วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 01:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:27
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38: ถ้าจะใ้ช้วิธีเดินกำหนดลมหายใจเข้า โดยก้าวเดินปกติตามธรรมชาติจะได้ไหมคะ เพิ่มเริ่มปฏิบัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


การกำหนดลมหายใจเป็นอุบายเพื่อให้เกิดสมาธิที่มีกำลังมากพอที่จะยังสติให้ติดต่อกัน ทำให้สบายๆครับ มีข้อแม้มากก็คิดมาก ระวังมาก ยึดถือมาก แต่ก็อย่าเอาแต่สบายนะครับเพราะสบายมากมันจะเพลิน แล้วมันหลงครับ

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เคยได้ยินท่านผู้รู้บอกมา ว่า สามารถทำได้เช่นกันครับ เพียงแต่ใช้อิริยาบถเดินแทนการนั่ง


แต่ ปกติ ในอานาปานสติสูตร จะแสดงให้ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น กำหนดลมหายใจเข้าออกเฉพาะหน้า คือ เหมือนจะเน้นที่ท่านั่ง

Quote Tipitaka:
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า




อานาปานสติ มีอานิสงส์ คือ กายไม่หวั่นไหว จิตไม่หวั่นไหว
คือ อานาปานสติช่วยเรื่อง การได้พักร่างกาย สายตา ระบบประสาท... อานาปานสติ เอาไว้พักผ่อนให้ร่างกายสดชื่นขึ้นได้ด้วยน่ะครับ

Quote Tipitaka:
1. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร
(การอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน)
2. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ญาณทัสสนะ
3. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ
4. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย”

องฺ. จตุก.ก. 21/41/53; ..


ข้อ1 นั่น ละครับ
ท่านพุทธทาส ก็เคยกล่าวตรงนี้ไว้เหมือนกัน




เดินจงกรม(เจริญสมาธิในการเดิน)มีอานิสงส์อีกแบบหนึ่ง คือ ร่างกายแข็งแรง(เพราะ ได้เคลื่อนไหว เลือดลมเดินสะดวก) และ สมาธิที่ได้ทรงตัวอยู่ได้นาน
ที่ผมทำ จะเน้นที่การทำความรู้สึกตัวในการเคลื่อนของร่างกาย(ไม่ได้กำหนดลม เวลาเดินจงกรมครับ) ดูไปเรื่อยๆ สบายๆ ไม่ต้องตั้งใจมากไป แต่ก็ไม่ปล่อยสติ

ต่างอิริยาบถ ก็มีข้อดีของแต่ละอิริยาบถ

ควรจะทำทั้งสองอย่างครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าสนใจ อานาปานสติ ลองอ่าน


จาก viewtopic.php?f=1&t=19998

(หัวข้อ ที่8)


8. การใช้อานาปานสติสมาธิภาวนา
สนับสนุนการเจริญสติปัฏฐาน


อานาปานสติกรรมฐาน นั้น ปรากฏอยู่ในหมวดกายานุปัสสนาของมหาสติปัฏฐานสูตร และ มีปรากฏรายละเอียดมากกว่านั้น ในอานาปานสติสูตร.

มีพระพุทธพจน์ แสดงถึง ถึงความสัมพันธ์ของ อานาปานสติ สติปัฏฐานสี่ โพชฌงค์เจ็ด วิชชา-วิมุติ

"ดูก่อนอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง คือ อานาปานสติสมาธิ (สมาธิ ซึ่งมีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์) อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน(การตั้งสติ)๔ อย่างให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำให้โพชฌงค์ (องค์ประกอบแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้) ๗ อย่างให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชา (ความรู้) วิมุติ (ความหลุดพ้น) ให้บริบูรณ์."
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๗

“...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด ยังเป็นเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) ยังมิได้บรรลุอรหัตตผล เมื่อปรารถนาธรรมอันยอดเยี่ยม อันปลอดโปร่งจากโยคะ (เครื่องผูกมัด) อยู่ สมาธิที่มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดาน)."
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๓


ท่านพุทธทาสภิกขุ
ได้กล่าวถึง อานาปานสติไว้ว่า

“ ขอให้ ฆราวาสทั่วไป ได้มีโอกาส ทำสมาธิ ชนิดที่อาจทำ ประโยชน์ทั้ง ทางกาย และทางใจ สมความต้องการ ในขั้นต้น เสียชั้นหนึ่งก่อน เพื่อจะได้เป็นผู้ชื่อว่า มีศีล สมาธิ ปัญญา ครบสามประการ หรือ มีความเป็น ผู้ประกอบตนอยู่ใน มรรคมีองค์แปดประการ ได้ครบถ้วน

แม้ในขั้นต้น ก็ยังดีกว่า ไม่มีเป็นไหนๆ
กายจะระงับ ลงไปกว่า ที่เป็นอยู่ ตามปรกติ ก็ด้วยการฝึกสมาธิ สูงขึ้นไป ตามลำดับๆ เท่านั้น

และจะได้พบ สิ่งที่มนุษย์ ควรจะได้พบ อีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ไม่เสียที ที่เกิดมา.


หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ท่านได้มีโอวาทธรรม แด่ หลวงปู่ หล้า เขมปัตโต เกี่ยวกับอานาปานสติ ดังนี้

“กรรมฐานสี่สิบห้องเป็นน้องอานาปานสติ อานาปานสติเป็นยอดมงกุฎของกรรมฐานทั้งหลาย"

และมีบทความแสดง การใช้เอกัคคตาจิตมาช่วยสนับสนุนการเจริญปัญญา
มีปรากฏ ในหนังสือ ปฏิปัตติวิภัชน์ แจกในงานถวายเพลิงศพของ หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต เมื่อ ๓๑ มกราคม ๒๔๙๓ ดังนี้

”....การพิจารณานั้น ไม่ใช่ให้นึกหรือคิด

คือ มีสติสงบใจให้เป็นอารมณ์เดียวแล้ว จึงสังเกตดูว่า อย่างนี้ธาตุดิน อย่างนี้ธาตุน้ำ อย่างนี้ธาตุไฟ อย่างนี้ธาตุลม อย่างนี้ธาตุอากาศ อย่างนี้วิญญาณธาตุ แล้วสังเกตดูความเกิดขึ้นของธาตุ ๖ และความดับไปของธาตุ ๖ ให้เห็นชัดตามความเป็นจริงอย่างไร
ไม่ใช่ให้นึกหรือคิด ...เพราะ ความคิดนั้น ปิดความเห็น
เพราะฉะนั้นจึงต้องสงบใจ ไม่ให้มีนึกมีคิด

วิธีพิจารณานั้น ท่านคงเข้าใจว่าใช้ความนึกคิด...
เพราะใจที่ยังไม่สงบนั้น การปฏิบัติจึงใช้นึก ใช้คิด ก็เป็นชั้นสัญญา ไม่ใช่ชั้นปัญญา

เพราะปัญญานั้นไม่ใช่คิดหรือนึกเอา เป็นความเห็นที่เกิดขึ้นต่อจากจิตที่สงบแล้ว และพ้นจากเจตนาด้วย....”


นอกเหนือจาก อานาปานสติสมาธิภาวนาแล้ว
การเจริญสมาธิแบบอื่นๆ ก็สามารถใช้เป็นกุศโลบายสนับสนุนการเจริญสติปัฏฐานได้เช่นกัน.
ดังปรากฏ ในคำสอนของ หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต ที่มีแด่ หลวงปู่ แหวน สุจิณโณ ดังนี้

"......การแนะนำให้ศิษย์ปฏิบัติภาวนานั้น
หลวงปู่มั่นท่านย้ำอยู่เสมอว่า จะใช้"พุทโธ"เป็นบทบริกรรมสำหรับผูกจิตก็ได้

เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้วให้วางบทบริกรรมเสีย..... แล้วพิจารณาร่างกาย

ครั้งแรกให้พิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่เราสามารถจะเพ่งพิจารณาได้อย่างสะดวกในอาการ๓๒ เมื่อพิจารณาจนเกิดความชัดเจน กลับไป-กลับมา หรือที่เรียกว่าอนุโลม-ปฏิโลมแล้ว
เมื่อหายสงสัยในจุดที่พิจารณานั้นแล้ว จึงค่อยเปลี่ยนเป็นจุดอื่นต่อไป.อย่าพิจารณาเป็นวงกว้างทั้งร่างกาย ความชัดเจนจะไม่ปรากฏ....ต้องค่อยเป็นค่อยไป.....
เมื่อพิจารณาจนเกิดความชำนาญแล้ว เมื่อเราเพ่งปัญญาลงไปจุดใดจุดหนึ่ง ความชัดเจนจากจุดอื่นๆก็จะปรากฏเป็นนัยเดียวกัน.....
เมื่อพิจารณาพอสมควรแล้ว ให้น้อมจิตเข้าพักอยู่ในความสงบ....เมื่อพักอยู่ในความสงบพอสมควรแล้วให้ย้อนกลับออกมาพิจารณาร่างกายอีก
ให้เจริญอยู่อย่างนี้ จึงจะเจริญทางด้านปฏิบัติ....

เมื่อจิตมีความชำนาญเพียงพอแล้ว......... คำบริกรรม"พุทโธ"ก็ไม่จำเป็น เพียงกำหนดจิตก็จะสงบเข้าสู่สมาธิทันที....."


หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
ท่านเคยแสดงธรรม ในการใช้ประโยชน์จากสมาธิภาวนามาสนับสนุนการเจริญมรรคด้านปัญญา ไว้เช่นกัน ดังมีเนื้อความ ดังนี้
(จาก หนังสือ จิตพระอรหันต์ หน้า 22)

"...นั่นจึงเรียก สติปัญญาอัตโนมัติ คือ หมุนไปเอง ความเพียรเป็นไปเอง
ต้องได้รั้งเอาไว้ ไม่อย่างนั้นจะเลยเถิด
คำว่า"รั้ง"คือ การย้อนจิตเข้าสู่ความสงบ คือ สมาธิ เพื่อพักผ่อนอารมณ์ที่ตึงเครียดกับงาน
การทำงาน ถึงจะมีผลของงานปรากฏก็ตาม แต่ทำไม่หยุด ก็ตายได้
ๆลๆ
......เราก็พักเสียในขณะนั้น เพื่อเป็นกำลังหนุนปัญญา ให้คล่องตัว และ เฉียบขาดในการพิจารณา เช่นเดียวกับมีดที่ได้ลับหินแล้วย่อมคมกล้า ตัดฟันอะไรขาดได้รวดเร็วทันใจ ปัญญาที่ได้รับการหนุนจากสมาธิย่อมทำงานคล่องตัว..."


แต่ทั้งนี้ ก็หาใช่ว่า ถ้าไม่เจริญอานาปนสติแล้ว
จะไม่สามารถเจริญสติปัฏฐานหมวดอื่นๆได้ผล.


ด้วยปรากฏว่า ในสมัยพุทธกาลก็มีพระสาวกที่บรรลุธรรมด้วยการฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์เพียงครั้งเดียว โดยไม่ได้เคยฝึกเจริญอานาปนสติมาก่อนเลยก็มี. และ มีพระสาวกหลายองค์ที่บรรลุธรรมด้วยกรรมฐานอื่นๆ แม้นแต่สามารถบรรลุธรรมด้วยการพิจารณาไตรลักษณ์โดยตรงแล้วบังเกิดเอกัคคตาจิตตามมาภายหลัง(เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า) ก็มี. ลักษณะเช่นนี้ น่าจะเป็นจากจริตนิสัย พื้นฐาน ที่แตกต่างกันไป ในแต่ล่ะบุคคล.

ท่านผู้รู้ ท่านเคยกล่าวเปรียบเทียบ เรื่องการเจริญสมาธิภาวนาไว้ว่า เหมือนกับ ต้นไม้.

บางพันธ์ชอบน้ำมาก(เจริญสมาธิภาวนามากแล้ว เจริญสติปัฏฐานได้ดีขึ้น)
บางพันธ์ชอบน้ำปานกลาง(เจริญสมาธิภาวนาพอสมควรแล้ว เจริญสติปัฏฐานได้ดีขึ้น)
บางพันธ์ไม่ชอบน้ำมาก รดน้ำมากเฉาตายไปเลย(เจริญสมาธิภาวนามาก แต่กลับทำให้เจริญสติปัฏฐานได้ไม่ดี)


ประเด็นนี้ ถ้าเราไม่ใช้ตัวเรา หรือ แนวทางของเรา เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ...แต่ เปิดใจมองให้กว้างๆ ว่าหมู่สัตว์มีจริตนิสัยที่แตกต่างกันไป มีพื้นฐานปัจจัยที่แตกต่างกันไป ก็จะเข้าใจจุดนี้ได้ง่ายขึ้น

ข้อพึงระลึก ในการเจริฯสมาธิภาวนา

ในขณะที่สมาธิภาวนาสามารถใช้ประโยชน์สนับสนุนการเจริญปัญญาได้นั้น. ก็ มีข้อที่พึงระลึกไว้ว่า ไม่ควรหลงกับผลด้านอื่นๆที่อาจเกิดจากโลกียฌาน เช่น การหยั่งรู้ที่เหนือระบบประสาทปกติ หรือ เพียงไปติดตันยินดีในความสุขสงบที่เกิดจากสมาธิภาวนา จนละเลยการนำสมาธิภาวนานั้นๆมาใช้ประโยชน์สนับสนุนการเจริญมรรคด้านปัญญา.


ดัง ปรากฏโอวาทคำสอนของ หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต
ที่มีแด่ หลวงตา มหาบัวญาณสัมปันโน ดังนี้

"ท่านจะนอนตายอยู่ในสมาธิอยู่นั้นเหรอ สุขในสมาธิเปรียบเหมือนเนื้อติดฟัน ติดในสมาธิเหมือนเนื้อติดฟัน มันสุขมากหรืออย่างไรเนิ้อติดฟัน สมาธิทั้งแท่งคือสมุทัยทั้งแท่ง มันไม่ใช่สมาธิตาย นอนตายอยู่กับสมาธิอย่างนี้หรอก

สมาธิของพระพุทธเจ้า สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา

อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่ สมาธิแบบนอนตายอยู่อย่างนี้นะเหรอจะเป็นสมาธิของพระพุทธเจ้า"



หลวงปู่ หล้า เขมปัตโต
ท่านก็ เคยกล่าวเตือนไม่ให้ผู้เจริญสมาธิภาวนาติดตันยินดีในธรรมอันละเอียดนั้นๆ

“....กรรมะฐานทั้งหลายก็ดี สมาธิก็ดี ฌานก็ดี สมาบัติใด ๆ ก็ดี อยู่ใต้อนิจจังอันละเอียดทั้งนั้นแหละ
เพราะว่า หมดกำลังก็ถอนออกมา
จะอยู่ยั้งยืนยงคงที่ยอมเป็นไปไม่ได้เลย ๆ…”





เมื่อกล่าวถึงว่า สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร... ก็ต้องกล่าวถึงว่า มิจฉาสมาธิ เป็นอย่างไรด้วย.

มิจฉาสมาธิ เป็นอย่างไร?

จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

”มิจฉาสมาธิ ตั้งจิตผิด ได้แก่ ตั้งจิตเพ่งเล็ง จดจ่อปักใจแน่วแน่ในกามราคะ พยาบาท เป็นต้น หรือ เจริญสมาธิแล้ว หลงเพลิน ติดหมกมุ่น ตลอดจนนำไปใช้ผิดทาง ไม่เป็นไปเพื่อ ญาณทัสสนะ และ ความหลุดพ้น — wrong concentration ”

ท่านเจ้าคุณๆ ท่านประมวลไว้ว่า มิจฉาสมาธินอกจากจะนับในส่วนที่เป็นอกุศล คือ "ตั้งจิตเพ่งเล็ง จดจ่อปักใจแน่วแน่ในกามราคะ พยาบาท"แล้ว มิจฉาสมาธิยังนับในส่วนของ "เจริญสมาธิแล้ว หลงเพลิน ติดหมกมุ่น ตลอดจนนำไปใช้ผิดทาง ไม่เป็นไปเพื่อญาณทัสสนะ และความหลุดพ้น"

ดังนั้น สมาธิ ที่ติดตันอยู่เพียงแค่ ความสุขสงบจากสมาธิ ถึงแม้นจะจัดเป็นกุศลก็จริง แต่หากไม่นำไปสู่การเดินมรรคด้านปัญญา ก็ จัดเป็นมิจฉาสมาธิ เช่นกัน….ที่ ท่านผู้รู้มักเรียกว่า “สมาธิหัวตอ”



อนึ่ง คำว่า สมถะ ที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆนั้น ครอบคลุมความหมาย อยู่สองอย่างหลักๆ คือ
1.สมาธิที่ใช้สนับสนุนการเจริญปัญญา คือ ถึงแม้นจะยังไม่อาจจัดว่าเป็น สัมมาสมาธิ(ตามคำจำกัดความแห่งสัมมาสมาธิ)เต็มขั้นได้ แต่ก็ไม่ปิดกั้นการเกิดปัญญา.สมาธิในลักษณะนี้ เป็นสมาธิที่บ่ายหน้ามาถูกทิศทางแล้ว แต่ยังไม่ถึงเป้าหมาย คือ ยังไม่มีสัมมาสติมาสนับสนุนอย่างบริบูรณ์ นั้นเอง
2.สัมมาสมาธิ หรือ สมาธิสัมโพชฌงค์ หรือ สมาธินทรีย์ หรือ โลกุตรฌาน ....ซึ่งเป็นองค์แห่งอริยมรรคโดยตรง


คำว่า สมาธิ จึงอาจจะแบ่งคร่าวๆเป็น3อย่าง คือ
1.มิจฉาสมาธิ
2.สมาธิที่ใช้สนับสนุนการเจริญปัญญา(ที่ยังไม่ใช่สัมมาสมาธิ แต่ก็ไม่ปิดกั้นการเกิดปัญญา)
3.สัมมาสมาธิ


"โลกียฌาน"ใดๆ โดยตัวของมันเอง อาจจะเป็น มิจฉาสมาธิ ก็ได้ หรือ เป็นสมาธิที่ใช้สนับสนุนการเจริญปัญญา(ที่แม้นอาจจะยังไม่ใช่สัมมาสมาธิเต็มขั้น แต่ไม่ปิดกั้นการเกิดปัญญา)ก็ได้ ....
ขึ้นกับ ผู้ที่จะรู้จักใช้ประโยชน์ และ รู้จักขอบเขต จากสมาธินั้นๆ[/quote]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2009, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:27
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: ขอโทษนะคะที่ไม่ได้ตอบขอบคุณ ติดธุระค่ะ แต่ไม่ลืมปฏิบัตินะคะ
ดิฉันชอบวิธีการเดินค่ะ วันเสาร์อาทิตย์ดิฉันจะไปยังสถานปฏิบัติธรรม
หลังจากสวดมนต์ทำวัตรแล้ว ดิฉันจะเดินขึ้น-ลงเขา ขณะเดินดิฉันก็กำหนด
ลมหายใจไปด้วย ดิฉันคิดว่านอกจากจะได้ความสงบทางใจแล้ว ยังได้รับอากาศบริสุทธิ์
และได้ออกกำลังกายด้วย ดิฉันเดินวันละหลายกิโล เดินเพื่อทำสมาธิได้ไหมคะ
นอกจากเดินแล้วขณะนี้พยายามนั่งซึ่งก็นั่งได้นานกว่าเดิม
(ดิฉันนั่งพับเพียบค่ะนั่งไม่ทน) มีความสุขมากค่ะ :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2009, 11:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:27
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


จากการกระทำเบื้องต้นที่ี่ดิฉันทำนั้น อยากรู้ว่าสามารถอุทิศส่วนกุศลหรือแผ่เมตตา
ได้หรือเปล่าคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2009, 12:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำหรือปฏิบัติเป็นเรื่องๆเป็นอย่างๆไปครับ เดินก็เดิน เอาการเดินนั้นเป็นอารมณ์ หายใจเข้าออกก็เอาลมหายใจเข้า-ออกนั้นเป็นอารมณ์ แผ่เมตตาก็ยึดการแผ่เมตตาเป็นอารมณ์ ความคิดจะได้เป็นระเบียบไม่สับสน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร