วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2008, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ธ.ค. 2008, 22:36
โพสต์: 1


 ข้อมูลส่วนตัว


จากหัวข้อกระทู้ เราสับสนอยู่ 2 ประเด็น คือ

    1. เคยได้ยินมาว่าที่บางคนเป็นทุกข์เพราะผู้อื่น เกิดจากชาติก่อนเคยไปทำอะไรให้เขาจองเวรไว้ ชาตินี้จึงต้องใช้กรรม ทำให้เราคิดว่า ถ้าเราอโหสิกรรมให้อีกฝ่าย เรื่องก็จะจบที่ชาตินี้
    2. จากสุภาษิตที่ว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ทุกคนล้วนย่อมหนีกรรมไม่พ้น และประกอบกับเคยได้ยินมาว่า เวรกรรมหักล้างกันไม่ได้ แต่สามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้ ทำให้เราคิดว่า ถ้าเขาทำกรรมอะไรไว้ ยังไงเขาย่อมได้รับผลกรรมนั้นแน่นอน

ปรากฏว่า 2 ประเด็นนี้มันขัดแย้งกันเอง เราจึงสงสัยว่า ถ้าเราอโหสิกรรมให้อีกฝ่ายไปแล้ว เขาจะมีกรรมติดตัวไปชาติหน้าหรือไม่

รบกวนผู้รู้ช่วยอธิบายให้เข้าใจด้วยขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2008, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


WuDragon เขียน:
จากหัวข้อกระทู้ เราสับสนอยู่ 2 ประเด็น คือ

    1. เคยได้ยินมาว่าที่บางคนเป็นทุกข์เพราะผู้อื่น เกิดจากชาติก่อนเคยไปทำอะไรให้เขาจองเวรไว้ ชาตินี้จึงต้องใช้กรรม ทำให้เราคิดว่า ถ้าเราอโหสิกรรมให้อีกฝ่าย เรื่องก็จะจบที่ชาตินี้
    2. จากสุภาษิตที่ว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ทุกคนล้วนย่อมหนีกรรมไม่พ้น และประกอบกับเคยได้ยินมาว่า เวรกรรมหักล้างกันไม่ได้ แต่สามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้ ทำให้เราคิดว่า ถ้าเขาทำกรรมอะไรไว้ ยังไงเขาย่อมได้รับผลกรรมนั้นแน่นอน

ปรากฏว่า 2 ประเด็นนี้มันขัดแย้งกันเอง เราจึงสงสัยว่า ถ้าเราอโหสิกรรมให้อีกฝ่ายไปแล้ว เขาจะมีกรรมติดตัวไปชาติหน้าหรือไม่

รบกวนผู้รู้ช่วยอธิบายให้เข้าใจด้วยขอรับ


-- เราอโหสิกรรมให้เขาไปแล้ว เรื่องระหว่างเรากับเขา มันก็จบกันแค่ชาตินี้ แต่ ... ถ้าเราอโหสิกรรมแล้ว เราจบแล้ว เขายังไม่จบ ยังได้กระทำเหตุนั้นๆอยู่ ตัวเขานั้นย่อมได้รับผลที่เขาทำในอนาคตแน่นอนค่ะ จากคนอื่นที่เคยมีวิบากกรรมร่วมกับเขาค่ะ ไม่ใช่จากเรา เพราะเราจบแล้ว เมื่อไม่ได้สร้างเหตุ(กรรมหรือการกระทำ) แล้ว ผล(วิบากกรรมหรือผลของการกระทำ) ย่อมไม่มีเกิดขึ้นค่ะ

-- เวรตัดได้ค่ะ โดยการอโหสิกรรมต่อกัน คือเลิกแล้วกันไปไม่พยาบาทจองเวรซึ่งกันและกัน
-- แต่กรรมหรือการกระทำนั้นตัดไม่ได้ค่ะ สร้างเหตุอย่างไรย่อมได้รับผลเช่นนั้น เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 04:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ WuDragon พอมีเวลาศึกษาทำความเข้าใจพุทธศาสนาสองลิงค์ดูครับ

อ่านลิงค์นี้ก่อนครับ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=19015

ต่อด้วยลิงค์นี้

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=19058

ยาวหน่อยนะครับ ค่อยๆอ่านทำความเข้าใจเอา :b42:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b10: :b10: แล้ว เวรกับกรรม ต่างกันอย่างไรคะ ช่วยอธิบายทีละคำนะคะ :b10: :b10:
เราอ่านลิ้งค์ที่K.กรัชกายแนะนำแล้วนะค่ะ คำว่ากรรม แต่ยาวมากเลยยังไม่ค่อยแจ่มนะคะ รบกวน ช่วยแนะนำหรือยกตัวอย่างง่ายสั้นๆพื้นๆ ได้ไม๊คะ อย่าลืมคำว่า เวร ด้วยนะคะ พี่รบกวนด้วยนะคะ :b5:
พี่บัวบานแค่ 2 ดอกน่ะค่ะ เกรงใจน้องๆจริงค่ะ ธรรมะขอบคุณมาด้วยนะคะ :b8: :b8:
:b44: :b44: รบกวนท่านอื่นๆช่วยแนะนำด้วยนะคะ หลายๆคำตอบจะได้รู้แจ้งๆค่ะ :b27: :b27:
:b31: :b31: :b31: :b31: :b31:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


การอโหสิกรรม เป็นกรรมอย่างหนึ่ง (มโนกรรม) ซึ่งจัดอยู่ในส่วนของเหตุ อยู่ในฝ่ายของกุศล

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฏแห่งกรรม เป็นส่วนของผล

มันเป็นเหตุผลรับกันอยู่ครับ มิได้ขัดกันแต่อย่างใด..... :b13: :b13:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 11:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ"WuDragon"ครับ




1. เคยได้ยินมาว่าที่บางคนเป็นทุกข์เพราะผู้อื่น เกิดจากชาติก่อนเคยไปทำอะไรให้เขาจองเวรไว้ ชาตินี้จึงต้องใช้กรรม ทำให้เราคิดว่า ถ้าเราอโหสิกรรมให้อีกฝ่าย เรื่องก็จะจบที่ชาตินี้

....มันมี 2 ฝ่ายนะครับ คุณก่อกรรมกับเขาในอดีตชาติ เขาต้องเป็นอโหสิกรรมให้คุณจึงจะถูก แล้วคุณอโหสิกรรมที่เขาทำคุณคืนในชาตินี้ นั่นถูกแล้วครับ แต่ในทางปฏิบัติ ใจคุณอโหสิกรรมให้เขาจริงๆหรือเปล่า อันนั้นตัวคุณเองเท่านั้นที่ตอบได้

2. จากสุภาษิตที่ว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ทุกคนล้วนย่อมหนีกรรมไม่พ้น และประกอบกับเคยได้ยินมาว่า เวรกรรมหักล้างกันไม่ได้ แต่สามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้ ทำให้เราคิดว่า ถ้าเขาทำกรรมอะไรไว้ ยังไงเขาย่อมได้รับผลกรรมนั้นแน่นอน

.....การได้รับผลกรรมนั้น อาจจะเป็นได้รับใน 5 ปี 10 ปี 100 ปี หรือ 1000 ปีก็ได้นะครับ ผมของกรรมดีก็เช่นเดียวกัน

"เวรกรรมหักล้างกันไม่ได้" .....ใครบอกคุณล่ะ เวรกรรมที่หักล้างกันไม่ได้ เป็นเรื่องของกรรมมวลรวมในอดีตชาติที่มีมากมายก่ายกอง แต่กรรมในชาตินี้ชาติเดียว หักล้างกันได้ครับ เหมือนคุณเป็นหนี้เขา 100 บาท แล้วคุณให้เงินเขา 1000 บาท เจ้ากรรมนายเวรของคุณส่วนใหญ่ก็พอใจทั้งนั้น

แต่สามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้ ......ถูกแล้วครับ

3. ปรากฏว่า 2 ประเด็นนี้มันขัดแย้งกันเอง เราจึงสงสัยว่า ถ้าเราอโหสิกรรมให้อีกฝ่ายไปแล้ว เขาจะมีกรรมติดตัวไปชาติหน้าหรือไม่

รบกวนผู้รู้ช่วยอธิบายให้เข้าใจด้วยขอรับ

.....คุณอโหสิกรรมให้เขาแล้ว แต่เขาอโหสิกรรมให้ตัวเองหรือเปล่าล่ะ ถ้าเขาไม่อโหสิกรรมให้ตัวเอง เขาก็ต้องมีกรรมติดตัวไป แต่ในชาตินี้ เมื่อไรเขารู้สึกสำนึกผิด กรรมนั้นก็ไม่ตามไปถึงชาติหน้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:09
โพสต์: 112


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
ขออนุญาตตอบ
อ้างถึง http://guru.sanook.com/dictionary/dict_ ... &x=34&y=13

อโหสิกรรม =กรรมที่เลิกให้ผล; การเลิกแล้วต่อกัน, การไม่เอาโทษแก่กัน.

อ้างถึง http://www.phuttha.com/book/pa86aj/life-important.pdf
ข้อความ สรุปบางตอน ว่าดังนี้ ..การเขียนหนังสือด้วยปากกาลงบนกระดาษแผ่นเดียวนั้น ครั้งแรกอ่านเข้าใจได้ง่ายแต่ยิ่งเขียนทับก็จะยิ่งอ่านออกยาก นี้ฉันใด การทำกรรมดีชั่วก็ฉันนั้น ทับถมกันมานับชาติไม่ถ้วน...ความซับซ้อนของกรรมแตกต่างจากความซับซ้อนตัวหนังสือ ...โดยผลที่ปรากฏขึ้นของกรรมนั้นเองเป็นเครื่องช่วยแสดงให้เห็น

ความติดเห็นส่วนตัว
ตอบข้อ1.การอโหสิกรรมต้องทำมาจากความจริงใจ เพราะมันจะทำให้ใจออกจากอกุศลจิต(จิตที่เศร้าหมอง)....โดยใช้อุบายพรหมวิหาร4(เมตตา...ทุกคนย่อมถูกกระทบด้วยอารมณ์ต่างๆ เว้นเสียไม่ได้หรอกครับเพราะเรายังอยู่ในโลกนี้)ก็จะยังผลให้ผู้รับและผู้ให้มีความสุขครับ

ตอบข้อ 2.1 ทำดีได้ดีและทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามแต่เส้นกรรมที่แต่ละท่านขีดเขียนไว้ที่ทับถมกันมานับชาติไม่ถ้วนครับ
2.2 กรณีที่ผมต้องไปเกี่ยวข้องกับคนที่ผมคิดว่าเขาคิดผิดคิดไม่ดี ผมจะใช่หลักพรหมวิหาร4(เมตตา.....)ก็ได้แต่พยายามช่วยเพื่อนร่วมวัฎสงสาร //เท่าที่ช่วยได้ เพราะเข้าใจเอาเองว่าน่าสงสารที่จะมีเบื้องล่างที่เศร้าหมองเป็นเบื้องปลายของผู้นั้น…นอกจากนั้นก็ใช้อริยสัจ4ให้การหาหนทางแก้ทุกข์ที่อาจจะเกิดจากผู้นั้น(ผู้ที่คิดผิด)เพื่อความพ้นทุกข์เกิดแก่ตัวและผู้ที่อยู่รอบข้าง

หวังว่าความคิดของผมพอจะช่วยท่านได้บ้างแม้เล็กน้อยผมก็ดีใจ//ผิดพลาดประการใดแนะนำครับ

เจริญในธรรม
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"้ถ้าเราอโหสิกรรมไปแล้ว อีกฝ่ายจะมีกรรมติดตัวไปชาติหน้าหรือไม่"
สาธุค่ะสำหรับชื่อกระทู้

แมวฯ ไม่ติดใจสงสัยค่ะว่าอีกฝ่ายจะมีกรรมติดตัวหรือไม่ เพราะแค่เรื่องกรรมของตัวเองยังไม่มีปัญญารู้เลยค่ะ :b5: เลยสนใจแต่ กาย จิตที่เราครองอยู่ ยังแยกแยะ วิเคราะห์ยากยิ่งเลยค่ะ...หุ หุ ขอโทษถ้า คห.มันเกะกะลูกตา .. คือ ตัณหามันพามาน่ะค่ะ :b9: :b9: :b9:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2008, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รอฟังคำอธิบาย คำว่า "เวร" กับ "กรรม" ที่คุณ O.wan ถามยังไม่เห็นคำตอบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2008, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกายก็อยากรู้ความหมายคำว่า เวร กับ กรรม นะครับว่าหมายถึงอะไรกันแน่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2008, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านกรัชกายยังไม่รู้หรอกหรือ :b10: ไม่น่าเชื่อ :b14: แล้วใครจะรู้ล่ะผู้ที่มากความรู้อย่างท่านยังไม่รู้

กระผมว่าท่านกรัชกายรู้นะ....แต่อยากได้ความเห็นคนอื่น.. :b13:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2008, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ natdanaiคนเราใช่จะรู้ไปหมดทุกเรื่อง คุณ O.wan ก็บอกอยู่แล้วว่า อ่านลิงค์ กรรม ที่กรัชกายลงแล้วไม่ค่อยเข้าใจ จึงต้องการคำอธิบาย คำว่า เวร กรรม สั้นๆ

ถ้าจะให้เดานะครับ ขอเดาว่า เวรกรรม ที่เราว่ากันอยู่นี่ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล หรือเป็นคำอุทาน
คล้ายๆ พระช่วย ตาเถร เวรกรรม ประมาณเนี้ย หรือไงครับ ลองช่วยๆคุณวลัยพรอธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ
ให้คุณ o.wan เข้าใจเถอะนะครับ กรัชกายไม่ค่อยแจ้งจริงๆ ไม่ใช่พูดเล่น :b8: :b12:

ถ้าในแง่จิตวิทยา อันนี้พอฟังได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2008, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


กระผมลองมั่งก็ได้ครับ

เรื่องของเวร....นึกถึงสมัยยังเรียนประถม นักเรียนจะต้องมี เวร (ทำความสะอาดห้อง) แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ แล้วก็เวียนกันทำเวร วันละกลุ่มเวียนกันไปจนครบสัปดาห์ แล้วก็ต้องมีการจองวันที่จะทำเวรกันด้วย (จองเวร)

เวร ในความเข้าใจของกระผม เป็นเหมือนการผูกพยาบาท (ผูกเวร) เปรียบได้กับความปราถนา แต่เป็นไปในด้าน อกุศล

กรณีตัวอย่าง....มีคนกลุ่มหนึ่งมารุมทำร้ายเราโดยที่เราไม่รู้เลยว่ามาทำร้ายเราด้วยเหตุใด เราอยากจะตอบโต้ แต่ด้วยความที่มีเราเพียงคนเดียวการต่อสู้จึงมิใช่ทางออกที่ดี เราจึงเลือกที่จะเก็บความโกรธนั้นไว้เพื่อแก้แค้นในวันหลัง(นี่คือการผูกเวร)

จากตัวอย่าง หากเราอโหสิกรรมให้คนกลุ่มนั้น การจองเวรก็ไม่เกิดขึ้น เมื่อเราเจอคนกลุ่มนั้นก็ไม่ต้องไปไล่ล้างแค้นกัน ก็ไม่มีกรรมต่อกัน วงจรของ เวรกรรม ก็จบ...

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 05:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


กระผมลองมั่งก็ได้ครับ

เรื่องของเวร....นึกถึงสมัยยังเรียนประถม นักเรียนจะต้องมี เวร (ทำความสะอาดห้อง) แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ แล้วก็เวียนกันทำเวร วันละกลุ่มเวียนกันไปจนครบสัปดาห์ แล้วก็ต้องมีการจองวันที่จะทำเวรกันด้วย (จองเวร)

เวร ในความเข้าใจของกระผม เป็นเหมือนการผูกพยาบาท (ผูกเวร) เปรียบได้กับความปราถนา แต่เป็นไปในด้าน อกุศล


K.Natdanai อธิบายมีมุขดีค่ะ เราว่าหรือมันไม่มีความหมายอะไรลึกซึ้ง แค่เป็นคำคล้องจอง กับคำว่ากรรมซึ่งดวามหมายที่ทุกคนทราบดีมั้งคะ
:b9: :b32: :b9: :b32: :b9: :b32: :b9: :b32: :b9: :b32:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


O.wan เขียน:
K.Natdanai อธิบายมีมุขดีค่ะ เราว่าหรือมันไม่มีความหมายอะไรลึกซึ้ง แค่เป็นคำคล้องจอง กับคำว่ากรรมซึ่งดวามหมายที่ทุกคนทราบดีมั้งคะ
:b9: :b32: :b9: :b32: :b9: :b32: :b9: :b32: :b9: :b32:


จะว่าไปแล้วพิจารณาไปเรื่อยๆ...." เวร นั้นเป็นปัจจัยให้เกิด กรรม " หรือ " เพราะมีเวร กรรมจึงมี "
การ อโหสิกรรม ก็คือการไม่จองเวร หรือ ดำริเลิกที่จะผูกพยาบาทเขา(สัมมาสังกัปโป)

:b13: :b13:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 49 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร