วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 20:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2008, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งหนึ่ง อูนุ มามืองไทยแล้วจะไปอยุธยา ต้องมีหน่วยอารักขา กลัวชาวอยุยาจะเล่นงานอูนุ
อูนุแกไม่ได้รู้เรื่อง แกไม่ได้มีส่วนมาเผากรุงศรีอยุธยา อะไรแม้แต่น้อย ไอ้พวกเผากรุงศรีอยุธยาตายตกนรกยังไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดสักคนเดียว แล้วเราจะโกรธคนสมัยใหม่ได้อย่างไร
ถ้าเราจะโกรธ โกรธให้มันถูก

โกรธอะไร?... โกรธกิเลสสิ
ไอ้นี่แหละที่ควรจะโกรธควรจะฆ่า ควรจะโกรธความโลภ ความโกรธ ความหลง ความริษยาพยาบาท ความแข่งดี ความถือตัว เรียกว่ากิเลสทุกประเภทเป็นเรื่องน่าโกรธน่าเกลียด แล้วน่าฆ่ามันเสียเลยอย่าเอาไว้
กิเลสที่ควรฆ่า มันอยู่ที่ไหน อยู่ที่ตัวเรานั่นแหละสำคัญนักหนา เราดูว่าตัวเรามีอะไร ฆ่ามันเสีย ฆ่าความโลภ ฆ่าความโกรธ แล้วเราก็สบาย

เคยมีคนไปถามพระพุทธเจ้าว่า ฆ่าอะไรจึงจะไม่บาปมีความสุขด้วย พระองค์ตรัสว่า "โกธัง ฆัตตะวา สุขัง เสติ - ฆ่าความโกรธได้ มีความสุข"

ฆ่าความโกรธได้ มีความสุข เพราะฉะนั้นเราอย่าไปโกรธคน แต่เราโกรธสิ่งที่ทำให้ไม่เป็นคนสิ่งที่ทำคนไม่ให้เป็นคนคืออะไร... ก็คือกิเลสประเภทต่างๆ ตัวใหญ่ก็ ๓ ตัว ตัวโลภะ โทสะ โมหะ นี่แหละไอ้โลภ โกรธ หลง ไอ้ ๓ ตัวนี่แหละตัวร้ายเป็นตัวที่เราเห็นหน้ามันแล้ว ต้องเล่นงานมันเลยทีเดียวอย่าปล่อยให้มันมาโจมตีเรา อย่าให้มันมาเป็นนายเหนือเรา

เดี๋ยวนี้คนเราไม่โกรธกิเลส แต่ว่ากลับไปโกรธคน มันไม่ถูก คนเรานี่ใช่ว่าจะชอบการมีกิเลสกับเขาเมื่อไหร่ ไม่รู้ไม่เข้าใจแล้วเผลอ มันก็มีขึ้น น่าสงสารด้วยซ้ำไป

คนทำชั่วนี่เป็นคนที่น่าสงสาร ควรจะหาทางว่าเราจะช่วยเขาอย่างไร ให้เขาดีขึ้น ให้เขาเจริญขึ้น ให้มีปัญญาให้รู้จักรักษาจัวรอดปลอดภัย เราควรจะทำอย่างไร นั่นแหละจึงจะเป็นการถูกต้อง

แต่เราไม่ค่อยคิดอย่างนั้น เขามีกิเลสแล้ว เรากลับมีกิเลสขึ้นมาด้วย เช่น เราเกลียดเขานี่มันเป็นกิเลส เราโกรเขา เราก็มีกิเลส เราริษยาเขาเราก็มีกิเลส เราทำอะไรในทางไม่ดีก็เท่ากับว่า ช่วยเพิ่มสิ่งชั่วร้ายขึ้นในสังคม

สังคมจะดีขึ้นได้อย่างไรถ้าเราไม่ช่วยกันทำลายสิ่งชั่วร้าย

หน้าที่ของเราทุกคน คือ ต้องทำลายสิ่งชั่วร้ายในตัวเราและในบุคคลอื่นให้หมดไป


(จากปาฐกถาธรรม วันอาทิตย์ที่ ๑ เมษายน ๒๕๒๗ : แสงธรรมส่องทาง ปัญญานันทิกขุ, กองทุนศูนย์สืบอายุพระพุทธศาสนา, วัดชลประทานรังสฤษฏ์)

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2008, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ


คำว่า "ฆ่า"ความโกรธ นี้.....เป็นภาษาที่พระพุทธองค์ทรงใช้สอนพุทธบริษัท
คือ แทนที่จะไปฆ่าคนที่ทำให้เราเราโกรธ เราต้องหันมาฆ่าความโกรธในใจเราเอง

แต่การฆ่าความโกรธ-ความพยาบาทนี้ มันก็มีหลากหลายกุศโลบายมาประกอบกัน



พระพุทธองค์ ทรงแสดงวิธีการละอาสวะไว้ด้วยกุศโลบายต่างๆ

มีให้เลือกใช้ อย่างเหมาะสมตามโอกาสต่างๆ



การละอาสวะด้วยการสังวร

พุทธดำรัส “....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในจักขุนทรีย์ ... ในโสตินทรีย์ ... ในฆานินทรีย์ .....
ในชิวหินทรีย์ ...... ในมนินทรีย์ ..... ก็อาสวะแล้วความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใดพึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สำรวมในมนินทรีย์อยู่ อาสวะแล้วความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สำรวมในมนินทรีย์อยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่าจะถึงละได้เพราะการสังวร ฯ”


การละอาสวะด้วยการพิจารณาเสพ

พุทธดำรัส“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวรเพียงเพื่อกำจัดความหนาวร้อน สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อจะปกปิดอวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาต มิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่เพื่อให้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่าจะกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วยจะไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษและความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เรา ฉะนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วย่อมเสพเสนาสนะเพียงเพื่อกำจัด หนาวร้อน สัมผัสแห่งเหลือบยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายแต่ฤดูเพื่อรื่นรมย์ในการออกเร้นอยู่ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบริขารคือยา อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้เพียงเพื่อกำจัดเวทนาที่เกิด แต่อาพาธต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มีอาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง ฯ
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะแล้วความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนี้ ผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้พิจารณาเสพอยู่อย่างนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่าจะพึงละได้ด้วยการพิจารณาเสพฯ”


การละอาสวะด้วยความอดกลั้น

พุทธดำรัส “..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีชาติของผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าว ชั่ว ร้ายแรง ต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว ซึ่งยังเกิดขึ้นเป็นทุกข์ กล้า แข็ง เผ็ด ร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจพร่าชีวิตเสียได้
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะแล้วความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่อดกลั้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อน.....เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้อดกลั้นอยู่อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่าจะพึงละได้เพราะความอดกลั้น”


การละอาสวะด้วยการเว้นขาด

พุทธดำรัส “..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เว้นช้างที่ดุร้าย ม้าที่ดุร้าย โคที่ดุร้าย สุนัขที่ดุร้าย งู หลัก ตอ สถานที่มีหนาม บ่อ เหว ที่เต็มด้วยของไม่สะอาดโสโครก เพื่อพรหมจรรย์ ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย พึงกำหนดลงซึ่งบุคคลผู้นั่ง ณ ที่มิใช้อาสนะเป็นปานใด ผู้เที่ยวไป ณ ที่มิใช่โคจรเห็นปานใด ผู้คบมิตรที่ลามกเห็นปานใด ในสถานที่ทั้งหลายอันลามก ภิกษุนั้นพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เว้นที่มิใช่อาสนะนั้น ที่มิใช่โคจรนั้น และมิตรผู้ลามกเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจริงอยู่ อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่เว้นสถานที่หลักบุคคลอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อน .... เหล่านั้น ย่อมมีแก่ภิกษุนั้นผู้เว้นขาดอยู่อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่าจะพึงละได้เพราะการเว้นขาด”


การละอาสวะด้วยการบรรเทา

พุทธดำรัส “..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทากามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว.... พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว..... วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา ธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้วทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่บรรเทาอันใดอันหนึ่ง อาสวะแล้วความเร่าร้อน .... เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้บรรเทาอยู่อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความบรรเทาฯ”



การละอาสวะด้วยการอบรม

พุทธดำรัสตอบ “..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เจริญสติสัมโพชฌงค์.... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละลง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะ และความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่อบรมธรรมอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อน.... เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้อบรมอยู่อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่าจะพึงละได้เพราะการอบรม”

สัพพาสวสังวรสูตร มู. ม. (๑๑-๑๘)
บ. ๑๒ : ๑๒-๒๐ ตท.๑๒ : ๑๒-๑๘
ตอ. MLS. I : ๙-๑๖



ในส่วนของการรับมือกับความโกรธ-ความพยาบาท ก็มีอยู่ในข้อ

การละอาสวะด้วยความอดกลั้น(ขันติ)
การละอาสวะด้วยการบรรเทาต่อพยาบาทวิตก(เจริญเมตตาน่าจะอยู่ในส่วนนี้)
การละอาสวะด้วยการอบรมโพชฌงค์(วิปัสสนาน่าจะอยู่ในส่วนนี้)



การรับมือกับความโกรธ-ความพยาบาท มันก็คงต้องอาศัยกุศโลบายหลายๆอย่างมาประกอบกัน

ที่สำคัญสุดคือ ต้องรู้สึกตัว(สติ) ว่าตนเองกำลังโกรธ
ถ้า ไม่รู้สึกตัว เสียก่อน.... การจะเจริญกุศโลบายต่างๆนั้น ย่อมเป็นไปได้ยาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2008, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


แมวขาวมณี เขียน:

ครั้งหนึ่ง อูนุ มามืองไทยแล้วจะไปอยุธยา ต้องมีหน่วยอารักขา กลัวชาวอยุยาจะเล่นงานอูนุ
อูนุแกไม่ได้รู้เรื่อง แกไม่ได้มีส่วนมาเผากรุงศรีอยุธยา อะไรแม้แต่น้อย ไอ้พวกกรุงศรีอยุธยาตายตกนรกยังไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดสักคนเดียว แล้วเราจะโกรธคนสมัยใหม่ได้อย่างไร
ถ้าเราจะโกรธ โกรธให้มันถูก






ตรงที่ว่า "ไอ้พวกกรุงศรีอยุธยาตายตกนรกยังไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดสักคนเดียว"


น่าจะเป็น "ไอ้พวกเผากรุงศรีอยุธยา" หรือเปล่าครับ
เหมือนจะตกคำว่า"เผา"ไป.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2008, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ในส่วนของ การใช้สติปัฏฐานรับมือกับความโกรธ-พยาบาท โดยตรง
ก็มีอยู่2หมวด คือ

1.จิตตานุปัสสนา
2.ธัมมานุปัสสนา นิวรณ์บรรพ


จิตตานุปัสสนา มีลักษณะโยนิโสมนสิการแบบรู้ตามจริง จะกล่าวถึง การรู้ชัดในอาการของจิตปัจจุบัน เช่น จิตโกรธก็ให้รู้ว่าโกรธ เป็นการรู้โดยลักษณะดูอย่างเดียว พิจารณาดูว่า จิต และอาการต่างๆของจิต ก็"สักแต่ว่า".... เปลี่ยนแปลงไปมา เอาแน่นอนไม่ได้ สักแต่ว่าเป็นสภาวะธรรมต่างๆเท่านั้น ไม่พึงยึดมั่นถือหมายในสิ่งต่างๆ


ส่วน ธัมมานุปัสสนา นิวรณ์บรรพ นั้น ให้พิจารณาโดย มีลักษณะโยนิโสมนสิการแบบสัมมัปปธานสี่เข้ามาผสมด้วย คือ

อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อความพยาบาทมีอยู่ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าความพยาบาทมีอยู่ภายในจิตของเรา หรือเมื่อความพยาบาทไม่มีอยู่ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าความพยาบาทไม่มีอยู่ภายในจิตของเรา

อนึ่ง
ความพยาบาทที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ความพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ความพยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย


คือ มีลักษณะแห่งสัมมัปปธานสี่ ที่ว่า

1.เพียรระวัง หรือ เพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น (สังวรปธาน)
2.เพียรละ หรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (ปหานปธาน)
3.เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น (ภาวนาปธาน)
4.เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ (อนุรักขนาปธาน)



ปล..

โกรธ เป็นอาการของจิตที่เกิดขึ้น...ถ้าเกิดแล้วดับไปโดยไม่ค้างคานาน

พยาบาท ก็พัฒนาต่อเนื่องมาจากโกรธ แต่ มันยาวนานกว่า เป็นลักษณะผูกเวร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2008, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


อันความโกรธ ความโลภ ความหลง จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อได้สัมผัสทางอายตนะฯ และเกิดความคิด เกิดการระลึกนึกถึง ถ้าไม่คิด ไม่ระลึกนึกถึง ก็ย่อมไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง นี้เป็นพื้นฐานในการขจัดอาสวะแห่งกิเลส
มนุษย์ฆ่าความโกรธ ความโลภ ความหลง ได้ยาก ถ้าเกิดขึ้นแล้ว
แต่มนุษย์ สามารถฆ่าความคิด คือไม่คิด ไม่ระลึกนึกถึงได้ หรือสามารถคิดในทางที่จะไม่เกิดความโกรธ ความโลภ ความหลงได้ดีกว่า เมื่อโกรธ โลภ หลงแล้ว จะระงับมัน
หมายความว่า ถ้าเกิดความ โกรธ ความโลภ ความหลง ขึ้นในใจแล้ว ฆ่ามัน หรือระงับความโกรธ ความโลภ ความหลงได้ยาก
ดังนั้นหากจะสอนบุคคลให้ระงับซึ่งความโกรธ ความโลภ ความหลงเหล่านั้น จึงควรสอนให้เขาทั้งหลายรู้จักควบคุมความคิด ตามหลักสมถะกัมมัฏฐาน และสอนให้รู้จักคิดเพื่อละกิเลส ตามหลักวิปัสสนากัมมัฏฐาน
หากทั้งหลายเคยได้ติดตามบทเรียนต่างๆที่ข้าพเจ้าได้สร้างเป็นบรรทัดฐานไว้ ท่านทั้งหลายย่อมรู้ และเข้าใจ ว่า การไม่ระลึกนึกถึง การไม่คิด เมื่อได้สัมผัสทางอายตนะนั้น คืออะไร
และย่อมเกิดความรู้ ความเข้าใจใน
หลักการหรือวิธีการในการขจัดอาสวะแห่งกิเลส อันเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ หมายความว่า มนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) สามารถขจัดอาสวะแห่งกิเลสได้เองตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพียงแต่เขาเหล่านั้น ไม่รู้วิธีการหรือหลักการ แห่งการขจัดอาสวะแห่งกิเลส เท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2008, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ดังนั้นหากจะสอนบุคคลให้ระงับซึ่งความโกรธ ความโลภ ความหลงเหล่านั้น จึงควรสอนให้เขาทั้งหลายรู้จักควบคุมความคิด ตามหลักสมถะกัมมัฏฐาน และสอนให้รู้จักคิดเพื่อละกิเลส ตามหลักวิปัสสนากัมมัฏฐาน

สาธุค่ะ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2009, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 18:18
โพสต์: 4


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ดังนั้นหากจะสอนบุคคลให้ระงับซึ่งความโกรธ ความโลภ ความหลงเหล่านั้น จึงควรสอนให้เขาทั้งหลายรู้จักควบคุมความคิด ตามหลักสมถะกัมมัฏฐาน และสอนให้รู้จักคิดเพื่อละกิเลส ตามหลักวิปัสสนากัมมัฏฐาน หากทั้งหลายเคยได้ติดตามบทเรียนต่างๆ ที่ข้าพเจ้าได้สร้างเป็นบรรทัดฐานไว้ ท่านทั้งหลายย่อมรู้ และเข้าใจ ว่า การไม่ระลึกนึกถึง การไม่คิด เมื่อได้สัมผัสทางอายตนะนั้น คืออะไร

ขอโอกาสนะครับ สภาวะต่างๆ นั้นเราบังคับหรือควบคุมไม่ได้ ที่ทำได้คือมีสติตามรู้สภาวะที่เกิดขึ้นด้วยความเป็นกลาง ไม่ปรุงแต่งต่อไม่ต้องเกลียดอกุศล ไม่ยินดีกับกุศลเพราะนั่นคือโทสะกับราคะที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง ที่ทำได้คือรู้ด้วยความเป็นกลาง สภาวะต่างๆ จะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ไม่สามารถย้อมจิตได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2009, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ค้นหาธรรม เขียน:
อ้างคำพูด:


ขอโอกาสนะครับ สภาวะต่างๆ นั้นเราบังคับหรือควบคุมไม่ได้ ที่ทำได้คือมีสติตามรู้สภาวะที่เกิดขึ้นด้วยความเป็นกลาง ไม่ปรุงแต่งต่อไม่ต้องเกลียดอกุศล ไม่ยินดีกับกุศลเพราะนั่นคือโทสะกับราคะที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง ที่ทำได้คือรู้ด้วยความเป็นกลาง สภาวะต่างๆ จะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ไม่สามารถย้อมจิตได้


ตอบ.....
ที่คุณกล่าวมา แสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจของคุณว่า คุณยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับ อภิธรรม อย่างดีพอ อีกทั้งยังไม่เข้าใจในเรื่องอของ สภาพสภาวะจิตใจในรูปแบบต่างๆ
คุณหรือท่านทั้งหลาย จะมีสติได้ ก็ย่อมต้องมีสมาธิ ซึ่ง สมาธินั้นย่อมเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวบุคคลอยู่แล้ว
อนึ่ง สภาพสภาวะจิตใจ ในรูปแบบต่างๆ จะเกิดขึั้นได้ ก็ย่อมได้รับการสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นอดีต หรือปัจจุบัน แล้วเกิดความคิด ถ้าเป็นการสัมผัสในอดีต ก็ย่อมมีการจดจำไว้ และนำมาคิด เมื่อได้กระทบ หรือเมื่อกลไกแห่งการคิดของมนุษย์ทำงาน โดยขาดความรู้สึกตัว คือขาดสมาธิ เพราะ สมาธิ จะเป็นตัวควบคุม ความรู้สึกตัว และระลึกได้
นั่นก็หมายความว่า สมาธิ จะเป็นสิ่งหรือปัจจัยในการ ควบคุม สติ และ สัมปชัญญะ

เช่นเดียวกัน กุศลใดใด หรือ อกุศลใดใด จะเกิดขึ้นได้ ก็ย่อมเกิดจากความคิด
ความคิด จะเป็นตัวสร้างสภาพสภาวะจิตใจในรูปแบบต่างๆ เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ฯลฯ และเป็นปัจจัยในการเกิดพฤติกรรม ทางกาย และวาจา ส่วนทางใจน้น ก็คือ สภาพสภาวะจิตใจในรูปแบบต่างๆ นั่่นเอง
ให้ท่านทั้งหลายได้อ่าน และพิจารณาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2009, 23:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2009, 20:17
โพสต์: 15


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบครับ.....ฆ่าเวลา.คร๊าบบบบบ...555555...คิคิ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2009, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ธ.ค. 2008, 12:53
โพสต์: 4

ที่อยู่: 560/23 ถ.เพรชเกษม 92 ข.บางแค 10160

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็ฆ่าความอยากได้ อยากเป็น อยากมีที่อยู่ในตัวเรา
แล้วก็ฆ่าความโกธ ความหลง :b4: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 62 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร