ผมว่าเลือกเกิดต่อดีกว่านะ มันมีความสุขกว่าตั้งเยอะ แม้จะทุกข์บ้างก็เพื่อรสชาติของชีวิต
เป็นยาชูกำลังให้เราแกร่งขึ้น.....แล้วเราปฏิบัติธรรมเพื่ออะไรเนี่ย....ทุกท่านละปฎิบัติธรรมทำไมกัน

ปฏฺบัติเพื่อความสบายครับ

อ้างคำพูด:
ชอบตอบผมหน่อย ถ้าทำไปเพื่อละวางหมดไม่มีอะไรเป็นของเราเลย จะทำไปทำไมครับ....

ก็ทำเพื่อเราจะได้ไม่ต้องมีภาระอะไรอีกไงครับ การที่มีอะไรเป็นของเรา สำหรับกระผมแล้วอะไรที่เป็นของเราเราก็ต้องรักษา ถ้าไม่มีอะไรเป็นของเรา ก็ไม่ต้องคอยรักษาอะไร ก็หมดภาระ ก็สบายไงครับ

.....อย่าไปตั้งคำถามมากครับ ลองศึกษาและพิจารณาคำสอนด้วยเหตุผล เพราะการตั้งคำถามในสิ่งที่มันไม่สามารถพิสูจน์ได้ในทางวัตถุนั้นไม่มีใครตอบให้ท่านเชื่อได้...นอกจากตัวท่านเองจะพิสูจน์เอง

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2009, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(คำสอนทางพุทธศาสนามีหลายระดับให้ชาวพุทธเลือกรับนับถือให้เหมาะแก่เพศแก่วัยของตนๆ
พิจารณาข้อความต่อไปนี้ อาจเข้าใจพุทธธรรมกว้างขึ้น)


มรรคในฐานะมรรคาสู่จุดหมายขั้นต่างๆ ของชีวิต


“ผู้ปรารถนาโภคสมบัติ อันโอฬาร ยิ่งๆ ขึ้นไป พึงมีความไม่ประมาท บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทในบุญกิริยาทั้งหลาย บัณฑิตไม่ประมาทจึงยึดเอาได้ซึ่งอรรถทั้ง ๒ ประการ คือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ และ สัมปรายิกัตถะ คนที่เรียกว่าเป็นปราชญ์ เป็นบัณฑิต ก็เพราะการบรรลุอรรถะ”
(อัปปมาทสูตร สํ.ส. 15/381-5/126-130 ฯลฯ)


อรรถ หรือ อัตถะ แปลว่า เรื่องราว ความหมาย ความมุ่งหมาย ประโยชน์ ผลที่หมาย หรือ จุดหมาย

ในที่นี้แปลเอาความว่า ประโยชน์ที่เป็นจุดหมาย หรือ จุดหมายของชีวิต หมายถึงจุดหมายของพรหมจรรย์ หรือ จริยธรรม หรือ ระบบการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติธรรมของพระพุทธศาสนานั่นเอง
เป็นที่รู้กันว่า จุดหมายสูงสุดของของพระพุทธศาสนา หรือ พรหมจริยะนี้ ก็ คือ นิพพานซึ่งมีชื่อเรียกอย่างหนึ่งว่า ปรมัตถ์ หรือ ปรมัตถะ แปลว่า ประโยชน์อย่างยิ่ง หรือ จุดหมายสูงสุด
เป็นธรรมดาว่าในการสอนธรรม จะต้องเน้นและเร่งเร้าให้ปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุด

อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนามิได้มองข้ามประโยชน์หรือจุดหมายขั้นรองลดหลั่นกันลงมา
ที่มนุษย์จะพึงได้พึงถึงตามระดับความพร้อมของตน และก็ได้จำแนกจัดวางเป็นหลักไว้ด้วย
ดังจะเห็นได้จากพระบาลีที่แสดงข้างต้นนี้

ในชั้นเดิม เท่าที่สอบค้นดูพอจะกล่าวได้ว่า ท่านจัดแบบ อรรถะ หรือ จุดหมายนี้ไว้เป็น ๒ ระดับเหมือนอย่างในบาลีที่ยกมาอ้างนั้น กล่าวคือ

๑. ประโยชน์ขั้นต้น เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะ แปลว่า ประโยชน์ปัจจุบัน หรือ ประโยชน์บัดนี้
๒. ประโยชน์ขั้นลึกล้ำ เรียกว่า สัมปรายิกัตถะ แปลว่า ประโยชน์เบื้องหน้า หรือ เบื้องสูง

ในกรณีเช่นนี้ ปรมัตถะ หรือ ประโยชน์สูงสุดก็รวมอยู่ด้วยในข้อที่ ๒ คือ สัมปรายิกัตถะ คือ เป็นส่วนสุดยอดของประโยชน์ขั้นที่ ๒ นั้น
แต่ในขั้นหลังท่านคงประสงค์จะเน้นปรมัตถะให้เด่นชัดเป็นพิเศษ จึงแยกออกมาเป็นอีกข้อหนึ่งต่างหาก
และจัดประโยชน์หรือจุดหมายนั้นออกเป็น ๓ ชั้น - (ขุ.จู. 30/673/333 ฯลฯ)

ดังความหมายโดยสรุป ดังนี้

๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์บัดนี้ ประโยชน์ชีวิตนี้หรือประโยชน์ปัจจุบัน เป็นจุดขั้นต้น หรือ จุดหมายเฉพาะหน้า หมายถึงประโยชน์อย่างหนึ่งที่มองเห็นๆกันอยู่ ที่เข้าใจกันง่ายๆ เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องชั้นนอก หรือ เรื่องธรรมดาสามัญที่มุ่งหมายกันในโลกนี้ ได้แก่ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ หรือทรัพย์สิน ฐานะ เกียรติ ไมตรี ชีวิตคู่ครองที่เป็นสุขเป็นต้น รวมถึงการแสวงหาสิ่งเหล่านี้โดยทางชอบธรรม การปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้โดยทางที่ถูกต้อง การใช้สิ่งเหล่านี้ทำตนและคนที่เกี่ยวข้องในมีความสุข ปฏิบัติหน้าที่ต่อกันอย่างถูกต้องในระหว่างมนุษย์เพื่อความสุขร่วมกัน

๒. สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์เบื้องหน้า หรือ ประโยชน์ที่ลึกล้ำยิ่งกว่าที่จะมองเห็นกันเฉพาะหน้า หรือ ผิวเผินในภายนอก เกี่ยวด้วยชีวิตด้านใน หรือ ประโยชน์ด้านคุณค่าของชีวิต เป็นจุดหมายขั้นสูงขึ้นไป เป็นหลักประกันชีวิตละโลกนี้ไป หรือ เป็นเครื่องประกันการได้คุณค่าที่สูงล้ำเลิศยิ่งกว่าสิ่งที่จะพึงได้กันตามปกติในโลกนี้ ได้แก่ ความเจริญงอกงามแห่งชีวิตจิตใจ ที่ก้าวหน้าเติบใหญ่ขึ้นด้วยคุณธรรม ความใฝ่ใจในทางศีลธรรม ในเรื่องบุญเรื่องกุศลในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม กิจกรรมที่อาศัยศรัทธาและความเสียสละ การมีความมั่นใจในคุณธรรม มีความสงบสุขทางจิตใจ การรู้จักปีติสุขที่ประณีตด้านในตลอดจนคุณวิเศษที่เป็นผลสำเร็จทางจิต คือ ฌานสมาบัติ (เดิมรวมถึงการตรัสรู้ที่เป็นปรมัตถ์ด้วย) เป็นขั้นที่ผ่อนคลายความยึดติดผูกพันในวัตถุ ทำให้ไม่ยอมตีค่าผลประโยชน์ด้านอามิสสูงเกินไปจนจะต้องมุ่งไขว่คว้ายอมสยบให้ หรือ เป็นเหตุต้องกระทำกรรมชั่วร้าย หันมาให้คุณค่าแก่คุณธรรมความดีงาม รู้จักทำการด้วยความใฝ่ธรรม รักความดีงาม รักคุณภาพของชีวิตและคามเจริญงอกงามของจิตใจ

๓. ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่งยวดยิ่ง หรือ ประโยชน์ที่เป็นสาระแท้จริงของชีวิต เป็นจุดหมายสูงสุด หรือ ที่หมายขั้นสุดท้าย ได้แก่ การรู้แจ้งสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้เท่าทันคติธรรมดาของสังขารธรรม ไม่ตกเป็นทาสของโลกและชีวิต มีจิตใจเป็นอิสระโปร่งโล่งผ่องใส ไม่ถูกบีบคั้นคับข้องจำกัดด้วยยึดติดถือมั่นหวั่นหวาดของตนเอง ปราศจากกิเลสเผาลนที่ทำให้เศร้าหมองขุ่นมัว อยู่อย่างไร้ทุกข์ ประจักษ์แจ้งความสุขประณีตภายในที่สะอาดบริสุทธิ์สิ้นเชิงอันประกอบพร้อมด้วยความสบงเยือกเย็นสว่างไสวเบิกบานโดยสมบูรณ์ เรียกว่าวิมุตติ และนิพพาน


พระพุทธเจ้าทรงยอมรับความสำคัญของประโยชน์หรือจุดหมายเหล่านี้ทุกระดับ โดยสัมพันธ์กับระดับความเป็น
อยู่ การครองชีพ สภาพแวดล้อม และความพร้อม หรือ ความแก่กล้าสุกงอมแห่งอินทรีย์ของบุคคลนั้นๆ
อย่างไรก็ดี พึงสังเกตว่า ในพุทธพจน์ที่ยกมาอ้างข้างต้นนั้น มีข้อที่ทรงเน้นไว้ซึ่งควรจะกล่าวสำทับว่า ตามคติของพระพุทธศาสนา บุคคลทุกคนควรดำเนินชีวิตให้บรรลุจุดหมายอย่างน้อยถึงขั้นที่ ๒ กล่าวคือ
เมื่อได้บรรลุทิฏฐธัมมิกัตถะแล้ว ก็ดีอยู่ แต่ยังไม่เพียงพอ ไม่พึงหยุดอยู่แค่นั้น ควรก้าวต่อไปให้ได้อย่างน้อยบางส่วนของสัมปรายิกัตถะด้วย ผู้ได้ประสบจุดหมายหรือประโยชน์ถึงสองขั้นนี้แล้ว ท่านยกย่องให้ว่าเป็นบัณฑิต แปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เป็นผู้มีชีวิตไม่ว่างเปล่าไร้ค่าในโลกนี้


ในด้านวิธีปฏิบัติ หรือ ดำเนินชีวิตเพื่อเข้าถึงจุดหมายขั้นต่างๆเหล่านี้ พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงสั่งสอนไว้ครบถ้วนทุกระดับ เช่น บางแห่งตรัสหลักธรรมที่เป็นไปเพื่อได้ทิฏฐธัมมิกัตถะ ๔ ประการ คือ

ความขยันหมั่นเพียร รู้จักใช้ปัญญาจัดดำเนินกิจการ เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา

รู้จักเก็บรักษาทรัพย์สินและผลแห่งกิจการงานให้รอดพ้นอันตรายไม่เสื่อมเสีย เรียกว่า
อารักขสัมปทา

รู้จักเสวนาคบหาคนดีที่เกื้อกูลแก่การงานความดีงามและความก้าวหน้าของชีวิต เรียกว่า
กัลยาณมิตตตา

รู้จักเลี้ยงชีวิตแต่พอดีให้มีความสุขได้โดยไม่สุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือย สามารถประหยัดทรัพย์ไว้ให้เพิ่มพูนขึ้นได้
เรียกว่า สมชิวิตา
และ
ตรัสหลักธรรมที่เป็นไปเพื่อได้สัมปรายิกัตถะ ๔ ประการ คือ

มีความเชื่อ ประกอบด้วยเหตุผล ถูกหลักพระศาสนาซาบซึ้งในคุณพระรัตนตรัย มีสิ่งดีงามเป็นหลักยึดเหนี่ยว
จิตใจ เรียกว่า ศรัทธาสัมปทา

ถึงพร้อมด้วยศีล มีความประพฤติดีงามเลี้ยงชีพโดยทางสุจริต มีระเบียบวินัยสมควรแก่ภาวะแห่งการดำเนินชีวิตของตน เรียกว่า ศีลสัมปทา

ประกอบด้วยความเสียสละ รู้จักเผื่อแผ่แบ่งปัน พร้อมที่จะช่วยเหลือคนที่ควรได้รับการช่วยเหลือ เรียกว่า
จาคสัมปทา

ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา รู้จักคิดรู้จักพิจารณา ใช้วิจารญาณ รู้เท่าทันโลกและชีวิต สามารถทำจิตใจให้เป็น
อิสระได้ตามโอกาส เรียกว่า ปัญญาสัมปทา
(องฺ.อฏฺฐก. 23/144/289,292)


ส่วนปรมัตถะนั้น เนื่องจากเป็นจุดหมายสูงสุด และ ยากที่สุดทั้งโดยการที่จะเข้าใจและการที่จะปฏิบัติ อีกทั้งเป็นส่วนที่เป็นความแตกต่าง หรือ ข้อพิเศษของพุทธศาสนาที่แปลกออกไปจากลัทธิคำสอนเท่าที่
มีอยู่ก่อน จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่พระพุทธเจ้าจะทรงสอนเน้นหนัก ดังปรากฏคำสอนเพื่อประโยชน์ข้อนี้
กระจายอยู่ทั่วไปในพระไตรปิฎก


สำหรับประโยชน์ ๒ ขั้นต้น เขาก็มีสอนกันอยู่เรื่อยมา เป็นของมีแพร่หลายอยู่ เฉพาะอย่างยิ่ง ประโยชน์ขั้นที่ ๑ เขาย่อมสอนกันอยู่เป็นธรรมดาแม้ในหมู่ชาวบ้านทั้งหลาย โดยสอดคล้องกับถิ่นฐาน
และกาลสมัย
คำสอนใดได้ผลดี และไม่ชักให้เคลื่อนเขวออกจากมัชฌิมาปฏิปทา ชาวพุทธก็ย่อมรับเอามาปฏิบัติได้ทันที ไม่มีข้อใดจะขัดข้อง และ ชาวพุทธชาวบ้านเอง ก็ย่อมสามารถที่จะเสริมแต่งปรับปรุงเพิ่มขยายข้อปฏิบัติระดับนี้ให้ได้ผลดีเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมยิ่งขึ้น เรื่อยๆไป

ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2009, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 23:00
โพสต์: 48

ที่อยู่: บางแค

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้ ล่อเป้าเหมือนกันนะเนี้ย ฮุๆ

อือ...ตอนที่ผมเริ่มปฏิบัติธรรมก็ไม่ได้มีเรื่องอะไรทุกข์ใจหนักหนา บังเอิญ หรืออะไรหลายๆอย่าง อยู่ดีๆตบปากรับคำไปว่าจะไปปฏิบัติ พอปฏิบัติอยู่ในที่สงบๆแล้ว ออกจากสถานที่นั้นเข้าสู่ตัวเมือง วุ่นวายหนอ แอบอุทานเล็กๆ อยากอยู่ที่สงบๆประมาณนั้นอะครับ

ผมยอมรับว่าถ้าอยู่ที่วัด หรือสถานปฏิบัติธรรมมันสงบกว่าโลกภายนอกเยอะ ทำให้อยากอยู่ที่นั้น แต่...ถ้าอยู่กับโลกภายนอกได้ โดยที่ สภาวะจิตใจ เหมือนอยู่ในวัด หรือที่ปฏิบัติธรรม อันนั้นเป็นสุดยอดกว่า อยู่กับกิเลสเน้นๆ โดยที่ ไม่เกาะติดกิเลส กิจกรรมต่างๆที่เคยทำในปัจจุบัน ก็ทำเหมือนเดิม แต่มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา แค่นั้นเอง... ปฏิบัติง่ายนิดเดียว.. ละได้ก็ดี ละไม่ได้ก็ไว้ก่อน รู้ตัว ไว้ก็ดีแล้ว สติหายไว้ว่ากันสติมาก็ดีไป อย่าไปบังคับอะไร ทำไปเรื่อยๆ ตามสติกำลัง หมั่นเจริญสติไปเรื่อยๆ

มีครูอาจารย์ที่สอนที่อยู่ระหว่างคอร์สอบรบจิตประมาณว่า

ตอนที่เราเดินจงกรม นั่งสมาธิ ฟังคำสอน(เทศน์) --------> ห้องเรียน
ตอนที่ออกจากจงกรม สมาธิ --------> สอบย่อย
ตอนที่ออกจากสถานที่ปฏิบัติแล้วใช้ชีวิตประจำวัน --------> สอบจริง


เป็นคนพุทธอย่างน้อย ชาติหน้าไม่ตกสู่อบายภูมิ นั้นก็เรียกได้ว่าศึกษาและปฏิบัติได้ระดับนึงแล้ว

ถ้าจะกล่าวว่าปฏิบัติแล้วดีตรงไหน แค่นี้ก็สุขอยู่แล้วอยู่ทางนั้นดีกว่า อธิบายลำบากเหมือนกันครับ ถ้าลองได้ปฏิบัติเองไปสักพักก็จะรู้เอง

เจริญในธรรมครับ

.....................................................
คำที่ข้าพเจ้าได้กล่าวอ้างมาทั้งหมดนี้ ส่วนมากเป็นของครูบาอาจารย์ ผู้เขียนหนังสือต่างๆ พ่อแม่ ญาติ ผู้มีคุณและเพื่อนๆของข้าพเจ้า สิ่งที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปนั้น ถ้าผิดพลาดอย่างไรก็ขอความกรุณาชี้แนะด้วย และบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้แจกจ่ายธรรมทานนั้นขอให้ผลบุญนั้นส่งถึง บุคคลที่ได้กล่าวมา ขอให้ท่านทั้งหลายมีความสุข ข้าพเจ้าขอถวายเป็นพุทธบูชา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2009, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:09
โพสต์: 112


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อิทัปปัจจยตา
เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น
เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ

:b4: ปฏิบัติต่อไปเถอะ...ทางช้างเผือกมีจริงครับ
:b8: เจริญในธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 81 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร