วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 01:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b10: :b10: อยากรู้ความหมายของคำว่า "สมถะ+วิปัสสนา" ค่ะ รบกวนท่านผู้รู้
ช่วยอธิบายความหมายที่เข้าใจง่ายๆ แบบละเอียดน่ะค่ะ และข้อแตกต่างของสองคำนี้น่ะค่ะ
เพราะเวลาฟังเทศนาธรรมบ่อยๆ ชักสับสน :b26: :b26: น่ะค่ะ เลยไม่รู้ว่าที่เราเข้าใจอยู่นั้น
ถูกหรือเปล่า เวลาปฎิบัติที่ถูกต้องนะคะ
:b29: :b29: อย่าถามกลับนะคะ เพราะอธิบายไม่ถูกค่ะ เข้าใจอยู่คนเดียว อายค่ะ :b29:
:b45: :b45: รบกวนด้วยนะคะ :b41: :b41:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มีเยอะเลยครับ ที่เขาคุยกันเรื่องนี้
ผมมองว่าเป็นประเด้นที่ hot hit ติดชาร์ทมานานแสนนาน

ลองค้น google ด้วยคำว่า สมถะ วิปัสนา ดูสิครับ
result เยอะมาก

หรือลองอ่านของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้พูดเรื่องนี้ไว้ชัดเจนมากๆ
แต่ผมอ่านแล้วก้เหมือนคำที่ว่า ฝนตกทั่วฟ้า แต่เราไม่มีปัญญาไปรองรับเอามาใช้
http://www.hinmarkpeng.org/Data%5CPDF%5 ... amatha.pdf
http://www.hinmarkpeng.org/dhamma01.html


ถ้าอ่านแล้วเครียด ดาววิ่งอยู่บนหัว
ก็อาจจะหมายถึงว่าต้องปล่อยวาง ใจเย็นๆ ค่อยๆเก็บเล็กผสมน้อย
เข้าใจอะไรก็ค่ิอยอ่าน อะไรไม่เข้าใจก็ต้องวางไว้ก่อน
พอดี พอเพียง พอเหมาะ
รู้จักประมาณสมรรถนะของจิตใจเราให้เหมาะกับกิจที่จะทำ


เหมือนเช่นผมตอนนี้ที่ตัวเองก็ไม่ถึงนิพพาน
แต่ดันไปอยากรู้เรื่องนิพพาน แล้วก็ขบคิดไปต่างๆนาๆ
คือเรามันยังรู้ไม่ได้ แต่ยิ่งอยากรู้ ยิ่งเครียด
ความเครียดเป็นอกุศลจิต เป้นจิตไม่ดี (จะพาให้ฝูงกามาทำรังบนใบหน้าได้)
ก็ต้องปล่อยวาง ไปหาอะไรง่ายๆ สนุกๆ อ่าน
ขอให้มันอยู่ในกรอบธรรมะ นับว่าดีทั้งนั้น
เมื่ออ่านมากๆ ศึกษามากๆ ความรู้ที่เก้บนิดผสมหน่อยนี้แหละ มันจะประติดประต่อกันเอง


สำหรับผมแล้ว ปรากฏว่า อ่านแบบไม่ตั้งใจ อ่านเล่นๆ ขำๆ ฮาๆ นี่แหละครับ เจอแต่ของดี
เพราะพระอริยาจารย์ทั้งหลาย ท่านก็ไม่ได้พูดอะไรที่ไหน
ท่านพูดธรรมะของพระพุทธเจ้านั่นแหละ
ท่านพูดสิ่งที่ยากๆเหล่านั้นแหละ แต่พูดในแบบง่ายๆ


บางทีท่านพูดง่ายซะจนเรารู้สึกว่ามันไม่มีค่าสูงพอจะเป้นธรรมะชั้นสูง
รู้สึกว่าราคามันไม่ถึงอะไรทำนองนั้น ตันหาเรามันล่อลวงไปอย่างนั้นก้มีนะ

นั่นเป้นเพราะเราปรุงความคิดไปเองก่อน ว่ามันต้องยาก ต้องสูง ต้องมีตาทิพย์ หูทิพย์เสียก่อน ต้องถอดไส้ถอดพุงได้เสียก่อน เราจึงจะเข้าใจธรรมะนั้นได้

ลองเริ่มแบบง่ายๆดูนะครับ
ลองอ่านประวัติพระปฏิบัติต่างๆ หลายๆท่าน
ประวัติอุบาสกอุบาสิกา อ่านเล่นๆไป สนุกดีมาก
อ่านไปเล่นๆ แต่พออ่านมากเข้า จะพบว่าท่านเหล่านั้น มีระบบความคิด หรือหลักคิดเหมือนกัน
ซึ่งเป้นใจความของคำสอนพระพุทธเจ้าทั้งนั้น เพียงแต่มันสอดแทรกอยู่ในเรื่องราวจริงๆของท่าน

http://www.dharma-gateway.com/


สนุกนะ ลองอ่านดุ ดีกว่าอ่านอะไรที่เรายังไม่เข้าใจเทือกนั้นเยอะ
เหมือนดูหนังอินเดียน่า โจนส์ ยังไงยังงั้น
แต่เป็น indiana jones แบบพระ ย่อมจะสงบเสงี่ยมกว่า ไม่ห้อยโหนโจนทะยานขนาดแบบในหนัง
แต่มีให้อ่านหมดนะ ผีก็มี เปรตก็มี หรือแบบห่ามๆก้มี อย่างประวัติหลวงพ่อโต พรมรังสีนี่ขำมาก ท่านตลกเอามากๆ

เมื่ออ่านจบ ก็เจอขุมทรัพย์เหมือนกัน
ถ้ารู้จักเอาไปเจียระไนต่อก็ได้เพชร
ถ้าไม่รู้จัก อย่างน้อยก็ได้หินใสๆเก็บไว้ รอเจียรไนภายหลังเมื่อพร้อม

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ O.wan ตีรั้วกั้นไว้เลยนะครับว่าห้ามถามกลับ :b21:

ทำความเข้าใจง่ายๆอย่าง่นี้ก่อนนะครับ ศีล สมาธิ และปัญญา สมาธิก็คือสมถะ ปัญญาก็คือวิปัสสนา

คุณ O.wan ศึกษาที่ลิงค์นี้ดูสิครับ ติดขัดตรงไหนถามเพิ่มเติมได้อีก

viewtopic.php?f=2&t=19596&p=89485#p89485

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมัตตะ10(ตั้งหลักมรรค 8 เติมสัมมาญาณะ ความรู้ชอบ สัมมาวิมุติ ความหลุดพ้นโดยชอบ รวมเป็น 10)
ซึ่งประกอบด้วย

สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ

สัมมาวาจา เจรจาชอบ
สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ
สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายามะ พยายามชอบ
สัมมาสติ ระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ

สัมมาญาณะ ความตรัสรู้ชอบ
สัมมาวิมุติ ความหลุดพ้นชอบ

ใน สัมมัตตะ10 นี้ แยกให้พิจารณาง่ายเข้า เป็น
1.วิปัสสนาในขั้นอริยมรรค(สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ) และ วิปัสสนาญาณในขั้นอริยผล(สัมมาญาณะ) ซึ่งผมใช้ ตัวอักษรทึบสีดำ
2.สมถะ ที่อยู่ในขั้นอริยมรรคทั้งหมด ประกอบ ด้วย อธิศีลสิกขา(หรือ ศีล ได่แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ) และ อธิจิตตสิกขา(หรือ สมาธิ ได่แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ) ซึ่งผมใช้ ตัวอักษรสีม่วง
3.สัมมาวิมุติ


การกล่าวว่า การเจริญ อริยมรรค คือ การเจริญวิปัสสนา ก็ไม่ผิด....เพราะ กระบวนการที่เริ่มจาก(อนาสวะ)สัมมาทิฏฐิ ไปจนปรากฏผลเป็น สัมมาญาณะ ก็ คือ การที่วิปัสสนาเจริญขึ้นนั่นเอง

ในขณะเดียวกัน การกล่าวว่า การเจริญ อริยมรรค คือ การเจริญสมถะ ก็ไม่ผิด... เพราะ กระบวนการที่เริ่มจาก (อนาสวะ)สัมมาวาจา ไปจนปรากฏผลเป็น สัมมาสมาธิ ก็ คือ การที่สมถะเจริญขึ้นนั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์ดั้งเดิม แสดงอริยมรรค ที่ประกอบด้วย สมถะ และ วิปัสสนา คู่กันเสมอ



[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้

ชื่อว่า
มีสติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์

บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป

เขาชื่อว่า กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ละธรรมที่ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เจริญธรรมที่ควรเจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



จากพระพุทธพจน์

ในการเจริญอริยมรรค จึง"มีสติปัฏฐานสี่" ...และ เป็นทั้งการเจริญ" สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันไป"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 22:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

Quote Tipitaka:
[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ
สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
สมถะ มีในสมัยนั้น.

[๒๕๔] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความ
รู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ
ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญา
เหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจย-
*สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา
มีในสมัยนั้น.




จะเห็นได้ชัดว่า ทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา มีระบุว่า "อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะ ในพระสูตรต่างๆ กล่าวถึงสมาธิ ครับ


๕. สมาธิสูตร

ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญญา

[๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
*เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย.
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ. ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง.

ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงอย่างไร.
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความเกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและความดับแห่งวิญญาณ.




และ จาก


พระสูตรชื่อ โรหิตัสวรรค (จตุก อํ ๒๑/๕๗/๔๑)

สมาธิสูตร

[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ
ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระ
อริยะสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา
อธิษฐานทิวาสัญญา ๑- ว่า กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน
มีใจอันสงัด ปราศจากเครื่องรัดรึง อบรมจิตให้มีความสว่างอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ
@๑. ความสำคัญหมายว่ากลางวัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป
รู้แจ้งสัญญาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป
รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ

ดูกรภิกษุทั้งหลายก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป
ในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความ
ดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้
ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้
ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

ดูกรภิกษุทั้งหลายสมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คำต่อไปนี้ เรากล่าวแล้วในปุณณปัญหาในปรายนวรรค หมายเอาข้อความนี้ว่า

ความหวั่นไหวไม่มีแก่บุคคลใด ในโลกไหนๆ เพราะรู้ความ
สูงต่ำในโลก บุคคลนั้นเป็นผู้สงบปราศจากควันคือความโกรธ
เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้หมดหวัง เรากล่าวว่า ข้ามชาติและชราได้แล้ว ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 05:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b17: :b17: :b17: ดีใจจังค่ะ ที่มีท่านผู้รู้แนะนำแยะมากเลย ถ้าตอนนี้ไม่เห็นเราในนี้
แสดงว่า ขออนุญาติไปทำความเข้าใจแบบห้ามกระพริบตา :b9: :b9: แบบบรรทัด/บรรทัด
น่ะค่ะ แล้วจะกลับมาพร้อม :b10: :b10: :b10: :b10: :b10: ค่ะ :b8: :b8:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 08:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


O.wan เขียน:
:b10: :b10: อยากรู้ความหมายของคำว่า "สมถะ+วิปัสสนา" ค่ะ รบกวนท่านผู้รู้
ช่วยอธิบายความหมายที่เข้าใจง่ายๆ แบบละเอียดน่ะค่ะ และข้อแตกต่างของสองคำนี้น่ะค่ะ
เพราะเวลาฟังเทศนาธรรมบ่อยๆ ชักสับสน :b26: :b26: น่ะค่ะ เลยไม่รู้ว่าที่เราเข้าใจอยู่นั้น
ถูกหรือเปล่า เวลาปฎิบัติที่ถูกต้องนะคะ
:b29: :b29: อย่าถามกลับนะคะ เพราะอธิบายไม่ถูกค่ะ เข้าใจอยู่คนเดียว อายค่ะ :b29:
:b45: :b45: รบกวนด้วยนะคะ :b41: :b41:


ตอบ.....
สมถะ กัมมัฏฐาน และ วิปัสสนา กัมมัฏฐาน แบบง่ายๆ
สมถะ กัมมัฏฐาน หมายถึง การปฏิบัติสมาธิ แบบธรรมดา คือ การเอาใจจดจ่อ หรือ การเอาใจฝักใฝ่ หรือการเอาใจเข้าไปผูกอยู่ ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อไม่ให้เกิดความคิด เพื่อไม่ให้เกิด อารมณ์ หรือเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึก หรือ เพื่อไม่ใช้เกิดสภาพสภาวะจิตใจในรูปแบบต่างๆกัน เช่น ดีใจ เสียใจ ห่วงหา วิตก กังวล ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น
รวมความแล้ว สมถะ กัมมัฏฐาน คือ การฝึกควบคุมสรีระร่างกาย ในด้าน ความคิด อารมณ์ ความรู้สึกฯลฯ มิให้ฟุ้งซ่าน คือให้สงบ
ผลแห่งการฝึกปฏิบัติ สมถะ กัมมัฏฐาน หรือสิ่งที่ได้รับจากการปฏิบัติ สมถะ กัมมัฏฐานฐาน ก็คือ สติ- สัมปชัญญะ ทำให้สมองสติปัญญา ดีขึ้น ฯลฯ


วิปัสสนา กัมมัฏฐาน หมายถึง การปฏิบัติสมาธิ โดยการเอาใจจดจ่อ หรือเอาใจฝักใฝ่ หรือการเอาใจเข้าไปผูกอยู่ในหลักวิชชาการอันเป็นญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา และหรือ หลักธรรมะทั้งหลาย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติได้ หรือจะเรียกแบบภาษาทั่วๆไปว่า "ปัญญา"
วิปัสสนา กัมมัฏฐาน จะต้องประกอบ ด้วยสมถะ กัมมัฏฐาน คือต้องมีการปฏิบัติ สมถะ กัมมัฏฐานมาดีแล้ว จึงจะสมควรฝึกวิปัสสนา หรือจะกล่าวอีกในรูปแบบหนึ่ง ก็คือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นขั้นตอนต่อจากสมถะ กัมมัฏฐาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระสูตรดั้งเดิม

จะมีการกล่าวถึงการเจริญอริยมรรค ไว้ทั้งที่ใช้

สมถะนำหน้าวิปัสสนา
สมถะคู่เคียงวิปัสสนา
วิปัสสนานำหน้าสมถะ

ผู้ใดมีจริตนิสัย หรือ ครูบาอาจารย์ที่ท่านเชี่ยวชาญแง่มุมใด ก็เลือกเอาตามเหมาะสม
แต่ ก็ต้องอยู่ในหลักที่ มีทั้ง สมถะ ประกอบกับวิปัสสนา

จาก

ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?

พระอานนท์ตอบ ว่า
“....ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
(หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
(หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป....
มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)
ตบ. ๒๑ : ๒๑๒ ตท. ๒๑ : ๑๘๓-๑๘๔
ตอ. G.S. II : ๑๖๒
จาก http://www.84000.org/true/220.html


ในส่วนผู้ที่เจริญสมถะ(สมาธิภาวนา) ก็มีทั้งที่ใช้ฌานเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาโดยตรง(เช่น ใน ฌานสูตร)

และ ใช้สภาวะจิตที่ ตั้งมั่น นุ่มนวล ควรแก่การงาน มาเป็นส่วนสนับสนุนการเจริญวิปัสสนา

ดังปรากฏ ในหนังสือ พุทธธรรม

ประโยชน์ของสมาธิและฌานในทางพุทธธรรม ก็คือ ภาวะจิตที่เรียกว่า "นุ่มนวล ควรแก่งาน"

ซึ่งจะนำมาใช้เป็นที่ปฏิบัติของปัญญา


ๆลๆ

ในภาวะแห่งฌานที่ปฏิบัติถูกต้อง เมื่อจิตเป็นสมาธิแน่วแน่แล้ว จิตแนบสนิทกับอารมณ์หนึ่งเดียว สติยิ่งกำหนดชัดเจน ทำให้จิตเหมาะที่จะใช้งานได้ดียิ่งขึ้น
ไม่ใช่เป็นจิตที่เคลิบเคลิ้มเลือนหายหมดความรู้สึก ไม่ใช่อย่างที่ฝรั่งเรียกว่า Trance

โดยเฉพาะฌานที่ 4 จะมีคำแสดงลักษณะว่า “อุเปกขาสติปาริสุทธิ จตุตถชฌาน” แปลว่า จตุตถฌานอันมีอุเบกขาเป็นเครื่องให้สติบริสุทธิ์

และคำสรุปท้ายฌาน 4 เมื่อใช้เพื่อบรรลุวิชชาจะมีว่า “เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้มลทิน ปราศจากสิ่งมัวหมอง นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว จึงน้อมจิตนั้นไป (นำเอาจิตไปใช้) เพื่อ....” (เช่น ที.สี.9/132/102 และดาษดื่นในพระไตรปิฎกเกือบทุกเล่ม, คำอธิบายดู อภิ.วิ.35/683/352, วิสุทธิ.1/214)



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว



ภาวนาก็เหมือนกับไม้ท่อนเดียว
วิปัสสนาอยู่ปลายทอ่นทางนี้ สมถะอยู่ปลายท่อนทางนั้น
ถ้าเรายกไม้ท่อนนี้ขึ้น ปลายไม้จะขึ้นข้างเดียวหรือสองข้าง
ถ้าเรายกไม้ท่อนนี้ขึ้น ปลายทั้งสองข้างจะขึ้นด้วย


การภาวนานั้น ไม่ใช่ว่าจะนั่งหลับตาภาวนาอย่างเดียว
แต่ต้องทำและทำได้ตลอดเวลา
การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ให้มีสติประคับประคองอยู่เสมอ
สมาธินั้น อาตมาไม่เอามากหรอก
แต่ ให้มี สติ อยู่เสมอ


ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นอยู่กับชื่อเรียก
ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “วิปัสสนา” สมถะก็ถูก เหยียดหยาม
หรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “สมถะ” ก็จะพูดว่าจำเป็นต้องฝึกสมถะก่อน วิปัสสนา
เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย
เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไป แล้วท่านจะรู้ได้ด้วย ตัวท่านเอง



หลวงพ่อชา สุภทฺโท


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร