วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 22:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2008, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: ดีค่ะK.Puy เราอยากได้แบบนี้ล่ะค่ะ แต่เราเกรงใจผู้ตอบน่ะค่ะ เพราะแต่ละท่านดู
ทรงคุณวุฒิมากค่ะ จนเกินที่เราจะถาม เหมือนกับอ.มหาลัย แล้วมาสอนอนุบาลน่ะค่ะ
มันดูไม่เหมาะสมเลยค่ะ :b3: :b3:
เราฟังพระอาจารย์ปราโมทย์ เรื่องการดูจิต ทุกวันค่ะในW.ฟังธรรม.com น่ะค่ะตั้งแต่
ผู้มาใหม่เลยนะคะ จนถึงตอนนี้w.wimutti ก็ฟังค่ะ แต่เวลาสงสัยไม่รู้จะถามยังไงนี่ซิคะ
ฟังซ้ำไปซ้ำมาค่ะ หวังว่าสักวันคงดีขึ้นน่ะค่ะ แต่ถ้ายกมือถามได้เราคงเข้าใจไปนานแล้วค่ะ
แบบนี้ก็ดีนะคะ ค่อยๆซึมซับค่ะ เพราะไม่รู้จะไปถามใครค่ะ เราเข้าใจที่K.Puy อธิบายแล้วค่ะ
รูปธรรมก็คือทุกๆสิ่งที่เราสัมผัสได้ เช่นเสื้อผ้า เสียงเพลง (ของศุภรุจ นะคะ :b27:) หิว(ชายสี)
นามธรรมคือ ความรู้สึกชอบ เกลียด โกรธ หนาว ร้อน ใช่ไหมคะ แล้วต่อไปได้เลยค่ะ
:b9: :b19: :b32: :b9: :b19: :b32: :b9: :b19: :b32:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2008, 20:52 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย ทางเดินที่พ้นทุกข์ เมื่อ 12 เม.ย. 2009, 23:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2008, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: คุณอาบนำในขณะที่เราหยิบฝักบัวก็รู้ที่กายว่าเราหยิบเราเอามือถูที่ตัวก็ให้รู้ที่มือกำลังถูและเมื่อใจหลงไปคิดเรื่องอื่นคือขณะที่มือถือฝักบัวแล้วใจไปคิดเรื่องอื่นที่ไม่ใช่เห็นกายที่กำลังถือฝักบัวเช่นคิดไปเรื่องที่โพสต์ไว้ในเวปว่ามีใครตอบไหมก็ให้คุณดูจิตที่คิดนั่นแหละว่าคุณกำลังหลงอีกแล้วจิตก็จะเกิดสติแล้วเรื่องที่กำลังคิดก็จะดับไปเมื่อเราเกิดสติแต่ในขณะที่ดูไม่ต้องไปตามพากษ์เวลา
K.Puy หมายถึงการที่เราอาบน้ำก็ควรคิดแต่เรื่องนี้ใช่ไม๊คะ แล้วถ้าบังเอิญนึกถึงเรื่องอื่น หรือนึกถึงโพสต์ที่ว่า แสดงว่าเราหลงไป ก็ให้ดึงจิตกลับมาเรื่องอาบน้ำเหมือนเดิม แล้วต่อไปถ้าเราไปแต่งตัว
ก็ให้รู้ว่าแต่งตัวคิดเรื่องเสื้อผ้า ถ้าไปคิดเรื่องพ่อก็นั่นคือการหลงอีกแล้วใช่ไหมคะ คือที่พี่คิดนะ
ประเด็นอยู่ที่ว่า เราต้องทำเรื่องหนึ่งให้เสร็จก่อนโดยใจต้องอยู่ด้วย ไม่วอกแวก เมื่อเสร็จแล้ว
ค่อยทำเรื่องต่อๆไป คือไม่ต้องไปคิดนอกเรื่องที่เราทำอยู่และไม่ต้องคิดล่วงหน้าด้วยใช่ไม๊คะ

:b18: รบกวนถามด้วยค่ะ คำถามที่เราถามนี้เหมาะกับลานธรรมจักรนี้ไม๊คะ
เพราะเราเป็นคนขี้เกรงใจค่ะ กลัวรบกวนผู้รู้จะเสียเวลาตอบน่ะค่ะ แต่เราเคยเข้ามา 2- 3เวป์แล้วนะคะ
แต่ดูไม่เหมือนที่นี่นะคะ จะพยายามช่วยเรามากเลย และเราก็สุขใจนะคะที่มีผู้ใจบุญคอยช่วยเรา จากเดิมที่เราพิมพ์ไม่เก่ง เข้าไม่เป็น ลูกสอนเราได้หมดค่ะ
และเราชอบคำแนะนำนะคะ ลูกเราได้อ่านและซึมซับไปด้วย กว่าลูกเราจะเป็นผู้ใหญ่เค้าก็ได้รับ :b36:
จากท่านๆเพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต :b8: :b8: :b8: ทุกท่านค่ะ ขอคุยอีกเรื่องนะคะ
เมื่อวานวันเกิดค่ะ ทุกปีลูกจะซื้อเสื้อ กระเป๋า เครื่องสำอางค์ ปีนี้มี surprise ค่ะ ซื้อจาก
สยามพารากอนเหมือนเดิม เป็นปลอกหมอนบทสวดชินบันชร เพราะเราบ่นให้เค้าฟังว่าเรา
จำบทสวดนี้ไม่ได้เสียที เค้าเลยเอามาให้เราหนุนนอนเลย :b18: :b18: :b18:
เราว่าเราเก่งนะที่พาลูก 16 เข้ามาหาธรรมะ
:b39: :b39: ออกนอกเรื่องแล้วรบกวนช่วยตอบคำถามด้วยค่ะ
อยากได้คำแนะนำจากหลายๆท่านนะคะ ผู้มีเมตตาจิตช่วยแนะนำนะคะ จะได้ลองฝึกหลายๆแบบ
:b5: :b23: :b5: :b23: :b5: :b23: :b5: :b5: :b23: :b5: :b23: :b5: :b23:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 11:29 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสติ
สติ- การนึกไว้, การคุมจิตไว้กับอารมณ์, การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ
สัมปชัญญะ - การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้, การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น
การเจริญสตินั้นไม่ใช่เป็นการคิดแต่เป็นการที่เราระลึกรู้ที่การกับใจเราคือมีสติเฝ้ารู้ให้ทันหมายถึงสิ่งใดเกิดขึ้นให้รู้ทันสิ่งใดตั้งอยู่หรือดับไปก็ให้รู้เท่าทัน
เช่นขณะที่ได้ยินพ่อพูดไม่ถูกใจแล้วเรามีความโกรธก็ให้เรารู้ว่าเรากำลังมีความโกรธรู้คือให้รู้สึกตัวว่นาโกรธเมื่อความโกรธดับไปก็ไปรู้ว่าความโกรธดับไป
เมื่อมีความสุขก็ให้รู้ว่ามีความสุขเมื่อความสุขดับไปก็ให้รู้ว่าความสุขดับไป
การมีสติรู้นั้นก็ไม่ใช่การคิดและถามตนเองว่าตอนนี้เรากำลังโกรธหรือไม่โกรธตอนนี้มีความสุขหรือทุกข์
แต่ให้เราดูแล้วรู้สภาวะธรรมที่เกิดนั้นไปตามความเป็นจริงโดยไม่ต้องคิด รู้คือรู้สึก
คือให้จิตเป็นผู้สังเกตุการณ์เหมือนเรากำลังดูทีวีแต่ที่เราดูคือดูกายกับใจตัวเอง
เช่นดูกายเช่นเราเดินก็ให้เรารู้สึกตัวที่เท้าที่เดินที่สัมผัสกับพื้นแต่ในการรู้สึกนั้นให้รู้สึกแบบสบายๆไม่ต้องไปเพ่งโดยที่ใจไม่ไปคิดเรื่องอื่นแต่ถ้าเดินไปแล้วเราก็ไม่ได้เอาความรู้สึกอยู่ที่การเดินแต่ใจไปคิดเรื่องอื่นๆนั้นเรียกว่าเดินแบบไม่มีสติก็คือกำลังหลงไปแต่ถ้าเดินไปแล้วเรารู้สึกตัวได้ว่าใจเรากำลังหลงไปคิดเรื่องอื่นแล้วเราก็มาดูกายต่อนั้นคือการที่เรามีสติเกิดขึ้นหรือเรื่องการอาบน้ำนั้นเมื่อเราหยิบฝักบัวก็ให้รู้สึกไปที่มือที่จับฝักบัวเมื่อถูสบู่ก็รู้สึกไปที่มือที่กำลังถูและเมื่อเราทำอะไรก็ให้เรารู้ว่าเรากำลังทำสิ่งนั้นเช่นแปรงฟันก็รู้ว่าเรากำลังแปรงฟันไม่ใช่มือกำลังแปรงฟันแต่ใจไปคิดเรื่องอื่นแต่ถ้าขณะที่แปรงแล้วไปคิดเรื่องอื่นนั้นเรียกว่าขาดสติหริอหลงคิดแต่พอเรารู้สึกได้ว่าจิตกำลังหลงนั้นหมายถึงเราก็ได้เกิดสติขึ้นมา
K.Puy หมายถึงการที่เราอาบน้ำก็ควรคิดแต่เรื่องนี้ใช่ไม๊คะ ไม่ใช่คิดแต่ให้เราเอาสติระลึกรู้คือรู้อยู่กับสิ่งที่เรากำลังทำ
แล้วถ้าบังเอิญนึกถึงเรื่องอื่น หรือนึกถึงโพสต์ที่ว่า แสดงว่าเราหลงไป ใช่แล้วถ้าเรารู้ว่าเราหลงนั้นแหละคือตัวสติที่เกิดพี่เคยสังเกตุไหมว่าเมื่อพี่รู้ว่ากำลังหลงคิดแล้วเรื่องที่พี่กำลังคิดนั้นมันก็ดับไปหรือหยุดคิดไป
แล้วต่อไปถ้าเราไปแต่งตัวก็ให้รู้ว่าแต่งตัวคิดเรื่องเสื้อผ้า ให้รู้ที่กายกำลังหยิบเสื้อใส่เสื้อแต่ถ้าจิตหลงไปคิดว่าจะใส่ตัวไหนดีก็ให้ดูที่จิตที่กำลังคิดว่าเรากำลังหลงคิด
ถ้าไปคิดเรื่องพ่อก็นั่นคือการหลงอีกแล้วใช่ไหมคะ ใช่คะ
คือที่พี่คิดนะประเด็นอยู่ที่ว่า เราต้องทำเรื่องหนึ่งให้เสร็จก่อนโดยใจต้องอยู่ด้วย ไม่วอกแวก เมื่อเสร็จแล้วค่อยทำเรื่องต่อๆไป คือไม่ต้องไปคิดนอกเรื่องที่เราทำอยู่และไม่ต้องคิดล่วงหน้าด้วยใช่ไม๊คะ คะคือให้พี่ดูตัวเองว่าตอนนี้พี่กำลังทำอะไรคือกายกำลังเดินกำลังนั่งกำลังกินให้รู้ในสิ่งที่ทำแต่เมื่อขณะที่เรากำลังทำอะไรถ้าเราเผลอหรือเราหลงไปคิดเมื่อเราหลงไปหรือเผลอไปก็ให้พี่ไปดูที่จิตของพี่แล้วพี่ก็จะรู้ตัวขึ้นมาแล้วสิ่งที่พี่กำลังคิดก็จะดับไป
รบกวนถามด้วยค่ะ คำถามที่เราถามนี้เหมาะกับลานธรรมจักรนี้ไม๊คะทุกคำถามที่ถามมานั้นถามได้แต่ที่บอกว่าให้ไปสมัครที่เวปวิมุตติในหัวข้อดูจิตนั้นผู้ที่ตอบคำถามท่านเป็นผู้รู้ที่ปฏิบัติและใกล้ชิดท่านอาจารย์หลวงพ่อปราโมทย์ก็เลยอยากให้พี่ได้แนวทางที่ถูกต้องและไม่สับสน
ถ้าพี่เกิดคำถามว่าแล้วอย่างนี้แปลว่าไม่ต้องคิดเลยคำตอบคือคิดได้ถ้าเป็นเรื่องงานหรือเรื่องที่เราต้องทำแต่ที่ให้ปฏิบัติคือให้เรารู้กายรู้ใจตัวเอง
ทุกอย่างที่puyตอบก็ตอบตามความเข้าใจและตามที่ตนเองได้ศึกษามาถ้าผู้รู้ท่านใดเห็นว่าตรงไหนผิดหรือควรแก้ไขก็ขอให้ร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยโดยเฉพาะคุณตรงประเด็นและคุณคามินธรรมเพราะท่านทั้ง2ก็เป็นผู้ที่รู้และปฏิบัติมาในแบบเดียวกันและมีความรู้และประสพการณ์มากคะขอให้ช่วยให้คำแนะนำด้วยนะคะเพื่อจะได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและผู้ปฏิบัติก็จะได้ไม่ต้องทำไปแบบที่ผิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสติ ก็ต้องรู้จักสติก่อน เมื่อรู้แล้วก็ต้องฝึกสติ รักษาสตินั้นให้อยู่กับตนเองนานขึ้น อย่างนี้แหละเรียกว่า "เจริญสติ"

ผู้มีสติท่านว่า จะรู้ทันความคิดของตนว่าเป็นไปอย่างไร คิดให้ความโลภ คิดให้โกรธ หรือให้ความหลงเกิด สติจะทำให้รู้ได้ถึงความคิดดังกล่าว หากไม่มีสติก็จะไม่รู้

สติ เปรียบเหมือนลูกโค วิ่งไปวิ่งมาไม่หยุดนิ่ง กว่าจะดึงเขาคอกได้ใช้เวลานาน ท่านจึงหาหลักแล้วผูกลูกโคไว้ เมื่อลูกโคไปไกล ก็ดึงกลับมา หรือเมื่อลูกโควิ่งวนไปวนมา เชือกก็จะสั้นเข้า ดึงลูกโคเข้ามาหาหลักเอง วิธีรักษาสติก็เหมือนกับการผูกลูกโค ท่านจึงให้หาหลักผูกสติไว้ หลักนั้น คือ "ลมหายใจ" หรือคำบริกรรม เช่น"พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือ สัมมาอรหัง" ฯลฯ

ภาวนาไว้ตลอดเวลา ทุกเวลานาทีที่ระลึกได้ ที่ไม่วุนวายนัก นี่แหละ คือ "การฝึกสติ"

เมื่อต้องการ "เจริญสติ" ก็ทำให้มากขึ้น ทำอยู่ตลอดเวลา สติจะมั่นคงเป็นลำดับ การรู้ทันความคิดจะเกิดตามมาพร้อมกัน เป็นคุณสำคัญแก่ชีวิตอย่างแท้จริง


"พุทโธ" นี่ดีหนักหนา สารพัดปราบได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ไม่เชื่อ..ลองดูนะจ้ะ

เจริญธรรม

:b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 12:27 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อความจากมหาสติปัฐานสูตรฉบับปรับปรุงใหม่โดยคณดังตฤณ
การฝึกที่พระพุทธเจ้าตรัสแนะไว้อย่างง่ายดาย นั่นคือเมื่อเดินก็รู้ว่าเดิน เมื่อยืนก็รู้ว่ายืน เมื่อนั่งก็รู้ว่านั่ง เมื่อนอนก็รู้ว่านอน เมื่ออยู่ในท่าทางอย่างไรก็รู้ว่าอยู่ในท่าทางอย่างนั้น แจกแจงโดยละเอียดได้ดังนี้



๑) เมื่อเดินก็รู้ว่าเดิน

ท่าทางในการเดินที่สนับสนุนให้เกิดสติคือหัวตั้งตรง ตัวตั้งตรง สองขาเตะไปข้างหน้าสลับกัน โดยมีสัมผัสที่ฝ่าเท้ากระทบพื้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาที่ดำเนินไป ฉะนั้นหากมีสติเดินอย่างรู้ว่าเดิน ก็ย่อมต้องรู้สึกถึงฝ่าเท้ากระทบพื้นไม่ขาด เพราะเท้ากระทบพื้นเป็นสัมผัสที่เกิดขึ้นจริงโดยไม่ต้องใช้จินตนาการ

การเดินไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ต้องฝึกก็เดินกันได้ แต่ที่จะรู้อาการเดินให้ถูกต้องตามจริงนั้น จำเป็นต้องฝึกกัน มิฉะนั้นระหว่างเดินมักจินตนาการไปต่างๆ เช่นจินตนาการไปว่าเรากำลังเดินอยู่ด้วยบุคลิกสงบสำรวม เรากำลังเดินด้วยท่าทีที่น่าเกรงขาม เรากำลังเดินอย่างมีความสุขล้นเหลือ เรากำลังเดินไปสู่มรรคผลนิพพานที่รออยู่ไม่กี่ก้าวข้างหน้า หรือในทางตรงข้ามคือจินตนาการไปว่าเรากำลังเดินอย่างคนทอดอาลัยตายอยาก เรากำลังเดินอย่างคนแพ้ที่ไม่มีวันชนะ เรากำลังเดินอย่างคนที่ไม่มีทางไปถึงจุดหมาย ฯลฯ



การแกะเอาจิตออกมาจากจินตนาการ กลับสู่โลกความจริงที่กำลังปรากฏอยู่เฉพาะหน้า ก็ต้องอาศัยของจริงเช่นสัมผัสกระทบระหว่างเท้ากับพื้น เมื่อใดมีสติอยู่กับสัมผัสกระทบตามจริง เมื่อนั้นจินตนาการจะหายไป และจินตนาการหายไปนานขึ้นเท่าใด ใจเราก็จะอยู่ในภาวะรู้จริงไม่ผิดเพี้ยนนานขึ้นเท่านั้น

นี่จึงเป็นที่มาของการเดินจงกรม นักเจริญสติตั้งแต่สมัยพุทธกาลเป็นต้นมาจะให้เวลากับการเดินจงกรม เพื่อให้แน่ใจว่าสติไม่หายไปไหนเป็นเวลานานพอ ซึ่งเมื่อบ่มเพาะกำลังสติให้แข็งแรงดีแล้ว ต่อไปไม่ว่าเดินที่ไหน ใกล้ไกลเพียงใด ก็จะเป็นโอกาสของการเจริญสติได้หมด

จงกรมคือการเดินกลับไปกลับมาบนทางเท่าที่จะหาได้ อาจเป็นในร่มหรือกลางแจ้ง อาจสั้นเพียงสิบก้าวหรือยาวถึงห้าสิบก้าว ความยาวและสภาพของทางจงกรมไม่สำคัญไปกว่าวิธีรู้เท้ากระทบอย่างถูกต้อง

การจะรู้เท้ากระทบอย่างถูกต้องนั้น เริ่มแรกควรเน้นที่ใจอันเปิดกว้างสบาย ทำนองเดียวกับเดินเล่นชมสวน ขอให้เอามือไพล่หลัง เงยหน้ามองตรงแบบไม่จดจ้องเพ่งเล็งจุดใดจุดหนึ่ง ก้าวเท้าแบบเดียวกับทอดน่องเดินเพื่อความผ่อนคลาย แต่ในการเดินอย่างผ่อนคลายนั่นเองให้กำหนดรู้ผัสสะระหว่างเท้ากับพื้นไปด้วย ขอให้สังเกตว่าถ้าเท้าเกร็งจะรู้กระทบไม่ชัด แต่ถ้าเท้าอ่อนและวางเหยียบพื้นได้เต็มฝ่าเท้าจะรู้สึกถึงกระทบได้ชัด ยิ่งรู้ต่อเนื่องนานเท่าใดเท้าก็ยิ่งปรากฏชัดขึ้นเรื่อยๆเท่านั้น



ที่เท้าจะอ่อนและวางเหยียบได้เต็มฝ่าเท้านั้น ต้องไม่มีความเร่งร้อน ไม่มีความเพ่งเล็งเคร่งเครียด ไม่มีความฟุ้งซ่านซัดส่ายออกนอกตัว ใจต้องอ่อนโยนอยู่กับเรื่องเฉพาะหน้าคือเท้ากระทบก้าวต่อก้าวอย่างเดียว

หากกำลังฟุ้งซ่านจัดขอให้ลองเดินด้วยอัตราเร็วขึ้นกว่าปกติ การรู้สัมผัสกระทบถี่ๆตามจริงจะช่วยลดคลื่นความฟุ้งลงมาได้ เท้าจะลดความกระด้างลง และแม้กายเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างเร็วก็ไม่มีความกำเกร็งที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อรู้สึกถึงเท้ากระทบพื้นชัดเจนอย่างสบาย ตลอดกายช่วงบนปลอดโปร่งดีแล้ว ก็ค่อยลดระดับความเร็วลงมาเป็นปกติเหมือนทอดน่องเช่นเคย

จังหวะกลับตัวที่ปลายทางจงกรมก็สำคัญ หากรีบเร่งกลับตัวแบบไม่ทันรู้เท้ากระทบจะมีผลเสียระยะยาว เช่นทำให้เคว้งงง หรือทำให้สติขาดลอยไปทีละน้อยรอบต่อรอบ ทางที่ดีคือเมื่อหยุดที่ปลายทางควรให้เท้าเสมอกัน แน่ใจว่ารู้สึกถึงฝ่าเท้าที่เหยียบยืนหยุดนิ่งชั่วขณะนั้น แล้วจึงกลับหลังหันโดยแบ่งออกเป็นขวาหันสองครั้ง เท้าขวานำเท้าซ้าย แต่ละการขยับเท้ายกเหยียบให้รู้สึกถึงสัมผัสกระทบไม่ต่างจากก้าวเดินธรรมดา

การฝึกเดินจงกรมในที่เฉพาะเป็นเรื่องดี แต่จะดียิ่งขึ้นถ้าเราทำทุกก้าวในชีวิตประจำวันให้เหมือนเดินในทางจงกรม เพราะสติรู้เท้ากระทบจะนำไปสู่ความรู้ตัวว่ากำลังเดิน และความรู้ตัวว่ากำลังเดินจะนำไปสู่ความรู้อิริยาบถต่างๆอย่างทั่วถึงในที่สุด
๒) เมื่อยืนก็รู้ว่ายืน

ท่าทางในการยืนที่สนับสนุนให้เกิดสติคือหัวตั้งตรง ตัวตั้งตรง สองขาตั้งตรง ฝ่าเท้าวางราบสัมผัสพื้นให้รู้สึกชัดตลอดเวลาที่ยังทรงกายยืนอยู่ หากเป็นการยืน ณ จุดหยุดของทางเดินจงกรม ฝ่าเท้าที่สัมผัสแนบพื้นนั่นเองจะเป็นศูนย์กลางการรู้ว่ากำลังยืน การรู้ท่ายืนโดยไม่ต้องจินตนาการเกิดขึ้นเริ่มจากการรู้น้ำหนักตัวทั้งหมดที่กดลงบนฝ่าเท้านั่นเอง ส่วนอื่นๆของกายเช่นขา ตัว แขน และหัว จะปรากฏในความรู้สึกตามมาเอง

ในชีวิตประจำวันตามปกตินั้น เราไม่ค่อยยืนตัวตรงทรงกายแข็งทื่ออยู่ แต่มักยืนขาตรงข้างหนึ่ง พักขาข้างหนึ่งสลับซ้ายขวา เท้าอาจห่างบ้าง ชิดบ้าง ยืนเต็มเท้าบ้าง ยืนไม่เต็มเท้าบ้าง การฝึกรู้ท่ายืนจึงควรสังเกตจากความรู้สึกต่างระหว่างฝ่าเท้า เท้าไหนกำลังรับน้ำหนักกดอยู่ก็ให้รู้ เท้าแยกกันอยู่ห่างหรืออยู่ใกล้ก็ให้รู้
การเจาะจงเพ่งเล็งลงไปที่ฝ่าเท้าจะทำให้รู้สึกว่าตัวหนัก และเห็นคับแคบอยู่แค่ที่เท้า แต่หากรู้สัมผัสที่ฝ่าเท้าแบบสบายๆ ใจเปิดกว้างโปร่งเบาแล้ว จะรู้สึกถึงหัว ตัว และแขนขาปรากฏพร้อมไปกับความรู้สึกที่เท้าด้วย



ในช่วงเริ่มฝึกสติ หากต้องยืนนิ่งกับที่เป็นเวลานาน การรู้ท่ายืนอย่างเดียวจะไม่พอ ควรอย่างยิ่งที่จะรู้ลมหายใจไปด้วย หลักการง่ายๆคือหายใจออกก็รู้ว่ายืน หายใจเข้าก็รู้ว่ายืน หมายความว่าเราไม่ได้เอาสติไปจดจ้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อหายใจออกเรารู้ว่าลมระบายออกจากกายในท่ายืน เมื่อหายใจเข้าเรารู้ว่าลมถูกลากเข้าสู่กายในท่ายืน

การตั้งมุมมองเพื่อเกิดการรับรู้เช่นนี้ หากทำอย่างถูกต้องเป็นที่สบายแล้ว จะส่งผลให้ท่ายืนปรากฏในความรู้สึกชัดเจนเสมอกันทั้งขณะหายใจออกและหายใจเข้า เครื่องยืนยันว่าสติเจริญคือสามารถรู้สบายอยู่กับท่ายืนได้แจ่มชัดขึ้นเรื่อยๆ



๓) เมื่อนั่งก็รู้ว่านั่ง

ท่าทางในการนั่งที่สนับสนุนให้เกิดสติคือหัวตั้งตรง ตัวตั้งตรง สองขาห้อยลงจากเก้าอี้ ฝ่าเท้าวางราบสัมผัสพื้น หากเป็นการนั่งเจริญสติรู้ลมหายใจ ส่วนหลังจะเป็นศูนย์กลางการรับรู้ว่ากำลังนั่ง เพียงสังเกตอยู่เรื่อยๆว่าหลังตรงหรือหลังงอ และส่วนหัวกำลังตั้งอยู่หรือเอียงเอนไปทางใด ก็นับว่าเริ่มเกิดสติรู้อิริยาบถนั่งตามที่กำลังปรากฏอยู่จริงๆแล้ว

ในชีวิตประจำวันตามปกตินั้น ไม่บ่อยที่เราจะนั่งหลังตั้งคอตรง แต่มักนั่งหลังงอหรือคอเอียงมากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งอาการทางกายดังกล่าวจะไม่ค่อยสนับสนุนให้เกิดสติรู้ว่ากำลังนั่ง ดังนั้นเพื่อจะเริ่มฝึกรู้อิริยาบถนั่งให้ได้เสมอๆ เราจึงต้องหมั่นถามตัวเองบ่อยๆว่ากำลังหลังตรงหรือหลังงอ คอตรงหรือคอเอียง

เบื้องต้นเราอาจรู้สึกว่ากำลังนั่ง มีอาการแช่อยู่เฉยๆไม่เห็นมีอะไร นั่นเป็นเพราะเราสังเกตในช่วงเวลาที่กายคงค้างในอาการนั่งท่าเดียว ต่อเมื่อมีสตินานพอ กระทั่งจับจุดได้ว่าเราต้องยืดและงอหลังสลับกันเรื่อยๆ ในที่สุดก็จะเห็นขึ้นมาขณะหนึ่งว่ากายไม่เที่ยง แม้อิริยาบถเดียวกันก็มีความเปลี่ยนแปลง ตั้งอยู่ท่าหนึ่งไม่นานก็ต้องเสื่อมไป เพื่อแปรไปสู่ท่าอื่น

และเช่นกัน อิริยาบถนั่งในชีวิตประจำวันถูกรู้ควบคู่ไปกับลมหายใจด้วยได้ คือเมื่อหายใจออกรู้ว่าลมระบายจากท่านั่ง เมื่อหายใจเข้าก็รู้ว่าลมถูกลากเข้าสู่ท่านั่ง เมื่อฝึกรู้เช่นนี้ ไม่ว่านั่งอยู่อย่างไรท่านั่งนั้นๆก็จะปรากฏให้ระลึกได้เสมอ โดยไม่เกิดความรู้สึกอึดอัดเพราะฝืนเพ่งจ้องแต่อย่างใด



๔) เมื่อนอนก็รู้ว่านอน

ท่าทางในการนอนที่สนับสนุนให้เกิดสติคือหงายหน้าเหยียดตัวตรง แผ่นหลังวางราบกับที่นอน เมื่อมีสตินอนอย่างรู้ว่านอนในท่านี้ ก็ย่อมต้องรู้สึกถึงท้ายทอย แผ่นหลัง และแขนขาอันกำลังสัมผัสที่นอนอยู่ ยามนอนเป็นช่วงที่เกิดสัมผัสมากที่สุด โดยไม่ต้องใช้จินตนาการใดๆ

ท่านอนที่ถูกสุขลักษณะควรมีทั้งตะแคงและหงายสลับกัน การนอนท่าใดท่าหนึ่งนานๆอาจมีผลให้ลมหายใจติดขัด ฉะนั้นตราบเท่าที่ยังคงสติไม่หลับไปเสียก่อน เราก็ต้องตามรู้ไปว่ากำลังนอนหงายหรือนอนตะแคง มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นการนอนตามความเคยชิน คือนอนอย่างหลงฟุ้งซ่านแบบเอาแน่ไม่ได้ว่าจะคิดถึงเรื่องใด พยากรณ์ยากว่าจะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์แค่ไหนกับความฟุ้งซ่านก่อนหลับ

การฝึกรู้อิริยาบถนอนอย่างผิดพลาดอาจเกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ กล่าวคือถ้าจดจ่อเพ่งเล็งท่านอนมากเกินไปจนเกิดแรงดันเหมือนตอนคิดเครียด ก็จะส่งผลกระทบให้นอนหลับไม่สนิท ตาแข็งค้าง ตื่นนอนด้วยความเหน็ดเหนื่อยเหมือนขาดการพักผ่อนอย่างเพียงพอ



คนส่วนใหญ่เมื่อฝึกสติรู้อิริยาบถนอนนั้น จะเน้นส่วนหัวอันเป็นที่ตั้งของความฟุ้งซ่านก่อนหลับ ฉะนั้นหากรู้อิริยาบถนอนแล้วเกิดความหนักหัว ก็ให้บอกตนเองว่าอิริยาบถนอนไม่ได้มีแต่สัมผัสระหว่างท้ายทอยกับที่นอนให้รู้ แต่ยังมีสัมผัสส่วนหลังและส่วนแขนขาอยู่ด้วย หากระลึกถึงสัมผัสทุกส่วนพร้อมกันได้สบายๆ จะพบว่าความหนักหัวหายไป

อุบายที่ดีคือรู้ลมหายใจประกอบไปด้วย ถ้ารู้ว่าหายใจออกจากท่านอนแบบไหน หายใจเข้าสู่ท่านอนแบบใด โดยมีกายเบา รู้สึกถึงท้ายทอย แผ่นหลัง และแขนขา โดยไม่กระจุกเพ่งคับแคบอยู่ที่ใดที่หนึ่ง ไม่หนักหัว ไม่อึดอัดแน่นอก นั่นถือว่ารู้อิริยาบถนอนอย่างถูกต้อง และจะส่งผลดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งกับความก้าวหน้าในการเจริญสติ และกับสุขภาพกายใจที่ได้รับการพักผ่อนอย่างสบาย



๕) เมื่ออยู่ในท่าทางอย่างไรก็รู้ว่าอยู่ในท่าทางอย่างนั้น

คนเรามีอวัยวะหลายสิบชิ้น องค์ประกอบต่างๆทางกายผสมกันให้ท่าทางได้ซับซ้อน เช่น นั่งไขว่ห้าง ครึ่งนั่งครึ่งนอน ยืนเอนหลังพิงฝา ทำกายบริหารออกท่าออกทางต่างๆ ฯลฯ จะมีท่าทางอย่างไรไม่สำคัญ สำคัญที่ให้รู้ท่าทางในสภาพนั้นๆเสมอ จึงเรียกว่าเป็นผู้รู้อิริยาบถเต็มขั้น

การฝึกรู้ตามที่พระพุทธองค์ทรงแนะไว้ในข้อนี้ บอกกับเราอย่างหนึ่ง คือท่าทางตายตัวสำหรับการฝึกสตินั้นไม่มี มีแต่ต้องเอาสติไปตามท่าทางทั้งหลายให้ทัน

เมื่อเริ่มต้นปฏิบัติใหม่ๆ นักเจริญสติส่วนใหญ่มักกังวลกับเรื่องท่าทางที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติ ความจริงการอยู่ในอิริยาบถที่สำรวมก็เป็นประโยชน์ แต่เราต้องทำความเข้าใจให้ถูกจริงๆว่าพระพุทธเจ้าท่านให้ ‘รู้ทั้งหมด’ ไม่ใช่เลือกตั้งสติรู้เฉพาะท่าทางที่ถนัดหรือชอบใจเป็นพิเศษ อย่าไปคิดเจาะจงว่าต้องมี ‘ท่าปฏิบัติ’ เฉพาะกิจ เพราะหากตั้งความเข้าใจไว้เช่นนั้น ในที่สุดจะเหมือนการเจริญสติต้องเลือกเวลา เลือกท่าทางเสียก่อน



การฝึกรู้อิริยาบถให้ถูกต้องนั้น ถือเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างมากสำหรับการเจริญสติขั้นต่อๆไป เพราะนอกจากจะทำให้แน่ใจว่าเราอยู่กับความจริงที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว ยังเป็นเครื่องประกันว่าเราจะไม่เพ่งเล็งเข้ามาในกายใจด้วยความเจาะจงคับแคบ อันก่อให้เกิดความมึนงงสงสัยว่ากำลังรู้จริงหรือรู้ไม่จริง รู้ถูกหรือรู้ผิด

ที่เป็นเช่นนั้นเพราะธรรมดาเมื่อคนเราพยายามกำหนดรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นความสุขความทุกข์หรือสภาวะของจิต ก็มักเพ่งเล็งเหมือนตั้งใจมองภาพด้วยการเคลื่อนตัวเข้าไปชิดใกล้จนเกินไป กระทั่งสายตาจดจ้องอยู่กับจุดเล็กๆ ไม่อาจเห็น ไม่อาจอธิบายได้ถูกว่าภาพทั้งหมดเป็นอย่างไร ต่อเมื่อทำความเข้าใจว่ามองภาพให้เห็นต้องตั้งระยะห่างระดับหนึ่ง และมองคลุมไปทั้งหมด จึงค่อยเกิดความมั่นใจว่าเป็นภาพอย่างไร ควรตั้งชื่อเป็น ‘ตัวตน’ หรือ ‘ไม่ใช่ตัวตน’ กันแน่

เมื่อเกิดสติรู้ชัดเท่าทันไปทุกอิริยาบถเรื่อยๆ เราย่อมรู้สึกประจักษ์ขึ้นมาเอง หมดความสงสัยว่าจะต้องตามรู้อิริยาบถไปทำไม เพราะอิริยาบถจะแสดงตัวออกมาเรื่อยๆว่าไม่อาจดำรงสภาพอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง ตั้งอยู่ครู่แล้วต้องแปรเป็นอื่นเสมอ ไม่ว่าจะของเราหรือของคนอื่น ตกอยู่ภายใต้ความไม่เที่ยงเหมือนกันหมด

และตราบเท่าที่รู้อยู่เช่นนั้น ใจเราจะพลอยคลายจากความถือมั่นทั้งภายนอกและภายในไปด้วย ความรู้อยู่เสมอๆว่าอิริยาบถไม่เที่ยงนั่นเอง จะเหนี่ยวนำให้จิตมาอยู่กับเนื้อกับตัวมากขึ้น พึงใจที่จะไม่ออกไปไหนมากขึ้น ตามกำลังสติที่เจริญขึ้นวันต่อวัน

รู้ความเคลื่อนไหวต่างๆ
หลักการทำความรู้สึกตัวตามสูตรมีดังนี้

๑) ทำความรู้สึกตัวในการก้าว

ในการเดินจงกรมหรือเดินเท้าธรรมดาในระหว่างวัน หากตั้งสติรู้เท้ากระทบไปเรื่อยๆแล้ว ตอนแรกจะรู้แค่เท้ากระทบแปะๆ แต่เมื่อยังระลึกรู้อยู่กับเท้ากระทบไม่ขาดสายกระทั่งสติไม่แวบหายไปไหน นานเข้าเราจะรับรู้ละเอียดขึ้นเอง คือเห็นแข้งขาสลับกันก้าวเดินอย่างสม่ำเสมอ

อันที่จริงเราไม่ได้ย้ายสติมาจดจ่ออยู่กับการสลับขาย่างก้าว สติของเรายังตั้งไว้ที่เท้ากระทบตามเดิม แต่ความรู้สึกตัวขยายขอบเขตออกไปเองตามธรรมชาติของจิตที่เปิดกว้างขึ้น ไม่เพ่งเล็งคับแคบเหมือนช่วงเริ่มต้น

ความรู้สึกตัวในการก้าวเดินอาจไม่สม่ำเสมอ แต่ขอให้สังเกตว่ายิ่งความรู้สึกตัวเกิดถี่ขึ้นเท่าใด จิตก็จะไวต่อการรับรู้ความเคลื่อนไหวส่วนอื่นของกายมากขึ้นเท่านั้น จะนับว่าการทำความรู้สึกตัวขณะก้าวเดินเป็นแม่แบบที่ดีก็ได้



๒) ทำความรู้สึกตัวในการแลและการเหลียว

การแลและการเหลียวเกิดขึ้นได้ในทุกอิริยาบถ แม้เดินจงกรมก็ต้องมีช่วงที่เราอยากผินหน้ามองรอบข้าง หากไม่ตั้งใจจะสังเกตไว้ล่วงหน้า ก็มักเผลอแบบเลยตามเลย ปล่อยใจเหม่อตามสายตา แต่ถ้าตั้งใจสังเกตไว้ก่อนก็จะรู้สึกตัว เช่นทราบว่าขณะเดินหรือยืนนิ่งอยู่นั้น ลูกนัยน์ตากลอกไปแล้ว หรือใบหน้าเหลียวซ้ายแลขวาไปแล้ว อาการรู้สึกตัวเช่นนั้นจะปิดช่องไม่ให้เกิดการเหม่อลอยได้อย่างดี

๓) ทำความรู้สึกตัวในการงอและการเหยียด

การงอและการเหยียดมักเกิดขึ้นในอิริยาบถนั่งและอิริยาบถยืนบ่อยๆ เช่นหยิบของเก็บเข้าที่ ยกมือเกาศีรษะ และยกแก้วน้ำขึ้นดื่ม เป็นต้น นั่นหมายความว่าถ้าฝึกรู้สึกตัวในการงอและการเหยียดได้ เราก็จะมีโอกาสเจริญสติกันทั้งวันทีเดียว

๔) ทำความรู้สึกตัวในการใส่เสื้อผ้า

การใส่เสื้อผ้ามักเกิดขึ้นในอิริยาบถยืน และมีความเคลื่อนไหวปลีกย่อยมากมาย จึงกลายเป็นแบบฝึกที่มีความซับซ้อนขึ้น แต่ขอเพียงเราจับหลักได้คือไม่ลืมท่ายืน แม้ต้องยืนสองขาบ้าง สลับยืนขาเดียวบ้าง ก็จะสามารถรู้สึกตัวได้ตลอดเวลาจนใส่เสื้อผ้าเสร็จ



๕) ทำความรู้สึกตัวในการกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม

การกินและการดื่มมักเกิดขึ้นในอิริยาบถนั่ง และมีความเคลื่อนไหวปลีกย่อยมากมายเช่นกัน ตั้งแต่อ้าปาก หุบปาก ขบเคี้ยว ตลอดจนกลืนล่วงผ่านลำคอลงท้องไป การกลืนแต่ละครั้งก็มีรายละเอียดแตกต่างกัน เช่นอาหารหรือน้ำเป็นก้อนเล็กหรือก้อนใหญ่ เป็นต้น เมื่อรู้ก็จะเห็นความแตกต่างเหล่านั้น แต่ถ้าไม่รู้ก็คล้ายจะเหมือนๆกันไปหมด

๖) ทำความรู้สึกตัวในขณะถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ

การถ่ายของเสียมักเกิดขึ้นในอิริยาบถนั่งหรือยืน ช่วงเข้าส้วมมักเป็นจังหวะที่เราเผลอเหม่อไม่มีอะไรทำกันมากที่สุด เพราะดูเหมือนไม่เหมาะกับการตามรู้วิธีถ่ายของเสียออกจากกาย แต่หากเราต้องการมีสติอยู่กับกายเสมอๆ ก็จำเป็นต้องรู้แม้ขณะแห่งกิจกรรมชนิดนี้ โดยเห็นตั้งแต่ของเสียเริ่มจะออกจากกาย จนกระทั่งล่วงพ้นกายไปทีเดียว เราจะได้รู้ว่าร่างกายมีกล้ามเนื้อภายในจัดการขับถ่ายของเสียโดยให้ความรู้สึกอย่างไร



๗) ทำความรู้สึกตัวในขณะหลับและตื่น

การหลับและตื่นมักเกิดขึ้นในอิริยาบถนอน ขณะใกล้ก้าวลงสู่ความหลับ สติเหมือนจะดับไป ใช้การอะไรไม่ได้ ต่อเมื่อเจริญสติรู้กระทั่งแข็งแรงพอจะรู้แม้จวนเจียนม่อยหลับ จะพบว่าแม้ยามตื่นเราก็ตื่นด้วยความรู้สึกตัวไปด้วย และถ้ารู้สึกตัวยามตื่นได้ทุกวัน เราจะทราบชัดว่าการเจริญสติเริ่มต้นกันได้ตั้งแต่ลืมตาตื่นนอนทีเดียว

๘) ทำความรู้สึกตัวในการพูดและนิ่ง

การพูดคุยมักเกิดขึ้นในอิริยาบถนั่งและยืน ปกติคนเรามีสติอยู่กับเรื่องที่อยากพูดอยากฟัง ซึ่งแตกต่างกันกับความรู้สึกตัวในข้อนี้ เพราะเราจะพูดหรือฟังทั้งรู้ว่ากำลังนั่งหรือยืน หากฝึกได้ก็แปลว่าเรามีโอกาสเจริญสติแม้ทำธุระในชีวิตประจำวัน ไม่จำเป็นต้องปลีกตัวจากสังคมเสมอไป

การฝึกทำความรู้สึกตัวที่ได้ผล จะเหมือนกายใจเริ่มแบ่งแยกจากกัน ตัวหนึ่งแสดงท่าทางกระดุกกระดิก อีกตัวหนึ่งเฝ้าดูเฉยๆโดยไม่รู้สึกว่าอาการกระดุกกระดิกเป็นตัวตน ถึงจุดนั้นเราจะพบว่าความถือมั่นทั้งภายนอกและภายในยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ จิตเริ่มตั้งมั่นแข็งแรงจนอาจเข้าไปรู้เห็นธรรมชาติละเอียดอ่อนที่แต่ก่อนไม่เคยสามารถสัมผัส นับว่าพร้อมกับการเจริญสติขั้นสูงยิ่งๆขึ้นไปไม่จำกัดแล้ว

ข้อความที่ยกมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของมหาสติปัฏฐานสูตรโดยคุณดังกกตซึ่งเป็นเนื้อหาที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายเหมาะสำหรับผู้ที่ฝึกใหม่ๆส่วยรายละเอียดทั้งหมดนั้นpuyได้โพสต์ไว้ในห้องสมาธิสติขอให้ลองอ่านแบบช้าๆและทำความเข้าใจไปและลองไปปฏิบัติดูนะคะ
--------------------------------------------------------------------------------
อยู่กับปัจจุบัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b18: :b18:เข้าใจแล้วค่ะ K.Puy และคุณมิตรตัวน้อย ที่จริงในทางปฎิบัติคงยากนะคะ
เพราะคนเราจะปล่อยสติให้หลงไปทั่ว อย่างพี่ไม่เคยคิดเรื่องนี้มาก่อนเลย เราจะเข้าใจว่า
ความคิดก็คือสติเป็นคำเดียวกัน ถ้าจะให้ดีก็ต้องคิดหลายๆรอบนั่นคือ ตั้งสติ ถือว่าใช้ได้แล้ว
แต่การเจริญสติ คือรู้สติตลอดไม่ว่าจะทำอะไร แต่คงต้องฝึกและใจต้องพร้อมที่จะปฎิบัตินะคะ
มันไม่ยากถ้าเราตั้งใจ แต่ใจเราหลงตลอดเวลาก้ต้องพยายามค่ะ ขอบคุณนะคะทุกๆคำชี้แนะค่ะ
:b52: :b53: :b41: :b52: :b53: :b41: :b52: :b53: :b41: :b52: :b53: :b41เราเข้าไปอ่านการฝึกจิตของพระอาจารย์ปราโมทย์ ไม่ต้องสมัครกระทู้เลยค่ะ แค่อ่านโพสต์ก็เจอเพื่อนๆ
แบบเราๆแยะเลยค่ะ :b29: :b29: :b29: :b29: :b29: :b29: :b29: :b29:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: "สงสารคนทั่วไปหมด ชอบช่วยเหลือคนมากที่สุด จนบางครั้งคิดสับสนตัวเองมากเลย ว่า
เราเกิดมาเป็นคนของประชาชน ( ถ้าเป็น superstar ก็ดีนะ ) หรือเป็นกรรมที่ต้องชดใช้
แต่มันก็ทำให้เรามีความสุขใจนะที่เป็นผู้ให้ ผู้ช่วย"
:b40:

:b39: จากคำพูดข้างบนซึ่งเห็นคุณ Owan พูดบ่อยๆในบางกระทู้ จึงอยากจะบอกว่าคนเรามี2 ประเภทเท่านั้นที่จะให้ช่วย คือประเภทแรกช่วยได้(ช่วยแล้วเค้ามีความสุข) อีกประเภทหนึ่งช่วยไม่ได้เลย ถึงช่วยไปสุดท้ายเค้าก็ทุกข์อยู่ดี และเราช่วยก็พลอยเป็นทุกข์ด้วย แล้วเราจะต้องทำยังไง คำตอบก็คือต้องช่วยคนที่พอช่วยได้ก่อน (นั่นก็คือช่วยตัวเราเองให้ได้ก่อน ส่วนคนอื่นๆที่เราพิจารณาดูแล้วคิดว่าช่วยได้แน่ๆถึงช่วยเค้าครับ เพราะการช่วยคนอื่นๆและสงสารคนเป็นจำนวนมากก็เป็นความทุกข์น่ะ ไม่ใช่ว่าช่วยแล้วเราไม่ได้บุญ แต่ติดตรงที่เราไปพะวงกับการช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้นจนสะสมเป็นความทุกข์ความกังวลหลังการช่วยแล้วในใจเรา :b41: แม้แต่องค์ศากยะมุนีบรมศาสดาแห่งศาสนาพุทธ ท่านก็ทรงเลือกช่วยคนเหมือนกันซึ่งใช้ญาณสอดส่องว่าใครจะช่วยให้ถึงโมกขธรรมก็เตรียมเสด็จเตรียมโปรดสอนธรรมมะคนๆนั้นเป็นคนๆหรือหมู่คณะ :b43:

:b42: แต่เราไม่ได้มีวิถีแห่งญาณปัญญาอย่างพระพุทธองค์ เราก็ต้องใช้ประสบการณ์ส่วนตัวและสติ(ความระลึกได้)+สัมปชัญญะ(ความรู้สึกตัวขณะนั้น)แบบขณิกสมาธิก็พอรู้แล้วว่าใครที่สามารถพอช่วยได้จริงๆ ซึ่งดูแล้วทำไม่ยากจริงไหมครับ :b48:

:b40: ชีวิตคนๆต้องค่อยๆปรับผ่อนสั้นผ่อนยาวไปเรื่อยๆ จริงทำได้แค่เพียง1/4 ของผู้รู้ในเวปบอร์ดธรรมจักร ก็ถือว่าใช้ได้เลยนะครับ ถ้าไม่รู้เหตุของความวุ่นวายในชีวิต เราจะพัฒนาตัวเองไปข้างหน้าได้ไง ยิ่งความโกรธ ความเจ้าอารมณ์ ถึงจะมีผู้รู้ในนี้บอกให้ใช้วิธีนั้นวิธีนี้แก้ ก็ใช่จะแก้ให้หมดจากใจเราไปได้เลยก็หาได้ไม่ ต้องหัดแก้ไขด้วยไหวพริบตัวเอง(ชวนะ)และใช้วิธีการที่ผู้รู้ในบอร์ดบอกเอามาใช้แก้ด้วย แก้ไขไปเรื่อยๆ(ไม่รู้กี่ครั้งดี) จนกระทั่งว่า....อืมวิธีนี้ใช้เราแล้วเริ่มได้ผล เห็นผลแล้วจนสามารถยืนยันผลได้ด้วยตัวคุณเอง จนเรามั่นใจว่าที่ใครๆก็แล้วแต่บอกมาแต่สุดท้ายเราใช้วิธีนี้แหละเห็นผลเราถึงพิสูจน์เราถึงเห็นด้วยกับคำตอบของผู้รู้ในบอร์ด :b41:

คุณOwan รู้ไหมว่าถ้าแก้ไขชีวิตต้องแก้ที่ความโกรธเสียก่อน แก้ความโกรธตัวเดียวก่อน เมื่อค่อยๆแก้ไขแล้ว เราจะปฎิบัติธรรมและแก้ปัญหาชีวิตได้มากกว่าที่ผ่านมาหลายร้อยเท่าเลยทีเดียว ผู้รู้ในนี้และผมเป็นเพียงผู้แนะนำและให้กำลังใจคนกำลังปฏิบัติ แต่ผมให้กำลังใจตัวผมเองด้วยและไม่เคยย่อท้อเลย เพราะผมศรัทธาในตัวเองและความเป็นมนุษย์มากๆคิดว่าจะทำความเพียรในชาตินี้อย่างไม่ประมาทถึงแม้จะปัญญาไม่รู้แจ้งอริสัจ ไม่เหนญาณ16 ยังไม่ไปถึงแห่งอริยมรรค ยังไม่เห็นการเกิด-ดับของรูปนามขันธ์ห้าอย่างชัดเจนพอ ยังเอาชนะความโกรธไม่ได้ แต่ผมก็พยามทำให้มันอ่อนกำลังลง และใช้กำลังของสติที่พอมีบ้างและฝึกบ้างเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดในชาตินี้รวมไปถึงชาติข้างหน้าด้วย (ชาติแห่งการเกิด-ดับ ๆๆไม่รู้จักจบสิ้นแห่งภพชาติเป็นห่วงโซ่ที่เราตัดไม่เคยขาดเลย) :b43: :b39:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: จากคำพูดข้างบนซึ่งเห็นคุณ Owan พูดบ่อยๆในบางกระทู้ จึงอยากจะบอกว่าคนเรามี2 ประเภทเท่านั้นที่จะให้ช่วย คือประเภทแรกช่วยได้(ช่วยแล้วเค้ามีความสุข) อีกประเภทหนึ่งช่วยไม่ได้เลย ถึงช่วยไปสุดท้ายเค้าก็ทุกข์อยู่ดี และเราช่วยก็พลอยเป็นทุกข์ด้วย แล้วเราจะต้องทำยังไง คำตอบก็คือต้องช่วยคนที่พอช่วยได้ก่อน (นั่นก็คือช่วยตัวเราเองให้ได้ก่อน ส่วนคนอื่นๆที่เราพิจารณาดูแล้วคิดว่าช่วยได้แน่ๆถึงช่วยเค้าครับ เพราะการช่วยคนอื่นๆและสงสารคนเป็นจำนวนมากก็เป็นความทุกข์น่ะ ไม่ใช่ว่าช่วยแล้วเราไม่ได้บุญ แต่ติดตรงที่เราไปพะวงกับการช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้นจนสะสมเป็นความทุกข์ความกังวลหลังการช่วยแล้วในใจเรา แม้แต่องค์ศากยะมุนีบรมศาสดาแห่งศาสนาพุทธ ท่านก็ทรงเลือกช่วยคนเหมือนกันซึ่งใช้ญาณสอดส่องว่าใครจะช่วยให้ถึงโมกขธรรมก็เตรียมเสด็จเตรียมโปรดสอนธรรมมะคนๆนั้นเป็นคนๆหรือหมู่คณะ
:b41: นี่แหละK อินทรีย์5 เป็นปัญหาของเราบางครั้งเราก็ไม่รู้ตัวเราเองเหมือนกัน เราก็ไม่มีความสุข
เลยนะ เราเคยคิดอยากไปไหนไกลๆเลย ที่ๆไม่มีใครที่เรารู้จัก ไม่อยากรับรู้อะไรเลย มันไม่รู้สึกดีใจที่ได้ช่วยเหลือ มันเหมือนเป็นเวรกรรมที่เราต้องตามมาชดใช้ เราไม่ช่วยเราก็เป็นทุกข์ แต่บางครั้งช่วยไปมันก็
มากเกินไป จนใจไม่เป็นสุข เราถึงอยากจะเข้ามาฝึกปฎิบัติธรรม ว่ามีวิธีทำอย่างไรให้เรามีความสุข
:b41: คุณOwan รู้ไหมว่าถ้าแก้ไขชีวิตต้องแก้ที่ความโกรธเสียก่อน แก้ความโกรธตัวเดียวก่อน เมื่อค่อยๆแก้ไขแล้ว เราจะปฎิบัติธรรมและแก้ปัญหาชีวิตได้มากกว่าที่ผ่านมาหลายร้อยเท่าเลยทีเดียว ผู้รู้ในนี้และผมเป็นเพียงผู้แนะนำและให้กำลังใจคนกำลังปฏิบัติ แต่ผมให้กำลังใจตัวผมเองด้วยและไม่เคยย่อท้อเลย เพราะผมศรัทธาในตัวเองและความเป็นมนุษย์มากๆคิดว่าจะทำความเพียรในชาตินี้อย่างไม่ประมาท
:b41: นี่แหละที่เรารู้สึกอิจฉาท่านผู้ปฎิบัติธรรม ที่สามารถมีสติ ดูจิต รู้จิต ฝึกจิตของตนได้ แม้ความโกรธยังสามารถกำหนดได้ เราว่ามันช่างยากเย็นจริงๆ ทุกครั้งที่เราสวดมนต์ เราก็พรพระให้เราสามารถ
พบทางสว่างในทางธรรม ให้เรามีความอดทนสามารถผ่านพ้นความทุกข์ช่วงเวลานี้ไปได้ มันยากจริงๆสำหรับเรา เราดีใจนะที่วันนี้ Kอินทรีย์5มาแนะนำเรา เหมือนมันมีความสุขแต่ก็ปนเศร้า เราไม่เคยหวังให้ยาวไกลเหมือนนักปฎิบัตธรรม แค่หวังว่าวันนี้เรากลั้นตัว โทสะ ให้หมดไปได้ก็เหมือนเราออกจากทุกข์ได้
:b41: ธรรมะขอบคุณจริงค่ะ หวังว่าถ้าได้อ่านกระทู้ของเราเรื่องไหน และสามารถแนะนำแนวทาง
ปฎิบัติได้ คงให้ความสว่างแก่เราด้วยนะคะ :b8: :b44: :b8: :b44: :b8: :b40: :b8:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2008, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b48: ในกระทู้เดียวกันนี้ มีผู้รู้ที่ชื่อ K.มิตรตัวน้อย ได้ตอบหลักของการมีสติซึ่งตอบแบบสั้นๆและกินใจความ K.Owan ลองอ่านสัก 2-3 รอบก็จะเข้าใจนิยามของสติได้ชัดขึ้น

ไม่รู้ผมขอมากไปรึเปล่า แต่ผมว่า....คำพูดที่ให้ความหมายง่ายๆสั้นๆมันก้อธิบายเป็นภาพได้มากเหมือนกันนะ จริงๆต้องบอกว่าการช่วยคนของคุณนั้นมันเป็นเศร้าปนสุขมากกว่าน่ะ เศร้าก่อนแล้วเราค่อยสุขทีหลัง ซึ่งคุณก็กำลังเป็นอยู่ตอนนี้... ผมอนุโมทนาด้วย น้อยคนนะที่จะคิดได้แบบK.Owan ...ฮุๆๆๆ :b32:

ก๊อปคำพูดหน่อยแล้วกัน... "ภาวนาไว้ตลอดเวลา ทุกเวลานาทีที่ระลึกได้ ที่ไม่วุนวายนัก นี่แหละ คือ การฝึกสติ "

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2008, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามที่ผมเข้าใจ สติ แปลว่าความระลึกได้ และสัมปชัญญะแปลว่า ความรู้ตัว สติจะคุมอยู่กับอดีตกับอนาคต ส่วนสัมปชัญญะคือคุมปัจจุบัน การรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่เป็นสัมปชัญญะใช่หรือไม่ เห็นได้ยินแต่เจริญสติ ส่วนสัมปชัญญะ ไม่ค่อยเห็นให้เจริญเลย

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2008, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b2: :b8: การช่วยคนของคุณนั้นมันเป็นเศร้าปนสุขมากกว่าน่ะ : :b8:
ใช่เราเขียนผิดนะ ต้องเศร้าปนสุข ธรรมะขอบคุณนะคะที่แนะนำ เราจะพยายามภาวนาตลอดเวลานะคะ
:b31: :b18: :b31: :b18: :b31: :b18: :b31: :b18: :b31: :b18:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2008, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนอื่นต้องกล่าวคำขออภัยต่อท่านทั้งหลาย หากคำตอบของข้าพเจ้าอาจจะไประคายเคืองความรู้สึกของพวกท่าน แต่ท่านทั้งหลายรู้หรือไม่ว่า คำว่า "เจริญสติ"นั้น แท้จริงคืออะไร ข้าพเจ้าไม่ได้อ่านข้อแสดงความคิดเห็นของพวกท่านดอกนะ อ่านแต่ของผู้ถาม แต่ก็ต้องกันไว้ก่อน
"เจริญสติ" ในทางความหมายของภาษา หมายถึง การสร้าง การระลึกได้ หรือการนึกได้ ไม่เผลอ ให้ดีขึ้น ให้งอกงามขึ้น (คัดลอกและผนวกความจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก และ พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
ดังนั้นจากความหมายดังกล่าว ก็ตอบได้เลยว่า คำว่า "เจริญสติ"นั้น ในทางพฤติกรรมหมายถึง การบำรุงรักษาสมอง การควบคุมควบคิด มิให้ฟุ้งซ่าน เพราะการคิดฟุ้งซ่าน จะทำให้สติ(ความระลึกได้ นึกได้ ความไม่เผลอ) ลดน้อยถอยลง
และจากความหมายทางพฤติกรรม การจะ "เจริญสติ"ได้ ก็ต้องประกอบไปด้วย ปัจจัยหลายสิ่งหลายประการ นับตั้งแต่ การรับประทานอาหาร การพักผ่อนให้เพียงพอ การศึกษาร่ำเรียนศิลปะวิทยาการด้านต่างๆ การศึกษาและปฏิบัติ ตามหลักธรรมหรือหลักการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความมีสติ ตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งก็คือการปฏิบัติ สมาธิ ที่ได้กล่าวไป เป็นปัจจัยหลายๆอย่างประกอบกัน เพื่อให้เกิดความเจริญในด้าน การระลึกนึกถึง ไม่เผลอ หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วิธีการ เจริญสติ" หรือ การ เจริญสติ
ท่านทั้งหลาย อย่าหลงผิด คิดอยู่แต่ในด้านเดียวว่า การเจริญสติจะต้องเป็นผู้มีสมาธิ คือต้องฝึกสมาธิเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีปัจจัยดังที่ได้กล่าวไป เป็นเครื่องประกอบ ถ้าคิดอยู่แต่ในด้านเดียว แล้วสอนไป เท่ากับว่า รู้ไม่จริง ไม่เข้าใจในหลักธรรมที่แท้จริงว่า ต้องมีเหตุและปัจจัยประกอบกันหลายอย่างหลายประการ
อนึ่ง ท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจไว้อย่างหนึ่งว่า การปฏิบัติสมาธินั้น จะสร้างสติ ให้กับบุคคลนั้นๆ เนื่องจากเป็นธรรมชาติของมนุษย์ อันเกิดจากระบบการทำงานของสรีระร่างกาย
หากท่านทั้งหลายฝึกสมาธิอยู่เป็นประจำ ประกอบกับมีปัจจัยอื่นๆผสมผสานไปด้วยแล้ว ความมีสติของท่านทั้งหลาย อันเกี่ยวกับศิลปะวิทยาการ และหลักธรรมในหมวดธรรมต่างๆ ของท่านทั้งหลาย ย่อมมีความเจริญ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอยู่เนืองๆ
ดังนั้น คำว่า เจริญสติ จึงมีความหมาย ทั้งที่เป็นความหมายทางด้านภาษา ,ทั้งที่เป็นความหมายทางด้านพฤติกรรม อีกทั้ง การ เจริญสติ ย่อมต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายประการดังที่ได้กล่าวไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2008, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Board เก่านี้ มีอะไรมากมายอยู่นะครับ
มีเรื่องสติ สมาธิ เพียบเลย
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=3
:b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2008, 06:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อมูลเพิ่มเติมครับ




การเจริญสติ.... หรือ การเจริญสัมมาสติ คือ รู้ปัจจุบัน
รู้สภาวธรรมธรรมที่ปรากฏในปัจจุบันขณะ ครับ

ในมหาสติปีฏฐานสูตรใช้คำว่า"รู้ชัด"

จาก

๑.พระพุทธพจน์

ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ
อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มนุพรูหะเย

ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆอย่างแจ่มแจ้ง
ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้





๒.โอวาทธรรม
ท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

โยนิโสมนสิการแบบมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ เป็นกระบวนการในสติปัฏฐาน 4

ลักษณะของความคิดที่ไม่เป็นปัจจุบัน ก็คือ ความคิดที่เกาะติดอยู่กับอดีตและอนาคต

การที่อารมณ์เกาะติดกับอดีตหรืออนาคต ทำให้เกิดความทุกข์เรียกร้องโหยหาอารมณ์ที่ผ่านมาแล้ว หรือสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความฟุ้งซ่านเปิดช่องให้กิเลสตัณหาเข้ามาทำงานได้

อนึ่ง ความเข้าใจในคำว่าปัจจุบันในทางธรรม ไม่ตรงกับทางโลก

คือปัจจุบันของทางโลกครอบคลุมช่วงเวลาที่กว้างขวางมากและไม่ชัดเจน

ส่วนความหมายในทางธรรม

" ปัจจุบันหมายถึงขณะเดียวที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งจะมีสติตามทันสิ่งที่รับรู้หรือต้องทำอยู่ในขณะนั้นๆ"

ถ้าจิตเกิดความชอบใจหรือไม่ชอบใจขึ้นมาในอารมณ์ ....ทันทีที่เกิดสติ อารมณ์นั้นจะตกเป็นอดีตไปทันที ความฟุ้งจึงเกิดขึ้นไม่ได้ อารมณ์ที่ชอบชังก็ตกกลายเป็นอดีตไปในทันที

คำว่าปัจจุบันในทางธรรม จึงมีความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งนัก





๓.โอวาทธรรม หลวงปู่ แหวน สุจิณโณ

รู้ปัจจุบัน ละปัจจุบัน เป็นธรรมโม
ถ้าไปยึดถืออดีต-อนาคตเท่ากับไปเก็บไปถือของปลอม


ธรรมเหล่านี้เป็นปัจจัตตัง
รู้เฉพาะตนละเฉพาะตน วางเฉพาะตน หมุนเข้าหากายหาใจนี่แหละ ถ้ามัวเอาอดีต-อนาคตจะกลายเป็นแผนที่ไป...

แผนที่ปริยัติธรรมจำมาได้มากจึงไปยึดไปถืออย่างนั้นบ้าง สิ่งนี้บ้าง ทั้งอดีต-อนาคต ทำให้ยิ่งห่างจากการรู้กายรู้ใจของเรา
ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็กลายเป็นเชื้อของกิเลสที่อยู่ในแผนที่ใบลานแต่ไม่เดือดร้อน
ถ้าหากมาอยู่ในใจจะทำให้เดือดร้อน

เพราะฉนั้นถ้าเกิดขึ้นในใจ ให้เอาใจละ เอาใจวาง เอาใจออก เอาใจถอน ปัจจุบันเป็นอย่างนี้

ไม่ใช่จำปริยัติได้มาก พูดได้คล่อง เวลาเอาจริง ๆ ก็ไม่รู้จะจับอันไหนเป็นหลัก

ปัจจุบันธรรมต้องรู้แจ้งเห็นแจ้งในกายใจของตน ต้องละวางถอดถอนในปัจจุบัน จึงจะใช้ได้...



...................................................





สัมมาสติ ที่ระลึกทัน ในกาย เวทนา จิต ธรรม ณ ปัจจุบันขณะ เท่านั้น จึงจะนำไปสู่สัมมาสมาธิ และ สัมมาญาณะ ด้วยเหตุนี้ครับ

การจมไปอยู่กับอดีต และ ฟุ้งซ่านไปยังอนาคต เป็นเหตุให้ใจลอย และ เป็นทุกข์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 53 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร