วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 23:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2009, 17:07 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีคะผู้สนใจในธรรมทุกท่าน puy อยากจะถามความคิดเห็นทุกท่านว่าในการที่เราปฏิบัติในการเดินจงกรมหรือนั่งสมาธินั้น การที่เราเดินแล้วมีคำบริกรรมว่า ขวาย่างหนอ หรือซ้ายย่างหนอ หรือคำว่าพองหนอ ยุบหนอ คิดหนอ ฟุ้งซ้านหนอ ทุกคำที่เราใช้บริกรรมนั้นเป็นบัญญัติหรือไม่ และที่เรากำลังปฏิบัตินั้นถ้าเราไม่ต้องใช้คำบริกรรมแต่เรารู้ทุกอย่างไปตามจริงโดยไม่ต้องไปใช้คำบริกรรมนั้นเป็นปรมัตถ์หรือไม่ ตามความคิดของท่านคิดว่าอะไรเป็นการปฏิบัติที่ทำให้เราเกิดสติและรู้สภาวะนั้นตามความเป็นจริงมากกว่ากัน ขอให้ทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันนะคะ และขออนุโมทนาบุญที่ให้ความรู้เพิ่มเติมขอบคุณคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2009, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Puy เขียน:
ทุกคำที่เราใช้บริกรรมนั้นเป็นบัญญัติหรือไม่

- เป็นนะครับ เรานั่นแหละบัญญัติขึ้นมา
คำบริกรรมนั้นมันเป็นบัญญัติ ที่เราเป็นคนบัญญัติขึ้น
แต่การที่จิตมันท่องคำนั้นอยู่ นี่คือเราเห็นจิตทำงาน เห็นจิตมันแสดงสมรรถนะคือการท่องบริกรรม
ซึ่งก้คือเจตสิก เจตสิกเป็นปรมัตถ์ เห็นเจตสิก คือเห็นปรมัตถ์

แต่ถ้าท่องแล้วปากมันพาไป ทำจนเป้นอัตโนมัติ เพลินๆ
เหมือนฟังเพลงแล้วเคาะนิ้วกระดกขาไปตามจังหวะเรื่อยๆ เปื่อยๆ
นี่คือขาดสติ จิตทำอะไรไม่รู้ สุขไม่ทราบ เพลินอยู่ก็ไม่ทราบ ใจมันตุ๊มๆต่อมๆไปตามเพลง
ซึ่งก้คือหลงไปกับบัญญัติ


เปรียบเทียบง่ายๆแบบที่เคยได้ยินกัน
เหมือนว่าดูหนัง แล้วเราสนุกเพลินไปกับมัน จนลืมกาย ลืมใจ
ดีใจเสียใจไม่รู้ตัวเลย จิตใจมีเจตสิกอะไรไม่ทราบเลย


Puy เขียน:
ตามความคิดของท่านคิดว่าอะไรเป็นการปฏิบัติที่ทำให้เราเกิดสติและรู้สภาวะนั้นตามความเป็นจริงมากกว่ากัน

- รู้ไปตรงๆง่ายกว่า

แต่ถ้าเป็นคนชอบคิดฟุ้งซ่าน ถ้าไม่ให้คิดเลยมันจะไปคิดอย่างอื่น เพราะจริตมันชอบคิด
การมีคำบริกรรมก็เป็นการช่วยยึดเกี่ยวให้มันวนเวียนอยู่แต่เรื่องนี้
ไม่งั้นเดี๋ยวออกไปคิดไกล ไปคิดถึงละครบ้าง คิดถึงลูกบ้าง คิดใกล้ คิดไกล ไม่อยู่กับเนื้อกับตัว

แต่ถ้าต้องการทำสมาธิ เราต้องการอารมณ์เดียว ไม่ใช่หลากหลายอารมณ์
การบริกรรมค่อนข้างจำเป็น ในการช่วยให้ใจเรามันจดจ่อกับอารมณ์เดียวง่ายขึ้น
แต่ถ้าคล่องแล้ว ก็เข้าสมาธิแบบปุ๊บปั๊บได้เลย ไม่ต้องบริกรรมอย่างหลวงปู่หลวงพ่อทั้งหลาย



Puy เขียน:

และที่เรากำลังปฏิบัตินั้นถ้าเราไม่ต้องใช้คำบริกรรมแต่เรารู้ทุกอย่างไปตามจริงโดยไม่ต้องไปใช้คำบริกรรมนั้นเป็นปรมัตถ์หรือไม่

- เป็นสิครับ ยิ่งดีเลย
เพราะรู้สึกลงไปตรงๆที่ตัวสัจจะธรรมเลย
อย่างกินน้ำตาลหวาน เรารู้ลงไปตรงๆถึงรสหวานที่มันแผ่อยู่ในปากเลย ชอบใจขึ้นมาก็รู้สึกถึงสภาวะนั้นเลย

แต่มัวห่วงบริกรรม ถ้าเรากินผัดเปรีย้วหวาน แล้วเราจะบริกรรมว่าอะไร
ในเมื่อคำข้าวเดียว มีตั้งสามรส ถ้ายังมาหวานหนอ เค็มด้วยหนอ อุ๊ยเปรี้ยวด้วยหนอ สรุปอร่อยโว๊ยหนอ
สรุปคือวุ่นวายแต่กับความคิด เช่น ลังเลสงสัย มัวแต่วิเคราะห์ว่าจะใช้คำอะไรมาเรียก

ผิดพลากขออภัยด้วยคับ

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2009, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


Puy เขียน:
สวัสดีคะผู้สนใจในธรรมทุกท่าน puy อยากจะถามความคิดเห็นทุกท่านว่าในการที่เราปฏิบัติในการเดินจงกรมหรือนั่งสมาธินั้น การที่เราเดินแล้วมีคำบริกรรมว่า ขวาย่างหนอ หรือซ้ายย่างหนอ หรือคำว่าพองหนอ ยุบหนอ คิดหนอ ฟุ้งซ้านหนอ ทุกคำที่เราใช้บริกรรมนั้นเป็นบัญญัติหรือไม่ และที่เรากำลังปฏิบัตินั้นถ้าเราไม่ต้องใช้คำบริกรรมแต่เรารู้ทุกอย่างไปตามจริงโดยไม่ต้องไปใช้คำบริกรรมนั้นเป็นปรมัตถ์หรือไม่ ตามความคิดของท่านคิดว่าอะไรเป็นการปฏิบัติที่ทำให้เราเกิดสติและรู้สภาวะนั้นตามความเป็นจริงมากกว่ากัน ขอให้ทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันนะคะ และขออนุโมทนาบุญที่ให้ความรู้เพิ่มเติมขอบคุณคะ


สวัสดีค่ะ คุณ Puy

- อย่าไปกังวลเรื่อง บัญญัติหรือ ปรมัตถ์เลยค่ะ เพราะไม่ว่าจะคิดยังไง หรือ ดูยังไงก็ไม่รู้หรอกค่ะ ไม่ว่าคุณจะเจริญสติแบบมี " หนอ " หรือไม่มี " หนอ " ก็แล้วแต่ เวลาเห็นสภาวะปรมัตถ์ เห็นเหมือนกันหมด ถ้าผู้นั้นเจริญสติปัฏฐาน 4 อย่างต่อเนื่อง มันเป็นเรื่องของ สติ สัมปชัญญะ บวกกับ สมาธิ ในระดับหนึ่ง ( ขณิกสมาธิ ) เมื่อเกิดกับผู้ใดแล้ว ความยึดมั่นถือมั่นของบุคคลผู้นั้นย่อมลดน้อยลง หมายถึงเห็นบ่อยๆนะคะ ไม่ใช่เห็นแค่ครั้งสองครั้ง แต่ก็ยังดีกว่าไม่เห็น อย่างน้อยเมื่อได้เห็นแล้ว ย่อมรู้ว่า สภาวะปรมัตถ์นั้นมีจริง จะไม่สงสัยอะไรอีกเลย และ เริ่มเห็นตามความเป็นจริงมากขึ้นค่ะ


เรากำลังปฏิบัตินั้นถ้าเราไม่ต้องใช้คำบริกรรมแต่เรารู้ทุกอย่างไปตามจริงโดยไม่ต้องไปใช้คำบริกรรมนั้นเป็นปรมัตถ์หรือไม่

- ยังไงก็ยังเป็นบัญญัติอยู่ค่ะ ถึงจะรู้ลงไปตรงๆก็ยังเป็นบัญญัติอยู่ค่ะ สภาวะมันซ้อนกันอยู่ เพียงแต่ สติ สัมปชัญญะ ยังไม่มากพอ เลยยังเห็นสภาวะที่แท้จริงยังไม่ได้ ขอเตือนค่ะ อย่าไปอยากรู้ อยากเห็น ความอยากจะไปกั้นปัญญาไม่ให้เกิดค่ะ


ตามความคิดของท่านคิดว่าอะไรเป็นการปฏิบัติที่ทำให้เราเกิดสติและรู้สภาวะนั้นตามความเป็นจริงมากกว่ากัน

- ต้องเจริญสติปัฏฐาน 4 เท่านั้นค่ะ และต้องต่อเนื่องด้วยค่ะ ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เอาจิตจดจ่ออย่างต่อเนื่อง ย่อมเห็นสภาวะนั้นค่ะ


ถ้าว่างๆ ลองอ่าน ข้อเปรียบเทียบดูสิคะ ระหว่างใช้ " หนอ " กับไม่ใช้ " หนอ " สองครูบาฯ แตกต่างกันในแนวทางปฏิบัติ แต่เห็นสภาวะเหมือนๆกัน รู้เหมือนๆกัน แตกต่างที่รายละเอียดในการชี้แจงเท่านั้นเอง

ของหลวงพ่อพุทธทาส

หลักการดูและเห็นทางจิต

-- ข้อที่ต้องเปรียบเทียบกันตั้งแต่ขั้นต่ำสุด คือ ขั้นที่ดูด้วยตาธรรมดา เช่น จดไว้ในกระดาษแล้วเราก็ดูด้วยตา แล้วก็เห็น มันก็เห็นตัวหนังสือที่เขียนว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ก็ดูตัวหนังสือในกระดาษแล้วก็เห็นนะ มันไม่เห็นธรรมะ เพราะมันไม่ได้ดูด้วยธรรมจักษุ มันดูด้วยตาเนื้อ ต่อเมื่อดูด้วยธรรมจักษุ จึงจะเห็นธรรม ซึ่งดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น
-- ธรรมจักษุที่จะเห็นธรรมนั้น มันต้องดูด้วยอะไร? ลองสังเกตุของตัวเองดู ในบาลีก็มีคำว่า ธัมมจักขุง จักษุสำหรับเห็นธรรม ก็คือ ปัญญา หรือเจตสิกธรรม ที่เป็นกลุ่มของปัญญานั่นแหละ ปัญญานี้มันต้องอาศัยการดูด้วยจิตที่เป็นสมาธิ จิตเป็นสมาธิแล้วก็น้อมไปเพื่อจะเห็น ฉะนั้น เราจะต้องทำปัญญาจักษุกันอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็ดูอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เห็นอยู่ด้วยปัญญาจักษุ ไม่ใช่ปากว่าบริกรรม แต่ให้รู้สึกเห็น เห็นอย่างรู้สึก รู้สึกอย่างที่เห็น นับตั้งแต่ดูด้วยตา แล้วก็ดูด้วยปัญญา แล้วก็รักษาการดูนั้นไว้ด้วยปัญญา ยกตัวอย่างเรื่องที่พวกเราทำกันอยู่เป็นประจำ คือว่า เดินจงกรมนี้ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ถ้าดูที่เท้าด้วยตา มันก็คือการเห็น ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ดูด้วยตา ดูที่เท้า ที่จริงมันไม่ใช่อย่างนั้น มันต้องศึกษาด้วยปัญญาก่อนจนเห็นว่า มันมีแต่ การยกหรือย่าง หรือเหยียบ เท่านั้นหนอ ไม่มีบุคคล ผู้ยก ผู้ย่าง ผู้เหยียบเลย เพราะว่าเรื่องธรรมะขั้นปัญญานั้น มันไม่ใช่ยกเท้าขึ้นมา แล้วยื่นออกไป แล้วเหยียบลง ตัวอย่างนี้ มันเป็นเรื่องสติ หรือสมาธิ
-- ยกหนอ หมายความว่า มันสักว่ามีการยกเท้า มีเท้าที่ยกขึ้นแล้วหนอ แต่ไม่มีบุคคล ที่เป็นผู้ยกหรือเป็นเจ้าของเท้านี้ ให้เขาบริกรรมสั้นมากกว่า ยกหนอ เท่านั้น ถ้าทำได้ลึกอย่างนั้น มันก็เป็นการเห็นอยู่ เห็นธรรมะอยู่ เมื่อยก ย่าง เหยียบนั่นแหละ สักว่าการยกเท้าเท่านั้นหนอ สักว่าการย่างเท้าไปเท่านั้นหนอ สักว่าการเหยียบเท้าลงเท่านั้นหนอ นี่มันลึกมาก มันเป็นหัวใจของธรรมะทั้งหมด คือว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ถ้าทำถึงที่สุดเป็นวิปัสสนา มีความหมายอย่างนี้
-- ถ้าทำในขั้นริเริ่มต้นๆ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ เป็นขั้นสติ ว่าสติอยู่ที่เท้ายกขึ้นมา ที่เท้าเสือกไป ที่เท้าหย่อนลง ก็เป็นสติเท่านั้น ยังไม่ใช่ปัญญา ยังไม่ใช่การเห็น เป็นการควบคุมด้วยสติหรือว่าการที่มีสติมั่น ผูกพันติดอยู่กับเท้าที่ยก ย่าง เหยียบนี้ อย่างนี้มันก็เป็นสมาธิ ยังไม่ใช่ตาเห็นธรรม ยังไม่ใช่เห็นในขั้นวิปัสสนา ขั้นวิปัสสนามันก็ต้องเห็นที่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่แท้ที่จริงแล้ว ต้องการให้เห็นอนัตตาหรือสุญญตา ว่าไม่มีสัตว์ บัคคล ตัวตนอะไรที่ไหน ซึ่งเป็นผู้ยก ผู้ย่าง ผู้เหยียบ ตัวธรรมะแท้ เห็นด้วยปัญญา เรียกว่า วิปัสสนา
-- ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ไม่เพียงแต่ว่าเป็น สติ หรือว่าเป็นสมาธิ และไม่ได้หมายความว่า เห็นด้วยตา ความจริงการดับกิเลสตัณหานี้ ดับด้วย อนัตตา เพียง อนิจจังยังไม่ดับ ต้องให้เห็นทุกขัง เพียงทุกขัง ยังไม่ดับ ต้องเห็นอนัตตา มันจึงจะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด บรรลุมรรคผลได้ ให้เห็นว่า สังขารทั้งปวงเป็นอนัตตา สิ่งปรุงแต่งทั้งหลายเป็นอนัตตา เอาปัญญาเป็นจักษุ ธรรมจักษุนี้มาดูอยู่ด้วยกันตลอดเวลาทุกอริยาบถ เมื่ออริยาบทยืนก็ยืนหนอ สักว่าการยืนหนอ ไม่มีเจ้าของตัวผู้ยืน เมื่อเดินนี้แยกเป็น ยก ย่าง เหยียบนี้ มันก็สักว่า ยก ย่าง เหยียบ ไปตามเหตุ ปัจจัยของมันเท่านั้นเองหนอ ไม่มีส่วนไหนที่จะเป็นบุคคล ตัวตนอันแท้จริง เพราะฉะนั้น ทุกๆหนอ อาจจะทำให้เป็นวิปัสสนาได้ ถ้าขั้นฉันอาหาร หยิบหนอ ยกหนอ ใส่ปากหนอ เคี้ยวหนอ กลืนหนอ นี่ก็เหมือนกันอีก สักว่ามือมันหยิบอาหารมาด้วยเหตุปัจจัยนามรูปอะไรก็ตาม ไม่มีกู ไม่มีกูผู้หยิบอาหาร ไม่มีกูผู้กินอาหาร ไม่มีผู้กลืนหนอ อร่อยหนอ ไม่มีตัวตนแห่งความอร่อย ไม่มีตัวตนแห่งบุคคลอร่อยเลย
-- จะเดิน จะยืน จะนั่ง จะนอน จะกิน จะอาบ จะถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ ทุกอย่างแหละ ใส่คำว่า หนอ แล้ว มันเป็น สักว่า เท่านั้น หรือ เช่นนั้น เท่านั้นหนอ มันเป็นวิปัสสนาอยู่ในอริยาบถนั้นๆถึงกับว่าจะบรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์ในอริยาบถนั้นๆอยู่ก็ได้ เพราะว่าเป็นวิปัสสนา
-- การดูและการเห็น มันไม่ได้อยู่ที่ไหนเมื่ไร ในอริยาบถไหนมันก็เกิดบรรลุมรรคผลขึ้นได้ ในอริยาบถนั้นๆที่นั่น และเมื่อนั้น เพราะฉะนั้น เราทำให้ดีๆสิ ทำให้ถูกๆ ให้ดีๆ ให้เป็ยวิปัสสนา คือ ดูและเห็น อยู่ด้วยปัญญาจักษุ ก็จะบรรลุธรรม คือ บรรลุมรรคผล
-- สรุปความว่า ขอให้ปฏิบัติถึงขั้นที่มันเป็นวิปัสสนา เช่น ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ก็ให้ถึงขั้นวิปัสสนา คือ รู้อยู่แก่ใจแจ่มชัดว่า มันสักว่า อริยาบถ ยก ย่าง เหยียบ เท่านั้นหนอ ไม่มีผู้ยก ย่าง เหยียบ สักว่า เป็นกิริยา อาการของการ ยก ย่าง เหยียบ เท่านั้นหนอ นี้เรียกว่า วิปัสสนา คือ การเห็น


ของหลวงพ่อภัททันตะ

เมื่อโยคีบุคคลได้กำหนดพิจรณาในสังเขตธรรมรูป,นามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าตามสภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยอยู่ สันตติบัญญัติและฆนบัญญัติที่กำบังปกปิดการเกิดดับของสังเขตธรรมรูป,นามที่ขาดแตกไป เป็นความเห็นที่บริสุทธิ์เกิดขึ้นเวลาใด เวลานั้นวิปัสสนาญาณของโยคีบุคคลก็เข้าถึงความเป็นอนิจจานุปัสสนาเป็นต้นได้ หมายความว่า ผู้ที่ไม่มีการกำหนดรู้ในสังเขตธรรมที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าทุกๆระยะของจิตและรูปนั้น อย่าว่าแต่ความเกิดดับของสังเขตธรรมรูป,นามเลย แม้แต่รูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าก็ไม่รู้ไม่เห็นเสียแล้วคงรู้คงเห็นแต่บัญญัติ เช่น
เมื่อได้เห็นสีก็คงรู้คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้ ชาย หญิง เด็ก ผู้ใหญ่ สัตว์ ต้นไม้ บ้านเรือน ผ้าผ่อน
เมื่อได้ยินเสียง ก็คงรู้คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้เป็นเสียงชาย หญิง สัตว์ ดนตรี หัวเราะ ร้องไห้
เมื่อได้กลิ่น ก็คงรู้คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้ เป็นกลิ่นดอกไม้ กลิ่นของหอม กลิ่นอาหาร กลิ่นอุจจาระ
เมื่อได้รส ก็คงจะรู้คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้ รสมะขาม มะนาว ส้ม ผลไม้ พริก เกลือ น้ำตาล
เมื่อได้สัมผัสกับความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง ก็คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้ น้ำแข็ง น้ำร้อน ไฟ สำลี นุ่น ไม้ มีด อิฐ หิน พอง ยุบ ร่างกาย หย่อน เบา แข็ง ตุง หนัก ยกมือ ยกขา ดังนี้เป็นต้น
นี้เป็นโดยสันตตบัญญัติและฆนบัญญัติได้กำบังปกปิดในอารมณ์ภายนอกต่างๆและอารัมมณิกวิถีจิตภายในเอาไว้นั่นเอง จึงมีความรู้ความเข้าใจไปดังนี้ เรียกว่า สันตติบัญญัติไม่ขาด ฆนะก็ไม่แตก

แต่ความเป็นจริงนั้น ขณะที่เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ รูปารมณ์เก่าย่อมดับไป รูปารมณ์ใหม่เกิดขึ้น ติดต่อกันไม่ขาดสาย ผู้เห็นคงเห็นแต่รูปารมณ์ที่เกิดใหม่ตลอดระยะเวลาที่ดูอยู่ วิถีจิตที่เกิดขึ้นรับรูปารมณ์คือ การเห็นนั้นแล้ว ก็มีการเห็นเก่าดับไป การเห็นใหม่เกิดแทน ติดต่อกันโดยไม่ขาดสายเช่นกัน แต่แล้วผู้ดูอยู่ก็เห็นผิดเข้าใจไปในรูปารมณ์และการดูของตนว่า รูปารมณ์ที่ตนดูอยู่ก็ดี การเห็นของตนที่กำลังเห็นก็ดี ในนาทีแรกและนาทีหลังคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันคงที่อยู่เป็นปกติ ขณะได้ยิน ได้กลิ่น ได้สัมผัสอยู่ เสียงกับการได้ยินก็ดี กลิ่นกับการได้กลิ่นก็ดี รสกับการกินก็ดี เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง กับการสัมผัสก็ดี เหล่านี้มีสภาวะเช่นกันคือ เก่าดับไป ใหม่เกิดขึ้นติดต่อกันไปไม่ขาดสาย แต่แล้วก็มีการเข้าใจผิดไปว่าเป้นอันหนึ่งอันเดียวกันคงที่อยู่ปกติ การเกิดขึ้นสืบต่อกันแห่งอารมณ์ภายนอกและอารัมมณิกวิถีจิตภายในเป็นสันตติบัญญัติ การเกิดขึ้นสืบต่อเนื่องกันไปมีสภาวะไม่ขาดสายแห่งอารมณ์ภายนอกและอารัมณิกวิถีจิตภายในนั้น ซึ่งคล้ายๆกับเป็นกลุ่มเป็นกอง นี้เป็น ฆนบัญญัติ ในบัญญัติ ๒ ประการนี้ เมื่อสันตติบัญญัติปรากฏในใจ ฆนบัญญัติก็ปรากฏในในพร้อมๆกัน ดังนั้นจะเรียกรวมกันทั้งสองอย่างว่าสันตติฆนบัญญัติก็ได้
สันตติฆนบัญญัติได้กำบังปกปิดไว้ดังกล่าวนี้แหละ จึงทำให้ผู้ที่ไม่มีสติกำหนดรูป,นามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า ไม่มีใครได้รู้เห็นความเกิดดับที่เป็นอนิจจลักขณะได้

ฝ่ายผู้ที่ทำการกำหนดสังเขตธรรมรูป,นามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า โดยมีสติรู้อยู่ติดต่อกันไม่ขาดสายนั้น ย่อมรู้เห็นแทงทะลุปรุโปร่งสันตติฆนบัญญัติ ที่กำลังปกปิดการเกิดดับของสังเขตธรรมรูป,นามไปได้ โดยการกำหนดรู้เห็นวิถีจิตที่ก่อเกิดก่อนและวิถีจิตที่เกิดขึ้นทีหลังในระยะเวลาที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสกับ ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เมื่อย เจ็บ ปวด ดีใจ เสียใจ นึกถึงต่างๆเหล่านี้ขาดลงเป็นตอนๆไม่เป็นอันหนึ่งเดียวกัน ในด้านรูปนั้น ก็คงกำหนดรู้เห็นรูปที่เกิดก่อนและรูปที่เกิดหลัง ในระยะเวลาที่พองขึ้น ยุบลง หายใจเข้า หายใจออก ยกมือ ยกขา ก้าวไปข้างหน้า ถอยมาข้างหลัง ลุกขึ้น นั่งลง เหลียวซ้าย แลขวา กระพริบตา อ้าปาก เหล่านี้ขาดเป็นตอนๆ ไม่ใช่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การรู้เห็นในวิถีและอารมณ์ขาดเป็นตอนๆดังนี้เรียกว่า สันตติบัญญัติขา,ฆนบัญญัติแตก อนิจจลัขณะคือ ความเกิดดับไปก็ปรากฏขึ้น เป็นอันว่าวิปัสสนาญาณของผู้นั้นได้เข้าถึงอนิจจานุปัสสนาที่แท้จริง


- ถ้าผ่านสภาวะมาแล้ว พอมาอ่านตรงนี้เข้า จะร้องอ้อ ทันทีค่ะ แต่ถ้ายังไม่เคยผ่านสภาวะนี้ อ่านยังไงก็อาจจะเข้าใจเพียงแค่ผิวเผิน

- คุณ Puy ใช้ " หนอ " ไม่ใช่หรือคะ อริยาบทเดินจงกรมค่ะ เห็นชัดเจนที่สุด ให้เดินทีละระยะ จนกว่าสติแต่ละระยะจะแน่น แล้วค่อยๆเพิ่มระยะ อย่าไปเดินทีเดียวถึง 6 ระยะ เมื่อเดินไปจนถึงระยะที่ 6 ยิ่งละเอียด ยิ่งเห็นชัด สติและสมาธิจะเกิดอย่างต่อเนื่อง ถ้าเกิดสภาวะก็จะเหมือนที่หลวงพ่อภัททันตะท่านบรรยายไว้น่ะค่ะ เห็นทางจิตนะคะ ไม่ใช่เห็นทางตา การเดินจงกรมก็เหมือนกัน อย่าใช้ตาดูนะคะ แต่เอาจิตจดจ่อแทน คือ แบบรู้ลงไป จดจ่อลงไปทุกอริยาบท ทุกย่างก้าวที่เดินที่ใช้ " หนอ " นี่แหละค่ะ เมื่อ สติ สัมปชัญญะดีแล้ว สมาธิมันจะเกิดต่อเนื่อง ก็จะเกิดสภาวะนี้ในอริยาบทอื่นๆค่ะ ส่วนนั่งสมาธินั้น มันอีกเรื่องหนึ่ง คือเห็นทางจิตเหมือนกัน แต่เห็นอีกอย่างหนึ่ง อันนี้จะเป็นวิปัสสนาญาณค่ะ ไม่ใช่ วิปัสสนา แต่ต้องผ่านฌานแล้วค่ะ ก็เลือกเอานะคะ ค่อยๆตัด กับตัดทีเดียว แต่ก็ต้องใช้ความต่อเนื่องทั้งสองแบบ ถ้าภาษาที่สื่อไปอาจจะทำให้เข้าใจไม่ชัดเจน ต้องขออภัยด้วยค่ะ เพราะเพิ่งจะศึกษาปริยัติที่จะนำมาสื่อสารกันในแง่ของภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติ

การปฏิบัติที่บอกคุณไปทั้งหมดนั้น แล้วแต่คุณจะพิจรณาเองค่ะ ดิฉันเป็นเพียงผู้บอกเล่าให้ฟัง

อนุโมทนา ในความเพียรค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2009, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าไปอ่านกระทู้นี้ค่ะ คุณกรัชกายได้นำเรื่อง บัญญัติ - ปรมัตถ์ ในแง่ความหมายด้านปริยัติค่ะ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=19906&st=0&sk=t&sd=a&start=45

และนี่อีกกระทู้หนึ่งค่ะ ที่จะทยอยลงรายละเอียด
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=19855&st=0&sk=t&sd=a

คือ แล้วแต่จะพิจรณาค่ะ เป็นเพียงบอกเล่า แบ่งปันกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2009, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 22:30
โพสต์: 61


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สวัสดีคะผู้สนใจในธรรมทุกท่าน puy อยากจะถามความคิดเห็นทุกท่านว่าในการที่เราปฏิบัติในการเดินจงกรมหรือนั่งสมาธินั้น การที่เราเดินแล้วมีคำบริกรรมว่า ขวาย่างหนอ หรือซ้ายย่างหนอ หรือคำว่าพองหนอ ยุบหนอ คิดหนอ ฟุ้งซ้านหนอ ทุกคำที่เราใช้บริกรรมนั้นเป็นบัญญัติหรือไม่


เป็นครับ

เป็นวิธีการแบบหนึ่ง ที่จะใช้ในการดึงความสนใจ ของจิตให้มาสู่สิ่งที่บริกรรมอยู่นั้น

เพื่อให้จิตจดจ่ออยู่ในสิ่งที่บริกรรม

สุดท้ายแล้ว คำบริกรรมนั้นก็จะหมดความหมายไป เมื่อสติระลึกรู้ตามทัน



อ้างคำพูด:
และที่เรากำลังปฏิบัตินั้นถ้าเราไม่ต้องใช้คำบริกรรมแต่เรารู้ทุกอย่างไปตามจริงโดยไม่ต้องไปใช้คำบริกรรมนั้นเป็นปรมัตถ์หรือไม่


หากว่า เรามีสติระลึกรู้ในอารมณ์ ตามสติปัฏฐาน4 อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยไม่ใช้ คำบริกรรม ก็สามารถทำได้

แต่การจะรู้ปรมัตถ์ นั้นมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือเป็นเรื่องของ ปัญญา ที่จิต จะรู้ตามความเป็นจริงในขณะนั้น ในขณะที่มีสติระลึกรู้อารมณ์สติปัฎฐานนั้นอยู่ ว่าเป็นอย่างไร เช่น อะไร เป็นรูป - นาม มันมีความ
เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างไร อย่างนี้เป็นต้น

ถ้าเรารู้อยู่แต่เพียงว่า มันเคลื่อนไหวอย่างไร ไปอย่างไร อย่างนี้เป็นต้น ยังไม่น่าจะเรียกว่าปรมัตถ์ ได้



อ้างคำพูด:
ตามความคิดของท่านคิดว่าอะไรเป็นการปฏิบัติที่ทำให้เราเกิดสติและรู้สภาวะนั้นตามความเป็นจริงมากกว่ากัน ขอให้ทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันนะคะ และขออนุโมทนาบุญที่ให้ความรู้เพิ่มเติมขอบคุณคะ



ถ้าปฏิบัติตาม หลักสติปัฏฐาน 4 แล้ว ล้วนแล้วแต่ให้เกิด สติได้เหมือนกันหมด

แต่ต่างวิธีการกันไป ซึ่งก็แล้วแต่บุคคลอีก มันมีหลายเหตุปัจจัยที่จะเป็นตัวกำหนด

แต่การจะรู้สภาวะตามความเป็นจริง ต้องมีปัญญา นี่เป็นสิ่งสำคัญ หากมากำหนดสติแต่เพียงอย่างเดียว
โดยไม่คิดที่จะศึกษาหาความรู้ตามหลักธรรมเลย ก็อยากที่จะนำมาเรียนรู้ให้เข้าใจสภาวะตามความเป็นจริงที่มีอยู่ในตน

เราต้องเข้าใจว่า
สติสัมปชัญญะ นั้น เป็นการตามระลึกรู้อารมณ์ของสติปัฏฐาน 4 อย่างใดอย่างหนึ่ง
ปรมัตถ์นั้น เป็นเรื่องของปัญญาความเข้าใจ ที่จะรู้สภาวะตามความเป็นจริง ให้ถูกต้องตามหลักธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องอาศัย การฟังธรรมะ ศึกษาธรรมะ จนเข้าใจ และนำมาใช้กำหนดรู้ให้เห็นตามที่ศึกษามา
โดยใช้การพิจารณาจากอารมณ์ของสติปัฏฐาน4 อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เรากำหนดอยู่นั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2009, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:09
โพสต์: 112


 ข้อมูลส่วนตัว


:b44:
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=บัญญัติ
ผลค้นหา ลำดับ1/7
บัญญัติ การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น, การกำหนดเรียก, การเรียกชื่อ, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ
ผลค้นหา ลำดับ3/7
พุทธบัญญัติ ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้, วินัยสำหรับพระ

คำถาม... ทุกคำที่เราใช้บริกรรมนั้นเป็นบัญญัติหรือไม่
คำตอบ... ไม่เป็น เพราะ ไม่ได้เป็นข้องบังคับ
…….

http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปรมัตถ์
ปรมัตถ์
1. ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน
2. ความหมายสูงสุด, ความหมายที่แท้จริง เช่น ในคำว่า ปรมัตถธรรม

http://www.84000.org/tipitaka/attha/seek.php?text=ทางสายเอก&t=b&b=9&bs=6
ก็สติแม้ทั้ง ๔ อย่างเหล่านั้น เมื่อยังกิจให้สำเร็จในอารมณ์ทั้งหลายมีกายเป็นต้น (จน) ถึงนิพพานในกาลภายหลัง และผู้มุ่งนิพพานก็ดำเนินไปตั้งแต่นั้น เพราะเหตุดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า สติแม้ทั้ง ๔ อย่างเป็นทางสายเอก. (อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค & สติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน)


คำถาม .. ไม่ต้องใช้คำบริกรรมแต่เรารู้ทุกอย่างไปตามจริงโดยไม่ต้องไปใช้คำบริกรรมนั้นเป็นปรมัตถ์หรือไม่
คำตอบ... เป็นปรมัตถ์เพราะ ..รู้ทุกอย่างตามจริงเป็นข้อความหนึ่งในทางสายเอก
.......
ปราถนาแนะนำ : viewtopic.php?f=1&t=19998

……..
ขอบพระคุณสำหรับคำถาม&คำตอบอื่นที่กรุณาต่อยอดทางปัญญาด้วยครับ

:b44: :b8: เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
และที่เรากำลังปฏิบัตินั้นถ้าเราไม่ต้องใช้คำบริกรรมแต่เรารู้ทุกอย่างไปตามจริงโดยไม่ต้องไปใช้คำบริกรรมนั้นเป็นปรมัตถ์หรือไม่


หากว่า เรามีสติระลึกรู้ในอารมณ์ ตามสติปัฏฐาน4 อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยไม่ใช้ คำบริกรรม ก็สามารถทำได้

แต่ การจะรู้ปรมัตถ์ นั้นมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือเป็นเรื่องของ ปัญญา ที่จิต จะรู้ตามความเป็นจริงในขณะนั้น ในขณะที่มีสติระลึกรู้อารมณ์สติปัฎฐานนั้นอยู่ ว่าเป็นอย่างไร เช่น อะไร เป็นรูป - นาม มันมีความ
เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างไร อย่างนี้เป็นต้น

ถ้าเรารู้อยู่แต่เพียงว่า มันเคลื่อนไหวอย่างไร ไปอย่างไร อย่างนี้เป็นต้น ยังไม่น่าจะเรียกว่าปรมัตถ์ ได้


สาธุค่ะ

ขอตอบบ้างค่ะ....โดยความเห็นส่วนตัวคิดว่าเป็นบัญญัติค่ะ
และการที่เรารู้ทุกอย่างไปตามจริง โดยไม่ต้องไปใช้คำบริกรรมตามพากษ์การรับรู้อารมณ์ของจิต-เจตสิก
ก็ยังเป็นบัญญัติที่สติระลึกรู้เข้าใจตามอารมณ์นั้นๆอยู่ค่ะ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 18:11 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ข้อยกบทความจากหลวงปู่ดุลย์มาฝากคะ
จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย

เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่

สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน

ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว

จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น

การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย

จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น

ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ

เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด

เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย

จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง

หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว

จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด

ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง

จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก

จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา

ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย

จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย

ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่

ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น

มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด

จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้

สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา

ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง

สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร

โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด

สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้

เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้

จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม

ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต

ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต

เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม

สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น

เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ

ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย

ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ

เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย

ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน

เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน

ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์

นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น

พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ

เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น

นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์

เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง

นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

สาธุและขออนุโมทนาบุญสำหรับผู้ปฏิบัติทุกท่านคะ :b16: :b16: :b16: ขอให้มีใจที่ดีกายที่ดีทุกท่านทุกคนคะ :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ทางเดินที่พ้นทุกข์ เมื่อ 12 เม.ย. 2009, 23:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตั้งคำถามๆใหม่

ขณะเดินๆ แล้วเหยียบตะปู (ตะปูตำ) “โอยเจ็บๆ”
ขณะเดินๆ เหยียบถ่านไฟ “โอยร้อนๆ”
ขณะที่เดินๆเหยียมน้ำแข็ง “อูยเย็น”
ขณะที่กระทบอากาศเย็น ”เย็นๆ” หรือรู้สึกหนาว “อูยหนาวๆ”
ขณะลงนั่งบนฟูกรู้สึกนุ่ม “อืมนิ่มๆ” :b1:
ขณะสัมผัสเก้าอี้ ที่ด้วยเหล็กรู้สึกแข็งๆ “เออแข็งๆ”

ช่วยกันคิดว่า
ขณะปัจจุบัน แต่ละขณะๆที่รู้สึกว่า “เจ็บ” ว่า “ร้อน” ว่า “เย็น” ว่า “นิ่มๆ” ว่า “แข็งๆ” ว่าไปตามที่รู้สึกนั้น ๆ เป็นบัญญัติหรือปรมัตถ์ แล้วต้องควานหาความรู้สึกนั้นๆหรือไม่ :b1: :b38:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 07:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุและขออนุโมทนาบุญสำหรับผู้ปฏิบัติทุกท่านขอให้ท่านได้พบกับจิตที่ดีและมีใจที่เป็นความว่างวางจากตัวตนตัณหาและอุปทาน
และขอให้พี่วลัยพรได้มีจิตที่เป็นปรมัตถ์และได้พบพระนิพพานได้ภายในปัจจุบันณชาตินี้นะคะขอขมาด้วยที่ชอบไปแอบอ่านบันทึกของพี่และได้เห็นว่าพี่เป็นผู้ที่ปฏิบัติที่มีการปฏิบัติที่ต่อเนื่องและเป็นกำลังใจให้พี่ได้ประสบความสำเร็จในทุกด้านคะ :b16: :b16: :b16: ขอให้มีใจที่ดีกายที่ดีทุกท่านทุกคนคะ :b8: :b8:[/quote]


โมทนา สาธุ ค่ะคุณ Puy :b8:

ไม่เป็นไรค่ะ เข้าไปอ่านได้ค่ะ ไม่ต้องขอขมาค่ะ อนุญาติให้อ่านได้ทุกคนค่ะ ไม่ใช่ความลับอะไร เป็นเพียงการบอกเล่าเรื่องราวเล่าสู่กันฟังค่ะ สิ่งได้ที่อ่านกันแล้วได้เกิดเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นๆ อนุโมทนาค่ะ แต่ถ้ามีข้อผิดพลาดในด้านภาษาการสื่อ ขอรับผิดแต่เพียงผู้เดียวค่ะ ตอนนี้กำลังฝึกเรื่องการใช้ภาษาอยู่ :b8:

หากมีข้อถกเถียงกันบ้าง เหตุเพราะอาจจะเนื่องจาก รู้ ที่รู้ แตกต่างกัน หรือ ภาษาที่ใช้สื่ออาจจะไม่ค่อยตรงกันเท่าไรนัก ต้องขออโหสิกรรมต่อทุกท่านมาณ ที่นี้ด้วยค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 54 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร