วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 08:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2008, 06:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสติปัฏฐานนั้น เท่าที่พอจะทราบมา ก็สามารถเป็นได้ทั้งสองลักษณะ คือ

1.การเจริญสติปัฏฐานโดยตรงไปเลย โดยไม่ฝึกสมาธิภาวนา(เช่น อานาปานสติ)เลย

2.ฝึกอานาปานสติ และใช้อานาปานสติเป็นเครื่องมือสนับสนุนในการเจริญสติปัฏฐาน

(ขขออนุญาต งดการสนทนาเรื่องความเชื่อที่ว่า อานาปานสติปิดกั้นการเจริญวิปัสสนาน่ะครับ เคยคุยกันในกระทู้เก่าๆมากแล้ว)



.................................................



# 1.การเจริญสติปัฏฐานโดยตรงไปเลย โดยไม่ฝึกสมาธิภาวนา(เช่น อานาปานสติ)เลย

ก็สามารถกระทำเช่นนั้นได้จริงๆ น่ะครับ
เพราะ สติปัฏฐานนั้น ก็มีพร้อมทั้ง สมถะและวิปัสสนาอยู่ในตัว(อ้างอิงจาก พุทธธรรม)

หลายท่านในสมัยพุทธกาล ที่ไม่เคยฝึกอานาปานสติมาก่อนเลย ที่ฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์ก็สามารถตรัสรู้ได้เลยจริงๆ

แม้นแต่ ครูบาอาจารย์พระป่ากรรมฐาน ในยุคปัจจุบัน
เช่น หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านก็เคยกล่าวถึงการเจริญสติปัฏฐานโดยตรง เอาไว้ดังนี้


แต่นักปฏิบัติทั้งหลายอย่าไปตั้งใจปฏิบัติเฉพาะเวลาเรานั่งหลับตาทำสมาธิหรือเดินจงกรม ให้พยายามทำสติกำหนดรู้ การยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำทุกลมหายใจ อันนี้เป็นจุดยืนของนักปฏิบัติ ถ้าหากเอาแต่เวลานั่งสมาธิเดินจงกรม เป็นการสำรวม หรือเป็นการภาวนาเท่านั้น เราอาจจะนั่งสมาธิภาวนาวันละ 3-4 ชั่วโมง แต่หากเวลาที่เราปล่อยจิตปล่อยใจให้เป็นไปตามกิเลสและอารมณ์มากกว่านั้น จิตของเราจะไม่สามารถสร้างพลังขึ้นมาต่อสู้ความรู้สึกฝ่ายข้างต่ำคือกิเลส

แต่ถ้าเราทำสติตามรู้การยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด อยู่ตลอดเวลา หรือทุกลมหายใจ เราจะได้ปฏิบัติธรรมอยู่ทุกลมหายใจ ทำสมาธิอยู่ทุกลมหายใจ ปฏิบัติสมถะวิปัสสนาอยู่ทุกลมหายใจ เราจะมีศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ทุกลมหายใจ

การทำสติสังวรณ์ระวังคอยดูอยู่นั่นแหละคือวินัย ความมั่นใจต่อการที่จะกำหนดรู้กิเลสและอารมณ์ของตัวเองนั่นคือสมาธิ ความรู้ว่าอะไรเป็นอะไรเกิดขึ้น ดับไป ขณะที่กำหนดอยู่ นั่นคือตัวปัญญา มีสติปัญญาด้วยการทำสติตามรู้การยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม ทำ พูด คิด

ในขั้นแรก ๆ เราอาจจะลำบากหน่อย แต่เมื่อเราฝึกหัดอบรมบ่อย ๆ เข้า ทำให้มาก ๆ จนเกิดการคล่องตัว ภายหลังเราจะไม่ได้ตั้งใจกำหนดรู้สิ่งต่าง ๆ แต่จิตของเราจะมีประสิทธิภาพ สติของเราจะมีประสิทธิภาพตามรู้ไปเองโดยอัตโนมัติ


และ กล่าวถึงแม้นแต่สามารถใช้เพียงสมาธิ หรือ ความคิดระดับปกติที่ใช้ในการกระทำกิจวัตรประจำวัน เจริญอริยมรรคได้เลยเสียด้วยซ้ๆ

ถ้าท่านผู้ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบเป็นสมาธิซักที
จะไปรอให้มันสงบ มันไม่เคยสงบซักที ก็มาพิจารณาซิ
ยกเรื่องอะไรขึ้นมาพิจารณาก็ได้ ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ


พิจารณาไปจนกระทั่งจิตมันคล่องตัว
พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนั้นก็ไม่เที่ยง อันนี้ก็เป็นทุกข์ อันนั้นก็เป็นอนัตตา
คิดเอาตามสติปัญญาที่เราจะคิดได้
คิดย้อนกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้

คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว จนกระทั่งเราไม่ได้ตั้งใจคิด

จิตมันคิดของมันเอง ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้

เมื่อเป็นเช่นนั้น มันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับภาวนา

ถ้าจิตมันคิดของมันเอง สติรู้พร้อมอยู่เอง มันก็ได้วิตก วิจาร
ในเมื่อจิตมีวิตก วิจาร เพราะความคิดอ่านอันนี้
มันก็เกิดมีปีติ มีความสุข มีเอกัคตา
มันจะสงบลงไปเป็น อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ




# 2.ฝึกอานาปานสติ และใช้อานาปานสติเป็นเครื่องมือสนับสนุนในการเจริญสติปัฏฐาน

จาก พระพุทธพจน์

แสดงถึง ถึงความสัมพันธ์ของ อานาปานสติ สติปัฏฐานสี่ โพชฌงค์เจ็ด วิชชา-วิมุติ


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ



และ ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ท่านกล่าวถึงการใช้ประโยชน์จากสมาธิภาวนามาช่วยสนับสนุนการเจริญปัญญา ไว้ดังนี้

ในภาวะแห่งฌานที่ปฏิบัติถูกต้อง เมื่อจิตเป็นสมาธิแน่วแน่แล้ว จิตแนบสนิทกับอารมณ์หนึ่งเดียว สติยิ่งกำหนดชัดเจน ทำให้จิตเหมาะที่จะใช้งานได้ดียิ่งขึ้น
ไม่ใช่เป็นจิตที่เคลิบเคลิ้มเลือนหายหมดความรู้สึก ไม่ใช่อย่างที่ฝรั่งเรียกว่า Trance

โดยเฉพาะฌานที่ 4 จะมีคำแสดงลักษณะว่า “อุเปกขาสติปาริสุทธิ จตุตถชฌาน” แปลว่า จตุตถฌานอันมีอุเบกขาเป็นเครื่องให้สติบริสุทธิ์

และคำสรุปท้ายฌาน 4 เมื่อใช้เพื่อบรรลุวิชชาจะมีว่า “เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้มลทิน ปราศจากสิ่งมัวหมอง นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว จึงน้อมจิตนั้นไป (นำเอาจิตไปใช้) เพื่อ....” (เช่น ที.สี.9/132/102 และดาษดื่นในพระไตรปิฎกเกือบทุกเล่ม, คำอธิบายดู อภิ.วิ.35/683/352, วิสุทธิ.1/214)



และ มีปรากฏ ในหนังสือ ปฏิปัตติวิภัชน์

แจกในงานถวายเพลิงศพของ หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต เมื่อ ๓๑ มกราคม ๒๔๙๓ ดังนี้

การพิจารณานั้น ไม่ใช่ให้นึกหรือคิด

คือ มีสติสงบใจให้เป็นอารมณ์เดียวแล้ว จึงสังเกตดูว่า อย่างนี้ธาตุดิน อย่างนี้ธาตุน้ำ อย่างนี้ธาตุไฟ อย่างนี้ธาตุลม อย่างนี้ธาตุอากาศ อย่างนี้วิญญาณธาตุ แล้วสังเกตดูความเกิดขึ้นของธาตุ ๖ และความดับไปของธาตุ ๖ ให้เห็นชัดตามความเป็นจริงอย่างไร
ไม่ใช่ให้นึกหรือคิด ...เพราะความคิดนั้น ปิดความเห็น

เพราะฉะนั้นจึงต้องสงบใจ ไม่ให้มีนึกมีคิด
วิธีพิจารณานั้น ท่านคงเข้าใจว่าใช้ความนึกคิด... เพราะใจที่ยังไม่สงบนั้น การปฏิบัติจึงใช้นึก ใช้คิด ก็เป็นชั้นสัญญา ไม่ใช่ชั้นปัญญา

เพราะปัญญานั้นไม่ใช่คิดหรือนึกเอา เป็นความเห็นที่เกิดขึ้นต่อจากจิตที่สงบแล้ว และพ้นจากเจตนาด้วย



...........................................



ดังนั้น ใครเจริญสติปัฏฐานแบบไหน แล้วได้ผลดี ปรากฏเป็นความเย็นใจ ทุกข์ลดลง ก็ปฏิบัติไปเถิดครับ

ต่างคนต่างจริตนิสัย

การที่เราจะเอาตัวเราเอง เป็นศูนย์กลาง แล้วใช้เป็นมาตรฐานบอกว่าผู้ที่ไม่ปฏิบัติเหมือนตนผิด นั้น... ไม่ใช่ธรรมหรอก นั่นหลงกลกิเลสอยู่

เป็นทิฏฐุปาทาน คือ "...อย่างที่ข้าพเจ้าปฏิบัติเท่านั้นจริง อย่างอื่นเท็จ .... " เป็น ความยึดมั่นถือมั่นแบบหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2008, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การเจริญสติปัฏฐานนั้น เท่าที่พอจะทราบมา ก็สามารถเป็นได้ทั้งสองลักษณะ คือ

1.การเจริญสติปัฏฐานโดยตรงไปเลย โดยไม่ฝึกสมาธิภาวนา (เช่น อานาปานสติ)เลย
2.ฝึกอานาปานสติ และใช้อานาปานสติเป็นเครื่องมือสนับสนุนในการเจริญสติปัฏฐาน



ด้วยความเคารพคุณตรงประเด็น :b8:
๒ ข้อ ที่คุณพอทราบมากรัชกายเข้าใจครับ โดยหลักการแล้วไม่ต่างกันเลย เทียบดูครับ

โดยหลักการโยนิโสมนสิการ มี ๒ แบบ
๑.โยนิโสมนสิการที่มุ่งกำจัดอวิชชาโดยตรง
และ
๒. โยนิโสมนสิการที่มุ่งเพื่อสกัด หรือ บรรเทาตัณหา

-โยนิโสมนสิการที่มุ่งกำจัดอวิชชาโดยตรง ตามปกติเป็นแบบที่ต้องใช้การปฏิบัติธรรม
จนถึงที่สุด เพราะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามเป็นจริง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตรัสรู้

-ส่วนโยนิโสมสิการแบบสกัด หรือ บรรเทาตัณหา มักใช้เป็นข้อปฏิบัติขั้นต้นๆซึ่งมุ่งเตรียมพื้นฐาน หรือ พัฒนาคนเองในด้านคุณธรรมให้เป็นผู้พร้อมสำหรับการปฏิบัติขั้นสูงขึ้นไป เพราะเป็นเพียงขั้นขัดเกลากิเลส



โดยสรุปเป็น ๒
๑.โยนิโสมนสิการเพื่อความรู้ตามสภาวะ
และ
๒. โยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้างกุศลธรรม

-โยนิโสมนสิการเพื่อความรู้ตามสภาวะนั้นขึ้นต่อความจริงที่เป็นอยู่ตามธรรมดา จึงมีลักษณะเดียวแน่นอนเป็นอย่างเดียว

-โยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้างกุศลธรรม ยังเป็นเรื่องของการปรุงแต่งในใจตามวิสัยของสังขาร จึงมีลักษณะแผกผันไปได้หลากหลาย

(นำมาจากพุทธธรรมหน้า 675 - 702 พอเห็นเค้า)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ธ.ค. 2008, 15:42, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2008, 09:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คงพอมองเห็นความเหมือนและความต่างนะครับ
หากสังเกตแล้วกรัชกายจะเน้น ข้อ ๑ (...เพื่อความรู้ตามสภาวะ) ได้แก่ การทำกรรมฐานโดยตรง เช่น พองหนอ ยุบหนอ เป็นต้น แล้วสภาวะปรากฏชัดแก่โยคีนั้น แบบนี้ต้องแก้อารมณ์ตามสภาวะของมัน (ตามหลักข้อ ๑ เท่านั้น) จะใช้ข้อ ๒ แก้อารมณ์นั้นๆไม่ได้
เช่น ๓ ตัวอย่างนี้ เป็นต้น

๑. รู้สึกว่าแขนตัวเองหาย รู้สึกเหมือนร่างกายมีแสงเรื่องๆ ที่ผิว ขาวนวลและเป็นละอองฝุ่นผงเล็กๆๆ ฟุ้งขึ้นไปในอากาศลอยขึ้นไป เรื่อยๆๆ กำหนดจิตรู้สึก ร่ายกายช่วงลำตัวกับแขนหายไป....
ลำตัวกลวงโป๋ แต่รู้สึกเย็นวาบขนลุก .....ลมเย็นพัดสอบจากรอบๆร่ายกายแล้วพุ่งขึ้นศีรษะอย่างเร็วแรง และเย็นมากเหมือนอยู่ในห้องเย็น ขนลุกไปทั้งตัว.....รู้สึกกลัวมาก.....เหมือนลมเย็นจะพัดเราลอยขึ้นจากพื้น..ใจหนึ่งก็คิดว่าเป็นไงเป็นกันวะ...ตายเป็นตาย ตายในสมาธิเท่จะตาย อีกใจก็กลัวมาก...กลัวที่สุดในชีวิต เกือบเดือน จึงกล้าที่จะนั่งสมาธิใหม่และสภาวะที่ติดมาคือ อยากตายมาก...มันเบื่อโลก...เบื่อทุกอย่าง....ไม่อยากเจอคน เซ็งกับทุกสิ่งที่อยู่บนโลกใบนี้ ไม่นั่งสมาธิ สวดมนต์ เป็นเดือน เซ็งจัด พึ่งจะเริ่มมานั่งใหม่ได้ อาทิตย์ สองอาทิตย์ ครั้งสองครั้งแรก กลัวๆๆ เมื่อคืนนั่งๆๆไปมีความรู้สึกว่าเห็นเปลวไฟสีเขียวเกิดรอบๆร่างกายเปลวใหญ่ ไม่นึ่งเหมือนใน MV เป็นภาพ slow สวยๆๆ แต่เป็นเปลวสีเขียวใหญ่ และที่สำคัญขนลุก รู้สึกเย็นวาบๆๆ แต่ไม่รุนแรงเหมือนครั้งก่อน

๒. ผมนับถือคริสต์ แต่ชอบนั่งสมาธิ และสวดลูกประคำครับ ชอบตื่นมานั่งสมาธิและ สวดลูกประคำ แต่ดวงตาผมกลับมองเห็นทุกอย่างในห้อง โดยไม่ต้องลืมตา และขณะเดียวกัน ผมรู้สึกเสียวสันหลัง และเห็นผู้หญิงมานั่งข้างหลัง โดยที่ผมไม่ต้องหันหน้ากลับหลังไปมอง ผู้หญิงคนนั้น ตาโบ๋ ปากและจมูกกลวง ผิวซีด ชุดสีเทามอมอ ผมสะดุ้งลืมตาเลย แต่เมื่อประมาณ เดือนที่แล้ว นั่งสมาธิเหมือนเดิม + สวดลูกประคำ พอมีอยู่ในสมาธิทีไร จะได้ยินเสียงผู้หญิงมากระซิบข้างหู ให้ตั้งใจทำความดี บำเพ็ญภาวนา แล้ว อีกไม่นาน เขาจะมาพบผม และยังบอกอีกว่า ที่เคยดำเนินชีวิตมาให้ละทิ้งเสีย เพราะชะตาผมต้องคอยช่วยผู้อื่น อีกมากมาย และยิ่งกลัวมากขึ้นทุกที
ทุกวันนี้ ผมกลัวจนไม่กล้านั่งสมาธิ ตอนแรกผมนึกว่าผมบ้า คิดไปเอง แต่เป็นแบบนี้เป็นเดือนเลย

๓. ดิฉันเคยไปปฏิบัติธรรม ฯลฯ เวลานอนก็เหมือนมีอะไรมาอำ เหมือนเป็นปลามาดิ้นบนตัว
บางครั้งก็เป็นแมวน่ากลัวมาก บางทีก็เป็นเงาดำ จนทำให้ดิฉันกลัวและหยุดปฏิบัติไปนาน
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ดิฉันไม่ได้อุปทานไปเองได้กลิ่นเหม็นเน่า ตลอดเวลาบ่อยๆ ซึ่งดิฉันก็อุทิศส่วนกุศล ตลอด แต่ก็แปลกนะคะ อาการเหล่านี้ ไม่หายเลยค่ะ มันจะมีเป็นระยะๆ ซึ่งบางครั้งก็เป็นหลายวันทรมานมาก บางทีรุนแรงมาก เหมือนพวกหนูตาย มันทุกข์ค่ะ บางทีกำหนดตามที่ ลพ. สอน ก็ไม่ดีขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2008, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



๑.โยนิโสมนสิการเพื่อความรู้ตามสภาวะ
และ
๒. โยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้างกุศลธรรม



1.การเจริญสติปัฏฐานโดยตรงไปเลย โดยไม่ฝึกสมาธิภาวนา (เช่น อานาปานสติ) เลย
2.ฝึกอานาปานสติ และใช้อานาปานสติเป็นเครื่องมือสนับสนุนในการเจริญสติปัฏฐาน


เทียบให้เห็นอีกครั้ง
ข้อ ๑ ตามที่คุณพอรู้มา เทียบได้กับ ข้อ ๒ ที่กรัชกายนำมา

ข้อ ๑ ที่กรัชกายนำมา เทียบแล้วลงกับข้อ ๒ ที่คุณพอรู้มา
เทียบแล้วลงกัน เห็นนะครับ กรัชกายเน้นตามสภาวะที่ใช้คำบริกรรมรูปแบบต่างๆ ตามตัวอย่างดังกล่าว
ส่วนข้อ ๒ (แต่ข้อ ๑ ของคุณ) ส่วนมากกรัชกายจะดูเฉยๆ (แต่ก็เข้าใจ) เพราะมีอุบายวิธีคิด
หลากหลาย แต่ท้วงผู้ใช้วิธีคิดแบบที่ ๒ ไปคิดแก้สภาวะ (แบบที่ ๑) ให้โยคีผู้ใช้คำภาวนามีพอง-ยุบ
เป็นต้น ความเห็นต่างกันอยู่ตรงนี้ เพราะมันแก้สภาวะนั้นไม่ได้ ไม่ทราบคุณพอเข้าใจที่กรัชกายพูดไหมครับ :b8:
หากยังสงสัยไม่แจ้งคำอธิบาย เรียนเชิญถามเพิ่มเติมได้ครับ ไม่ต้องเกรงใจ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2008, 20:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ ท่านกรัชกายครับ


อ้างคำพูด:
โดยหลักการโยนิโสมนสิการ มี ๒ แบบ
๑.โยนิโสมนสิการที่มุ่งกำจัดอวิชชาโดยตรง
และ
๒. โยนิโสมนสิการที่มุ่งเพื่อสกัด หรือ บรรเทาตัณหา


ผมเห็นว่า

การเจริญสติปัฏฐานโดยตรง โดยไม่ฝึกสมาธิภาวนาเลย น่าจะเป็น ข้อ 1ครับ(โยนิโสมนสิการที่มุ่งกำจัดอวิชชาโดยตรง )

ส่วน การใช้อานาปานสติมาสนับสนุนการเจริญสติปัฏฐาน น่าจะเป็นการใช้ข้อ2(โยนิโสมนสิการที่มุ่งเพื่อสกัด หรือ บรรเทาตัณหา) มาสนับสนุนข้อ1(โยนิโสมนสิการที่มุ่งกำจัดอวิชชา)
ด้วยว่า ใช้สมาธิภาวนาช่วยระงับนิวรณ์ ทำให้จิตสวัดจากกาม สงัดจากอกุศล แล้ว อาศัยจิตนั้นเจริญวิปัสสนาต่อไป
ก็จะคล้ายๆกับพระสูตรที่ตรัสถึง สมถะ-วิปัสสนา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ?
ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้วก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ?
ย่อมละราคะได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
วิปัสสนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ?
ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ?
ย่อมละอวิชชาได้

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะย่อมไม่หลุดพ้น หรือ ปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชาย่อมไม่เจริญ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล
ความสิ้นราคะ ชื่อเจโตวิมุติ
ความสิ้นอวิชชา จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ.....”

ป. ทุก. อํ. (๒๗๕-๒๗๖)
ตบ. ๒๐ : ๗๗-๗๘ ตท. ๒๐ : ๖๙-๗๐
ตอ. G.S. ๑ : ๕๕-๕๖




มันก็สามารถเป็นไปได้ทั้งสองทางจริงๆครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2008, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่ากังวลกับตัวเลขลำดับข้อเลยครับ ดูสติปฏิปัฏฐาน ๔ เวลาเกิดจริง มิใช่จะเกิดตามลำดับหนึ่งสองสามสี่ หรือ ปฏิจจสมุปบาทเกิดก็ไม่จำเป็นจะต้องเกิดเรียงลำดับ๑-๑๒

หลักวิชาการ หากคุณตรงประเด็นมีพุทธธรรมเปิดดูครับ โยนิโสมนสิการ ๑๐ วิธี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2008, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 92 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร