วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 11:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2008, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...จิตมีอาการสงบ นิ่งๆ คล้ายตกภวังค์ มันหยุดคิด หยุดภาวนาไปเฉยๆ เป็นบ่อยขึ้นทั้งหลังจากสวดมนต์ หรือบางครั้งนั่งทำอะไรเพลินๆ อยู่ มันจะหยุดทำ หยุดคิด บางครั้งขับรถก็เป็นค่ะ แต่ไม่รู้สึกกลัวนะ รู้ว่าตัวเองกำลังขับรถ ก็ดึงความสนใจให้ลงมาที่ตัวตน ไม่เหมือนหลับใน (เพราะเคยหลับในค่ะ แค่ครั้งเดียวกลัวมากเลยตอนนั้น) เห็นทุกสิ่งกำลังดำเนินไปตามสภาพของมัน รู้สึกเพลินๆ สบายๆ กลัวติดในอารมณ์นี้นานไปเสียประโยชน์ที่พึงได้ พึงเจริญให้เกิดขึ้น ท่านใดเมตตาชี้แนะด้วยค่ะ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2008, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 09:20
โพสต์: 349


 ข้อมูลส่วนตัว


หมั่นเจริญสติ ให้ต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน

การสวดมนต์ ก็ขอให้สวดมนต์เสียงดังๆ

เปลี่ยนอิริยาบทจากนั่งสมาธิ เป็นเดินจงกรม

สมาธิกับสติ ควรฝึกอย่างเกื้อหนุนกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2008, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2004, 12:30
โพสต์: 147


 ข้อมูลส่วนตัว www


อย่าทิ้งคำบริกรรม ตามหา "พุทโธ"

ปล.บ่อปลาที่มีตัวให้เห็น ย่อมดีกว่า .. บ่อที่ว่าง .. คล่องชำนาญ จากประสบการณ์ ที่มีมา.. ไม่ใช่หรือ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2008, 19:42 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ดูไปตามความเป็นจริงว่าจิตเป็นอย่างไร เช่น จิตเฉยก็รู้ว่าเฉยจิตเป็นอย่างไรก็ให้รู้ไปตามความเป็นจริง โดยไม่ต้องไปแทรกแซง ก็จะเห็นสภาวะการเกิดดับของจิตว่าไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่สามารถบังคับได้ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของไม่เที่ยง จิตที่นิ่งเดี๋ยวมันก็หลงเดี๋ยวมันก็ไหลไปตามสิ่งที่มากระทบทางอายตนะ 6 เพียงแค่เราตามรู้ไปโดยไม่ไปหลงคิด หรือไปคิดทำอย่างไรให้จิตไม่เป็นอย่างนั้น ก็จะเห็นว่าจิตนั้นเป็นของไม่เที่ยง เดี๋ยวก็นิ่งเดี๋ยวก็หลงเดี๋ยวก็เผลอ ให้ตามดูตามรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงไปจนจิตเห็นไตรลักษณ์ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของไม่เทียงไม่มีตัวตน

สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้ (ข้อ ๑ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒, ข้อ ๓ ในพละ ๕, ข้อ ๙ ในนาถกรณธรรม ๑๐, ข้อ ๑ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๖ ในสัทธรรม ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 16 / 28
สติปัฏฐาน ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ
๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย
๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา
๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต
๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม;
เรียกสั้นๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม;


จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต
สภาวะใดเกิดขึ้นก็ให้รู้แล้วก็ไม่ต้องไปปรุงแต่งต่อไปก็จะพบกับคำว่าสติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2008, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ตามคุณ puy อะครับ :b8:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2008, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: ขอบคุณทุกท่านค่ะ
อ่านทุกความคิดเห็น อ่านหลายๆเที่ยว แต่ไม่ทราบว่าปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ เรียนรบกวนคุณ puyหน่อยค่ะ
เพราะในขณะที่มันสงบๆสบาย มันเคยรู้สึกเบื่อหน่ายกายนี้มากมาสักระยะคือก่อนหน้านี้พิจารณากายว่าไม่มีส่วนไหนมันเที่ยงแท้ แยกดูลึกเข้าไปจนถึงกระดูกเอ็นและจากการมีเวทนามานานจึงปลงในความจ็บปวดที่มี และรู้สึกว่าเราเจ็บปวดน้อยลง
การตามดูรู้จิตนี่เป็นอย่างไรคะ สภาวะของจิต มีการรู้ซึ่งอารมณ์แต่อย่างเดียว(พระอภิธรรมสังเขปและธรรมฯ :พระนิติเกษตรสุนทร: 2505) ถ้าจิตมีการรู้ซึ่งอารมณ์ คือเราตามรู้ว่าจิตขณะนั้นๆ มีอารมณ์อะไรเกิดขึ้นหรือเปล่าคะ ถ้าอามรณ์มันนิ่งๆไม่โกรธ ไม่คิดเอา แต่มันหลงแล้วเราไม่รู้ว่ามันหล่ะคะ
คือโกรธเรารู้ โลภก็รู้ แต่หลงนี่อย่างไรค่ะ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2008, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ลองโพสต์ถามในบอร์ดดูจิต ลองดูนะครับ
http://www.wimutti.net

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2008, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: "ถ้าอารมณ์มันนิ่งๆ ไม่โกรธ ไม่คิดเอา" จัดว่าเป็นอุเบกขาเวทนา คือจิตไม่มีที่เกาะ ต้องทำให้มีสติขึ้นมาโดย ใส่คำกำหนดว่ารู้หนอๆ เข้าไป (ใส่ความรู้สึกเข้าไป) อารมณ์นิ่งๆ และเฉยๆ ไม่ได้คิดอะไรเลยก็ทำให้ขาดสติได้เหมือนกัน ถือเป็นความหลงอย่างหนึ่งเหมือนกัน ต้องกำหนดๆ ไว้อย่าปล่อยให้ผ่านเลยไป :b41: (ตัวความหลงนิยามง่ายๆ ก็คือการที่จิตขาดสติ จิตไม่มีที่เกาะ กำหนดอะไรไม่ได้เลยหรือจะเรียกว่าโง่ก็ได้) :b39: :b44:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2008, 15:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2008, 21:14
โพสต์: 546


 ข้อมูลส่วนตัว


ยังเป็นมิจฉาสมาธิ คือ เป็นสมาธิ ที่นิ่งเงียบ เมื่อรู้ตัวก็ให้เปลี่ยนอริยาบท ให้แคล่วคล่องว่องไว ไม่เช่นนั้น อีกหน่อยมันจะนิ่งทื่อ ให้หมั่นระลึกรูแล้ว เตือนตนว่า อาการแบบนี้ก็เป็นอาการหนึ่งของจิต ที่ยังนิ่งทื่อ ไม่ควรแก่การงาน จิตที่มีสมาธิดี ควรแคล่วคล่องว่องไว นิ่งในขณะเคลื่อนไหว อาการที่ว่านี้ จะนิ่งไปคิดอะไรก็ไม่ค่อยคิด คว้างๆ ตื้อๆ ในหัว แบบนี้ไม่ถูกต้องนะ

.....................................................
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2008, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 14:42
โพสต์: 121


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ข้าพเจ้าก็เคยเป็นอาการเช่นนี้ เมื่อนั่งภาวนาเหมือนกับจิตของเราไม่รับรู้อะไรจะว่าหลับในฌานก็ไม่ใช่ แต่สติจะรู้ทุกอย่างได้ยินกระทั้งเสียงของเราหายใจ แต่พอเปลี่ยนมาเดินจงกรม "ยกหนอเหยียบหนอ" ก็จะเปลี่ยนไปอีกแบบหนึ่งสติจะจับจรดจ่ออยู่ที่ปลายเท้า จริงอย่างที่ K ขันธ์ แน่ะ ละค่ะ ต้องเปลี่ยนจริตของเราว่าจะถูกตรงไหน :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2008, 01:43 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การตามรู้จิตคือเมื่อจิตเป็นอย่างไรก็ให้รู้ รู้แบบที่ไม่มีการปรุงแต่งไปในเรื่องที่เข้ามากระทบ
ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ กายเป็นอย่างไรก็รู้ จิตเป็นอย่างไรก็รู้
รู้ทุกอย่างตามความเป็นจริงเมื่อรู้แล้วก็ไม่คิดหรือไม่ไปปรุงแต่ง
เช่นเมื่อคุณเห็นเพื่อนคนหนึ่งทำกริยาอาการที่ไม่เหมาะสมแล้วคุณก็เกิดความรู้สึกว่าไม่ชอบ
ก็ให้รู้ไปตามความเป็นจริงว่าเรามีความรู้สึกที่เป็นโทสะเกิดขึ้นในจิตและไม่ต้องไปปรุงแต่ง
หรือหลงไปคิดต่อไปว่าทำไมต้องทำตัวแบบนี้หรือไม่มีอาการที่รู้ว่าใจที่คิดนั้นเป็นอย่างไร
แต่รู้ว่าเรากำลังโกรธและไม่ชอบคนนี้มากแล้วไม่อยากที่จะไปพูดหรือทำท่าทางรังเกียจ
อย่างนี้เรียกว่าจิตหลงปรุงแต่และทำให้จิตไหลไปตามความคิดที่เกิดแล้วทำให้เราเกิดภพเกิดชาติ
และแสดงอาการทางกายออกมาอย่างนี้เรียกว่าเราไม่มีสติการที่เราดูกายดูจิตก็เป็นการที่เราดูว่า
ขณะนี้กายเรากำลังทำอะไรจิตเป็นอย่างไรเมื่อมีสิ่งที่มากระทบทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ
ทุกสิ่งที่เราทำไปนั้นส่วนมากเกิดขึ้นเพราะเราหลงไปคิดหลงไปปรุงแต่งต่อสิ่งที่มากระทบ
เมื่อมีสิ่งที่มากระทบแล้วเราก็รู้ไม่ไปคิดไปกับสิ่งที่เห็นเมื่อเห็นแล้วก็ระลึกรู้ว่าจิตเป็นอย่างไรนี้
ก็เป็นการดูจิตแต่ในการปฏิบัตินั้นเราต้องมีทั้งการดูกายและดูจิตสลับกันไป
ในขณะที่เรากำลังทำอะไรก็ให้มีสติอะไรที่เด่นในขณะนั้นให้ดู
เช่นตอนนี้เรากำลังเดินก็ให้รู้สึกตัวว่าเดินกำลังนั้งก็รู้สึกว่านั้งแต่เมื่อไปเห็นอะไรที่เกิดความรู้สึกทางจิต
ก็ให้ดูว่าจิตเป็นอย่างไรเช่นจิตเกิดโทสะ จิตหลงไปคิด จิตเป็นโลภะ
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงเราระลึกรู้แล้วไม่ไปปรุงแต่งต่อไปก็จะทำให้เราสามารถ
ที่จะเห็นกายเห็นใจนี้เป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนเราไม่มีสิ่งที่เราควรจะยึดมั่นถือมั่น
กายก็ส่วนหนึ่งใจก็ส่วนหนึ่งเราดูไปนานๆจิตก็จะเห็นไตรลักษณ์และจะปล่อยวาง
ในสิ่งที่มากระทบสิ่งใดที่กระทบแล้วเราไม่หวั่นไหวนั้นแหละจิตที่ควรจะเป็นสำหรับผู้ที่ปฏิบัติธรรม
ในการตามดูกายดูจิตนั้นมีสิ่งที่ต้องรู้และดูแต่การที่เราไปสนใจว่าทำแล้วมีความรู้สึกว่าเราจะต้องเกิดความเป็นผู้ที่มีความรู้สึกตัวอยู่นั้นคือการที่เรามีสติเมื่อมีสติก็จะไม่มีสิ่งใดทำให้เราต้องทุกข์ๆ
คือการที่เราชอบไปหลงคิดหลงทำหลงรู้แล้วไปถลำกับสิ่งที่มากระทบทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ
ใจเป็นผู้รับเมื่อรับแล้วเราไม่เกิดความรู้สึกที่เราจะต้องทำในสิ่งที่ตัวกิเลสหรือตัณหาหรืออุปทาน
เป็นผู้บงการเราก็จะสามารถมีสติและสามารถตัดวงจรของปฏิจจสมุทบาทได้
เมื่อเราตัดวงจรของปฏิจจสมุทบาทได้ก็ทำให้เราไม่มีความรู้สึกทุกข์กับสิ่งที่มากระทบ
หรือทำให้เราไม่ต้องไปคิดหรือทำในสิ่งที่ทำให้เราเป็นทุกข์ๆนั้นเกิดขึ้นจากจิตๆที่ชอบปรุง
ชอบแต่งเม่อมีสิ่งมากระทบใจก็จะไปตามสิ่งที่เห็นนั้นคือจิตที่หลงคิดไปตามสิ่งมากระทบ
ในการดูจิตนั้นให้ดูแบบสบายๆไม่ต้องไปเพ่งหรือไปจ้องเพียงแต่เรารู้ตัวเองว่าเรากำลังเดิน
กำลังนั้งจิตเกิดโทสะ ฯลฯ จิตนิ่งจิตเฉย สภาวะเหล่านี้จะเป็นกับผู้ที่ฝึกสมาธิแล้วไปเพ่ง
จนจิตเกิดความรู้สึกว่ากายนี้เป็นของไม่เที่ยงมันเป็นสิ่งที่เราไม่ควรที่จะยึดมั่นถือมั่นว่าตัวของเราเรา
ไม่มีตัวตนเมื่เราไม่มีตัวตนเราก็จะเกิดความรู้สึกเบื่อและเห็นว่าทุกสิ่งเป็นของไม่เที่ยง
เมื่อจิตเกิดความรู้สึกอย่างนี้เราก็ให้ตามรู้ไปว่าจิตเป็นอย่างไร
ไม่ต้องไปคิดว่าทำไมจิตมันนิ่งจิตมันสงบ จิตก็เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนเราก็ไม่มีตัวตน
ทุกสิ่งทุกอย่างเราเป็นผู้ที่ทำและปฏิบัติไปเมื่อทำไปจิตเป็นอย่างไรก็รู้เมื่อรู้ก็ไม่ต้องไปคิด
หรือไปปรุงแต่งต่อไปกายเป็นอย่างไรก็รู้ไม่ต้องไปปรุงแต่งต่อไปกายก็ไม่มีตัวตน
จิตก็เป็นสิ่งที่เราจะบังคับไม่ได้เดี๋ยวมันก็คิดเดี๋ยวมันก็นิ่งเมื่อเป็นอย่างนี้มันก็เห็นได้ว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของไม่เที่ยงเราไม่ควรไปยึดถือกายยึดถือใจ
ใจเป็นสิ่งที่ทำให้เราเกิดสิ่งที่มีเหตุมากระทบแล้วก็จะไปรับรู้ที่ใจ
เมื่อใจรับรู้แล้วเราไม่ไปหลงไปตามสิ่งที่มากระทบ
ก็จะไม่มีการเกิดที่จะเกิดขึ้นในกระแสของปฏิจจสมุทบาท
เราเป็นผู้ที่จะทำในสิ่งที่เราคิดได้แต่สิ่งที่คิดต้องไม่เป็นการทำให้เราเกิดความทุกข์ใจ
ใจที่ป็นกลางเท่านั้นคือใจที่ไม่ทำให้เราเกิดทุกข์ๆเกิดที่ไหนให้ดับที่นั้น
กายกับใจเป็นของคู่กันเราต้องตามดูตามรู้ไปจนกว่าเราจะมีใจเป็นกลาง
ไม่มีสิ่งใดที่มากระทบแล้วเราจะหวันไหวได้อีกเราก็จะไม่มีสิ่งที่เรียกว่าทุกข์
คำว่าจิตหลงคือจิตที่หลงไปทางรูปคือทางตาคือจิตหลงดูเมื่อดูแล้วเราเห็น
เมื่อเห็นแล้วเราก็รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไรเมื่อรู้แล้วก็ไม่ไปปรุงแต่งต่ออย่างนี้เรียกว่าสติ
แต่ถ้าเห็นรูปแล้วไปปรุงแต่งว่าแหมไม่มีอะไรที่เราชอบเลยอย่างนี้ก็เป็นความหลงคิด
แต่เมื่อหลงถ้าหลงแล้วเราก็เกิดความรู้สึกตัวได้ก็ถือว่าเราก็เกิดสติที่เห็นว่าเราหลง
นี้เป็นสิ่งที่เราทำได้แต่ในการที่จะทำอะไรนั้นเรามีความตั้งมั่นที่จะทำ
เมื่อทำก็จะทำให้เราได้มีสติและสามารถรู้กายรู้ใจได้
สิ่งที่มาให้เราได้รับรู้นั้นมีหลายทางไม่ว่าจะเป็นหูตาจมูกลิ้นกายใจ
ถ้าเราเกิดสิ่งกระทบทางไหนแล้วเราก็ไปคิดแล้วไปปรุงแต่งนั้นเรียกว่าหลงๆมีได้ทุกทาง
ไม่ว่าจะเป็นตาหูจมูกลิ้นกายใจแต่ทุกทางถ้าเรามีความรู้สึกตัวเราก็จะไม่หลง
ไม่เผลอไม่มีอะไรที่เราจะเป็นผู้ที่ทำให้เราเกิดความทุกข์ทุกข์อยู่ที่กายกับใจของเรา
เราก็ต้องดูไปจนจิตเกิดความรู้สึกที่ปล่อยวางแล้วจิตก็จะพ้นจากคำว่าทุกข์ๆไม่ใช่สิ่งที่ทำให้
เราต้องมีถ้าเรามีสติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 00:06 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาธรรมะมาฝากคะ
การปฏิบัติ สติปัฏฐาน๔ อย่างถูกต้อง

การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ในขั้นต้นนั้น ต้องใช้สติเป็นบาทฐานในการปฏิบัติ เป็นการฝึกสติและสมาธิในขั้นแรกอย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดสมาธิ(ขณิกสมาธิ)แล้วน้อมจิตที่สงบดีอันย่อมมีกำลังแล้วนั้น ไปฝึกสติ หัดใช้สตินั้นพิจารณาสังเกตุศึกษาให้เห็นและรู้เท่าทันต่อธรรม(สิ่ง)ต่างๆตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ให้ชัดเจนขึ้น เช่นการเห็นกายอย่างปรมัตถ์ดังเช่นเห็นว่าเกิดแต่เหตุปัจจัยของธาตุ๔ อยู่ใต้อำนาจพระไตรลักษณ์ดังนี้เป็นตน แล้วดำเนินก้าวต่อไปโดยการใช้สติไปพิจารณาให้รู้เข้าใจอย่างปรมัตถ์และรู้เท่าทันในเวทนา และจิตสังขารต่างๆที่เกิดขึ้น ตลอดจนใช้พิจารณาและรู้เท่าทันธรรมต่างๆเพื่อให้เกิดภูมิรู้ภูมิญาณเข้าใจในสภาวะธรรมต่างๆอย่างปรมัตถ์ถูกต้อง เมื่อปฏิบัติดังกล่าวดีแล้วก็ต้องนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันด้วยความเพียร จึงจักถูกต้องและบังเกิดผลสูงสุดขึ้นได้

การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ในสมาธิ หาที่สงัด ตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่นนั้น วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้เกิดผลคือมีสติและสมาธิเพื่อพิจารณาให้เข้าใจใน กาย เวทนา จิต และธรรมอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง(ปรมัตถ์) ก็เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติจริงๆอีกครั้งในขณะดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน๔ในสมาธิเท่านั้น คือต้องนำไปฝึกฝนอบรมอีกครั้งหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันจนเป็นมหาสติ หรือเป็นดังเช่นสังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท)แต่มิได้เกิดแต่อวิชชา, กล่าวคือเมื่อปฏิบัติโดยถูกต้องและประจำสมํ่าเสมอ จิตจะเริ่มกระทำตามสังขารที่ได้สั่งสมอบรมไว้เองโดยอัติโนมัติในชีวิตประจำวัน นั่นแหละมหาสติหรือสังขารธรรมอันถูกต้อง เป็นจุดมุ่งหมายอันสูงสุดในการปฏิบัติสติปัฏฐาน๔

การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

ขณะดำเนินชีวิตประจำวันนั้น จะมีสิ่งต่างๆมากระทบผัสสะตลอดเวลา เมื่อธรรมใดมากระทบและรู้เท่าทันก่อนก็ให้ปฏิบัติธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)นั้น เพราะธรรมหรือสิ่งที่มาผัสสะนั้นมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ตลอดจนจริตของนักปฏิบัติเอง จึงมีความชำนาญชํ่าชองในการเห็นการรู้ในธรรมทั้ง๔ที่แตกต่างกันออกไปตามจริตและสังขารที่ตนได้สั่งสมไว้นั่นเอง และธรรมทั้ง๔นั้นเมื่อเห็นและรู้เท่าทันก็ล้วนมีคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น ดังนั้นในการดำรงชีวิตประจำวันแล้วมีสติเห็นในธรรมใดก่อนก็ได้ เพราะล้วนเกิดคุณประโยชน์ในการดับทุกข์ทั้งสิ้น ดังเช่น

รู้เท่าทันกาย เพื่อทำให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในกาย พิจารณาหรือรู้เท่าทันอย่างอื่นหรือจะสู้กายเราอันเป็นที่รักที่หวงแหนเป็นอย่างที่สุดแต่มักไม่รู้ตัวจนกว่าจะประสบภัยพิบัติหรือทุกข์ทางกายการเจ็บป่วยไข้มากระทบ, เมื่อระลึกรู้ตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ด้วยว่า ล้วนสักแต่ธาตุ๔ หรือสิ่งปฏิกูล ล้วนต้องเน่าเสีย คงทนอยู่ไม่ได้ ควบคุมบังคับไม่ได้ตามปรารถนา เป็นไปเพื่ออาพาธเจ็บป่วย ฯลฯ. เกิดการระลึกรู้หรือเห็นดังนี้จนชํ่าชอง เช่น ส่องกระจกก็รู้เท่าทัน ห่วงกายก็รู้เท่าทัน เห็นกายภายนอกเช่นเพศตรงข้ามที่ถูกใจก็รู้เท่าทัน ฯลฯ. ว่าสักแต่ว่ากายอันล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย,ไม่เที่ยงดั่งนี้เป็นต้น แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการดับในที่สุด

รู้เท่าทันเวทนา เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในเวทนาความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่กระทบสัมผัส เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า สักแต่เกิดแต่เหตุปัจจัย มันต้องเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเวทนาความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้นและไม่เข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการเกิด การดับได้ด้วยตนเอง เช่น เห็นรูปที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ, ได้ยินเสียง(คำพูด)ที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ เห็นอาหารที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ ก็ย่อมต้องเกิดความรู้สึก(เวทนา)ต่อสิ่งนั้นๆเช่นนั้นเอง ฯลฯ. เมื่อเข้าใจว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยและรู้เท่าทันจนชำนาญ จิตเมื่อเห็นความจริงการเกิดการดับและเพราะเหตุปัจจัยเช่นนี้บ่อยๆและเร็วขึ้นว่า สักแต่ว่าเวทนาเป็นดังนี้เอง ก็จักเกิดนิพพิทาในเวทนาต่างๆเหล่านั้นในที่สุด

รู้เท่าทันจิต เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในจิตสังขาร(ความคิด ความนึก ความรู้สึกต่างๆ) เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า สักแต่เกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ เป็นสังขารต่างๆทางใจเกิดขึ้นเช่น ความรู้สึกโทสะ(โกรธ) โลภ หลง หดหู่ ดีใจ เสียใจ ต่างๆ เมื่อเห็นว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย มันต้องเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการเกิด การดับได้ด้วยตนเอง และเร็วขึ้นเป็นลำดับ จิตเมื่อเห็นความจริงเช่นนี้บ่อยๆสักว่าจิตเกิดเพราะเหตุปัจจัยเช่นนี้เอง ก็จักเกิดนิพพิทาในจิตสังขารความคิดปรุงแต่งเหล่านั้นในที่สุด

รู้เท่าทันธรรม เพื่อให้เกิดนิพพิทาและภูมิรู้ภูมิญาณตลอดจนระลึกรู้เท่าทันความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่างๆได้อย่างปรมัตถ์นั่นเอง เมื่อเกิดกาย เวทนา หรือจิตตามข้างต้น หรือเกิดเห็นธรรมะใดๆก็หยิบยกขึ้นมาพิจารณาหรือคิดนึกพิจารณาในสิ่งเหล่านั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างปรมัตถ์ การคิดนึกดังนี้ไม่ใช่การคิดนึกปรุงแต่งที่ก่อให้เกิดทุกข์ แต่เป็นคิดนึกที่จำเป็นในการดับทุกข์อย่างยิ่ง เช่นเห็นทุกข์หรือรู้ว่าเป็นทุกข์ก็รู้ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัยใด(เห็นปฏิจจสมุปบาท), เห็นความไม่เที่ยง(เห็นพระไตรลักษณ์) ดังนี้เป็นต้น

ดังมีพุทธพจน์ดำรัสไว้ในตอนท้ายของมหาสติปัฏฐานสูตรดังนี้ว่า

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ด้วยความเพียร ตลอด ๗ วัน หรือ.......๗ปี

เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือ

เมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์ โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าวดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุค่ะ
ข้าพเจ้าจะหมั่นฝึกการรู้เท่าทัน กาย, เวทนา,จิต, ธรรม ให้เจริญยิ่งๆให้ผลสืบต่อไปค่ะ
พักนี้จิตจะนิ่งง่ายมากเมื่อน้อมจิตไปพิจารณากาย,เวทนาจะยิ่งลงลึกไปเลยคือรู้ไปที่อารมณ์ด้วยเลยพร้อมกัน คืออย่างที่บอก ว่ามันรู้สึกนิ่ง แต่มีสติรู้อยู่ว่ากายเคลื่อนไหวทำอะไรๆ ตา,หูรู้สิ่งมากระทบแต่จิตมันเฉยๆไม่มีชอบ/ไม่ชอบอะไรเลย(คิดว่าจิตมันไม่ได้ปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์รักชอบเกลียดชังใด) ดีมากๆเลยกลัวว่าจะมัวเพลิดเพลินอยู่
ขอบคุณมากค่ะสำหรับธรรมปฏิบัติที่แนะนำ
ขอบคุณสำหรับธรรมทานจากทุกท่านค่ะ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน จขกท ครับ
คุณมีนิสัยในทางที่อาจจะได้ประโยชน์จากการใช้สมาธิมาสนับสนุนการเจริญปัญญา
แต่ ดูเหมือนจะยังไม่ตรงจุดนัก

ลองอ่าน



โอวาทธรรม หลวงพ่อพุธ ฐานิโย


และมีอีกปัญหาหนึ่งที่ควรจะทำความเข้าใจสำหรับผู้ที่บริกรรมภาวนาแล้วจิตสงบเป็นสมาธิ นิ่ง ๆ ๆ ไม่เกิดความรู้ ความเห็นอะไร เมื่อท่านสามารถทำจิตสงบนิ่งเป็นอัปนาสมาธิขั้นละเอียดแล้ว เมื่อจิตของมันถอนออกมาจากสมาธิ พอมาสัมผัสรู้ว่ามีกาย ความคิดย่อมเกิดขึ้นทันที เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านอย่าละโอกาส รีบทำสติตามรู้ความคิดมันไปโดยทันที กล่าวแล้ว เมื่อทำสติจดจ้องความคิดไป ถ้าสติตามทันความคิด ความคิดจะกลายเป็นองค์ปัญญา เป็นสิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ ความคิดย่อมมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

เมื่อเรากำหนดเอาความคิดเป็นสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ ความมีสติแก่กล้ามีพลังเข้มแข็งขึ้น กลายเป็นสตินทรีย์ แล้วจิตของเราจะเกิดอนิจจสัญญา คือความสำคัญมั่นหมาย ว่าความคิดก็ไม่เที่ยง เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตก็จะดำเนินไปสู่ขั้นวิปัสสนากรรมฐานโดยอัตโนมัติ เมื่อทำจิตให้สงบนิ่งเป็นสมาธิได้ดี คือหากสมาธิถอนขึ้นมาแล้ว เข้าไปมัวดีใจกับความสงบ เลยจะไปนึกว่าเราทำความสงบนิ่งเป็นสมาธิได้ดีแล้ว ดีแล้ว พอใจแล้ว ไปพอใจแต่เพียงแค่นั้น เมื่อจิตถอนออกมาเพราะความดีใจจึงกระโดดโลดเต้นออกจากที่นั่งสมาธิ ไม่ชะลอเวลาอยู่สักพักก่อน เราก็ได้เพียงแค่ความสงบ

แต่ถ้าเราชะลอเวลา ยังไม่รีบออกจากที่นั่งสมาธิ มาย้อนพิจารณาดูอีกทีตั้งแต่เริ่มต้น เราเริ่มนั่งสมาธิ เริ่มกำหนดอารมณ์พิจารณาดูว่าจิตของเราเป็นอย่างไร สงบหรือไม่สงบ เป็นอะไรเข้าไปบ้าง มีปีติ สุข เอกัคตา มั้ย เพียงแค่นี้ก็เป็นอุบายทำให้เราเกิดสติปัญญา เมื่อเราพิจารณาทบทวนจนจบเรื่องที่เราพิจารณาแล้ว มายับยั้งจิตให้เฉยอยู่สักพักแล้ว เมื่อความคิดเกิดขึ้น รีบทำสติตามรู้ เอาสิ่งรู้เป็นอารมณ์ของจิต ทำสติตามรู้ไปเป็นการพิจารณาอารมณ์ในขั้นแห่งวิปัสสนากรรมฐาน

การปฏิบัติด้วยการบริกรรมภาวนาก็ดี การปฏิบัติด้วยการยกจิตขึ้นพิจารณาอะไรก็ดี พิจารณากายคตาสติ พิจารณารูปนามก็ดี หรือกำหนดจิตทำสติตามรู้ความคิดก็ดี การปฏิบัติตามแบบดังที่กล่าวมา จุดมุ่งก็เพื่อทำจิตให้เป็นสมาธิขั้นสมถะ เมื่อสมาธิขั้นสมถะไม่มี สมาธิไม่มี ฌานก็มีไม่ได้ ในเมื่อไม่มีฌานคือการเพ่งดูจิตและอารมณ์ ปัญญาก็มีไม่ได้ ปัญญาก็คือความคิด ถ้าเมื่อความคิดไม่มี สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ วิถีแห่งความรู้แจ้งก็มีไม่ได้ หรือวิปัสสนาก็มีไม่ได้

เพราะฉะนั้นความสงบของจิตในขั้นสมถะ จึงเป็นพื้นฐานให้เกิดวิปัสสนา ปัญญา ความคิด หรือสติปัญญาที่เราตั้งใจคิดเรียนรู้มาจากตำรับตำรา รู้มาจากการได้ยินได้ฟัง รู้มาจากการค้นการคิด อันนี้เป็นสติปัญญาธรรมดา ถ้าจิตสงบลงแล้วจิตผุดเป็นความรู้ขึ้นมา จะเป็นเรื่องอะไรก็ตามนั้นเรียกว่า สมาธิปัญญา

แต่นักปฏิบัติทั้งหลายอย่าไปตั้งใจปฏิบัติเฉพาะเวลาเรานั่งหลับตาทำสมาธิหรือเดินจงกรม ให้พยายามทำสติกำหนดรู้ การยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำทุกลมหายใจ อันนี้เป็นจุดยืนของนักปฏิบัติ ถ้าหากเอาแต่เวลานั่งสมาธิเดินจงกรม เป็นการสำรวม หรือเป็นการภาวนาเท่านั้น เราอาจจะนั่งสมาธิภาวนาวันละ 3-4 ชั่วโมง แต่หากเวลาที่เราปล่อยจิตปล่อยใจให้เป็นไปตามกิเลสและอารมณ์มากกว่านั้น จิตของเราจะไม่สามารถสร้างพลังขึ้นมาต่อสู้ความรู้สึกฝ่ายข้างต่ำคือกิเลส

แต่ถ้าเราทำสติตามรู้การยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด อยู่ตลอดเวลา หรือทุกลมหายใจ เราจะได้ปฏิบัติธรรมอยู่ทุกลมหายใจ ทำสมาธิอยู่ทุกลมหายใจ ปฏิบัติสมถะวิปัสสนาอยู่ทุกลมหายใจ เราจะมีศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ทุกลมหายใจ การทำสติสังวรณ์ระวังคอยดูอยู่นั่นแหละคือวินัย ความมั่นใจต่อการที่จะกำหนดรู้กิเลสและอารมณ์ของตัวเองนั่นคือสมาธิ ความรู้ว่าอะไรเป็นอะไรเกิดขึ้น ดับไป ขณะที่กำหนดอยู่ นั่นคือตัวปัญญา มีสติปัญญาด้วยการทำสติตามรู้การยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม ทำ พูด คิด

ในขั้นแรก ๆ เราอาจจะลำบากหน่อย แต่เมื่อเราฝึกหัดอบรมบ่อย ๆ เข้า ทำให้มาก ๆ จนเกิดการคล่องตัว ภายหลังเราจะไม่ได้ตั้งใจกำหนดรู้สิ่งต่าง ๆ แต่จิตของเราจะมีประสิทธิภาพ สติของเราจะมีประสิทธิภาพตามรู้ไปเองโดยอัตโนมัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2008, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


อุเบกขาก็มีสังขาร....มันละยากมาก จริงๆครับ :b23: :b23:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 106 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร