วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 21:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2009, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีปีใหม่ขอรับทุกท่าน
ในปีฉลู ซึ่งก็คือ วัว นั่นแหละ ในทางศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ถือว่า เป็นพาหนะ แห่งพระศิวะ หรือพระอิศวร เป็นเทพสัตว์ ที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ศรัทธาในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู จึงไม่รับประทานเนื้อวัว ขอรับ
การรับประทาน อาหาร ถือว่าเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตของสรรพสิ่งที่มีชีวิต อาหาร ตามหลักพุทธศาสนา ถือเป็น ปัจจัย หนึ่งในจำนวน 4 อย่างคือ อาหาร,เครื่องนุ่งห่ม,ยารักษาโรค,ที่อยู่อาศัย
มนุษย์เรา เมื่อรับประทานอาหาร ก็จะได้รับหรือสัมผัสความรู้สึกจากอาหาร ทางกลิ่นบ้าง ,ทางรูปบ้าง, ทางลิ้นบ้าง ทำให้เกิดความอยากที่จะรับประทาน หรือต้องการที่จะรับประทานอาหาร ตามกลิ่น ตามรูป ตามรสชาติ ที่ตัวเองต้องการ หรือตัวเองชอบ หรือตามที่ตัวเองคิดว่าดี ว่าอร่อย
มนุษย์แต่ละบุคคล ย่อมมีความรู้สึกในรสชาติของอาหารที่แตกต่างจากกัน ในอาหารแบบเดียวกัน แต่ละบุคคลย่อมมีความชอบในรสชาติของอาหารที่แตกต่างจากกัน อันเกิดจากการได้รับการขัดเกลาทางสังคมของแต่ละบุคคล
ดังนั้น เมื่อมีอาหารอย่างหนึ่ง หรืออาหารแบบเดียวกัน ทำจากฝึมือพ่อครัวแม่ครัวคนเดียวกัน จานเดียวกัน มาให้หลายๆบุคคลร่วมกันรับประทาน บุคคลเหล่านั้น ย่อมจะได้รับรสชาติของอาหาร หรือมีความรู้สึกต่อรสชาติของอาหารที่แตกต่างจากกัน ตามความเคยชินที่พวกเขาเหล่านั้น เคยได้รับประทานมา แน่นอน แต่ละบุคคลย่อมบอกถึงรสชาติของอาหารที่พวกเขารับประทานในจานเดียวกันนั้น แตกต่างกันออกไป

ธรรมะ ไม่ใช่ อาหาร ธรรมะเป็นคำสอน ที่เป็นหลักความจริงตามธรรมชาติ เป็นหลักความจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ และเป็นหลักความจริงตามหลักวิชาการในด้านต่างๆ ครอบคลุมหลักวิชาการทุกสาขา
ดังนั้น ไม่ว่าบุคคลใดใด จะรับธรรมะ หรือได้อ่านธรรมะ หรือได้ศึกษา ทำความเข้าใจกับธรรมะทั้งหลาย ย่อมต้องไม่มีความแตกต่างจากกัน เพราะธรรมะเป็นหลักความจริงที่ทุกคน กระทำกันอยู่ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ธรรมะไม่ใช่อาหาร ที่ต่างคนต่างรับรู้ ต่างคนต่างเข้าใจ ไปในคนละแง่ละมุม เหมือนกับการรับประทานอาหาร ที่ต่างคนต่างจะบอกรสชาติแตกต่างกันไปในอาหารจานเดียวกันนั้น เพราะผู้ที่รู้ธรรมะ เข้าใจในธรรมะ ย่อมต้องมีความเข้าใจ มีความรู้ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน ปฏิบัติแบบเดียวกัน และย่อมไม่มีความแตกต่างจากกัน นั่นแหละคือธรรมะที่แท้จริง
ในที่นี้ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวถึงหลักการ หรือธรรมะ เพราะข้าพเจ้าเคยได้สอนไปหลายครั้งแล้ว และจะไม่ยกตัวอย่างให้ได้เห็นกัน เพราะต้องการให้ท่านทั้งหลาย รวมไปถึงเหล่าบุคคลที่ชอบอุตริ คิดทำ โดยการบิดเบือนหลักการ หลักธรรม และหลักปฏิบัติ ในทางศาสนาพุทธ จนกลายเป็นคล้ายลัทธิ ที่มีแต่ความหลงผิด เข้าใจผิด ไม่พิจารณาตามหลักความเป็นจริง ไม่คิดพิจารณาตามหลักธรรมชาติ (หลักวิทยาศาสตร์นั่นแหละนะ)
เพื่อเขาทั้งหลายเหล่านั้น ได้ทำความเข้าใจ ได้เปลี่ยนแปลงความคิด และได้รู้ว่า ธรรมะ ไม่ได้มีสถานะเหมือนกับอาหาร ดังที่ได้อรรถาธิบายไปแล้วข้างต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2009, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีปีใหม่ครับท่านBuddha :b8:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 03:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


Happy New Year :b8:

ธรรมมองไม่เห็น แต่สามารถให้กำเนิดสรรพสิ่งต่างๆ
ฟ้า หากไม่มีธรรม ดวงดาว ดวงจันทร์ ก็โคจรวุ่นวาย
ดิน หากไม่มีธรรม สรรพสิ่งต่างๆ ก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้
คน หากไม่มีธรรม ร่างกายของเราก็ไม่มีประโยชน์
ธรรมนี้อยู่ในร่างกาย จึงมีคุณค่ามากที่สุด :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


อมิตาพุทธ เขียน:
Happy New Year :b8:

ธรรมมองไม่เห็น แต่สามารถให้กำเนิดสรรพสิ่งต่างๆ
ฟ้า หากไม่มีธรรม ดวงดาว ดวงจันทร์ ก็โคจรวุ่นวาย
ดิน หากไม่มีธรรม สรรพสิ่งต่างๆ ก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้
คน หากไม่มีธรรม ร่างกายของเราก็ไม่มีประโยชน์
ธรรมนี้อยู่ในร่างกาย จึงมีคุณค่ามากที่สุด :b8:


เข้าใจผิดแล้วขอรับ ธรรมะ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่านะขอรับ
เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง คือ ธรรมะ นับตั้งแต่ร่างกายของเรา และอื่นๆที่มีรูป ฯ ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น หรือ บางสิ่งบางอย่าง อาจมองไม่เห็นรูป แต่ก็สามารถสัมผัสได้ด้วย อายตนะ เช่น ลมสัมผัสผิวกาย ไอของความร้อนสัมผัสผิวกาย อย่างนี้เป็นต้น
ธรรมะ มิได้เป็นตัวกำหนด ให้ดวงดาว ใดใด โคจร หรือเคลื่อนที่ไป
แต่ การเคลื่อนที่ หรือโคจร ของดวงดาวต่างๆ คือ ธรรมะ
สรรพสิ่งสามารถดำรงอยู่ได้ ด้วยการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน รวมแล้วเรียกว่า ระบบ นิเวศน์
แต่การดำรงชีวิตแห่งสรรพสิ่งนั้น ต้องอาศัยธรรมะ เป็นเครื่องช่วยทำให้การอยู่ร่วมกัน เป็นปกติสุข
ธรรมะ คือ ร่างกาย ร่างกาย ก็คือ ธรรมะ เพราะ ร่างกาย หรือ รูป และสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายในรูปของมนุษย์และอื่นๆนั้น เป็นต้นตอ ก่อให้เกิดธรรมะ และก่อให้เกิดทุกข์ ก่อให้เกิดการหลุดพ้นจากความทุกข์ ก่อให้เกิดความสุข ฯลฯ
จะกล่าวว่า "ไม่มีธรรม ร่างกายเราไม่มีประโยชน์" คงไม่ถูกต้อง เพราะ ร่างกายของเราคือ ธรรมะ ดังนั้น เมื่อมีร่างกาย หรือรูปอื่นใด แห่งสรรพสิ่งทั้งหลาย ก็ย่อมมีธรรมอยู่ด้วย
ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ฉะนี้

แต่ ธรรมะ ไม่ใช่อาหาร คือไม่ได้มีสถานะเป็นอาหาร ดังนั้น ธรรมะจึงต้องมีบรรทัดฐานเดียวกัน มีความหมายเดียวกัน มีการปฏิบัติ แบบเดียวกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ เพราะความไม่เข้าใจในธรรมะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2009, 02:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมมองไม่เห็น แต่สามารถให้กำเนิดสรรพสิ่งต่างๆ
ฟ้า หากไม่มีธรรม ดวงดาว ดวงจันทร์ ก็โคจรวุ่นวาย
ดิน หากไม่มีธรรม สรรพสิ่งต่างๆ ก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้
คน หากไม่มีธรรม ร่างกายของเราก็ไม่มีประโยชน์
ธรรมนี้อยู่ในร่างกาย จึงมีคุณค่ามากที่สุด

เป็นพระโอวาทของ พระอรหันต์จี้กง น่ะครับ ไปอ่านเจอในหนังสือมา :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2009, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


จี้กง แม้จะเป็นอรหันต์ และมีคนเข้าใจผิดคิดว่า เป็นอรห้นต์ขี้เมา ความจริงแล้ว เมื่อบรรลุโสดาบัน จี้กง ยังคงดื่มสุราอยู่ อันนี้ไม่กล่าวถึงเหตุผล แต่เมื่อบรรลุธรรมชั้นสูงกว่า โสดาบันแล้ว จี้กง ก็ไม่ได้ดื่มสุราอีก
ความจริงแล้วยังมีรายละเอียดเพิ่มเติมอีกมาก เกี่ยวกับโภชนาการ ของผู้ปฏิบัติธรรม เนื่องจากเป็นเรื่องปลีกย่อยจึงไม่อธิบายให้มากความ
จริงอยู่สิ่งที่คุณนำมา อาจจะเป็นคำกล่าวที่ถูกบันทึกไว้ แต่เป็นคำกล่าวที่ผิดหลักความจริง
ท่านทั้งหลายลองอ่าน และพิจารณาข้อแสดงความคิดเห็นของข้าพเจ้าอีกครั้ง
อนึ่ง อรหันต์จี้กง เป็นบุคคลใน นวนิยาย อิงพุทธศาสนา เกิดมาก่อน ตั๊กม้อ ด้วยซ้ำ ฯลฯ
ไม่เหมือนข้าพเจ้า เพราะปัจจุบันข้าพเจ้ายังอยู่ ขอรับ

อ่านข้อความด้านล่างแล้วพิจารณา ตามหลักความเป็นจริงขอรับ ถ้าสงสัย ไม่เข้าใจ ก็ถามได้ ข้าพเจ้ารู้ก็จะตอบให้ และรับรองว่า คำตอบของข้าพเจ้าสามารถพิสูจน์ได้ ว่ามีจริง เป็นจริง และเป็นไปตามหลักวิชาการด้านต่างที่มนุษย์มีอยู่

"เข้าใจผิดแล้วขอรับ ธรรมะ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่านะขอรับ
เพราะ ทุกสิ่งทุกอย่าง คือ ธรรมะ นับตั้งแต่ร่างกายของเรา และอื่นๆที่มีรูป ฯ ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น หรือ บางสิ่งบางอย่าง อาจมองไม่เห็นรูป แต่ก็สามารถสัมผัสได้ด้วย อายตนะ เช่น ลมสัมผัสผิวกาย ไอของความร้อนสัมผัสผิวกาย อย่างนี้เป็นต้น
ธรรมะ มิได้เป็นตัวกำหนด ให้ดวงดาว ใดใด โคจร หรือเคลื่อนที่ไป
แต่ การเคลื่อนที่ หรือโคจร ของดวงดาวต่างๆ คือ ธรรมะ
สรรพสิ่งสามารถดำรงอยู่ได้ ด้วยการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน รวมแล้วเรียกว่า ระบบ นิเวศน์
แต่การดำรงชีวิตแห่งสรรพสิ่งนั้น ต้องอาศัยธรรมะ เป็นเครื่องช่วยทำให้การอยู่ร่วมกัน เป็นปกติสุข
ธรรมะ คือ ร่างกาย ร่างกาย ก็คือ ธรรมะ เพราะ ร่างกาย หรือ รูป และสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายในรูปของมนุษย์และอื่นๆนั้น เป็นต้นตอ ก่อให้เกิดธรรมะ และก่อให้เกิดทุกข์ ก่อให้เกิดการหลุดพ้นจากความทุกข์ ก่อให้เกิดความสุข ฯลฯ
จะกล่าวว่า "ไม่มีธรรม ร่างกายเราไม่มีประโยชน์" คงไม่ถูกต้อง เพราะ ร่างกายของเราคือ ธรรมะ ดังนั้น เมื่อมีร่างกาย หรือรูปอื่นใด แห่งสรรพสิ่งทั้งหลาย ก็ย่อมมีธรรมอยู่ด้วย
ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ฉะนี้

แต่ ธรรมะ ไม่ใช่อาหาร คือไม่ได้มีสถานะเป็นอาหาร ดังนั้น ธรรมะจึงต้องมีบรรทัดฐานเดียวกัน มีความหมายเดียวกัน มีการปฏิบัติ แบบเดียวกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ เพราะความไม่เข้าใจในธรรมะไ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2009, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะไม่ใช่อาหาร แต่การกินอาหารคือธรรมะ.... :b12: :b12:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2009, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมมักจะเปรียบธรรมะ กับ การกินอาหารเสมอ

เรื่องของธรรมะ เป็นเรื่องที่รู้ได้เฉพาะตน
ที่ศัพท์เทคนิคเรียกว่า ปัตจัตตัง


ธรรมะมันเหมือนอาหารที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน
เวลาเราสงสัยว่าธรรมะที่พูดมันคืออะไร
เช่น โสดาบันเป็นยังไง อัปปนาสมาธิเป้นยังไง อรหันต์เป็นยังไง อะไรคือไตรลักษณ์
และท๊อฮิตที่สุด นิพพานคืออะไร

ธรรมะเหล่านี้มันก็เหมือนรสชาดของอาหารที่เรารู้แต่ชื่อ แต่ไม่เคยกิน
ลำพังถ้าอาหารนั้นมันมีขายให้เราได้ซื้อมากินง่ายๆ เราก็เข้าใจนิพพานกันหมดแล้ว

การการเข้าถึงธรรมะ จำเป้นจะต้องปฏิบัติ จนเกิดปฏิเวธ
อาหารก็ต้องกิน จึงรู้รส

ึคนที่พยามเข้าใจธรรมะด้วยการคิดแต่อย่างเดียว
ก็เหมือนคนที่พยามจะรู้รสชาดของอาหารด้วยการคิด
เปิดหนังสือ ดูทีวี ทำอะไรต่อมิอะไร เพื่อจะเข้าใจให้ได้ว่ารสชาดอาหารจานนั้นมันเป้นยังไง
ต่อให้เขาใช้คำพูดทั้งโลกนี้มาอธิบายรสชาดอาหาร มันก็ไม่เท่ากับตัวเขาลงมือกินอาหารจานนั้น

รสชาดทุกอย่างมันจะแผ่ซ่านอยู่ในระบบรับรส
และเราสามารถเข้าใจรสชาดนั้นโดยไม่ต้องพูดสักคำ

ดังนั้น คนที่ชิมอาหารจานนั้นแล้ว เขาจะไม่ต้องพูดอะไรกันมาก
ความรู้แบบที่เกิดจากประสบการณ์ตรงแบบนี้ เรียกว่าความรู้แบบปัตจัตตัง

และยิ่งรู้มากๆ จะยิ่งเข้าใจ
อย่างเช่น ต้มยำหม้อไหนมันก็ไม่เหมือนกันสักหม้อหนึ่ง แต่ต่อให้ปิดตาแล้วชิมดู จะรู้ว่านี่คือต้มยำ
เพราะเราเคยกินต้มยำมานักต่อนัก จนเรารู้ว่าจิตวิญญานต้มยำคืออะไร


ดังนั้น การพยามเข้าใจว่าต้มยำมีรสชาดอย่างไร ก้คือปริยัติ
การลงมือชิมต้มยำ หาต้มยำมาชิมให้ได้ ก้คือการปฏิบัติ
เมื่อชิมไปสักพักจะพบความหมายที่แท้จริงของต้มยำ ซึ่งคือปฏิเวธ
ไม่ว่าใคร จะปรุงต้มยำอย่างไร จะพลิกแพลงแค่ไหน
คนที่เขารู้จักต้มยำ เขาจะบอกได้ทันทีว่านี่คือต้มยำหรือไม่
ยังขาดอะไร อะไรเกินไป แยกแยะของจริงของปลอมออกจากกันได้หมด ไม่มีความสงสัย

ส่วนที่ท่าน budda ว่าการปรุงแต่งในใจคนนั้นมันไม่เท่ากัน ก็ถูกต้อง แต่นั่นคือสังขาร
คนสิบคนชิมหม้อเดียวกันย่อมชอบไม่ชอบต่างๆกันไป แต่นั่นมันคือสังขาร
ตัวปรมัตถ์ธรรมนั้นคือรสชาดอาหารนั้น

เราได้ชิมอาหารที่มีรสชาดแบบเดียวกัน เพราะหม้อเดียวกัน
ถ้าคนลิ้นด้านพิการกินก็จะไม่เห็นอะไร ลิ้นเด็กกินก็พองเป้นทุกข์ ลิ้นคนแก่กินก็ไม่ค่อยรู้รส
แต่จะกล่าวว่าพวกเขาได้รับรสชาดที่ต่างกันงั้นหรือ มิใช่หรอกครับ
แค่สิ่งที่ชิมเข้าไปในปาก มันเหมือนกันหมดทุกข์อย่าง แต่เพราะเข้าไปในใจแล้วมันปรุงไปต่างๆกัน

ู้เปรียบเทียบธรรมะด้วยอาหาร นับว่าเป้นตัวอย่างที่ดีมากๆอย่างหนึ่ง

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2009, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


การที่คุณผู้ใช้ชื่อว่า "คามินธรรม"กล่าวว่า มักเปรียบเทียบ ธรรมะ เป็น อาหาร เสมอ นั่นก็แสดงว่า คุณไม่ได้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของธรรมะอย่างแท้จริง คุณรู้แต่เปลือกของธรรมะ โดยที่ไม่เข้าใจว่า

[b]ธรรมะในศาสนา เมื่อสอนบุคคลใดก็ตาม บุคคลเหล่านั้น ย่อมได้รับรสชาติเดียวกัน มีความรู้ ความเข้าใจ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เหมือนกัน ไม่คิดแตกแยก ไม่ปฏิบัติ แตกแยก ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน[/b]

ธรรมะไม่ใช่เรื่องที่รู้ได้เฉพาะตน คุณผู้ใช้ชื่อว่า"คามินธรรม" กล่าวมา ข้าพเจ้าก็รู้แล้วว่า คุณไม่ได้เป็นผู้รู้อะไรเลย
ถ้าธรรมะเป็นเรื่องที่รู้ได้เฉพาะตน พระพุทธเจ้า คงไม่สามารถนำมาสอนให้ใครต่อใครได้รุ้ตามได้ดอกนะ

อนึ่ง สิ่งที่คุณกล่าวมา หรือยกตัวอย่างมา มันเป็นปลายเหตุ หรือจะกล่าวว่าเป็นผล แห่งการปฏิบัติธรรมะ ไม่ใช่ต้นเหตุ
ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า "ธรรมะในพุทธศาสนา ไม่ใช่อาหาร"
เพราะบุคคลใดใดก็ตาม เมื่อรู้ เข้าใจ และปฏิบัติ ธรรมะ ย่อมต้องรู้ และเข้าใจเหมือนกัน ปฏิบัติ เหมือนกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างคิดต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างประดิษฐ์การปฏิบัติขึ้นมา ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงกาล
ธรรมะ เมื่อปฏิบัติ แล้ว ทุกคนที่รู้ ที่เข้าใจ ในหลักธรรมย่อมเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน คือ อย่างน้อย ก็ต้องบรรลุโสดาบันได้ เป็นอันดับแรก
การเข้าใจ และรู้ในหลักธรรมทั้งหลาย ต้องเกิดจากการคิด พิจารณา ตามที่มีประสบการณ์ ตามความรุ้ ตามหลักความเป็นจริง ตามหลักธรรมชาติ(หลักวิทยาศาสตร์นั่นแหละ)
ถ้าคุณผู้ใช้ชื่อว่า"คามินธรรม" รู้ไม่จริง รู้ไม่แจ้ง แล้วไม่โอ้อวด น่าจะมีคุณค่ากว่า การที่คุณ เอาอะไรมาเขียน กลับไปอ่านกระทู้นี้ให้ดี พิจารณาให้ดี ย่อมทำให้สภาพสภาวะจิตใจ ความคิด ของคุณเจริญในธรรมยิ่งยิ่งขึ้นไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2009, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จ้า คุณ budda
:b13: :b13: :b13:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2009, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิง :::ท่านผู้ใช้นาม Buddha

"ธรรมะไม่ใช่เรื่องที่รู้ได้เฉพาะตน คุณผู้ใช้ชื่อว่า"คามินธรรม" กล่าวมา ข้าพเจ้าก็รู้แล้วว่า คุณไม่ได้เป็นผู้รู้อะไรเลย ถ้าธรรมะเป็นเรื่องที่รู้ได้เฉพาะตน พระพุทธเจ้า คงไม่สามารถนำมาสอนให้ใครต่อใครได้รุ้ตามได้ดอกนะ"

:::::::

หากจริงดังท่านว่า บทสวดธรรมคุณข้อนี้ก็ไม่ถูก ไม่น่ามี
บทสวดพระธรรมคุณ ท่านว่าไว้ดังนี้ :-

๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ หมายถึง อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ผลอันเกิดจากการปฏิบัติธรรมนั้น ทุกคนที่น้อมนำมาปฏิบัติ
จะรู้ซึ้งถึงผลแห่งพระธรรมนั้นด้วยตนเอง ทำให้กันไม่ได้
เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ในใจของตนเอง


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7686

====

จิตนี้เมื่อเราฝึกหัดอบรมเต็มที่ ด้วยการเอาสติเข้าไปควบคุมให้อยู่ใน พุทโธ เป็นอันเดียวแล้ว จะไม่ส่งส่ายไปในที่ต่างๆ แล้วจะรวมเข้ามาเป็นหนึ่ง และคำบริกรรมนั้นก็จะหายไปโดยไม่รู้ตัว จะมีความสงบเยือกเย็นเป็นสุขหาอะไรเสมอเหมือนไม่ได้

ผู้ไม่เคยได้ประสบ เมื่อประสบเข้าแล้วจะบรรยายอย่างไรก็ไม่ถูก เพราะความสงบสุขชนิดนี้ ซึ่งไม่มีคนใดในโลกนี้ได้ประสบมาก่อน ถึงเคยได้ประสบมาแล้วก็มิใช่อย่างเดียวกัน

ฉะนั้น จึงบรรยายไม่ถูก แต่อธิบายให้ตัวเองฟังได้
ถ้าจะอธิบายให้คนอื่นฟัง ก็จะต้องใช้อุปมาอุปมัยเปรียบเทียบจึงจะเข้าใจได้
ของพรรค์นี้มันเป็น ปัจจัตตัง ความรู้เฉพาะตน


หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง หนองคาย
http://www.thewayofdhamma.org/page2/moradok210_3.html

====

เหมือนกินข้าว "อิ่ม" ท่านผู้ใช้นามว่า Buddha ลองอธิบายคำว่า "อิ่ม" ให้คนอื่นเข้าใจหน่อยนะ

เจริญธรรม

:b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2009, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอรับท่าน :b10:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2009, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


มิตรตัวน้อย เขียน:
อ้างอิง :::ท่านผู้ใช้นาม Buddha

"ธรรมะไม่ใช่เรื่องที่รู้ได้เฉพาะตน คุณผู้ใช้ชื่อว่า"คามินธรรม" กล่าวมา ข้าพเจ้าก็รู้แล้วว่า คุณไม่ได้เป็นผู้รู้อะไรเลย ถ้าธรรมะเป็นเรื่องที่รู้ได้เฉพาะตน พระพุทธเจ้า คงไม่สามารถนำมาสอนให้ใครต่อใครได้รุ้ตามได้ดอกนะ"

:::::::

หากจริงดังท่านว่า บทสวดธรรมคุณข้อนี้ก็ไม่ถูก ไม่น่ามี
บทสวดพระธรรมคุณ ท่านว่าไว้ดังนี้ :-

๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ หมายถึง อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ผลอันเกิดจากการปฏิบัติธรรมนั้น ทุกคนที่น้อมนำมาปฏิบัติ
จะรู้ซึ้งถึงผลแห่งพระธรรมนั้นด้วยตนเอง ทำให้กันไม่ได้
เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ในใจของตนเอง


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7686

ตอบ....
คุณขอรับ คำว่า วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน นั้น หมายถึงรู้อะไรหรือขอรับ
คนละเรื่องกันแล้วขอรับ ข้าพเจ้าจะอธิบายให้คุณไว้ประดับสติปัญญาเอาไว้ว่า
คำที่คุณเขียนมานั้น เป็นเพียงคำเตือน ให้บุคคล อย่าประมาท มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ ก็แค่นั้น
ธรรมะอะไร ที่คุณรู้ได้เฉพาะตน คุณลองอธิบายมาซิขอรับ

====

ถาม......
จิตนี้เมื่อเราฝึกหัดอบรมเต็มที่ ด้วยการเอาสติเข้าไปควบคุมให้อยู่ใน พุทโธ เป็นอันเดียวแล้ว จะไม่ส่งส่ายไปในที่ต่างๆ แล้วจะรวมเข้ามาเป็นหนึ่ง และคำบริกรรมนั้นก็จะหายไปโดยไม่รู้ตัว จะมีความสงบเยือกเย็นเป็นสุขหาอะไรเสมอเหมือนไม่ได้

ผู้ไม่เคยได้ประสบ เมื่อประสบเข้าแล้วจะบรรยายอย่างไรก็ไม่ถูก เพราะความสงบสุขชนิดนี้ ซึ่งไม่มีคนใดในโลกนี้ได้ประสบมาก่อน ถึงเคยได้ประสบมาแล้วก็มิใช่อย่างเดียวกัน

ฉะนั้น จึงบรรยายไม่ถูก แต่อธิบายให้ตัวเองฟังได้
ถ้าจะอธิบายให้คนอื่นฟัง ก็จะต้องใช้อุปมาอุปมัยเปรียบเทียบจึงจะเข้าใจได้
ของพรรค์นี้มันเป็น ปัจจัตตัง ความรู้เฉพาะตน


หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง หนองคาย
http://www.thewayofdhamma.org/page2/moradok210_3.html

ตอบ.....
ข้าพเจ้าเองก็ใช้คำว่า พุทธโธ กำกับลมหายใจตามอาจารย์สอนมาเหมือนกัน นะคุณ แต่การใช้พุทธโธ กำกับลมหายใจนั้น ไม่ใช่ วิธีการที่ถูกต้อง อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหา หลายอย่างตามมา
อนึ่ง คุณเองก็ไม่ได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ จิต เกี่ยวกับสมาธิ อะไรหนักหนา เพียงแต่ได้เรียนรู้มาจากผู้อื่น ซึ่งคุณเองก็ไม่รู้ว่า สิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นสอนคุณมาถูกหรือผิด
ถ้าจะวิเคราะห์ตามที่คุณเขียนมาว่า"จิตนี้เมื่อเราฝึกหัดอบรมเต็มที่ ด้วยการเอาสติเข้าไปควบคุมให้อยู่ใน พุทโธ เป็นอันเดียวแล้ว จะไม่ส่งส่ายไปในที่ต่างๆ แล้วจะรวมเข้ามาเป็นหนึ่ง และคำบริกรรมนั้นก็จะหายไปโดยไม่รู้ตัว จะมีความสงบเยือกเย็นเป็นสุขหาอะไรเสมอเหมือนไม่ได้ "
ข้าพเจ้าก็รู้แล้วว่า คุณกำลังหลงผิด หลงเพ้อเจ้อ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงกาล

คุณขอรับ คุณอย่าหลงในสิ่งที่คุณคิดว่าคุณทำได้เลยขอรับ สิ่งที่คุณกล่าวมานั้น เป็นเพียงธรรมชาติอย่างหนึ่ง อันเกิดจากความคิดซึ่งเป็นความคิดที่เกี่ยวโยงกับการที่คุณคิดว่าคุณได้นั่งสมาธิดีแล้ว เขาเรียก สุข และ ปีติ ไม่ใช่ สมาธิ ดอกนะคุณ เป็นเพียงธรรมชาติของมนุษย์อย่างหนึ่ง อย่าหลงเข้าใจผิดคิดว่ารู้ได้เฉพาะตน
ถ้าคุณคิดว่าคุณรู้ได้เฉพาะตน คุณอธิบายมาได้อย่างไรกันละ
ถ้าสมมุติ มีคนเชื่อในสิ่งที่คุณเขียนมา เขาก็จะนำสิ่งที่คุณเล่ามา เป็นบรรทัดฐาน ฝึกให้ได้อย่างที่คุณเล่ามา ซึ่งแท้จริงแล้ว เป็นความหลอน ของความคิดของคุณ ไปพิจารณาให้ดีนะ

อีกประการหนึ่ง สิ่งที่คุณเล่ามา ก็ไม่ใช่ตัวธรรมะ แม้จะเกี่ยวกับการปฏิบัติ ตามธรรมะ เพราะธรรมะ คือ คำสอน หรือหลักการ อันจักนำให้บุคคลบรรลุสู่จุดหมาย ในทางศาสนา
ดังนั้น ธรรมะ จึงไม่ใช่สิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน เพราะคุณไม่มีทางรู้ได้เฉพาะตน ที่กล่าวว่าคุณไม่มีทางรู้ได้เฉพาะตน เพราะธรรมะที่มีอยู่ในตัวคุณหรือที่คุณรู้นั้น ถ้าคุณไม่ปฏิบัติ ก็ไม่มีความหมายอะไร เหมือนกับไม่มีธรรมะ เพียงแต่จำได้ นี้กล่าวในแง่ของปุถุชน ถ้ากล่าวในแง่ของ อริยะบุคคล ก็เช่นกัน ถ้าไม่ได้สัมผัส ไม่ได้กระทบกับสภาพแวดล้อมใดใด ก็ไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ธรรมะที่ตัวเองปฏิบัติอยู่ฝึกอยู่นั้น สามารถแสดงผลได้ หรือขจัดอาสวะได้หรือไม่ นั่นก็หมายความว่า บุคคล ไม่สามารถรู้ธรรมะได้เฉพาะตน แต่จะต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ และเมื่อสามารถรู้ได้ว่าธรรมะเหล่านั้นปฏิบัติถูกต้อง ผู้อยู่รอบข้างในขณะนั้น ก็จะรู้ด้วย ดังนั้น ถ้าคุณรู้ธรรมะ ผู้อื่น ก็จะรู้ตามธรรมะในข้อนั้นตามคุณด้วย ถ้าเขาได้ศึกษา หรือเรียนรู้ธรรมะเหล่านั้นเช่นเดียวกับคุณ อย่าหลงประเด็นขอรับ

ถาม.....
เหมือนกินข้าว "อิ่ม" ท่านผู้ใช้นามว่า Buddha ลองอธิบายคำว่า "อิ่ม" ให้คนอื่นเข้าใจหน่อยนะ

ตอบ...
เด็กยังอธิบายได้เลยขอรับว่า อิ่ม อาหาร ควรมีลักษณะอาการ เป็นอย่างไร และคนอื่นก็ย่อมรู้และเข้าใจในคำอธิบายเหล่านั้น เพราะ เขาเหล่านั้น ได้เรียนรู้กันมาทุกคนว่า "อิ่ม" มีลักษณะอาการอย่างไร คุณอย่าอวดฉลาดเลยขอรับ อายเด็กมันน่า
หรือถ้าคุณยังสงสัยในข้อนี้ ก็ให้กลับขึ้นไปอ่านที่ผ่านมา ก็คงเกิดความเข้าใจนะ


เจริญธรรม

:b8: :b12:

ขอให้เจริญในความคิด ตามหลักความเป็นจริง ตามหลักธรรมชาติ เถิดขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


คิดหลายวันเลยนะ..
ตอนนี้แสงยังออกจากตัวอยู่หรือเปล่า หรือว่าหายไปแล้ว..
อย่าให้ขี้กลากมันลามนะ
รักษาตัวด้วย..

:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b2: :b2: :b2:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 125 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร