วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ด้วยเหตุเพียงไร บุคคลชื่อว่า เป็นผู้ไม่คุ้มครองทวาร ?
คนบางคน เห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมน้อมรัก ฝากใจในรูปที่น่ารัก
ย่อมขุ่นเคืองขัดใจในรูปที่ไม่น่ารัก
มิได้มีสติกำกับใจ
เป็นอยู่โดยมีจิตคับแคบ (มีใจเล็กนิดเดียว)
ไม่เข้าใจความเป็นจริง ซึ่งความหลุดรอดปลอดพ้นของจิต และ ความหลุดรอดปลอดพ้น
ด้วยปัญญา ที่จะทำให้บาปอกุศลธรรม ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ตัวเขา ดับไปโดยไม่เหลือ;
ฟังเสียงด้วยหู...
สูดกลิ่นด้วยจมูก...
ลิ้มรสด้วยลิ้น...
ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย
รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมรักฝากใจใน...ธรรมารมณ์อันน่ารัก
ย่อมขุ่นเคืองขัดใจใน...ธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก ฯลฯ “


“ด้วยเหตุเพียงไร บุคคลชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองทวาร ?
ภิกษุเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมไม่น้อมรักฝากใจในรูปที่น่ารัก
ไม่ขุ่นเคืองขัดใจในรูปที่ไม่น่ารัก
มีสติกำกับใจ
เป็นอยู่อย่างผู้มีจิตกว้างขวาง ไม่มีประมาณ
เข้าใจตามเป็นจริง ซึ่งความหลุดรอดปลอดพ้นของจิต และ ความหลุดรอดปลอดพ้น
ด้วยปัญญา ที่จะทำให้บาปอกุศลธรรมซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ตัวเขา ดับไปโดยไม่เหลือ;
ฟังเสียงด้วยหู...
ฯลฯ
รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ย่อมไม่น้อมรักฝากใจใน...ธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขุ่นเคืองขัดใจใน...ธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก ฯลฯ “
(สํ.สฬ.18/207-8/150-1)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย อย่างไรจึงจะชื่อว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ?
เมื่อภิกษุสังวรจักขุนทรีย์ (จักขุ+อินทรีย์) อยู่ จิตย่อมไม่ซ่านแส่ไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้ด้วยจักษุ
เมื่อมีจิตไม่ซ่านแส่ ปราโมทย์ก็เกิด
เมื่อมีปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด
เมื่อใจมีปีติ กายก็สงบระงับ
ผู้มีกายสงบ ย่อมเป็นสุข
ผู้มีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ
เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ผู้นั้นจึงนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท”

(เกี่ยวกับ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เช่นเดียวกัน)
(สํ.สฬ.18/144/98)


“อานนท์ การอบรมอินทรีย์ ที่ยอดเยี่ยมในแบบแผนของอารยชน เป็นอย่างไร ?
เพราะเห็นรูปด้วยตา...
เพราะได้ยินเสียงด้วยหู...
เพราะได้กลิ่นด้วยจมูก...
เพราะรู้รสด้วยลิ้น...
เพราะต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ย่อมเกิดความชอบใจบ้าง เกิดความไม่ชอบใจบ้าง เกิดทั้งความชอบใจ
และไม่ชอบใจบ้าง แก่ภิกษุ
เธอเข้าใจชัด ดังนี้ว่า ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งปรุงแต่ง เป็นธรรมหยาบ เป็นของอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น ภาวะต่อไปนี้
จะสงบประณีต นั่นคืออุเบกขา
(ครั้นแล้ว) ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอนั้น ก็ดับไป
อุเบกขาก็ตั้งมั่น”


“สำหรับบุคคลผู้ใดก็ตาม ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมดับไป อุเบกขาย่อมตั้งมั่น โดยเร็วพลันทันที โดยไม่ยาก เสมือนคนหลับตาแล้วลืมตา
หรือ ลืมตาแล้วหลับตา ฯลฯ นี้เรียกว่า การอบรมอินทรีย์ที่ยอดเยี่ยม ในแบบแผนของอารยชน...”
(ม.อุ. 14/856/542)

“ภิกษุทั้งหลาย ก่อนสัมโพธิ เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์ ผู้ยังไม่ตรัสรู้ เราได้เกิดความดำริขึ้น ดังนี้ว่า
อะไรเป็นคุณของจักษุ ? อะไรเป็นโทษของจักษุ ? อะไรเป็นทางออกแห่งจักษุ ?
อะไรเป็นคุณ...เป็นโทษ...เป็นทางออกแห่งโสตะ...ฆานะ...ชิวหา...กาย...มโน ?”

“เราได้เกิดความคิดขึ้น ดังนี้
สุข โสมนัส ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ นี้ คือ คุณของจักษุ
ข้อที่จักษุไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้ คือ โทษของจักษุ
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในเพราะจักษุเสียได้ นี้ คือ ทางออกแห่งจักษุ”

(ของโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เช่นเดียวกัน)

“ตราบใด เรายังมิได้รู้ประจักษ์ตามเป็นจริง ซึ่งคุณของอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้โดย
เป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งทางออกโดยเป็นทางออก
ตราบนั้น เราก็ยังไม่ปฏิญญาว่า เราบรรลุแล้วซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ”

(ต่อไป ตรัสถึงคุณ โทษ ทางออกพ้น แห่งอายตนะภายนอก ๖ ในทำนองเดียวกัน)

(สํ.สฬ. 18/13-14/8-9)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



(จับสาระพุทธพจน์ต่อไปนี้ให้ดีแล้วจะเข้าใจถึงการปฏิบัติกรรมฐาน)


“ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่รู้เห็นจักษุตามที่มันเป็น
รู้เห็นรูปทั้งหลายตามที่มันเป็น
รู้เห็นจักษุวิญญาณตามที่มันเป็น
รู้เห็นจักษุสัมผัสตามที่มันเป็น
รู้เห็นเวทนาอันเป็นสุข หรือ ทุกข์ หรือ ไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามที่มันเป็น
ย่อมไม่ติดพันในจักษุ ไม่ติดพันในรูปทั้งหลาย ไม่ติดพันในจักษุวิญญาณ ไม่ติดพันในจักษุสัมผัส ไม่ติดพันในเวทนาอันเป็นสุข หรือ ทุกข์ หรือ ไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อผู้นั้น ไม่ติดพัน ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง รู้เท่าทันเห็นโทษตระหนักอยู่ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ย่อมถึงความไม่ก่อตัวพอกพูนต่อไป
อนึ่ง ตัณหาที่เป็นตัวก่อภพใหม่ อันประกอบด้วยนันทิราคะ คอยแส่เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ก็จะถูกละไปเสียด้วย
ความกระวนกระวายทางกายก็ดี
ความกระวนกระวายทางใจก็ดี
ความเร่าร้อนกายก็ดี
ความเร่าร้อนใจก็ดี
ความกลัดกลุ้มทางกายก็ดี
ความกลัดกลุ้มทางใจก็ดี ย่อมถูกเขาละได้
ผู้นั้น ย่อมเสวยทั้งความสุขทางกายทั้งความสุขทางใจ
บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น มีความเห็นอันใด ความเห็นนั้น ก็เป็นสัมมาทิฐิ
มีความดำริใด ความดำรินั้น ก็เป็นสัมมาสังกัปปะ
มีความพยายามใด ความพยายามนั้น ก็เป็นสัมมาวายามะ
มีความระลึกใด ความระลึกนั้น ก็เป็นสัมมาสติ
มีสมาธิใด สมาธินั้น ก็เป็นสัมมาสมาธิ
ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีมาแต่ต้นทีเดียว
ด้วยประการดังนี้
เขาชื่อว่า มีอริยมรรคมีองค์แปดอันถึงความบริบูรณ์”

(เกี่ยวกับ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เช่นเดียวกัน)
(ม.อุ.12/828/523)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณค่าทางจริยธรรม

๑. อายตนะเป็นจุดเริ่มต้น และ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของทางแยกระหว่างกุศล กับ อกุศล
ทางสายหนึ่ง นำไปสู่ความประมาทมัวเมา ความชั่ว และการหมกติดอยู่ในโลก
อีกสายหนึ่ง นำไปสู่ความรู้เท่าทัน การประกอบกรรมดี และ ความหลุดพ้นเป็นอิสระ

ความสำคัญในเรื่องนี้อยู่ที่ว่า หากไม่มีการฝึกฝนอบรมให้เข้าใจ และ ปฏิบัติในเรื่องอายตนะอย่างถูกต้องแล้ว ตามปกติมนุษย์ทั่วไป จะถูกชักจูงล่อให้ดำเนินชีวิตในทางที่มุ่งเพื่อ
เสพเสวยโลก เที่ยวทำการต่างๆเพียงเพื่อแสวงหารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ชอบใจ และ ความสนุกสนานบันเทิงต่างๆ มาปรนเปรอตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย และใจอยากของตน พอกพูนความโลภ โกรธ หลง แล้วก่อให้เกิดความวุ่นวายเดือดร้อนทั้งแก่ตนและผู้อื่น
พอจะเห็นได้ไม่ยากว่า การเบียดเบียนกัน การขัดแย้งแย่งกัน การกดขี่บีบคั้น เอารัดเอาเปรียบกัน ตลอดจนปัญหาสังคมต่างๆ ที่เกิดเพิ่มขึ้น และ ที่แก้ไขกันไม่สำเร็จ
โดยส่วนใหญ่แล้ว ก็สืบเนื่องมาจากการดำเนินชีวิตแบบปล่อยตัว ให้ถูกล่อถูกชักจูงไปในทางที่จะปรนเปรออายตนะอยู่เสมอ จนเคยชินและรุนแรงยิ่งขึ้นๆนั่นเอง

คนจำนวนมาก บางทีไม่เคยได้รับการเตือนสติให้สำนึก หรือ ยั้งคิดที่จะพิจารณา
ถึงความหมายแห่งการกระทำของตน และ อายตนะที่ตนปรนเปรอบ้างเลย และไม่เคยปฏิบัติเกี่ยวกับการฝึกอบรม หรือ สังวรระวังเกี่ยวกับอายตนะ หรือ อินทรีย์ของตน จึงมีแต่ความลุ่มหลงมัวเมายิ่งๆขึ้น

การแก้ไขทางจริยธรรมในเรื่องนี้
ส่วนหนึ่ง อยู่ที่การสร้างความเข้าใจให้รู้เท่าทันความหมายของอายตนะ และ สิ่งที่เกี่ยวข้องว่าควรจะมีบทบาท และความสำคัญในชีวิตของตนแค่ไหน เพียงไร

และอีกส่วนหนึ่ง ให้มีการฝึกฝนอบรมด้วยวิธีประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุม การสำรวมระวังใช้งาน และรับใช้อายตนะเหล่านั้น ในทางที่จะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ชีวิต
ของตนเองและแก่สังคม

๒. อายตนะ เป็นแหล่งที่มาของความสุขความทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายแห่งการดำเนินชีวิตทั่วไปและความเพียรพยายามเฉพาะกิจแทบทุกอย่างของปุถุชน
ด้านความสุขก็เป็นการแสวงหา
ด้านความทุกข์ก็เป็นการหลีกหนี
นอกจากสุขทุกข์จะเกี่ยวเนื่องกับปัญหาความประพฤติดีประพฤติชั่ว ที่กล่าวในข้อ ๑ แล้ว
ตัวความสุขทุกข์นั้น ก็เป็นปัญหาอยู่ในตัวของมันเอง ในแง่ของคุณค่า ความมีแก่นสาร และความ
หมายที่จะเข้าพึ่งพาอาศัยมอบกายถวายชีวิตให้อย่างแท้จริงหรือไม่

คนไม่น้อย หลังจากระดมเรี่ยวแรงและเวลาแห่งชีวิตของตนวิ่งตามหาความสุขจากการ
เสพเสวยโลก จนเหนื่อยอ่อนแล้วก็ผิดหวัง เพราะไม่ได้สมปรารถนาบ้าง
เมื่อหารสอร่อยหวานชื่น ก็ต้องเจอรสขื่นขมด้วย
บางทียิ่งได้สุขมาก ความเจ็บปวดเศร้าแสบกลับยิ่งทวีล้ำหน้า เสียค่าตอบแทนในการได้ความสุขไป
แพงกว่า ได้มาไม่คุ้มกันบ้าง

ได้สมปรารถนาแล้ว แต่ไม่ชื่นเท่าที่หวัง หรือ ถึงจุดที่ตั้งเป้าหมาย แล้วความสุขกลับวิ่งหนีออกหน้าไปอีก ตามไม่ทันอยู่ร่ำไปบ้าง
บางพวก ก็จบชีวิตลงทั้งที่กำลังวิ่งหอบ ยังตามความสุขแท้ไม่พบ หรือ ยังไม่พอ
ส่วนพวก ที่ผิดหวังแล้ว ก็หมดอาลัยปล่อยชีวิตเรื่อยเปื่อยไปตามเรื่อง อยู่อย่างทอดถอน ความหลังบ้าง
หันไปดำเนินชีวิตในทางเอียงสุดอีกด้านหนึ่ง โดยหลบหนีตีจากชีวิตไปอยู่อย่างทรมานตนเองบ้าง

การศึกษาเรื่องอายตนะนี้ มุ่งเพื่อให้เกิดความรู้เท่าทันสภาพความจริง และ ประพฤติปฏิบัติด้วยการวางท่าทีที่ถูกต้อง ไม่ให้เป็นพิษเป็นภัยแก่ตนเองและผู้อื่นมากนัก
อย่างน้อยก็ให้มีหลัก พอรู้ทางออกที่จะแก้ไขตัว

นอกจากจะระมัดระวังในการใช้วิธีการที่จะแสวงหาความสุขเหล่านี้แล้ว ยังเข้าใจขอบเขตและขั้นระดับต่างๆ ของมัน แล้วรู้จักหาความสุข ในระดับที่ประณีตยิ่งขึ้นไปด้วย
ความประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับสุขทุกข์นี้ ย่อมเป็นเรื่องของจริยธรรมไปด้วยในตัว

๓. อายตนะ ในแง่ที่เป็นเรื่องของกระบวนการรับรู้และการแสวงปัญญา ก็เกี่ยวกับจริยธรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้น เพราะถ้าปฏิบัติในตอนเริ่มแรกไม่ถูกต้อง การรับรู้ก็จะไม่บริสุทธิ์
แต่จะกลายเป็นกระบวนการรับรู้ที่รับใช้กระบวนการเสพเสวยโลก หรือ เป็นส่วนประกอบ
ของกระบวนธรรมแบบสังสารวัฏไปเสีย ทำให้ได้ความรู้ที่บิดเบือน เอนเอียง เคลือบแฝง
มีอคติ ไม่ถูกต้องตรงตามความจริง หรือ ตรงกับสภาวะตามที่มันเป็น

การปฏิบัติในทางจริยธรรมที่จะช่วยเกื้อกูลในเรื่องนี้ ก็คือวิธีการที่จะรักษาจิตให้ดำรงอยู่
ในอุเบกขา คือ ความมีใจเป็นกลาง มีจิตราบเรียบเที่ยงตรงไม่เอนเอียง ไม่ให้ถูกอำนาจกิเลสมีความ
ชอบใจไม่ชอบใจเป็นต้นเข้าครอบงำ

๔. การปฏิบัติทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับอายตนะโดยตรงบ้าง
โดยอ้อมบ้าง มีหลายอย่าง
บางอย่าง ก็มีไว้เพื่อใช้ในขั้นตอนต่างๆกัน ทั้งนี้สุดแต่ว่าปัญหามักจะเกิดขึ้นที่จุดใด
ทุกข์ และบาป อกุศล มักได้ช่องเข้ามาที่ช่วงตอนใด
อย่างไรก็ตาม ท่านมักสอนย้ำให้ใช้วิธีระวัง หรือ ป้องกันตั้งแต่ช่วงแรกที่สุด คือ ตอนที่อายตนะรับ
อารมณ์ทีเดียว เพราะจะทำให้ปัญหาไม่เกิดขึ้นเลย จึงเป็นการปลอดภัยที่สุด

ในทางตรงข้าม ถ้าปัญหาเกิดขึ้นแล้ว คือ บาป อกุศลได้ช่องเข้ามาแล้ว มักจะแก้ไขยาก เช่น เมื่อปล่อยให้อารมณ์ที่ล่อเร้าเย้ายวน จิตถูกปรุงแต่งจนราคะ หรือ โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นแล้ว ทั้งที่รู้ผิดชอบชั่วดี มีความสำนึกในสิ่งชอบธรรมอยู่ แต่ก็ทนต่อความเย้ายวนไม่ได้ ลุอำนาจกิเลส ทำบาปอกุศลลงไป
ด้วยเหตุนี้ท่านจึงย้ำวิธีระมัดระวังป้องกันให้ปลอดภัยไว้ก่อนตั้งแต่ต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ธรรม สำคัญที่ใช้ระมัดระวังตั้งแต่ต้น ก็คือ สติ ซึ่งเป็นตัวควบคุมจิตไว้ให้อยู่กับหลัก หรือ พูดอีกนัยหนึ่ง เหมือนเชือกสำหรับดึงจิต

สติ ที่ใช้ในขั้นระมัดระวังป้องกันเกี่ยวกับการรับอารมณ์ของอายตนะแต่เบื้องต้นนี้
ใช้ในหลัก ที่เรียกว่า อินทรีย์สังวร ซึ่งแปลว่า การสำรวมอินทรีย์
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การคุ้มครองทวาร หมายถึง การมีสติพร้อมอยู่ เมื่อรับอารมณ์มีรูป เป็นต้น
ด้วยอินทรีย์มีตา เป็นอาทิ- (จักขุนทรีย์)ก็ไม่ปล่อยใจถือไปตามนิมิตหมายต่างๆ อันจะเป็นเหตุให้เกิดความติดพันขุ่นเคืองชอบใจไม่ชอบใจ แล้วถูกอกุศลธรรมเข้าครอบงำจิตใจ
การปฏิบัติตามหลักนี้ ช่วยได้ทั้งด้านป้องกันความชั่วเสียหาย ป้องกันความทุกข์ และป้องกันการสร้าง
ความรู้ความคิดที่บิดเบือนเอนเอียง

อย่างไรก็ตาม การที่จะปฏิบัติให้ได้ผล มิใช่ว่าจะนำหลักมาใช้เมื่อไรก็ได้ตามปรารถนา เพราะสติจะตั้งมั่นเตรียมพร้อมอยู่เสมอ จำต้องมีการฝึกฝนอบรม อินทรีย์สังวร จึงต้องมีการซ้อม หรือ ใช้อยู่เสมอ

การฝึกฝนอบรมอินทรีย์ มีชื่อเรียกว่า อินทรีย์ภาวนา (การเจริญอินทรีย์) ผู้ที่ฝึกฝนอบรม หรือ เจริญอินทรีย์แล้ว ย่อมปลอดภัยจากบาปอกุศลธรรม ความทุกข์ และความรู้ที่เอนเอียงบิดเบือนทั้งหลาย*
เพราะป้องกันไว้ได้ก่อนที่สิ่งเหล่านั้นจะเกิดขึ้น หรือ แม้หากความชอบใจ ไม่ชอบใจจะหลุดรอดเกิดขึ้นมา ก็สามารถระงับ หรือ สลัดทิ้งไปได้เร็วพลัน

อินทรีย์สังวรนี้ จัดว่าเป็นหลักธรรมในขั้นศีล แต่องค์ธรรมสำคัญที่เป็นแก่น คือ สตินั้นอยู่ในจำพวกสมาธิ ทำให้มีการใช้กำลังจิต และ การควบคุมจิตอยู่เสมอ จึงเป็นการฝึกอบรมสมาธิไปด้วยในตัว

หลักธรรมอีกอย่างหนึ่ง ที่ท่านแนะนำให้เป็นข้อปฏิบัติในเรื่องนี้ เป็นหลักในระดับปัญญา เรียกว่า โยนิโสมนสิการ
หลักนี้ใช้ในช่วงตอนที่รับอารมณ์เข้ามาแล้ว โดยให้พิจารณาอารมณ์นั้น เพื่อเกิดความรู้เท่าทัน เช่น พิจารณาคุณ โทษ ข้อดีข้อเสีย ของอารมณ์นั้น พร้อมทั้งภาวะอันเป็นอิสระปลอดภัยอยู่ดีมีสุขได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยอารมณ์นั้นในแง่ที่จะต้องให้คุณ และ โทษของมันเป็นตัวกำหนดความสุข
ความทุกข์ และ ชะตาชีวิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


* ในแง่ความรู้ความคิดที่เอนเอียงบิดเบือน ในที่นี้หมายเฉพาะปลอดภัยจากเหตุใหม่
ไม่พูดถึงเหตุที่สั่งสมไว้เก่า คือ ตัณหามานะทิฐิที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นอีกตอนหนึ่งต่างหาก


-โยนิโสมนสิการ - คิดถูกวิธี, รู้จักคิด, คิดเป็น, คิดเร้ากุศล, คิดตรงตามสภาวะและเหตุปัจจัย คิดสืบถึงต้นเค้า



อินทรีย์สังวร - ความสำรวมอินทรีย์ ไม่ได้หมายถึง การปิดหู ปิดตาไม่ให้เห็น ไม่ให้ได้ยิน
เป็นต้น

ในขั้นต้น หมายถึงการควบคุมจิตใจ ควบคุมความรู้สึกได้ในเมื่อเกิดความรับรู้ทางตา
ทางหู เป็นต้น ไม่ให้ถูกชักจูงไปในทางที่ถูกกิเลสครองงำ

ในขั้นสูง เมื่อกลายเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว มีความหมายถึงขั้นเป็นนายเหนือความรู้สึกต่างๆ ที่จะเกิดจากการรับรู้เหล่านั้น สามารถบังคับให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ได้ตามต้องการ

(ดูอินทรีย์ภาวนาสูตร - ม.อุ.14/853/541)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การฝึกสติมีความสำคัญดังกล่าว และ ต้องมีหลัก
เมื่อจะพูดถึงคำว่า วิปัสสนา สติเองก็มิใช่วิปัสสนา การใช้ปัญญาหรือปัญญาต่างหากเป็นวิปัสสนา

แต่ทั้งสติ และปัญญา เป็นต้น ต่างก็มีความสำคัญอยู่ในตัวของมัน
แต่ก็ต้องอาศัยกันเสริมหนุนกันและกันเป็นไป จึงจะสำเร็จประโยชน์
หากจะเปรียบก็เหมือนเครื่องเรือนต่างก็หนุนกันและกัน มีความสำคัญด้วยกันอยู่ในตัวของมันเอง
ว่ากันตั้งแต่เสาเข็มขึ้นไปจนถึงหลังคา ฉันใดก็ฉันนั้น

การพูดถึงข้อธรรมตัวใดตัวหนึ่ง เช่น สติ หรือ สัมปชัญญะหรือ สมาธิ เป็นต้น
ท่านแยกๆ ออกอธิบาย เพื่อให้นักศึกษาเห็นแง่มุม-หน้าที่ของข้อธรรมนั้นๆ ว่ามีหน้าอย่างไรๆ
อุปมาเหมือนจัดเครื่องแกง เช่น พริก, ข่า,ตะไคร้, กระเทียม, กะปิ เป็นต้น

แต่เวลาปฏิบัติ หรือ ลงมือฝึกจริงๆ แล้วแยกพูดแยกคิดไม่ออกไมได้ เพราะธรรมชาตินามธรรม คือ เจตสิกกับจิต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์เป็นอย่างเดียวกัน
อุปมาเหมือนเครื่องแกงดังกล่าว ที่ถูกโคลก หรือบดจนละเอียด แล้วใส่หม้อเติมน้ำแกงแล้ว
อันการจะเขี่ยหาค้นหา พริก, ข่า,ตะไคร้, กระเทียม, กะปิ เป็นต้นอีก ย่อมเป็นไปไม่ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ม.ค. 2009, 08:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(พิจารณาสาระสั้นๆจากคัมภีร์อีกครั้ง)


ที่จริง สติ ไม่ใช่วิปัสสนา
ปัญญา หรือ การใช้ปัญญาต่างหากเป็นวิปัสสนา
แต่ปัญญา จะได้โอกาสและจะทำงานได้อย่างปลอดโปร่งเต็มที่ก็ต่อเมื่อมีสติคอยช่วยกำกับหนุนอยู่ด้วย
ดังนั้นการฝึกสติจึงมีความสำคัญมากในวิปัสสนา

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึกสติก็เพื่อจะใช้ปัญญาได้เต็มที่ หรือ เป็นการฝึกปัญญาไปด้วยนั่นเอง

ปัญญาที่ทำงานร่วมอยู่กับสติในกิจทั่วๆไป มักมีลักษณาการที่เรียกว่า สัมปชัญญะ



-สติเกิดร่วมกับปัญญา จึงจะมีกำลัง ขาดปัญญาย่อมอ่อนกำลัง (ม.อ.3/28; วิภงฺค.อ.406)
-ปัญญาปราศจากสติไม่มีเลย (วิสุทธิ.ฎีกา1/302)
-ผู้ปราศจากสติ ย่อมไม่มีอนุปัสสนา (ที.อ.2/474; สํ.อ.3/270 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร