วันเวลาปัจจุบัน 30 มี.ค. 2024, 08:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 12:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
พอดีคำถามที่ถามกับครูบาฯนั้น ไม่ได้ถามจนหมด ถามแค่พอเป็นพื้นฐาน เช่น เมื่อเรามองเห็น หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นชิมรส ผัสสะกับกาย สิ่งเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้น การทำงานของขนัธ์ 5 อันดับแรกคือ รูปขันธ์


อาจารย์ครับผมชักงงงง.....แล้วครับ :b23:

อะไรกระทบรูปขันธ์ ร่างกายจะรู้เองหรือครับ ว่าสิ่งใดกระทบถ้าปราศจากตัวรู้คือ วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์น่าจะทำงานก่อนนะครับ

เช่นนอนหลับอยู่ งูเลี้อยพันขา ถ้ากายวิญญาณไม่ทำงาน ร่างกายจะชักขาหนีเองหรือครับ

อ้างคำพูด:
เรานอนหลับอยู่ ปิดไฟมืดสนิท แล้วได้ยินเสียงกุกกักดังขึ้น เราก็คิดไปต่างๆนาๆ อาจจะคิดว่าเป็นผีหรือเป็นอะไรก็ได้ ทั้งๆที่ไม่มองไม่เห็น นี่ ... สังขารทำงานแล้ว เห็นไหม ไม่จำเป็นต้องมีเวทนา สัญญามาก่อน


นี่ก็ยังงงงครับผม..... :b34:

ผมว่าเสียงซึ่งเป็นรูปภายนอกชนิดหนึ่ง(เสียงไม่ใช่รูปขันธ์นะ) กระทบโสตวิญญาณ จึงรู้ว่าเสียงกุกกัก
วิญญาณก็ทำงานก่อนอยู่ดี ถ้าร่างกายปราศจากวิญญาณเช่นคนตาย มีแต่รูปขันธ์ ก็ไม่ได้ยินเสียง

ถ้าขันธ์5 เริ่มทำงานจากรูปขันธ์ก่อน....เช่นตาเห็นรูป ปราศจากจักษุวิญญาณรับรู้ก่อน ก็คงเหมือนกล้องถ่ายรูปนั่นเอง การทำงานของรูปขันธ์คงไม่ใช่เครื่องจักรกลเช่นนี้ การยิ้มเมื่อเจอคนสวยซึ่งเป็นการทำงานของรูปขันธ์ที่มีชีวิตก็จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน

วอนอาจารย์ช่วยชี้แนะเป็นธรรมทานด้วยครับ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาณ เขียน:
อาจารย์ครับผมชักงงงง.....แล้วครับ

อะไรกระทบรูปขันธ์ ร่างกายจะรู้เองหรือครับ ว่าสิ่งใดกระทบถ้าปราศจากตัวรู้คือ วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์น่าจะทำงานก่อนนะครับ


เมื่อมีผัสสะ(การกระทบกันของรูปขันธ์)สิ่งแรกที่เกิดคือ เวทนา แล้วสัญญาก็ทำงาน(ระลึกรู้)
อ้างคำพูด:
เช่นนอนหลับอยู่ งูเลี้อยพันขา ถ้ากายวิญญาณไม่ทำงาน ร่างกายจะชักขาหนีเองหรือครับ

งู กับ ขา (รูป) พันขา (เวทนา) สิ่งที่มาพันขาคือ งู (สัญญา) น่ากลัวมากต้องชักขาหนี(สังขาร) ชักขาหนี(วิญญาณ)
อ้างคำพูด:
ผมว่าเสียงซึ่งเป็นรูปภายนอกชนิดหนึ่ง(เสียงไม่ใช่รูปขันธ์นะ) กระทบโสตวิญญาณ จึงรู้ว่าเสียงกุกกัก
วิญญาณก็ทำงานก่อนอยู่ดี ถ้าร่างกายปราศจากวิญญาณเช่นคนตาย มีแต่รูปขันธ์ ก็ไม่ได้ยินเสียง
ถ้าขันธ์5 เริ่มทำงานจากรูปขันธ์ก่อน....เช่นตาเห็นรูป ปราศจากจักษุวิญญาณรับรู้ก่อน ก็คงเหมือนกล้องถ่ายรูปนั่นเอง การทำงานของรูปขันธ์คงไม่ใช่เครื่องจักรกลเช่นนี้ การยิ้มเมื่อเจอคนสวยซึ่งเป็นการทำงานของรูปขันธ์ที่มีชีวิตก็จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน

วิญญาณขันธ์มันทำงานเฉพาะที่ครับ จักขุวิญญาณ ก็มีหน้าที่อยู่เฉพาะตา ฆานะวิญญาณ ก็อยู่แค่จมูก โสตวิญญาณ ก็อยู่แค่หู กายวิญญาณก็อยู่แค่กาย ชิวหาวิญญาณก็อยู่แค่ที่ลิ้น พ้นจากที่อยู่ของตัวไปไม่ได้ มโนวิญญาณจึงเป็นตัวที่จะเชื่อมต่อระหว่างการทำงานของขันธ์ 5 กับวงจรของปฏิจสมุปบาท
อ้างคำพูด:
เสียงซึ่งเป็นรูปภายนอกชนิดหนึ่ง(เสียงไม่ใช่รูปขันธ์นะ)

แล้วรูปภายนอกกับรูปขันธ์มันต่างกันยังไงหรือครับท่านฌาณ :b10: :b10:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาณ เขียน:
อ้างคำพูด:
พอดีคำถามที่ถามกับครูบาฯนั้น ไม่ได้ถามจนหมด ถามแค่พอเป็นพื้นฐาน เช่น เมื่อเรามองเห็น หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นชิมรส ผัสสะกับกาย สิ่งเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้น การทำงานของขนัธ์ 5 อันดับแรกคือ รูปขันธ์


อาจารย์ครับผมชักงงงง.....แล้วครับ :b23:

อะไรกระทบรูปขันธ์ ร่างกายจะรู้เองหรือครับ ว่าสิ่งใดกระทบถ้าปราศจากตัวรู้คือ วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์น่าจะทำงานก่อนนะครับ

เช่นนอนหลับอยู่ งูเลี้อยพันขา ถ้ากายวิญญาณไม่ทำงาน ร่างกายจะชักขาหนีเองหรือครับ

อ้างคำพูด:
เรานอนหลับอยู่ ปิดไฟมืดสนิท แล้วได้ยินเสียงกุกกักดังขึ้น เราก็คิดไปต่างๆนาๆ อาจจะคิดว่าเป็นผีหรือเป็นอะไรก็ได้ ทั้งๆที่ไม่มองไม่เห็น นี่ ... สังขารทำงานแล้ว เห็นไหม ไม่จำเป็นต้องมีเวทนา สัญญามาก่อน


นี่ก็ยังงงงครับผม..... :b34:

ผมว่าเสียงซึ่งเป็นรูปภายนอกชนิดหนึ่ง(เสียงไม่ใช่รูปขันธ์นะ) กระทบโสตวิญญาณ จึงรู้ว่าเสียงกุกกัก
วิญญาณก็ทำงานก่อนอยู่ดี ถ้าร่างกายปราศจากวิญญาณเช่นคนตาย มีแต่รูปขันธ์ ก็ไม่ได้ยินเสียง

ถ้าขันธ์5 เริ่มทำงานจากรูปขันธ์ก่อน....เช่นตาเห็นรูป ปราศจากจักษุวิญญาณรับรู้ก่อน ก็คงเหมือนกล้องถ่ายรูปนั่นเอง การทำงานของรูปขันธ์คงไม่ใช่เครื่องจักรกลเช่นนี้ การยิ้มเมื่อเจอคนสวยซึ่งเป็นการทำงานของรูปขันธ์ที่มีชีวิตก็จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน

วอนอาจารย์ช่วยชี้แนะเป็นธรรมทานด้วยครับ :b8: :b8: :b8:


-- ไม่ใช่อาจารย์ค่ะคุณฌาน เป็นเพียงผู้ปฏิบัติธรรมดาๆคนหนึ่งเท่านั้นเอง จะเรียกชื่อเฉยๆ หรือ พี่ ป้า น้า อา ก็ได้ค่ะ
-- ตรงที่คุณฌานถามมา เอาทีละขั้นดีไหมคะ ตอบรวมๆทีเดียว มันเห็นภาพไม่ชัดเจน

-- อายตนะ 12 คือ ทั้งภายนอกและภายใน คุณฌาน เข้าใจหรือยังคะ พูดแบบที่คุณฌานเข้าใจน่ะค่ะ

-- วิญญาณขันธ์ คือ จิตค่ะ มีอีกตัวค่ะ วิญญาณธาตุ เป็นตัวรู้ ตัวเชื่อมระหว่าง อายตนะภายนอกกับภายในกระทบกัน ไปทีละขั้นดีกว่านะคะ จะได้อ่านเข้าใจมากขึ้น

-- เมื่อก่อนก็เข้าใจผิดเหมือนกันค่ะ ว่า วิญญาณขันธ์ เป็นตัวเชื่อม เพิ่งมารู้ตอนที่ครูบาฯท่านบอกน่ะค่ะว่า วิญญาณขันธ์ คือ จิต ยังมีวิญญาณธาตุอีกตัวหนึ่งค่ะ ที่เป็นตัวรู้หรือตัวเชื่อม รวมทั้งรูปารมณ์ด้วยค่ะ ไม่ใช่มีแค่รูปขันธ์ แล้วจะรู้ได้ทันที

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณธาตุ ก็วิญญาณขันธ์นั่นแหละ เพราะท่านจำแนกกระจายขันธ์ 5 เป็นธาตุ เช่น ขันธ์ 5
อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
แล้วรูปภายนอกกับรูปขันธ์มันต่างกันยังไงหรือครับท่านฌาณ


ตอบพี่ณัฐก่อนนะครับ :b6:

รูปภายนอก คือสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มากระทบเช่น ก้อนหิน ลมพัด เสียงน้ำไหล กลิ่นดอกไม้เป็นต้นเราไม่นับเป็นรูปขันธ์ แต่เราเรียกว่ารูปและนามทั่วๆไป

เมื่อกล่าวถึงรูปขันธ์แล้วหมายถึงชีวิตร่างกายอันต้องแก่ เจ็บ ตายนี้

เบญจขันธ์ ได้แก่ กองทั้ง ๕ (กองรูป 1 คือกายและกองนาม 4 คือจิต)

ได้แก่ รูปขันธ์ กองรูป คือ รูปกายนี้,

เวทนาขันธ์ กองเวทนา คือ ความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือ เป็นกลาง ๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข,

สัญญาขันธ์ กองสัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ต่าง ๆ,

สังขารขันธ์ กองสังขาร คือ ความคิดปรุง หรือ ความปรุงคิดต่าง ๆ,

วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ คือ ความรู้สึกเห็นรูป ความรู้สึกได้ยินเสียง เป็นต้น,


ขันธ์ห้าทำงาน...

คือ เป็นอาการที่จิตอาศัยรูป น้อมออกไปรับรู้, รู้เห็นรูป ได้ยินเสียง เป็นต้น ทีแรกก็เป็นวิญญาณ, รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือ เป็นกลาง ๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็เป็นเวทนา, รู้จำก็เป็นสัญญา, รู้ปรุงหรือว่าปรุงคิด ก็เป็นสังขาร,


โจทย์ถามถึงการทำงานของขันธ์ 5 ยกตัวอย่างนะครับ

คนนอนหลับสนิทมีรูปขันธ์คือร่างกายนี้
ถามว่าหลับสนิทได้ยินเสียงไหม ตอบว่าไม่ได้ยินเสียง เพราะหูไม่ทำงาน
(แต่มีการสั่นของอวัยวะรับเสียงในหูนะครับ)

หูจะทำงานได้ยินเสียงก็ต่อเมื่อ โสตวิญญาณมารับรู้
เปรียบเช่นรถยนต์จอดนิ่งๆ วิ่งไม่ได้ จะวิ่งได้เมื่อมีคนขับ....

เช่นกันรูปขันธ์เปล่าๆ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะทำงานไม่ได้ถ้าปราศจากวิญญาณรับรู้ก่อน

ดังนั้นถ้าถามว่าขันธ์ 5 อันไหนทำงานก่อนผมจึงกล่าวว่าวิญญาณเริ่มทำงานก่อนใครครับ

:b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 22:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
-- อายตนะ 12 คือ ทั้งภายนอกและภายใน คุณฌาน เข้าใจหรือยังคะ พูดแบบที่คุณฌานเข้าใจน่ะค่ะ


:b8: สวัสดีครับอาจารย์ เอ๊ย...คุณพี่วลัยพรครับ ตามความเข้าใจผมนะครับ...

อายตนะภายนอกเรียกว่ารูปหรือนามที่มาตกกระทบ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และความรู้สึก

อายตนะภายในคือส่วนของรูปขันธ์ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

อายตนะภายนอก + อายตนะภายใน ยังแปลความหมายไม่ได้ถ้าขาด วิญญาณมารับรู้

(เปรียบเทียบได้กับกล้องถ่ายรูป อายตนะภายนอกคือ วัตถุที่จะถ่าย อายตนะภายในคือฟิลม์
ถ่ายภาพเสร็จ แต่ไม่รู้ว่าภาพอะไรเป็นต้น)

อ้างคำพูด:
ฌาณกล่าวว่า ดังนั้นถ้าถามว่าขันธ์ 5 อันไหนทำงานก่อนผมจึงกล่าวว่าวิญญาณเริ่มทำงานก่อนใครครับ


นั้นคือกรณีมีผัสสะมากระทบทั่วๆไป
แต่ไม่มีผัสสะมากระทบทางอายตนะหก ขันธ์ห้าก็ทำงานได้ครับเช่น ธรรมารมย์

กรณีธรรมารมย์นั้นการทำงานของขันธ์ 5 เริ่มจากสัญญาขันธ์ก่อนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากวิญญาณขันธ์ เช่นอยู่ดีๆ ความจำผุดขึ้นมาว่าแอบรักคนมีเจ้าของ เลยทุกข์ ร้องไห้ออกมาเองได้


หรือเริ่มจากสังขาร อยู่เฉยๆ สงบ มีสมาธิ ผุดความคิดขึ้นมาเอง ยูเรก้า ยูเรก้า ก็ได้


ดังนั้นการทำงานของขันธ์ 5 จึงไม่ได้เรียงว่าเริ่มจาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเสมอไป
ส่วนเรื่องวิญญาณขันธ์และวิญญาณธาตุ นั้นผมมีความเห็นว่า

จิต(มโนธาตุ) หรือวิญญาณธาตุ คือตัวเดียวกันคอยรับรู้การทำงานของวิญญาณขันธ์ สังขารขันธ์
สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์และรูปขันธ์


วิญญาณธาตุ คำๆนี้ไม่ใช้กับการมีชีวิต(เพราะชีวิตคือกายกับจิต จะมีจิตอย่างเดียวไม่ได้)
วิญญาณขันธ์ คำๆนี้จะใช้กับการมีชีวิต (เมื่อมีขันธ์ 5 หมายถึงชีวิตคือกายใจนี้)


ดังนั้นวิญญาณธาตุจึงไม่ใช่วิญญาณขันธ์

:b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาณ เขียน:
อ้างคำพูด:
-- อายตนะ 12 คือ ทั้งภายนอกและภายใน คุณฌาน เข้าใจหรือยังคะ พูดแบบที่คุณฌานเข้าใจน่ะค่ะ


:b8: สวัสดีครับอาจารย์ เอ๊ย...คุณพี่วลัยพรครับ ตามความเข้าใจผมนะครับ...

อายตนะภายนอกเรียกว่ารูปหรือนามที่มาตกกระทบ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และความรู้สึก

อายตนะภายในคือส่วนของรูปขันธ์ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

อายตนะภายนอก + อายตนะภายใน ยังแปลความหมายไม่ได้ถ้าขาด วิญญาณมารับรู้

(เปรียบเทียบได้กับกล้องถ่ายรูป อายตนะภายนอกคือ วัตถุที่จะถ่าย อายตนะภายในคือฟิลม์
ถ่ายภาพเสร็จ แต่ไม่รู้ว่าภาพอะไรเป็นต้น)

อ้างคำพูด:
ฌาณกล่าวว่า ดังนั้นถ้าถามว่าขันธ์ 5 อันไหนทำงานก่อนผมจึงกล่าวว่าวิญญาณเริ่มทำงานก่อนใครครับ


นั้นคือกรณีมีผัสสะมากระทบทั่วๆไป
แต่ไม่มีผัสสะมากระทบทางอายตนะหก ขันธ์ห้าก็ทำงานได้ครับเช่น ธรรมารมย์

กรณีธรรมารมย์นั้นการทำงานของขันธ์ 5 เริ่มจากสัญญาขันธ์ก่อนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากวิญญาณขันธ์ เช่นอยู่ดีๆ ความจำผุดขึ้นมาว่าแอบรักคนมีเจ้าของ เลยทุกข์ ร้องไห้ออกมาเองได้


หรือเริ่มจากสังขาร อยู่เฉยๆ สงบ มีสมาธิ ผุดความคิดขึ้นมาเอง ยูเรก้า ยูเรก้า ก็ได้


ดังนั้นการทำงานของขันธ์ 5 จึงไม่ได้เรียงว่าเริ่มจาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเสมอไป
ส่วนเรื่องวิญญาณขันธ์และวิญญาณธาตุ นั้นผมมีความเห็นว่า

จิต(มโนธาตุ) หรือวิญญาณธาตุ คือตัวเดียวกันคอยรับรู้การทำงานของวิญญาณขันธ์ สังขารขันธ์
สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์และรูปขันธ์


วิญญาณธาตุ คำๆนี้ไม่ใช้กับการมีชีวิต(เพราะชีวิตคือกายกับจิต จะมีจิตอย่างเดียวไม่ได้)
วิญญาณขันธ์ คำๆนี้จะใช้กับการมีชีวิต (เมื่อมีขันธ์ 5 หมายถึงชีวิตคือกายใจนี้)


ดังนั้นวิญญาณธาตุจึงไม่ใช่วิญญาณขันธ์

:b8:


-- ค่อยๆสนทนากันค่ะคุณฌาน ค่อยๆพิจรณา ไม่ต้องรีบร้อน ข้อความที่เรานำมาสนทนากันตรงนี้ คุณฌานสามารถนำไปพิจรณาในเรื่องกลไกการทำงานของขันธ์ ๕ ในขณะที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นในชีวิตปัจจุบัน ณ ขณะนั้นๆ ทั้งทางโลกและทางธรรมค่ะ

-- ธรรมารมณ์ จัดว่า เป็นนามขันธ์ค่ะ ไม่ใช่รูปขันธ์ แต่จะขอไปกล่าวถึงตอนสุดท้าย

-- ที่คุณฌาน กล่าวว่า " ดังนั้นวิญญาณธาตุจึงไม่ใช่วิญญาณขันธ์ " ใช่ค่ะ เป็นการทำงานของวิญาณแต่ละขณะค่ะ เป็นคนละตัวกัน เหมือนเรื่องของ วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท ก็คนละตัวกับวิญญาณในขันธ์ ๕

-- มาเข้าสู่ในเรื่องกระบวนการทำงานของขันธ์ ๕ ดีกว่าค่ะ

ขันธ์ 5 นั้นเกิดจากผัสสะ เป็นการทำงานของอายตนะภายนอก ๖ และภายใน ๖ ที่กระทบกัน ทำงานกันเป็นคู่ ขอขยายใจความเรื่องอายตนะภายนอก ๖ และ ภายใน ๖ ( อายตนะภายใน ๖ คือ เครื่องติดต่อ เครื่องสัมผัส เครื่องรู้ อายตนะภายนอก ๖ )

-- รูป คู่กับ ตา

-- เสียง คู่กับ หู

-- กลิ่น คู่กับ จมูก

-- รส คู่กับ ลิ้น

-- โผฏฐัพพะ คู่กับ กาย

-- ธรรมารมณ์ คู่กับ ใจ


-- องค์ประกอบอีกอย่างที่อยู่ในกระบวนการทำงานของขันธ์ ๕ คือ อารมณ์ หรือ อารมณ หรืออาลัมพน อารมณ์ คือ สิ่งที่มาทำงานกับจิตเจตสิก มี ๖ ได้แก่

๑.รูปารมณ์ ๒. สัททารมณ์ ๓. คันธารมณ์ ๔. รสารมณ์ ๕. โผฏฐัพพารมณ์ ๖. ธัมมารมณ์

วิญญาณธาตุ หมายถึง ธาตุรู้ หรือ ตัวรู้ เมื่ออายตนะภายใน และภายนอกกระทบกัน

-- สนทนาทีละขั้นดีกว่านะคะ เอาเป็นว่า วันนี้ขอถามคำถามว่า " กองรูปขันธ์ กับ รูป ที่เห็นภายนอก เช่น ตาเห็นรูป " เป็นรูปตัวเดียวกันหรือคนละตัว? คำตอบนี้เกี่ยวข้องกับวิญญาณธาตุที่คุณฌานพูดมาค่ะ

-- และก็ขออนุญาติคุณฌาน อยากให้คุณนั่งนิ่งๆ จะนั่งตรงไหนก็ได้ตามสะดวก เอามือทั้งสองวางทับกันบนหน้าท้องตรงตำแหน่งสะดือ หายใจเข้าออกยาวๆ หายใจไปเรื่อยๆ ไม่ต้องกำหนดคือไม่ต้องภาวนาอะไร ให้เอาจิตจดจ่ออยู่กับอาการของกาย ( โผฏฐัพพะ )อย่างเดียวพอ พรุ่งนี้จะมีคำถาม

-- คุณฌาน เวลาเราเป่าลมเข้าลูกโป่ง ลูกโป่งจะพอง ถูกต้องไหมคะ แล้วเวลาที่เราปล่อยลมออกจากลูกโป่ง ลูกโป่งก็จะแฟ่บ ถูกต้องไหมคะ เวลาเราหายใจก็เหมือนกัน หายใจเข้า ลมเข้าท้อง ท้องจะพอง หายใจออก ท้องก็จะแฟ่บ

-- อ้อ ... อยากให้คุณฌานอ่านเรื่องโสฬสธรรมด้วยค่ะ เข้าทางกูเกิ้ลค่ะ เรื่องของพระโมฆราช

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2009, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สวัสดีครับอาจารย์ เอ๊ย... ตามความเข้าใจผมนะครับ...

วิญญาณธาตุ คำๆนี้ไม่ใช้กับการมีชีวิต (เพราะชีวิตคือกายกับจิต จะมีจิตอย่างเดียวไม่ได้)
วิญญาณขันธ์ คำๆนี้จะใช้กับการมีชีวิต (เมื่อมีขันธ์ 5 หมายถึงชีวิตคือกายใจนี้)

ดังนั้นวิญญาณธาตุจึงไม่ใช่วิญญาณขันธ์



คุณฌานเอ๊ย ... :b1: :b12: เรื่องนี้ไม่ใช่คิดเดาเอาตามความรู้สึกน๊า เขามีตำราเรียน มีที่มาที่ไป
ตำราทางศาสนาว่าไว้เขียนไว้อย่างไร ? อุบให้ปรุงแต่งสักระยะหนึ่ง เพื่อเรียนรู้สังขารธรรมไปด้วย

จะปูทางความเข้าใจเรื่องนั้นให้ก่อน ดังนี้

ชีวิตมนุษย์ ทางพุทธศาสนาท่านจำแนกออกเป็น ๕ กอง หรือ ๕ ขันธ์
ในบรรดาขันธ์ ๕ นั้น สรุป มี ๒ อย่าง คือ กายส่วนหนึ่ง (รูปขันธ์) ที่เหลืออีก ๔
เป็น ส่วนนาม (นามขันธ์)

ขันธ์ แปลว่า กอง

อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ หรือ แดน หมายถึงที่ต่อกันให้เกิดความรู้
แดน เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือ แหล่งที่มาของความรู้ แปลอย่างง่ายๆว่า ทางรับรู้
มี ๖ อย่าง ดังที่เรียกในภาษาไทยว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน)

ตามคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์ อายตนะ มีความหมายหลายนัย เช่น แปลว่า เป็นที่สืบต่อแห่งจิตและเจตสิก คือ เป็นที่ที่จิตและเจตสิกทำหน้าที่กันง่วน, เป็นที่แผ่ขยายจิตและเจตสิกให้กว้างขวางออกไป, เป็นตัวการนำสังสารทุกข์อันยืดเยื้อให้ดำเนินสืบต่อไปอีก,
เป็นบ่อเกิด, แหล่ง, ที่ชุมนุม, เป็นต้น (วิสุทธิ. 3/61; สงฺคห.ฎีกา 227)

ธาตุ แปลว่า ทรงไว้ (ซึ่งสภาพของตน) ตัวอย่าง เช่น จักขุธาตุ (จักขุ+ธาตุ)
ทรงไว้ซึ่งสภาพของมัน คือ แลเห็น แต่ไม่ทรงหน้าที่ได้ยิน (โสตธาตุ) เป็นต้น

อินทรีย์ แปลว่า เป็นใหญ่ (ในหน้าที่ของตน) ตัวอย่าง เช่น โสตินทรีย์ (โสต+อินทรีย์)
เป็นใหญ่ในหน้าที่ของมัน คือ ได้ยิน แต่ไม่เป็นใหญ่ในหน้าอื่นๆ มี การเห็น (จักขุนทรีย์)
เป็นต้น

พูดให้เข้าใจง่ายก็คือ หน้าที่ใครหน้าที่มัน ไม่ก้าวก่ายกัน ธรรมชาติสร้างมาอย่างนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2009, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: สาธุครับท่านกรัชกาย อธิบายได้เป็นวิชาการดีครับ
อ้างคำพูด:
หน้าที่ใครหน้าที่มัน ไม่ก้าวก่ายกัน ธรรมชาติสร้างมาอย่างนั้น


ธรรมชาติที่ว่านี่เป็น สังขตธรรม มีสังขาร
ถ้าไม่มีสังขารก็เป็น อสังขตธรรม ชาติจึงไม่มีคงเหลือแค่ธรรม(ชาติไม่มี แก่เจ็บตายก็ไม่มี)

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2009, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


--นำมาฝาก ข้อความเกี่ยวกับขันธ์ ๕ อยู่ช่วงล่างๆ

http://singharat357.blogspot.com/2008/03/6.html

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2009, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านจำแนกชีวิตออกเป็น ๕ กอง หรือ ๕ ขันธ์ แล้วจำแนกแยกย่อยออกอีก เป็นอายตนะบ้าง เป็นธาตุบ้าง เป็นอินทรีย์บ้าง

(จะลงตามแบบก่อน)

ขันธ์ ๕ ดังนี้
ปัญจักขันธา ฯ ๑. รูปปักขันโธ ๒. เวทนากขันโธ ๓. สัญญากขันโธ ๔. สังขารักขันโธ
๕. วิญญาณักขันโธ ฯ


จำแนกขันธ์ ๕ โดยความเป็นอายตนะได้ ๑๒ อย่าง
อายตนะ ๑๒ ดังนี้
ทวาทสายตนานิ ฯ ๑. จักขวายตนัง ๒. รูปายตนัง ๓. โสตายตนัง ๔. สัททายตนัง
๕. ฆานายตนัง ๖. คันธายตนัง ๗. ชิวหายตนัง ๘. รสายตนัง ๙. กายายตนัง
๑๐. โผฏฐัพพายตนัง ๑๑. มนายตนัง ๑๒. ธัมมายตนัง ฯ


จำแนกขันธ์ ๕ โดยความเป็นธาตุได้ ๑๘ อย่าง
ธาตุ ๑๘ ดังนี้
อัฏฐารสะ ธาตุโย ฯ ๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ ๓. จักขุวิญญาณธาตุ ๔. โสตธาตุ
๕. สัททะธาตุ ๖. โสตวิญญาณธาตุ ๗. ฆานธาตุ ๘. คันธธาตุ ๙. ฆานวิญญาณธาตุ
๑๐. ชิวหาธาตุ ๑๑. รสธาตุ ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ ๑๓. กายธาตุ ๑๔.โผฏฐัพพธาตุ
๑๕. กายวิญญาณธาตุ ๑๖. มโนธาตุ ๑๗. ธัมมธาตุ ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ


จำแนกขันธ์ ๕ โดยความเป็นอินทรีย์ได้ ๒๒ อย่าง
อินทรีย์ ๒๒ ดังนี้
พาวีสตินทริยานิ ฯ ๑. จักขุนทริยัง ๒. โสตินทริยัง ๓. ฆานินทริยัง ๔. ชิวหินทริยัง
๕. กายินทริยัง ๖. มนินทริยัง ๗. อิตถินทริยัง ๘. ปุริสินทริยัง ๙. ชิวิตินทริยัง
๑๐. สุขินทริยัง ๑๑. ทุกขินทริยัง ๑๒. โสมนัสสินทริยัง ๑๓. โทมนัสสินทริยัง
๑๔. อุเปกขินทริยัง ๑๕. สัทธินทริยัง ๑๖. วิริยินทริยัง ๑๗. สตินทริยัง
๑๘. สมาธินทริยัง ๑๙. ปัญญินทริยัง ๒๐.อนัญญตัญญัสสามีตินทริยัง ๒๑. อัญญินทริยัง
๒๒. อัญญาตาวินทริยัง ฯ

(เมื่อเพิ่มอริยสัจ ๔ เข้าอีกก็เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระจายชีวิตออกเป็น ๕ กอง

๑. รูปขันธ์ (รูป+ขันธ์)
๒. เวทนาขันธ์ (เวทนา+ขันธ์)
๓. สัญญาขันธ์ (สัญญา+ขันธ์)
๔. สังขารขันธ์ (สังขาร+ขันธ์)
๕. วิญญาณขันธ์ (วิญญาณ+ขันธ์)

ข้อ ๑ เป็นจัดรูปธรรม (ส่วนกาย) ข้อ ๒-๕ เป็นนามธรรม (ความรู้สึกนึกคิด)

ข้อ ๕ วิญญาณ ในอภิธรรมใช้ จิต แทน
ศัพท์ที่เป็นไวพจน์กัน มี ๖ ชื่อ เช่น “จิตฺตํ มโน มานสํ วิญฺญาณํ หทยํ มนํ”

แล้วแยกย่อยออกอีกเป็นอายตนะ มี ๑๒ จัดเป็นคู่ๆ ได้ ๖ คู่

จักขวายตนัง + รูปายตนัง
โสตายตนัง+สัททายตนัง
ฆานายตนัง+คันธายตนัง
ชิวหายตนัง+รสายตนัง
กายายตนัง+โผฏฐัพพายตนัง
มนายตนัง+ธัมมายตนัง ฯ

(จักขวายตนัง + รูปายตนัง =จักขุ+อายตนะ - รูป+อายตนะ)
ฯลฯ
จะเอาศัพท์อายตนะออก

จักขุ + รูป (ตา +รูป)
โสตะ+สัททะ (หู +เสียง)
ฆานะ+คันธะ (จมูก+กลิ่น)
ชิวหา+รสะ (ลิ้น+รสะ)
กายะ+โผฏฐัพพะ (กาย+สัมผัส)
มนะ+ธัมมะ (ใจ + ธัมมะ = สิ่งที่คิดในใจ)


กระจายออกเป็นธาตุได้ ๑๘ อย่าง จัดเป็นกลุ่มได้ ๖ กลุ่ม

จักขุธาตุ+รูปธาตุ+ จักขุวิญญาณธาตุ (จักขุ+ธาตุ - รูป+ธาตุ - จักขุวิญญาณธาตุ) ฯลฯ
โสตธาตุ+สัททธาตุ+ โสตวิญญาณธาตุ
ฆานธาตุ+คันธธาตุ+ฆานวิญญาณธาตุ
ชิวหาธาตุ+ รสธาตุ+ชิวหาวิญญาณธาตุ
กายธาตุ + โผฏฐัพพธาตุ+กายวิญญาณธาตุ
มโนธาตุ +ธัมมธาตุ+ มโนวิญญาณธาตุ ฯ

เมื่อเอาศัพท์ธาตุออกมีรูป ดังนี้

จักขุ+รูป+จักขุวิญญาณ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ---จักขุวิญญาณ = รู้อารมณ์ทางตา) ฯลฯ
โสตะ+ สัททะ + โสตวิญญาณ
ฆานะ+คันธะ + ฆานวิญญาณ
ชิวหา+รสะ+ ชิวหาวิญญาณ
กายะ+โผฏฐัพพะ+ กายวิญญาณ
มโน+ธัมมะ+มโนวิญญาณ

เมื่อกระจายออกเป็นอินทรีย์ ได้ ๒๒ อย่าง ดังนี้

๑. จักขุนทริยัง (จักขุ+อินทรีย์)
๒. โสตินทริยัง (โสต+อินทรีย์)
๓. ฆานินทริยัง (ฆาน+อินทรีย์)
๔. ชิวหินทริยัง (ชิวหา+อินทรี)
๕. กายินทริยัง (กาย+อินทรีย์)
๖. มนินทริยัง (มนะ+อินทรีย์)
๗. อิตถินทริยัง (อิตถี+อินทรีย์)
๘. ปุริสินทริยัง (ปุริส+อินทรีย์)
๙. ชิวิตินทริยัง (ชีวิต+อินทรีย์ )
๑๐. สุขินทริยัง (สุข+อินทรีย์)
๑๑.ทุกขินทริยัง (ทุกข์+อินทรีย์)
๑๒. โสมนัสสินทริยัง (โสมนัส + อินทรีย์)
๑๓. โทมนัสสินทริยัง (โทมนัส+อินทรีย์)
๑๔. อุเปกขินทริยัง (อุเบกขา+ อินทรีย์ )
๑๕. สัทธินทริยัง (สัทธา+อินทรีย์)
๑๖. วิริยินทริยัง (วิริยะ+อินทรีย์)
๑๗. สตินทริยัง (สติ+อินทรีย์ )
๑๘. สมาธินทริยัง (สมาธิ+อินทรีย์)
๑๙. ปัญญินทริยัง (ปัญญา+อินทรีย์)
๒๐.อนัญญตัญญัสสามีตินทริยัง
๒๑. อัญญินทริยัง
๒๒. อัญญาตาวินทริยัง

ข้อ ๒๐-๒๒ องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญา ขณะที่ทำหน้าที่ในมรรคผล (ลืมรายละเอียดรายตัว)
แต่มีศัพท์ อินทรีย์ ต่อท้ายทุกตัว รวมเรียกว่า อินทรีย์ ๒๒ ...ไล่ชื่อมาตามลำดับจาก ๑-๒๒
ก็ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (มน) อิตถี (ความเป็นหญิง) ปุริสะ (บุรุษ = ความเป็น
ชาย) ชีวิต สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา


การแสดงขันธ์ ๕ ลักษณะนี้ เหมือนแนะนำรถทั้งคันที่จอดอยู่กับที่ว่านี่เรียกว่าล้อ นั่นเรียกว่าประตู
นี่เรียกว่าพวงมาลัย เป็นต้น
ที่ท่านอธิบายในปฏิจจสมุปบาท เหมือนแนะนำรถที่กำลังแล่นอยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปจะนำพุทธพจน์ที่สอนเกี่ยวกับขันธ์ ๕ ให้พิจารณา สังเกตด้วยว่า ชื่อเปลี่ยนไปอย่างไร


“ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับไปตามปัจจัยนั้นๆ

นั่นแหละ (กล่าวคือ)

วิญญาณอาศัยจักษุ และ รูปเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักขุวิญญาณ

วิญญาณอาศัยโสต และ เสียงเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ

วิญญาณอาศัยฆาน และ กลิ่นเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ

วิญญาณอาศัยชิวหา และ รสเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ

วิญญาณอาศัยกาย และ โผฏฐัพพะเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ

วิญญาณอาศัยมโน และ ธรรมารมณ์เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ

เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับไปตามเชื้อนั้นๆ...ว่าไฟไม้...ว่าไฟเศษของ...

ว่าไฟหญ้า...ว่าไฟโคมัย...ว่าไฟแกลบ...ว่าไฟหยากเยื่อ...ฯลฯ”

(มหาตัณหาสังขยสูตรเฉพาะตอน ม.มู.12/440-4/472-7)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงแก่พวกเธอซึ่ง สรรพสิ่ง จงฟังเถิด อะไรเล่าคือ สรรพสิ่ง
ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์ นี้เราเรียกว่า สรรพสิ่ง"
(สํ.สฬฺ.18/24/19)

(สรรพสิ่ง - สิ่งทั้งปวง, ครบหมด, ทุกสิ่งทุกอย่าง)

....

“พระองค์ผู้เจริญ เรียกกันว่า โลก โลก ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไร จึงมีโลก หรือ บัญญัติว่าเป็นโลก ?”

“ดูกรสมิทธิ ที่ใดมีตา มีรูป มีจักขุวิญญาณ มีธรรมารมณ์อันพึงรู้ด้วยจักขุวิญญาณ
ที่นั่นก็มีโลก หรือ บัญญัติว่าเป็นโลก
ที่ใดมีหู มีเสียง มีโสตวิญญาณ มีธรรมารมณ์อันพึงรู้ด้วยโสตวิญญาณ
ที่นั่นก็มีโลก หรือ บัญญัติว่าเป็นโลก
ที่ใดมีจมูก มีกลิ่น มีฆานวิญญาณ มีธรรมารมณ์อันพึงรู้ด้วยฆานวิญญาณ
ที่นั่นก็มีโลก หรือ บัญญัติว่าเป็นโลก
ที่ใดมีลิ้น มีรส มีชิวหาวิญญาณ มีธรรมารมณ์อันพึงรู้ด้วยชิวหาวิญญาณ
ที่นั่นก็มีโลก หรือ บัญญัติว่าเป็นโลก
ที่ใดมีกาย มีโผฏฐัพพะ มีกายวิญญาณ มีธรรมารมณ์อันพึงรู้ด้วยกายวิญญาณ
ที่นั่นก็มีโลก หรือ บัญญัติว่าเป็นโลก
ที่ใดมีใจ มีธรรมารมณ์ มีมโนวิญญาณ มีสิ่งอันพึงรู้ด้วยมโนวิญญาณ
ที่นั่นก็มีโลกหรือบัญญัติว่าโลก”

(สํ.สฬ.18/75/48)

“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ที่สุดโลก เป็นสิ่งที่รู้ได้ เห็นได้ ถึงได้ ด้วยการไป
แต่เราก็ไม่กล่าวเช่นกันว่า บุคคลยังไม่ถึงที่สุดโลก จะทำความสิ้นทุกข์ได้”


“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเกิดพร้อมและการดับแห่งโลก จงฟังเถิด
การเกิดพร้อมแห่งโลกเป็นไฉน ?
อาศัยตาและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประจวบแห่งสิ่งทั้งสามนั้น คือ ผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็มีพร้อม
นี้คือการเกิดพร้อมแห่งโลก”
ฯลฯ

“การดับแห่งโลกเป็นไฉน ? อาศัยตาและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประจวบแห่งสิ่ง
ทั้งสามนั้น คือ ผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหานั่นแหละสำรอกดับไปไม่เหลือ ความดับอุปาทานจึงมี
เพราะดับอุปาทาน ความดับภพจึงมี
เพราะภพดับ ความดับชาติจึงมี
เพราะชาติดับ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งหมด ย่อมมีได้อย่างนี้ นี้เรียกว่าการดับแห่งโลก”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“พอเห็นรูป สติก็หลงหลุด ด้วยมัวใส่ใจแต่นิมิตหมายที่น่ารัก แล้วก็มีจิตกำหนัดติดใจ เสวยอารมณ์แล้วก็สยบอยู่กับอารมณ์นั้นเอง เวทนาหลากหลายอันก่อกำเนิดขึ้นจากรูป ขยายตัวเพิ่มขึ้น จิตของเขา
ก็คอยถูกกระทบกระทั่ง ทั้งความอยากและความยุ่งยากใจ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ก็เรียกว่าไกลนิพพาน”

“พอได้ยินเสียง...พอได้กลิ่น...พอลิ้มรส...พอถูกต้องโผฏฐัพพะ...พอรู้ธรรมารมณ์ สติก็หลงหลุด ฯลฯ ก็เรียกว่าไกลนิพพาน”

“เห็นรูปก็ไม่ติดในรูป ด้วยมีสติมั่นอยู่ มีจิตไม่ติดใจ เสวยเวทนาไป ก็ไม่สยบกับอารมณ์นั้น เขามีสติ ดำเนินชีวิตอย่างที่ว่า เมื่อเห็นรูป และถึงจะเสพเวทนา ทุกข์ก็มีแต่สิ้น ไม่สั่งสม เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อย่างนี้ ก็เรียกว่าใกล้นิพพาน”

“ได้ยินเสียง...ได้กลิ่น...ลิ้มรส...ถูกต้องโผฏฐัพพะ...รู้ธรรมารมณ์ ก็ไม่ติดในธรรมารมณ์ ด้วยมีสติ
มั่นอยู่ ฯลฯ ก็เรียกว่าใกล้นิพพาน”
(สํ.สฬ.18/142-5/90-4)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 43 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร