วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 09:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2008, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


บทเรียนธรรมะบทที่ 3 หลักวิชชาและหลักปฏิบัติ เพื่อพัฒนาพุทธศาสนา

ในบทเรียนนี้จะเน้นทั้งหลักวิชชาการ และหลักปฏิบัติ ไปพร้อมๆกัน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเหตุว่า หลักวิชชาการ บางอย่างบางชนิด สามารถเป็นได้ทั้งสองอย่าง คือเป็นทั้งหลักวิชาการ และหลักปฏิบัติ ซึ่งหลักการทางพุทธศาสนาส่วนใหญ่นั้น จะเป็นหลักวิชชา หรือหลักธรรม(ส่วนรายละเอียด) หรือหลักการที่ต้องนำไปเป็นปัจจัยประกอบในการปฏิบัติ และเรียก หลักวิชชา หรือหลักธรรม (ส่วนรายละเอียด) หรือหลักการ ทั้งหลายเหล่านั้นว่า “ ญาณ อันนับเข้าในวิปัสสนา ” ในบทที่ 3 นี้ จะยกเอาคำ หรือประโยค ประโยคหนึ่ง ขึ้นมาเป็นหัวข้อ เพื่ออธิบายให้เกิดความรู้ ความเข้า และเกี่ยวโยง สัมพันธ์ไปถึง หลักการ สมถะกัมมัฏฐานฐาน และ วิปัสสนากัมมัฏฐานฐาน เพราะทั้งสมถะกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน ล้วนย่อมทำให้เกิดการสร้าง ความเจริญให้กับสติ สร้างความเจริญให้กับ จิตใจ ความคิด ความรู้ และความเข้าใจ อันจักนำไป
สู่ความเจริญในด้านต่างๆนับตั้งแต่ ระดับตัวบุคคล จนไปถึง ระดับการปกครองบ้านเมืองประเทศชาติ ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
"เจริญสติ" คืออะไร
คำว่า"เจริญสติ" ในทางความหมายของภาษา หมายถึง การสร้าง การระลึกได้ หรือการนึกได้ ไม่เผลอ ให้ดีขึ้น ให้งอกงามขึ้น , การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง(การเอาใจจดจ่อ หรือการเอาใจฝักใฝ่ หรือการเอาใจเข้าไปผูกอยู่ในสิ่งนั้น) จำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้(คัดลอกและผนวกความจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก และ พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
ดังนั้นจากความหมายดังกล่าว ก็ตอบได้เลยว่า คำว่า "เจริญสติ"นั้น ในทางพฤติกรรมหมายถึง การบำรุงรักษาสมองฯ การควบคุมควบคิด มิให้ฟุ้งซ่าน เพราะการคิดฟุ้งซ่าน จะทำให้สติ(ความระลึกได้ นึกได้ ความไม่เผลอ) ลดน้อยถอยลง
และจากความหมายทางพฤติกรรม การจะ "เจริญสติ"ได้ ก็ต้องประกอบไปด้วย ปัจจัยหลายสิ่งหลายประการ นับตั้งแต่ การรับประทานอาหาร การพักผ่อนให้เพียงพอ การศึกษาร่ำเรียนศิลปะวิทยาการด้านต่างๆ การศึกษาและปฏิบัติ ตามหลักการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความมีสติ ตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งก็คือการปฏิบัติ สมาธิ ที่ได้กล่าวไป เป็นปัจจัยหลายๆอย่างประกอบกัน เพื่อให้เกิดความเจริญในด้าน การระลึกนึกถึง ไม่เผลอ หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วิธีการ เจริญสติ" หรือ การ เจริญสติ
ท่านทั้งหลาย อย่าหลงผิด คิดอยู่แต่ในด้านเดียวว่า การเจริญสติจะต้องเป็นผู้มีสมาธิ คือต้องฝึกสมาธิเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีปัจจัยดังที่ได้กล่าวไป เป็นเครื่องประกอบ ถ้าคิดอยู่แต่ในด้านเดียว แล้วสอนไป เท่ากับว่า รู้ไม่จริง ไม่เข้าใจในหลักธรรมที่แท้จริงว่า ต้องมีเหตุและปัจจัยประกอบกันหลายอย่างหลายประการ
อนึ่ง ท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจไว้อย่างหนึ่งว่า การปฏิบัติสมาธินั้น จะสร้างสติ ให้กับบุคคลนั้นๆ เนื่องจากเป็นธรรมชาติของมนุษย์ อันเกิดจากระบบการทำงานของสรีระร่างกาย
หากท่านทั้งหลายฝึกสมาธิอยู่เป็นประจำ ประกอบกับมีปัจจัยอื่นๆผสมผสานไปด้วยแล้ว ความมีสติของท่านทั้งหลาย อันเกี่ยวกับศิลปะวิทยาการ และหลักธรรมในหมวดธรรมต่างๆ ของท่านทั้งหลาย ย่อมมีความเจริญ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอยู่เนืองๆ
ดังนั้น คำว่า เจริญสติ จึงมีความหมาย ทั้งที่เป็นความหมายทางด้านภาษา ,ทั้งที่เป็นความหมายทางด้านพฤติกรรม อีกทั้ง การ เจริญสติ ย่อมต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายประการดังที่ได้กล่าวไป
เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านจนเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการ “เจริญสติ” จนเกิดเป็นพื้นฐานกันบ้างแล้ว ท่านทั้งหลายก็ควรได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจในหลักการ หรือหลักวิชชา หรือหลักธรรม (ส่วนรายละเอียด) อันนับเป็น ญาณ หรือนับเป็นวิธีการปฏิบัติ เพื่อให้เกิด สติ หรือ เกิดความรู้ เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติธรรมตามแนวทางพุทธศาสนา ให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอน เพื่อการพัฒนาทั้งตัวเอง อันหมายถึง การพัฒนาพุทธศาสนา ตามไปด้วย เพราะหากผู้ศรัทธา หรือผู้เกี่ยวข้อง หรือบุคคลากร ทางพุทธศาสนา มีความรู้ มีความเข้าใจ ในหลักธรรม ในหลักปฏิบัติอย่างถ่องแท้ ถูกต้อง ศาสนาย่อมเกิดความเจริญ คือ ดีขึ้น งอกงามขึ้น เป็นไปตามยุคสมัย ดังที่ข้าพเจ้าจักได้อรรถาธิบายความ ต่อไปนี้.-
สมถะ กัมมัฏฐาน หมายถึง การปฏิบัติสมาธิ แบบธรรมดา คือ การเอาใจจดจ่อ หรือ การเอาใจฝักใฝ่ หรือการเอาใจเข้าไปผูกอยู่ ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อไม่ให้เกิดความคิด เพื่อไม่ให้เกิด อารมณ์ หรือเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึก หรือ เพื่อไม่ใช้เกิดสภาพสภาวะจิตใจในรูปแบบต่างๆกัน เช่น ดีใจ เสียใจ ห่วงหา วิตก กังวล ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น
รวมความแล้ว สมถะ กัมมัฏฐาน คือ การฝึกควบคุมสรีระร่างกาย ในด้าน ความคิด อารมณ์ ความรู้สึกฯลฯ มิให้ฟุ้งซ่าน คือให้สงบ
ผลแห่งการฝึกปฏิบัติ สมถะ กัมมัฏฐาน หรือสิ่งที่ได้รับจากการปฏิบัติ สมถะ กัมมัฏฐาน ก็คือ สติ- สัมปชัญญะ ทำให้สมองสติปัญญา ดีขึ้น ฯลฯ


วิปัสสนา กัมมัฏฐาน หมายถึง การปฏิบัติสมาธิ โดยการเอาใจจดจ่อ หรือเอาใจฝักใฝ่ หรือการเอาใจเข้าไปผูกอยู่ในหลักวิชชาการอันเป็นญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา และหรือ หลักธรรมะทั้งหลาย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติได้ หรือจะเรียกแบบภาษาทั่วๆไปว่า "ปัญญา"
วิปัสสนา กัมมัฏฐาน จะต้องประกอบ ด้วยสมถะ กัมมัฏฐาน คือต้องมีการปฏิบัติ สมถะ กัมมัฏฐานมาดีแล้ว จึงจะสมควรฝึกวิปัสสนา หรือจะกล่าวอีกในรูปแบบหนึ่ง ก็คือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นขั้นตอนต่อจากสมถะ กัมมัฏฐาน

ที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า สมถะกัมมัฏฐาน ต้องมาก่อน วิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นเพียงการกล่าวในหลักวิชชาหรือหลักการปฏิบัติธรรมะ ตามหลักพุทธศาสนาเท่านั้น
แต่ถ้าหากเป็นไปตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายแล้ว
อุบายให้ใจสงบ หรือ สมถะกัมมัฏฐาน กับ อุบายเรืองปัญญา หรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน จะควบคู่กันมา เหตุเพราะ เป็นธรรมชาติ ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยเฉพาะมนุษย์ อันเกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อม และการได้รับการขัดเกลาทางสังคม ในทุกด้าน และยังหมายรวมถึง กรรมพันธุ์ อีกด้วย ในที่นี้จะไม่อธิบายในรายละเอียด อันยังมีอีกมากมายเกี่ยวเรื่องของสมาธิ กับ พฤติกรรม หรือการกระทำใดใด ของมนุษย์
ซึ่งสามารถที่จะพิสูจน์ได้ด้วยตัวท่านเองว่า มีจริง เป็นจริงดังที่ข้าพเจ้าได้สอนไป ความจริงแล้วก็สอนหลายครั้งหลายหนแล้ว
ถึงอย่างไรก็ตาม เหตุเพราะมนุษย์มีสมาธิ (อันหมายถึง สมถะกัมมัฏฐาน) และย่อมมีการใช้สมอง การคิด การระลึกนึกถึงหลักวิชาการ วิธีการ หรือเทคนิคในการทำกิจการใดใด (อันหมายถึง วิปัสสนากัมมัฏฐาน) อยู่เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว
ดังนั้น พุทธศาสนา จึงนำเอาธรรมชาติแห่งสรรพสิ่ง มากำหนดเป็นหลักการ หรือวิธีการ ในการปฏิบัติธรรมะ เพื่อการขจัดอาสวะแห่งกิเลสทั้งมวล
ดังนั้นข้อแตกต่างระหว่าง สมาธิ ในธรรมชาติทั่วไปของสิ่งมีชีวิต จึง แตกต่าง จาก สมถะกัมมัฏฐาน อยู่บ้าง ขอให้ท่านทั้งหลายได้คิดพิจารณาดูด้วยตัวเอง เป็นการฝึกตัวเองในชั้นหนึ่ง
และก็เช่นกัน ข้อแตกต่างระหว่าง การใช้สมอง การคิด การระลึกนึกถึง หลักวิชาการ วิธีการ หรือเทคนิคในการทำกิจการใดใด ก็ย่อมมีข้อแตกต่าง จากการปฏิบัติ วิปัสสนากัมมัฏฐาน อยู่บ้าง ก็ให้ท่านทั้งหลายผู้สนใจได้คิด พิจารณาดูด้วยตัวเอง ก็จะเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่ก็อย่าลืมว่า หลักวิชาการหลากหลายชนิด ที่สามารถนับเข้าในวิปัสสนาได้
หมายความ สามารถเป็นหลักวิชชาที่สามารถทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และเป็นเครื่องช่วยในการขจัดอาสวะแห่งกิเลสได้
ความที่ได้กล่าวไปทั้งหมดแล้วนั้น ล้วนเป็นหลักวิชชาการ และเป็นหลักการในการปฏิบัติธรรม คือเป็นได้ทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน และย่อมก่อให้เกิด ความเจริญคือ ดีขึ้น งอกงามขึ้น ทั้งทาง จิตใจ ทั้งทาง ความรู้ ความเข้าใจ และความคิด ย่อมเป็นหนทางในอันที่จะพัฒนาพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2008, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อความต่อไปนี้นำมาจากกระทู้ ฆ่าอะไรจึงไม่บาป เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้คิดพิจารณาตามหลักความเป็นจริงตามหลักธรรมชาติ ซึ่งข้าพเจ้าเคยสอนบรรทัดฐานเอาไว้ ในบทเรียนธรรมะบทเรียนที่ 1 และบทเรียนที่2(ธรรมะ คืออะไรในพุทธศาสนา) ดังต่อไปนี้....

"ครั้งหนึ่ง อูนุ มามืองไทยแล้วจะไปอยุธยา ต้องมีหน่วยอารักขา กลัวชาวอยุยาจะเล่นงานอูนุ
อูนุแกไม่ได้รู้เรื่อง แกไม่ได้มีส่วนมาเผากรุงศรีอยุธยา อะไรแม้แต่น้อย ไอ้พวกกรุงศรีอยุธยาตายตกนรกยังไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดสักคนเดียว แล้วเราจะโกรธคนสมัยใหม่ได้อย่างไร
ถ้าเราจะโกรธ โกรธให้มันถูก

โกรธอะไร?... โกรธกิเลสสิ
ไอ้นี่แหละที่ควรจะโกรธควรจะฆ่า ควรจะโกรธความโลภ ความโกรธ ความหลง ความริษยาพยาบาท ความแข่งดี ความถือตัว เรียกว่ากิเลสทุกประเภทเป็นเรื่องน่าโกรธน่าเกลียด แล้วน่าฆ่ามันเสียเลยอย่าเอาไว้
กิเลสที่ควรฆ่า มันอยู่ที่ไหน อยู่ที่ตัวเรานั่นแหละสำคัญนักหนา เราดูว่าตัวเรามีอะไร ฆ่ามันเสีย ฆ่าความโลภ ฆ่าความโกรธ แล้วเราก็สบาย

เคยมีคนไปถามพระพุทธเจ้าว่า ฆ่าอะไรจึงจะไม่บาปมีความสุขด้วย พระองค์ตรัสว่า "โกธัง ฆัตตะวา สุขัง เสติ - ฆ่าความโกรธได้ มีความสุข"

ฆ่าความโกรธได้ มีความสุข เพราะฉะนั้นเราอย่าไปโกรธคน แต่เราโกรธสิ่งที่ทำให้ไม่เป็นคนสิ่งที่ทำคนไม่ให้เป็นคนคืออะไร... ก็คือกิเลสประเภทต่างๆ ตัวใหญ่ก็ ๓ ตัว ตัวโลภะ โทสะ โมหะ นี่แหละไอ้โลภ โกรธ หลง ไอ้ ๓ ตัวนี่แหละตัวร้ายเป็นตัวที่เราเห็นหน้ามันแล้ว ต้องเล่นงานมันเลยทีเดียวอย่าปล่อยให้มันมาโจมตีเรา อย่าให้มันมาเป็นนายเหนือเรา

เดี๋ยวนี้คนเราไม่โกรธกิเลส แต่ว่ากลับไปโกรธคน มันไม่ถูก คนเรานี่ใช่ว่าจะชอบการมีกิเลสกับเขาเมื่อไหร่ ไม่รู้ไม่เข้าใจแล้วเผลอ มันก็มีขึ้น น่าสงสารด้วยซ้ำไป
คัดลอกจาก กระทู้ "ฆ่าอะไร ไม่บาป" เป็นตัวอย่างให้ได้คิดพิจารณา......

คนทำชั่วนี่เป็นคนที่น่าสงสาร ควรจะหาทางว่าเราจะช่วยเขาอย่างไร ให้เขาดีขึ้น ให้เขาเจริญขึ้น ให้มีปัญญาให้รู้จักรักษาจัวรอดปลอดภัย เราควรจะทำอย่างไร นั่นแหละจึงจะเป็นการถูกต้อง

แต่เราไม่ค่อยคิดอย่างนั้น เขามีกิเลสแล้ว เรากลับมีกิเลสขึ้นมาด้วย เช่น เราเกลียดเขานี่มันเป็นกิเลส เราโกรเขา เราก็มีกิเลส เราริษยาเขาเราก็มีกิเลส เราทำอะไรในทางไม่ดีก็เท่ากับว่า ช่วยเพิ่มสิ่งชั่วร้ายขึ้นในสังคม

สังคมจะดีขึ้นได้อย่างไรถ้าเราไม่ช่วยกันทำลายสิ่งชั่วร้าย

หน้าที่ของเราทุกคน คือ ต้องทำลายสิ่งชั่วร้ายในตัวเราและในบุคคลอื่นให้หมดไป


(จากปาฐกถาธรรม วันอาทิตย์ที่ ๑ เมษายน ๒๕๒๗ : แสงธรรมส่องทาง ปัญญานันทิกขุ, กองทุนศูนย์สืบอายุพระพุทธศาสนา, วัดชลประทานรังสฤษฏ์)

พฤษภกาสร อีกกุญชร อันปลดปลง
โททนต์ เสน่งคง สำคัญหมาย ในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้น ทั้งอินทรีย์
สถิตย์ทั่ว แต่ชั่วดี ประดับไว้ ในโลกา "

ข้อความด้านบนนั้น แสดงให้เห็นถึงความไม่รู้แจ้งแห่งผู้ที่ได้เขียนหรือได้กล่าว เอาปลายเหตุมาสอน ทำลายพุทธศาสนา ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงกาล จะว่าเป็นการบิดเบือนก็ได้ เพราะ
อันความโกรธ ความโลภ ความหลง จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อได้สัมผัสทางอายตนะฯ และเกิดความคิด เกิดการระลึกนึกถึง
ถ้าไม่คิด ไม่ระลึกนึกถึง ก็ย่อมไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง นี้เป็นพื้นฐานในการขจัดอาสวะแห่งกิเลส มนุษย์ฆ่าความโกรธ ความโลภ ความหลง ได้ยาก ถ้าเกิดขึ้นแล้ว แต่มนุษย์
สามารถฆ่าความคิด คือไม่คิด ไม่ระลึกนึกถึงได้ หรือสามารถคิดในทางที่จะไม่เกิดความโกรธ ความโลภ ความหลงได้ดีกว่า เมื่อโกรธ โลภ หลงแล้ว จะระงับมัน
หมายความว่า ถ้าเกิดความ โกรธ ความโลภ ความหลง ขึ้นในใจแล้ว ฆ่ามัน หรือระงับความโกรธ ความโลภ ความหลงได้ยาก
ดังนั้นหากจะสอนบุคคลให้ระงับซึ่งความโกรธ ความโลภ ความหลงเหล่านั้น จึงควรสอนให้เขาทั้งหลายรู้จักควบคุมความคิด ตามหลักสมถะกัมมัฏฐาน และสอนให้รู้จักคิดเพื่อละกิเลส ตามหลักวิปัสสนากัมมัฏฐาน
หากทั้งหลายเคยได้ติดตามบทเรียนต่างๆที่ข้าพเจ้าได้สร้างเป็นบรรทัดฐานไว้
ท่านทั้งหลายย่อมรู้ และเข้าใจ ว่า การไม่ระลึกนึกถึง การไม่คิด เมื่อได้สัมผัสทางอายตนะนั้น คืออะไร
ดังนั้น ในบทเรียนที่ 3 นี้ ย่อมเป็นบันไดพื้นฐาน ในการทำความเข้าใจ ในหลักการหรือวิธีการในการขจัดอาสวะแห่งกิเลส อันเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ หมายความว่า มนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) สามารถขจัดอาสวะแห่งกิเลสได้เองตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพียงแต่เขาเหล่านั้น ไม่รู้วิธีการหรือหลักการ แห่งการขจัดอาสวะแห่งกิเลส เท่านั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 132 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร