วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 12:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 10:08
โพสต์: 2


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมผมอยากทราบว่า กรรมของคนเราที่มีกันแต่ละคนนี่มันมีกี่อย่าง เเละ กรรม มันคือไรคับ ทำไงถึงจาออกจากกรรมได้คับ ผมขอคำตอบยาวๆหน่อยนะครับ :b23: :b34:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 23:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 22:30
โพสต์: 61


 ข้อมูลส่วนตัว


ธิตเวโท เขียน:
ผมผมอยากทราบว่า กรรมของคนเราที่มีกันแต่ละคนนี่มันมีกี่อย่าง เเละ กรรม มันคือไรคับ ทำไงถึงจาออกจากกรรมได้คับ ผมขอคำตอบยาวๆหน่อยนะครับ :b23: :b34:

:b8: เจริญในธรรม :b8:

กรรม คือ การกระทำ ยกตัวอย่างเช่น กินข้าว เดิน วิ่ง ชกต่อย เล่นการพนัน ทำบุญใส่บาตร
ร้องเพลง ฯลฯ เป็นต้น
ถ้ากระทำโดยทางร่างกาย เรียก กายกรรม
ถ้ากระทำโดยทางวาจา เรียก วจีกรรม
ถ้ากระทำโดยทางใจ เรียก มโนกรรม

กรรมมี ๒ อย่าง แบ่งอย่างง่ายๆ
๑ กุศลกรรม คือ การกระทำในฝ่ายดีงาม สร้างสรรค์ เกิดปัญญาความฉลาด พัฒนา เจริญ ส่งเสริม ให้มีความสุข
๒ อกุศลกรรม คือ การกระทำในฝ่ายไม่ดีงาม ตรงกันข้ามกับฝ่ายดีงาม

คนเราเกี่ยวเนื่องกับกรรม กล่าวคือ ทุกคนมีการกระทำ แต่จะกระทำในฝ่ายใดขึ้นอยู่กับแต่ละคน ฉะนั้นคำว่า ออกจากกรรม เป็นไปไม่ได้
แต่ถ้าบอกว่า ออกจากรรมดี ไปสู่กรรมชั่ว หรือ ออกจากกรรมชั่ว ไปสู่กรรมดีนั้น ออกได้โดยละการกระทำอีกแบบหนึ่งแล้วไปกระทำอีกแบบหนึ่ง เช่นเลิกดื่มสุราหันไปดื่มน้ำนมวัว เป็นต้น

ผมขอตอบแค่นี้ครับ ส่วนรายละเอียดในส่วนลึก ขอให้ผู้มีความรู้มาช่วยเพิ่มเติมให้นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2009, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ธิตเวโท เขียน:
ผมผมอยากทราบว่า กรรมของคนเราที่มีกันแต่ละคนนี่มันมีกี่อย่าง เเละ กรรม มันคือไรคับ ทำไงถึงจาออกจากกรรมได้คับ ผมขอคำตอบยาวๆหน่อยนะครับ :b23: :b34:

ถามสั้นๆก็ตอบสั้นๆละกันนะครับ :b12:

กรรมมี 2 อย่างคือที่เป็นกุศล และอกุศล
กรรมคือการกระทำโดยเจตนา
ออกจากกรรมก็ต้องหมดเจตนาครับ

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2009, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:09
โพสต์: 112


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

คำตอบข้อ 1.ชนิดของกรรม
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=กรรม
ผลการค้นลำดับที่ 4/80
กรรม การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น
ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม
แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม
(แต่ถ้ารู้อยู่ว่าบ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตาย ก็ไม่พ้นเป็นกรรม)
การกระทำที่ดีเรียกว่า “กรรมดี” ที่ชั่ว เรียกว่า “กรรมชั่ว”

ผลการค้นลำดับที่ 7/80
กรรม ๑๒ กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ
หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่
๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป
๔. อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล
หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่
๕. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด
๖. อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
๗. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า
๘. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว
หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่
๙. ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน
๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา
๑๑. อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น
๑๒. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล

----------


คำตอบข้อ2 การพ้นกรรม คือ จากผลของกรรม12 ทำให้เกิดผล(แสดงถึงปัจจัยนำไปสู่อริยสัจ4)
ดังนั้นการพ้นกรรมก็คือ การต้องทำให้แจ้งในอริยสัจ4.....
ซึ่งคล้องไปในทางเดียวกับ http://www.accesstoinsight.org/lib/auth ... art1.html..
มีเนื้อความตอนหนึ่งว่า
the principle of kamma as a working hypothesis for anyone who wants to gain release from suffering and stress.
德行的原则作为想要获取从遭受和重点的版本的人的一个可行的假说。
กฏของกรรมเหมือนดังปฎิบัติการสมมุติฐานสำหรับทุกท่านผู้ต้องหลุดพ้นทุกข์

http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ
ผลการค้นลำดับที่ 2/2
205] กิจในอริยสัจจ์ 4 (หน้าที่อันจะพึงทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละอย่าง, ข้อที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นในอริยสัจ 4 แต่ละอย่าง จึงจะชื่อว่ารู้อริยสัจหรือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว – functions concerning the Four Noble Truths / 功能关于四高尚的真相 )
1. ปริญญา (การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์ ตามหลักว่า ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ ทุกข์ควรกำหนดรู้ คือ ควรศึกษาให้รู้จักให้เข้าใจชัดตามสภาพที่เป็นจริง ได้แก่ การทำความเข้าใจและกำหนดขอบเขตของปัญหา – comprehension; suffering in to be comprehended / 领悟 )
2. ปหานะ (การละ เป็นกิจในสมุทัย ตามหลักว่า ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ สมุทัยควรละ คือ กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ได้แก่การแก้ไขกำจัดต้นตอของปัญหา - eradication; abandonment; the cause of suffering is to be eradicated /铲除)
3. สัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้ง เป็นกิจในนิโรธ ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพํ นิโรธควรทำให้แจ้ง คือ เข้าถึง หรือบรรลุ ได้แก่การเข้าถึงสภาวะที่ปราศจากปัญหา บรรลุจุดหมายที่ต้องการ - realization; the cessation of suffering is to be realized /认识 )
4. ภาวนา (การเจริญ เป็นกิจในมรรค ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ มรรคควรเจริญ คือ ควรฝึกอบรม ลงมือปฏิบัติ กระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย ได้แก่การลงมือแก้ไขปัญหา - development; practice; the path is to be followed or developed / 发展)

ในการแสดงอริยสัจจ์ ก็ดี ในการปฏิบัติธรรมตามหลักอริยสัจจ์ ก็ดี จะต้องให้อริยสัจจ์แต่ละข้อ สัมพันธ์ตรงกันกับกิจแต่ละอย่าง จึงจะเป็นการแสดงและเป็นการปฏิบัติโดยชอบ ทั้งนี้ วางเป็นหัวข้อได้ดังนี้
1. ทุกข์ เป็นขั้นแถลงปัญหาที่จะต้องทำความเข้าใจและรู้ขอบเขต (ปริญญา) - statement of evil; location of the problem. 罪恶的语句
2. สมุทัย (เป็นขั้นวิเคราะห์และวินิจฉัยมูลเหตุของปัญหา ซึ่งจะต้องแก้ไขกำจัดให้หมดสิ้นไป (ปหานะ) - diagnosis of the origin. 诊断起源
3. นิโรธ เป็นขั้นชี้บอกภาวะปราศจากปัญหา อันเป็นจุดหมายที่ต้องการ ให้เห็นว่าการแก้ปัญหาเป็นไปได้ และจุดหมายนั้นควรเข้าถึง ซึ่งจะต้องทำให้สำเร็จ (สัจฉิกิริยา) - prognosis of its antidote; envisioning the solution. 其解毒剂预测
4. มรรค เป็นขั้นกำหนดวิธีการ ขั้นตอน และรายละเอียดที่จะต้องปฏิบัติในการลงมือแก้ปัญหา (ภาวนา) - prescription of the remedy; program of treatment. 其解毒剂预测

ความสำเร็จในการปฏิบัติทั้งหมด พึงตรวจสอบด้วยหลัก [73] ญาณ 3

...หวังว่าคำตอบผมคงพอจะเสริมคำตอบข้างต้นได้บางน่ะขอรับ(ผิดพลาดประการใด...ท่านผู้รู้กรุณาแนะนำขอรับ)

:b8: เจริญในธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 65 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร